ออกกำลังตอนหิวช่วยลดความอ้วนไหม


อาจารย์อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Really? The Claim: Exercise on an empty stomach burns more fat' = "จริงไหม? เคลม (คำกล่าวอ้าง): ออกกำลังตอนหิว (ท้องว่าง) เผาผลาญไขมันได้มากกว่า" ในนิวยอร์ค ไทมส์, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ประมาณ 10 ปีก่อน, มีความเชื่อว่า การออกกำลังตอนหิว หรือท้องว่าง จะทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต (แป้ง-น้ำตาล)
.
ร่างกายคนเราสะสมแป้งไว้ในกล้ามเนื้อและตับ แต่สะสมได้ไม่มากเท่าไขมัน 
.
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Strength and Conditioning) รายงานว่า ร่างกายเผาผลาญไขมันได้พอๆ กัน หรือเท่ากัน ไม่ว่าจะกินก่อนออกกำลังหรือไม่
.
ความต่างกันอยู่ที่ว่า การออกกำลังตอนหิว หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้คนเราออกกำลังได้น้อยลง ทั้งความแรง และปริมาณแคลอรีหรือกำลังงานที่เผาผลาญ
.
การศึกษาที่ทำในนักจักรยานที่ฝึกหลังกินอาหาร และตอนอดอาหาร พบว่า การออกกำลังตอนหิวหรือท้องว่างเผาผลาญกำลังงานจากโปรตีนมากถึง 10% 
.
เมื่อมีการใช้โปรตีน, ร่างกายของคนเราจะทำการเบิกโปรตีนออกจากธนาคาร หรือแหล่งโปรตีนสำรองหลัก คือ กล้ามเนื้อ
.
วิธีการที่ธรรมชาติเลือกใช้ คือ ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนสลายตัว และปลดปล่อยโปรตีน (ในรูปกรดอะมิโน) ออกสู่กระแสเลือด
.
การศึกษาอีกรายงานหนึ่งทำในปี 2002 / 2545 ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่มีสุขภาพดี และได้คาร์โบไฮเดรต (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล) ก่อนออกกำลัง 45 กรัมพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะกินอาหารน้อยลงไปตลอดทั้งวัน
.
ข้อควรระวัง คือ ควรกินอาหารมื้อใหญ่ก่อนออกกำลังหนักอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ไม่ใช่กินแล้วออกกำลังอย่างหนักทันที
.
ถ้าระยะห่างก่อนออกกำลังน้อยกว่า 2 ชั่วโมง, อาหารมื้อเล็ก-ไขมันต่ำ น่าจะดีกว่าอาหารมื้อใหญ่-ไขมันสูง
.
และถ้ากินใกล้เวลาออกกำลัง, อาหารเหลว เช่น น้ำข้าว น้ำหวาน ฯลฯ น่าจะดีกว่าอาหารแข็ง เช่น ข้าว ฯลฯ
.
กล่าวกันว่า ช่วงเวลาที่คนเราออกแรง-ออกกำลังได้ดี คือ ตอนที่ไม่หิวมาก และไม่อิ่มมาก
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินอาหารที่มีโปรตีน (นม-นมถั่วเหลือง-เต้าหู้-โปรตีนเกษตร-เนื้อ-ปลา-ไข่-ถั่ว) และคาร์บหรือคาร์โบไฮเดรต (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล) หลังออกกำลังภายใน 30 นาที ช่วยให้กล้ามเนื้อได้รับโปรตีนมากขึ้น สร้างและซ่อมแซมส่วนสึกหรอได้ดีขึ้น
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 28 มิถุนายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 446631เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท