แนวปฏิบัติวิจัยแบบ PAR : บัญญัติ ๑๐ ประการของการวิจัยบนฐานชุมชน


ผมนั่งอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ และตรวจสอบเรื่องราวต่างๆกับหนังสือเพื่อเขียนรายงานวิจัยและเขียนหนังสือ ได้เห็นบทสรุปชิ้นเล็กๆในภาคผนวกของหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยแบบ PAR และการวิจัยในแนวชุมชนที่เขียนเป็นข้อความ ๑๐ ข้อ แต่ให้หลักทฤษฎีและระเบียบวิธีที่สำคัญของการวิจัยแนวนี้ได้อย่างครอบคลุม เลยขอนำมาแบ่งปันกันไว้แก่ผู้สนใจ

บทบัญญัติ ๑๐ ประการของการวิจัยชุมชน
Ten Commandments of Community-Based Research
Leland Brown *

๑. ไม่พยายามตีกรอบความคิด นิยามความหมาย, ออกแบบ, รวมทั้งวางกรอบปฏิบัติที่เบ็ดเสร็จตายตัวไปแล้วล่วงหน้า โดยปราศจากกระบวนการปรึกษาหารือกับชุมชน

๒. ให้คุณค่าของกระบวนการ เช่นเดียวกับคุณค่าต่อผลลัพธ์ที่มุ่งให้เกิดขึ้น

๓. เมื่อพบว่าจำเป็นต้องเลือกเพียง ๑ ระหว่างวัตถุประสงค์ของชุมชน กับการได้ความพึงพอใจต่อความรู้เชิงวิชาการที่ต้องการ, วัตถุประสงค์ของชุมชนจะต้องดีและเหนือกว่าอยู่เสมอ

๔. ไม่มุ่งทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพียงเพื่อให้ได้ข้อมูลจากชุมชน

๕. ไม่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยปราศจากการนำเอาปัจจัยจากชุมชนเข้ามาเป็นองค์ประกอบการพิจารณา

๖. ภายหลังดำเนินการวิจัย ไม่สร้างสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมใดๆให้ตกทอดเป็นภาระความรับผิดชอบต่อชุมชนและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ

๗.ไม่เผยแพร่ข้อค้นพบการวิจัยก่อนได้ทำการปรึกษาหารือกันกับชุมชน

๘. ต้องพัฒนาทักษะและให้การสนับสนุนแก่ประชาชนในชุมชนเพื่อได้ทำวิจัยชุมชนของตน

๙.  ไม่มีสิ่งใดที่ต้องกันไว้ในฐานะเพื่อปิดบังและสงวนไว้เป็นความลับ

๑๐. ต้องมีอิสรภาพในตนเองในการที่จะไม่ติดยึดและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดอคติการวิจัย, การตั้งสมมุติฐาน, และระเบียบวิธีการวิจัย

..........................................................................................................................................................................

* Leland Brown : นักวิชาการสาธารณสุขและที่ปรึกษาของ Global Bridge Group, โอ๊คแลนด์, แคลิฟฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ใน Meredith Minkler (Eds.).1997. Community Organizing and Community Building for Health. London : SAGE Publication.

หมายเลขบันทึก: 443826เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2011 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณอาจารย์วิรัตน์มากครับ ที่ให้หลักการที่ควรเคารพ ผมชื่มชมบราวน์ผู้วางปทัสสถานให้ "ความเป็นเจ้าของ" กระบวนวิจัย และข้อค้นพบ เป็นของชุมชนเท่ากับหรือมากกว่าเป็นวานของนักวิชาการภายนอก

สวัสดีครับคุณหมอชาตรีครับ

ตรงที่คุณหมอเน้นนี่ สำหรับการวิจัยแนวนี้แล้วก็มีความหมายมากเลย เป็นการนับว่าว่าชุมชนไม่เพียงเข้ามาในพรมแดนการวิจัยเพียงเป็นแหล่งข้อมูลและต้องรอรับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลการวิจัยเพื่อนำไปเปลี่ยนแปลงตนเองเท่านั้น แต่สามารถพัฒนาการเรียนรู้และเป็นเจ้าของ เป็นนักวิจัย เป็นผู้ใช้ผลการวิจัย และเป็นผู้ได้รับผลจากการนำเอาผลการวิจัยไปใช้ทางการปฏิบัติ ซึ่งนับว่าเป็นการปรับเปลี่ยนระดับกระบวนทัศน์ทางความรู้กับการทำงานเชิงสังคม ซึ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเป็นผู้ตั้งรับอย่างเดียว ได้ดีขึ้น

เห็นด้วยครับ

ไม่นิยาม ออกแบบ รวมทั้งวางกรอบปฏิบัติเบ็ดเสร็จไว้ล่วงหน้า โดยปราศจากกระบวนการปรึกษาหารือกับชุมชน

แถมต้องไม่เด็ดยอดความรู้ชุมชนอย่างเดียว ชุมชนต้องได้ประโยชน์สูงสุดจากงานวิจัยนั้นๆของชุมชนด้วยครับ

เอาเด็กเกาะช้างมาฝากครับ เด็กๆๆเก่งมากๆๆครับ

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/443671

 

 

 

 

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ

  • เป็นแนวคิดและความเปรียบเปรยแบบชมรมคนปลูกผักขนานแท้เลยนะครับ
  • แล้วน้ำพริกจะมายังไงล่ะครับเนี่ย
  • youtube ไปหายอดผักกับน้ำพริกอยู่ใช้ไหมครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท