โจรอเมริกันปล้นร้านขายยา+วิธีป้องกันใช้ยามากเกิน [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์นำเสนอวิดีโอเรื่อง 'Pill-addicted robbers target pharmacies'  = "โจร (ขโมย) ติดยามุ่งเป้าร้านขายยา", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
เรื่องของเรื่อง คือ คนอเมริกันติดยาแก้ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยาที่นั่นก็มีราคาแพงมาก หลายๆ คนเลยคิดจะปล้นร้านขายยาเสียเลย > [ คลิกที่ลิ้งค์ถ้าต้องการชมวิดีโอ ]
.
อาจารย์พยาบาล-หมออนามัยหลายท่านเล่าว่า สถานีอนามัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ยาบ้าระบาดจะพบปัญหาแบบนี้บ่อย คือ คนไข้และญาติเข้าไปขโมยยา หรือหยิบยาไปจากชั้นยาหลายครั้ง
.
คนอเมริกันนอกจากจะใช้พลังงานมากผิดปกติแล้ว ทหารอเมริกันยังใช้ยาต้านซึมเศร้ามากประมาณ 1/5 ของทหารที่ไปอิรัก-อัฟกานิสถานทั้งหมด, และใช้ยาแก้ปวดมากด้วย > [ CNN ]
.
คนอเมริกันใช้ยา $234 billion (2010 / 2553) = 7.02 ล้านล้านบาท (เพิ่มจากปี 1990/2533 = $40 billion = 5.85 เท่า/20 ปี) = เฉลี่ย 22,537 บาท/คน/ปี (คิดจากประชากร 311.481 ล้านคน
  • [ target ] > [ ท่า - เก็ท - t ] > http://www.thefreedictionary.com/target > noun = เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย; verb = ตั้งเป้าหมาย สนใจเป้าหมาย
  • คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส และเยอรมันเก่าตามลำดับ, ศัพท์เดิม = light shield = เกราะเบา, มีความเป็นไปได้ว่า ตอนรบกันมีการตั้งเป้าธนูไปที่หน้าอก (หุ้มเกราะ) ของอีกฝ่ายหนึ่ง
  • [ addict ] > [ แอด - ดิ้ก - t ] > http://www.thefreedictionary.com/addict > noun = คนติดยา หมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากผิดปกติ; คำนี้ศัพท์เดิมมาจาก 'adjudge' = ตัดสินให้ผิด คดีแดง ล้มละลาย ไร้ความสามารถ 
  • to be addicted = ซึ่งติดยา; addiction = การติดยาเสพติด
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีป้องกันการใช้ยามากเกินไปดังต่อไปนี้
.
(1). ซื้อยาจากเภสัชกร หรือใช้ยาจากโรงพยาบาลใกล้บ้านแห่งเดียว
  • ข้อควรระวังในเรื่องนี้มีเหมือนกัน เช่น นักธุรกิจท่านหนึ่งใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเชียงใหม่แห่งหนึ่ง ป่วยเป็นโรคความดันเลือดสูง (ค่าบนประมาณ 150) มานานหลายปี แต่ไปเจอหมอที่ให้การรักษาแย่กว่าสถานีอนามัย (ถ้าไปสถานีอนามัยไทย... ได้รับการรักษาความดันเลือดสูงแน่นอน), ทิ้งไว้ ไม่รักษาหลายปีจนไตเสื่อมสภาพ
(2). ถาม (เรียนปรึกษา) เภสัชกรหรือหมอว่า ยานี้ควรกินกี่วัน ถ้าอาการหายก่อนจะหยุดได้ไหม หรือให้กินยาจนหมด (ยาแต่ละชนิดมีวิธีใช้ต่างกัน)
.
(3). เมื่อไปร้านขายยา สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลครั้งต่อไป... ขอให้นำยาเดิม สมุดประจำตัวคนไข้ เช่น ทุกวันนี้เรามีสมุดประจำตัวคนไข้ความดันเลือดสูง-เบาหวาน ฯลฯ ไปด้วย เพื่อจะได้สื่อสารตรงกันว่า เป็นโรคอะไร และใช้ยาอะไรบ้าง
.
(4). ถ้ามีอาการแพ้ยา... ให้ติดต่อกับร้านขายยา หรือสถานพยาบาลเดิมเสมอ เพื่อขอจดชื่อยาที่น่าจะแพ้ บันทึกเป็นประวัติไว้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อป้องกันการได้รับยาที่แพ้ซ้ำ
.
โรงพยาบาลหลายๆ แห่งมีระบบเตือนผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ห้องตรวจโรคจนถึงห้องจ่ายยา ปิดป้ายแดง ห้ามการจ่ายยาที่แพ้ แต่จำเป็นต้องขอให้คนไข้ยืนยันก่อนว่า แพ้ยาตัวใด ก่อนบันทึกลงระบบอัตโนมัติ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
_______________________________________
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทุกตอนไปใช้ได้ > CC: BY-NC-SA.
  • บทความทั้งหมดเป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
หมายเลขบันทึก: 442607เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท