กรอบสุดท้าย ( ๖ ) ... "นวัตกรรมทางความคิด" ก็มีด้วย ;)


ผมเน้นการสอนให้คิดด้วยตนเอง สอนให้คิดนอกกรอบของสังคมที่มันหล่อหลอมอย่างมั่ว ๆ ... ยากครับ หากครูยังเดินตามกระแสสังคมทุกฝีก้าวอยู่

 

................................................................................................................................................

มุมมองของนักศึกษาคนที่ ๖

................................................................................................................................................ 

 

 

 

 

 

................................................................................................................................................

ทุ้มอยู่ในใจ ...

................................................................................................................................................

 

มุมสะท้อนใจจากเด็กที่สอบกลางภาคของผมได้อันดับหนึ่ง เป็นคนช่างคิด ช่างเขียน แต่ในระยะหลัง ๆ ไฟเริ่มตก ;)

๑. ไม่ว่าจะใช้สื่อวีดิทัศน์ ผมไม่เคยสนใจเนื้อหา มากเท่ากับ "การมองย้อนกลับ" ไปที่ตัวนักศึกษาเอง เพราะการมองเห็นตัวเองจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทุก ๆ อย่าง ทุก ๆ เรื่อง

๒. กว่าจะรู้ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันกัน ก็ใช้เวลาหลายเดือน ที่สำคัญ การเขียน คือ การลับคมความคิดอยู่เสมอ เป็นการเพิ่มหยักสมองโดยไม่รู้ตัวเอง

๓. นักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคน เข้ามาสอนจริง ๆ สอนแต่เนื้อหา เมื่อสอนเสร็จ ก็เดินจากไปอย่างมีความรู้ (คำเด็ดของลูกศิษย์คนนี้เลย) ...

"การเดินจากไปอย่างมีความรู้" (แล้วรู้ได้อย่างไรว่า เด็กเขาเข้าใจ) เสมือนกลัวว่า นักศึกษาจะหาว่าไม่มีความรู้มาสอน จึงสอนใหญ่ จนหลงลืมไปว่า นักศึกษาเป็น "คน" ไม่ใช่ "คอมพิวเตอร์" ที่สั่งอะไรไปแล้ว จะจำ หรือ ทำได้ทันที ... การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ต้องเกิดจากภายในตัวก่อนภายนอก

๔. "นวัตกรรมทางความคิด" คำนี้ขอยืมมาใช้อีกคำ ช่างคิดกว่าครูอีก ... นวัตกรรม ไม่ใช่ สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้จากมือเพียงอย่างเดียว รวมถึง เทคนิค วิธีการ และความคิดต่าง ๆ อีกด้วย ถูกต้องครับ ;)... ผมเน้นการสอนให้คิดด้วยตนเอง สอนให้คิดนอกกรอบของสังคมที่มันหล่อหลอมอย่างมั่ว ๆ ... ยากครับ หากครูยังเดินตามกระแสสังคมทุกฝีก้าวอยู่

 

มีประเด็นต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เพียงแค่ "กรอบสุดท้าย" กรอบเดียว ;)...

 

โชคดีนะครับ ;)...

 

...............................................................................................................................................

บันทึก ชุด "กรอบสุดท้าย"

...............................................................................................................................................

 

 

................................................................................................................................................

ป.ล. ลูกศิษย์ของครูคนใดแอบเข้ามาเห็น เงียบ ๆ ไว้นะครับ ;)...

................................................................................................................................................

 

หมายเลขบันทึก: 448500เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดูแล้วก็น่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ในแนวที่ตนเองได้ใช้อยู่ ค่ะ "อาจารย์ Wasawat Deemarn"
  • เคยอ่านบันทึกของนักศึกษาของอาจารย์ ที่ฝึกประสบการณ์ในวันแรกแล้วรู้สึกเสียกำลังใจเพราะคิดว่าตนเองเตรียมตัวดีแล้ว แต่นักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยไม่ให้ความสนใจ ไม่ยอมฟัง  ก็ได้ให้ข้อคิดและแนวทางในการเร้าความสนใจไป หลังจากนั้นได้ติดตามอ่านบันทึกเขาไประยะหนึ่ง พบว่าเขามีพัฒนาการที่ดีและมีความสุขในการจัดการเรียนรู้ ก็รู้สึกดีใจด้วย
  • การเขียนสะท้อนความรู้สึกนอกจากจะทำให้ทราบถึงความรู้สึกนึดคิดของผู้เรียน ยังทำให้รู้ถึงความสามารถในการเขียนสื่อความของนักศึกษาแต่ละคนด้วย และรู้ว่าบางคำนักศึกษาใช้ผิด ด้วยความเข้าใจผิด เช่น เห็นนักศึกษาเขียนว่า "อาจารย์องคุลีมาร" ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องเขียน "องคุลีมาล" และคำหนึ่งที่นักศึกษามักจะเขียนผิด คือ คำว่า "วีดิทัศน์์" ซึ่งอาจารย์เองเขียนถูกต้อง แต่นักศึกษาจะเขียนผิดเป็น "วิดีทัศน์" (ดังที่เห็นในบันทึกนี้) ซึ่งก็ตรงกับที่นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่มรภ.อุบลฯ ที่ทุกคนเขียนผิดแบบเดียวกัน

 

ขอบคุณท่านอาจารย์ ผศ. วิไล แพงศรี ที่ได้ให้เกียรติทั้งเข้ามาเยี่ยมในบันทึกนี้ และบันทึกของลูกศิษย์หลาย ๆ ครับ ;)...

จริง ๆ เป็นโครงการแรกที่ผมตั้งใจจะลองเปลี่ยนจากบันทึกประจำวันที่เป็นกระดาษ มาสู่ เทคโนโลยีบล็อก ... เพียงแต่ว่าต้องเลือกคุณสมบัติของนักศึกษามากพอสมควร ;)...

เวลาผ่านไปแล้ว ๑ เดือน ครู ๆ ที่คณะฯ สามารถมองเห็นพัฒนาการของเขาได้จากหน้าจอของตัวเอง โดยเฉพาะผม

ส่วนคำผิดนั้น ผิดอยู่เป็นประจำ ทั้งการพิมพ์และการเขียน บางทีเข้าไปตรวจก็มีทั้งอยากมองผ่าน เพื่อหันไปมองภาพรวม แต่บางทีก็อดใจไม่ไหวต้องแจ้งให้ทราบหลายครั้ง

เด็กกลุ่มมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมาก แต่ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ยังต้องพัฒนาต่อไป

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท