เตรียมรับการประเมินรอบสามให้สุขใจได้พบความสำเร็จ


ประเมินรอบสาม ถ้ารู้เขารู้เรา ไม่มีคำว่าพ่ายแพ้

เตรียมรับการประเมินรอบสามให้สุขใจได้พบความสำเร็จ 
             ผู้เขียนได้รับประสบการณ์ในการรับประเมินจากภายนอก ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นกลุ่มแรกที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ จึงนำมาเล่าสู่กันฟังคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับการประเมินต่อไป การเตรียมโรงเรียน


๑. สิ่งที่เน้น 
            (๑)มาตรฐานโรงเรียนและมาตรฐานเพิ่มเติม(อัตลักษณ์+ส่งเสริม)    (๒) นำวิสัยทัศน์ไปสู่แผน ๔ ปี แผนปฏิบัติการ 
            (๓) นำข้อเสนอแนะ สมศ.มาพัฒนา(โครงการรองรับ)
            (๔) นำเอาผลงานจากแผนปฏิบัติการมาตอบใน SAR ต้องสอดคล้อง
            (๕) มีแผนประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ๘ ขั้นตอน
            (๖) จัดทำโครงสร้างการบริหารงาน ทั้ง ๔ งาน พร้อมกำหนดผูรับผิดชอบ 
           (๗) มีแผนการนิเทศ/ ปฏิทินการปฏิบัติงาน
           (๘) การดำเนินงานโครงการจะต้อง มี PDCA
           (๙) การดำเนินงานตามกลุ่มงาน ๔ งานต้องมีครบ ทุกขั้นตอน
           (๑๐) กรรมการสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมรับรู้ มาตรฐาน แผนงานโครงการ การอนุมัติงบประมาณหรือแม้แต่หลักสูตรท้องถิ่น

๒.สิ่งที่โรงเรียนต้องมี
           (๑) แผนพัฒนา ระยะยาว ๓ - ๕ ปี
           (๒) แผนปฏิบัติการประจำปี (๒๕๕๑ - ๒๕๕๔)ถ้าแยกแผนปฏิบัติการประจำปีระดับปฐมวัยต่างหากจะชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะบางกิจกรรมในแผนพื้นฐานเขาอ้างว่าเด็กปฐมวัยทำไม่ได้
           (๓) SAR สามปีย้อนหลัง (๒๕๕๑ - ๒๕๕๓) เป็นหัวใจสำคัญมาก เพราะจะตรวจเพื่อรับรอง SAR ข้อสังเกตกรณี ไทยรัฐวิทยา ๖๓ จะขาด SAR ปฐมวัย ต้องมีปฐมวัยด้วย
          (๔) ประกาศมาตรฐานโรงเรียน (๑๘ มาตรฐาน/ สพฐ.)และเพิ่มเติมมาตฐานอัตลักษณ์ และส่งเสริม
         (๕) ปฏิทินการปฏิบัติงาน ในรอบปีมีกิจกรรสำคัญอะไรบ้าง
         (๖) ควรจัดแฟ้มงาน ๑๒ ตัวบ่งชี้ เพราะเขาตรวจสอบตามนั้น
         (๗) บันทึกการประชุมครู /กรรมการสถานศึกษา
         (๘) สมุดคำสั่ง
         (๙) เอกสารแผ่นพับ ข่าว ประชาสัมพันธ์โรงเรียน เผยแพร่ผู้ปกครอง

๓.การเตรียมตัวของครู 
          ๑. แผนการจัดการเรียนรู้ ๓ ปีย้อนหลัง ต้องบันทึกหลังสอนทุกแผน
          ๒. ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๘ ขั้นตอน ดังนี้(กรณีเขาสุ่มให้สอนให้ดูหรือสอบถามถึงกระบวนการสอน)
            (๑)ครูต้องแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ในสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์
            (๒) วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมการเรียนรู้สนองกับลีลาการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล
            (๓) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมองของผู้เรียน
           (๔) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
           (๕) มีการจัดเตรียมและใช้สื่อให้เมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน
           (๖) การประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ประเมินความก้าวหน้าของตนเอง
           (๗) การวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาซ่อมเสริมผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอน
           (๘)ครูศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(การสรุปผลหลังสอน ว่าเด็กไม่ผ่านจะใช้นวัตกรรมใดแก้ปัญหา)
        ๓. งานวิจัยของครู จะเป็นวิจัยหน้าเดียวก็ได้ แต่จะต้องมีปัญหา วิธีแก้ปัญาหา และผลการแก้ปัญหา (ครูทุกคนต้องมี กรณีมีผู้ขออาจารย์ ๓ ก็เอาบทคัดย่อมาอ้างก็ได้)

๔. การเตรียมผู้เรียน 
         ๑. กิจกรรมประชาธิปไตย เขาให้เด็กประชุมคณะกรรมการนักเรียนให้ดู
         ๒. การแต่งกายเสื้อ ผ้า รองเท้า ทรงผม เสื้อเข้าข้างในกางเกง
         ๓. การตอบคำถามเขาจะหลอกถาม สังเกตพฤติกรรมเด็ก ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความสุภาพอ่อนน้อม ซื่อสัตย์สุจริต ความพอเพียง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน การเล่นกีฬา
        ๔.อนุบาลเขาให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพ การแสดงท่าทางประกอบเพลง
        ๕. การรับประทานอาหารกลางวัน ควรให้เด็กรับประทานพร้อมกัน และมีการกล่าวขอบคุณและมีส่วนในการทำความสะอาดภาชนะ
        ๖.กิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่าเด็กมีสุนทรียภาพควรให้เด็กได้แสดงโชว์ให้เห็นความเด่นทางด้านศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์ อาจจะแสดงโชว์ตอนพักรับประทานอาหาร(ไทยรัฐวิทยา ๖๓ ทำลักษณะนี้)
        ๗.สิ่งที่ต้องเร่งทำก็คือ เตรียมชาวบ้านให้เขาเห็นด้วยกับโรงเรียน ชื่นชมโรงเรียน เพราะเขาเจาะจากชาวบ้าน มาถึงหมู่บ้านตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น. ถึงโรงเรียน ๐๖.๓๐ น. 
        ๘. การทิ้งขยะในโรงเรียนเขาสังเกตมากเป็นพิเศษ
        ๙. บันทึกความดีของเด็ก ถ้าปรับทัน ให้บันทึกว่าทำดีต่อ พ่อแม่ ต่อโรงเรียน ต่อชุมชน อะไรบ้าง
      
ครับส่วนอื่นๆ นั้น ก็คือ ตัดหญ้า ทาสี มีแฟ้ม (สูตรสำเร็จรับการประเมิน) สภาพแวดล้อมดีมีชัยไปกว่าครึ่ง อย่าลืมห้องสุขานะครับ มักจะถูกทดสอบเกือบทุกงาน ขอให้ท่านที่รับประเมินหลังจากนี้ไปจงประสบความสุขในการรับประเมิน

                                  พรชัย ภาพันธ์
          ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓(ชุมชนบ้านคำแดง)

หมายเลขบันทึก: 446436เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับผอ.พรชัย

  • อย่าให้ครูต้องวิตกกังวล หรือเครียดกับการประเมินจนเกินไปครับ
  • ให้คิดว่าการประเมินภายนอกจะช่วยให้เราค้นพบความจริงในโรงเรียนของตัวเอง ซึ่งถ้าเราค้นพบข้อบกพร่องมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมากเท่านั้น
  • ขอเป็นกำลังใจให้ผอ.คณะครูและนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓ ทุกคนครับ

สวัสดีค่ะ

พูดถึงเรื่องการประเมินมีทุกหน่วยงานเลยนะคะ มาทีไรก็เครียดๆๆๆ

เป็นกำลังใจให้โรงเรียนที่มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เป็นเลิศ...เช่นท่าน...

เทศกาลเข้าพรรษา ไปเที่ยวดูแห่เทียนที่ไหนคะ

  • สวัสดีค่ะ ผอ.พรชัย
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ เพื่อเตรียมตัว
    หากผู้บริหาร  และครูดี  นักเรียนย่อมไม่มีปัญหา  และต้องเดินไปพร้อมกัน
  • อ่านแล้วมองเห็นภาพชัดเจน ดีค่ะ

ยอมรับว่าบันทึกนี้บันทึกยากมากครับ จนไม่แน่ใจว่าจะได้ลงในโกทูโนหรือไม่ครับ ภาพคุณพี่กานดา กับน้องตูมสวยมากครับลูกศิษยฺแต่งภาพให้ครับ

สวัสดีครับพี่ แวะมาเยี่ยม ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ให้ เป็นกำลังใจให้ครับ

                            ผอ.อนุชา

สวัสดีครับท่านผอ.พรชัย ผ่านภูเขาผ่านลำห้วยด้วยปลอดภัยดีทุกประการน่ะท่าน

สวัสดีครับท่านพรชัยผมสวาสดิ์ขนานใต้จากกระบี่ไทยรัฐ53 ยินดีรับกาชี้แนะ

ท่านสวาส ขนานใต้ ท่านหน่วยกล้าตาย ของชาวไทยรัฐวิทยา ไม่ใช่หรือ ประเมินก่อน ผมอีก

ครับ ไทยรัฐวิทยา ๖๓ ยโสธร ผ่านการประเมินแล้ว ได้รับการรับรองแล้วครับ สบายใจ แต่ได้เรียนรู้การทำงานประกันคุณภาพที่เป็นระบบครับ

ขอบคุณทุกท่านที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี