แปลงสาธิตนาอินทรีย์ ย่างเข้าปีที่ ๕


ต้นไม้ที่ถูกดินทับจากการทำคันเสริมส่วนใหญ่ไม่ตาย แต่กลับแทงยอดใหม่แทรกดินขึ้นมาอย่างน่ามหัศจรรย์

ปีนี้ผมได้เริ่มทำนาตามมหาฤกษ์ "แรกนาขวัญ" ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา

ตามอาการของฝน คล้ายปีที่แล้วมากที่

ปีนี้ที่นาผมมีฝนตก ประมาณ ๒๐๐-๑๐๐๐ มม. เกือบทุกวัน

ท่านที่ตามอ่านคงไม่ประหลาดใจ มม. แปลว่า "เม็ด ต่อ ตารางเมตร" ครับ

คือทำท่าจะตก แต่ก็ได้แค่นั้น ไม่พอเปียกดิน

ผมถือฤกษ์แล้วก็ดำเนินการตามแผนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

งานสาธิตปีนี้เพิ่มมาสองสามอย่าง คือ

  • ต้ดฟางหลังเกี่ยวข้าว ทดสอบการงอกหน่อใหม่
  • ไม่ตัดฟาง ปล่อยไว้เฉยๆ
  • นาบก ปล่อยให้งอกเองจากเศษข้าวร่วงจากการนวดข้าวเมื่อปีที่แล้ว
  • ทดลองการไถปรับที่

ที่เพิ่มการไถมาก็ด้วยความจำเป็น จากน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ก็เลยปรับยกคันนาใหม่ให้สูงขึ้นอีก ๑ เมตร โดยใช้รถแบคโฮ

นาแปลง ๒ ไถครึ่งหนึ่ง ไม่ไถครึ่งหนึ่ง

ทำให้ขอบแปลงด้านหนึ่งโดนย่ำจนเป็นหลุมเป็นบ่อ จากน้ำหนักรถ เลยจำเป็นต้องไถ และหว่านใหม่ไปในมุมนั้น

ข้าวตัดฟางเมื่อปีที่แล้ว งอกใหม่ดีมาก ไม่ต่องหว่านเพื่ม

ส่วนอื่นๆก็หว่านเสริมบ้าง ตรงที่ไม่ต้องหว่านใหม่เลยก็บริวเณที่ตัด และต้นเก่างอกได้ดีมาก ที่เป้นความรู้ใหม่ของผม

ก่อนหว่านก็เดินถอนหญ้าประมาณ ๒-๓ รอบ รอบแรกประมาณ ๓ ชั่วโมง รอบสองประมาณ ๑ ชั่วโมง รอบสามประมาณ ๓ ชั่วโมง

หว่านข้าวทั้งหมดประมาณ ๓๐ กก. เฉลี่ยประมาณ ๓ กก ต่อไร่ เน้นมากตรงที่เป็นแอ่งที่ค่อนข้างถี่ เพราะปลาชอบกินต้นข้าวอ่อนๆในที่ลุ่มๆ

ตอนนี้ข้าวที่หว่านใหม่สูงประมาณ ๓-๔ นิ้ว ข้าวเก่าสูงประมาณ ๑ ฟุตกว่าๆ ข้าวนาบกสูงประมาณ คืบกว่าๆ

ข้าวนาบก จากลานนวดปีที่แล้ว งอกดี กำลังจะแตกกอ

กิ่งไม้ที่ยื่นลงไปในนาก็ตัดออกบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะในแปลงที่ ๑

ปลูกต้นไม้เสริมรอบแปลงที่ ๒ และบริเวณที่ทำคันคูใหม่

ต้นไม้ที่ถูกดินทับจากการทำคันเสริมส่วนใหญ่ไม่ตาย แต่กลับแทงยอดใหม่แทรกดินขึ้นมาอย่างน่ามหัศจรรย์

ไม่ทำเองไม่รู้จริงๆครับ

แล้วจะรายงานผลเป็นระยะๆ ต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 440364เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

May I put 2 flags on your farming work:

1) ข้าวตัดฟางเมื่อปีที่แล้ว งอกใหม่ดีมาก ไม่ต่องหว่านเพื่ม

The interest here is that may be the rice planted here is 'perennial' (not annual - needing to be replanted every time) and perennial rice may be a way to reduce costs in rice farming.

2) ต้นไม้ที่ถูกดินทับจากการทำคันเสริมส่วนใหญ่ไม่ตาย แต่กลับแทงยอดใหม่แทรกดินขึ้นมาอย่างน่ามหัศจรรย์

The interest here is a possible use of such plants in reducing soil erosion, re-enforcing earth wall for farm dams and property barriers.

Thank you for sharing.

นิสัยของข้าวที่ผมสังเกตมามีที่น่าสนใจคือ

  1. แตกหน่อใหม่ในปีต่อไปได้อีก ถ้าตัดฟางยิ่งแตกดี และ
  2. เกี่ยวแล้ว ก็ยังออกรวงชุดใหม่ได้อีก ๒-๓ รอบ ที่เรามักเรียกแบบไม่ยกย่องว่า "ลูกข้าว"

ทั้งสองลักษณะถูกคัดทิ้งในระบบการทำการเกษตรในปัจจุบัน

น่าเสียดายจริงๆ

  • ยอดเยี่ยมเลยครับ
  • ว่าจะให้ดอกไม้สักสองดอก
  • แต่ว่า กลายเป็นไม่ให้ไปเสีย
  • เลยกลับมาให้อีกรอบ
  • ครับผม

Thank you for your quick and informative reply.

"...เกี่ยวแล้ว ก็ยังออกรวงชุดใหม่ได้อีก ๒-๓ รอบ ที่เรามักเรียกแบบไม่ยกย่องว่า "ลูกข้าว"..."

What is the yield of "second" growth and latter growth (ลูกข้าว)?

After a recalculation of cost, how does it compare to 'newly' (first) planted rice?

Are there special ways to look after 'seconds'?

อาจารย์คะ อาจารย์ทดลองอยู่ที่ขอนแก่นหรือเปล่า จะได้ไปขอศึกษาบ้าง นี่เพิ่งซื้อที่นา 4 ไร่ จะให้เด็กๆที่โรงเรียนทดลองทำนาดู แต่คนริเริ่ม ยังไม่เคยทำนาเลยค่ะ ยังเริ่มต้นไม่ถูกเลยค่ะ ปรึกษา คนงานในโรงเรียนที่เขาเคยทำนาไปพลางๆ

การทำนาต้องใช้ความรู้มากพอสมควร คนที่ทำมานานมักรู้ไม่ครบ ทำให้พึ่งยาก ต้องพยายามเก็บข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์จึงจะได้ครับ

ค่อยๆทำไปเดี๋ยวก็ได้เอง อย่าใช้สารพิษ และอย่าใช้ความรู้ที่เป็นพิษ ก็พอแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท