หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ กฟผ. รุ่นที่ 7


EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2011

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 7 ทุกท่าน

ในวันพรุ่งนี้ (วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554) จะเป็นพิธีเปิดหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 7 (ปี 2554) หรือEGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2011

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 7 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมตลอดเวลา

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 3 รุ่น ในแต่ละครั้งที่จัดผมได้เรียนรู้ร่วมกับลูกศิษย์ของผมมากมาย 

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ อีก 2 ท่าน คือ ท่านไกรสีห์ กรรณสูต ท่านสมบัติ ศานติจารี และผู้ว่าฯ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ท่านผู้ว่าคนปัจจุบันที่เป็นลูกศิษย์รุ่น 2 ของผม ทุกท่านน่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 7 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

..............................................................................................

ติดตามข้อมูลย้อนหลังได้ที่

รุ่น 6: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/339639

รุ่น 5: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/266888

รุ่น 4: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/179282?page=2

รุ่น 3: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/95849

        http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/109820 (Study Tour in Sydney)

รุ่น 2: http://gotoknow.org/blog/chirakm/32392 (Study Tour in Melbourne)

อื่น ๆ http://gotoknow.org/blog/casestudies

ภาพบรรยากาศ

 

......................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนช่วงสุดท้ายที่ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกงของ กฟผ.

19 กรกฎาคม 2554

วิชา HR for Non-HR โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชา วิกฤติเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย.. 

       ผลกระทบและการปรับตัวของ  กฟผ.

โดย       รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

            คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   

            ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล      

            คุณมนูญ  ศิริวรรณ

            ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด   

ดำเนินรายการโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

 

วันที่ 20 กรกฎาคม 2554

วิชา บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย หม่อมราชวงศ์ เบญจาภา ไกรฤกษ์

วิชา Passion - Leadership - High Performance

โดย Mr. Bruce Hancock

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 438578เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2011 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (152)
ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

การใฝ่รู้ใน กฟผ. คือการที่ กฟผ.มีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานจัดทำ KM (Knowledge Management) และถือเป็น PA ของฝ่าย โดย KM ของแต่ละหน่วยงานต้องส่งเสริมการเพิ่มความรู้ในภารกิจงานของหน่วยงานนั้นๆ

จากการปฐมนิเทศ... และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการฯ

  1. หัวข้อที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของ กฟผ. โดยเฉพาะการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
  2. หนักใจเรื่องการบ้าน เพราะฉะนั้นพวกเราคงจะต้องบริหารเวลาของตัวเอง และก็คงต้องให้ความสำคัญกับการบ้านมากขึ้น
  3. จากที่ได้ฟังอาจารย์พูดแล้วคิดว่าเรียนจบครั้งนี้ก็จะได้สารบัญที่ดี แต่สิ่งที่อยู่ข้างในคงจะต้องใช้เวลา + (ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้)
  4. เห็นชื่อวิทยากรที่จะมาสอนครั้งนี้แล้วก็รู้สึกว่าดีมาก และการจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้ก็เป็นการท้าทาย (Challenge)

*อ.จีระ เสริมว่า..เรื่องระหว่างประเทศก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกท่านในวันนี้ด้วย

   5. หลักสูตรธรรมด.. แต่สิ่งที่สำคัญคือ.. “วิทยากร” ..ที่จะต้องช่วยให้เราได้เรียนรู้ และจะเปลี่ยนพฤติกรรม

       การสร้างผู้นำไม่แน่ใจว่าสร้างได้หรือไม่ แต่หวังว่าหลักสูตรนี้จะช่วยนำทางไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีได้

       การอ่านตำราเป็นเรื่องที่เป็นอุปสรรคสำหรับคนรุ่นอายุประมาณนี้ แต่คิดว่าคงจะได้เรียนรู้จากอาจารย์ซึ่งเป็นนักอ่าน คงจะได้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์

รองผู้ว่าการฯ วิรัช

  • จากประสบการณ์ที่เคยผ่านหลักสูตรนี้มาแล้ว (รุ่น 1)  คิดว่าเนื้อหาสาระคงไม่แตกต่างกัน แต่งานหรือ Assignment มีมากขึ้น การมี Assignment เป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้คิดว่า.. สิ่งที่เราเรียนไปแล้วนั้น เรามีความเข้าใจจริง ๆ หรือไม่? และคิดต่อว่ามันเกี่ยวข้องหรือจะต่อยอดงานของเราอย่างไร? 
  • สิ่งสำคัญของการเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การได้เกร็ดความรู้จากอาจารย์ทุก ๆ ท่านที่จะมาชี้แนะแนวทางที่ดีให้กับพวกเรา

การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ.

โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และประธาน Chira Academy

ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

9 พฤษภาคม 2554

www.ChiraAcademy.com

WORKSHOP (1)

1.     ในความเห็นของท่าน (กลุ่ม)  คุณสมบัติของผู้นำที่ประสบความสำเร็จในอดีต (ในบริบทของ กฟผ.) คืออะไร?

กลุ่ม 4

  • เก่ง มีความรู้ความสามารถ
  • มีบารมี
  • โปร่งใส

กลุ่ม 5

  • มีความรู้ความสามารถ
  • สร้างศรัทธา
  • มีทีมงานที่ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

กลุ่ม 3

  • มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล มองอนาคต
  • ทำงานเป็นทีม ในทิศทางเดียวกัน
  • ทำงานเพื่อส่วนรวม สังคม
  • มีความเสียสละ มีคุณธรรม

กลุ่ม 2

  • ยุคก่อนบริบททางสังคมมีไม่มาก แต่ยุคนี้ผู้บริหารหากจะสร้างโรงไฟฟ้าต้องสามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ และยอมรับได้

กลุ่มที่ 1

  • ความซื่อสัตย์สุจริต
  • ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน เช่น การสร้างเขื่อนภูมิพล
  • มีความรอบรู้
  • กล้าตัดสินใจ

2.     ปัจจุบันและอนาคตท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลง..คุณสมบัติของผู้นำที่พึงประสงค์ของ กฟผ. คืออะไร?

กลุ่ม 4

  • มีวิสัยทัศน์
  • มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • บริหารวิกฤตได้
  • ทำงานเป็นทีม

กลุ่ม 5

  • มีความรู้ความสามารถรอบด้าน (ข้ามศาสตร์)
  • มีความใฝ่รู้ (ใน กฟผ. คืออะไร?)
  • มีความซื่อสัตย์
  • มีความสามารถในการถ่ายทอด และจูงใจ โดยดฉพาะสังคมในกฟผ. มีคนจำนวนมาก
  • อดทน (สำคัญมาก)

กลุ่ม 3

  • รู้ทันเทคโนโลยี (การผลิตไฟฟ้า) และการเปลี่ยนแปลง
  • สร้างการยอมรับจากสังคมและชุมชน และทุกภาคส่วนของสังคม
  • ต้องรับรู้ข่าวรวดเร็ว และรอบด้าน

กลุ่ม 2

  • ยุคก่อนบริบททางสังคมมีไม่มาก แต่ยุคนี้ผู้บริหารหากจะสร้างโรงไฟฟ้าต้อง

กลุ่มที่ 1

  • มีความสนใจเรียนรู้พัฒนา Open Brain – Open Mind
  • กล้าตัดสินใจ (Social, Politic, Status etc.)
  • มีคุณธรรมจริยธรรม

3.     หากจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในกฟผ. เพื่อเตรียมพร้อมต่อการทำงานในอนาคต จะต้องทำอย่างไร? โปรดเสนอแนะแนวทางที่เป็นไปได้?

กลุ่ม 4

  • มี Career Path ที่ชัดเจน และปฏิบัติตาม
  • ต้องปรับเปลี่ยนกฏระเบียบ ข้อบังคับให้มีความยืดหยุ่น
  • ยกเลิกระบบเส้นสาย ระบบอุปถัมภ์
  • กำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยให้เขาตกราง (ปัจจุบันยังมีปัญหานี้อยู่)

กลุ่ม 5

  • ปรับโครงสร้างเพื่อรองรับ
  • สร้าง/พัฒนา Fast –Track
  • Job Rotation – ต้องทำให้เป็นรูปธรรม ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้งานของฝ่ายอื่น ๆ

กลุ่ม 3

  • ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้นำในระดับต้น ๆ
  • มีระบบ Coaching ให้กับคนที่จะขึ้นเป็นผู้นำ ประเมินผล
  • วางแผนพัฒนาให้ดีและมีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 2

  • มีการวางแผนเรื่อง Succession plan

กลุ่ม 1

  • ต้องปรับเปลี่ยนกฏระเบียบ ข้อบังคับให้มีความยืดหยุ่น รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร
  • มอง Performance Base มากกว่า Senior Base
  • สร้างแรงจูงใจ และความสำคัญของการเร่งสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ 

ในมุมมองของ ดร.จีระ ผู้นำยุคใหม่ของ กฟผ. จะต้อง

1)   บริหารการเปลี่ยนแปลง

2)   บริหารสิ่งที่มองไม่เห็น – Wisdom

3)   เป็นผู้นำองค์กรแห่งการเรียนรู้ - มี Skills + Communication -Inspiration คือ การจุดประกายให้คนของเราไปสู่จุดใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม – สร้างแรงจูงใจ

4)   Balance ระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว – ลูกน้องของเราต้องการอะไร? เป้าหมายส่วนตัวกับเป้าหมายขององค์กรต้องไปขัดแย้งกัน – ทำงานอย่างมีความสุข

5)   บริหาร Loyalty ในองค์กรได้ – มองเรื่องการสร้างความรัก ความผูกพันธ์ในองค์กร – รักษาคนดี-คนเก่งขององค์กรไว้ให้ได้

6)   ทลาย Silo

7)   บริหาร Network + Network ระหว่างประเทศให้ได้ ต้องมีความสามารถในเรื่องภาษา

สรุปรวบยอดความคิดของการเรียนรู้ในช่วงเช้าวันนี้

  • เกิดแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลง และแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อความสำเร็จ

 การบ้าน  

1)   คำว่า “ใฝ่รู้” (Learning Culture) ในกฟผ. คืออะไร? - - การบ้านเดี่ยวส่งคืนนี้

2)   จาก Time Magazine เลือกผู้นำ 5 คนที่มีคุณลักษณะที่จะช่วยกฟผ.ในอนาคต + ยกตัวอย่างผู้นำที่ไม่ได้อยู่ใน List นี้ 2คน (การบ้านกลุ่มส่งทาง Blog ภายในวันพุธนี้)

3)   ขอให้ท่าน (กลุ่ม) ยกตัวอย่าง..บทเรียนที่สำคัญหรือกรณีศึกษาที่น่าสนใจของ กฟผ. จากการเรียนรู้หัวข้อ..

      3.1) การบริหารความขัดแย้งและการตัดสินใจของนักบริหาร (อ.สุขุม นวลสกุล) 

      3.2) การสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร (คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย)

     

การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง

โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

.....................................................................................

  1. ความขัดแย้ง คือ ไม่เหมือนกัน, ไม่ตรงกัน
  2. ความขัดแย้งทำให้เกิด 2 อย่าง
  • พินาศ
  • พัฒนา – ทำให้เกิดทางเกิด

     เพราะนั้นในฐานะผู้บริหารเราต้องมองความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติ แต่เราต้องแยกให้ออกระหว่าง  

  • เรื่องส่วนตัว – ไม่ดี
  • เรื่องส่วนรวม – ดี

     ประชาธิปไตยดีตรงไหน?

  • ดีตรงที่มีฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล แต่ประเทศไทยมีฝ่ายแค้นไม่ใช่ฝ่ายค้าน ก็ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเลิกนับถือนักการเมือง

3.  การบริหาร คืออะไร? คือ “อะไรดี ๆ ต้องทำให้เกิด” อะไรไม่ดีต้องไม่ให้เกิด”

     อย่าคิดว่าความเงียบเป็นเรื่องดี แต่เราต้องให้เกิดความขัดแย้งเพื่อการพัฒนา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม

  • คนเราเวลาโกรธอาจจะพูดจาล่วงเกินคนอื่นโดยไม่รู้ตัว

4. ความขัดแย้งที่ท้าทายนักบริหารมี 3 ลักษณะ

1.     บุคคล – บุคคล – บริหารอย่างไรให้คนสามัคคีกัน

สาเหตุอะไรที่ทำให้คนขัดแย้งกันอันเนื่องมาจากหัวหน้า

  • อิจฉาริษยา
  • เอารัดเอาเปรียบ – หัวหน้าต้องไปเปิดช่องว่างให้ลูกน้องเอารัดเอาเปรียบกัน ต้องดูแลให้ทั่วถึง

2. บุคคล – หน่วยงาน – สร้างความร่วมมือในองค์กร

สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในองค์กรแล้ว..

  • ไม่เข้าใจ
  • ไม่อธิบาย

เพราะฉะนั้น บทบาทของนักบริหารอีกอย่างหนึ่ง คือ เราต้องเป็นโฆษกขององค์กร อย่าทำตัวเป็นเพียงแค่ผู้ประกาศข่าว คือ ต้องแสวงหาคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลไปบอกกล่าวให้ทุกคนทราบ

3. หน่วยงาน – หน่วยงาน – ทำอย่างไรให้หน่วยงานมีความสามัคคีกัน

  • ไม่เข้าใจบทบาท

       - คนเป็นหัวหน้ามี 2 บทบาท คือ บทบาทต่อพนักงาน กับ บทบาทต่อองค์กร 

  • หลงหน่วยงาน อย่าคิดว่าหน่วยงานเราวิเศษกว่าหน่วยงานอื่น แต่เราต้องแสวงหาความร่วมมือ

4. การตัดสินใจ

  • แม่นกฎระเบียบ
  • ลดความเกรงใจ
  • ไม่โอ้อวด

5. องค์ประกอบการตัดสินใจ

  • ข้อมูล
  • ประสบการณ์
  • การคาดการณ์
  • ผลกระทบ
  • สถานการณ์

6. การวิเคราะห์การตัดสินใจ

  • ถูกต้อง
  • ถูกใจ
  • ถูกจังหวะ

7. การเจรจาต่อรอง คือ การพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจากความคิด หรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

          เตรียมการ
          ใคร - อะไร
          เป้าหมาย - อ่านใจ

8. หลักการเจรจา

  • ความเชื่อมั่น
  • กลัวเสียเปรียบ
    • ทำให้เข้าใจ
    • ใช้ปิยวาจา
    • หาสิ่งจูงใจ
    • ให้ข้อสรุป

การใฝ่รู้ใน กฟผ. หมายถึง วัฒนธรรมความกระตือรือล้น ที่จะเปิดรับข้อมูลข่าวสารของผู้ปฏิบัติงาน

ในด้านต่างๆ ดังนี้

1. สภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองปัจจุบัน

2. เป้าหมายแผนงานและการดำเนินงานของ กฟผ.

3. กฎระเบียบ ข้อบังคับ และเครื่องมือทางการบริหารต่างๆใน กฟผ. ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ ความรู้ในสายงานอาชีพ กับการปฏิบัติงานในหน้าที่

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

"การใฝ่รู้" ใน กฟผ. หมายถึง บรรยากาศ และ วัฒนธรรมในการสื่อสาร ถ่ายทอด และเปิดรับข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ทั้งภายใน กฟผ. และ ภายนอก กฟผ. ซึ่งในปัจจุบัน สถานการณ์ในโลกมีความเชื่อมโยงถึงกันทั้งสิ้น

ความคาดหวังส่วนตัว คือ ความปรารถนาที่จะเห็นการถ่ายทอดข้อมูลและความรู้ เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของทุกหน่วยงาน

1. การใฝ่รู้ใน กฟผ. คือการที่ กฟผ. มีนโยบาย

1. ให้มีการเรียนรู้งานจากรุ่นพี่และให้ทุกหน่วยงานทำ KM

2. มีการจัดการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในและภายนอก กฟผ.

2. ประโยชน์ที่ได้รับจาก อ.สุขุม นวลสกุล

1. ได้ทราบว่าความขัดแย้งมีทั้งดีและไม่ดี ถ้าเป็นการขัดแย้งส่วนรวมจะดี สามารถนำไปพัฒนาหน่วยงานได้

2. ก่อนตัดสินใจ ต้องพยายามหาข้อมูลให้ครบทุกด้าน ลดความเกรงใจ ไม่โอ้อวด

3. ประโยชน์ที่ได้รับจาก อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

1. ได้ทราบถึง White Ocean Strategy

2. เป็นผู้บริหารต้องเป็นคนช่างสังเกต และรู้จักให้

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ

"การใฝ่รู้" ใน กฟผ. เพื่อหาความรู้ ข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการทำงานเช่น

1.การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น Internet , Handbook.

2.การสะสมองค์ความรู้(KM) และแบ่งปันกันใน กฟผ.

3.การสอนงาน และ On the Job training.

4.การอบรมและศึกษาดูงาน

ข้อ1. การใฝ่รู้ใน กฟผ. คือการที่ผู้ปฏิบัติงานใน กฟผ.ทุกคน ต้องเป็นคนช่างสงสัย กระตือลือล้น ชอบค้นคว้า หารายละเอี่ยดที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติ และต้องช่างจดช่างจำเรื่องราวต่างๆ ในปัจจุบันเราในใช้ คอมพิวเตอร์ในการจดแทนสมองเรา ทำให้คนรุ่นหลังสามารถเข้าสืบค้นเรื่องราวความรู้ต่างๆ นำออกมาใช้ประโยชน์ได้

ข้อ 2. ประโยชน์ที่ได้รับจาก อ.สุขุม นวลสกุล ได้แก่ ความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติ ความคิดเห็นที่แตกต่างสามารถทำให้เกิดการพัฒนาได้ การเป็นนักบริหารต้องแม่นกฎระเบียบ จึงจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว การตัดสินใจ ต้องกระทำอย่างถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ

ข้อ 3. ประโยชน์ที่ได้รับจาก อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้แก่ องค์กรที่่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเป็นองค์กรที่มีจริยธรรมทำธุรกิจอย่างใส่สะอาด ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เข้าใจลักษณะของธุรกิจที่ใช้กลยุตย์ White Ocean

จิระศักดิ์ มัณฑางกูร

สวัสดีครับ...อจ. จีระ ทีมงาน chira acadamy ทีมงาน อพบ. และเพื่อนๆ EADP 2011 (รุ่น 7) ทุกๆท่าน

ได้ร้องเพลงไป 1 เพลง พอช่วยย่อยอาหารแสนอร่อยในเย็นวันนี้ กลับมาถึงบ้านก็รีบเข้ามาตอบโจทย์การบ้านกันเลยทีเดียวเชียวครับ...

การบ้านข้อที่ 1.... "คำว่า “ใฝ่รู้” (Learning Culture) ในกฟผ. คืออะไร?"

คำตอบ.... คำว่า "ใฝ่รู้" ใน กฟผ. ก็คงหมายถึงการที่ ผู้บริหารมีเป้าหมายที่จะทำให้ กฟผ. เป็น "LO Learning Organization" หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการหลายรูปแบบ ทั้งการทำ QCC Kaizen KM CoP

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การที่เราจะ "ใฝ่รู้" ได้เราต้องทำตัวเป็น "กบนอกกะลา" บ้างครับ ต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะรับรู้และก้าวให้ทันกับเทคโนโลยี หรือ ข่าวสาร ความรู้ในด้านต่างๆที่มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง สิ่งที่สำคัญคือ ต้องยึดถือคติที่ว่า "คนเราไม่แก่เกินเรียน" :) เท่านี้ การ "ใฝ่รู้" ก็จะเกิดตามมาแน่นอน...

การบ้านข้อที่ 2....ได้อะไรบ้างจากการบรรยายของ อจ. สุขุมฯ

คำตอบ...

ข้อแรก คือ ได้คลายเครียดจากมุขต่างๆของ อจ. ครับ :p ไม่มีคำว่าง่วงเลย...

ข้อสอง คือ ได้แนวคิดการจัดการกับความขัดแย้ง(ซึ่งเป็นปัญหาค่อนข้างหนักในหน่วยงาน) แต่ก็ อจ. สุขุม ก็บอกว่า การที่เราจัดการกับความขัดแย้งนั้นไม่สำเร็จ อาจไม่ใช่เราบริการความขัดแย้งไม่เก่ง ไม่ดี แต่ อาจเป็นเพราะ ความขัดแย้งนั้น มันลึกล้ำเกินที่จะจัดการแล้วก็ได้ ทำให้สบายใจขึ้นว่า เท่าที่เราได้ประคับประคองไม่ให้มันลุกลามไปมากกว่านี้ ก็อาจทำได้เท่านั้นจริงๆ... เพราะปัญหาของบุคคลที่ขัดแย้งกันมันเกิดมานานหลายปีแล้ว แต่ผมเพิ่งย้ายเข้ามาบริหารจัดการในหน่วยงานนี้เพียงไม่กี่เดือน

การบ้านข้อที่ 3....ได้อะไรบ้างจากการบรรยายของ อจ. ดนัยฯ

คำตอบ...

ได้เยอะเลยครับ ได้ความรู้มาเป็นทุนสำหรับการนำไปต่อยอดใช้กับหน่วยงานได้ ทั้ง ความรู้รอบตัว ความใช้ธรรมมะในอีกรูปแบบหนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับ White Ocean (ที่กล้ายกมือบอก อจ. ว่า never heard of it :( แต่คราวนี้ก็ได้รู้แล้ว ถึงจะยังไม่ลึกซึ้ง แต่ก็รู้ว่า จะไปหาศึกษาหาอ่านค้นคว้าต่อได้ที่ไหน...

ยุพดี วิทยพิบูลย์

การใฝ่รู้ในหน่วยงาน เกิดในรูปแบบของ

1. ประสบการณ์ในการทำงาน

2. การเล่าสู่กันฟัง

3. การสัมนาระหว่างหน่วยงานและการทำกิจกรรมร่วมกัน

แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ความใฝ่รู้เกิดผลและมีประโยชน์ต่อเนื่องก็คือ  บุคลากรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการเหล่านี้ให้เกิดผลสำเร็จ  รวมถึงการมีความคิดริเริ่มตลอดจนถึงการที่สามารถสร้างชิ้นงานใหม่ๆ  จึงต้องเน้นที่บุคลากรเป็นอันดับแรก

    ความรู้ที่ได้รับจาก อ.สุขุม

   1. ใแนวทางการแก้ปัญหารการขัดแย้งรวมถึงองค์ประกอบในการตัดสินใจ

   2. วิธีและหลักการแนวทางในการเจรจาต่อรอง

   ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ดนัย

    1. การเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตนเองและหน่วยงาน

    2. รู้จักการให้และการแบ่งปัน  เพื่อความสุขของตนเองและคนรอบข้าง

    3. WHITE OCEAN STRATEGY  กลยุทธ์ในการดำเนินงานด้วยความบริสุทธิ์ใจและการตอบแทนกลับสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม

1. การใฝ่รู้

" การใฝ่รู้ ในภาพของ EGAT Learning Culture คือ ลักษณะ นิสัย (Thinking & Working Pattern) ของบุคคลที่มีความช่างสังเกต สนใจเรื่องราว-สิ่งรอบข้าง มีความกระตือรือร้น ศึกษาเรียนรู้อย่างถ่องแท้ โดยใช้ศักยภาพสูงสุดของตนเองค้นคว้า พร้อมเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้อื่น เพื่อให้ได้ความรู้ที่ดีที่สุดที่จะหาได้ มาใช้เป็นหลักการหรือวิธีการที่จะแก้ปัญหาหรือทำให้งานต่างๆ สำเร็จตามเป้าหมายได้ดีที่สุด

2. การเรียนรู้จาก ท่านอาจารย์ สุขุม นวลสกุล

2.1 ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จริง ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

2.2 ได้เรียนรู้กลยุทธ์สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง ผ่านการเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

2.3 ได้รับฟังเรื่องราวด้านการเมืองการปกครองจากอดีตถึงปัจจุบัน ในเรื่องและประเด็นที่ไม่เคยได้อ่านหรือได้ฟังมาก่อน

3. การเรียนรู้จาก ท่านอาจารย์ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

3.1 ได้รับการเรียนรู้สภาพการเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของโลกที่เกิดภัยธรรมชาติ พร้อมหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นข้อมูลยืนยันสภาพการเปลี่ยนแปลงในทาง Negative ที่เกิดขึ้นกับโลก ที่มนุษย์จะต้องเผชิญหน้าในปัจจุบันต่อเนื่องอนาคต

3.2 ได้เข้าใจ เห็นความสำคัญ ในหลักการและแนวทางการพัฒนาสร้างทุนทางจริยธรรมให้เกิดขึ้น และวิธีการที่จะทำให้ได้รับการยอมรับทั้งในตนเองและองค์กร

3.3 ได้รับได้รับการเรียนรู้ /ชี้นำแนวทางสู่ความสำเร็จที่สูงสุดของตนเองและองค์กร ผ่านกลยุทธ์ White Ocean Strategy ที่ไม่เคยรับรู้เรื่องราวมาก่อน

3.4 ได้รับรู้ว่ามีคนดีๆ มากมาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ กำลังร่วมกันผลักดัน สร้างต้นแบบที่ดี ให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพื่อหวังที่จะสร้างสิ่งดีๆ แก้ปัญหาสังคม รวมทั้งสร้าง Social Network สำหรับใช้ในการสร้างสิ่งที่ดีงานให้กับสังคมและโลกในอนาคต

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เปิดโอกาสที่ดีมากๆ ในการนำสิ่งที่ดีดี มาให้กับทุกๆ คน ด้วยใจมุ่งมั่น เสียสละเวลา ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยสร้างผู้นำของ กฟผ. ในอนาคต ผมหวังว่าทุกคนจะตั้งใจ เรียนรู้จากโอกาสที่ได้รับในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะต้องทำงานหลายด้าน ทั้งเรียนรู้ ทำงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย แต่เพียงวันแรก ผมก็เห็นว่า อาจารย์ทุกท่าน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำสิ่งดีๆ และนำสิ่งดีๆมาถ่ายทอดให้พวกเรา อย่างเต็มพลัง แม้อาจารย์จะ 66 ปี แล้วมีทุกสิ่งทุกอย่างเพรียบพร้อมหมด ยังเสียสละเวลาอันมีค่าให้พวกเรา โดยส่วนตัวแล้วผมไม่รู้ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน เพราะในชืวิตแล้วไม่คิด หรือมีความต้องการก้าวไปเป็นผู้นำในการบริหาร หวังเพียงแต่ใช้ศักยภาพของนักวิชาการที่รักในการเรียนรู้ Technology นำมาพัฒนาศักยภาพของทีมงานเพื่อรับผิดชอบงานให้ดีที่สุดเท่านั้น แต่วันนี้ได้รับฟัง เรียนรู้ สิ่งดีๆมากมาย ที่ไม่เคยสนใจมากนัก ผมขอตั้งปนิิธานที่จะทุ่มเททำสิ่งดีๆ ที่อาจารย์ แนะนำเพื่อร่วมสร้างอนาคตที่ดีให้กับองค์กรและประเทศไทย ครับ

ขอขอบคุณโดยใจจริง

Kitti Petchsanthad

9 May 2011

เทพประสิทธิ์ ธรรมธาร

1. การใฝ่รู้ในกฟผ.

                ตามความเห็นของผม คือการยอมรับความคิดและเหตุผลที่จะนำไปพัฒนางานได้  รวมถึงการ

ถ่ายทอด ประสบการณ์ ในการทำงาน  ในการปฏิบัติงานในองค์กร  การประชุมวางแผนงาน การแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้รับยินดีรับฟัง และผู้ให้ก็ถ่ายทอดให้ด้วยความยินดี

                2. สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อจ.สุขุม

                2.1 ได้ประสบการณ์ ตรงของการบริหารความขัดแย้ง  อจ.สุขุม สามารถยกตัวอย่างที่เกิดขึ้น

จริงเขาใจง่าย และรับฟังได้อย่างเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ

                2.2 การจัดการความขัดแย้งส่วนรวมอย่างสร้างสรรเกิดประโยชน์ ได้ความคิดที่หลากหลาย

                2.3 การขจัดความขัดแย้งส่วนตนซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

                2.4 เข้าใจถึงความขัดแย้ง 3 รูปแบบและวิธี บริหารจัดการ

                                2.4.1 บุคคล บุคคล

                                2.4.2 บุคคล องค์กร

                                2.4.3 หน่วยงาน หน่วยงาน

                2.5 การตัดสินใจของผู้บริหาร ต้องมี 3 ถูก

                                2.5.1 ถูกต้อง

                                2.5.2 ถูกต้อง และ ถูกใจ

                                2.5.3 ถูกต้อง ถูกใจ -  ถูกจังหวะ

                3. สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อจ.ดนัย

                3.1 การพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภำพ และ ยั่งยืนด้วย กลยุทธน่านน้ำสีขาว

                3.2 การดำรงตน และ องค์กรให้อยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

                3.3 เปิดพื้นที่ชีวิต  ขยายพื้นที่ปัญญา

                3.4 ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ

 

                ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อ 1 การใฝ่รู้ใน กฟผ คือ การที่ผู้บริหารให้ความสนใจต่อการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการกำหนดนโยบายให้ดำเนินการเรื่อง KM และ LO ที่ในความเห็นของผมจะได้ผลดีกว่าเดิมที่มีการฝึกอบรมมากมายนำเข้าหลักสูตรยอดฮิตต่างๆจากภายนอกโดยเฉพาะจากต่างประเทศแต่ไม่ค่อยได้ผลอะไรที่เป็นรูปธรรมจริงจัง

นางอังคณา สุขวิบูลย์

1. ใฝ่รู้ คือ การกระตือรือล้นมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้หรือทักษะเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยการเรียนรู้ศึกษาเพิ่ม

เติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือจากบุคคลอื่นๆ

โดยมีลักษณะเป็นคนช่างสังเกตุใส่ใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงพร้อมที่จะรับทุกสถานการณ์ คิดนอกกรอบ

ใน กฟผ. ผู้บริหารมีนโยบายให้จัดทำองค์ความรู้ (KM) ฝึกอบรม สัมมนา พี่สอนน้อง หมุนเวียนการปฏิบัติงานฯ

2. การเรียนรู้จาก ท่านอาจารย์สุขุม นวลสกุล

บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน ชัดเจนในตัวอย่างที่นำเสนอ นอกจากนี้ยังได้เข้าใจถึงความขัดแย้งนั้นมิได้มีแต่ข้อเสีย มีข้อดีอยู่มาก เพียงแต่เราจะนำความขัดแย้งนั้นไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร ซึ่งก็มีทางออกและทราบว่าในการตัดสินใจของผู้บริหารนั้น ถ้าถูกต้องไม่ถูกใจและผิดจังหวะ...ตายแน่ เพราะฉะนั้นจังหวะมีส่วนสำคัญจริงๆ

3. การได้รู้จัก ท่านอาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ได้ทราบว่าการดำรงชีวิตและแนวทางการพัฒนาสร้างทุนทางจริยธรรมให้เกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการที่จะทำให้ได้รับการยอมรับทั้งในตนเองและองค์กร การแก้ปัญหาสังคมซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงถึง ซึ่งการสร้าง Social Network นั้น เป็นสิ่งสำคัญในโลกปัจจุบัน สำหรับใช้ในการสร้างสิ่งที่ดีงานให้กับสังคมและโลกในอนาคต นอกจากนี้พระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ เป็นสิ่งวิเศษที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ

สมศักดิ์ นพสรอมรกิจ

ข้อ 1. การใฝ่รู้ใน กฟผ. ตามความเห็นของผมคือ การที่เรามีความกระตือรือร้น ในการค้นคว้า ศึกษา และเรียนรู้ทุกสิ่งรอบด้านอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะที่มีผลกระทบกับตัวเราโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน สังคม เศรษฐกิจ

ข้อ 2. สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อ.สุขุมฯ ได้รับประสบการณ์จาก อ. ในเรื่องของ

  2.1 ความขัดแย้งที่เป็นเรื่องส่วนรวมไม่ควรเอาความขัดแย้งส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง และไม่ควรเอาความขัดแย้งส่วนรวมกลายมาเป็นความขัดแย้งส่วนตัว รวมถึงวิธีการบริหารความขัดแย้งให้ความขัดแย้งนั้นเป็นความขัดแย้งเพื่อการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

  2.2 การเจรจาต่อรอง ควรใช้ปิยวาจา เนื่องจากเป็นการหาข้อสรุป ไม่ใช่การคิดที่จะมุ่งแพ้-ชนะ และจะต้องมีการเตรียมการ และศึกษาหาข้อมูลของคู่เจรจาประกอบล่วงหน้าก่อน ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ที่สำคัญคือจะต้องอ่านใจของคู่เจรจา

 ข้อ 3. สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อ.ดนัยฯ โลกเราทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ตัวเรา/องค์กรจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนจะต้องมีต้นทุนทางจริยธรรม ต้องรู้จักเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ต้องตอบแทนกลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม

ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรือง

ดร. จิระ หงส์ลดาลมภ์

ใฝ่รู้ในทุกเรื่องที่เกิดใน กฟผ.

ในทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดใน กฟผ.

คน

โครงสร้าง

การลงทุน

การดำเนินการของผู้นำ

ผลกระทบที่เกิด โดยตรงและโดยอ้อมต่อ กฟผ.

รศ. สุขุม นวลสกุล

ในไปใช้บริหารการประชุม

ใช้เจรจากับคน

คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การเลี่ยนแปลงเริ่มจากตังเราและขยายออกภายนอก

inside----company--------socity

นายชัยพร พิมมะรัตน์

การใฝ่รู้ใน กฟผ.คือ

1.การพัฒนาตนโดยการศึกษาหาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม(การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยฯและการเข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆทั้งภายในและภายนอก กฟผ.)

2.มองลู่ทางแก้ไขปัญหาให้องค์กร ต้องประสานกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ กลุ่มอิทธิพลต่างๆ

3.เรียนรู้ข้อผิดพลาดที่ผ่านมาและมุ่งหาช่องทางที่จะทำให้องค์กรแข็งแกร่ง ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

สิ่งที่ได้จากอาจารย์สุขุมฯ คือ

1.การระงับความขัดแย้งโดยใช้ตัวเราเองเป็นตัวตั้ง (ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากตัวเรา หากไม่รู้ความขัดแย้งสามารถเกิดได้เสมอ)

2.การเจรจาต่อรอง ต้องรู้จักใช้ทฤษฎีเกมส์ในการต่อรอง

3.การรู้จักพูด รู้จักทำ รู้ว่าเวลาใดควรทำอย่างไร ปัญหาจะไม่เกิด

สิ่งที่ได้จากอาจารย์ดนัยฯ

1.นำพระพุทธโอวาทมาในในการทำงาน

2.การให้โอกาสแก่คนที่ไม่มีที่ยืนในสังคมได้รับความอบอุ่น

3.การทำ CHR อย่าเอาแต่โฆษณาขอให้ทำด้วยใจ แล้วผลจะดีเอง

สวัสดีค่ะอาจารย์จิระ และทีมงาน....การบ้านกำหนดส่งกลางคืน แต่ขอส่งตอนเช้านะคะ เมื่อคืนทำงานเสร็จก็ดึกแล้วค่ะ เลยไม่ได้ร่วมทานอาหารเคล้าเสียงเพลงพี่ๆ กฟผ. เลย คงต้องปรับและบริหารเวลากันหน่อย เพราะงานก็เป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบ แต่การเข้าร่วมอบรมและทำการบ้านก็เป็นการ "ไฝ่รู้" อย่างหนึ่ง ดังนั้น มาช้าดีกว่าไม่มานะคะ :)

การบ้านข้อแรก .... "คำว่า “ใฝ่รู้” (Learning Culture) ใน กฟผ. คืออะไร?"

แบบว่าไม่ได้อยู่ กฟผ. ขอตอบการใฝ่รู้ในองค์กรตัวเองแทนนะคะ...ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สกพ. เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตามกฎหมายใหม่ และส่วนตัวก็พึ่งทำงานที่นี่ได้ 6 เดือนเองค่ะ ดังนั้น จึงต้องมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมาย การเรียนรู้ที่ดี ก็ต้องมาจากตัวเราเองว่ามีความใฝ่รู้มากน้อยแค่ไหน และมีวิธีการอย่างไร สำหรับตนเองใฝ่รู้ด้วยการ

1. "เปิดใจให้กว้าง" ต้องรับฟังความคิดเห็นทั้งบวกและลบได้ คิดบวก และอย่าอคติ

2. "รับฟังให้มาก" โดยเฉพาะการรับฟังจากผู้มีประสบการณ์ตรง และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์จริง

3. "เข้าใจให้ถ่องแท้" สงสัยต้องถาม อย่าแอบทำเป็นรู้เรื่องดี แต่จริงๆ แล้วเข้าใจไปเอง หรือเข้าใจผิด

4. "โต้แย้งอย่างสุภาพ" อันนี้คงต้องมีบ้าง เพราะอาจมีสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย และต้องทำความเข้าใจ

Learning Culture ควรเป็นบรรยากาศขององค์กร แต่ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนค่ะ

การบ้านข้อที่ 2....ได้อะไรบ้างจากการบรรยายของ อจ. สุขุมฯ

ส่วนตัวชอบอาจารย์มาก ดีใจที่ได้เจอตัวจริงค่ะ แต่เสียดายที่ไม่ได้ขอลายเซ็น....:) ชอบการบรรยายแบบยกตัวอย่างได้อย่างเห็นภาพ และนึกออกว่าจะเอาไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างไร เป็นอะไรที่ยาก เพราะงานในตำแหน่งที่ทำถูกกำหนด Competency ไว้ว่าจะต้องมีทักษะในการ "เจรจาต่อรอง" ทั้งกับเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หน่วยงานภายนอกทั้งใน (หลายครั้งที่ต้องเจรจาต่อรองกับ กฟผ.) และต่างประเทศ มี case เกิดขึ้นใหม่ๆ ทุกวันที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ แบบว่างานประสานสิบทิศ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการ "ทำให้งานเสร็จ" คิดว่านำไปใช้ได้ทันทีเลยค่ะ

การบ้านข้อที่ 3....ได้อะไรบ้างจากการบรรยายของ อจ. ดนัยฯ

เป็นวิทยากรทีมีคุณภาพมากค่ะ ที่สำคัญท่านไม่ใช่แค่ "สอน" แต่ท่าน "ทำ" ให้เห็นจริงด้วยตนเองด้วยว่าจริยธรรมมีความสำคัญไม่แพ้มุมมองแค่ด้านการเงิน หรือผลกำไรเพียงอย่างเดียว การบริหารงานอย่างมีจริยธรรมจะก่อให้เกิด "มิตร" และเกิด "ความยั่งยืน" ทั้งตัวบุคคลและองค์กร สมัยนี้ "คนเก่ง (แต่เรียน)" มีเยอะค่ะ แต่ "คนดีมีจริยธรรม" เริ่มถดถอยน้อยลง เพราะมัวแต่ "ตามน้ำกันไป"

ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

1.สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ รศ.สุขุม นวลสกุล ในเรื่อง "การบริหารความขัดแย้ง การเจรจรต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ"

- ได้ทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทั้งระหว่างบุคคล, ระหว่างบุคคลกับองค์กร และความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน

- ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้บริหารพึงใช้ในการประกอบการตัดสินใจเมื่อเกิดความขัดแย้ง ซึ่งได้แก่ ข้อมูล, ประสบการณ์, การคาดการณ์, ผลกระทบ, สถานการณ์ และการตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ถูก คือ 1)ถูกต้องคือรู้ว่าจะหาข้อมูลที่ใคร 2)ถูกใจ และ 3)ถูกจังหวะ โดยผู้บริหารต้องรู้จักสร้างจังหวะ

- ได้ทราบถึงหลักที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง โดยผู้บริหารต้องมีการเตรียมข้อมูลคู่เจรจาว่าเป็นอย่างไร และมีเป้าหมายการเจรจาที่ชัดเจน

2. สิ่งที่ได้รับจาการบรรยายของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย เรื่อง "การสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร"

- ได้ทราบว่าการจะสร้างทุนจริยธรรมในองค์กรได้นั้น ต้องสร้างให้พนักงานในองค์กรมีจริยธรรมก่อน คือ ต้องมี ISR (INDIVIDUAL SOCIAL RESPONSIBILITY)

วันชัย หงส์เชิดชัย

1.การใฝ่รู้คือการไม่หยุดนิ่งในการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา การกระตือรือร้นในการค้นคว้าหาความรู้

เพิ่มเติมในทุนด้านที่เราอยากจะรู้ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อใช่เป็นข้อมูลในการวางแผน ตัดสินใจ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ในการใช้ชิวิตประจำวันและในการทำงานเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างที่เราต้องการ

2.อาจารย์สุขุม นวลสกุล ได้ให้ความรู้มากมายในแนวทางการบริหารความขัดแย้ง การปฏิบัติตนในการฐานะผู้บริหารเพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรที่ดูแลอยู่ วิธีการพูดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

3. อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้ให้ความรู้ทางด้านจริยธรรมในองค์กร หลักธรรมที่ความยึดถือปฏิบัติ ความไม่มีจริยธรรมในสังคม หลักความคิดของ White Ocean การก่อตั้งกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสรรจริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

เกรียงศักดิ์ พูลเฉลิม

EGAT Learning Culture

การพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีการใฝ่หาความรู้ โดยรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรให้เป็นระบบและมีการถ่ายทอดในวงกว้างด้วยเครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ภายในองค์กรเช่น การอบรม การสอนงาน เป็นต้น และมีการนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้ายั่งยืนต่อไป

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและการตัดสินใจ

ความขัดแย้งมีทั้งส่วนดีและไม่ดี

ทำให้เกิดการทั้งพัฒนาและปัญหา

การตัดสินใจ

การตัดสินใจต้องอยู่บนความถูกต้องเสมอ ต้องแม่นกฎระเบียบ

การเจรจาต่อรอง

ต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน

ต้องไม่เอาเปรียบกัน

การสร้างจริยธรรมในองค์กร

ได้เรียนรู้หลักการ White Ocean Strategy

เรียนรุหลักการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

เรียนรู้หลักการ ISR (Individual Social Responsibility

ใฝ่รู้ใน กฟผ.คืออะไร

คืออุปนิสัยที่แสวงหาความรู้ที่ปฎิบัติเป็นนิสัย

ความรู้ที่แสวงหาได้แก่

งานที่ต้องปฎิบัติเป็นประจำ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นตามอายุการทำงาน

ความรู้รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ทำอยู่ทั้งในภาพกว้างและภาพเล็ก

สิ่งที่น่าสนใจรอบตัวที่ทำให้ชีวิตมีความสุข

การบริหารความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง รศ สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้ง ไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นด้านลบ สามารถเป็นด้านบวกได้

ความขัดแย้งด้านบวกทำให้เกิดทางเลือกในการพัฒนา

ความขัดแย้งที่เกี่ยวกับส่วนรวมเป็นเรื่องที่ดี ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องไม่ดี

ข้อดีของประชาธิปไตยคือ มีฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ก่อให้เกิดการพัฒนา

กคามขัดแย้งในระดับองค์การก็เป็นเรื่องส่วนที่เป็นบวก แต่สังคมไทยมักทำเรื่องส่วนตัวให้เป็นเรื่องา่วนรวม ต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้น

การบริหาร เป็นการทำให้เกิดสิ่งดีๆ และระวังไม่ให้มีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น

ผู้บริหารต้องจัดการไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่ดี(ล่วงหน้า)

ในการประชุมการไม่มีคนพูดเลยเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด

ผู้บริหาร ต้องไม่กลัวลูกน้อง ไม่ปล่อยให้ลูกน้องทำสิ่งไม่ถูกต้อง

ต้องยึดหลักกันดีกว่าแก้

คามขัดแย้งระหว่างคนและองค์การ เกิดจากการขาดการอธิบาย เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยมมานาน

การแก้ไข ต้องมีคำอธิบาย

ผู้บริหารต้องมีความสามารถอธิบายได้ไม่ใช่ทำตัวเป็นเพียงผู้รายงานข่าว

การเป็นโฆษกที่ดี สามารถสร้างได้เป็นพรแสวงไม่ใช่พรสวรรค์ และคำตอบที่บอกออกไปต้องไปในทิศทางเดียวกัน

ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เกิกจากการไม่เข้าใจบทบาท หลงหน่วยงานตัวเอง

การแก้ไข ไม่คิดว่าหย่วยงานของเราดีเลิศกว่าคนอื่น ต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในองค์การ

องค์ประกอปในการเจรจาต่อรองและการตัดสินใจ

ข้อมูล

ประสบการณ์

ผลกระทบ

สถานการณ์

การตัดสินใจต้องเตรียมตัวล่วงหน้าและหาคำตอบไว้เลยว่าจะต้องรับผลอย่างไรบ้าง

"การตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง"

ต้องรู้วิธีที่จะแสวงหาความถูกต้อง ปรึกษาผู้รู้ที่แท้จริง ไม่ใช่คนสนิทหรือคุ้นเคย

จุดมุ่งหมายของหารเจรจาต่อรองคือ "การแสวงหาข้อยุติ"

การเจรจาต่อรองไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องดูเป็นกรณีๆไป

การแสวงหาข้อยุติต้อง

สร้างความเข้าใจ

ใช้ปิยะวาจา

หาสิ่งจูงใจ

อ. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

บรรยาย white ocean strategy

บรรยายถึงต้นทุนทางจริยธรรม

สถานะปัจจุบัน

ธรรมชาติเปลี่ยน

สังคม วัฒนธรรมเปลี่ยน

Internet ทำให้สังคมเปลี่ยน

สิ่งที่ประทับใจ ไอน์สไตน์พูดว่า "คำจำกักความของความโง่งมคือการกระทำสิ่งเดิมๆโดยหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนไป"

ถึงทุกท่าน

ผมเปิด Blog ตอนกลางคืน

•ก็มีคนส่งมาหลายคน

•พอเปิดช่วง 6 โมงเช้า มีจำนวนมากขึ้น

•ทุกท่านมีความสามารถใช้ศักยภาพให้เป็น

ถึงคุณกิติ (โดนเฉพาะ)

ผมอ่านข้อเขียนแล้ว และเมื่อคืนนี้ได้นั่งคุยกัน

•ดีใจที่ได้พบคนแบบคุณ

•เก่ง แต่ต้องอยู่รอดยั่งยืน

•อย่าตกราง ก็แล้วกัน

ผมรู้จักคนเก่งมาเยอะแล้ว ถึงมีอายุระดับหนึ่ง ต้องปรับตัว คุณก็คงจะใช้โอกาสนี้สังเกตเยอะๆว่าเหนือฟ้า ก็มีฟ้า

ผมดีใจที่ได้พบและรู้จัก ยินดีจะเป็น Coach ที่ดีครับ กฟผ. อยู่ในมือพวกคุณครับ

1.การใฝ่รู้ (Learning Culture) หมายถึงการมีค่านิยมที่สนใจในการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ มีทัศนคติเชิงบวกในเรื่องการเรียนรู้ บุคคลที่ใฝ่รู้จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่มุ่งมั่นในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอเรียนรู้ ตลอดชีวิต

2. สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก รศ.สุขุม นวลสกุล

1. ประเภทและเงื่อนไขของความขัดแย้งรวมทั้งแนวทางในการตัดสินใจต่อประเด็นความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง

2. ความเข้าใจบทบาทผู้บริหารที่พึงกระทำเพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร

3. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

1. ได้รับแนวคิดและความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ลักษณะขององค์กรแบบ White Ocean แนวคิดในการสร้างประเทศให้เป็นมหาอำนาจแห่งความดี ต้องเริ่มต้นพัฒนาในระดับปัจเจกชนก่อน

2. ได้รู้จักกับคนดี คนเก่ง ผู้ที่มีผลงานที่สร้างสรรค์แนวคิดกิจกรรมที่ดีต่อประเทศเพิ่มขึ้นอีก 1 ท่าน

3. ทำให้เกิดความสนใจศึกษา ติดตามผลงานอาจารย์เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำ ผลักดันให้เกิดสิ่งที่ดีๆต่อไป

1.การใฝ่รู้ของ กฟผ.

กฟผ.เป็นองค์กรขนาดใหญ่ การดำเนินกิจการของ กฟผ. มีผลกระทลต่อสังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บุคลากรของ กฟผ.นอกจากจะต้องใฝ่รู้ด้านวิชาชีพเฉพาะที่ตนเองรับผิดชอบอยู่แล้ว ยังจะต้องใฝ่รู้ในเรื่องอื่นๆที่มีผลกระทลต่อการดำเนินกิจการของ กฟผ.ให้ครอบคลุมทุกๆด้านครับ

2.ความรู้ที่ได้รับจาก อ.สุขุม นวลสกุล

•ความขัดแย้ง ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ มิใช่ทำลายอย่างเดียว

•ต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายเป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล

•การตัดสินใจต้องถูกต้อง ถูกใจและถูกจังหวะ

3.ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

•องค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก องค์กรนั้นจะไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป

•ปรัชญาของพุทธศาสนา สามารถนำมาประยุกต์กับการดำเนินธุรกิจได้

1.ใฝ่รู้ในความรู้สึก

•ความใฝ่รู้จากงานที่รับผิดชอบโดยตรง โดยมีมุมมองของการพัฒนาหรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

•ความใฝ่รู้จากเรื่องต่างๆ ที่มีผลต่องานทั้งในเรื่องของสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ชุมชน ที่มีผลกระทบต่องานหนักที่ทำ

•ความใฝ่รู้จาก แนวคิดของผู้อื่น หรือปราชญ์ที่จะนำมาปรับวิสัยทัศน์ กระบวนทัศน์ในการทำงาน

2. ได้อะไรจาก อ.สุขุม นวลสกุล

•ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ ทำอย่างไรทำให้ความขัดแย้งนำไปสู่การพัฒนา ไม่ใช่ต่อให้เกิดความรุนแรง

•ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร ทำให้ปรับมาสู่วิธีการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับ กฟผ. ในโครงการพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งมีเหตุจากความเข้าใจและไม่อธิบายให้ชัดเจน

3.ได้อะไรจาก อ.ดนัย

•ความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันทั้งทางบวกและทางลบ

•การที่ทำอะไรซ้ำๆ เหมือนเดิม เหมือนมีชีวิต แต่ไร้ชีวา

•ทุนทางจริยธรรมมีความสำคัญต่อองค์กรและจริยธรรมส่วนบุคคล

ความใฝ่รู้ หมายถึง

- รักที่จะหาความรู้ทั้งการอ่าน การฟัง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งความรู้ตามบทบาทหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ และความรู้ทั่วไป ที่ควรรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสามารถปฏิบัติจนเป็นนิสัยตลอดไป

- ความต้องการศึกษาหาความรู้ ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนเพื่อทำให้ตนเองมีความรู้กว้างขวาง เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ และมีอนาคตก้าวหน้า

นายวัฒนา หลายเพิ่มพูน

ความรู้ที่ได้รับจาก อ.สุขุม นวลสกุล

1.ประเทศมีรัฐบาลและฝ่ายค้าน

2.การบริหารงานที่ดีในการประชุมควรให้มีความขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งจะทำให้ทราบความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งทำให้สามารถ แก้ไข ข้อขัดแย้ง ถ้าไม่มีความขัดแย้งจะไม่ทราบข้อมูล แต่ต้องระวัง ไม่ให้เกิดความขัดแย้งส่วนบุคคล

3.การพูดตรง ไม่ใช่การพูดก้าวร้าว

4.การเจรจาต่อรองไม่ใช่การเจรจาเพื่อให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะแต่เป็นการเจรจาเพื่อให้สมประสงค์ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องพยายามหลีกเลี่ยง การโต้แย้ง

ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

1.การให้โดยไม่มองถึงผลกำไร ผลที่ได้คือ ยิ่งให้มาก ยิ่งได้รับมากด้วย

2.การทำ CSR ควรทำให้ถึง Country Social Responsibility ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมระดับประเทศและระดับโลก เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

3.ธุรกิจสีขาว (White Ocean) ซึ่งมีความคิดหลักที่สำคัญคือ

a.การเกิดขึ้นและมีอยู่ขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวก ต่อสังคมโดยรวม (Net positive Impact on society)

b.การตั้งเป้าหมายเป็นการมองระยะยาว และในระดับมหภาค (Long – term Goal, Macro view)

c.แสวงหาจุดสมดุลระหว่าง People, Planet ,Profit และ passion

d.ยึดมั่นบนหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณ์ (The World of Abundance)

e.ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความเป็นจริงและความเป็นเนื้อแท้ (Integrity)

f.เป็นตัวอย่างชัดเจนในเรื่อง Individual Social Responsibility (ISR)

g.เป็นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจและสังคม (Being Role Model for Benchmarking)

การใฝ่รู้ในการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คืออะไร

คือการที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในงานที่ตนเองรับผิดชอบให้เข้าใจในทุกด้าน อีกทั้งยังหาความรู้ในงานอื่นที่ตนเองยังไม่รับผิดชอบเมื่อมีโอกาส นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่ติดตามสถานการณ์ของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านของโลกในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังงาน สิ่งแวดล้อม การลงทุน

พิพัฒน์ ราษฎร์ศิริ

1.ศ.ดร.จีระ ใฝ่รู้ หรือ Learning Culture : ความหมาย

คือ กระบวนการขนขวายด้วยใจที่ฝักใฝ่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเหตุผลที่สามารถสนับสนุนหรือตอบคำถามในประเด็นที่ต้องการ

แนวทางที่สนับสนุน เพื่อให้คน กฟผ. เกิดความใฝ่รู้ ดังนี้

1.สร้างบรรยากาศที่ดี ในการเรียนรุ้ ในกลุ่มงานหรือหน่วยงานตนเอง

2.สร้างแรงบันดาลใจ โดยอาจมีรางวัลตอบแทน ให้กับกลุ่มงานนั้นๆ เช่น กิจกรรม QC เป็นต้น

3.หัดใช้คำว่า Why บ่อยๆ ในสิ่งที่ยังไม่มั่นใจว่าถูกต้อง สมบูรณ์

4.ใฝ่รู้ คิด ฟัง อ่าน ให้ได้มาซึ่ง Value Added

2.รศ.สุขุม การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจ

a.การบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคล มักจะเกิดขึ้นง่ายและบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากความอิจฉาริษยา เอารัดเอาเปรียบ หรือบางครั้งจากการไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดในการสื่อสารกัน แนวทางการป้องกัน คือ ต้องฝึกเป็นคนเปิดใจกว้าง รับฟังผู้อื่น นิ่งเฉยในบางโอกาส พยายามอย่าให้เกิดขึ้น

b.ความขัดแย้งบุคคลกับองค์กร มักเกิดขึ้นจากการสื่อสารทางเดียวจากองค์กร จึงเป็นหน้าที่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานทุกระดับจะต้องช่วยกันบริหารให้มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั่วถึง แนวทางป้องกัน คือ จัดเวทีสัมมนาในเรื่องสัมมนาในเรื่องสำคัญ เพื่อระดมสมองและถ่ายทอดความคิดซึ่งกันและกัน ซึ่งมักจะเกิดการยอมรับเชิงบวกมากกว่า สื่อสารทางเดียว

c.ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เป็นหน้าที่ผู้บริหารโดยที่ต้องติดตามหาข้อมูลข่าวสารในเรื่องนั้นๆ และพึงคิดเสมอว่าบทบาทผู้บริหารควรต้องทำตัวอย่างไร จึงจะไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

3.อ.ดนัย การสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร อาจจะต้องเริ่มจากตัวเรา ซึ่งเป็นคนหนึ่งในองค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่ง “องค์กรสีขาว” คนในองค์กรจะต้องร่วมกันคิด สร้าง จริยธรรมของตน ในช่วงเวลานั้นๆ

หากคนส่วนใหญ่ ในองค์กรทำได้เช่นนั้นแล้ว การเป็นองค์กรสีขาว หรือ Corporate Social Responsibility หรือ CSR ก็คงไม่ยากเกินไป

หรือ ISR (Individual Social Responsibility)

CSR (corporate Social Responsibility)

นายจักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์

1. การใฝ่รู้ใน กฟผ. หมายถึง การที่พนักงาน กฟผ. มีพฤติกรรมที่แสวงหาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา โดยนำความรู้นั้นมาปฏิบัติและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เกิดเป็นนวัตรกรรม สะสมเป็นภูมิปัญญา จนกระทั่งการปฏิบัตินี้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

2. สิ่งที่ได้รับจาก อาจารย์สุขุม นวลสกุล มีดังนี้

- ที่มาแห่งความขัดแย้ง ประเภทของความขัดแย้ง และการบริหารความขัดแย้ง

- องค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ในการตัดสินใจ

- ความหมายของการเจรจาต่อรอง การเตรียมการเจรจาต่อรอง และหลักการเจรจาต่อรอง

3. สิ่งที่ได้รับจาก อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย มีดังนี้

- การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง

- การมีจินตนาการ และความสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

- ความหมายของ White Ocean

- การสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

จาก Session รศ.สุขุมฯ

อาจารย์แบ่ง Conflict เป็น ส่วนรวมและส่วนตัว

1. Conflict ส่วนรวม นำมาซึ่งการหาแนวทางที่ดีกว่า เกิดประโยชน์ในวงกว้าง

2. Conflict ส่วนตัว ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องในการทำงาน

3. ปัญหามักเกิดกรณีนำ Conflict ส่วนรวม มาปะปน แล้วนำไปสู่ Conflict ส่วนตัว

4. ในปัจจุบัน กฟผ. จะต้อง focus ที่ Conflict ระหว่าง กฟผ. กับ ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในยุคนี้ ผู้บริหารจะต้องแก้ไขประเด็นนี้ให้ได้

จาก Session อ.ดนัยฯ

1.ความรู้เรื่อง White Ocean Strategy

2.ประเด็นข้อสังเกตจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่จะอยู่รอดคือผู้ที่มีความสามารถปรับตัวได้ดี

3.หลักคำสอนของศาสนาพุทธซึ่งกล่าวถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สอดคล้องกับสถานการณ์โลกอย่างยิ่ง

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

จาก Session ผศ.ธีระศักดิ์ฯ

1. Adversity Quotient (AQ) คือความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และการเปลี่ยนโอกาสนั้นเป็นความก้าวหน้า

2. AQ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้องมี ควบคู่ไปกับ IQ และ EQ

3. ในการทำงาน ควรตั้งคำถามก่อนทำทุกครั้งว่า

3.1 ทำไมต้องทำวิธีนี้

3.2 มีวิธีที่ดีกว่าหรือไม่

3.3 วิธีนั้นคืออะไร

จากวิดิทัศน์ อ.ไพบูลย์ฯ

1.ในการเจรจาต่อรองจำเป็นต้องมีกระบวนการและผู้ organize กระบวนการ เนื่องจากคู่เจรจาไม่มีประสบการณ์

2. ความสำเร็จในการเจรจามาจาก

2.1 กระบวนการที่ดี

2.2 ทัศนคติที่ดี

2.3 เนื้อหาดี

จากการอภิปรายนวัตกรรมทางสังคมกับการทำงานของกฟผ.

ทำให้ได้รับรู้ถึงแนวทางของ NGO กลุ่มที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม

โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ที่ต้องปรับทัศนคติเข้าหากันและมุ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเป็นสำคัญ

หากกฟผ.ปรับวิธีคิดและแนวทางการทำงานกับภาคประชาสังคมก็มีโอกาสที่จะพัฒนาโครงการได้สำเร็จ

ความรู้จาก อ.ธีระศักดิ์ฯ

-- ผู้บริหาร Work Smart not work Hard, Get thing done through Others.

-- Situation Management ประกอบด้วย Tell Sell Consult Delegate

-- เงินเป็นตัวกระตุ้นหรือรางวัลที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1 เมื่อขาดแคลน 2 จำนวนมากพอ 3 เมื่อเงินผูกกับความสำเร็จ

-- ผู้นำต้องมีทั้ง IQ และ EQ

-- การคิดนอกกรอบเป็นหลักการบริหารที่ควรทำ

-- ผู้บริหารมีหน้าที่ POSCORB

ความรู้จาก รองผู้ว่าธวัช

-- สังคมไทยเป็นสังคมที่มี Low Trust

-- การสร้างโรงไฟฟ้าไม่สามารถใช้ขบวนการหรือวิธีการในอดีต

-- ปัญหาที่ กฟผ เผชิญปัจจุบัน มี 4 ข้อ 1. เชื้อเพลิง 2. แผน PDP 3.การจัดการสื่งแวดล้อม 4.บริบทสังคมที่เปลี่ยนไป

-- Economy of scale ในการโรงไฟฟ้า

-- Bio field ใช้เกือบหมดแล้ว

ความรู้จากคุณวิฑูรย์

--วิกฤตอาหารและพลังงาน

เกรียงศักดิ์ พูลเฉลิม

- ได้เรียนรู้เทคนิคการบริหารคนในองค์กร และเทคนิคการควบคุมการทำงาน (Controlling) โดยแบ่งเป็น Controlling with Authority และ without Authority

- ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ

- ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้ตาม

- การทำงานในสมัยก่อน กำหนดว่าต้องมี IQ สูง แต่ปัจจุบันนี้ต้องมี EQ และ AQ เป็นส่วนนำ

- ได้รู้เทคนิคการจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน โดยให้ทั้งรางวัลและการลงโทษ

- ได้รู้แนวทาง ข้อคิดเห็น รวมถึงปัญหาของชุมชน เพื่อนำมาสร้างเสริมความเข้าใจในการแก้ปัญหา และพัฒนาพลังงานในอนาคต

ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ธีระศักดิ์

- คนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมี IQ (ความฉลาด) EQ (การควบคุมอารมณ์) และ AQ (ความสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส)

- อารมณ์ไม่ดี เกิดจากความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล

- การลงโทษ คือการหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ ส่วนการจูงใจ คือการสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมดี

- รูปแบบการบริหาร 4 แบบ ได้แก่ Tell (การบอกงาน) Sell (การขายงาน) Consult (การร่วมงาน) และ Delegate (การมอบงาน)

สามารถเลือกใช้ได้ตาสถานการณ์ โดยต้องคำนึงถึง ลักษณะงาน วุฒิภาวะผู้ตาม และความต้องการของผู้ตาม

ความรู้ที่ได้รับจาก รองผู้ว่าธวัช

- ผู้บริหาร กฟผ.ในอดีต บริหารงานดี ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ ไฟฟ้าไม่เคยดับ ราคาไม่สูง

- ผู้บริหารปัจจุบัน มีโอกาสที่จะพัฒนาต่อยอดให้ดีกว่าเดิมน้อยมาก

- ประชาชน ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ส่งผลทำให้ กฟผ. ต้องเผชิญปัญหา 4 ข้อ ได้แก่1.เชื้อเพลิง (ไม่ให้ใช้ Nuclear ไม่ให้ใช้ถ่านหิน) 2. แผน PDP (ไม่เชื่อว่าวางแผนถูกต้อง) 3.การจัดการสื่งแวดล้อม 4.บริบทสังคมที่เปลี่ยนไป

ความรู้ที่ได้รับจาก คุณวิฑูรย์

- ปัจจุบัน NGO รับเงินจาก หน่วยงานใน ประเทศเป็นส่วนใหญ่

- กฟผ. สามารถทำงานร่วมกับ NGO เพื่อสร้างสรรประเทศได้

- การทำให้พลังงานไฟฟ้าเพียงพอ ไม่ใช้การเพิ่มโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว การจัดการดำรงชีวิตแบบใหม่การใช้ไฟฟ้าตามความจำเป็นก็สามารถแก้ปัญหาได้

วันชัย หงส์เชิดชัย

ความรู้ที่ได้รับจาก ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ ในเรื่องจิตวิทยาของนักบริหารมีมากมาย สิ่งสำคัญในการบริหารในปัจจุบันคือการบริหารการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันโลกมีวิวัฒนาการที่เร็วมากการเปลี่ยนแปลงทั้งธรรมชาติ สังคม พฤติกรรมของมนุษย์ เราจะต้องศึกษาเพื่อให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เพื่อคาดการณ์อนาคตเกี่ยวกับพฤติกรราตนเองและผู้อื่น เพื่อหาทางควบคุมพฤติกรรมตนเองและผู้อื่น ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร ลักษณะของผู้นำที่ดี ศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้นำจะต้องมีกระบวนการความคิดอย่างไร

ในส่วนภาคบ่าย คุณธวัธ วัจนะพรสิทธิ์ และคุณวิทูรย์ เลื่อนจำนงค์

ทั้งสองผู้ท่านเหมื่อนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ แต่เหมือนอยู่คนละมุมของความคิดคุณวิทูรย์มองทางด้าน Micro ของประเทศในส่วนของสังคมและชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนและสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศในส่วนของคุณธวัธมองทางด้าน Macro มองภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศและของโลก มองถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศซึ่งหากนำทั้งสองด้านมารวมกันและเปิดใจยอมรับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาทั้งด้าน Micro และ Macro อนาคตด้านพลังงานของชาติไทยจะไม่มีทางอยู่ล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระฯ ที่เคารพ

# วันนี้ ผมได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก ถือเป็นโชคดีมาก ที่มีโอกาสเรียนรู้ด้านจิตวิทยาการบริหาร (จริงๆแล้วก็รับฟังมาจากหลายท่านและหลายที่ทั้งในและต่างประเทศ แต่ไม่ได้นำมาใช้อย่างเป็นระบบ) ในตอนบ่าย ผมก็สนใจรับฟังความรู้ ความคิด จากหลายท่าน ผมค่อนข้างชอบบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้ ขอขอบคุณท่านรองผู้ว่าการฯ ที่เปิดเผยเรื่องราวจริงๆ ขอขอบคุณผู้แทน จาก NGO ที่เปิดใจพูดคุยในหลายๆ ประเด็น แม้จะดูไม่เข้มแข็งเหมือนหลายครั้งที่เคยต่อรองกันมาก่อน แต่น่าจะมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อจำกัด เงื่อนไข ที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศในแนวทางที่มีการใช้สติ คิดดี ทำดี เพื่อร่วมพลังสร้างสังคมไทยที่ดีๆ มีความสุข ในอนาคตครับ

ผมจะ Share Infomation ในส่วนที่ผมมีข้อมูลให้เพื่อนๆ ครั้งต่อไปครับ

สำหรับวันนี้ผมชอบคำที่อาจารย์พูด ......... ขอให้เวลากับการพัฒนาสิ่งดีๆอย่างเต็มกำลัง ......... สร้างช่องทางการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ........... รักษาสมดุลย์ร่างกาย ...........

@เวลาอาจารย์บอกตรงนี้ ผมสะดุดใจ มองย้อนกลับมาที่ตัวผมว่า ...... ผมเพียงคิดและทำงานอย่างทุ่มเทอย่างดี แต่ขาดการสร้างความยั่งยืนให้กับระบบ และขาดการรักษาสมดุลย์ร่างกาย แล้ววันหนี่งผมคงจะทำได้ดีกว่านี้เมื่อได้รับรู้มากขึ้น

พี่ๆ เพื่อนๆ EGAT-EADP-2011 ทุกคน

Topic: เรียนรู้การเมืองไทยจาก Website ที่อาจารย์จัดทำเป็น LO ที่ http://www.naewna.com/

ผมขอแจ้งเรื่องดีๆ ให้ทราบก่อนว่า ท่านอาจารย์จีระฯ ได้เปิดโอกาสให้พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้ ด้านการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา 2-3 ปี ในสถานการณ์ที่มีการตัดสินใจในเรื่องต่างๆของผู้นำรัฐบาลและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เป็นการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในผู้ที่มีความรู้รอบด้าน และใช้ความคิดด้านบวก วิเคราะห์-สังเคราะห์ ของท่านอาจารย์ ในแบบที่เป็นเหตุเป็นผลเพื่อชี้จุด แนะนำ เพื่อเปิดโอกาสให้นักการเมืองหลายท่านได้รับรู้ ความคิด ทัศนคติ และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมมากยิ่งขึ้น หากมองเห็นในความปรารถนาดีของผู้ชี้แนะอย่างเปิดใจ

ผมก็ไม่คุ้นเคยกับการ วิจารณ์ พฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคล เพราะไม่มีความรู้และความคิดที่สูงพอ ไม่มีต้นทุนทางสังคม และถึงมีก็อาจจะยังไม่กล้าพอ เรื่องราวหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในด้านการเมืองที่น่าสนใจเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาได้มีการรวบรวมอยู่ใน Website: http://www.naewna.com/

ขอให้พวกเราใช้ช่องทางการเรียนรู้เพิ่มเติมด้านการเมืองนี้ เป็น Learning and Sharing Channel ด้วยครับ

ขอขอบคุณมากครับ

Kitti Petchsanthad

10 May 2011

ผมต้องขอโทษที่ ออกจากห้องเรียนมาก่อนครับ ผมมีภารกิจจำเป็นต้องพบหมอเวลา 17.00 น. หลังจากที่เลื่อนนัดเมื่อวานนี้ครับ

เรียนเพื่อนๆ Group no.1 ครับ

ผมได้อ่าน Time100 ส่วนหนึ่งแล้ว และเลือกผู้ที่ผมคิดว่าจะสามารถใช้เป็นแบบอย่างความคิด-การกระทำ-พฤติกรรม ที่น่าจะเป็น Thinking & Working Pattern ที่ ปรับเปลี่ยน พัฒนา EGAT ในอนาคต 4 ท่าน

ท่านที่ 1: ผมเลือก ชายหนุ่มน้อย "O" ที่ทั่วโลกยอมรับให้เป็นผู้นำทางความคิดในการเปลี่ยนแปลง "CHANGE - EGAT"

ท่านที่ 2: ผมเลือก คุณแม่คนสวย "H" ที่ทั่วโลกรู้จักเธอ ผมยอมรับว่า H เป็นผู้มี Key Success Information & Strategy ของ USA และ World ทั้งหมดอยู่ในตัว แน่นอนการ CHANGE - EGAT" ต้องใช้พลังองค์ความรู้ทั้ง In & Out เพิ่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเปลี่ยนแปลง "CHANGE - EGAT"

ท่านที่ 3: ผมเลือก ชายหนุ่มใหญ่ "A" ที่กล้าประกาศ เปิดใจกับการให้ทุนกับ Nation เพื่อช่วยพัฒนาสังคมให้ดีและมีความสุข มากขึ้น ถือเป็นต้นแบบด้านพฤติกรรมการเสียสละ ที่ทั่วโลกยอมรับและการเปลี่ยนแปลง "CHANGE - EGAT" ต้องมีความกล้าด้านนี้

ท่านที่ 4: ผมเลือก สาวสวย "X" ที่ทุ่มเทกับการรักษาสภาพแวดล้อม ที่เป็นรากฐานของทุกๆ ชีวิตในโลก คือ Air & Water ที่จะเป็นปัจจัยชี้จุดจบของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านลบมากและเร็วกว่าที่โลกจะประบสมดุลย์ได้ทัน นั่นคือความจริง แน่นอนการ CHANGE - EGAT" ต้องใช้คนที่มีความมุ่งมั่น ใช้พลังเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมให้รัษาสมดุลย์กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

ท่านที่ 5: ผมยังไม่ได้เลือกครับ - พอดีเอกสารอยู่ที่ห้องอบรม ไม่มีอ่านครับ ฝากช่วยเลือกให้ด้วย แล้วตัดสินใจพรุ่งนี้ นะครับ

ขอจบแค่นี้ก่อนครับ ...... การบ้านของอาจารย์วันนี้ผมยังไม่ได้ทำเลย ไม่มีเวลา(ข้ออ้างอีกแล้ว....)

เทพประสิทธิ์ ธรรมธาร

การบ้านวันที่ 10 พค. 2554

1. จิตวิทยาการบริหาร

1.1 ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น

1.2 สามารถคาดการณ์ ถึง พฤติกรรมตนเองและผู้อื่น จนถึงทราบวิธีที่จะควบคุม

พฤติกรรมตนเองและผู้อื่น

1.3 พฤติกรรมผู้นำ พฤติกรรมของลูกน้อง

1.4 เทคนิคการมอบหมายงาน

2. นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation)

2.1 แนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า และระบบส่ง ในสถานการณ์ปัจจุบัน ตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากในอดีต

2.2 การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และสภาพทางสังคมในพื้นที่เป้าหมาย

2.3 การขาดแคลนเชื้อเพลิง โดยเฉพาะเชื้อเพลิง Fossil

2.4 การมองอนาคต เชื้อเพลิงสะอาด การผลิตไฟฟ้า ที่เป็น Green Energy

2.5 การร่วมมือกันในทุกภาคส่วน โดยมีผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การบรรยายจิตวิทยาการบริหาร  ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ 

วันที่ 10 พ.ค. 54 ณ ห้องประชุมท.102  ชั้น 20 อาคาร 20 ชั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เกริ่นนำ  หนังสือเรื่อง AQ

ในทัศนคติของอาจารย์คนประสบความสำเร็จในชีวิต มีแค่ IQ ไม่พอ  ดังจะเห็นจาก คนที่มี IQ สูงหลายคนทำผิดพลาดก็มีมาก ดังเช่น ดร.ทักษิณ พูดว่า “ใครเลือกไทยรักไทย แล้วทำเลย... ใครไม่เลือกรอไปก่อน หรือ UN ไม่ใช่พ่อ”  แสดงว่า ท่านอาจพูดโดยไม่ใช้ EQ  ซึ่งคุณทักษิณจะประสบความสำเร็จได้มากกว่านี้ถ้ามี EQ ด้วย

EQ คือความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง

ในยุคคุณทักษิณนี้ มี Q ขึ้นมาอีกตัวคือ AQ เรียกว่า การสร้างความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนโอกาสเป็นความก้าวหน้า – หมายถึงเมื่อมีวิกฤติมากขึ้น  แต่สามารถจัดการได้

Adversity Edge ยุคของการเผชิญกับความยากลำบาก

อาจารย์ธีระศักดิ์ เขียนหนังสือ AQ อึดเกินพิกัด”  ขึ้นในปี พ.ศ. 2548  ซึ่งช่วงนั้น ดร.ทักษิณชอบมาก เนื่องจากเป็นหนังสือที่ปลุกพลังความอึด  ให้คนไทยฮึดสู้ และอยากให้คนไทยอ่านหนังสือ ดังนั้นต่อมาเมื่อหนังสือตีพิมพ์ครั้งที่ 2 คุณทักษิณ ได้เขียนคำนิยมให้ในหนังสือ แต่ตอนที่ท่านเขียนคำนิยมนั้น คุณทักษิณอยู่ในช่วงขาลง หนังสือเลยขาลงไปด้วย แสดงว่า “คนเราเวลาไม่ชอบใครบางครั้ง แค่ลายเซ็นยังไม่อยากเห็น”  ต่อมาอาจารย์ธีระศักดิ์จึงตีพิมพ์ครั้งที่ 3 เอาปกออก เปลี่ยนจากปกสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

AQ คือ Q ตัวหนึ่งที่ผู้บริหารจะต้องมี

จิตวิทยาการบริหาร

มาจากรากศัพท์ 2 ตัว คือ จิตวิทยา กับการบริหาร

จิตวิทยา มีวัตถุประสงค์ 3 อย่าง คือ

1.เป็นการเรียนเพื่อเข้าใจตนเอง และเพื่อเข้าใจคนอื่น

นักจิตวิทยาจะมีแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน ถ้าเราจะอยู่สู้สึก คือ รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง

2. เรียนเพื่อคาดการณ์ตนเองและคนอื่น เช่นแบบทดสอบในการทำงาน ว่าคนนี้จะสามารถเข้ากับองค์กรได้หรือไม่   อย่างเช่น CP มีการดูโหงวเฮ้ง ดูลายผิวมือว่าเหมาะกับการทำงานด้านไหน (อ.ธีระศักดิ์ ทดลองแล้วใช้ได้ทีเดียว เนื่องจากอาจารย์เคยลองแล้วคนไต้หวันทายว่า เหมาะเป็นอาชีพวิชาการ และเผยแพร่ เด็กสนุกกับการเรียน แต่เครียดกับการสอบ)

3. เรียนเพื่อควบคุมตนเองและคนอื่น ยกตัวอย่าง  พฤติกรรมในครอบครัวใครที่ท่านอยากควบคุมมากที่สุด 

จิตวิทยาตอบสนองหน้าที่ของผู้บริหาร

ผู้บริหาร มาจาก 2 ตัวคือ บริ + หาร

บริ แปลว่า รอบ ๆ

ผู้บริหารที่แท้จริงคือ หารงานของตัวเองที่อยู่รอบ ๆ ให้คนทำแทนเรา  เพราะฉะนั้นผู้บริหารที่เก่ง คือ ทำงานน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง  ตรงกับ Concept ว่า Management คือ get thing done to other หมายถึงทำให้เสร็จโดยคนอื่น

หมายถึง ว่าคนที่อยู่รอบ ๆ ต้องทำงานเหมือนที่ท่านทำ คือ มีความตั้งใจ มีความรับผิดชอบ หรือมีความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง ท่านสามารถไว้ใจ และ มอบหมายงาน Delegate งานให้เขา ท่านต้องทำงานให้คน ๆ นั้นทำงานเหมือนตัวเขา หมายถึงว่า ผู้บริหารคนนั้นต้องสามารถนั่งในหัวใจของลูกน้องได้ ซึ่งปัญหาคือ ส่วนมากผู้บริหารนั่งอยู่บนหัวของลูกน้องแทน

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่าง ผู้ชายแก่ไม่แก่ดูจากห้องน้ำ ดูที่ขากางเกง  , ผู้หญิงแก่ไม่แก่ดูที่กระเป๋าถือ 

การบริหารการเปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยนแปลงภาวะปัจจุบันเนื่องจากปัจจุบันเป็นเหตุส่งผลต่ออนาคต  คุณมีสิทธิเลือกทำอะไรก็ได้ แต่คุณไม่มีสิทธ์เลือกผลลัพธ์ของการกระทำ 

ดังนั้นคนที่อยู่รอด คือ การปรับตัวที่ดีที่สุด  ตัวอย่างเช่นแมลงสาบอยู่บนโลกมาหลายร้อยล้านปี

แต่ก่อนการบริหาร เน้นเรื่องส่วนแบ่งตลาด ต่อมาเน้นเรื่องลูกค้า

จาก Finance Focus สู่ Balance Focus

จาก ความรักองค์กร สู่ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ เช่นการให้เกรดนักศึกษาในปัจจุบัน ต้องคิดแล้วคิดอีก เนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ และฟ้องได้

จากสินทรัพย์จัดต้องได้ สู่สินทรัพย์จับต้องไม่ได้  ปัจจุบันนี้อยู่ที่ Intelligent network

จากStructured Organization à Flexible Organization

จาก ความมั่นคง à การปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง

จาก ความสำคัญของ IQ à องค์การที่เน้น EQ และ AQ

จาก  Working Organization à Learning Organization

....................ทำแบบทดสอบทางอารมณ์ (EQ)..............................................

ข้อที่มีดอกจันทร์ การให้คะแนน 0 1 2  ข้อที่ไม่มีดอกจันทร์ การให้คะแนน 2 1 0

รวมคะแนนทีละ 8 ข้อ มีทั้งหมด 5 ชุด

1-8,9-16,17-24,25-32,33-40

ผลการรวมคะแนน

0-5 ต่ำ 

6-11 ปานกลาง

12-16 สูง

ชุดที่ 1. การตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness) หมายถึงการมีสติ การรับรู้ของอารมณ์รวดเร็ว การกำหนดรู้ตนเองอย่างมีสติ 

คนเราเกิดมาเพื่ออะไร  จุดเริ่มต้นคือการเกิด ปลายชีวิตคือตาย อยากให้คนรุ่นหลังพูดถึงอะไรในตัวท่าน เช่น อยากให้พูดถึงความดี  ดังนั้นอะไรที่อยากได้หลังตายเป็นความต้องการสูงสุดของชีวิต  มนุษย์เกิดมาแล้วต้องการเป็นคนดี  ดังนั้นจึงเห็นว่า ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ ธรรมะ ชนะอธรรม  สังเกต เวลาไปงานศพ จะพรรณณา ถึงความดีของคนตาย   จริง ๆ แล้วมนุษย์เราต้องการความดี เพราะฉะนั้น ความดี กับ ความสุขไปด้วยกัน เมื่อทำดีแล้วจะเกิดความสุข ต่อมพิทูอิตาลีแกรนด์ ทำให้เกิดความกระปี้กระเป่าของมนุษย์ คือ จิตเดิมคือความประภัสสร เอนโดรฟินส์ หลั่ง กระทบต่อมไร้ท่อ ผลิตฮอร์โมน ทีเซลล์ หรือ ทีรีโฟไซด์ คือ กัดกินเชื้อโรค ต่อมาส่งผลกับ Q ที่ศึกษาคือ HQ  และ Q สุดท้ายคือ SQ ทางด้านจิตวิญญาณ การนั่งสมาธิ  กระทบสิ่งที่อยู่ในจิตสำนึกคือการมุ่งสู่ความดีงาม จนกระทั่งหนังสือของ Stephen Covey พูดถึง SQ เพราะว่ามนุษย์อยู่ด้วย 5 L คือ Life Learn Love Legendary (สร้างความดีให้คนรุ่นหลังระลึกถึง)  ดังนั้น ความดีจึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ เวลาดูแลคนป่วยใกล้ตาย ถ้าจิตตก นึกเรื่องไม่ดี ลงสู่ประตูนรก ถ้าจิตดี ขึ้นสู่สวรรค์ เพราะฉะนั้นเวลาดูแลคนป่วยใกล้ตาย ให้พูดถึงความดีให้ ไปรวมกับจิตเดิมคือเกิดปิติ  เพราะฉะนั้นการตระหนักรู้ตัวเองคือ การมีสติ รู้ว่าเกิดเพราะอะไร คือการทำความดี อะไรที่เราทำแล้วเกิดจิตปิติไม่เศร้าหมองถือเป็นคุณงามความดี

2. การจัดระเบียบอารมณ์ (Emotional Regulation) คือการจัดระเบียบวิธีคิด เพราะอารมณ์เป็นผลจากการคิด การสบายใจไม่สบายใจเกิดจากวิธีคิดของเรา การบริหารอารมณ์คือการบริหารวิธีคิดนั่นเอง

การจัดการกับอารมณ์

1. มีสติ

2. ประเมินอารมณ์

3. พูดคุย

4. บันทึกประจำวัน

5. ปรับความเชื่อ (RET)

6. สวดมนต์-นั่งสมาธิ

ดังนั้นอารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายมาจากความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ถ้าอยากอารมณ์ดี เราต้องปรับความคิดให้สมเหตุสมผล  ดังนั้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นความจริง  การยอมรับ ความจริง บางทีเช่นถ้าป่วย โรคก็จะหาย เมื่อไรเราทำใจได้ โรคหาย เวลาเคร่งเครียด เราจะทรุดหนัก

สรุป การบริหารอารมณ์คือการบริหารวิธีคิด

3. การจูงใจตนเอง (Self Motivation)  คล้าย ๆ AQ  เวลาเจอปัญหา เวลาเจอความล้มเหลว สามารถกระตุ้นให้เราลุกขึ้นมาสู้ใหม่ได้ เชื่อว่าตัวเองมีความสามารถ วิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องชั่วคราว ไม่ใช่เกิดกับตัวเราเองเท่านั้น   คิดว่าวิกฤต แบบ ถาวร หรือ ชั่วคราว ถามว่าความคิดแบบไหนทำให้เรามีกำลังใจมากกว่า   การมองว่าวิกฤตแบบสากล หรือ เฉพาะเรา ใครจะทนกับวิกฤตได้มากกว่า  เหมือนกับสังคมไทยขณะนี้ เครียดปัญหาการเมืองมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจ เนื่องจากเรามองเศรษฐกิจเป็นเรื่องชั่วคราว และสากล แต่มองปัญหาการเมืองเป็นเรื่องยืดเยื้อ ดูยังไงก็ไม่จบ เราจึงเครียดมากกว่า แล้วเรามองปัญหาการเมืองเป็นเรื่องเฉพาะเรา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จึงทำให้เครียดมากกว่า

คนที่มี Self Motivation มองปัญหาเป็นเรื่องชั่วคราว และสากล ซึ่งการเมืองเราก็สามารถมองเป็นปัญหาชั่วคราว และสากลได้

4. การร่วมรับรู้ความรู้สึก (Empathy) คนที่มีความรู้สึกอันนี้สูง เราจะเข้าใจความรู้สึกคนอื่นได้ดี เข้าใจความรู้สึกของลูกน้อง เข้าใจความรู้สึกลูกค้า เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง คนที่มี IQ เวลาเจอของตกอาจคืนเจ้าของหรือไม่คืนก็ได้ เพราะใช้ระบบการคิดวิเคราะห์ ซึ่งอาจเข้าข้างตัวเอง

5. ทักษะทางสังคม (Social Skill)  จะคิดก่อนพูด แต่จะไม่พูดทุกอย่างที่คิด สังคมสมัยนี้ ใครมีความเห็นไม่ตรงกัน ต้องใช้คำพูดเชือดเฉือน ใช้ปากก่อนเท้า  สังคมไทยขณะนี้ถูกทำลายเพราะคำพูด ตัวอย่าง นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้เชื่อว่าคำพูดมีผลต่อผลึกน้ำ ผลึกน้ำที่โดนคำพูดที่ต่างกัน ผลึกน้ำจะมีโครงสร้างแตกต่างกัน การพูดเพราะ น้ำมนต์ จะมีผลึกที่มีรูปร่างสวยงาม  แต่ผลึกน้ำที่เกิดจากการแช่ง การด่า จะมีรูปร่างไม่สวยงาม ไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นระบบ ดังนั้น จะเห็นว่า คำพูดมีผลแม้กระทั่งน้ำ มนุษย์มีส่วนประกอบของน้ำ 70 % เพราะฉะนั้นคำพูดที่ด่าทอจึงมีผลในการทำลายไม่ใช่สร้างสรรค์

 

ศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้นำและการนำ

  1. ความคิดริเริ่ม

            ทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์  (ยิ่งติ๊กมากยิ่งมีกรอบมาก ความคิดสร้างสรรค์น้อย)

            การคิดนอกกรอบ ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับเราเอาไปใช้ ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์คือคิดนอกกรอบ

            โดยมีหลักของผู้บริหารเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือ เมื่อทำงานสักระยะหนึ่ง

  1. ต้องเริ่มที่จะคิด ว่าทำไมเราต้องทำงานด้วยวิธีนี้  ถ้าตอบว่าการเห็นเขาทำมาแล้วทำไม่น่าจะมีเหตุผลที่ดีนัก
  2.  มีวิธีที่อื่นที่ดีกว่านี้ไหม ง่ายกว่านี้ไหม
  3. วิธีนั้นคืออะไร

            สรุปคือ การทำงานสักระยะหนึ่งท่านต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงไปสู่งานใหม่ที่ดีกว่า

2. การตระหนักรู้ในตนเอง- มีสติ

3. การจัดการกับอารมณ์-การมี EQ

4. การบริหารตามสถานการณ์

    ทำแบบทดสอบสไตล์การบริหาร  โดยการประเมินจะแบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 7 ข้อ ตามสไตล์การบริหารเรียงลำดับ ข้อ 1-7 ,8-14,15-21,22-28

การบริหารตามสถานการณ์ (Situational Management) ประกอบด้วย 4 สไตล์คือ

  1. การบอกงาน (Tell)  บอกให้ทำตามที่หัวหน้าต้องการ ติดตามและควบคุม ถ้าไม่ทำตามมีการว่ากล่าวตักเตือน Task Oriented มาก ลูกน้องรู้สึกว่าเป็นงานหัวหน้า ใช้ง่าย แต่ความมีส่วนร่วมของลูกน้องน้อย
  2. การขายงาน (Sell) ให้ความเป็นกันเอง มอบงาน แล้วคุยด้วย สอน และแนะนำลูกน้องในการทำงาน  ชักจูงให้คล้อยตาม ช่วยเหลือให้กำลังใจ สไตล์นี้จึงเน้นทั้งมนุษย์สัมพันธ์ และบอกวิธีการทำงานให้ คือ สอนงานไปด้วย  ...ความมีส่วนร่วมของลูกน้องเยอะ

  3. การร่วมงาน (Consult) เป็นการพยายามดึงเขามามีส่วนร่วม ขอความเห็น เช่น คุณคิดว่าทำอย่างไร ดี เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม  และให้เกียรติทางสังคม ดูแลความเป็นอยู่ของลูกน้อง ใช้การจูงใจพฤติกรรมทั้ง 4 แบบ ให้ความสัมพันธ์กับลูกน้อง ใช้หลักความสำพันธ์ ให้ลูกน้องมีความสำคัญ เป็นลักษณะ Consult

 4. การมอบงาน (Delegate) มอบงานเลย ให้อิสระลูกน้องในการทำงาน ให้อำนาจในการตัดสินใจ ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ (คนไม่ยุ่ง งานไม่เน้น) แต่อำนวยความสะดวก รู้ว่าลูกน้องมีวุฒิภาวะสูงพอที่จะทำงานด้วยตัวเอง ต้องรู้ว่าลูกน้องเป็นลักษณะดาวฤกษ์

คำถาม ถ้ามีการอ้างว่างานที่ลูกน้องทำเป็นงานของตนเองเรียกว่าเป็นการบริหารแบบไหน

คำตอบ หัวหน้าที่ดีควรให้เครดิตของการทำงานลูกน้อง แต่โดย Line of Command ไม่ผิด เพราะถ้า

หลักของการบริหารงาน ก็คือ ลูกน้องทำงานให้หัวหน้าเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ถือว่าขโมยงานลูกน้องเนื่องจาก ลูกน้องจะได้งานก็มาจากหัวหน้ามอบหมายทั้งนั้นเพียงแค่ขึ้นกับวิธีการบริหารว่าจะเป็นแบบไหน

หลักของการให้ลูกน้องทำงานต่อไปคือการหัวหน้าให้เกียรติลูกน้องเพื่อการทำงานต่อไป และมีส่วนร่วม

ทั้ง 4 สไตล์ การใช้การบริหารสไตล์ไหน เราต้องวิเคราะห์สถานการณ์

          1.ลักษณะงาน และสถานการณ์

          2. วุฒิภาวะของผู้ตาม

          3. ความต้องการของผู้ตาม

          ทำแบบทดสอบประเมินภาวะวุฒิภาวะของผู้ตาม คะแนน 1 คือ น้อยที่สุด คะแนน 7 คือ มากที่สุด

ในฐานะผู้บังคับบัญชา การประเมินวุฒิภาวะของลูกน้อง ดู 1. ความรู้ ความสามารถ 2. ความรับผิดชอบ

ดังนั้นในการบริหาร เราใช้งานลูกน้องคนไหน นำทั้งสองลักษณะเป็นตัวประกอบ  ส่วนความรู้ความสามารถแบบไหนกระจายตาม Competency

ข้อ 1-7 วัดความรู้ความสามารถในงาน ข้อ 8-14 วัดความรับผิดชอบในงาน

สมัยก่อนกำหนดเกณฑ์ไว้ที่ 28 ถ้าไม่ถึงแสดงว่ามีต่ำ จากที่ผ่านมา ผู้บริหารไทยมักประเมินลูกน้องสูงเกินความเป็นจริง อาจารย์ธีระศักดิ์ เลยกำหนดเกณฑ์เป็น 35 แต่ถ้าเป็นคนประเมินตรงไปตรงมาใช้เกณฑ์ 28

ด้วยวิธีนี้จึงแบ่งความรู้ ความสามารถของลูกน้องเป็น 4 ระดับ  สไตล์การบริหารเป็นอย่างไรขึ้นกับ วุฒิภาวะของลูกน้อง  รู้ระดับความต้องการของลูกน้องทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการจูงใจของลูกน้องได้

เทคนิคการจูงใจ  ทฤษฎีของ Maslow  ตัวอย่างกรณีของพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้ทฤษฎีBasic Need ในการสู้รบ จนตีเมืองจันทบุรีแตก ดังนั้นคนเราถ้าท้องหิวอยู่จะไม่ค่อยนึกถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

ทฤษฎี Maslow เป็นจริง แต่อีกส่วนหนึ่ง อิทธิพลของวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งที่ควบคุมมนุษย์ได้โดยไม่รู้ตัว หลายหน่วยงานใช้วัฒนธรรมในการควบคุมพฤติกรรมขององค์กร

ถ้าพบว่าลูกน้องมีความต้องการแค่ขั้นที่ 1,2 หัวหน้าใช้สไตล์การบอกงาน

ถ้ามี Social Need สูง หัวหน้าใช้สไตล์ขายงาน

ถ้าลูกน้องต้องการการยกย่องให้คนชม มีโอกาสทานข้าวกับบริษัทใช้ สไตล์ Consult

ถ้าลูกน้องต้องการความสำเร็จในชีวิต หัวหน้าใช้สไตล์ การมอบงาน Deligate 

ท้ายที่สุดหัวหน้าต้องปรับปรุงให้ลูกน้องมีความต้องการขั้นที่ 10 อุดมคติของลูกน้องคือ M 4 เราจึงสามารถใช้สไตล์การมอบงาน หรือ Deligate งาน  เพื่อเราจะได้ขึ้นไปในงานหรือตำแหน่งที่สูงกว่าไม่ต้องทำงาน Routine

ทฤษฎี Servant Leadership ผู้นำผู้รับใช้ บริษัท Wallmark ,สายการบินในอเมริกา ทั้งหลายเอาไปใช้

ผังองค์กรของ Wallmark เรียกพนักงานว่าassociate ลูกค้าบนสุด ตามมาด้วยพนักงาน หัวหน้าพนักงาน ผู้จัดการ  ผู้อำนวยการ และท้ายสุดคือประธานบริษัท   รูปแบบการบริหารเป็นแบบ Upside down

เรียกว่าการบริหารแบบ Sell Leadership คือเราต้องดูแลอย่างดี ลูกค้าสำคัญที่สุด และถ้าไม่มีพนักงานก็จะทำงานไม่ได้ ฯลฯ ทำให้ผู้นำเกิดการลักษณะถ่อมตัว นึกถึงคนอื่น พยายามทำความดีให้โลกนี้

ทำไมเราต้อง Service

Service คือการปฏิบัติตนให้คนพ้นทุกข์แล้วมีความสุข  ,คือค่าเช่าที่เราจ่ายเพื่อให้อยู่โลกนี้แล้วอยู่โลกนี้เพื่อมีความสุข   ดังนั้นทุกคนจึงควร Service ซึ่งกันและกัน เป็นแนวคิดที่หลายองค์กรทั่วโลกนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จ

...แบบทดสอบเทคนิคการจูงใจ..
การจูงใจคือการทำให้ลูกน้องเกิดการรับผิดชอบ ลูกน้องรับผิดชอบได้ดีเพราะมีแรงจูงใจ  ความผูกพันในงานก็ทำให้เกิดการรับผิดชอบได้เช่นกัน

การจูงใจเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีปัจจัย 2 ตัวที่เป็นหลัก

  1. สิ่งล่อใจหรือรางวัล สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ที่เป็นตัวเงิน เช่น เงิน โบนัส และไม่ใช่ตัวเงิน เช่นคำชม การได้รับเกียรติ คำพูดเพราะ การแสดงความมีน้ำใจ
  2. ความต้องการ  ความต้องการคือภาวะความขาดแคลน หรือเรายังรู้สึกไม่พอ

ขาดตัวใดตัวหนึ่งการจูงใจไม่สำเร็จ

การจูงใจเราจะให้อะไรใครต้องให้ในขณะที่เขาต้องการอยู่ ถ้าเลยไปแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการจูงใจ

ให้ในสิ่งที่เขาพยายามอยากจะได้

 แบบทดสอบเทคนิคการจูงใจ 

จงเขียน ü ลงหน้าข้อที่ท่านเห็นด้วย

.......... 1. ไม่มีคำว่า “มากเกินไป” สำหรับการให้การยอมรับหรือชมเชย (ถ้ามากเกินไป ก็จะไม่รู้สึกขาด ก็จะไม่ต้องการ จึงไม่สามารถจูงใจได้)

.......... 2. เงินเป็นตัวกระตุ้นหรือรางวัลที่ดีที่สุด (เงินจะมีความสำคัญมากสุดเมื่อ1. กรณีเขาขาดแคลนเงิน 2.เงินมีจำนวนมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 3.เมื่อเงินไปผูกความสำเร็จ...ในสมัยทุนนิยม เงินเป็นตัววัดความสำเร็จ เพราะฉะนั้นอย่าประมาทเงิน)

.......... 3. กาลเทศะนั้นไม่สำคัญเท่ากับรางวัลที่จะให้ (ให้เงินไม่ต้องโฉ่งฉ่าง , ให้โล่ห์, ให้วุฒิบัตรต้องโฉ่งฉ่าง)

.......... 4. คนที่ทำงานดีอยู่แล้วอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องการรางวัลหรือกำลังใจมากเท่ากับคนที่

             กำลังทำงานเพื่อที่จะปรับปรุงผลงานหรือตัวเอง (ถูก)

.......... 5. มันไม่เสียหายที่จะยกย่องผลงานของอีกคนหนึ่งว่าดีกว่าอีกคนหนึ่ง (ที่เสียหายเพราะเกณฑ์ไม่ชัดเจน และต้องรู้ล่วงหน้า ถูกประเมินโดยผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับการยอมรับ)

.......... 6. การทำดีควรจะได้รับผลตอบแทนทุกครั้ง (ถูกในเรื่องของเกณฑ์ การให้ทุกครั้งบางครั้งเมื่อไม่ไปให้จะมีปัญหา นาน ๆ ให้บ้าง Partial Reforcement คนจะลุ้นว่าครั้งต่อไปได้หรือเปล่า)

.......... 7. การลงโทษมีประโยชน์ในการทำให้คนทำงานดีขึ้น (ผิด...วัตถุประสงค์การลงโทษเพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ  แต่พฤติกรรมการให้คนทำงานดีขึ้นต้องให้รางวัล)

.......... 8. เมื่อคุณจะชมเชยใครก็ขอให้ชมอย่างเดียว ถึงแม้ว่าเขาจะมีความผิดก็ไม่ควรจะรวม

   คำตำหนิไปด้วย (ผิด สามารถใช้รวมกันได้ หลักการชมและตำหนิคือรูปแบบของการให้ฟีตแบค หลักที่ถูกต้องต้องให้ทันทีหลังพฤติกรรมเกิด  ถ้าหลังจากนั้นจะไม่เห็นผล.... เวลาคนทำอะไรให้เห็นแล้วถูกใจต้องชมทันทีแล้วบ่อย)

.......... 9. อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณจำเป็นต้องตำหนิเขาด้วย คุณควรจะชมเชยให้กำลังใจ

             ก่อนแล้วค่อยตำหนิทีหลัง (ตำราบริหารทั่วไป ชมก่อนติ แต่มีเล่มเดียว one miniute manager บอกว่าให้ติก่อนชม อันนี้แล้วแต่เลือก แต่หลักมีอยู่ว่า ถ้าชมใช้ Adj,Adv. แต่ติ ใช้ Adv.คือ เวลาชมชมที่ตัวคนและการกระทำไปพร้อม ๆ กัน แต่เวลาติให้ติที่การกระทำ)

6. การสร้างสัมพันธ์เชิงบวก

....................................................

 

จิระศักดิ์ มัณฑางกูร

สวัสดีครับ ทุกๆท่าน...

ก่อนอื่น ในความคิดส่วนตัว ผมคิดว่า เราน่าจะตอบการบ้านแบบพูดคุย เป็นกันเองใน blog เหมือนที่ผม หรือคุณกิตติ หรือคุณรังสิมา ทำอยู่ เป็นต้น   แต่ก็ไม่ทราบว่า ทาง อ. จีระและทีมงาน ต้องการให้ดูเป็นวิชาการและเป็นทางการหรือเปล่า? หากต้องการแบบเป็นทางการ ผมก็จะได้ปรับตัว เพราะโดยส่วนตัว ชอบคุยแบบเหมือนมาคุยกัน มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งถ้าหาก อ. จีระ หรือ ทีมงานบอกว่า ตอบแบบคุยได้สบายๆ ชิวๆ ก็จะได้เชิญชวนเพื่อนๆ ไม่ต้องมาตอบแบบซีเรียส มาถึงก็ตอบๆๆๆ แล้วก็จากไป แหะๆ...สาวๆ ก็อาจใส่คำว่า คริ คริ หนุ่มๆ ก็ใส่คำว่า หุ หุ ไปบ้างก็ได้ จะได้น่าติดตามอ่านหน่อย อิ อิ (นั่น โผล่ อิ อิ มาแล้ว)

มาถึงคำตอบสำหรับการบ้านบ้างล่ะกัน...

สำหรับช่วงเช้า ... ก็ได้ความรู้จาก อ. ธีระศักดิ์ ไปหลายกระบุง อย่างน้อย เริ่มต้น ก็ได้ทราบว่า อาจารย์ไป ดูไบ ทำไมในช่วงใกล้เลือกตั้ง อิ อิ...(ไร้สาระอีกแล้วเรา)..มีแบบสอบถามที่ทำให้รู้จักตัวตน (อ้าว อยู่มา 52 ปีกว่าๆ ยังไม่รู้จักตัวตนอีกเรอะ ...เสียงเพื่อนๆตะโกนถาม) คือว่า รู้ว่า ตัวเราเป็นผู้บริหารแบบไหน ลูกน้องเรา เป็นผู้ตามแบบไหน พอรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็จะชนะร้อยครั้ง (เอ๊ะ จะรบกับลูกน้องเรอะ เสียงใครตะโกนถามมาอีกล่ะนั่น อิ อิ) อันที่จริงแล้ว การบริหารคนเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อเทียบกับการบริหารงาน แต่ก่อนหน้าที่จะได้ความรู้เรื่อง "จิตวิทยาของนักบริหาร" ก็ได้ใช้รูปแบบคล้ายๆไปบ้างแล้ว แต่เมื่อได้เรียนรู้ในรายละเอียด ทำให้ได้ความรู้ที่จะเอาไปจัดการกับลูกน้องที่มีอยู่หลากหลายประเภทได้ดีขึ้น ก็ต้องขอขอบคุณ อ. ธีระศักดิ์ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ....

โดยส่วนตัว ผมเป็นหัวหน้าที่ใส่ใจลูกน้อง หากวิแคะ เอ๊ย วิเคราะห์จับยามสามตาตามตำราของ อ. ธีระศักดิ์ ก็พบว่าได้คะแนนสูงที่แบบ "การร่วมงาน(Consult)" คือ เน้นความสำัคัญที่คน ไม่เน้นงาน (อ้าว แล้วงานจะเดินมั๊ยล่ะนั่น เดินครับเดิน งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทุกงานครับ) ผมจะบันทึกวันเกิดลูกน้องไว้ทุกคน ตั้งแต่ตัวเองเป็นหัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง จนมาถึง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ตอนนี้ ใน calendar ของ outlook  เต็มไปด้วยคำเตือนวันเกิดลูกน้องเลยล่ะครับ อิ อิ ขอบอกว่า ได้ผลทางจิตใจต่อลูกน้องมากมายเลยครับ ลูกน้องมักจะบอกว่าปลื้ม ที่หัวหน้ารู้วันเกิด และ อวยพรเขาและเธอในวันนั้น...

 

สำหรับช่วงบ่าย .... ก้ได้ความรู้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ในการต่อยอดความคิดไปได้มากทีเดียวเชียวครับ...ผมมีความคิดนอกกรอบในหลายๆเรื่อง ตามที่กลุ่ม 4 ได้นำเสนอไป อันที่จริง ไม่ใช่ เฉพาะ แค่นั้น ผมยังคิดเลยเถิดไปว่า เอ หากโรงไฟฟ้า (รฟ.) สร้างที่ไหนก็ลำบาก เราจะไปสร้าง รฟ. ถ่านหิน บนเกาะ ได้มั๊ย หรือ ทำเป็นแบบ รฟ. บนแท่น คล้ายๆแท่นเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล? แล้วนำเข้าถ่านหินจาก ออสเตรเลีย หรือ อินโดฯ ใส่เรือมาเทียบได้เลย สายส่งก็ทำเป็นเคเบิ้ลใต้น้ำ ส่งขึ้นแผ่นดินใหญ่... ในอดีต เราเคยมีโรงไฟฟ้าบนเรือมาแล้ว คือที่ รฟ. ขนอม 1 (ยุคโบราณมากเลยนะนั่น ตั้งแต่ผมเป็นวิศวกรกะในศูนย์ควบคุมฯภาคใต้) 

ส่วนแนวคิดที่ว่า จะออกประกาศเชิญชวนว่า ชุมชนไหน ต้องการให้ไปสร้างโรงไฟฟ้า เป็นแนวคิดที่เคยคุยกันในบรรดาเพื่อนฝูงว่า ในเมื่อเราจะไปสร้างที่นั่น ที่นี่ ที่โน่น ที่ไหนๆ ก็โดนต่อต้าน งั้น เรามาให้ชุมชนที่พร้อมเสนอตัวเองเลยจะดีกว่ามั๊ย? บอกไปเลยว่า ชุมชนจะได้อะไร นอกจากเม็ดเงินกองทุนจากการขายไฟฟ้า (ดูเหมือนจะ 3%) เขาจะได้การพัฒนาชีวิตอะไรอีกบ้าง บลาๆๆๆ ลงประกาศสัก 1 หน้า นสพ. ยิงติดๆกันสักระยะ...หากเกิดมีชุมชนที่ต้องการมาเสนอจริง ก็จะเป็นโมเดล ที่จะทำให้เกิดการทำตาม ตามมาก็เป็นได้...

ยาวแล้ว พอดีกว่า เชิญท่านต่อไปเลยครับ...สวัสดีครับ...

ความรู้จาก อ.ธีระศักดิ์

1. ผู้บริหาร Work Smart not Work Hard

2. การจูงใจ เกิดขึ้นได้ มี 2 ปัจจัย

--2.1 รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ

--2.2 ความต้องการ

3. เงินเป็นตัวกระตุ้นหรือรางวัลที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไข

--3.1 คนที่ได้รับขาดแคลนเงิน

--3.2 จำนวนมากพอที่สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตได้

--3.3 เมื่อเงินไปผูกกับความสำเร็จ

----

ความรู้จาก รองผู้ว่าธวัช

1. การสร้างโรงไฟฟ้าไม่สามารถใช้วิธีการในอดีต

2. ปัญหาที่ กฟผ. เผชิญในปัจจุบัน

--2.1 ทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อเพลิง

--2.2 แผน PDP

--2.3 การจัดการสิ่งแวดล้อม

--2.4 บริบทสังคมเปลี่ยนไป

3. กฟผ. ได้ขึ้นสู่จุดสุดยอดแล้ว ทำให้การบริหารรุ่นหลังยากขึ้น และปัจจุบันเราอยู่ได้ด้วยบุญเก่า

----

ความรู้จาก คุณวิฑูรย์

1. ปัจจุบันดัชนีตัวชี้วัดของอาหาร จะเหมือนกับราคาเชื้อเพลิง

2. ควรทำโครงการนำร่องร่วมกับชุมชนในการพัฒนาด้านเกษตรร่วมกับด้านพลังงาน

3. กฟผ. ควรทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย ถ้าทำแต่ไฟฟ้าจะเข้ากับชุมชนลำบาก

ความรู้ เรื่องจิตวิทยาของนักบริหาร

เรียนรู้ถึงการรู้จักตนเองและผู้อื่น รวมถึงแนวทางการบริหารในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคแรงจูงใจ การยกย่องชมเชย การสร้างศรัทธา ความไว้วางใจ ฯลฯ โดยการนำมาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

ความรู้ เรื่องนวัตกรรมทางสังคมกับการทำงานของ กฟผ.

เรียนรู้ว่าแนวทางการทำงานที่ทำให้เกิดความสำเร็จในอดีตนั้น ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในปัจจุบันได้ทั้งหมด เนื่องจากปัญหาและสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป ต้องหาวิธีการแกไขในรูปแบบใหม่ โดยการหาแนวร่วมและทำให้เกิดการยอมรับของสังคม รวมถึงการมองนอกกรอบ และสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นให้ได้เพื่อทดแทนของเดิม โดยเฉพาะพลังงานทดแทน

ความรู้จาก อ.ธีระศักดิ์

ได้ทราบว่าผู้บริหารและผู้นำมีความแตกต่างกันอย่างไร ผู้บริหารที่ดีต้องสามารถบริหารงานให้ทีมงานสามารถทำงานแทนเราได้ ผู้บริหารต้องนั่งอยู่ในหัวใจของลูกน้อง ไม่ใช่นั่งอยู่บนหัวลูกน้อง การกระทำในปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดผลในอนาคต ได้เรียนรู้ด้านจิตวิทยาว่าตัวเราเป็นเช่นไร และวิเคราะห์คนอื่นๆ อย่างไร การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญแต่ถึงกระนั้นก็ต้องคำนึงถึงความต้องการ และจังหวะเวลาด้วย

ความรู้จาก รองผู้ว่าธวัช และ คุณวิฑูรย์

การสร้างโรงไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งที่จะดำเนินการได้ง่ายอย่างในอดีต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเป็นรูปแบบประชานิยม ประชาชนมีความรู้และมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ดังนั้น ในการดำเนินการด้านพลังงานต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นถึงแม้จะต้องใช้เวลานานก็ตามที่จะสร้างความเข้าใจ ตลอดจนการเมืองมีผลกระทบตรงและแรง ผู้บริหารรุ่นใหม่ต้องทบทวนปรับกลยุทธ์ตั้งรับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าผู้บริหารในอดีต

นายชัยพร พิมมะรัตน์

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ธีระศักดิ์ฯ

1.การเข้าใจตนเองและผู้อื่น (รู้เขารู้เรา รบ10ครั้ง ชนะ8ครั้งก็ยังดี อีก2ครั้งเสมอเพื่อให้คู่ต่อสู้มีกำลังใจครับ)

2.การเอาอดีตเป็นบทเรียนของอนาคต

3.การมีภาวะผู้นำ เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ เพื่อเมื่อมีโอกาสแล้วต้องทำให้ดีที่สุด

สิ่งที่ได้จากสานเสาวนาของอาจารย์จิระฯ รองธวัชฯและคุณวิฑูรฯ

1.การรู้จักตัวตนของ NGO.ว่ามีทั้งดีที่ทำเพื่อประชาชน และที่ไม่ดีคือทำเพื่อตัวเอง แต่เรา (กฟผ.)ต้องอยู่กับเขาให้ได้

2.การทำ CSR.ของ กฟผ.เราไม่ได้ทำเฉพาะกับชุมชนที่อยู่ใกล้เขื่อนหรือโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่เราทำกับประชาชนทั้งประเทศ

3.การทำงานมวลชนจะทำให้สำเร็จได้ต้องทำแบบการมีส่วนร่วม ประชาชนจะมีความรู้สึกที่เป็นเจ้าของ ประชาชนจะเป็นผู้ปกป้อง

คุ้มครองเราเอง

4.การทำงานมวลชนต้องเป็นมิตรกับทุกภาคส่วน อย่าเลือกข้าง(นักการเมือง) อย่าเลือกพวก(แบ่งประชาชน)และอย่าเลือกที่

(เลือกที่ดินไว้ก่อนทำมวลชน) และที่สำคัญอย่าดูถูกประชาชนโดยการยัดเยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการให้เขา

นี่เป็นสิ่งที่ กฟผ.สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้สำเร็จโดยไม่มีเสียงต่อต้านจากประชาชน

ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

1.สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย "จิตวิทยานักบริหาร"

- ผู้บริหารต้องสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้เหมาะสมกับสถานะการณ์

- รู้หลักการคาดคะเนพฤติกรรม, วุฒิภาวะ และความต้องการของลูกน้อง เพื่อปรับใช้การบริหารงานให้เหมาะสมกับลูกน้องแต่ละคน

- ผู้นำที่ดีควรมีทั้ง IQ, EQ, AQ ใช้ในการทำงานให้มีความสุขมากขึ้น เนื่องจากมีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น

2. สิ่งที่ได้รับจากการอภิปราย "นวัตกรรมทางสังคมกับการทำงานของ กฟผ."

- ปริบททางสังคมเปลี่ยนไป หาก กฟผ. ยังคงใช้วิธีที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในปัจจุบัน ปัญหาของ กฟผ. คือ ประชาชนมีทัศนะคติเชิงลบต่อเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศ (PDP), ความล้มเหลวของระบบราชการในการจัดการสิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมไทยเป็นสังคม low trust

พิพัฒน์ ราษฎร์ศิริ

ข้อ 1 = ช่วงเช้า "จิตวิทยาของนักบริหาร" ผศ.จีระศักดิ์ฯ

ในวันนี้ได้มีโอกาสทบทวนตนเองตามแนวคิดทางทฤษฏีต่างๆ ที่อาจารย์ได้ให้ทดสอบ ได้เห็นมุมมองเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งแน่นอนคงไม่มีทฤษฏีตายตัวใช้ได้ตลอดไป คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม

ที่สำคัญคือ"เราต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงได้เร็ว คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้แม่นยำ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้เหมาะสมและทันเวลา

ข้อ 2 = ช่วงบ่าย "Panel Discussion"นวัตกรรมทางสังคมกับการทำงาน กฟผ." โดย รวค.(คุณธวัชฯ), NGO(คุณวิฑูรย์), ศ.ดร.จีระฯ

บ่ายวันนี้นับเป็นโอกาสดีที่ได้รับรู้ความคิดเห็ฯ Solution แปลกใหม่ทั้งจากบุคคลภายนอก ผู้บริหารระดับสูง และเพื่อนร่วมรุ่น ผมมีความคิดแปลกใจมากที่จุดยืน หรือความเข้าใจ "ห่างกันมาก"

- สิ่งที่นายคิด คน กฟผ. รู้หรือไม่

- สิ่งที่ประชาชนคิด คน กฟผ. เคยหยิบยกมาพิจารณาหรือไม่

มันจึงทำให้เรามีความรู้สึกว่าต่างคนต่างมุม ทุกคนดูในกรอบตัวเอง (ซึ่งดีกว่าในอดีตมาก)

ความเห็นคือ กฟผ. น่าจะต้องพิจารณาทบทวนขบวนการในการเดินกลยุทธ์ที่ผ่านมาด้านสังคมใหม่ในประเด็น

1. หาคำตอบให้สังคมแบบมีส่วนร่วมมากกว่านี้

2. ทบทวนกลุ่มเป้าหมายของสังคมควรมีใครบ้าง

3. สังคมปัจจุบัน บางกลุ่มยอมรับ กฟผ. เพราะเขาไม่เสียประโยชน์เท่านั้น (หรือยังมองไม่เห็นโทษ) หากสังคมเหล่านั้นยังไม่สามารถพูดแทน กฟผ.ได้ CSR in Process ก็ยังคงไม่ถึงเป้าหมาย

4. สำคัญมาก คน กฟผ. รู้ CSR แตกต่างกันมาก

นายจักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์

1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม "จิตวิทยาของนักบริหาร" คือ มีความรู้ความเข้าใจ จิตวิทยาการบริหาร การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การจัดการกับอารมณ์ (EQ) รูปแบบของผู้นำกับการบริหาร และเทคนิคการจูงใจ

2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการฟัง การอภิปราย "นวัตกรรมทางสังคมกับการทำงานของ กฟผ." คือ มีความรู้ความเข้าใจ วิกฤติพลังงาน การแก้ปัญหาการสร้างโรงไฟฟ้า ความสำเร็จและความล้มเหลวในการสร้างโรงไฟฟ้า และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสร้างโรงไฟฟ้า

สิ่งที่ได้จาก ผศ. ธีรศักดิ์ กำบรรณารักษ์

1. ความสำคัญของการนำจิตวิทยาไปใช้ในการบริหารงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ราบรื่น และความสุขในการทำงาน

2. ศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้นำ เข้าใจรูปแบบต่าง ๆของผู้นำ ลักษณะ วุฒิภาวะและความต้องการของลูกน้องเพื่อสามารถเลือกสไตล์การบริหารที่เหมาะสมกับผู้ตาม

3. เทคนิคการจูงใจ ทั้งนี้ได้เรียนรู้แบบทดสอบต่างๆ ทางจิตวิทยาที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการทำงานได้

สิ่งที่ได้จาก รวค. และคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

1. ทราบถึงสถานการณ์ที่ กฟผ. เผชิญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อผู้บริหาร กฟผ.

2. ทราบถึงมุมมอง NGOs ที่มีต่อ กฟผ. และประเด็นปัญหาในภาพรวมของประเทศที่ NGOs ให้ความสนใจและติดตาม คือ วิกฤติพลังงาน วิกฤตอาหาร วิกฤตสิ่งแวดล้อม

3. ทราบถึงข้อจำกัดและบทบาท NGOs ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

4. มุมมองของ NGOs เกี่ยวกับวิธีการจัดการข้อขัดแย้ง ต้องต่อสู้กันด้วยข้อมูลและวิธีคิด

5. ได้รับฟังข้อเสนอ ข้อสังเกต และคำถามจากผู้เข้าอบรมกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะช่วยกันหาคำตอบของอนาคตในการแก้ปัญหา

6. สามารถนำความรู้ ข้อมูล จากการอบรมไปเล่าสู่กันฟังกับผู้ปฏิบัติงานได้

ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรื่อง

ช่วงเช้า ผศ.ธีรศักดิ์

  • ความรู้ที่ได้สามารถนำไป
  • แยกคนเป็นกลุ่ม
  • แยกหน้าที่ผู้นำและผู้บริหาร
  • นำไปฝึกบริหารอารมณ์
  • นำไปจัดการอารมณ์
  • วางแผนงานและคนในอนาคต
  • สร้างความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน

EGET vs NGOs

NGOs: แนวทางดี ปฏิบัติแย่ เป็นฝ่ายค้านทุกๆเรื่อง พาพวกไปทำตรงข้าม พูดดีโห่ แย่งไมค์ไม่ให้พูด แอบไปทำไม่ดี ID แสดงตัว

EGAT: เป็นหน่วยงานใหญ่ขี้กลัว กลัวทุกเรื่อง พูดว่าปัญหาการเมืองจริงๆแล้ว การเมืองต้องช่วย EGAT ทำงาน เราไม่กล้าพอในสังคมไทย ชอบหาคนที่มีความคุ้นเคยไปพูดทั้งๆที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย การแก้ปัญหาทางการเมืองคือการใช้สื่อตรวจสอบใช่หรือไม่

1.  ได้อะไรจาก อาจารย์ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

การรู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่นและการรู้วิธีควบคุมพฤติกรรมของคนให้ไปในทิศทางที่ถูกที่ควร

2.  ได้อะไรจากการอภิปราย “นวัตกรรมทางสังคม”

มุมมองจากแนวคิดผู้บริหาร กฟผ.และผู้นำองค์กรเอกชนที่มีมุมมองต่างกันในเรื่องของการพัฒนา ผู้บริหาร กฟผ.นี้มุมมองโดยพิจารณาจากโครงสร้าง แผนและความมั่นคงของระบบส่วนองค์กรเอกชน จะมีมุมมองจากรากหญ้าใช้ชุมชนเป็นฐานของแนวคิดและการพัฒนา

 

 

 

ถึงทุก ๆ คน

การเขียน Blog ใช้ Style ที่ถนัดที่สุด

  • Relax
  • Informal

ยิ่งดี และยิ่งมี Mood มากยิ่งเป็นเลิศครับ เขียนให้สนุก มองเกร็ด Style กิตติก็ดี..

จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงทุก ๆ ท่าน

บ่ายวันที่ 2 เรื่อง Social Innovation เป็นการอภิปรายที่สำคัญ ผู้นำรุ่น 7 จะต้องพร้อมจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

  • กฟผ. จะอยู่ได้อย่างไร?
  • การบริหารความไม่แน่นอน
  • เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
  • ผู้นำรุ่น 7 ต้องสู้ คิด ปรับวิธีคิด หาแนวร่วม
  • อ่านหนังสือ หลุดจาก Silo คิดสร้างสรรค์มากขึ้นครับ ขอให้โชคดี

จีระ หงลดารมภ์

ถึง ทุก ๆ คน

KM เป็น Technique ที่ดีของ กฟผ. แต่ความใฝ่รู้เป็นพฤติกรรมที่ยังขาด เมื่อใช้ KM และมองไปข้างหน้า และข้ามศาสตร์ เรื่องนี้น่าสนใจ ช่วง 10 วัน ผมฝึกให้มีอุปนิสัยในการคิด วิเคราะห์ หาความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่จะติดตัวไปนาน อีก 5 - 10 ปีข้างหน้าบางคนก็ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ ได้

จีระ หงส์ลดารมภ์

ผศ. ธีระศักย์ คำบรรณรักษ์

จิตวิทยา

จิจวิทยาเรียนเพื่อ

เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองและผู้อื่น

คาดการพฤติกรรมของผู้อื่น ควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น

ประโยช์ที่สามารถนำไปใช้งานได้

ใช้ในการคัดเลือกพนักงานใหม่

ใช้ในการออบแบบกระบวนการทำงาน

ใช้ในการบริหารในการเลือกใช้คนแต่ละประเภท

ประทับใจ บทความเรื่อง loosely structure กล่าวถึงพฤติกรรมของคนไทย

สัมมนา social innovation

การทำงานกับสาธารณะ ต้องเข้าใจความต้องการของประชาชนในท้องที่ ว่าต้องการอะไรบ้างไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่เราต้องการบอกและหาวิธิแนวทางแก้ปัญหาให้ได้

ทางกลุ่ม 1 ได้เลือกผู้นำ 5 คนจาก Time Magazine ที่มีคุณลักษณะที่สามารถใช้เป็นแบบอย่างด้านความคิด-การกระทำ-พฤติกรรม ที่จะช่วยพัฒนางานของ กฟผ. ในอนาคต ได้แก่

1.Angela Merkel ; Germany Leader มี Key word คือ “Consensus Builder”& “ a spirit of compromise in the service of a genuine ambition and fed by a desire for openness” มีภาวะผู้นำในด้านการเจรจาต่อรอง ประนีประนอม,สร้างการยอมรับ.

2.Lisa Jackson; USA. Environmental protection agency มี Key word คือ “Protecting our air, our water and our future”& “lay the foundation for a sustainable energy future” มีภาวะผู้นำในด้านวิสัยทัศน์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น.

3.Hillary Clinton ; USA. Minister มี Key word คือ “Key Success Information & Strategy”& “human rights and freedom” มีภาวะผู้นำในด้าน IQ. นักวางกลยุทธ์ คำนึงถึงสังคมและสิทธิมนุษยชน.

4.Barack Obama; USA. Leader มี Key word คือ “Change”& “set the country on the path to a future with fewer illusions” มีภาวะผู้นำในด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างศรัทราและความเชื่อมั่น.

5.Azim Premji ;India's economic transformation มี Key word คือ “Teaching his nation to earn, learn and give” มีภาวะผู้นำในเรื่องของการเสียสละ สนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการแบ่งปันช่วยเหลือสังคม.

ส่วนผู้นำที่ไม่ได้อยู่ใน List ข้างต้น ที่มีคุณลักษณะที่จะช่วย กฟผ. ในอนาคตเช่น

1. ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของเขาในการผลักดันให้กลุ่ม ปตท.กลายเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศในแง่ผลการดำเนินงาน และมาร์เก็ตแคป มีผลกำไร 8.3 หมื่นล้านบาทในปี 2553

2. บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย เป็นนักวางกลยุทธ์, ปฏิบัติการเชิงรุกด้วยแนวทางใหม่ โดยเฉพาะการปรับตัวรวดเร็วเพื่อพาธนาคารกสิกรไทยให้รอดวิกฤติ ในช่วง หลาย ปีที่ผ่านมา เป็นคนที่ริเริ่มนำคำว่า รื้อปรับระบบองค์กร หรือ reengineering มาใช้ในประเทศไทย.

โดยสมาชิก กลุ่ม 1.

1. นายกิตติ เพ็ชรสันทัด

2. นายเทพประสิทธ์ ธรรมสาร

3. นายพิพัฒน์ ราษฎร์ศิริ

4. นายวรพจน์ อินทร์ทอง

5. นายสมรักษ์ เพ็ชรเจริญ

6. นางอังคณา สุขวิบูลย์

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

ความรู้จาก Session รวค. "นวัตกรรมทางสังคม"

ภารกิจของ กฟผ.ในอดีตประสบความสำเร็จถึงจุดสูงสุดแล้ว ทั้งด้านคุณภาพและราคา

สถานการณืปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การปกครอง รัฐธรรมนูญ ระดับการศึกษา นำมาซึ่งอุปสรรคใหญ่ๆ ได้แก่

1. ทัศนคติทางลบต่อเชื้อเพลิงการผลิต

2. ความไม่เชื่อถือใน PDP และแนวคิดการจัดการพลังงาน

3. ความไม่เชื่อมั่นในกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐ

นอกจากนี้ นโยบายประชานิยมของรัฐบาล ความแตกต่างของ Stakeholder แต่ละกลุ่ม ทำให้ กฟผ. ต้องทำงานหนักกว่าอดีตมาก จะต้องไม่ท้อถอย และไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต

รวค.กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนจาก National Champion มาสู่ National Pride

สิ่งที่ขอ share มีดังนี้

1. จากสถานการณ์ที่รับทราบได้ทั่วไป ดูเหมือน กฟผ. อยู่คนละฝ่ายกับประชาชน ทั้งๆ ที่ กฟผ. ได้ทุ่มเทอย่างมากเพื่อสร้างความยอมรับ กฟผ.อาจจะต้องทบทวนเป้าหมายขององค์การใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนสู่การเป็น National Pride

ข้อกังวลว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าได้หรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ข้อกังวลที่ว่า กฟผ.ปัจจุบัน ทำได้ดีพอที่ประชาชนจะไว้วางใจได้หรือไม่

กฟผ. อาจต้องถามตนเองก่อนว่า เราต้องการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อใคร เพราะเหตุใดประชาชนจึงไม่เชื่อว่า กฟผ. ทำเพื่อส่วนรวม

2. ประเด็นการสร้างการยอมรับแต่ละพื้นที่ในปัจจุบัน กฟผ. ให้ความสำคัญสูงสุดต่อ Demand ของชุมชน เคยมีคำถามจากบุคคลภายนอกว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ เกรงว่าจะเป็นลักษณะการ negotiate ของ 2 กลุ่มโดยมี Regulator เป็นผู้สังเกตการณ์ โดยไม่คำนึงถึงภาพรวมของประชาชนในชาติโดยรวม

จิระศักดิ์ มัณฑางกูร

สวัสดีครับ...

แวะมาขอบคุณ พี่ๆเพื่อนๆ EADP รุ่น 7 ที่ให้ความไว้วางใจให้เป็นประธานรุ่นครับ

ขอออกตัวก่อนว่า ในอดีต ไม่ว่า ในสถาบันศึกษา หรือ ใน กฟผ. ผมไม่เคยเป็นประธานอะไรกับเขาเลยสักครั้งครับ

ใน กฟผ. เอง ได้เข้าอบรม OMP (ระดับหัวหน้าแผนก) รุ่น 1 ก็เป็นแค่เพื่อนร่วมรุ่นธรรมดาๆ มีพี่กำธร (early retire ไปแล้ว) เป็นประธานรุ่น พี่เขาก็ทำหน้าที่ได้ดีมาก...เพื่อนร่วมรุ่นที่มาอบรมด้วยกันในครั้งนี้ ก็มี พี่สุนทร คุณวัฒนา

มาถึงการอบรม ELDP (ระดับหัวหน้ากอง) รุ่นผมก็ได้ พี่ต๋อม(สิริมา - เกษียณอายุไปแล้ว) เป็นประธานรุ่น พี่ต๋อม ก็เป็นประธานได้สุดยอด ผมเองก็เป็นแค่เพื่อนร่วมรุ่นเช่นเคย...เพื่อนร่วมรุ่นที่มาอบรมด้วยกันในครั้งนี้ ก็มี คุณอนุชาติ คุณเธียรศักดิ์...

ขอแนะนำตัวเอง สักเล็กน้อยนะครับ...ผมเกิด มีค. 2502 อายุอานามก็เลย 52 ปี มาเล็กน้อย บอกไว้จะได้เรียกขานกันถูก เท่าที่ทราบมา รุ่นเรา อยู่ช่วงอายุ 2499-2506 ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างปี 2501-2502 ซึ่งนับว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันครับ

ผมทำงานในฝ่ายบริหารและแผนงานด้านการใช้ไฟฟ้า (อผช. ที่รู้จักว่าเป็นงาน DSM) สายงาน รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม (รวค.) เป็นผู้ช่วยฝ่ายด้านวิชาการ (มีอีกผู้ช่วยดูแลทางด้านแผนงาน) ผมเพิ่งมารับตำแหน่งเมื่อ ตค. 53 ที่ผ่านมา ดูแลงาน 2 กองคือ กองวิชาการ และ กองเสริมสร้างทัศนคติ(ห้องเรียนสีเขียว) ตั้งแต่ผมมารับงานก็ได้เสนองานใหม่ๆให้กับหน่วยงาน เช่น การเขียน "รอบบ้าน ชานเรือน DSM" เพื่อนำเสนองาน DSM ให้คน กฟผ. ได้รับทราบในสไตล์เบาๆ เหมือนคุยกัน ไม่ทราบว่าเพื่อนๆเคยอ่านกันหรือไม่? ออกมา 7 ฉบับแล้วนะครับ...อีกงานหนึ่งก็คือ งาน Demand Response โดยการพัฒนาระบบควบคุม Standby Gen และทดลองกับเครื่องของ กฟผ. ก่อน...

ก็พอเป็นสังเขปว่า ผมเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน ยังไง หากงานของเพื่อนๆมีความเกี่ยวข้องกัน จะให้ผมช่วยเหลือยังไงก็บอกได้นะครับ...

มาถึงงานของรุ่นเรา....ผมก็จะพยายามทำหน้าที่ประธานรุ่นให้เต็มความสามารถครับ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือจาก พี่ๆเพื่อนๆ ซึ่งสามารถออกความคิดเห็นหรือมาร่วมด้วยช่วยกันเพื่อรุ่นของเรานะครับ

เอาไว้จะเมล์พูดคุยผ่านเมล์ กฟผ. อีกครั้งนะครับ และจะทำรายชื่อ พร้อมเบอร์โทรภายใน เบอร์มือถือ แจกจ่าย เพื่อเอาไว้ติดต่อประสานงานกันนะครับ....

จิระศักดิ์ มัณฑางกูร

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้ (11 พค. 54)

 

ภาคเช้า....พูดได้คำเดียวว่า อ. ณรงค์ศักดิ์  สุดยอดครับ...สำหรับผม ได้รับรู้เรื่องต่างๆที่ อ. ณรงค์ศักดิ์ ถ่ายทอดให้ฟัง ก็นับว่า คุ้มค่าแล้วครับที่มาเข้าอบรมในครั้งนี้ ทำให้มีแนวคิดต่อยอดอะไรต่อมิอะไรไปได้มากมายเลย ผมคงได้นำแนวคิดบางอย่างไปถ่ายทอดต่อให้เพื่อนๆที่ทำงาน รวมทั้งเมื่อผมได้ไปสอนทางไกลเรื่อง "พลังงานทดแทน" ที่ โรงเรียนวังไกลกังวล ก็คงมีโอกาสสอดแทรกแนวคิดเหล่านี้ให้กับนักเรียนระดับมัธยมปลายที่ได้เรียนรู้ผ่านสื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อที่เด็กๆหลายหมื่นคนที่รับชมรายการจะได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ดีไม่ดี อาจของบจัดประกวดแนวคิดการจัดการทางด้านพลังงานหรือการหาพลังงานทดแทน ให้เด็กๆส่งมาประกวด ก็น่าจะดีมิใช่น้อย...

 

ภาคบ่าย...อ. ธัญญา ก็ได้มาให้แนวคิดสร้างสรรค์ในอีกรูปแบบ ถึงแม้เคยทราบเรื่อง Mind map มาบ้าง จากที่ให้ลูกทำ Mind map สรุปเนื้อหาที่ได้เรียนมาทุกวัน และได้ช่วยดู รวมทั้ง ได้เอา Mind map ของลูกมาอ่านและถามเธอตอนใกล้สอบ ก็พอมองเห็นภาพเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ไม่เคยได้รับการอบรม ได้แต่อ่านเอาเอง(หนังสือของ อ. ธัญญานั่นล่ะครับ) แล้วสอนลูกเอง...เมื่อได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง อ. ธัญญา ด้วยตัวเอง ทำให้รู้ลึกซึ้งมากขึ้น..

 

ขณะขับรถกลับบ้าน ก็ได้พูดคุยทั้งสองเรื่องที่ได้เรียนรู้มาในวันนี้ ให้ลูกสาวฟัง และจะได้เอาหนังสือที่ได้ให้เธออ่านด้วย เปิดเทอมมา คงเห็นการพัฒนาด้านการเขียน Mind map ของเธอแน่นอน...ส่วนที่ทำงาน ก็อาจหาโอกาสถ่ายทอดเรื่องนี้ให้กับน้องๆ อาจเป็นช่วงไปทำ Synergy ของกอง จะได้ใช้ Mind map สร้างสรรค์ความคิดต่อยอดกัน...

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

Session: Creative Thinking

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ฯ กรุณาเล่าให้ฟังถึง Creative Thinking ที่นำความสำเร็จอย่างสูงในหลาย Case

ประเด็นที่ประทับใจมีหลายประเด็น เช่น

การกำหนดวัตถุประสงค์ ต้องมีความชัดเจนก่อน จึงจะกำหนดเป้าหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้

Develop for Today, Sustain for Tomorrow

Creativity มาจาก Expertise, Creative Thinking Skill และ Motivation

การปรับเปลี่ยนจาก Supply Driven ไปสู่ Demand Driven

จิระศักดิ์ มัณฑางกูร

ได้เข้าไปติดตามอ่านข้อคิดเห็นต่างๆของรุ่นก่อนๆ ทุกรุ่น...

เห็นในรุ่นที่ 3 นอกจากมีประธานแล้ว เห็นมีเลือกทีมงาน ทั้ง ด้านวิชาการ ด้านประชาสัมพันธ์ ฯลฯ รวมมีกรรมการรุ่น 11 คน ผมคิดว่า น่าจะนำมาปรับใช้ในรุ่นเราได้เหมือนกัน แต่อาจลดขนาดลง

ไม่ทราบว่า เพื่อนๆ มีความคิดยังไงครับ?

วันที่ 11 พ.ค 54

วิทยากร คุณณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

สิ่งที่ได้จากวิทยากรคุณณรงค์ศักดิ์ ยกตัวอย่าง

คุณณรงค์ศักดิ์เล่าเรื่องหมู่บ้านแม่กำปองในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการบริหารจัดการที่ดี เป็นต้นแบบของการพัฒนาหมู่บ้าน

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคของโพสต์โมเดิร์น สังคมไทยจะต้องเปลี่ยนจากสภาพของ Labor Intensive ไปเป็น Creative Economy

การเปลี่ยนแปลงจะต้องสร้างระบบเศรษฐกิจให้เป็น Knowledge Base Economy

Labor Intensive --------> Skill Worker--------->Knowledge Base Economy--------->Creative Economy

ในอนาคตสังคมไทยจะต้องสร้างความมั่งคั่งโดยการใช้ความรู้ ไม่ใช่ใช้แรงงาน

สิ่งสำคัญที่สุดคือทัศนคติ

Creative Thinking เป็นเรื่องของ Positive Thinking

ตัวอย่างของบริษัทที่บริหารด้วยกลยุทธ์คือ บริษัท พรานทะเล ซี่งสร้างแบรนด์ขึ้นมาเพื่อหนีจากการเป็นผู้รับจ้างผลิต ผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องของการรวมกลุ่มทางการค้าหรือการเงิน

เรื่องของพลังงาน ปัจจุบันบุคคลสำคัญอย่าง สตีฟ จ๊อบ, บิล เกสต์ หรือ ริชาร์ด เบนสัน ต่างก็สนใจเรื่องพลังงานและอาหารเท่านั้น สมัยนี้ต้องเปลี่ยนการทำธุรกิจจาก Economy of Scale เป็น Economy of Speed

สิ่งที่ได้จากการบรรยายอุตสาหกรรมพลังงาน และอาหารจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจในอนาคต ส่วนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการของ กฟผ.คือในการทำกิจกรรมกับมวลชนในอนาคต ต้องให้ความสนใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

Mind Mapping เป็นผลงานการวิจัยเรื่องสมองและความจำของนายโทนี่ ในการปรับปรุงการทำงานต้องถามคำถามว่า

หลักการของ KAI ZEN (เปลี่ยนแปลง + ดีกว่าเดิม)

"ทำให้ดีกว่าเดิม ได้หรือไม่"

ทำให้ดี่ขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

ทำเสร็จแล้ว ทำต่อทันที

mind map เป็นเครื่องมือช่วยเรียบเรียงความคิด

การนำมาใช่ประโยชน์

ใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในหารปนระชุม หารือ วางแผน

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระฯ ที่เคารพ

# วันนี้ผมบอกจากใจจริงๆ ว่า ดีใจมากๆ 3 เรื่อง เสียใจนิดๆ 1 เรื่อง

@เสียใจนิดๆ เรื่องที่ยังแสดงออกในนิสัยที่ไม่ยอมถูกควบคุม หรือเป็นเป้าหมาย ในบางเรื่อง ผมถูกเตือนหลายครั้ง แต่ก็ยังคงมั่นใจว่า ผมไม่ได้ทำอะไรที่ไม่ดี ทุกอย่างทำไปด้วยการคิดก่อนตัดสินใจทั้งนั้น ครับ

เล่าให้ฟังสิ่งที่ผมต้องใช้สติ กลั่นกรอง การใช้ชีวิตส่วนตัวของผม

ผมต้องขอโทษนะครับ จริงๆแล้วผมถูกมองจากพี่ๆเพื่อนๆน้องๆ ตลอดมานานหลายปีว่า Born to be Group Leader มาตลอด และผมต้องจำยอมเป็นผู้นำในการ Think - Certify - Decision - Driving - Correcting - Transfering ตลอดมาในหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นประธานชมรม เลขาธิการสมาคม ทำหน้าที่แทนนายกสมาคมตลอด Class & School & Student Representative มามากมายแล้วทั้งงานใน กฟผ. งานที่ผู้บริหารระดับสูงมอบหมายนอก กฟผ. งานบริหารสมาคมในประเทส และหัวหน้าทีมในสมาคมต่างประเทศ ตลอดมานาน จนปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่หลาย Group Leader แต่เพื่อนหลายคนรู้ว่าอย่างไรผมก็ช่วยทำทุกอย่างด้วยใจอยู่แล้วครับ ผมเคยถูกตำหนิอย่างแรงด้วยความรักมาก จาก Prof. ........ ในงานสำคัญที่ Q.... รับ .... Medal ก็เรื่อง Group Leader ที่ปล่อยให้ เพื่อนต่างชาติ ที่สำเนียงดีกว่าเป็นผู้นำเสนอ แต่ Prof. ........ ไม่ยอม Force ผมจนผมต้องเป้นผู้นำและต้องทำทุกอย่าง ...... ผู้นำหรือผู้ทำ ก็ไม่รู้ แต่ทำแล้วก็ได้แน่นอน อย่างน้อยก็นอนหลับสบาย จริงๆแล้วเหนื่อยและมึนเพราะเพื่อนๆ พาไปฉลอง

@$ At A Good Time, When I learn more for What I should do or should not do :With my Inspiration at nice time I shall be the Smooth Smart Strong G...... I believe, I can do all the best for that position as well practical training and support by all beloved friends.

@ดีใจมากๆ 3 เรื่อง

1-ฟ้าประทานคนที่เก่งมากๆๆ และมากที่สุดในเรื่อง Creative Thinking ท่านอาจารยื ณรงค์ศักดิืฯ มาบอกพวกเราว่าลืมอะไรในชีวิตไปหรือเปล่า บอกแบบนุ่มๆ สุภาพมาก จริงใจ เต็มใจ และใจเต็มเปี่ยมด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสิ่งดีๆ มาให้พวกเรา แล้วเราจะใจแข็งไม่รับไปทำได้อย่างไร พวกเราทำได้อยู่แล้ว ถึงแม้วันที่เริ่มจะไม่ดี แต่วันต่อไป ต่อไป และต่อไป ต้องดีขึ้นแน่นอน ตามพฤติกรรม Brain & Mind mapping

2-ใครก็ไม่รู้ประทาน IDEA MAN-U-346 pages มาให้ แต่มีลายแทงมาด้วย น่ารักมากๆ เพราะใครให้หนังสือผมอ่านผมถือว่าเป็นเจ้าของชีวิตผมด้วย (ศาสนา ....... เขียนไว้ชัดเจน ... และผมก็คิดเช่นนั้น) ผมนั่งอ่านใน CA-WOW เสียดายแสงไม่พอและเสียงดังไปหน่อยแต่ก็ Reviewed ไปตั้ง 279 หน้า ...... มาต่อจนจบหน้า 346 at [email protected] ตอนรอที่ร้านไก่ย่างนิตยา

ผมจะ Short Brief ในส่วนที่ผมรับรู้ให้เพื่อนๆ ครั้งต่อไปครับ

แต่วันนี้ขอให้รู้ข้อมูลทั่วไปก่อนว่า

เป็นหนังสือที่จะทำให้เราได้เรียนรู้ ความคิด เงื่อนไข สถานที่ เวาล และจุด ที่จุดประกายความคิดสู่ความสำเร็จที่เกินความคาดหวัง ...... ของ พอล อัลเลน (Paul Allen) คู่หูผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์กับบิล เกตส์

Paul Gardner Allen เติบโตขึ้นมาจากครอบครัวชนชั้นกลางใน Seattle,Washington เขาเกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1953 ต่อมาในปี 1965 เขาได้เข้าศึกษาในระดับ Seventh grade ที่ Lakeside School หลังจากนั้น 3 ปีเขาก็ได้พบกับ นักเรียน eighth grade ชื่อ Bill Gates ทั้งสองคนมีความสนใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากจึงไม่น่าแปลกที่ Paul และ Bill จะสนิทกันมากและเป็นเพื่อนซี้ในเวลาไม่นาน เมื่อปี 1971 เขาสำเร็จการศึกษาจาก Lakeside School และเขาได้ตัดสินใจเข้าศึกษาที่ Washington State University ซึ่งมีชื่อเสียงไม่โดดเด่นมากหนักต่างไปจาก Bill ที่เลือกไปศึกษาต่อที่ Harvard ขณะที่ Paul ทำงานอยู่ที่บริษัท Honeywell เมือง Boston นาย Ed Roberts ได้ว่าจ้างให้ Paul และ Bill ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่ Harvard ให้เป็นผู้พัฒนาภาษา BASIC สำหรับติดตั้งลงบนเครื่อง Altair 8800 เขาทั้งสองได้ช่วยกันพัฒนาจนประสบผลสำเร็จ Paul และ Bill จึงตัดสินใจร่วมกันก่อตั้งบริษัท Microsoft Corporation ขึ้นมาในปี 1975 และประสมความสำเร็จเป็นอย่างมากจนเขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างฟู่ฟ่าหรูหราด้วยเงินทองที่เขามี ............... แต่ละหน้าที่เป็นลายแทง มีหลายหลายจุดที่ยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือไม่ ... รอไปก่อนแล้วกัน ไม่อยากรบกวนฟ้า แค่นี้ก็สุดยอดของการให้แล้วครับ

3- Group 1. ส่งการบ้านแล้ว

ผมขอขอบคุณมากครับ

Kitti Petchsanthad

11 May 2011

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายเรื่องนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 10 พ.ค. 54 ณ ห้องประชุม ท.102 อาคาร 20 ชั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ร่วมอภิปรายโดย คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ และคุณวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ

ดำเนินรายการโดย... ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Session นี้ริเริ่มตั้งแต่ กฟผ. รุ่น 4 การสร้าง CSR ให้ชุมชนเกิดความรักกับเรา

เริ่มต้นโดยการเปิดเทปให้เห็นความคิดของ ดร.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

ที่พูดมาทั้งหมดอยากให้ กฟผ. มีวิธีการหรือโครงการให้ชุมชนเกิดการยอมรับเรามากขึ้น จะเห็นว่าคนที่เป็น NGOs บางครั้งไม่ค่อยอยากเข้ามากฟผ.เท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ต้อง Win-Win

ปัจจุบันสิ่งที่ต้องมีคือสังคมการเรียนรู้ การมองสังคมเป็นมิตร การมอง NGO เป็นแนวร่วม

ฟังเทปบรรยาย อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

………………………………..

ก่อนหน้านี้มีการเจรจาของประเทศไทยได้มีการเจรจาด้านการพัฒนาทางการเมือง ซึ่งจากเดิมที่มีการต่อสู้ การขัดแย้งกัน มาสู่รูปแบบการเจรจาโดยสงบ ไม่ใช้อาวุธ การจัดการของฝ่ายรัฐเริ่มดีขึ้น เพราะไม่ต้องใช้ความรุนแรง ซึ่งถือเป็นส่วนดี การที่ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งโต๊ะเจรจากันถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่ ดูเหมือนว่าไม่ค่อยได้ผลอะไร

เพียงแค่ยกการโต้เถียงจากสาธารณะ มาต่อหน้า ฝ่ายรัฐฯเสนอ Road Map และเสนอการยุบสภา ก็เป็นการประนีประนอม ทางฝ่ายผู้ชุมนุมก็มี 1 คน ดูว่าพอเป็นไปได้ แต่มีอีก 2 คนไม่ยอมรับ

เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายตั้งโต๊ะเจรจากัน มีหน่วยงานพระปกเกล้าฯเข้ามาช่วยประสานให้ เราต้องพัฒนาอีกหลายอย่าง รวมถึงทั้งสองฝ่าย

การนั่งโต๊ะเจรจา 2 ฝ่ายควรมีคนกลางหรือไม่

- อาจมีได้ทั้งคนกลางหรือไม่ก็แล้วแต่

คำว่าสันติวิธีหรือกระบวนการแก้ข้อสงบร่วมกัน = การแก้ไขอย่างสันติวิธี

การตกลงว่าคนกลางเป็นใครต้องตกลงให้ได้ก่อน หรือถ้าไม่มีคนกลางอาจมีการทำงานนอกรอบ เข้าไปหารือเพื่อแปลเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นความสร้างสรรค์

คนกลางหมายถึงคนจัดกระบวนการ แนะนำว่าในเบื้องต้น 2 ฝ่าย เรื่องการตกลงครั้งนี้จะมีการเจรจาอย่างไรบ้าง เสนอให้ต้องมีกติกาที่ตกลงร่วมกันก่อน

ถ้าเขาอยากตกลงให้ใครเป็นผู้จัดกระบวนการ และต้องมีการเจรจานอกรอบ

สังคมเราตอนนี้อาจารย์คิดว่าสังคมไทยมีอะไรที่ต้องเรียนรู้บ้าง

คนไทยได้เรียนรู้มาเยอะแล้ว จนกระทั่งคนไทยยอมรับว่าเรามีปัญหาเยอะในสังคม มีความเดือดร้อน การเจรจาต่อรองสามารถเกิดขึ้นได้ สังคมเปิดความก้าวหน้ามากขึ้น ผู้มีอำนาจจัดการบริหารบ้านเมือง ผู้เดือดร้อน ล้วนมีส่วนสำคัญกับสังคม มีส่วนร่วมในสังคม เพราะฉะนั้นจึงควรคิดถึงหลาย ๆ ฝ่าย ใช้เป็นโอกาสแก้ความขัดแย้งอย่างสันติวิธี และเอาปัญหาใหญ่ ๆ ลึก ๆ มานั่งพูดคุยกัน มีการใช้วิธีการที่พูดคุยถึงเป้าหมายสูงสุด เช่น พูดเรื่องการมีความสงบสุข เป็นธรรม มีความยั่งยืน….ใช้แนวทางนี้เป็นหลัก....

การทำงานกับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่องการไฟฟ้าฯ ปัจจุบันควรทำอะไรให้สังคมยอมรับได้

กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก คือให้ประโยชน์และส่งผลกระทบกับประชาชน ทำได้ทั้งคุณและโทษ มีโครงการมากมายที่สนับสนุนชุมชน การไฟฟ้าแม่เมาะ กฟผ.สามารถใช้โครงการเจรจาอย่างสันติวิธีได้ ควรมีการศึกษาผลกระทบแบบบูรณาการ อย่างเหมาะสม ก่อน ทั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม ประชาชน ฯลฯ คิดให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดผลดี ไม่เกิดผลกระทบต่าง ๆ เช่นการประท้วง ยื่นหนังสือ ฯลฯ มีการเจรจาแบบสันติวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ ต้องเรียนรู้การจัดกระบวนการ

โดยหลักการไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม การเจรจามีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยยึดหลักกระบวนการ 3 อย่าง

1.กระบวนการที่ดี

2.กระบวนการที่ดีก่อให้เกิดทัศนคติเปลี่ยนจากเชิงลบเป็นเชิงบวก

3.กระบวนการมีเนื้อหาสาระที่ดี

ทำแล้ว วัดผล ประเมินผล แล้วปรับปรุงเป็นวงจรที่ดีเรื่อย ๆ

กฟผ. เป็นองค์การเพื่อสังคม เป็นกระแสเกิดขึ้นในโลกและประเทศไทยที่นายกฯ เป็นประธานในการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ด้วย แต่ท้ายที่สุดก็เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

กฟผ. จึงควรมีการสำรวจดูว่าวิธีการบริหารต่าง ๆ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างแท้จริงแค่ไหนเพียงไร และเป็นเพื่อบริบทเพียงใด

สังคมที่จะเจริญ สันติสุข มั่นคงยั่งยืน ต้องใช้ ความดี ความสามารถ และความสุขหรือสุขภาวะ

องค์กร บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ถ้าใช้ 3 หลักนี้จะมีความเจริญและมั่นคง

คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์

- ในยุคนี้การบริหารกฟผ. ไม่ง่ายเหมือนในสมัยก่อน ที่ผ่านมาผู้บริหาร กฟผ. ได้ทำให้กฟผ.อยู่ในระดับแชมป์เปี้ยนได้ จึงไม่มีที่ว่างให้คนรุ่นใหม่พัฒนาเท่าใดนักเพียงแค่รักษาแชมป์ให้ได้ก็พอ

- เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง แนวทางขององค์กรสอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาล สมัยก่อนเขาไม่ได้วุ่นวายมากนัก แต่ในสมัยนี้ กฟผ. ต้องเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ต้องมีเงื่อนไขต่าง ๆ โดยหลักการแล้วคุณภาพกับราคาไม่ได้ไปด้วยกัน

- บริบทสังคมเปลี่ยน ให้สิทธิประชาชนมาก เราอยู่ในกระบวนการที่สังคมกำลังจะเปลี่ยน สังคมเปลี่ยนเหมือนเราปล่อยลูกตุ้ม ตอนนี้ลูกตุ้มกำลังวิ่งกลับมา จึงเห็นว่าได้เกิดปัญหามากมาย ผู้บริหารรุ่นนี้จึงต้องเจอปัญหาเยอะ โดยหลักการฟิสิกส์เมื่อลูกตุ้มไปซ้ายสุดจะทำอะไรไม่ได้เลย

สังคมมี Competency ในการดึงไปจุดตรงข้าม ดังนั้น การบริหารปัจจุบันไม่ง่าย ที่เราจะใช้วิธีเดิมอย่างที่ กฟผ.เคยทำ

โดยสรุปแล้วจึงใช้เวลานานในการหาจุดสมดุล

1. ทัศนคติที่เป็นลบต่อเชื้อเพลิง ประชาชนต่อต้านเรื่องถ่านหิน นิวเคลียร์ ลามไปที่เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น แกลบ หรือข้าวโพด แต่ก็ไม่สามารถสร้างได้ แม้ว่าแนวคิดจะสอดคล้องกับ NGO ก็ตาม เนื่องจากยังมีพลังที่ต่อต้านอยู่ ตัวอย่างพลังงานลมก็มีต่อต้านอยู่ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่ท้าทาย

2. แนวคิดการจัดการพลังงาน มีการพยายามต่อต้าน PDP กระบวนการรับฟังความเห็นไม่ทั่วถึง

ดังกรณีที่เคยไปทำถ่านหินที่ชุมพร NGO และชาวบ้านต่อต้าน รวมตัวกันไปประท้วงที่ไซด์งาน โดยส่วนใหญ่เป็น NGO ระดับชาติที่ไปพูดกับชาวบ้าน ซึ่งส่งผลให้ กฟผ. ไม่อาจสู้ได้เลย

3. การจัดการสิ่งแวดล้อม ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการและกลไกของรัฐ เป็นกระบวนการล้มเหลวของราชการ ความไม่เชื่อถือของรัฐบาล สังคมไม่มีความเชื่อถือว่ากลไกของรัฐจะควบคุมกฎหมายให้ปฏิบัติตามสิ่งแวดล้อม

4. สังคมมีบทบาทมากขึ้น ประชาชนมีอำนาจ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สิทธิประชาชนตามรัฐธรรมนูญในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเปิดเผยข้อมูลบางส่วนต้องได้รับความยินยอม

วันนี้ วิธีการไม่ง่าย ความสำเร็จและวิธีการแบบเดิมไม่เป็นผล ตัวอย่าง โรงงานจะนะ ถือเป็นนวัตกรรมสังคมชิ้นเอกของ กฟผ. ตอนที่เราสร้างจะนะไม่มีใครเชื่อว่าจะทำสำเร็จ เนื่องจากเป็นที่สีแดง สีชมพู มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม แต่ด้วยความพยายามและความสามารถของผู้นำณรงค์ศักดิ์ จึงสามารถฟันฝ่าและประสบความสำเร็จได้

การทำที่โรงไฟฟ้าชุมพร เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่กฟผ.ประสบความสำเร็จในการทำความเข้าใจกับชุมชน

- ความสำเร็จเกิดจาก ผู้นำรู้ปัญหาจริง เข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านตลอดเวลา

- ความล้มเหลวก็มี เช่นโครงการหินกูด 2 โรง ทับสะแก 4 โรง ไม่สามารถสร้างได้ ความล้มเหลวเกิดจากเราไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 6,000 เมกะวัตต์ ทำให้เราต้องพึ่งพาอัตราก๊าซธรรมชาติจากภายนอก ปัจจุบันไทยจึงประสบปัญหากับความเสี่ยงที่ต้องพึ่งกับก๊าซธรรมชาติ

ถ้าเหตุการณ์ไม่สามารถยุติได้ ระบบ Logistic ไม่สามารถส่งน้ำมันดีเซลไปยังโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ โอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าดับมีสูงมาก แม้มีเงินซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ระบบ Logistic ก็ไม่สอดคล้องในการส่งน้ำมันได้

- จากตปท. ก็ได้เตือนว่า ก.พลังงานต้องมีการสต๊อกพลังงานมากขึ้น

การเดินน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ ทำให้ชาวบ้านเกิดน้ำท่วม แต่ถ้าไม่ปล่อยก็เกิดไฟดับ

- ความสำเร็จก็มี เช่น BRCP และ COCO ที่ใช้ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

- เคยศึกษาที่สถาบันพระปกเกล้า...การมีส่วนร่วมประชาชนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐฯ มีทั้ง Success & Failure

- ความพยายามหา Size โรงงานไฟฟ้าถ่านหินแถวหัวไทร มีชาวบ้านดักตี

เราจำเป็นต้องศึกษาว่าปัจจัยอะไรคือความสำเร็จ และล้มเหลว ความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ของคนอดีตเอาไปใช้ได้แต่ไม่หมด ถ้าตามโครงสร้างสังคมไม่ทันอนาคตมีปัญหาแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบัน นโยบายรัฐบาลเป็นประชานิยม

- กระบวนการประชานิยมต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะกินเนื้อไปที่ผู้ใช้ไฟไลน์อุตสาหกรรม ในอนาคตเมื่อรายได้ลดลง ความเป็นหนึ่งเดียวจะหายไป เมื่อไรปัจจัยภายนอกกระทบเราก็จะเป็นแรงกดดันสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ วันนี้เรายังมองไม่เห็นทางออกว่าจะเอาเชื้อเพลิงอะไรที่ผลิตไฟฟ้าแล้วประเทศชาติยอมรับแล้วสามารถแข่งขันได้ ไม่มีสูตรสำเร็จ ว่านวัตกรรมใดแก้ปัญหาเราได้ ต้องศึกษาเรียนรู้ใหม่ ๆ ออกไปสร้างพันธมิตร Stakeholder ว่าเราตอบสนองได้เท่าไหร่

- Stakeholder มีข้อเรียกร้องและความต้องการทั้งหมด เราไม่สามารถตอบสนองให้ทุกคนพอใจได้ โดยหลักการใช้หลักการ Optimization คือต้องมีคนกลางเข้ามานั่งฟัง Stakeholder ทุกกลุ่ม และมีการแจกแจงให้ดี แต่ปัจจุบัน Stakeholder ยังไม่เกิด แต่เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นทุกประเทศเลย อย่างวันนี้เราพยายามที่จะจัดสรรทรัพยากรที่บิดเบี้ยวแล้ว แต่ยังนึกไม่ออกว่าผลการจัดสรรส่งผลอะไร

- มีนักข่าวถามว่า กฟผ. ใช้ก๊าซ 70 % ทำ UK ไม่ได้ ทำถ่านหินไม่ได้ อนาคตท่านจะเอาพลังงานมาจากไหน

- ศักยภาพของประเทศด้านพลังงานไฟฟ้าหายไป เมื่อใดก็ตามที่ก๊าซธรรมชาติหมด แล้วไม่สามารถหาพลังงานจากต่างชาติได้ ก็เป็นปัญหาที่เราต้องเผชิญ เมื่อไรก็ตามเราท้อถอยลูกหลานเรามีปัญหา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้บอกว่าผู้นำยุคใหม่ต้องเผชิญอะไรบ้าง และจัดการได้หรือเปล่า นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องกฎระเบียบและองค์กรด้วย ยังต้องมีทุนมนุษย์ และผู้นำที่เข้มแข็ง ถึงฝ่าไปได้ ผู้นำยุคใหม่ต้อง Crisis Management แม้ว่าหลายเรื่องจะเป็นวิกฤต แต่ก็ต้องมีโอกาสด้วย ดังนั้นสิ่งที่คนในห้องนี้ต้องปรับคือการปรับทัศนคติต่อสังคม รุ่น 4 - 7 การหารือเรื่อง NGO ก้าวหน้ามาก เป็นการหารือแบบ Win-Win คือช่วยกันคิดช่วยกันทำ

คุณวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ

ความสนใจพลังงานเกิดขึ้น เมื่อมองเห็นถึงวิกฤตการณ์ที่หลายคนหาต้องทางออกร่วมกัน

วิกฤตการณ์ 3 เรื่องใหญ่ที่เผชิญกับเราและโลก

1.เรื่องพลังงาน พูดถึงข้อจำกัดเรื่องพลังงาน และทำนายความสิ้นสุดพลังงาน อย่างเรื่องฟอสซิล เราต้องรับมือกับพลังงานสำรองที่จะหมดในโลกอีก 30 ปีข้างหน้า ก่อนที่โอบามาจะรับตำแหน่งพูดว่า “อเมริกาไม่ใช่ประเทศอำนาจเดี่ยวอีกต่อไป ต้องอยู่ร่วมกับที่อื่น อารยธรรมของอเมริกันที่อยู่บนฐานของฟอสซิลต้องเปลี่ยนไป”

2. ดัชนีอาหารจะมีแนวโน้มเดียวกับราคาเชื้อเพลิง การเปลี่ยนพืชพลังงานอาหารเป็นน้ำมัน วิกฤติอาหารในโลกเกิด 3 ครั้งล้วนเกิดในช่วงสงครามทั้งสิ้น ดัง WWI WWII วิกฤตอ่าว และครั้งที่ 4 นี้วิกฤตอาหารจะเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของน้ำมัน และกลายเป็นวิกฤตถาวร ไม่ขึ้นและลง

3.สภาวะแวดล้อมเกิดขึ้นมาจากการใช้พลังงาน โดยเฉพาะฟอสซิลที่จะหมดไป

สรุปคือ วิกฤตที่เราเผชิญหน้าอยู่นี้ ทั้ง 3 เรื่อง เราอยู่ท่ามกลางการเรียนรู้ ซึ่งเราจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร

ความขัดแย้งหรือวิธีคิดในการมอง

จุดยืนทางสังคมระหว่างอาหารและพลังงานจะเลือกยังไง อาหารต้องมาก่อน ที่เหลือต้องจัดการเรื่องพลังงาน วิกฤตอาหารหรือพลังงานเป็นแหล่งผลิตหรือเชื้อเพลิงที่เราต้องเกี่ยวข้องมากขึ้น เมื่อเรามีความจำเป็นที่ต้องรับมือ การตัดสินใจการใช้พื้นที่

การจัดการทรัพยากรแบบใหม่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน อย่างแผน PDP ต้องมีความเห็นร่วมกันก่อน และกฟผ.ในฐานะผู้ดำเนินการต้องทำเพื่อให้บรรลุแผนนั้น กฟผ.ไม่ควรเป็นจำเลยในกรณีนี้ เหตุการณ์เกิดมาแล้วนั้น เราจะแก้ปัญหาอย่างไร

การประท้วงของกลุ่มบ่อนอก และหินกรูด เป็นการประท้วงของกลุ่มประชาชนในพื้นที่ไม่ใช่ NGO บางครั้งชาวบ้านก็ไม่ยอมรับเหมือนกันถ้า NGO นั้นอ่อนไป แล้วหลายที่ก็เป็นแบบนี้หมด ซึ่งบางครั้งนั้นสื่อมวลชนหรือภายนอกอาจเข้าใจผิด

NGO ต่างไปจาก 10 ปีที่แล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อก่อนต้องได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรสิ่งแวดล้อม องค์กรศาสนา แต่ 10 กว่าปีมานี้ NGO ได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและภายในประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นกลไกการเกิดขึ้น บางอย่างจึงเป็นการทำงานที่เชื่อมโยงกับรัฐแต่มีหน้าที่แตกต่างออกไป บางครั้งผมต้องทำงานที่ขัดแย้งกับ กระทรวงเกษตรฯ แต่ทำงานสอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นต้น

NGO บางครั้งทำในงานวิเคราะห์เชิงข้อมูล ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทีเดียว คนพร้อมหาข้อมูลและเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกแห่ง

กฟผ. ควรทำงานยังไงกับสังคมและชุมชน

- ภาพใหญ่ วิธีคิดการใช้พลังงาน และเศรษฐกิจ เราต้องเรียนรู้ใหม่ สร้างการเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อม ใช้คนหมู่

- การตระหนักเรื่องอาหาร สิ่งแวดล้อม กระบวนการต้องเรียนรู้ใหม่ว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร เป็นกรอบเฉพาะการดำเนินใหญ่ กรอบใหญ่การบริโภคควรเปลี่ยนไป คำตอบอุตสาหกรรม และทิศทางอุตสาหกรรมควรทำใหม่ การกระจายการพึ่งพาไปสู่พื้นที่ แนวโน้มการเติบโตของภาคประชาชนน่าจะมีทิศทางนี้ แม้ว่าเป็นหน่วยงานระดับนานาชาติ การมีชุมชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนคิดด้วยจึงเป็นแบบที่น่าสนใจ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เน้นว่าควรเน้นการหาความรู้เกี่ยวกับชุมชนด้วย รุ่น 4-7 เน้นที่ Social Innovation เน้นความอยู่รอดในระยะยาว มีลักษณะความคิดแบบ Paradigm , อาจมีการบริหารเล็ก ๆ ไปที่ชุมชนก็ได้ , ดูที่ Case ต่าง ๆ มีการจัดการแนวใหม่ก็ได้

ถามกลุ่ม 5

การมุ่งผลิตอย่างเดียวมีปัญหาหรือไม่ ดูว่าตรงไหนจะสามารถสะสมได้บ้าง บางส่วน

การสร้างโรงไฟฟ้าเรากลัวเกินไปหรือเปล่า ให้เขาต่อต้านไป กว่าจะสร้างมาได้ก็ต้องใช้เวลาศึกษาอีกนาน

ตอบของคุณธวิช

เรากลัวรัฐบาลมากกว่าประชาชน มวลชนส่วนใหญ่เอากับเรา แต่รัฐบาลสั่งเลิก มูลค่าที่หายไป 6,000 เมกาวัตต์ ที่เราต้องสั่งจากพม่า การเมืองอยากสงบ ราบเรียบ มีปัญหากระทบต่อฐานเสียง ฐานคะแนน ข้อมูลช้า แล้วเราอยากพูดที่เป็นเรื่องจริง หลายคนเข้าข่ายโพรพากันดากับประชาชน เราระมัดระวังการให้ข่าวที่ต้องเป็น Fact กับ Factor อย่างเดียว บริบทสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว เราแก้ไม่ได้ เราต้องแก้บางส่วน มีปัญหาเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โรงไฟฟ้าถ่านหิน มีประเด็นซ้ำ ๆ ทุกวัน จุดอ่อนของการผลิตไฟฟ้ามี Economy of Scale อยู่ที่ การไฟฟ้าใหญ่ วิธีที่ดีที่สุดคือมี generator ส่วนใหญ่อยู่ที่ใช้ไฟ ... โรงไฟฟ้าใหญ่ได้เปรียบในเชิงเทคโนโลยี ต้องมีBalance เรื่องราคา เรื่องชุมชน

ต่อจากถาม

ให้เขาดำเนินการเอง บริหารจัดการเอง อย่างอำเภอทั้งอำเภอ เชื้อเพลิงจากอ้อยทั้งอำเภอ หรือแกลบทั้งอำเภอเป็นต้น

ตอบ เชื้อเพลิงไบโอฟิลทุกแห่งที่มีศักยภาพใช้เกือบหมดแล้ว เหลือแต่แหล่งเล็กน้อยที่สังคมสามารถทำได้ เหลือแต่สายลมและแสงแดด แต่ข้อสำคัญคือ Back Factor แค่ 10 % แต่อย่างไรก็ต้องตั้งโรงไฟฟ้าฟอสซิลเพื่อทดแทนในกรณีที่หายไปด้วย

ต้นทุนค่าไฟนั้นเป็น Factor ที่สำคัญอยู่

ตราบใดก็ตามที่ต้องพึ่งการลงทุนบางส่วนเพื่อตอบสนองเรื่องแรงงาน แต่การสูญเสียพลังงานพวกนี้โดยกระทันหันเกิดสังคมเคออส คนตกงาน ดังนั้นจึงมองเห็นปัญหาของการวางแผนเศรษฐกิจระยะยาว ยุทธศาสตร์ของชาติไม่ต่อเนื่อง การเมืองคือตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ พอพัฒนาไปเรื่อย ๆ จะเกิดปัญหาจากข้างนอกที่เรียกว่า Outside in เราต้องทำงานกับ Stakeholder จำนวนมาก และต้องใช้ร่วมกับวิสาหกิจอื่นด้วย

ถามกลุ่ม 2

ปัญหาเรื่องพลังงานค่อนข้างชัดเจน นอกจากพลังงานเชื้อเพลิงขาดแคลนแล้ว พลังงานโรงไฟฟ้ายังไม่พอ เนื่องจากเราต้องซื้อไฟจากลาวเป็นต้น ปัญหาเชื้อเพลิงใช้แก๊ซ 70 % ถ่านหิน สร้างไม่ได้

ในอดีตความเจริญไม่มี ประชาชนถูกปิดหูปิดตารัฐบาลพูดอะไรก็ได้ แต่มั่นใจว่า กฟผ.มีความพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะทำทั้งหมด แต่ขาดความสนับสนุนของรัฐบาล บอกว่าเป็นการจัดการของประเทศ ปัญหาเชื้อเพลิง ปัญหาโรงไฟฟ้าที่ซื้อให้เขา มีปัญหาจริง ๆ รัฐบาลควรเป็นผู้นำ ไม่ใช่การไฟฟ้าเป็นผู้นำ เรื่อง PDP กรรมการเป็นการพยากรณ์ที่ถูกต้อง

พื้นที่ประจวบฯ ปัญหาเรื่องอาหารกับเชื้อเพลิง เหมาะกับการกำหนดไปเลยในการสร้าง รัฐบาลได้ ประชาชนได้ ความมั่นคงได้

คำถาม ทำไมผู้บริหารเราคุยกับรัฐบาลไม่ได้ แต่ปตท.คุยได้ทุกรัฐบาล เรามีข้อจำกัดในเรื่องภาครัฐหรือไม่

ตอบของคุณวิทูรย์

โครงการชีววิถี..เป็นส่วนหนึ่งของงานหนักไปเชิงประชาสัมพันธ์หน่อยนึง ไม่ได้เป็นกิจกรรมสำคัญของกฟผ. ถ้าสังคมเคลื่อนไปในแง่นั้น ถ้าแผนใหญ่หวังรัฐบาลแก้ จะไม่จบและนำไปสู่ความขัดแย้งแบบเดิม กฟผ. สามารถสร้างนวัตกรรมให้นักการเมืองศึกษาด้วย ถ้าทำเฉพาะพลังงานหรือไฟฟ้า จะทำกับชุมชนลำบาก การใช้พลังงานที่มาจากพืชเป็นทางออกในการศึกษาพลังงานไฟฟ้า พลังงานหรือไฟฟ้าเป็นเรื่องหนึ่งในพลังงานหลายเรื่อง ถ้าต้องการสร้างโมเดลการจัดการกับทรัพยากรรอบด้านคิดว่า กฟผ.ทำได้ แต่ถือว่าเป็นต้นแบบการจัดการพลังงานพร้อมการพัฒนาชุมชน เพื่อนำสู่การจัดการมหภาคได้ด้วย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือหลายส่วนในกรอบการดำเนินงาน

ตอบของคุณธวัช

ช่วง 2540 กระทรวงพลังงานหรือภาครัฐไม่มีการบล็อกกฟผ.เลย แต่เนื่องจากเรามีปัญหาตั้งแต่ทับสะแก ความจริงภาครัฐทำร่วมกับเราตลอดแต่อ่อนไหวเรื่องประชาชน พระปกเกล้าฯ เสนอว่า ห้ามการเมืองท้องถิ่นสนับสนุนเราเพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะมีฝ่ายตรงข้ามต่อต้านทันที เพียงแค่ว่าให้การเมืองท้องถิ่นไม่ต่อต้านพอ

จริง ๆ มีหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน ก.พลังงานก็สนับสนุนมากทั้งในเรื่องการเงิน แต่ปัญหาคือการทำความเข้าใจกับประชาชนเท่านั้นเอง เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลักของสังคม เพียงแค่เรียนรู้และไม่ท้อถอยเท่านั้นเอง บางครั้งต้องเรียนรู้จาก Failure ใช้ความอดทนและต่อเนื่องเรื่อย ๆ พวกเราต้องเปลี่ยน Competency ใหม่ โดยต้องคุยกับผู้นำเยอะ ๆ ถ้าละเอียดพอ เราสามารถแยกแยะได้ว่ากลุ่มไหนคุยได้ มุ่งเน้นในการรักษาประโยชน์ของกลุ่มชนส่วนใหญ่ วิธีการมองควรมองแบบแยกแยะ และมีวิธีการเข้าไปพูดคุยให้ได้ กลุ่มไหนคุยได้คุย กลุ่มไหนคุยไม่ได้ไม่ต้อง เพียงให้เขาเห็นหน้าเท่านั้น

ดร.จีระ ทั้ง 2 โต๊ะ มี Frustration เยอะ นโยบายหนึ่งที่น่าจะทำคือมีพันธมิตร กฟผ. หน่วยราชการมากขึ้น กฟผ.ในระยะยาว เป้าหมายการหาพลังงานยังไม่พอเพียง การหาทางออก Innovation คือต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดใหม่ ๆ แต่ต้องทำให้สำเร็จ อาจมีปัญหาเรื่องต้นทุน Economy Skill หรือ สายส่งเป็นต้น กฟผ.ในแง่บริบทของการเปลี่ยนแปลงเราต้องอดทน และต้องให้เกียรติเขา เราต้องไม่ใช้ความรู้สึก

ถาม กลุ่ม 1

ปัจจุบันเทคโนโลยี Support ได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ไมโครกิจ กับ มินิกิจ

การอภิปรายที่ฝรั่งเศส เมื่อปีที่แล้ว มองว่าทุกประเทศมี Platform หรือเปล่า ถ้าต้องการเป็นตลาดทุนตลาดหุ้น ต้องเป็นแบบหนึ่ง แต่ถ้าเป็น Platform - RE renewable technology หรือ wind and cleanable energy ซึ่งสำหรับกฟผ. ทำได้ทั้งคู่ สามารถรักษาความเสี่ยงได้แม้เกิดวิกฤตจะใช้คน 100-200 คนไปเคลียร์

ทั้งสองมีผลกระทบหมดเลย ในกรณี มินิ กับ ไมโคร ทำให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมปรับขึ้นเพื่อเป็น Solar

ในแง่ NGO มีแนวทางอย่างไรที่จะเปิดเงื่อนไข ความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจาก Social หรือ Community ไม่เห็นด้วย กฎ กติกา สังคม หรือระเบียบปฏิบัติไม่ได้เปิดอยู่แล้ว

ตอบของคุณวิทูรย์

ความคิดการพัฒนา NGO ส่วนใหญ่คล้ายกัน ต้องนำไปสู่การสร้างสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ทรัพยากรต้องไม่ทำลายตัวฐานทรัพยากร NGO ในภาพใหญ่ต้องปรับ และรื้อระบบที่เป็นอยู่ การจัดการระบบในพื้นที่ต้องมีประสิทธิภาพการจัดการที่เหนือกว่า น่าสนใจในการลงทุนการพึ่งพาตนเองด้านการพัฒนาพลังงาน ความเชื่อที่ว่าเราต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรักษาโลก เป็นไปได้ไหมที่ EGAT จัดการลงทุน เพื่อให้ระบบเดินไปได้ เช่นการจัดการระดับพื้นที่แล้วหาการผลิตพลังงานเพื่อให้เดินไปได้ โดยไปร่วมกับคนอื่นในการทำงานเนื่องจากโจทย์ของชุมชนเป็นโจทย์ของความอยู่รอด โครงการแบบนี้ฝ่ายการเมืองต้องให้ความสนใจ เราต้องพร้อมที่จะหาคำตอบให้กับสังคม เพื่อพิสูจน์เนื้อแท้ขององค์กร ตอบคำถามที่สังคมตระหนักอยู่ ไม่ใช่เราที่เลือก คุณจัดการได้ไหม?

ถามกลุ่ม 4

ประสบการณ์หลายอย่างบอกว่าเราไม่ถูกหรือผิด 100 % กฟผ. องค์กรรัฐ ต้องทำงานในวิถีทางที่สะอาด โปร่งใส และจริงใจ ปัญหาที่เกิดขึ้น บ่อยครั้งอาจเกิดทั้งปัจจัยภายใน บุคคลภายใน ภายนอก เอาปัญหาส่วนตัวไปปนกับส่วนรวม ถ้าภายนอกไม่มีการเอาเงื่อนไขส่วนตัวมาเกี่ยวข้องน่าเป็นทางออกที่ดีได้ ที่ผ่านมา กฟผ. การให้ความรู้ชุมชน การพาไปเที่ยวดูงาน มีกิจกรรมทำร่วมกันเป็นครั้งคราว ดีหรือเปล่า อีกแนวทาง ถ้าเราใช้ทรัพยากรใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆมาพลักดัน เช่นการใช้ความเห็นทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ การใช้เครือข่ายใหม่ ๆ ป้อนข้อมูลในสื่อต่าง ๆ ประกาศหาท้องถิ่นที่ต้องการสร้างโรงไฟฟ้า การคิดนอกกรอบเช่นมองว่าพื้นที่ของทหารเป็นที่การสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต การเชิญ NGO กับประชาชนทำงานร่วมกันให้เข้าใจพฤติกรรมร่วมกันและทางออกต่าง ๆ เป็นต้น

ถามกลุ่ม 3

ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ในการเข้าพื้นที่ชุมชนไฟฟ้า พันธกิจหลักคือ โครงการช่วยวิถี กับปลูกป่าในการเข้าหาชุมชน การมีส่วนร่วมกับชุมชนสำคัญที่สุด ทำฝ่ายเดียวจะไม่เกิดผล

โรงไฟฟ้าชุมชนพระนครเหนือ เอาชุมชนใกล้ ๆ มาเสวนากัน แล้วเลือกตัวแทนจัดตั้งเป็นไตรภาคี ประชาชน ตัวแทนกฟผ. และสิ่งแวดล้อม เช่นประชาชนคิดว่าเป็นมลพิษ ให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็นคนตอบ กระบวนการเหล่านี้สามารถเดินไปได้ในความมีส่วนร่วม ทำให้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือสำเร็จ อันอื่นอาจสร้างไม่ได้

อีกประเด็นคือ ส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน คือ ให้ประชาชนลดใช้การใช้สารเคมีในครัวเรือน สอนให้เขาใช้ชีววิถีในครัวเรือนและสร้างรายได้ ส่งเสริมการทำนาแบบมีส่วนร่วม ใช้ระบบชีววิถี ดังนั้นการทำงานในชุมชน ถ้าไม่มีชุมชนมีส่วนร่วมแล้วจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย

ตอบของคุณธวัช

หลังจากรับตำแหน่งเปลี่ยนทีม CSR ทำคู่กับแผนการปฏิบัติ การนำกฟผ.ไปสู่ความพอใจของประชาชนยั่งยืนกว่าแชมเปี้ยน เราดูว่าจะทำ CSR ได้อย่างไร CSR in Process เริ่มจากเช็คตัวเองโดยใช้ ISO 2006 เช็คกระบวนการโรงไฟฟ้าสายส่งว่ามีกระบวนการใดขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ เราสามารถใช้โครงการที่ไม่กระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็สามารถทำให้โครงการเดินต่อไปได้ ใช้ระบบไตรภาคี มีภาครัฐ เอกชน และกฟผ. ในการดำเนินการ ที่สำเร็จ มีที่จะนะ และพระนครเหนือ ชุมชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อมาประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่คนสนใจเยอะ ทำยังไงเรื่องเอาข้อมูลสิ่งแวดล้อมแบบตรงไปตรงมาขึ้นเวปด้วยภาษาที่ประชาชนเข้าใจ ก็สามารถทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นได้ ปัจจุบันคนรายงานไม่ใช่กฟผ. แต่เป็นสิ่งแวดล้อมจังหวัด รายงาน รัฐไม่เคยออกมาควบคุมดูแล ไม่มีกระบวนการสร้างความไว้วางใจ ไม่มีการแก้ข่าว ไม่มีการปรับปรุง การสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ปัญหาตรง ๆ การตั้งองค์กรอิสระคือคำตอบสุดท้าย แต่บางครั้งก็ทำให้ศักยภาพเราเสียไปด้วย เป็นการสร้างองค์กรซ้อนองค์กร กฎหมายซ้อนกฎหมาย สังคม Complex มาก ๆ

เราอยู่ในกระบวนการที่หนักหนาสาหัส เพราะวิธีคิดอยู่ในกะลาที่คนไทยครอบไว้ มีขีดจำกัดในกระบวนคิด เทคโนโลยี อยู่ที่ความสามารถของผู้บริหารยุคใหม่ที่จะแก้ปัญหาแล้วไม่กระทบกับสังคม

องค์กรที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องเป็นองค์กรที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว และไม่ยึดติดกับอดีตจะอยู่รอดได้ในอนาคต

ตอบของคุณวิทูรย์

อาจมีการลงทุนทางนวัตกรรม เชิญคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมคิดด้วยเลย ชอบข้อเสนอกลุ่ม 4 อีกเรื่องคือข้อมูล การเคลื่อนไหว และการต่อสู้ทางการเมือง ท้ายสุดคือเรื่องความสุขในการดำเนินชีวิต ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน และสามารถก้าวเดินต่อไปได้ การทำงานคือการทำเหตุให้ดี แล้วผลดีจะเกิดขึ้น อยากให้เข้าใจว่า NGO กับชาวบ้านอยู่ในแวดล้อมอีกอันหนึ่งอาจมีมุมมองต่างกันท่านต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นและมีส่วนร่วมเท่านั้นเอง

ดร.จีระ เสนอว่าควรเรียนรู้จาก Experience ,ความเจ็บปวด, ฟัง เปิดใจกว้าง Open mind เน้นการเรียนรู้ตลอดเวลา การเรียนรู้ต้องเรียนรู้ทั้งองค์กร

- ให้ส่งการบ้าน วันนี้ทั้งเช้าและบ่ายได้อะไร

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง Creative Thinking

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ วันที่ 11 พ.ค. 54

ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุค Post Modern ศาสตร์ความรู้ต้องเป็นศาสตร์วิชาการ แต่ถ้าเราใช้การบริหารแบบ Labor Intensive จะไปไม่รอด

ทำไมต้องเป็นพูดเรื่อง Creative Economy ในวันนี้

• เนื่องจากเราพอคาดการณ์อนาคตว่า 20 ปีข้างหน้าจะมีอะไรบ้าง เป็นลักษณะการใช้ฐานความรู้ สถิติ การเข้าใจระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผมเคยทำวิจัยเส้นทางอุตสาหกรรมเซรามิคว่าในอนาคต 20 ปีจะเป็นอย่างไร แล้วย้อนไปถึง 3,000 กว่าปีผ่านมาแล้ว

• เนื่องจากแต่ก่อนฐานเศรษฐกิจของไทยเป็นฐานที่เรียกว่า Labor Intensive เอาแรงงานราคาถูกเป็นตัวตั้ง การเตรียมที่จะเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมมาในประเทศไทย เตรียมใส่คนไปในภาคแรงงาน ใช้ความรู้สึกในการเข้าใจ ไม่ใช้วิธีวิทยา ซึ่งต่อไปไม่สามารถอยู่รอดได้ ถ้ายังคงใช้ Labor Intensive

• ความเข้าใจและไม่เข้าใจแบบฐานความรู้ สามารถนำมาซึ่งการคิดแบบสร้างสรรค์

**ถ้าพูด Creative Economy ต้องพูดว่า Why ไม่ใช่ How**

ทำไมประเทศไทยต้องพูดเรื่อง Creative Economy

ตอบ ... เพราะเราใช้ฐานแรงงานราคาถูกเป็นตัวตั้ง ในเศรษฐกิจโลกเราแพ้แล้ว

• Competitiveness ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถ้าท่านเริ่มคิดวันนี้จะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างนิวซีแลนด์ พูดแล้วเรื่องพลังงานสีเขียว ตรง ๆ เลย

• จะเปลี่ยนเป็น Skill Worker ต้องใช้องค์ความรู้ไปเปลี่ยน

• ถ้าจะเปลี่ยนเป็น Knowledge Worker ต้องใช้กระบวนการไปเปลี่ยน

** อ.ณรงค์ศักดิ์ ฝากหนังสือ .... หน้า 87 ไว้ให้อ่าน เป็นคำพูดที่ต้องเริ่ม……

• ก่อนเข้า Creative Economy ต้องผ่าน Knowledge Based Economy ก่อน

• การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่ม margin ใหม่เพื่อต่อรองกับ Center เช่นเดียวกับ GMS ก็เสมือนการรวมกลุ่ม margin เหมือนกัน

• ธงที่วางไว้ ปี 2015 เราจะรวมเศรษฐกิจเป็นอาเซียน

• สิงคโปร์วางแผนไว้ว่า : 1 คนในสิงคโปร์ ชนะ อาเซียน 12 คน อยากให้เห็นตัวอย่างของสิงคโปร์คือ มีโรงเรียนชื่อ Tourism Academy at Sentosa เป็นลักษณะการเรียนแบบลงมือปฏิบัติ สร้างให้เกิดกิจกรรมแท้ขึ้นมา มีสถานที่จริง และมีโรงแรมให้ฝึก ที่น่าสนใจคือ สิงคโปร์จะถามหา Benefit ว่าคืออะไรมากกว่าถามว่า profit เท่าไหร่

• แม่กำปอง เป็นตัวอย่างหนึ่งของ กฟผ. ที่เริ่มปลูกป่า เพื่อสร้างพลังงาน และมีตัวอย่างในการมีสหกรณ์เรื่องพลังงานที่คิดเอง มีการทำแนวคันไฟ โดยปัจจุบันนี้แม่กำปองถือว่าเป็นหมู่บ้านที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างดีโดยไม่ต้องพึ่งเงินจากรัฐบาลหรือภายนอก มีการทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Eco tourism การท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ จะสังเกตว่าแค่เครื่องปั่นไฟฟ้าเพียง 1 เครื่อง ทำให้หมู่บ้านหนึ่งได้รางวัลระบบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของโลก หมู่บ้านนี้ ถ้าป่วย ลูกหลานมาเฝ้าไข้ ได้เงิน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เงินหมดเลย เงินมาจากสหกรณ์พลังงานไฟฟ้า หมู่บ้านนี้ ทุก ๆ 2-3 เดือน ซื้อทองได้ 1 บาท ประเด็นคือ ชุมชนเกิดการฟื้นฟูขนานใหญ่จากคนหนุ่ม คนสาวที่ต้องออกจากบ้านไปขายแรงงานราคาถูก แล้วกลับบ้านตายด้วย โรคเอดส์ แต่วันนี้กลายเป็นหมู่บ้านที่คึกคัก ยั่งยืน ไม่ต้องใช้งบรัฐ เงินหลวง ใช้เพียงอย่างเดียวทัศนคติ และวิธีคิด

• คนเก่งไม่กลัว แต่กลัวคนมีความคิดเป็นผู้นำสูง อยู่ที่กระบวนการคิดแทน ให้ดูตัวอย่างเจ้าของสายการบิน Virgin Airline , และของ Bill Heinecke ที่ประสบความสำเร็จโดยเชื่อเรื่องความรู้ และทรัพยากรเรื่องคน เป็นสำคัญ Bill Heinecke เป็นคนแรกที่คิดเรื่องบริการรับจ้างทำความสะอาด ,

• ตัวอย่าง วิถีวิทยา คือการมีความคิดสร้างสรรค์ในการช่างรู้ ช่างสังเกต

• ยุค Post Modern จะเป็นสหวิทยาการ

• ถ้าพูดเรื่อง Creative Economy จะพูดเรื่องคุณค่า ไม่พูดเรื่องราคา เน้นเรื่อง Differentiate

• นิวซีแลนด์ ใช้ Green Product ทั้งหมด สร้างความแตกต่าง ซึ่งจะเห็นว่าอุตสาหกรรมนิยมไปที่นี่เกือบหมด เนื่องจากเล็งเห็นถึงประเทศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนเป็นต้น

• การจะทำอะไรก็แล้วแต่ขอเสนอให้ต้องใช้แผน 2 แผน

• ตัวอย่าง หมู่บ้านแม่กำปอง พ่อหลวงพรหมมินทร์ พูดเรื่องทุนมนุษย์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ มาร่วมกัน ปัจจุบันสามารถขายเครื่องปั่นไฟคืนได้แล้ว เพลินวานก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการคิดเริ่มต้นด้วยตัวเองบ้าง คุณก้อยที่เคยทำธุรกิจกับที่บ้าน จึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดอยากทำเพลินวาน คิดใหม่ อย่างเป็นระบบ

กรณีหมู่บ้าน แม่กำปอง ได้ศึกษาก่อนเลือกแนวทางการดำเนินงาน

สิ่งที่ศึกษา 3 เรื่อง คือ 1. เรื่องอุตสาหกรรม ถ้าจะทำต้องใช้นโยบาย - BOI จึงไม่เอาอุตสาหกรรม 2. เรื่องเกษตรไม่เอาเนื่องจากต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและรายได้อาจไม่มาก 3 .เรื่องการท่องเที่ยว ให้ความสนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากเคยดูตัวอย่างในอดีตตอนเด็ก จึงทำ

*** เอาทุนที่มีอยู่ บวกความคิดสร้างสรรค์ บวกความรู้

ตัวอย่าง เพลินวานเป็นเสมือนพิพิธภัณพ์ที่มีชีวิต

เพลินมาจาก Play and Learn วานมาจากความรู้ของคุณพ่อ คุณแม่ เรื่องวันเก่า ๆ วันวาน

เมื่อคิดเสร็จแล้วก็โปรโมทแผนการตลาดเป็น อย่างการวิเคราะห์อย่าง IMC (Integrating Marketing communication) คุณค่าแท้ที่ต้องการคืออะไร

เน้นการโปรโมทเพลินวานแบบ สร้างไป ถ่ายรูปไป จึงทำให้คนเริ่มมีความสนใจมามากขึ้น

• กลุ่ม NGO ใช้เครื่องมือเป็นอาวุธในการระดมคน ต้อง Concern ค่อย ๆ ให้ความรู้ทั้งสองฝ่าย

• การปฏิวัติสีขาว มาจากอินเตอร์เนต

• การเรียนรู้ และความเจริญ อยู่บนฐานทัศนคติ

• เศรษฐกิจฐานความรู้ อีกอย่างหนึ่งคือ Positive Thinking หมายถึงว่าต้องได้แน่ ๆ ได้สิ่งใหม่แน่ ๆ

มีแนวคิดอันอื่นอีกไหมที่จะสร้างงานเหมือนแม่กำปอง

………………………………………………………………………………………………

ดร.จีระ พูดว่า

• ถ้าให้โอกาสคน EGAT ข้างล่างคิด ก็ดี น่าจะมีแรงบันดาลใจ ต่อให้เรียนเก่ง Genius เจอปัญหาที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็อาจกลับไปสู่สภาพเดิม

• กฟผ. ต้องกระเด้งจาก Structure ที่ประสบความสำเร็จ แต่อีกตัวอย่างเป็น Victim of Failure คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย

• กฟผ. Success แต่อย่าบ้าคลั่งความ Success ของตัวเอง

• เสนอว่าสำหรับรุ่น 7 ควรจะเสนอไอเดียวันละน่าจะดี ตอนเช้า ๆ ก็มานั่งคุยกันถึงไอเดียใหม่ ๆ

• อย่าบอกว่าเขาควรทำอะไร ถามเขาเยอะ ๆ ฟังเยอะ ๆ Boundaryless คิดอีกแนวหนึ่งก็ได้ คิดแบบความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถอยู่ได้

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ บอกว่า

• เมื่อไรก็ตามที่มีเวลาว่างเช่น ระหว่างรถติด นั่งรถไปทำงาน ให้ลองแปลงร่างเป็น Creator ลองคิดอะไรใหม่ ๆ ดู

• แต่มันติดที่ว่า ความรู้เหล่านั้นมาเป็นกรอบแทน คิดอย่างเป็นระบบ แล้วเอาเป็นฐานต่อจินตนาการ

………………………………………………………………………………………………….

อีกอย่าง ที่ถือว่านับเป็นโอกาสอันดีคือ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ได้มีโอกาส เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ซึ่งทำให้ได้แรงบันดาลใจอย่างยิ่งต่อคำว่าพอเพียง ตอนนั้นศึกษาเรื่องหญ้าแฝก พระองค์ทรงมีดำริถามและให้ตอบ .....ว่าหญ้าแฝกมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? หลายคนตอบไป

พระองค์ทรงตรัส ว่าพวกเรายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เลย คือ รักษาหน้าดิน แต่ก่อนอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ คิดแต่เป้าหมาย แต่ไม่ได้คำนึงถึงว่าเพื่ออะไร ดังนั้น ต่อมาอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ จึงกลับมาคิดว่า เราอยู่เพื่ออะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ปรับชีวิตใหม่หมด ลดธุรกิจลง จากที่พยายามจะมีลูก หลังจากมีแล้ว 2 คน ก็เปลี่ยนไป แต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข

• กฟผ. ต้องระวังการออกนโยบาย เนื่องจากท่านคือแกนนำ หนึ่งในวัฒนธรรมอเมริกันคือรถยนต์ รถต้องแรง เช่นการปลูกข้าวโพดเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ชาวบ้านก็พร้อมที่จะปลูกพร้อมกัน

• ถ้า กฟผ.ประกาศตั้งโรงงานอะไรสักแห่งหนึ่ง ก็จะมีการแห่มาของอุตสาหกรรม และคน ดังนั้นประเด็นลดหรือเพิ่มจึงอยู่ที่ ผู้บริหารของกฟผ.

• ผู้สูงวัย มีแนวโน้มเป็นลักษณะ Y Shape ผู้สูงวัยมีมากขึ้น โลกไม่มีพรมแดน ถ้าเขามาอยู่ในไทย โดยเราสร้างสภาพแวดล้อมน่าอยู่ เป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองสีเขียว ท่านก็อาจได้องค์ความรู้และประสบการณ์จากบุคคลเหล่านี้ด้วย

• ขอเสนอตัวอย่างโครงการ EGAT get hip go green go Nan แสดงว่า EGAT จะทำให้ กฟผ.ได้แนวร่วมจากคนเมืองน่านประมาณ 2-3 แสนคน เรียกว่าการแสดงของ EGAT ผ่านกระบวนการ มีการทำประชาพิจารณ์ ถ้า กฟผ.วางเสาพาดสายจากแม่เมาะไปเมืองน่าน เช่น ถ้าน่านอาจประกาศเป็น Eco tourism

ตัวอย่าง ... หมู่บ้านแม่กำปอง เกิดเพราะผู้นำชุมชน ,

อัมพวา จากที่ร้าง ๆ ปัจจุบันได้กลับมาแล้ว

Develop for today ,sustain for tomorrow ใช้ชีวิตให้ร่วมสมัย เอาผ้าฝ้าย ผ้าไหมมาทำกระดาษสาเป็นต้น บ้านต้นเปา เป็นตัวอย่างการพัฒนากระดาษสาเชียงใหม่ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ทันสมัย และส่งออก EGAT อาจให้ทำร่มบริจาคที่วัด 1,000 คัน ,บ้านต้นเปายิงดีทำเต็มที่เนื่องจากกระดาษสาเป็นภูมิปัญญาของเขา

• ณ ปัจจุบันถ้าเรารู้ว่าเราอยู่ตรงไหนแล้ว เราจะสามารถ Forecast ไปด้านหน้าได้

• ปัจจุบันอยู่ยุค Creative Economy ก้าวข้ามยุคสินค้า และบริการด้วย Knowledge Based ตัวอย่างที่เห็น ๆ คือ เราผลิตสินค้าที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เช่น IPOD 2

• โลกวันนี้เรากำลังศึกษา Technology of itself การศึกษาเทคโนโลยีความเป็นตัวตน

• การคิดอย่างเป็นกระบวนการ เป็นระบบต้องมีฐาน ก่อนคิดนอกกรอบได้ต้องรู้ในกรอบก่อน

• เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ เริ่มด้วยภูมิปัญญา แต่พอจะเริ่มหรือต่อยอด เราผ่าน function มากเกินไป เราควรเริ่มด้วยการสำรวจคุณค่าก่อนว่าอยากได้อะไรแน่ ค่อยเอาสิ่งนั้นมาสร้างสรรค์ให้ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการเรียกว่า Value Creation เป็นการคิดสร้างสรรค์ให้ตรงกับสังคมนั้น ๆ ต้องการ และเมื่อใช้แล้วก็จะสร้างความมั่งคั่ง

Information Technology as an enable

• IT เป็นเสมือนเกราะ

• ถ้าต้องการให้ความสัมพันธ์เป็นไปได้ต้องจับมือระหว่างการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน

ต้องหาผู้ที่มีประสบการณ์ มาให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะการคิดที่เป็นระบบอย่างเป็นกระบวนการ

อะไรจะเป็นตัว Motivate เรา การสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดของผู้ประกอบการ

1. ความยืดหยุ่นสูง

2. IT ท่านต้องอยู่กับ Information Technology พาผู้เชี่ยวชาญ IBM มาที่เชียงใหม่ Medical Hub, Smarter Food ทำการพยากรณ์ทางด้านน้ำ

บริษัท ทำงานต่อวงการทางการแพทย์ไทย ตั้งออฟฟิตพาร์ทเนอร์ร่วมกันที่เชียงใหม่ ประเทศไทยไม่มีงานวิจัยที่ดีพอควร เพียงแค่เอาระบบ IT มาใช้ทำให้การหาข้อมูลต่าง ๆ ง่ายขึ้น

ข้อมูล + ความรู้ นำไปใช้ประโยชน์ต่อทางการแพทย์ได้ด้วย

3. การจัดการต้องมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่ชัดเจน เช่น การสร้างแบรนด์ การสร้างตราสินค้าขึ้นมาแทนรับจ้างผลิตเป็นต้น

4. ทีมเวอร์ก

5. การสร้างสรรค์

6. องค์ความรู้

7. เครือข่าย

8. นวัตกรรม

• ท่านต้องรู้และศึกษาความเป็นไปต่าง ๆ ของโลก เช่น การรวมกลุ่มทางการค้า ทางการเงิน เทคโนโลยี การเก็งกำไร น้ำมัน ฯลฯ เงื่อนไขต่าง ๆ การรวมกลุ่มต่าง ๆ ของโลก

• ศึกษาด้านพลังงานกับอาหาร ซึ่งเป็นกระแสของโลก

• การเปลี่ยนวิธีคิด อเมริกาเปลี่ยนวิธีคิด จากนาซ่าเดิม ไปดวงจันทร์ จะไปดาวอังคารด้วยนเองเท่านั้น เปลี่ยนวิธีคิดโดยสร้างแนวร่วมกับคนอื่นบ้าง จึงเกิดสถานีนานาชาติเกิดขึ้น ซึ่งทำให้แนวคิดและความสำเร็จนั้นไปไกลกว่าเดิม

• EGAT ร่วมกับ จังหวัดน่าน คุยแบบยุทธศาสตร์กับจังหวัดน่าน ว่าจังหวัดน่านไปทางไหน เช่น น่านบอกจะไปที่กรีน กฟผ. จึงเสนอเรื่องพลังงานสีเขียวค่อยตามมาก

• การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลก

• Paradigm shift ? Made and sell ถามว่า คนเมืองน่านอยากได้อะไร

• เลิก Mass Production ผลิตเยอะ ๆ ให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ซึ่งหลักการนี้ใช้ไม่ได้แล้ว เปลี่ยน เป็น Mass Customization ตัวอย่างถ้าไฟฟ้าที่น่านใช้ไฟฟ้าจากแม่เมาะ แล้วประกาศว่าเป็นพลังงานทำ Eco Tourism ก็จะพูดได้เต็มปาก

• ถ้าจะทำอุตสาหกรรมไฟฟ้าป้อนจังหวัดลำพูน เพื่ออุตสาหกรรมเปลี่ยนความคิดดีกว่า อยากให้ไปทำที่เชียงใหม่ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงมาก 400,000 ล้านบาท แต่ลำพูนแต่ 400 ล้านบาทเป็นต้น

• ตัวอย่างคนยอมจ่ายเงินเพิ่ม แต่สามารถช่วยคนอื่นได้ด้วย ก็ยินยอมจ่าย เป็นลักษณะ Mass Customization เช่น Starbuck กินกาแฟรู้ว่าช่วยชาวบ้านที่ปลูกเมล็ดกาแฟ, Body Shop ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

• เปลี่ยนจาก Economy of Scale เป็น Economy of Speed

• ศิลปวัฒนธรรมเป็นอีก 1 ทุน ถ้าต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากเลย

• ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิดมาเป็นวิจัยก่อนเมื่อรู้ว่าอยากได้อะไรค่อยสู่การผลิต แล้วค่อยทำการตลาด

• การทำการตลาดว่าด้วยคุณค่า ใช้ผิดก็ผิด ใช้ถูกก็ถูก เช่นรองเท้าผลิตที่ประเทศไทย แต่เข้ามาในรูปแบบวิจัยก่อน แล้วทำ Brand Marketing อีกทีหนึ่ง

• สร้างความแตกต่างให้มากกว่า เลิก คิดแค่ ใหญ่กว่า ดีกว่า ถูกกว่า แต่ให้เน้นการทำ Differentiation

• การศึกษาลงไปที่ตัวตนของคน หรือเรียกว่าวิถีชีวิต life style การเรียนรู้เรื่อง Self

• ปัจจุบันไม่ได้ถูก feed แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว

• เรื่องพลังงานจะดีใจมากถ้ารู้ว่าพลังงานที่ใช้มาจากไหน และยินดีจ่ายเพิ่มขึ้น กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ตรงไหน ควรไปหา และสามารถพูดได้

• Self สู่ Art of existence , Art of Living

• การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในยุคเวลาหนึ่งเปลี่ยนไปแล้ว

• แม่กะปอมเป็นตัวอย่างที่ไม่ต้องรอภาครัฐ หรือการสนับสนุนจากที่อื่น สามารถทำด้วยตนเองได้เลย

• หัตถกรรม หรือ Craft สามารถตรึงคนให้กลับสู่พื้นที่ได้

• การคิดสร้างสรรค์ ต้องเป็นระบบ และเป็นกระบวนการ ต้องมีกระบวนการดูแล เพื่อสร้างมาตรฐานด้วย เป็นสิ่งที่ต้องผ่าน ไม่ต้องไขว่คว้า

• ของที่ระลึกก็สามารถต่อยอดโดยเอามาจากศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้

• ความคิดสร้างสรรค์เมื่อต่อยอดกับบางอย่างสามารถสร้างความใหญ่โตได้ด้วย และลดภาระของ EGAT ได้มหาศาล

• Trend ของพลังงานในเรือเปลี่ยนแล้ว

• ความรู้ต่อยอดโอกาสทางเศรษฐกิจหมด เช่นผ้าไหม ผ้าฝ้ายไปอยู่ที่ยุโรปอาจไปทำเบาะ ที่นั่ง

• แนวโน้มการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปแล้ว...โรงแรมดี ๆ เปลี่ยนเป็นหอศิลป์

• Night Safari เชียงใหม่ กับ Night Safari สิงคโปร์ , Night Safari สิงคโปร์ คนสิงคโปร์ เอาคน 2 คนมาบริหารจัดการ คนหนึ่งเก่งเรื่องธุรกิจ คนหนึ่งเก่งเรื่องสวนสัตว์ เอามาบริหารด้วยกันประสบความสำเร็จมากเห็นได้จาก คนในสิงคโปร์ และต่างประเทศไปเที่ยวจำนวนมาก เพราะอะไร เป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ Night Safari เชียงใหม่ แม้ว่าสถานที่เหมือนกับสิงคโปร์ หรืออาจดีกว่า แต่ปรากฎคนไปเที่ยวน้อยสุดในโลก และต้องใช้เงินรัฐบาลสนับสนุนจำนวนมาก

• ความคิดสร้างสรรค์ต้องต่อยอดความเป็นไปได้

• อุตสาหกรรมเรื่องของที่ระลึกปีนึง แสนกว่าล้านบาท แต่ไม่มีคนดูด้านดีไซน์เพื่อนักท่องเที่ยว

• ไม่มีคำตอบสุดท้ายในแง่ความคิดสร้างสรรค์ มีแต่ความน่าจะเป็นเสมอ

• อนาคตพลังงาน กฟผ. เป็นผู้กำหนด แค่ประกาศตั้งโรงงานขนาดยักษ์ขึ้นมา อุตสาหกรรมก็กลับมา ศิลปวัฒนธรรมอาจไปไหนไม่รู้

• ถ้า 20,000 กว่าความคิดของ กฟผ. หย่อนบัตรความคิดใหม่ ๆ ปีละหน ก็ได้ความคิดดี ๆ ที่สร้างสรรค์ ในแต่ละปีจำนวนมาก

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ และเพื่อนๆ EADP#7

ได้อ่านข้อความของหลายๆ ท่านแล้ว อยากขอ Share บางประเด็นที่คุณกิตติ post เมื่อคืนนี้

เรื่องที่ดีใจนั้น ยินดีด้วยค่ะ การดีใจเป็นความสามารถเหมือนกันนะ

บางคนดีใจได้ยากมาก....งงนะ....บางคนไม่สามารถดีใจกับอะไร..เอาแต่เสียใจโน่นนี่...อันนี้แปลก..แต่ก็เคยพบ

เรื่องที่เสียใจนั้น...อยากเสนอให้..เสียใจเดี๋ยวเดียวก็พอเถอะนะคะ

ในการเข้า Training หลายหลักสูตร เรามีโอกาสได้รับทราบแนวคิด แนวทางปฏิบัติที่นำไปสูความสำเร็จมากมาย

ทั้งยากและง่าย มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ชอบและไม่ชอบ จะลองพยายามทำ และ ที่มั่นใจว่าไม่ทำ

โอกาสเป็นของผู้ที่เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ พิจารณา วิเคราะห์ นำมาใช้ตามที่เห็นเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ใช่ผลผลิตทางอุตสาหกรรม จึงถูกกำหนดให้เหมือนกันไม่ได้

ทุกคนมี Charactor เฉพาะตัว จึงไม่น่าจะมีสูตรสำเร็จเดียวสำหรับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าในเรื่องใด

สำหรับประเด็นการตำหนิ มองด้านบวกนะคะ การมีผู้ตำหนิหมายถึงโอกาสในการทบทวน นอกจากนั้น ยังคิดได้ว่า ผู้ตำหนิไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการตำหนิผู้อื่น ความปรารถนาที่จะเห็นการแก้ไข และความปรารถนาดีจึงน่าจะเป็นเหตุผลที่คนหนึ่งๆ จะตำหนิผู้อื่น

ขอเสนอพิจารณานะคะ

ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย "Creative Thinking"

- Creative Thinking คือการคิดอย่างเป็นกระบวนการ มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เป็นการคิดที่เปลี่ยนจากแนวคิด Supply driven ไปสู่แนวคิด Demand driven value chain คือ การเอาตัวลูกค้าเป็นตัวตั้ง ซึ่งในกรณีของ กฟผ. ตัวตั้งคือประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า

องค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกิด Creative Thinking ได้คือ ต้องมีการพัฒนาคนให้มีความรู้แน่นในงานที่ทำจนสามารถคิดนอกกรอบได้

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย "Mind Mapping"

- Mind Mapping เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกสมองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในด้านความจำ, ให้คิดเป็น และคิดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น

นายจักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์

1. สิ่งที่ได้รับจาก "Creative Thinking"

- ความสำคัญและการสร้าง Creative Thinking

- ความสัมพันธ์ของ Talents, Value Created, Wealth และ Constructive Environment

- แนวความคิดของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย ความยืดหยุ่น, IT, การบริหารเชิงกลยุทธ์, การทำงานเป็นทีม, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ความรู้, เครือข่าย และนวัตกรรม

- การเปลี่ยนแปลงที่ต้องเผชิญ โลกไร้พรหมแดน, กลุ่มการค้าเสรี, กลุ่มเงินทุนต่างๆ และโครงสร้างทางสังคม

- วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน และรักษาสิ่งแวดล้อม

2. สิ่งที่ได้รับจาก "Mind Mapping"

- การเปลี่ยนมุมมองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

- ความสัมพันธ์ของความรู้และจินตนาการ

- การทำงานของระบบประสาท

- กลไกของความคิด

- ประโยชน์และวิธีการของ Mind Mapping

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยาย Mind Mapping Workshop โดย อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

วันที่ 11 พ.ค. 54 ณ ห้องประชุมท.102 ชั้น 20 อาคาร 20 ชั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

วีดิโอ Mind Mapping

• ความจำที่ดีขึ้นกับการจัดระเบียบความคิด

• เราสามารถพัฒนาการทำงานให้ได้ด้วยเครื่องมือการทำงานที่สอดคล้องกับสมอง Mind Mapping

• ทุกคนใช้ Mind Mapping ได้กระทั่งเรื่องการเรียน การดำรงชีวิต ครอบครัว ตลอดจนการทำงาน

• Mind Mapping จะเปิดโอกาสให้เด็กคิดและรับฟังความคิดเห็นของเด็กด้วย

• ทักษะสมองเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ตลอดชีวิต เพียงเปิดใจในการพัฒนาความรู้ให้เข้ากับจินตนาการ จินตนาการเป็นสิ่งที่คนคิดมาใหม่เพิ่มเติม การมีจินตนาการทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การเรียนกับเด็ก ๆ ก็ทำให้เราเรียนรู้จากเด็ก รู้อะไรใหม่ ๆ เรื่อย ๆ

• การพัฒนาของเซลล์สมองถูกพัฒนาและคิดค้นโดย Mind Map

• Mind Mapping การจดบันทึกของการบริหารสมองเอามาใช้ เอาของสำคัญไว้ตรงกลางแล้วแตกไปรอบ ๆ

• สู่การคิดสร้างสรรค์ และวางแผนต่าง ๆ เป็นการใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

• ปกติ เราจะคิดฟุ้งซ่าน แล้วไม่สามารถเขียนต่อไปได้ถ้าย่อหน้าแรกไปไม่ได้

• การเขียน Mapจะเป็นการเริ่มต้นจะเขียนภาพรวมก่อน มีข้อดีในกรณี ... ถ้าเราไม่สามารถเขียนย่อหน้าแรกได้ เราอาจทิ้งไว้ก่อนไปเริ่มย่อหน้าที่สองได้

อ.ธัญญา ผลอนันต์

• ดูหนังงานวิจัยเรื่องการเรียนรู้ Anne Woods ออกอากาศครั้งแรก BBC แล้วลองคิดดูว่า ทำไมเด็กวัยอนุบาลทั่วโลกถึงชอบหนังเรื่องนี้

ตอบในห้องประชุม.....มีชีวิตชีวา ,สีสัน,ตุ๊กตามีความน่ารัก,การสื่อสารที่ซ้ำ ๆ กัน

สรุป เด็กชอบสีสัน ชอบการเคลื่อนไหว และละครพูดซ้ำ ๆ เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบพูดซ้ำ เหมือนการสร้างบ้าน ต้องมีการตอกเสาเข็ม และบ่อย ๆ การพูดซ้ำจึงเปรียบเสมือนการทำให้ความจำนั้นแข็งแรงขึ้น

** Tony Buzan อายุ 67 ปี เป็นคนมีความรู้และใช้สมองเยอะที่สุด ออกอากาศครั้งแรกทาง BBC

ทำไมต้องคิด ?

คุณปั้น :

“Leadership เก่ง ต้องสามารถวิเคราะห์ และหาทางออกจากปัญหานั้น ๆ คนมองปัญหาออก และพาทีมแก้ปัญหาได้ คุณสมบัตินี้หายาก เราจะพัฒนาสภาพองค์กรให้คนเก่งปานกลางมีความสามารถคิดเองเป็นได้ระดับหนึ่ง เน้นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้โอกาสมนุษย์พัฒนาตัวเอง”

อ.ธัญญา

• ทำเรื่องทรัพยากรมนุษย์จึงสำคัญ จุดสำคัญของการบริหารคนเราต้องมองอนาคต มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา ต้องสอนให้คนคิดเป็น องค์กรที่มีคนคิดได้แล้วบางครั้งก็เจอปัญหาบ้าง

• ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เปลี่ยนไปเร็วมาก ขาดทั้งคนคิดเยอะ และคิดเป็นด้วย

• การพัฒนาคนเพื่อการเปลี่ยนแปลงคนกับองค์กรควรให้ไปในทิศทางเดียวกัน

• ฝากนักบริหารทรัพยากรมนุษย์รุ่นใหม่ อย่ายึดติดอาชีพตนเอง ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้าน จิตวิทยา ประสาทวิทยา การเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ หาความรู้จากศาสตร์อื่น ๆ ต่างอาชีพ ต่างวัย

ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย

• การสื่อสาร การบริหารไม่สามารถใช้รูปแบบเหมือนเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ต้องศึกษาและวิจัยมากขึ้น อย่าอ่านแต่กฎหมายอย่างเดียว

• การบริหารคนต้องออกไปนอกสาขาเราใช้แต่สาขาเดียวไม่ได้

• ทรัพยากรมนุษยุ์คใหม่ต้องมีการไขว้สาขามากขึ้น

• KAIZEN – เป็นคีย์แห่งความสำเร็จของญี่ปุ่น มีเบื้องหลังความคิดอยู่ 3 ข้อ

1. ทำได้อยู่แล้วใต้อำนาจขอบข่าย

2. ทำดีขึ้นไม่ว่าเล็กน้อยหรือมาก

3. ทำเสร็จแล้วทำต่อโดยทันที

สรุป ทำอะไรก็ตาม เมื่อทำเสร็จแล้วให้หยุดแล้วถามว่า ทำให้ดีขึ้นได้ไหม จะทำให้เราก้าวหน้าขึ้นทุกวัน แม้เพียงทีละเล็กละน้อย

ถ้าเราคิดพัฒนาสร้างสรรค์ ตัว Kaizen จะทำให้ดีขึ้น

วันนี้เราเรียนรู้อะไร

1. เรียนรู้สมอง เป็นอย่างไร

2. จำอย่างไร การจำเป็นพื้นฐานของความคิด ถ้าไม่จำคิดไม่ได้

3. จดบันทึกอย่างไร

4. เติมรัศมีช่วยพื้นฐานความจำอย่างไร

5. Road Map

6. ต่อยอด

การพัฒนาการใช้เครื่องมือมนุษย์

• เครื่องมือรุ่นแรกใช้หินตอก เริ่มลับให้คมขึ้น

• 1ล้าน 5 แสนปี ใช้หินเป็นเครื่องมือ

• 5 แสนปี เริ่มใช้ไฟ ยุคโลหะ

• บุคลิกมนุษย์ การแสดงออกตัวเอง ความหยั่งรู้ เป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน

ขึ้นภาพบนจอ ให้เวลา 20 วินาทีให้ดูแล้วเขียนทันทีเห็นอะไรบ้าง

ให้คะแนน 1 คะแนนต่อคำ

จุด,ดำ,กลาง,เล็น (1 ซม.), กรอบสี่เหลี่ยม, พื้นสีขาว, กลม

จุดไปในกระดาษเลยลบ 7 คะแนน

เขียนคำอื่นลบ 7 คะแนน

สรุป

ใครคะแนนเยอะแสดงถึงความแก่, ถ้าลองทำกับเด็กอนุบาลจะเห็นผลว่าส่วนใหญ่ตอบอย่างอื่น ที่ไม่ได้คิด สังเกตได้ว่า ยิ่งมีความรู้มาก ความชำนาญมากอาจเป็นตัวบล็อคให้ความคิดสร้างสรรค์น้อยลง

ถาม ...การเปลี่ยนมุมมองเป็นเรื่องง่ายหรือยาก

ตอบ อาชีพที่เปลี่ยนมุมมองเยอะคือ ช่างภาพ

ให้ดูหนัง Patch Adam อีกตัวอย่างของการเปลี่ยนมุมมอง แล้วให้บอกประโยชน์ของการเปลี่ยนมุมมองว่ามีอะไรบ้าง (1 นาที)

• วันนี้ คุณเปลี่ยนมุมมองหรือยัง?

ให้ลุกขึ้นยืน แล้วหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ มองเห็นว่าห้องเปลี่ยนหรือไม่

- ใครเห็นว่าเปลี่ยนนั่งกับที่

- ใครไม่เห็นว่าเปลี่ยนให้นั่งคุกเข่าแล้วเห็นว่าห้องเปลี่ยนหรือไม่

การเปลี่ยนมุมมองมี 2 วิธี

1. ทางกายภาพ เช่นชั้นบน หรือชั้นล่าง สูง เตี้ย มุมมองไม่เหมือนกัน

ลองถอดหัวโขน แล้วดู

2. คิดแทนเพื่อน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

*** การเปลี่ยนมุมมองบ่อยขึ้น จะทำให้วิธีคิดดีขึ้นด้วย คนสนับสนุนทฤษฎีนี้ดีคือ ดาวินซี่

เราสามารถกลับความคิดใหม่ได้เสมอ

*** คุณจะยังไม่มองสิ่งไหนดีจนกระทั่งคุณมองสิ่งนั้นใหม่ 3 ครั้ง

ลองอ่าน Inw ว่าคืออะไร สังเกตว่าถ้าลองเปลี่ยนมุมมองสามารถอ่านได้อีกอย่างว่า เทพ

ในเวลา 32 วินาที ให้เขียนคำทั้ง 16 คำเท่าที่จำได้

- จำได้ส่วนมากจะครึ่งหรือต่ำกว่าครึ่งไม่มาก

- สูงกว่าครึ่ง 10 % ต่ำกว่า5 = 3 %

- สมองไม่ชอบตัวอักษร เลยบอกให้จำไม่ค่อยได้

• ไอน์สไตล์ พูดว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ความรู้มีขีดจำกัด แต่จินตนาการไม่มีขีดจำกัด คนรู้มากมีประโยชน์ต่อความรู้น้อย แต่จินตนาการมีประโยชน์มากกว่า ไอน์สไตล์ ชื่นชม 1. แอดดิสัน เขาจะจดทุกความคิดทุกความฝันเขาไว้ เปิดสมุดความคิดอยู่มี 300 เล่ม 2.แอดดิสันมีความพยายามเยอะ3. สร้างจินตนาการที่ดีขึ้นมา

แข่งทำจุดบนกระดาษสีขาวใครทำได้มากกว่ากันใน 60 วินาที

- เราสามารถใช้ปากกาหลายแท่งทำจุดได้

- ความชำนาญความรู้เป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์

- เซลล์ประสาททำงานยังไง

ส่งสัญญาณผ่านไซแมบ ระหว่างเซลล์ 2 เซลล์

1 ความรู้ คือ 1 เส้นทาง ตอนอยู่ในท้องแม่ 5 เดือน เมื่อมีเส้นปราสาทครบ เราจะรับรู้ความรู้สึกของแม่

- ต่อมาเมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ เซลล์สมองก็จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง

- ความรู้มีประโยชน์อย่างไร

- ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด พิสูจน์ได้เลย

- ความรู้จะเกิดประโยชน์เมื่อเราทำซ้ำ เราฝึก และเห็นการเปลี่ยนแปลง หนาขึ้น คล่องขึ้น ไวขึ้น เช่นเดียวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น เรียนภาษา กีฬา ฯลฯ

ความรู้ ประสบการณ์ นิสัย/ทักษะ ธรรมชาติ/ความชำนาญ (ส.ด.) ความรู้ใหม่

ประสบการณ์ใหม่ ความคิดใหม่

สมองจะไปสร้างเส้นทาง

- การจุดปากกา เมื่อสักครู่ เป็นรูปเป็นร่างได้ไหม

- ให้ 60 วินาที โยงจุดต่าง ๆ เป็นรูปที่ต้องการได้ (ใช้สมองซีกขวา-จินตนาการ)เสร็จแล้วให้เพื่อนดู **สุดท้ายก่อนจะเบรค พวกเรามีความรู้มากแต่สื่อกับใครไม่ได้ ส่งผลให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ขึ้นมา

Workshop

1. ใช้เวลา 3 นาที เขียนรายชื่อเพื่อนให้ได้มากที่สุด ในหน้า 11 ข้อ 1

ไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อจริงเต็มยศ ชื่อเล่น สมญา ที่คุณเคยเรียกเป็นปกติ

(เขียนหมายเลขเรียงลำดับไว้ข้างหน้าทุกคนด้วย)

2. แปรงสีฟันทำอะไรได้บ้างนอกจากสีฟัน

บันทึกวิธีคิดว่า กี่วิธี

3. ทดสอบการจำครั้งที่ 2 จากการฟัง โดยฟังคำ 25 คำให้ได้ไม่ต้องจด

• ขณะเรียนรู้นั้นเราได้เรียนรู้โครงสร้างของสมอง ในขณะที่เรารู้อะไรใหม่ ๆ เสมือนการเชื่อมโยงสายใหม่ให้สมองเรา

• การทำอะไรซ้ำ ๆ ทำให้ความสำเร็จมากขึ้น และควรมีการเชื่อมโยงหลายครั้ง

• ความคิดริเริ่ม เหมือนจะผุดขึ้นเองได้ แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากพื้นฐาน

• ในเวลา 16 วินาที จำภาพ 16 ภาพได้กี่ภาพ

• สมองจำ 3 ส่วนใหญ่ ๆ เราจำได้จากสี , เส้น (บอกทิศทาง),รูปร่าง

• สมองจำภาพได้ละเอียดกว่าตัวหนังสือ

เวลาเราเริ่มจดความคิด เราควร “จดหัวเรื่อง” ไว้ก่อน หรือ เราลงมือจด “สิ่งที่คิดได้” ทันที

• บางครั้งเราพลาดการตั้งสติ เช่นให้คิดชื่อเพื่อนให้มากที่สุด การจดหัวข้อไว้เสมอ เป็นการให้สติเรา

สมอง 2 ซีก ซีกขวาจะนำสมาธิได้มากกว่าซีกซ้าย

ถ้าเราจดสิ่งที่คิด และเป็นภาพ เป็นสี จะเกิดสติ และ สมาธิ ทำให้ความคิดและปัญญาตามมา

• เราจดแปรงสีฟันน้อยกว่าชื่อเพื่อนเนื่องจากชื่อเพื่อนบางทีเราไม่จดความคิดที่เราคิดได้

แต่แปรงสีฟันน้อยกว่าเนื่องจากเราใช้สมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์เหตุผลมากไป

ตอนจดชื่อเพื่อน คัดชื่อเพื่อนออกไปบ้างหรือเปล่า

• วิธีการ Brain Storm ให้จดทุกอย่างที่คิดไว้ทั้งหมดเหมือนชื่อเพื่อน ทำให้เราจดเร็วขึ้น

วิธีการจดที่แนะนำ

• การ Brain Storm เอาสิ่งที่คิดไว้ตรงกลางหน้า เช่น เอาแปรงสีฟันอยู่ตรงกลาง และ แตกกิ่งหน่อออกมา ว่าแปรงทำอะไรได้บ้าง ปลายจุดของเส้นต่าง ๆ คือจุดกระตุ้นความคิด ตรงไหนพร้อมจะแตก แตกไปก่อนไม่ต้องรอ ยิ่งคิดมากทำให้มีจุดที่คิดต่อได้มาก แค่เพียงเราตั้งสมาธินิดนึง แล้ววาดเป็นรูป

หน้า 16 เลือก 5 รายการ จาก 16 รายการ

ให้นำสิ่งที่เลือกไว้แล้วแตกกิ่งออกมา

1.ให้เส้นที่ขีดติดกับสิ่งที่เราคิด ให้เส้นเชื่อมโยงกันอย่าให้ขาด ,อย่าทำเป็นช่องว่างระหว่างสิ่งที่คิดได้ ,

2.เส้นต้องอยู่ใต้คำ อย่ามีคำมาขวางระหว่างเส้น

3. ให้แตกความคิดเป็นลึกออกมา

เขียนแผนที่ของตัวเอง

หน้ากึ่งกลางระหว่างหน้า 36-37

• วาดภาพโลโก้ของตัวเองขนาดวงกลมไว้ตรงกลางกระดาษรูปอะไรก็ได้, หรือ ทำเป็นตัวหนังสือได้ แต่ต้องมีสีใช้ปากกาอย่างน้อย 3 สี ให้ดูแล้วสวยงาม

• เส้นต้องติดกับสิ่งที่เราคิด เสมือนน้ำและกิ่งใบที่ต้องหล่อเลี้ยงให้ถึงกัน เมื่อเขียนเสร็จแล้วทุก ๆ ปลายกิ่งต่อได้

• เวลาเขียนคำซ้ำสามารถทำได้ ให้ใช้ปากกาแถบสิ่งที่เหมือนกัน แม้ว่าอยู่ไกลสิ่งเหมือนกันก็โยงกันได้

วิธีการ

1. วางกระดาษตามแนวนอนนึกภาพแทนสิ่งที่เราคิดแล้วเขียนไว้ตรงกลาง

2. แตกกิ่งออกอย่าแตกกิ่งเป็นเส้นตรง ให้โคนใหญ่กว่าปลาย เขียนประเด็นสำคัญเป็น 1 Key word บนเส้นเท่านั้น กิ่งไม้ทุกกิ่งแทนความคิด

3. ต่อมาก็เป็นการเชื่อมโยงความคิด เป็นประเภทต่าง ๆ แตก “กิ่งแก้ว” ออกมารอบ ๆ เป็น “กิ่งแกน”

4. แตก “กิ่งแกน” ออกมาเป็น “กิ่งก้อย” หรือแตกกิ่งไปกี่แขนงก็ได้

ปล. ถ้าเป็นไปได้ 1 กิ่งที่แตกไปเรื่อย ๆ พยายามให้เป็นสีเดียวจะได้ไม่ตาลายเกินไป

เวลาเขียนให้คิดกว้าง 3- 4 กิ่งก่อน แต่ถ้าติดตรงไหนก็ให้เขียนกิ่งใหม่เลยไม่ต้องติดอยู่ที่กิ่งเดิม

• กิ่งใน Mind map คล้ายแผนที่ของสมองให้คุณเดินตาม ทำให้ความคิดของเราไม่ต้องจำกัดแค่กรอบ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ จาก อ.ณรงศักดิ์ ผ้าเจริญ

1. ถูกปลุกพลังให้อยากคิดอะไรที่ไม่เคยอยู่ในการคิดมากก่อน

2. เพิ่มพลังภายในให้โลกแล่นมากกว่าเดิม

สิ่งที่เรียนรู้จาก อ.ธัญญา ผลอนันต์

1. เสริมเทคนิคการคิดนอกกรอบ

2. สิ่งที่ได้สามารถไปใช้และแนะนำต่อได้

ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรื่อง

Creative Thinking การเรียนในโรงเรียนสร้างความคิดคนให้คิดเป็นแนวทาง ส่วนการคิดนอกกรอบจะเป็นการขยายความคิดให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะถ้าพูดกับคนที่อยู่นอกกรอบเรา (Field of Study) และนำไป Apply ให้ดีขึ้น (ต่อยอด) เพราะคนอายุมากขึ้น CT จะลดลง Mind Mapping การจัดขบวนการในการจดจำเพื่อที่เราจะได้เรียกใช้ได้ง่าย การจำเป็นรูปดีกว่าการจำเป็นหนังสือ สมองเราคล้าย Hard Disk ถ้าจดไม่ดี ฝึกไม่ดี จะเต็มเร็ว ถ้าเต็มจะมีปัญหาในการจดจำ จะทำให้เกิดโร Alzheimer

การบ้าน ส่งภายในวันที่ 12 พ.ค. 54

ให้ท่านจับคู่เป็น Buddy วิเคราะห์หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS and Developing Countries

1. ท่านคิดว่าหลักสูตรนี้มีอะไรเป็นจุดอ่อน และอะไรเป็นประโยชน์

2. ถ้า กฟผ.จะทำเรื่องการทูตประประชาชน (People to people Diplomacy) ลักษณะเช่นนี้ ท่านคิดว่ากฟผ.ควรทำอย่างไร

กลุ่ม 5 : วิเคราะห์ผู้นำ 5 คนจาก Time Magazine อีก 2 คนที่เพิ่มเติม

Dilma Rousseff (ประธานาธิบดีหญิงบราซิล)

ต้องเผชิญกับอคติ การเปรียบเทียบในช่วงที่ประเทศต้องการการคาดหวังที่จะพัฒนาประเทศให้ทันกับโอกาสที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งบราซิล ต้องการผู้นำที่มีประสบการณ์และมีแนวทางที่มั่นคงที่ต้องต่อสู้กับผู้คนในระบบเผด็จการ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างประชาธิปไตยใหม่ให้เกิดขึ้น

ซึ่งตรงกับคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ กฟผ.คือการพัฒนาประเทศท่ามกลางกลุ่มอนุรักษ์ที่มีแนวคิดเผด็จการ

Liang Guanglie (รมต.กลาโหมของจีน)

พัฒนากองทัพจนทำให้ดุลในเขต Pacific เปลี่ยนแปลงจากสหรัฐ ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุดขณะนั้น ต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งทางการทหารของจีนที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐในยุคจีนได้พัฒนาสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน ทดสอบเครื่องบินล่องหนและพัฒนาระบบข่าวกรองรวมทั้งการสร้างเครือข่ายระบบสื่อสารต่างๆรวมทั้งด้านอวกาศ

ซึ่งตรงกับคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ กฟผ.คือ การดำเนินนโยบายให้มีการพัฒนานวัตกรรม จนทำให้มีการเปลี่ยนแผลง

Mark suckerberk (ผู้สร้าง Facebook)

เป็นบุคคลที่ทุ่มเทใส่ใจกับการทำงานอย่างจริงจังประกอบกับแรงบันดาลใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประสบความสำเร็จตั้งอายุยังน้อย

ซึ่งตรงกับคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ กฟผ. คือ การอดทนต่ออุปสรรคปัญหาที่ต้องการแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการเกิดนวัตกรรมใหม่เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

Angela Merkel (นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี)

เป็นนายกที่สามารถต่อกรกับผู้นำโลกได้อย่างเสมอภาคถึงแม้จะเป็นผู้หญิง นอกจากยังสามารถทำให้กลุ่มประเทศ G8 เห็นกับการลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และชักนำให้ประเทศสมาชิกอียู ตกลงเห็นด้วยกับสนธิสัญญาฉบับใหม่และใช้ทดแทนรัฐธรรมนูญของอียู

ซึ่งตรงกับคุณสมบัติที่เป็นของผู้นำ กฟผ.คือ ความสามารถในการประสานงาน การวางนโยบายปฏิรูป การให้เกิดความสำเร็จจากหน่วยงานรอบข้าง

Jamie Dimon (CEO ของ JPmorgan)

หลังการวิกฤติแฮมเบอเกอร์ได้นำทาง TP Mogan ให้รอดหันจากการถูกปิดกิจการและได้มีส่วนร่วมในการร่างกฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่เลวร้าวเกิดขึ้นซ้ำอีก

ซึ่งตรงกับคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ ของ กฟผ.คือ สามารถนำองค์กรให้รอดทันวิกฤติและสามารถพยากรณ์ในอนาคตที่แม่นยำ

กลุ่มนอกรายชื่อ

1. คุณพารณ อิสระเสนา ณ อยุธยา (อดีตกรรมการผู้จัดการ บ.ปูนซีเมนต์ไทย จำกัดมหาชน)

เป็นผู้วางรากฐานทรัพยากรมนุษย์ ทำให้บุคลากรมีแนวคิดที่มีระบบทั้งแนวทางการดำเนินงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันและแข็งแกร่งซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ กฟผ.ในแนวคิดที่แยกธุรกิจให้เป็นอิสระในการบริหารในขณะที่ใช้นโยบายร่วมกัน

2. คุณสิทธิพร รัตโนภาส (อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ)

เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง แสวงหาตลาดใหม่ และโอกาสใหม่ๆให้แก่หน่วยงาน มองภาพรวมทุกด้าน ตัดสินใจได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ควรเป็นของผู้นำ กฟผ.เพื่อพัฒนาหน่วยงานให้ยั่งยืนถาวรต่อไป

1.นายชัยพร พิมมะรัตน์ 2.นายจักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์

ข้อ 1.คำแนะนำ การมีเนื้อหาเพิ่มคือ

1.การ Balance 3 ส่วนทำอย่างไร Key success

- โรงไฟฟ้า ต้องการแบ่งปันได้ มีผลกำไร

- ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ประชาชนได้รับประโยชน์ไม่ต่อต้าน

- สิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลาย หรือ มลภาวะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

2.การบริหารระบบเครือข่าย (Net Werking System) ทำอย่างไร

ข้อ 2. ฑูตภาคประชาชน ควรมีการดำเนินการดังนี้

1.สร้างระบบเครือข่ายพลังงานและสิ่งแวดล้อม

2.มีระบบการบริหารจัดการและตรวจสอบระบบเครือข่ายโดยภาคประชาชน

3.สร้างฐานข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม

4.สัมมนา สื่อสาร เสนอความคิดเห็นระหว่างเครือข่ายโดยใช้ IT

5.คัดเลือกผู้แทนในเครือ เข้าไปมีส่วนร่วมกับ Regulator

การบ้าน โครงการ GMS

คำถาม โครงการนี้มีจุดอ่อนอย่างไร

ไม่พบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกที่ร่วใดดินทางมากับคณะอย่างไร หากมีResume ของคณะที่มาด้วยก็จะสามารถกำหนดตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ต้อนรับ (liaison) โดยใช้คนที่อายุน้อยกว่าแขกและในอนาคตต้องมีการติดต่อเกี่ยวข้องกับโครงการ ให้ติดตามอำนวยความสะดวกตตอยลบคำถามตลอดการดูงาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวไปด้วยตลอดหารเดินทาง เมื่อคณะเกินทางหลับต้องมีการเขียนรายงานเพื่อเก็บไว้ให้คนที่อาจจะต้องติดต่อคนเหล่านั้นไว้ศึกษาเรียนรู้ หากต้แงมีการติดต่อกันแคกในอนาคตโดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในระบบรัฐการของปนะเทศเหล่านั้นซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสนใจในอนาคต

ถ้าหากเราเป็น public ambassador ประโยชน์กับโครงการนี้อย่างไร

ชักชวนให้มีการตั้งสมาคมมิตรภาพในชุมชนเป้าหมายและจักให้มีการเยี่ยมเยียน และเปลึ่ยนกันเช่น ไปเยี่ยมหมู่บ้านชุมชนที่จะเข้าไปทำโครงการ และเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐและชุมชนมาเยี่ยม กทม

จากข้อ1 ต้องมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อที่จะทราบความคิดเห็น ข่าวสารความเป็นไปในชุมชนเป้าหมาย และจะทราบว่าใครมีความสำคัญอย่างไร (ทราบข้อมูลทางสังคม)

นายเทพประสิทธิ์ ธรรมธาร และ นางอังคณา สุขวิบูลย์

การวิเคราะห์หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS and Developing Countries

1.จุดอ่อน หลักสูตรนี้

1.1 ระยะเวลาอบรมยาวเกินไป

1.2 Panel Discussion ควรจัดเมื่อจบการอบรมแต่ละหัวข้อ

1.3 การถ่ายทอดความรู้เป็นไปทางเดียว(ผู้จัด-ประเทศไทย ได้ประโยชน์น้อย)

2. ประโยชน์ ได้เพิ่มเครือข่าย จากประเทศในกลุ่ม GMS

3. กรณีที่ กฟผ.จะจัดทำการทูตภาคประชาชนลักษณะเช่นนี้ควรดำเนินการอย่างไร

ควรจัดตั้งในลักษณะความร่วมมือระหว่างประเทศ และเสริมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ดังเช่นปัจุบันในส่วนของพลังงานไฟฟ้ามีการประชุม HAPUA ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิจการไฟฟ้าระหว่างประเทศใน ASEAN.

.......................................................................................................

.

อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และสนิท สระทองอุ่น

1. หลักสูตรสำหรับ GMS มีจุดอ่อน-ประโยชน์ อย่างไร

จุดอ่อน

1) ระยะเวลา 20 วันนานเกินไปยากที่จะได้ Paticipants ที่เป็นระดับบริหารหรือแม้จะระดับกลางก็ตาม

2) เนื่องจากระยะเวลานานและเดินทางในหลายพื้นที่ต้องระวังในเรื่องของอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย

ดังนั้นควรมีการประกันอุบัติเหตุสุขภาพหรือตำรวจทางหลวงนำ

3) หากบางประเทศมีส่งผู้แทนที่ภาษาอังกฤษไม่ดีพออาจเป็นปัญหาเรื่องการสื่อสาร ฟังบรรยายและการทำ Workshop

4) รายนี้เหมือนทัวร์ดูงานมากกว่า หากไม่มีวันเบรคหรือได้พักผ่อนบ้างผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเบื่อและเหนื่อย/เครียดเกินไป

5) วันที่ 3 มิย. 54 การศึกษาดูงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควรไปดูงานที่เป็นสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาซึ่งเป็น สถาบันในประเทศไทยที่จัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมทั้งในพม่าและลาว

ประโยชน์

1) ได้ใช้งบประมาณของประเทศที่ตั้งไว้และกระจายไปสู่Sector ต่างๆรวมทั้งค่าใช้จ่ายของ paticipants

2) ได้พัฒนาบุคคลากรในกลุ่มประเทศ GMS

3) เกิดเป็นเครือข่ายและความร่วมมือในอนาคต

2.ถ้า กฟผ. จะทำโครงการ การฑูตประชาชน จะทำอย่างไร

หาก กฟผ จะดำเดินการควรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือภาคประชาชนภายในประเทศและนอกประเทศ (อาจเน้นในกลุ่ม ASEAN และ GMS)

1.)ภายในประเทศ ควรจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายภาครัฐและNGO ให้ครบทุกภาคส่วน โดยอาจทำในระดับพื้นที่ที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าและระดับประเทศ โดยเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน การป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมละกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

2) ภาคนอกประเทศ อาจเน้นดำเนินการดังนี้

.การจัดอบรมสัมมนา

.การจัดประชุมทางวิชาการ

.การแลกเปลี่ยนผู้ปฏิบัติการไปฝึกงานหรือเรียนต่อ

.การจัดกิจกรรมภาคประชาชนจริงๆ เช่นเยาวชน ผู้นำชุมชนที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ

ถึงประธานรุ่น 7 และทุก ๆ ท่าน

  1. Reflection หรือสะท้อนมาก ๆ ว่า 4 วันเราได้อะไร?
  2. เราไม่ได้ tools และ Techniques เท่านั้น
  3. เราได้ปรัชญาชีวิตว่าเกิดมาเพื่ออะไร
  4. ระหว่างที่หยุดไป อย่าลืมอ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ที่ให้ไปแล้วสรุปว่าได้บทเรียนอะไร
  5. ผมขอเสนอว่า..ค้นหาตัวเอง
  • Reinvent ตัวเอง
  • และผนึกกำลังกันสร้าง กฟผ.ในยุคใหม่
  • ใช้ชีวิตเพื่อส่วนรวมมากขึ้น ทำให้กฟผงมามากแล้ว.. What about ส่วนรวม?

จีระ หงส์ลดารมภ์

........................................................

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

9 พ.ค. 54

อาจารย์สุขุม นวลสกุล

วิทยากรบรรยาย หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

 

คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

วิทยากรบรรยาย หัวข้อ การสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

 

Get together Party      

    

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

10 พ.ค. 54

บรรยากาศการเลือกประธานรุ่น

ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

หัวข้อ    จิตวิทยาของนักบริหาร

  

Panel Discussion

หัวข้อ    การอภิปราย นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation)

กับการทำงานของ กฟผ.

โดย       คุณธวัช  วัจนะพรสิทธิ์

             รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม

            คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

 

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

หัวข้อ    Creative Thinking

 

 

อาจารย์ธัญญา  ผลอนันต์

หัวข้อ    Mind Mapping

                                      

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

11 พ.ค. 54

ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

หัวข้อ    บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.

 

 

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล

หัวข้อ          ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.

 

 

Panel Discussion

หัวข้อ    ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. 

โดย      คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์

            รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

           คุณสมบัติ ศานติจารี

           อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

  

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

วันที่ 12 พ.ค. 54 ณ ห้องประชุม ท.102 ชั้น 20 อาคาร 20 ชั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

• การกำกับดูแลที่อเมริกา มีการแบ่งอำนาจคือ

State ดู Utility อย่างเดียว รัฐเล็ก ๆ จะมี Utility…คอยดูแล เช่น วิสคอนซิล

รัฐใหญ่มากจะเป็น Energy

ส่วนกลาง จะเป็น Federal Utility ดูที่ระบบท่อแก๊ซ สายส่งและการส่งเสริมบางอย่าง

• ที่อเมริกา ก่อน Privatize มีลักษณะเหมือน EGAT หมด ปัจจุบันเพื่อให้มีความอิสระมากขึ้นจึงได้ Privatize และมี Regulator คอยกำกับดูแล

เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.

• พ.ร.บ. การกำกับพลังงาน เรื่องบางอย่างต้องเป็นของรัฐ ถ้าถามว่าจะกำกับให้มีการแข่งขันได้ไหม คำตอบคือได้ เช่น สามารถเปิดให้เอกชนใช้สายส่งของ EGAT ได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย– เจ้าของคือ EGAT (โดยปัจจุบันนี้คนขายไฟมีเป็นลักษณะ Single Buyer คือขายให้กับ EGAT อย่างเดียวตัวอย่าง มีกฎหมายระบบของ ปตท. เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้ามาแข่งขันเรื่องท่อได้ แต่อาจไม่สามารถทำได้เนื่องจากการลงทุนสูงและกว่าเก็บเงินได้ใช้เวลานาน คนจึงไม่สนใจการลงทุน สิ่งนี้จึงนำมาสู่เรื่องการออกนโยบาย และการกำกับดูแล แต่ทว่า กฟผ. อาจไม่Happy เพราะต้องโอนงานบางอย่างไปที่ฝ่ายกำกับ (ออกระเบียบและให้ทำตามระเบียบเฉย)

• การกำกับดูแลจะเป็นของคณะกรรมการกิจกรรมกำกับพลังงาน

• ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยการขนส่งผ่านท่อ การจัดหาผ่านท่อ การขายปลีกผ่านท่อ และโรงงาน LNG

• เรามีนโยบายในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น

• เพื่อให้การประกอบกิจการมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำ Operator คือการไฟฟ้า กรรมการกำกับกิจการพลังงานจะออกให้ไฟฟ้า 4 ประเภท

• มีการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับระบบส่ง สำหรับในบางจุดออกใบอนุญาตการขาย ใบอนุญาตศูนย์สั่งจ่าย เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.

• คนที่ทำแผนต้องคำนึงถึงการมีไฟฟ้าใช้อย่างพอเพียง คณะกรรมการฯจะส่งคนจัดหา ถ้ามีขนาดเล็ก อย่าง SBP คนจัดหาคือ EGAT ส่งมาให้คณะกรรมการดู

- คำว่าพอเพียงหมายถึง Reserve เท่าไหร่ถึงเหมาะสม เช่น แต่ก่อนจะ Reserve ประมาณ 30% แต่ปัจจุบันแผน PDP การ Reserve เหลือแค่ 15 % ตัวอย่าง ในอเมริกา Reserve ไว้15 % เนื่องจากดูจากสถิติที่มีไฟดับมี 1 ครั้งในรอบ 15 ปี เป็นต้น

• เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของการใช้บริการ และให้รู้คุณค่าพลังงาน

• ในการทำโครงการฯ กรรมการจะกำกับดูว่าส่วนไหนเก็บเงินเกินแล้วเอาเงินนั้นคือสู่ รัฐ อีกทีนึง เป็นลักษณะการเอาเงินที่เรียกคืนไปใช้แทน และเอาเงินที่คาดว่จะลงทุนแต่ไม่ได้ลงทุนเอาออกมาใช้อีกครั้งหนึ่งทำให้ประชาชนไม่แบกภาระมาก

• เพื่อเป็นการส่งเสริมพลังงานและป้องกันการใช้พลังงานโดยอำนาจไม่ชอบ

• เพื่อเป็นการเสนอราคาแข่งขันใครให้ราคามากสุดได้สัญญาไป ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าที่ผลิต 5% ของญี่ปุ่นเปิดให้แข่งขันได้ จะขายผ่านไปทางสาย Third Party Access สมมุติว่า .... ถ้ากฟผ.เปิดให้เอกชนไปแข่งกันได้ไม่แน่ว่าต้นทุนอาจถูกลงก็ได้ ถ้าเขามี IP อยู่แล้ว แต่บางครั้งการเปิดโอกาสให้แข่งขันก็เจอปัญหาบางอย่าง เช่นที่ อังกฤษเปิดมา 20 ปีก็เจอปัญหาบางอย่าง ทำให้ปัจจุบันต้องดำเนินการแก้ไขในส่วนนั้น

• การส่งเสริมระบบโครงข่ายพลังงานให้โปร่งใส ไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หมายถึงโครงข่ายในอนาคตต้องมาดูแลในเรื่องนี้ด้วย อย่างเช่น เอกชนถ้าจะลงทุนทำ Renewable Energy ก็ต้องใช้ โครงข่ายของ EGAT เป็นต้น

• เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม แต่ก่อนโครงสร้างค่าไฟฟ้าเป็นแบบเหมารวม EGATจะเป็นผู้บอกว่าผลิตไฟเท่าไหร่ แต่โครงสร้างใหม่เราจะสามารถรู้ว่าแต่ละโรงไฟฟ้าเป็นอย่างไรบ้าง และจะรู้ว่าโรงไฟฟ้าไหนมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้า EGAT สามารถส่งข้อมูลให้ กกพ.ครบ

• การให้ความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ถ้าเรารู้ต้นทุนก็สามารถเก็บเงินได้อย่างถูกต้อง

• เพื่อปกป้องสิทธิการใช้พลังงาน

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

• คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานมี 13 เขตทั่วประเทศ แต่ละเขตมีกรรมการ 11 คน เป็นตัวแทนมาจากต่างจังหวัดและภาคประชาชน โดย 11 คนจะทำการเลือกประธานอีกทีทำหน้าที่รับการร้องเรียนด้านพลังงาน เสมือนเป็นผู้แทนของการใช้พลังงานด้วย แต่ปัจจุบันนั้นจะทำการร้องเรียนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่

• ทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่นไทย มีการจัดการเรื่อง สิ่งแวดล้อม ดูว่าอะไรเป็น Clean Energy บ้าง เช่น นิวเคลียร์ , Renewable Energy เช่น ลม แสงแดด (ถ่านหินไม่ถือเป็น Clean นอกจากใช้ CCS ในการกำกับ)

• ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมจากไฟฟ้าถ่านหิน เช่นที่แม่เมาะ จะเป็นตัวอย่างที่ติดตาของคนว่ากฟผ.เคยทำอะไรบ้าง

• เพื่อส่งเสริมด้านพลังงานหมุนเวียน

…………………………………………………………….

ถาม..ที่พูดว่าระบบส่งยังไงก็เป็นของรัฐ คราวนี้มองว่าระบบส่งกับโรงไฟฟ้าไม่เหมือนกัน ถ้าระบบส่งเป็นของรัฐ การทำงานจะไม่เอื้อเนื่องจาก ถ้าจะทำโรงไฟฟ้าสามารถทำโดยทันทีเลยแต่ติดที่ระบบส่ง

จะสามารถแก้กฎหมาย ว่าระบบส่งให้เอกชนทำได้ไหม

ตอบ..อย่างของปตท. ผู้รับเหมามีวิธีการซิกแซกทำได้เร็ว เจ้าของโรงไฟฟ้า จะรับทำทุกอย่าง ทั้งในเรื่องการวางท่อด้วย โดยจะมีวิธีการเจรจาในเรื่องพื้นที่เอง

กฟผ. บริษัทจะให้เงินมา แล้ว EGAT ทำสายเอง ปัญหาคือเรื่องที่ดิน ตัวอย่าง เอกชน BLCP ทำโรงเสร็จแล้วแต่ทำไม่ได้เนื่องจากติดเรื่องสายไฟ ติดเรื่องพื้นที่ ซึ่งต้องทำการไปเจรจาต่อรองเอง จะได้ผลเร็วกว่า (เรียกว่าการเจรจาแบบไม่เป็นระบบ) ตัวอย่างของปัญหาคือในอดีตเมื่อ BLCP ตกลงให้เงินไปแล้ว 50,000 บาท ถ้าทำโครงการครั้งต่อไปให้เงินต่ำกว่านี้ เขาอาจไม่ยอมก็ได้

ดังนั้น....ต้องช่างน้ำหนักว่าแบบไหนดีกว่า

การแก้ไข พ.ร.บ. ต้องศึกษาดูว่าเป็นแบบไหนดีกว่า ในกฎหมายสามารถเรียกร้องได้อีกที ถ้า EGAT ไม่พอใจเรียกร้องที่กรรมการ ถ้าไม่พอใจเรียกร้องที่ศาลอีกที ...

ถาม...การตีราคา เป็นเรื่องของรัฐที่ต้องให้เท่ากัน ไม่เช่นนั้นการอุทธรณ์ไม่จบ ถ้าให้EGAT ทำสายส่งเป็นหลัก แต่โรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมีปัญหาทันที ถ้ามีระบบศาลต้องควรจบก่อนเข้า

ถาม.. บางครั้ง EGAT การสร้างสายส่งอยู่แล้ว มี ปตท.เข้ามา แต่พ.ร.บ. ต่างกัน EGAT จ่ายตามราคา EGAT แต่ปตท.จ่ายตามที่ดินที่ปตท.เจรจา ดังนั้นปัญหาคือ น่าจะแก้ พ.ร.บ. ให้เหมือนกันมากกว่า ไม่เช่นนั้นต้องไปขึ้นศาล ถ้าปรับแก้ พ.ร.บ. มีโอกาสแก้ประเด็นเหล่านี้

ตอบ.. มีโอกาสแก้ได้หมด ถ้าศึกษา มีการศึกษาเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ดินมากขึ้น เราสามารถทำเป็น Generalize และออกเป็นกฎระเบียบได้ด้วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

มีทั้งหมด 7 คน จับฉลากออกไปแล้ว 3 คน ปัจจุบันกำลังมีท่านใหม่อีก 3 คน ผ่าน ครม.แล้ว อยู่ระหว่างโปรดเกล้าฯ เพราะว่าในตัวของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานจะไม่มีการรักษาการณ์ จะเป็นกรรมการจนวันสุดท้ายที่กรรมการคนใหม่ได้รับโปรดเกล้าฯ มา

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์การหลักกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานอย่างโปร่งใส เพื่อความมั่นคงของกิจการพลังงานไทย สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน มีความเชื่อถือได้ โดยมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล”

** เริ่มต้นจะมีการวางรากฐาน สู่การสร้างประสิทธิภาพ แล้วปรับปรุงให้ทันสมัย เนื่องจาก พ.ร.บ. ไม่มีกฎหมายลูก เราต้องออกกฎหมายลูกก่อนถึงนำไปปฏิบัติได้

พันธกิจเป็นวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย

การวางค่านิยมขององค์กร

1.ความเชื่อมั่น

2.ความเชื่อถือ และเที่ยงธรรม ผู้กำกับต้องเป็นธรรมไม่ยึดติดกับหน่วยงาน และมีConsistency สม่ำเสมอ

3. มีเอกภาพ

4.ความเชื่อมั่นของสังคม

5.โปร่งใส

สาเหตุที่มีค่านิยมเรื่อง Trust

เพราะว่า เราได้วาง Strategic Map โดยใช้ Balance Score Card

• Stakeholder มีผู้บริโภค ผู้ใช้ ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมโดยรวม ที่มีความต้องการไม่เหมือนกันมีความพอใจ ต้อง Balance ระหว่าง ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค รัฐบาล

• Process มีเป้าหมายที่ดี วางเป้าหมาย Stakeholder Satisfaction มี Learning & Development มีการวางแผน 5 ปีก่อนทำอะไรบ้าง แล้วกำหนดค่าใช้จ่าย แล้วค่อยเก็บค่าธรรมเนียมที่วางไว้ (เก็บจากผู้ประกอบการเช่น EGAT ,ปตท. ฯลฯ ซึ่งถ้ามีเงินเหลือจะคืนคลังหมดเลย)

• Human resource

• Financial

การกำกับกิจการพลังงานตาม พ.ร.บ.

• มีสำนักงานวิเคราะห์การทำงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

• องค์กรอิสระตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน

หน้าที่และบทบาทของ กกพ.

• การมีส่วนร่วม มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีจุดประสงค์ของกองทุน 6 ข้อ

• มีคณะกรรมการ แล้วตั้งเขต 13 เขต เพื่อรองรับการประชุม

• การกำกับและดูแลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ใน ก.ม. จะบอกว่าทำอะไรบ้าง แล้วมีการอุทธรณ์อีกที ในอนาคตต้องมีการวางแผนที่มากขึ้น

• ข้อพิพาทและอุทธรณ์ สามารถอุทธรณ์ในหน่วยงานได้

ใบอนุญาติที่ออกให้

• ปัจจุบันออกให้ 9 ประเทศ

• มีผลิตไฟฟ้า ส่งไฟฟ้า จำหน่ายไฟฟ้า ควบคุมไฟฟ้า

• การสั่งจ่ายไฟต้องมีผลต่อเงินที่ได้รับ ทำให้ผู้ใช้ไฟต้องเสียค่าไฟเพิ่ม

• ถ้า EGAT มีการสั่งจ่ายไฟไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้

• ก๊าซธรรมชาติดูแลเกี่ยวกับการขนส่งทางท่อ และการจัดหาราคาส่ง

• การค้าปลีกผ่านระบบ Distribution Line

• Single Buyer ยังดูภาพไม่ชัดเจน ถ้าดูภาพชัดเจนจะสามารถออกใบอนุญาตได้

• การผลิตไฟฟ้า ต่ำกว่า 1,000 KPA ไม่ต้องขอใบอนุญาต

• ไฟฟ้าดีเซล ที่ไม่ได้สั่งจ่ายเป็นประจำก็ต้องขอใบอนุญาตด้วย

การกำกับดูแลกิจการพลังงาน

• ระบบไฟฟ้าเป็นกิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ แต่ต้องมาดูแลเนื่องจากอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายประชาชน และ ฝ่ายกฟผ.

• การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล โดยให้ความเห็นต่อนโยบายพลังงาน

• คนชงนโยบายคือ สนพ. เราต้องประสานกับ สนพ. ในการปฏิบัติ แล้วต้องประสานกับกระทรวง หรือรัฐมนตรี

• ต้องให้ประชาชนรู้จักใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

• แต่ก่อนการผลิตไฟฟ้าเกินกว่า 10 เมกะวัตต์ ต้องทำ ANA

• มีกฎของ ก.อุตฯ ถ้าสูงกว่า 6 เมกะวัตต์ต้องทำการกำกับเบื้องต้น

• เราจะสามารถเห็นว่าโครงการที่เป็น Renewable Energy มีคนร้องเรียนเยอะ

การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน

• สถิติเมืองไทย 99 % ได้รับการบริการด้านไฟฟ้า ถือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่ได้พัฒนาด้านไฟฟ้ามากประเทศหนึ่ง

• เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมด้านพลังงานเข้าไปตรวจสอบ

• การออกระเบียบต้องมีการรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น ซึ่งในปัจจุบันนี้จะเห็นว่า มีการแสดงความคิดเห็นผ่านเวปไซด์ด้วย

• คุ้มครองผู้ใช้พลังงานในกรณีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เช่นร้องจาก กบข. มีการดูแลผ่านกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

การใช้อสังหาริมทรัพย์

• การเวรคืน

• เครือข่าย

• เลือกเขต

• เราสามารถปรับการทำงานให้ยืดหยุ่นได้

• ระเบียบแก้ไขเพียงแค่เข้ากรรมการแล้วประกาศในราชกิจจาฯ ก็ประกาศได้ แต่ถ้ามีผลกระทบต้องไปศึกษาผ่านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกทีนึง

การพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์

• การระงับข้อพิพาทและอุทธรณ์

• ระหว่างผู้รับใบอนุญาตเอง

• ให้สิทธิระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

• ระเบียบทุกอย่างจะมีหมวดแต่ละหมวดดูแลอยู่

• กฎหมายให้อำนาจเรามีบทลงโทษได้ บางอย่างถ้าไม่ทำตามมีบทลงโทษ

แนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Energy Tax

• ของไทยมีน้อยไม่ค่อยได้ใช้

• Tax payer pay คนเสียภาษีเป็นผู้รับผิดชอบ

• User Pay ผู้ใช้ไฟเป็นผู้รับผิดชอบ

• จากกรณีตัวอย่าง ผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยไม่ต้องเสียค่าไฟนั้น ตอนแรกรัฐบาลใช้ Tax Payer Pay ทุกคนไม่ต้องรับผิดชอบ เอาเงินจากรัฐบาล ต่อมาเป็น User Pay จะใกล้ตัว คนที่โดนเก็บบางครั้งอาจไม่พอใจ นโยบายออกมาว่า 90 หน่วยให้ไปเก็บกับ Category ใช้หลัก Cross Subsidization ,user Pay กันเอง มีอยู่ 8 หน่วย

ไม่โดนเก็บค่าไฟ ได้แก่ บ้าน,กิจการขนาดเล็ก,การส่งน้ำเพื่อการเกษตร

โดนเก็บค่าไฟ ได้แก่ กิจการขนาดกลาง, ใหญ่ ,โรงแรม,Non-profit

• ในหลายรัฐฯของอเมริกา ใช้เรื่องนี้เพื่อลดการจูงใจการใช้พลังงาน สามารถนำไปหักภาษีได้

• ถ้าเป็นรัฐสวัสดิการจะมีการเก็บภาษีแพง ถ้าจะให้เป็นในรูปการเก็บภาษีแบบ Tax Payer Pay นั้นต้องมีเก็บภาษีมากขึ้น

ถาม ในกรณีการงดเก็บค่าไฟฟ้ากรณีไม่เกิน 90 หน่วยนี้ เป็นเรื่องที่รอบคอบหรือเปล่า เช่น บ้านคนรวยที่เป็นบ้านตากอากาศแต่ใช้ไฟเยอะมากในวันหนึ่ง แต่โดยรวมแล้วใช้ไฟไม่ถึง 90 หน่วย ก็ไม่ต้องจ่าย อันนี้ถือว่าเป็นการช่วยคนจนหรือไม่

ตอบ เราให้สิทธิ์นี้สำหรับคนที่มีมิเตอร์ 5 แอมเท่านั้นที่สามารถใช้ไฟฟรีโดยดูที่การใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วย

และจากการสำรวจพบว่า....คนที่มีความสามารถใช้ไฟได้ 90 หน่วยจะมีรายได้ประมาณ เดือนละ 10,000 บาท จะเห็นว่าที่ให้สิทธิ์นี้เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่มากเป็นต้น

มาตรการทางภาษีเกี่ยวกับพลังงานในประเทศไทย

เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535 มาแล้ว ปัจจุบันเป็นในเรื่อง User Pay การเข้ามาสู่การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า เดือน ธ.ค.2550 จึงมีกองทุนการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าขึ้น

ในแง่ไฟฟ้า จาก Energy Tax สู่กองทุนด้านไฟฟ้า สู่กองทุนพัฒนาไฟฟ้า

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีเพื่อ?

1. เพื่อสนับสนุนการให้ไฟฟ้าไปสู่ท้องที่อย่างทั่วถึง ปัจจุบัน การเกลี่ยรายได้ ต่อไปจะเป็นการประหยัดพื้นที่และทำให้ทั่วถึง การไฟฟ้านครหลวง และภูมิภาค ต้องมีกำไร LOC เท่ากันคือ 4.8 % ปกติการไฟฟ้านครหลวงมีกำไรมากกว่าส่วนภูมิภาค…..ดังนั้น จึงต้องกระจายเงินให้ส่วนภูมิภาคเนื่องจากส่วนภูมิภาคจะมีการวางสายระยะไกล ต่อมา 3 ปีที่ผ่านมา กฟผ.เริ่มมีบทบาท เนื่องจากมีกำไรถึง 8.39 % ซึ่งมากกว่ากฟน. และ กฟภ. เยอะมาก เนื่องจากต้องเตรียมตัวออกนอกระบบด้วย จึงอยากให้เกลี่ยเงินไปยัง 2 ส่วนนั้นด้วย เนื่องจากเงินจากการไฟฟ้านครหลวงไม่เพียงพอ ทำให้ต้องไปเก็บเงินจาก กฟผ.ประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท เพื่อให้มีการสนับสนุนการบริการไฟฟ้าสู่ท้องที่อย่างทั่วถึง ซึ่งในอนาคตคาดว่าต่อไปจะมีระบบดีกว่านี้ออกอยู่ในระเบียบกองทุน แม้ว่าความเป็นจริง ... ความเสี่ยงของกิจการการผลิตจะมีมากกว่ากิจการการส่งและการขายก็ตาม

2. เพื่อกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น

3. เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การนำเงินส่งเข้ากองทุน

• จะเพิ่มในเรื่องพลังงานหมุนเวียน ลม,แสงอาทิตย์หน่วยละ 1 สตางค์

• พลังงานน้ำ และชีวภาพ เท่าเดิมคือหน่วยละ 1 สตางค์

• อันอื่นคงเดิม

นโนบายการใช้เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

1. เพื่อเป็นการเกลี่ยรายได้

2. เพื่อชดเชยไฟฟ้าซึ่งต้องจ่ายค่าไฟแพงจากใบอนุญาตที่ควบคุม มีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

3. เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งในปี ๆ หนึ่งเก็บเงินได้ 2,000 กว่าล้านบาท

4. เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

5. เพื่อส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนักและมีส่วนร่วมทางไฟฟ้า

6. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน

• สำรองกรณีฉุกเฉิน

• อุดหนุนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ

• บริหารจัดการกองทุนและประเมินผล

เวปไซต์ ติดต่อที่ www.erc.or.th

• การร่างระเบียบ วิธีการสำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเป็นอย่างไรต้องใช้เวลาในการพิจารณา คนที่บริหารกองทุน 2 ใน 3 ต้องมาจากประชาชน หรือผู้ใช้พลังงาน ภาครัฐ 1 ใน 3

• ประธานกองทุนในตอนแรกนั้นกำหนดว่าให้มีการเลือกตั้งกันเอง ภายหลังมีแนวคิดว่า ประธานกองทุนควรมาจากการตั้งแต่งของ กกพ. อีกทีนึง รองประธานมาจากภาครัฐคนนึงและ ประชาชนคนนึง เลขาฯ มาจากหน่วยงาน กกพ. ผู้ช่วยฯ มาจาก โรงไฟฟ้า

• การเสนอแผนฯ ผู้ว่าฯ ต้องให้ความเห็นก่อนทุกครั้ง

• แนวทางของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะมีอนุกรรมการกลั่นกรองแผน และอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน ช่วยดูแล

• กองทุน มี 3 ระดับ ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป มี 10 กองทุน , 1- 50 ล้านบาท มี 40 กองทุน, ต่ำกว่า 1 ล้านบาท มี 111 กองทุน

• การจัดหาคณะกรรมการระดับพื้นที่ จะอยู่ในวาระเป็นระยะเวลา 4 ปี และต่อได้ไม่เกิน 2 วาระ

• มีแผนระยะยาวก่อน แล้วเอาแผนมาเสนอ

• การแบ่งเขตกองทุน เช่น กองทุนประเภท ก. มี 10 กองทุน บางแห่งก็มียุบรวมด้วยเนื่องจากเขตซ้ำซ้อนกัน

• การเสนออนุมัติโครงการต้องทำเป็นระบบ แต่มีที่อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีเครื่องมือครบถ้วน มีชุดดูแลอนุมัติโครงการ และอีกชุดติดตามประเมินผลทุก 3 เดือน

• การจัดสรรเงินงบประมาณจะอยู่ในช่วงประมาณ มิ.ย. – ก.ค.

คำถาม....เมื่อเงินกองทุนรอบโรงไฟฟ้ายุติลงแล้วเหลือกองทุนเดียว การพิจารณาประเภทของกองทุนมีผลหรือไม่ต่อขนาดโรงไฟฟ้า ประเภทของโรงไฟฟ้ามีผลต่อชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า เช่น ถ้าเลือกที่หนึ่งสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำไมเขาต้องเป็นผู้เสียสละพื้นที่

ตอบ...ตัวอย่างเช่น คิดนิวเคลียร์ไว้ 5 ตัน แต่รู้สึกว่าไม่ดี ต่อมาจึงคิดลักษณะให้เขาเสมือนเป็นหุ้นส่วน อยู่ในกระบวนการความคิด ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่หลักการคือทำอย่างไรถึงสามารถเป็นไปในเชิงรูปธรรม EGAT สามารถเสนอแนวทางและแผนปฏิบัติมาได้

ถาม... เทรนด์โลก พูดถึง Smart Energy อย่างเช่น ฝรั่งเศส , นิวซีแลนด์ และ Energy Platform มีหน่วยงานไหนมีหน้าที่ในการวาง Platform ตรงนี้หรือเปล่า เนื่องจากหน่วยงานแต่ละที่ เน้นไม่เหมือนกัน ทั้ง กฟผ. กฟภ. กฟน.

ตอบ... กกพ. อยากทำเหมือนกันเนื่องจากเห็นว่ามีสิ่งที่ควรมีการกำกับดูแล แต่อยู่ระหว่างการกำกับ ดูแล Cleanable Energy ทำอย่างไรถึงประหยัดการใช้ไฟ อยู่ที่การคุย อย่างเช่น อเมริกา จะเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนที่จะให้ทั้งประเทศเป็นระบบ Smart Grid ได้ แต่ประเทศไทยต้องพยายามหาทางคุยให้รู้เรื่องให้ มี Protocol เหมือนกัน ซึ่งโดยความเป็นจริงในอนาคต น่าจะมีการเขียนเป็น Road Map ในเรื่องนี้

ถาม... การไฟฟ้าเป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่หรือไม่ และคนได้ประโยชน์คือใคร

ตอบ... เป็นการให้บริการของผู้ประกอบการในจุดที่แข่งขันหรือไม่ อาจไม่เหมือนกัน ปัจจุบันการแข่งขันของ กฟผ. กฟภ. กฟน. ไม่มี แต่การแข่งขันของตปท.คือการให้บริการคนในราคาที่เหมาะสม คนที่จะซื้อไฟฟ้าจะดูว่าใครให้ข้อเสนอดีก็จะเลือกเจ้านั้น แต่สำหรับในไทยปัจจุบันนี้ดูแค่ว่าอันไหนเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น

เกรียงศักดิ์ พูลเฉลิม , สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ

ก)วิเคราะห์หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS

ข้อดี

1. ได้เครือข่ายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมกับประเทศในกลุ่ม GMS

2. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านพลังงาน

ข้อเสนอแนะ

1. ควรเพิ่มเรื่อง Demand side Management

2. ควรมีการจัดทำแผน PDP ร่วมกันและร่วมมือทำสายส่งไฟฟ้าเชื่อมโยงถึงกันทุกประเทศ

3. เนื่องจากเวลาอบรมหลายวันและการเดินทางดูงานหลายที่ ผู้เข้าร่วมฯอาจเหน็ดเหนื่อย ทำให้การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อมูลขาดประสิทธิภาพ

ข) การทูตภาคประประชาชน

1. ต้องมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายเพื่อรู้เขา-รู้เรา

2. สร้างเครือข่ายกับทุกกลุ่มและทุกระดับและช่วยเหลือตามสมควร

3. จัดดูงาน หมุนเวียนไปตามที่ต่างๆ

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของกฟผ.

โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

วันที่ 12 พ.ค. 54 ณ ห้องประชุม ท.102 อาคาร 20 ชั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เกริ่นนำ

ก่อนอื่นต้องขอย้อนไปว่า... แต่ก่อนนั้น ถือได้ว่ากฟผ.เป็นหน่วยงานที่วางแผนเพื่อรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าได้อย่างดีและทันท่วงที ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน กฟผ. ถือได้ว่าเป็นองค์กร ที่ได้รับการยอมรับเรื่องการวางแผน บริหารจัดการ และความเชื่อถือจากต่างประเทศ อีกทั้งจะสังเกตได้ว่าค่าไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นถูกกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน แสดงให้เห็นถึงธรรมาภิบาลของการบริหารงานของชาว กฟผ.......สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คุณเกษม จาติกวนิช สร้างไว้ โดยทางผู้บริหารกฟผ.ในรุ่นต่อ ๆ มา ก็ได้รักษาระดับ และดำเนินการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า กฟผ. ถือว่าเป็นองค์กรได้รับความไว้ใจและได้รับความชื่นชมจากประชาชนมาโดยตลอด

แต่ทว่าอย่างไรก็ตาม กฟผ.ก็ยังมีจุดให้คนโดยทั่วไปจำอย่างแม่นยำในเรื่องความผิดพลาดของการสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่ส่งผลให้เกิดควันอย่างมหาศาล ตามมาด้วยการเกิดฝนกรด ที่มีผลต่อสุขภาพของคนที่อยู่บริเวณนั้น แม้ว่าปัจจุบัน กฟผ. จะดำเนินการแก้ไขแล้วก็ตาม ภาพเหตุการณ์เหล่านี้ก็ยังเป็นภาพติดตาสำหรับ กฟผ.อยู่ดี..................จึงนับได้ว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้ จึงเป็นบทเรียนที่ทำให้กฟผ.ต้องเรียนรู้ในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทิศทาง

• กฟผ.เกิดในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในสมัยนั้นระดับเศรษฐกิจยังไม่เจริญ ในประเทศยังไม่มีอุตสาหกรรมของเอกชน ทุกอย่างเป็นของรัฐวิสาหกิจเนื่องจากเอกชนยังสะสมทุนไม่เพียงพอ

• พ.ศ. 2500 มีนายพลเนวิน ปฏิวัติเศรษฐกิจในพม่า เลือกวิธีการบริหารแบบระบบสังคมนิยม บริหารโดยทหาร แล้วปฏิเสธทุนจากต่างชาติทุกอย่าง ในขณะที่ประเทศไทยมีจอมพลสฤษดิ์ เลือกวิธีการบริหารแบบระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม และต้อนรับทุนต่างชาติ จากวันนั้น ถึงวันนี้ แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างไทยกับพม่า

• จอมพลสฤษดิ์ เปิดโอกาสให้มี BOI และเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งอุตสาหกรรมในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยค่อย ๆ เรียนรู้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งไทยก็สามารถสร้างบริษัทเอกชนขึ้นมาเอง สังเกตได้ว่าในช่วงนั้น...ทำให้เศรษฐกิจพุ่งแรงมากในช่วง 20 ปี

• พ.ศ. 2524 อุตฯ ไทยเป็นพวกปลายน้ำส่วนใหญ่ ซึ่งโชคดีที่ไปขุดเจอก๊าซธรรมชาติจึงเกิดโครงการในการเอาก๊าซธรรมชาติมาแยก มีแพลนโรงแยกแก๊ซ ตรงแถวสัตหีป ต่อมาทำให้เกิดโครงการ Eastern Seaboard ในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ ได้พลักดัน Eastern Seaboard ให้เกิดขึ้นต่อมาจึงทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมจากต้นน้ำมาสู่กลางน้ำ และเมื่อเวลาผ่านไป อุตสาหกรรมต่อมาก็เต็มแน่น หมายความว่าอุตสาหกรรมจากนี้ไปไม่ค่อยมีที่ว่างแล้ว ... จึงเป็นอีกผลหนึ่งที่ปัจจุบันเราอาจไม่สามารถสู้เวียดนามได้เนื่องจากประเทศเขายังมีที่ว่างให้นักลงทุนไปลงทุนทางอุตสาหกรรมอยู่

• พัฒนา Eastern Seaboard ที่ทวาย ขณะนี้กำลังรอประกาศอยู่ โดยขณะนี้มีนักธุรกิจไทยตั้งใจที่จะทำอยู่แล้ว

• แรงงานคนไทยน้อยลง อุตสาหกรรมแรงงานขณะนี้ใช้แรงงานพม่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเทศพม่านั้นก็ใช้แรงงานในประเทศของเขาเอง ประเทศไทยเพียงแค่ได้ผลประโยชน์จากวัตถุดิบเท่านั้น

การที่เศรษฐกิจโตเร็ว ประเทศจะเปลี่ยนรูปเป็นอย่างไร?

• อัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม สิ่งที่เริ่มโตในเศรษฐกิจขณะนี้คือ การเปลี่ยนจากเกษตรเพียว ๆ มาสู่เกษตร-อุตสาหกรรม มาสู่อุตสาหกรรม การค้า การบริการ (แต่เป็นการขายของและซื้อกินในประเทศเท่านั้น ยังไม่ได้ขายของที่คนอื่นขายและคนอื่นใช้ ยังไม่มีตัวกลางเท่าไหร่) (ธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว กระจายรายได้มากสุด ,ธุรกิจธนาคาร,Advertising เกิดความเจริญตามภาคเศรษฐกิจทั่วไป)

• การเจริญเติบโตจากภาคการค้า และบริการ เร็วกว่าในอดีต

• อัตรารายได้ของคนที่เป็นครัวเรือนจะสูงกว่าอัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม

• พ.ศ. 2544 รายได้ภาคเกษตรโต 20 – 25 % มาจนถึงปัจจุบัน สังเกตได้ว่า ภาคเกษตรฯโตเร็วกว่าภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด

• รายได้ภาคชนบทโตเร็วกว่าภาคในเมือง เร็วกว่าภาคอุตสาหกรรม การใช้จ่ายของครัวเรือน เงินที่ได้จะเป็นเงินเก็บ

• ช่วงที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายของครัวเรือนมากขึ้น วิวัฒนาการของโลกมากขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายครัวเรือนมากขึ้น เช่น ทีวี อินเตอร์เนต

• มีความต้องการไฟฟ้าในส่วนครัวเรือนมากขึ้น ดังนั้น กฟผ.ต้องคิดใหม่ เนื่องจากเมื่อคนมีรายได้ดีขึ้นก็มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น

• ส่วนมาก คนจะซื้อเครื่องไฟฟ้าก่อนซื้อรถยนต์ กฟผ.เองต้องศึกษาเรื่องนี้ใหม่ การใช้ไฟฟ้าจริง ๆ เป็นอย่างไร แล้วจะเริ่มเห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนไปเยอะ ภาคธุรกิจต่าง ๆ ก็ขึ้นมาเยอะ การใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

• ควรมีการวางแผนให้ทีมศึกษาของกฟผ.ศึกษาใหม่ ศึกษาด้านโรงแรม ธุรกิจบริการ ครัวเรือน มากขึ้น แล้วเตรียมการวางแผนให้ดีกว่าเดิม

ต่อจากนี้แล้วเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร ?

• ประเด็นคือ...ยังมองไม่เห็นว่าจะมีอะไรมากระตุ้นอุตสาหกรรมเลยเนื่องจาก Attitude แย่มาก ไม่ออกว่าสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยก็มีคู่แข่งอย่างเวียดนามที่เดินหน้าไปเร็วมาก

• สำหรับภาคเกษตร รัฐบาลยังคงเดินต่อแน่นอน ปาล์มน้ำมัน กับ มันสำปะหลัง เป็นฝีมือของรัฐมนตรี ปิยสวัสดิ์ ผลปาล์มราคาขึ้นเพราะ ไบโอดีเซล ส่วนยางพารานั้นมีทั้งขึ้นและลง

• สิ่งที่ประชาธิปัตย์ทำได้ดีคือเรื่องข้าว มีการประกันราคาข้าว แต่อย่างไรก็ไม่เกินจินตนาการของนักการเมืองถ้าจะทำ....ราคาพืชผลจะมีส่วนช่วยเกษตรกรมากขึ้น

• สิ่งที่ประชาธิปัตย์ทำนั้นจะเน้นเรื่อง Household ดังนั้นอัตราการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจึงมากกว่าอุตสาหกรรมในระยะสั้น

• เมื่อประเทศปรับตัวจากภาคเกษตร ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น ภาคบริการจะตามมา การท่องเที่ยวจะกลับมา ภาคบริการจะโตต่อไป แต่ภาคการค้านั้นยังไม่มีใครคิดจริงจัง

• ภาคการค้าจะเป็นลักษณะ Trading Nation เช่น ญี่ปุ่นเป็นตัวแทนการค้า แล้วไปขายในประเทศใหญ่ จีนภาคการค้าขยายตัวเช่นกันแต่ยังไม่เป็นในรูปแบบนั้น สำหรับประเทศไทย เราสามารถปรับสู่ Trading Nation ได้ ประเทศไทยเรามี Product Champion คือข้าว ไทยจึงสามารถเป็น Trading Nation ได้ เช่น สามารถทำได้โดยการไปซื้อข้าวมากักไว้ ทำให้เราสามารถควบคุมได้ ทำให้โลกรู้ว่าไทยเป็น Center แต่อย่างน้อยถ้าจะทำได้อย่างแท้จริงนั้นต้องมี Political Roleมาช่วย

• ท่าเรือที่ไหนเรามี Productivityที่นั่น

• ที่ตั้งภูมิศาสตร์ จีนใต้ผลิตสินค้าส่งผ่านมาทางไทยเยอะ ถามว่าประเทศที่พร้อมเป็น Center สินค้าจีนคือประเทศไหน คำตอบคือ ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเอาสินค้าไทยไปเป็นตัวเสริมด้วยก็จะทำให้ภาคการค้าของไทยขยายตัวได้มากขึ้น เนื่องจากเมื่อสินค้าผ่านประเทศจะส่งผลให้เกิดธุรกิจตามมาอย่างมหาศาล

• สิงคโปร์โตได้เพราะสินค้าไทย สิงคโปร์เอาสินค้าเราไปขายต่ออีกทีนึง ไทยน่าจะศึกษาแบบอย่างจากสิงคโปร์ให้ดี

• ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับเส้นทางขนส่ง และระบบขนส่ง ดังนั้น ไทยจึงจำต้องมีเส้นทาง Logistic ที่ดี

• รัฐบาลชุดนี้ให้ทวายเป็นท่าเรือน้ำลึก แล้วให้ปากปารา ที่สตูล เป็นท่าเรือส่งทวาย

• สิ่งสำคัญคือ เราต้องทำให้เกิดประตูตะวันตก (West Gate) ซึ่งจะส่งผลดีคือสินค้าไทยส่งไปที่ Middle East และส่งไปที่ยุโรปใช้เวลาเร็วกว่าเดิมถึง 10 วัน ทำให้การค้าไทยไม่เสียเวลา

• อาชีพการค้าเป็นอาชีพหลากหลายและกระจายต่อยอดได้เยอะมาก เราสามารถเปลี่ยนประเทศเป็น Trading Nation ได้เลย และถ้าบวกกับการทำ West Gate แล้วด้วยจะทำให้สินค้าส่งไปขายต่างประเทศได้เร็วมากขึ้นด้วยเป็นการพัฒนาช่องทางการขายที่ดีขึ้น เช่น น้ำตาลสามารถส่งไปขายที่อเมริกาได้ดีมากขึ้น เป็นต้น

• สิ่งที่ผ่านแดนเราคือน้ำมันเพื่อข้ามแดน แต่จุดมุ่งหมายคือ West Gate ให้ทางรถไฟมาลงที่ West Gate เลย

• ท่าเรือแหลมฉบังจะส่งสินค้าไปทางอเมริกา และ ญี่ปุ่น แต่ท่าเรือทาง West Gate จะส่งสินค้าออกไปทางตะวันตก ได้แก่ทางยุโรป และ Middle East

• จึงอยากให้ไทยเริ่มคิดถึงการค้าแบบ Trading Nation เนื่องจากสามารถทำให้อัตราการเติบโต GDP เพิ่มมากขึ้น

ถาม ทำไมรัฐบาลไทยอนุมัติโครงการฯ ในพม่าได้

ตอบ เกิดจากการมีโครงการ East West Corridor เพื่อให้มีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเวียดนาม เขมร ไทย สู่พม่า และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพม่าเต็มที่ จึงมีคนเสนอให้รัฐบาลพม่าทำท่าเรือน้ำลึก ส่วนอิตาเลี่ยนไทยนั้นทำการประมูลที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกดังกล่าวได้ จึงล็อบบี้ให้รัฐบาลไทยอนุมัติโครงการนี้ ไทยจึงสนับสนุน แล้วจึงเสนอให้ มีการสร้างท่าเรืองปากปาราที่สตูลเพื่อเชื่อมต่อด้วยเช่นกัน โดยต่อมารัฐบาลพม่าจะมีการทำการค้าเป็นลักษณะ Special Economic Zone จึงเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ไทยมีความต้องการไปลงทุนที่พม่ามากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ดารมภ์ ถาม

ในวันแรกของการบรรยาย...ได้ให้โจทย์ คือ ให้กฟผ. มอง trend เรื่องเงินเฟ้อนั้นจะกระทบกับกฟผ.อย่างไรบ้าง?

ตอบ จากอดีตที่ผ่านมา กฟผ.เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อโดยตลอด จึงไม่มีผลมากพอที่จะทำให้กฟผ.เปลี่ยนวิธีคิดจะเห็นว่าเงินเฟ้อนั้นไม่ใช่เรื่องที่อันตรายเพราะเกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เงินเฟ้อลดจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจให้ลดลงไปด้วย สิ่งนี้ต่างหากที่ถือว่าเป็นสิ่งอันตรายมากกว่าสำหรับ กฟผ.

ถาม ในการวางแผนการไฟฟ้าของกฟผ. แต่มีเอกชนวางแผนร่วมด้วย มีข่าวว่าต้องจ่าย ให้กฟผ.หน่วยละล้าน ให้กฟผ. ถ้าเป็นเช่นนี้อาจส่งผลทำให้บางครั้งเอกชนไม่สามารถลงทุนได้จริงหรือไม่?

ตอบ กฟผ. เป็น Regulator เหมือนนายใหญ่ของประเทศ สิ่งที่กฟผ.ยึดมั่นให้ดี สิ่งที่เขาไปจ่ายคือกำไรในอนาคต ไม่มีผลทำให้ราคาไฟฟ้าขึ้นเพราะเราเป็น Regulator ไม่น่าส่งผลกระทบ การควบคุมการขึ้นราคา กฟผ.จะมีสูตรแหล่งทางเลือกเป็นตัวเทียบ กฟผ.เป็นผู้วางแผนทั้งหมดอยู่แล้วอย่าไปกลัวใคร จริง ๆ อยากให้กฟผ.เป็น Regulator ผู้เดียวไปเลย จะได้รู้ว่า อะไรคือผู้ผลิต อะไรคือการวางแผนนโยบาย แต่ปัจจุบัน กฟผ.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดนโยบาย

ถาม อนาคตเวียดนามจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีต้นทุนต่ำมาก และแรงงานราคาถูก ส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศในไทยหรือไม่?

ตอบ ถ้าจะทำเรื่องนิวเคลียร์ ถ้ามีความเหนือคาดก็ต้องทำใจ เราก็สามารถซื้อไฟฟ้าจากลาวได้ ต้นทุนด้านไฟฟ้านั้นเพียงส่วนเดียวไม่ใช่ส่วนที่ทำให้เราแพ้เวียดนาม ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในไทยเช่นบรรยากาศการลงทุน นโยบายและการกระทำของรัฐบาล การแสดงออกต่าง ๆ เป็นต้น

ที่ประเทศไทยมีการลงทุนจากต่างชาติตันเพราะ มาบตาพุดไปไม่ได้ ,ไม่กล้าทำ Southern Seaboard,แรงงานไปไม่ได้...สิ่งแวดล้อมทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยตัน ดังนั้นไทยจึงควรพลิกความคิด โดยหันมามองด้านการทำ Trading Activityให้มากขึ้น เพื่อขยายเศรษฐกิจ (เป็นตัวเติมไม่ใช่ตัวแทน)

DSM เป็นตัวสร้างไฟฟ้าจากความต้องการ ความต้องการมีก็สร้าง ความต้องการไม่มีก็ไม่สร้าง ถ้าจัดการสาเหตุได้ ก็ทำให้ผลที่ตามมาสามารถปรับเปลี่ยนได้

DSM เรารณรงค์โดยลดตัว Demand หรือประหยัด

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การอภิปรายร่วม ทิศทางพลังงานกับการทำงาน กฟผ.

โดย คุณสมบัติ ศานติจารี และ คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฟังเทปการสัมภาษณ์ ผู้ว่าฯ ไกรสีห์ กรรณสูตร

คุณสมบัติ ศานติจารี

• หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อ 11 มี.ค. 54 ทำให้กระแสด้านพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป การคุยกับบางกลุ่มที่ให้เข้าใจกับทิศทางประเทศนั้นค่อนข้างยากมากขึ้น เช่นประชาสังคม แม้รู้ว่า กฟผ. เคยทำดีในโครงการหลายอย่าง ก็ไม่เห็นด้วยในบางเรื่อง ซึ่งความจริงแผนนโยบายต่าง ๆ บางครั้งไม่ได้กำหนดโดยกฟผ. การดูโครงสร้างของทั่วโลกต้องดูว่าหลัก ๆ พลังงานเชื้อเพลิงคืออะไร? แต่ละประเทศมีอะไร? และประชาชนรับภาระนั้นได้หรือไม่?

• โดยหลัก ๆ เรายังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานที่ดีอีกอันนึงคือนิวเคลียร์ ซึ่งเหมาะกับประชาชนที่มีรายได้น้อย แล้วก็มีพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานลม และแสงแดด ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหลัก และไม่มีความเป็นไปได้ ประเทศไทยนั้นไม่มีเชื้อเพลิงเยอะอะไรเลยถ้าจะเทียบกับประเทศอื่น ๆ และอีกอย่างเชื้อเพลิงในไทยก็ใกล้หมดแล้ว นิวเคลียร์จึงเป็นทางออก ซึ่งจะเห็นว่าประเทศอื่นก็ทำแบบนี้เหมือนกัน จึงไม่มีทางเลือกอื่น การปรับเปลี่ยนแผนด้านพลังงานจึงหนีไม่พ้นพลังงานที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งการจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ เป็นเรื่องที่ยากอย่างหนึ่ง กฟผ. มีความจำเป็นที่ต้องสร้างแหล่งผลิตให้ได้เพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงการเจริญเติบโต

• พลังงานที่รับนโยบายมาคือให้มองเรื่องพลังงานจาก ถ่านหิน และนิวเคลียร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเจรจามาก

• บางครั้งผู้บริหารรุ่นใหม่มัวแต่คิดตามแผน แต่ลืมคิดนอกแผน เช่น ควรให้ความสนใจในการสร้างพลังงานหมุนเวียนด้วย เนื่องจากไทยมีที่เยอะจึงควรพิจารณาเพื่อสร้างบ้าง อีกอย่างนึงคือเป็นผลจากที่สังคมภายนอกเชียร์เรื่องพลังงานด้านี้ด้วย โดยความเป็นจริงแล้ว กฟผ.ควรสร้างพลังงานหมุนเวียนบ้าง แต่อาจไม่เยอะ เพื่อแสดงให้เห็นว่า กฟผ. ยังไม่ได้ทิ้งพลังงานด้าน

Green Energy

ปัญหาคือทำยังไงให้มีการ Investment ตลอดไปเพื่อรักษารายได้

• สังเกตว่าใน 20 ปีข้างหน้าไม่มีเทคโนโลยีอื่น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทิ้งพลังงานจากนิวเคลียร์ ควรมีอยู่ในแผน จนกระทั่งเมื่อสังคมพร้อม สังคมจะกดดันให้ใช้พลังงานดังกล่าวเอง สำหรับในเรื่องนิวเคลียร์ ประเทศไทยกลัวค่อนข้างมาก ทั้ง ๆ ที่สังคมตะวันตกก็ยังมีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่เขาแคร์มากกว่าคือการเกิดก๊าซ CO2

• หลังจากเหตุกาณณ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อ 11 มี.ค. 54 ในญี่ปุ่น ส่งผลให้ต้องมีการปรับตัว เรื่องแผนการณ์ด้านนิวเคลียร์ แต่อย่างไรก็ตามอยากให้มองฝรั่งเศสซึ่งก็ยังมีใช้พลังงานนิวเคลียร์กว่า 85 %

• เรื่องพลังงานจากถ่านหิน ต้องมีการสื่อให้สังคมเยอะ ๆ ต้องหาแนวร่วมจากกระทรวง มี Regulator

• ศึกษาว่าศักยภาพทางการเกษตรของไทยมีเท่าไหร่ ศึกษาพลังงานหมุนเวียนในประเทศว่าสังคมมีเท่าไหร่ ให้รู้จักการสื่อให้สังคมรับทราบข้อมูลมาก ๆ เพื่อเตรียมการณ์ไว้ในอนาคต 10 ปี ที่สังคมจะต้องรับรู้ หน่วยงานนิวเคลียร์บางครั้งถูกตำหนิว่าไม่มี Activity ดังนั้นเหตุผลสำคัญจึงต้องสื่อให้สังคมรู้ กฟผ.ต้องมีแหล่งพลังงานใหม่ทดแทนแหล่งพลังงานเก่าให้มีพลังงานที่ความยั่งยืนต่อเนื่อง

• การรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน เช่นการให้ใช้หลอดผอมก็ต้องปฏิบัติต่อไปด้วย

• การทำอะไรต้องใช้เหตุผลให้สมดุล พยายามสร้างความจูงใจและความตระหนักว่าการทำงานของกฟผ. มีแต่คนดี คนก็จะไม่ว่าอะไร การควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างที่ค่อนข้างดี ต้องสร้างความเข้าใจโดยอาศัยมือที่สามหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรา บางครั้งอาจหาบุคคลเก่ง ๆ มาพูดแทนเรา จ้างเขา..เพื่อช่วยสื่อ และประชาสัมพันธ์ไปเรื่อย ๆ

• บางครั้ง กฟผ. ขาดเรื่อง Marketing Mind การเปิดมิติ CSR จึงเป็นเรื่องดีเพราะเป็นการมองเรื่องการสื่อให้ประชาชนเข้าใจด้วย

• กฟผ.จะสร้างนิวเคลียร์ แต่ละที่ปฏิเสธหมด สิ่งสำคัญคือควรเน้นการสื่อสาร ใช้บุคคลที่สาม หรือการจ้างเพื่อประชาสัมพันธ์แทนทั้งหมด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณสมบัติ มองเรื่องความมั่นคงในชีวิตด้วย เช่นเรื่องรายได้ เรื่องมั่นคง ซึ่งบางครั้ง NGO ไม่เข้าใจ วันแรกท่านผู้ว่าฯ สมบัติมีเวลาคุยเรื่องผู้นำยุคใหม่ ทักษะที่ให้ความสำคัญคือ Communication Skill คือการมีทักษะการสื่อสารต่อคนอื่น

รุ่น 7 เจอปัญหา ซึ่งไม่ใช่ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น Regulator ต้องเป็นแนวร่วมมากขึ้น ถ้าขัดแย้งจะลำบาก

คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์

ทิศทางการพลังงานแบ่งเป็น 2 ช่วง

ทิศทางพลังงานเป็นข้อเท็จจริงว่า

1.พลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันฟอสซิล จะหมดไป หายากขึ้นและแพงขึ้น

2.การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี จึงเป็นหน้าที่ของการหาพลังงานมาตอบสนองผู้ใช้พลังงาน โชคดีที่อัตราการเพิ่มขึ้นไม่มากเหมือนอดีตที่เพิ่มขึ้นถึง 30 % แต่ปัจจุบันเพิ่มปีละ 3-4%

• ถ้าวิธีการใช้พลังงานไม่เปลี่ยนไป ก็ต้องเป็นแบบนี้ต่อไป ยกเว้นแต่ว่านโยบายของรัฐบาลเปลี่ยน ปัจจุบันน

โยบายเน้นเรื่องอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้พลังงานเป็นหลัก ปัจจุบันจึงต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศด้วย ขาดเรื่องความมั่นคง ถ้ารัฐบาลที่เข้ามาใหม่มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรม กฟผ.ต้องเตรียมพร้อมในการผลิตพลังงานเพื่อตอบสนองอย่างทันท่วงที

• แรงงานก็ร่อยหรอ Trading เปลี่ยนไป แม้ GDP น้อยกว่าเดิม แต่การใช้พลังงานไม่ลดลง วิธีการคือพยากรณ์ว่าปีต่อไปใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่

• ความใส่ใจในเรื่องของ Demand Size

• DSM มีความพยายามให้ลดลง การใช้ไฟฟ้าให้ลดลง จากเดิมที่เน้นที่ Supply size แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Demand Size ทั้งนี้ก็เนื่องจากการขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล

• การพลักดันแนวคิด Trading Nation ทำให้การใช้พลังงานลดลง เราจะได้ไม่กระทบกับชาวบ้าน

• ตามแผนพยากรณ์ PDP 2010 แผน PDP 2013 บอกว่าใน 20 ปีข้างหน้าจะมีการใช้ไฟมากขึ้นกว่าเดิมอีกเท่าตัว ปัจจุบัน 30,000 เมกะวัตต์ ถ้าจะสร้างเพิ่มจะต้องทำอย่างไร? กฟผ.ต้องมีส่วนสร้างเพิ่มเท่าไหร่ โดยรวม ๆ แล้วต้องสร้างกว่า 25,000 เมกะวัตต์

• ปัจจุบัน นิวเคลียร์เริ่มมีเสียงตอบรับในทิศทางที่ดีขึ้น แต่พอมีเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น ทำให้แผนการพลังงานจากนิวเคลียร์ต้องเลื่อนออกไปอีก 3 ปี ถ่านหินจึงเป็นอีกทางเลือกนึง แต่ทว่าก็มีการต่อต้านหมด จึงถือเป็นความยากลำบากของรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อ ๆ ไปที่จะเป็นผู้นำกฟผ.ในอนาคต และคงต้อง Suffer ไปอีกนานพอสมควร

ทำอย่างไรไม่ต้องให้ Suffer ?

• การเกี่ยวพันกับทิศทางการดำเนินงานของ กฟผ. ในอดีตอาจต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการสร้างโรงไฟฟ้า สหภาพเป็นตัวหลักในการสู้ เดี๋ยวนี้เขาให้เราสร้าง แต่ปัญหาใหม่คือเราไม่มีปัญญาในการสร้าง แล้วทำอย่างไร หรือทิศทางใหม่ที่ต้องเผชิญเป็นอย่างไร ในอดีตมีการต่อสู้เพื่อสิทธิในการได้โรงไฟฟ้า แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไป แล้ว การทำอย่างไรให้สังคมยอมรับให้ กฟผ.สร้างนั้นเป็นโจทย์ที่สำคัญ อาจมีการทำ Workshop แต่ละคนมีทิศทางอย่างไร

• ความเชื่อ กับความคิด

ในหลายครั้งไปด้วยกัน แต่ในหลายครั้งไม่ได้ไปด้วยกัน เราจะจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างไร เป็นสงครามแบ่งแยกอย่างหนึ่งระหว่างเรากับ NGO โรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดมลภาวะ เปรียบเสมือนแผลที่ยังรักษาไม่หาย ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินดีขึ้นมาก อากาศที่แม่เมาะอาจดีกว่าที่ประตูน้ำอีก แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถรับรู้ทั้งหมดว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว คนโดยทั่วไปยังยึดติดกับความเชื่อและการรับรู้เดิมคือ เทคโนโลยีเก่าก่อให้เกิดฝนกรด....แต่อยากให้รู้ว่า ต่อมานั้น กฟผ. ได้มีการติดตั้ง FGD ในปี 2540 ในโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด ทำให้สภาวะอากาศกลับคืนสู่สภาพเดิม ผลกระทบและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมจึงไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

• เทคโนโลยีใหม่ด้านถ่านหินที่นำเข้ามาในปัจจุบันนี้ดีกว่าที่แม่เมาะมาก แม้ว่าพูดความจริงไปเขาก็ไม่เชื่อ ดังนั้นการสร้างความเชื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรใช้ความจริงใจเป็นหลัก

• เราใช้พลังงานฟอสซิล และถ่านหินก็ใช้ได้ สะอาดและถูกด้วย แต่คนทั่วไปไม่มองอย่างนั้น กฟผ.ต้องแสดงออกให้เห็นว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม การทำ CSR จึงทำขึ้นเพื่อเป็นความรับผิดชอบผลกระทบต่อสังคมที่เกิดจากการกระทำของกฟผ. กฟผ.ต้องรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดจาก กฟผ.กระทำ สิ่งแรกที่คิดว่าจะรับผิดชอบคือต้องยอมกลับไปเปลี่ยนทัศนคติใหม่

• ถ้าเราจัดการใช้ไฟให้ใช้ได้อย่างสม่ำเสมอเราก็สามารถลดการสร้างโรงไฟฟ้าได้ ตัวอย่างให้เห็นถึงความประหยัด เช่น การใช้หลอดผอมเบอร์ 5 ลดไป 14 วัตต์ หรือ 30 %

• แค่โครงการเปลี่ยนเป็นหลอดเบอร์ 5 ลดการใช้ไฟฟ้าไป 1,000 เมกะวัตต์ ถ้า กฟผ.เป็นหัวหอกในการทำโครงการด้านการประหยัดไฟฟ้า จะทำให้ประชาชนเห็นว่ากฟผ.ไม่ได้ทำเพื่อการสร้างรายได้ ถ้ากฟผ. แสดงให้สังคมเห็นว่าการทำเช่นนี้ช่วยลดการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต โรงไฟฟ้าลดไป 1 โรงแก้ปัญหาการทะเลาะได้ 1 โรง และถ้าเราจะสร้างโรงไฟฟ้าหรืออะไรก็ตามแล้วคำนึงถึงผลกระทบ ประชาชนก็จะไว้วางใจ เราต้องสร้างความไว้วางใจ แล้วความเชื่อก็ตามมา ถ้า กฟผ.ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ในอนาคต กฟผ.ก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือในสังคมได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ใน Session ที่ 1 มีการพูดเรื่อง Trust กฟผ.มีแน่นอนคือ Self Trust แต่อ่อนเรื่อง Relationship Trust ,Social Trust

• ถ้าความจริงกับความเชื่อไปด้วยกันได้ก็ดี การ Reinvent ทุกท่านต้อง Up ตัวเองขึ้นมา ให้ทำให้คนเชื่อ ต้องสร้าง trust การสร้าง Brand กฟผ.ต้องไม่มุ่งแต่สร้างโรงไฟฟ้าอย่างเดียว แต่ต้องนำนโยบายเรื่องประหยัดมาโปรโมทมากขึ้น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ประธานรุ่น - เรื่อง DSM เป็นเรื่องที่น่าจับตามองในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งถือเป็นเรื่องยาก หน่วยงาน DSM คนบอกว่าเป็นปลายแถวของกฟผ. แต่ประธานรุ่นมองว่า DSM น่าจะเข้ามีบทบาทมากขึ้นจึงขอทำโครงการ ณ จุดนี้ เลยมาเริ่มโครงการ DSM 2-3 โครงการ เช่น การสร้างภาพลักษณ์ของ กฟผ. ให้ปรากฎเด่นชัดมากขึ้น อย่างโครงการฉลากเบอร์ 5 ถือเป็นตัวอย่างอันดีในเรื่อง Energy Efficiency และในปัจจุบันนี้ได้มีโครงการทำ Peak shift เพื่อลดการใช้พลังงาน อีกด้วย

คุณสมบัติ

• ที่เน้นเรื่อง CSR เพราะว่าคุณสมบัติได้ไปรู้จักกลุ่ม NGO จำนวนมาก กล่าวถึงเรื่องแม่เมาะ มีทั้งแง่มุมที่แย่มาก และที่ดี เพื่อให้เปลี่ยนภาพ จึงได้เชิญกลุ่มผู้นำไปดูโรงงานแม่เมาะ แล้วเสนอเรื่อง DSM เยอะขึ้น

• การลดการใช้พลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้า ลด CO2 กฟผ.ทำได้หมด จะเป็นสิ่งที่จะเอาชนะใจสังคม ทำอย่างไรให้สังคมเข้าใจ คือให้พาเขาไปดูโครงการที่แม่เมาะบ้าง

• การทำหน้าที่ในการสื่อว่าไฟฟ้าเป็นอย่างไร มีประโยขน์อย่างไร จำเป็นอย่างไรต่อทุกภาคส่วน ปัจจัยใหญ่อยู่ที่หน่วยในการชี้นำความคิด เราจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ

คุณวิรัช

• กฟผ.เลือกงาน DSM ถือเป็นภาพบวกที่ NGO ยอมรับ และเป็นภาพที่คนทั่วไปยอมรับด้วยเช่นกัน

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กลุ่ม 1

• หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 11 มี.ค.54 ที่ญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแผนดูโรงงานจากโรงงานนิวเคลียร์ไปดูโรงงานถ่านหินแทน อยากทราบการทำความเข้าใจให้ประชาชนรับรู้ เราควรทำอย่างไรบ้าง ?

ตอบ การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปี 63-64 จริง ๆ เจ้าภาพจริง ๆ คือ กระทรวงพลังงาน ต้องถามทางด้านนั้น

กลุ่ม 1

• โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สร้างขึ้นได้ในเวียดนามไม่กลัวเพราะมี 1.เวียดนามเป็นประเทศที่มีการทำสงครามที่มีการสูญเสียมากมาแล้ว 2.รัฐบาลกลางเป็นคนตัดสินใจเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาทำ อย่างกรณีการทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจีน รัฐบาลกลางเป็นคนตัดสิน แต่คนที่เป็น Idol ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยคือ Jimmy Wang 3. ประเทศไทยถ้าจะสร้างยากภายใต้เงื่อนไขใดบ้างคำตอบคือ Government 4. ถ้าประเทศไทยไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีทางรอดไหม เขาบอกว่าไม่มีทางตัน เพราะยังไงก็ไม่ยอมให้ขาดไฟฟ้าอยู่แล้ว และที่สำคัญประเทศไทยอยู่ใกล้เวียดนามสามารถนำเข้าไฟฟ้าจากเวียดนามได้ 5.ถามว่าทำไมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนามได้ เขาตอบว่าได้มีการศึกษามานานพอสมควร แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการกำกับให้เกิดความมั่นใจสูงสุดในการสร้างได้อย่างไร

กลุ่ม 2

• ปัจจุบันน่าจะโฟกัสไปที่ถ่านหินมากที่สุด เพราะรัฐบาลปัจจุบันให้เน้นไปที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน การทำโรงไฟฟ้าถ่านหินควรจะทำอย่างไร ? ส่วนนิวเคลียร์ถ้ามีโอกาสก็ค่อย ๆ ไป โดยเฉพาะไม่อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ.เป็นหลัก แต่อยู่ที่ ก.พลังงานเป็นเจ้าภาพ จะสังเกตเห็นว่าการสร้างโรงฟ้าโดยภาคส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่ถ้า กฟผ. เป็นผู้ทำแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จ เพียงแต่ต้องมี Regulator กับผู้ดำเนินการช่วยด้วย

กลุ่ม 5

• การต่อต้านโรงไฟฟ้า ถ้า NGO เข้าไปก่อนอาจทำให้เกิดการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าเนื่องจาก ภาพ กฟผ.กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะยังติดลบอยู่ อีกอย่างคือ กฟผ.ไม่ค่อยทำอะไรให้ประโยชน์กับพื้นที่นั้นโดยตรง ทำให้คนในพื้นที่โดน NGO ชิงไปก่อน การทำประชาสัมพันธ์นั้นถูกจุดหรือเปล่า พาไปถูกคนหรือเปล่า ทำไมชาวบ้านไม่ยอมคุยกับ กฟผ. แต่ยอมคุยกับ NGO เนื่องจากกฟผ.ส่วนใหญ่ที่เข้าไป ทำโรงไฟฟ้านั้น เมื่อเสร็จแล้วปรากฎว่าจ่ายไฟฟ้าไปที่อื่น ไม่ได้ให้กับพื้นที่นั้นโดยตรง อันนี้เป็นภาพที่แก้ยาก

ตอบ คุณวิรัช

• ความจริง NGO ไม่รู้ว่าพื้นที่ที่กฟผ.จะเข้าไปนั้นเป็นที่ไหน เรื่องนิวเคลียร์ แม้ว่า ก.พลังงานจะเป็นเจ้าภาพ แต่ กฟผ.ก็เข้าไปมีส่วนร่วม ตอนกฟผ.เข้าไปเสียงตอบรับเป็นบวก แต่พอกลับมาแล้วมี NGO เข้าพื้นที่ แค่มีคนไม่เห็นด้วย 10 % NGOs ไม่ได้ต้องการคนเห็นด้วย 100 % NGO ก็สามารถเข้าไปได้แล้ว จะสังเกตว่า มีเพียงแค่คนไม่เห็นด้วยเท่านั้นออกโรงซึ่งความจริงแล้วจำนวนอาจไม่เกินครึ่งด้วยซ้ำ เป็นเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้นเอง

• การให้ประโยชน์ในพื้นที่ อาจให้ 15 % กลับในพื้นที่ กลับไปในชุมชน เคยทำแล้วแต่ก็มีปัญหาในเรื่องวิธีการจัดการ คือเมื่อได้เงินมาแล้วกลับกลายเป็นตัวสร้างปัญหามากขึ้น คือ เกิดการแย่งชิงตัวเงินก้อนนั้น

ตอบ คุณสมบัติ

• เรามีเครือข่าย กฟผ.ยอมกระทั่งสร้างโรงพยาบาลให้ ตอนนั้น NGO ยังไม่เข้ามา ในกรณีนี้เราต้องหาหัวใหญ่ ๆของ NGO และต้องเรียนรู้ว่า NGO มีเครือข่ายภาคประชาสังคมใหญ่มาก และมีอิทธิพลมาก ซึ่งถ้าเราตอบสนองต่อพื้นที่ได้ ก็จะดีมากเช่นกัน

กลุ่ม 2

ถามว่ามีแนวทางไหนที่จะเข้ากับ NGO ได้

ตอบ คุณสมบัติ

• เคยปรึกษาจาก ปตท. ปตท.จะมีคนที่เป็นที่ปรึกษาปตท. ทำหน้าที่ไปกินข้าวกับ NGO ใหญ่ ๆ ทำหน้าที่พูดคุย และสื่อสาร เพื่อการลบภาพเก่า ๆ

• การเข้าพื้นที่ก็ต้องเปลี่ยนไม่ให้ NGO รู้ อาจใช้มือคนอื่นในการเข้าพื้นที่โดยการจ้าง แล้วหา NGO ที่เกี่ยวข้อง แล้วเข้าไปคุย

กลุ่ม 3

ปัญหาที่กังวลคือการสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ อาจส่งผลให้มีคนตกงานเยอะ เมื่อเรารู้พื้นที่แล้วควรมีการเตรียมแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่งคนเข้าไปพัฒนาพื้นที่เพื่อหาเพื่อน มีชาวบ้านเป็นพวก ทำการให้เนียนกว่านี้ปัญหาการสร้างโรงไฟฟ้าก็อาจจะทำได้ง่ายขึ้น

กลุ่ม 5

• โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงทำตามแผนอยู่ จะมีทดแทนแม่เมาะ 4-7 โรง มีการปรับปรุงเรื่องแผนใหม่ ด้วยความรู้ความสามารถ ถ้ารู้ปัญหา ให้แต่ละฝ่ายร่วมกันคิดหาแนวทางก็น่าจะรับศึกได้ เช่นการเชิญมาชี้แจง และแสดงความคิดเห็น ในลักษณะรูปแบบการสร้างเครือข่าย เปิดโอกาสในการรับฟังคนที่ต่อต้านเราด้วยไม่ใช่ฟังแต่คนที่เห็นด้วยกับ กฟผ. อย่างเดียว

กลุ่ม 3

• โรงไฟฟ้ายังคงสร้างต่อไปได้คือที่วังน้อย พระนครเหนือ จะนะ ซึ่งเป็นที่เก่า เราไม่สามารถหาที่ใหม่ได้ ทำอะไรก็ลงที่เก่า

ตอบคุณวิรัช

• อย่างน้อยก็สร้างโรงไฟฟ้าได้ แต่เป็นที่เก่า คุณวิรัชเคยมีประสบการณ์ในการคุยกับ NGO เน้นวิธีการพยายามนั่งฟังเข้าพูดให้มากที่สุด อย่าคิดว่าจะเปลี่ยนความคิดของเขา เพราะไม่ใช่ว่า NGO ไม่มีความรู้ แต่เขามีความเชื่อ มีความคิดแตกต่างกันแต่เป็นเพื่อนกันได้ อย่างเช่น คุณวิรัชเป็นเพื่อนกับคุณวิทูรย์ ซึ่งจริง ๆ คุณวิทูรย์ก็ยังคงต่อต้านการไฟฟ้าอยู่ในบางเรื่อง การบอกให้เขาเปลี่ยนเลยนั้นอาจทำไม่ได้เนื่องจากมีความเชื่อของเขาอยู่ ควรให้เขาเปลี่ยนความเชื่อเองโดยซึ่งอาจทำได้โดยการให้เขามีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นต้น

• การสร้างโรงไฟฟ้านั้น ไม่ใช่ กฟผ.อยากสร้างเอง แต่เป็นหน้าที่ การสร้างโรงไฟฟ้าเป็นปัญหาของประเทศ เป็นปัญหาร่วมกัน ทำไมไม่เอาปัญหาไปวางอยู่ฝ่ายตรงข้ามด้วย แล้วคุยว่าทำอย่างไรถึงแก้ปัญหาตรงนี้ได้ นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะบอก ให้เห็นด้วยตา ให้ทำด้วยตา คนที่จะมาเป็นอนาคตของกฟผ. จึงควรมีแนวคิดของความมีส่วนร่วมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

กลุ่ม 4

• นอกเหนือจาก NGO เป็นประเด็นใหญ่แล้ว ยังมีการสำรวจที่น่าสนใจคือ พนักงานของกฟผ.เอง รู้เรื่องเกี่ยวกับกฟผ.น้อยมาก เนื่องจากคนภายในด้วยกันเองยังไม่เกิดการสร้างความรับรู้ให้เกิดการพัฒนาร่วมกันขึ้น อยากให้ผู้บริหารช่วยกันสร้างให้คนกฟผ. รับรู้ และสร้างความเข้าใจให้กับคนอื่น ๆ ด้วย พยายามทำข้อมูลข่าวสารให้ง่าย ๆ มีข้อมูลสั้น ๆ เช่นหน้าลิฟต์มีการขึ้นสื่อว่าขณะนี้มีข่าวอะไรบ้าง กฟผ.ต้องสนับสนุนในเรื่องการสื่อสารในภาพกว้างให้สาธารณะทราบ

คุณกิตติ กลุ่ม 1

• ต้องสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่น ว่า EGAT Pay ให้กับสังคม เป็นต้นแบบของ CSR เรามี Benefit มาก แต่ Gift น้อยไปหรือเปล่า อยากให้สร้างเป็น รูปแบบ Model จริง ๆ เช่นสร้างวิทยาลัยท้องถิ่นที่น่าสนใจ เป็นต้น

กลุ่ม 5

• ในกลุ่มคนมีความรู้นั้น คิดว่า NGO ไม่ได้มีความยุ่งยากต่อกฟผ. แต่ประชาชนต่างหากที่ไม่รู้สึกว่ากฟผ.เป็นเพื่อน เนื่องจากเราเข้าไปในลักษณะ ผู้ให้ ผู้ช่วยเหลือในบางโอกาสเมื่อเราต้องการอะไรบางอย่าง เราปฏิบัติถูกต้องทุกอย่าง แต่เราไม่ได้ใจ เราทำเพื่อชาติแต่เราไม่สามารถเป็นเพื่อนกับคนที่เราอยากให้เขา หากเราจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่จะมีสิทธิให้เขาเป็นเจ้าของร่วมกับเราได้ไหม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• โอกาสที่จะสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นมีมากมาย ทำให้ผมเรียนรู้ว่าสิ่งที่ได้จาก กฟผ. มีอีกมากมาย การยอมรับองค์กรของกฟผ. นั้น กฟผ.ทำเองไม่ได้ ต้องมีพันธมิตร มีแนวร่วม มี Network มีเครือข่าย อยากให้ทีมงานของกฟผ.ได้รู้ว่ากระบวนการที่ทำอยู่วันนี้ จะเป็นกระบวนการที่ส่งผลสำเร็จในอนาคต

• อยากให้เน้นเรื่องการเอาความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงทำให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จ

เรียน ท่านประธานจีระศักดิ์ และลูกศิษย์รุ่น 7 ที่รักทุกท่าน

  1. การบ้านเรื่องผู้นำจาก Time Magazine เพิ่งส่งมาแค่ 2 กลุ่ม ที่เหลือช่วยส่งด้วยครับ
  2. ที่ส่งมาแล้วนั้นดีมาก - ได้เห็นว่าสามารถอ่านได้ดี
  3. บัดดี้ - มีบทความในแนวหน้าฉบับวันเสาร์นี้ ที่ http://www.naewna.com/news.asp?ID=261485 โปรดอ่านและวิเคราะห์ด้วย
  4. อ่านโครงการ GMS แล้ว Comment ด้วยครับ มีหลายกลุ่มส่งมาแล้ว ผมอ่านแล้วได้ความรู้มาก การทูตภาคประชาชน.. กฟผ. ต้องทำ รุ่น 7 ต้องเก่งเรื่องต่างประเทศ
  5. การบ้านสุดท้าย คือ หา Brand ของตัวเอง ส่งด้วยครับ

ขอบคุณ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงประธานรุ่น 7 และลูกศิษย์ทุกท่าน

วันแรกที่เราทำ Workshop ว่าผู้นำที่ดีในอนาคตของ กฟผ. จะมีคุณลักษณะอย่างไร? ผมได้ไปอ่านหนังสือ 1 เล่ม เขาบอกว่า Peter Drucker เขียนไว้ว่า..

  • ผู้นำในอดีต คือ สั่งการว่าลูกน้องต้องทำอะไรบ้าง
  • ผู้นำในอนาคต - ถามคำถามลูกน้องว่าลองเสนอแนะว่า เราจะปรับตัว มียุทธศาสตร์ให้ทันกับเหตุการณ์อย่างไร? How? ไม่เอา เปลี่ยนเป็น Why? แทน น่าจะเหมาะกับผู้นำรุ่น 7 ถามลูกน้องให้ช่วยออกความเห็นด้วย

จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนอื่น พวกเรา กลุ่ม 3 ต้องขออภัยที่ส่งการบ้านช้าครับ

กลุ่ม 3 คัดเลือกผู้นำ 5 คนจาก TIME 100 ใน Time Magazine ที่มีคุณลักษณะทีเป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถช่วยพัฒนางาน กฟผ. ได้ดังนี้

1. Weal Ghonim ผู้ที่ทำให้ประชาชนชาวอียิปเข้าใจถึงพลังประชาชน

Weal Ghonim ชายหนุ่มผู้บริหาร Google และแกนนำในการก่อตั้ง สังคมออนไลน์ ชาวอียิป ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมามีแต่ความหวาดกลัวและสิ้นหวัง เขาคิดนอกกรอบ เขาใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกันและกระจายข่าวสารให้ทั่วถึง เพื่อให้กลุ่มของเขา เข้าใจถึงพลังประชาชนที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองในปัจจุบันจะให้ความสำคัญและรับฟังเสียงประชาชน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนจากหลักพันคนและเพิ่มเป็น 12 ล้านคน ในที่สุดประธานาธิบดี Hosni Mubaruk และคณะรัฐมนตรีลาออก สิ่งที่ Wael นำมาใช้คือ Social Network ซึ่งมีพลังอำนาจในการสื่อสาร กระจายข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็วและทั่วถึงทุกที่ ในสังคมยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยรุ่น วัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ ที่ใช้คอมพิวเตอร์จะรู้จักและใช้ Social Network ในการสื่อสาร

ดังนั้นหาก กฟผ. นำความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน การจัดหาพลังงานไฟฟ้า การใช้พลังงานอย่างถูกวิธี มาสื่อสารโดย กฟผ. ให้ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยพัฒนา เป็นการปลูกผังความคิดที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ให้รู้จักและรักพลังงาน ก็จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคตได้

2. Michelle Obama, อายุ 47 ปีสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐอเมริกา :นักปฏิวัติตัวจริง

เธอทำงานเพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วนและสุขภาพเด็กของอเมริกาให้ดีขึ้น เนื่องจากพบว่าเด็กอเมริกัน ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี จะมีอายุสั้นกว่าพ่อแม่ของพวกเขาเพราะโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เธอจึงกระตุ้นให้ลุกขึ้นและทำอะไรสักอย่าง เธอปลูกสวนไว้สอนที่ทำเนียบขาวและเตือนชาวอเมริกันที่เป็นเกษตรกรให้รู้จักว่าอะไรอยู่ในอาหารของพวกเขา เธอเกณฑ์พ่อครัวชั้นนำของประเทศที่จะทำงานกับโรงเรียนในท้องถิ่นและเริ่มต้นการทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เธอมีพันธมิตรมากกว่า 1,000 แห่ง เธอส่งเสริมให้นายกเทศมนตรีทั่วประเทศ นำเอาโปรแกรมป้องกันโรคอ้วนไปใช้ เธอยืนหยัดในความเชื่อของเธอว่า ถ้าเราทุกคนรู้จักกินอาหารที่ดีและออกกำลังกายแล้วเราก็จะสามารถต่อสู้กับโรคอ้วนได้

หาก กฟผ. นำความรู้ความเข้าใจ นำโปรแกรมป้องกันโรคอ้วนของเธอไปใช้ รู้จักกินอาหารที่ดีและออกกำลังกาย (If we all just eat better and move more, then we can fight obesity) และมีแรงบันดาลใจเช่น Michelle Obama ชาว กฟผ. คงสามารถลด เปอร์เซ็นต์จำนวนคน เป็นโรคอ้วน โรคไขมัน ได้มากกว่านี้

3. Dilma Rousseff, ประธานาธิบดีหญิง ของบราซิล อายุ 63 ปี

Rousseff Dilma เป็นคนมีความหนักแน่น ยึดมั่นในอุดมการณ์ มีจิตใจกล้าหาญที่จะโต้แย้งต่อการปกครองแบบเผด็จการ เธอต่อสูเพื่อสิทธิสตรี ความเท่าเทียมกันทางสังคมและประชาธิปไตย

ถ้าหญิงเก่งอย่างนี้มาช่วย กฟผ. เธอจะทำให้ ความเชื่อในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าที่สามารถจัดการให้สะอาดได้ นั้นถูกต้องตรงความเป็นจริง

4. Esther Duflo, นักเศรษฐศาสตร์จุลภาค อายุ 38 ปี

Esther Duflo หญิงเก่งที่ร่วมก่อตั้ง MIT Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab เธอได้รับรางวัล John Bates Clark Medal และกำลังรอรับรางวัลโนเบล ผลงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของเธอ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เพื่อแก้ปัญหาความยากจน เธอเสนอวิธีแก้ปัญหา การกู้เงินนอกระบบ ที่มีต้นทุนการบริหารจัดการและความเสี่ยงสูง ทำให้มี ดอกเบี้ยสูง เปลี่ยนเป็นการให้กู้เป็นกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มรับผิดชอบ คัดเลือกสมาชิกที่มีคุณภาพเอง ช่วยเหลือและควบคุมการทำงานกันเอง มิฉะนั้นจะถูกลงโทษร่วมกัน

ถ้า Esther Duflo มาช่วยจัดการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคของชุมชนรอบๆโรงไฟฟ้าและแก้ปัญหาเงินกู้นอกระบบในประเทศไทย จะสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาดีขึ้น และกฟผ.ก็จะสามารถพัฒนาการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ต่อไป

5. Barack Obama, ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา อายุ 49 ปี

มีวิสัยทัศน์เรื่องการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวดเร็วทันเหตุการณ์ มีจินตนาการในการทำงานและแก้ปัญหา มีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ มีความสามารถในการสื่อสารต่อสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นคนรุ่นใหม่ มีความคิดริเริ่มไม่ยึดติดกับการทำงานแบบเดิมๆ

ถ้า Barack Obama มานำให้ กฟผ. มีการเปลี่ยนแปลงเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการสื่อสารที่ดีเข้าใจง่ายทั่วถึง สามารถสร้างศรัทราและความเชื่อมั่นได้ ประเทศไทยต้องได้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประหยัด สะอาดและปลอดภัยได้แน่ๆ

ยกตัวอย่างผู้นำที่ไม่ได้อยู่ใน TIME 100 List 2คน

1. Jack Welch ผู้บริหาร บริษัท General Electric

มีวิสัยทัศน์เรื่องการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวดเร็วทันเหตุการณ์ มีการปรับปรุงงานตลอดเวลา มีความคิดริเริ่มและจินตนาการ มีความสามารถในการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ

ถ้า Jack Welch มาช่วยแนะนำการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ กฟผ. จะสร้างคุณค่าให้ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ของ กฟผ. และสร้างคุณค่าแก่สังคมไทยแน่นอน

2. AL Gore รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

AL Gore บรรยายรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนเป็นวงกว้างทั่วสหรัฐฯ ซึ่งต่อมามีการถ่ายทำเป็นสารคดีรางวัลออสการ์ เรื่องจริงช็อคโลก (An Inconvenient Truth) ว่าด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน องค์กร เซฟ อาวร์ เซลฟ์ส์ (Save our Selves) ภายใต้การนำของเขา เป็นผู้จัดคอนเสิร์ตการกุศล ไลฟ์เอิร์ธ (Live Earth) ขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 (07.07.07) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2550 สำหรับ "ความพยายามในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากมนุษย์ และวางรากฐานสำหรับมาตรการซึ่งจำเป็นสำหรับการบรรเทาสภาวการณ์ดังกล่าว

ถ้า AL Gore มาช่วยรณรงค์ให้คนไทยเข้าใจปัญหาโลกร้อน เข้าใจแนวคิดในการพิจารณาคัดเลือกชนิดของโรงไฟฟ้า การขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ความเอาจริงเอาจัง สู้ไม่ถอย ของ อัลกอร์ จะทำให้ความข้ดแย้งเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าลดน้อยลงได้

สมาชิกกลุ่ม 3

1. นายธานี จำเนียรกาล ช.อบฟ-บ.

2. นายวันชัย หงส์เชิดชัย ช.อกว.

3. นายชัยพร พิมมะรัตน์ ช.อชส-ผ.

4. นายสุทธิศักดิ์ หิรัญญะชาติธาดา ช.อคฟ-ป.

5. นายจักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์ วศ.11 ทนท. นบร.-พร. อค-พร.

จับคู่เป็น Buddy วิเคราะห์หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS and Developing Countries

1. ท่านคิดว่าหลักสูตรนี้มีอะไร? เป็นจุดอ่อน และอะไรเป็นประโยชน์

1.1 จุดอ่อน หลักสูตรนี้

- ระยะเวลาอบรมยาวเกินไป น่าจะทำให้ผู้ที่สมควรเข้ารับการอบรมบางท่านไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้ต้องส่งผู้แทน

- กิจกรรมเสริมที่ จะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ทำร่วม อาจเป็นกิจกรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออื่นๆทีจะทำให้ ผู้

เข้ารับการอบรมเป็นเพื่อนที่สนิทกันได้อย่างรวดเร็ว

- ควรจัดให้มีการแสดงความคิดเห็น เมื่อจบการอบรมแต่ละหัวข้อ

- น่าจะมีหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง Smart Grid

1.2 ประโยชน์ จากหลักสูตรนี้

- ได้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าอบรม จากประเทศในกลุ่ม GMS

2. ถ้า กฟผ.จะทำเรื่องการทูตประประชาชน (People to people Diplomacy) ลักษณะเช่นนี้ ท่านคิดว่า กฟผ. ควรทำอย่างไร?

2.1 ต้องกำหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมายให้ชัดเจน

2.2 ต้องกำหนดวิธีการคัดเลือก ตัวแทนกลุ่มประชาชนที่จะมาเป็นทูต ให้ชัดเจน

2.3 จัดกิจกรรม แข่งขัน ฝึกอบรม ดูงานไปตามเขื่อนและโรงไฟฟ้าต่างๆ

คู่ Buddy ธานี&วันชัย

(นายธานี จำเนียรกาล ช.อบฟ-บ. และ นายวันชัย หงส์เชิดชัย ช.อกว.)

เรียน อ.จีระ

กลุ่ม 4 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 6 ท่าน คือ

คุณยุวดี ธงสุวรรณ คุณสุนทร พันธุ์เมฆ คุณเธียรศักดิ์ สุจิตภัทร คุณศุภชัย ปิตะสุวรรณ คุณรังสิมา พักเกาะ และคุณจิระศักดิ์ มัณฑางกูร

ขอส่งการบ้านคัดเลือกผู้นำ 5 คนจาก 100 คนใน Time Magazine ที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆอันจะนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนาหรือการทำงานของ กฟผ. ได้ดังนี้

1. Mark Zuckerberg ผู้เปลี่ยนโลกด้วยสังคมออนไลน์

ใครจะคาดคิดว่า เด็กหนุ่ม วัย 26 ปี ผู้นี้ จะเป็นผู้สร้างสื่อสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook.com ให้เป็นสังคมออนไลน์ได้ใหญ่ที่สุดในโลกได้ และ Facebook ก็ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ หรือ แม้กระทั่งการหาคู่ ฯลฯ กันเท่านั้น แต่จากข้อความที่ปรากฏในนิตยสาร Time Magazine ฉบับนี้ ทำให้ทราบว่า สื่อสังคมออนไลน์นี้ ยังสามารถช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ได้ด้วย

สิ่งที่ได้เรียนรู้และอาจนำมาใช้กับการทำงานของ กฟผ. คือ โลกปัจจุบัน เป็นโลกไร้พรมแดน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หรือ การสร้างเครือข่าย แบบเดิมๆ ไม่เพียงพอแล้ว หากไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ เห็นทีจะตามโลกไม่ทันและอาจพลาดโอกาสที่ดีๆอีกนานับประการ เพราะแม้แต่ กลุ่ม NGO เขาก็มีการใช้เครือข่ายประเภทนี้ในการติดต่อส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสามารถกระจายข่าวได้รวดเร็วและกว้างขวางในเวลาชั่วพริบตาเดียว

2. Lisa Jackson ผู้ที่ต่อสู้มากว่า 25 ปี เพื่อต้องการให้โลกใบนี้ดีขึ้น

เธอผู้นี้เป็นผู้รณรงค์และต่อสู้เพื่อให้โลกของเรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ตามเป้าหมายของเธอที่ว่า “Clean Air and Clean Water, Healthy Communities and a prosperous, Clean-Energy Economy” แม้แต่ หน่วยงาน DOE ของสหรัฐ ยังกล่าวชื่นชมเธอ และบอกว่า ปัญหาวิกฤตของพลังงาน ต้องการเธอผู้นี้มาเป็นผู้จัดการ

สิ่งที่ กฟผ. ต้องเรียนรู้จากเธอผู้นี้ คือ ปัญหาการจัดการเรื่องพลังงานที่จะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งพลังงานสีเขียว ไม่ใช่จะดำเนินการได้เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ขอเพียงมีความมุ่งมั่นและจริงใจที่จะทำ หากมีโอกาส น่าจะได้เชิญเธอมาบรรยาย หรือ ดำเนินการที่คล้ายกับหน่วยงาน DOE ของสหรัฐ คือ ดึงเอา นักวิชาการกลุ่ม NGO ที่รณรงค์ในเรื่องนี้ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาของ กฟผ. ซะเลย การทำงานจึงจะเดินหน้าไปได้ด้วยดี

3. David Cameron นายกรัฐมนตรีหนุ่มไฟแรงของอังกฤษ

เป็นความชื่นชมของดาราหนุ่มใหญ่อดีตผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คุณอาร์โนลด์ฯ ที่มีต่อ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษผู้นี้ว่า เป็นผู้นำประเทศที่มีความคิดความอ่านเป็นเยี่ยม และไม่ดีแต่พูด แต่จะลงมือกระทำตามที่ตัวเองตั้งใจแม้ว่าอาจได้รับผลกระทบจากทั้งสองด้านไม่ว่าจากฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวาก็ตาม โดยยึดถือคำแนะนำของประธานาธิบดีไอเซ่นฮาว ที่บอกว่า “Stay in the middle of the road, avoiding the guttersoccupied by the extreme right and left”

กฟผ. ก็ควรยึดถือคำแนะนำนี้เช่นกัน ผู้นำองค์กร ควรเป็นกลาง และ ใช้การกระทำ มากว่า การพูด ขอให้มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้าน

4. Aruna Roy หญิงแกร่ง ผู้เปลี่ยนระบบเพื่อเอื้อคนจนของอินเดีย

หญิงชาวอินเดียวัย 64 ปี ผู้นี้ นับว่าเป็นผู้นำของการเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกิดกับสังคมชาวอินเดีย ที่ซึ่งคนจนไม่เคยได้มีปากมีเสียงเรียกร้องหาความยุติธรรม เธอเป็นผู้ผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เรียกว่า “Right to Information (RTI) Act” ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2005 เธออุทิศกายทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด

บทเรียนจากผู้หญิงคนนี้ ต่อไป กฟผ. จะดำเนินการอะไร ก็ต้องมีความโปร่งใส ต้องเปิดเผยข้อมูลที่สามารถให้ประชาชนตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้นำชุมชน ผู้นำของการต่อต้าน ให้ได้ทราบ เพื่อให้เกิดการยอมรับ

5. Benjamin Netanyahu นายกรัฐมนตรี 2 สมัยของอิสราเอล ผู้บริหารประเทศบนความขัดแย้ง

ผู้นำอิสราเอล ผู้ซึ่งต้องบริหารประเทศภายใต้ภาวะแรงกดดันจากรอบด้าน แม้ว่าจะทำให้คนในประเทศรู้สึกอุ่นใจและปลอดภัย แต่นั่นกลับทำให้ประเทศยิ่งตกอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยว และถูกมองว่าเป็นอุปสรรคของการสร้างความสันติในตะวันออกกลาง แม้แต่สหรัฐ ประเทศที่เป็นมิตรก็สร้างความกดดัน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่างอิหร่าน ก็จ้องจะทำลายล้าง

สภาวะของ การบริหารจัดการองค์กร กฟผ. ในอนาคต คนที่เป็นผู้นำองค์กร ก็คงต้องบริหารภายใต้ภาวะแรงกดดันรอบข้างเช่นเดียวกับประเทศอิสราเอล ด้วยภาระหน้าที่ ที่ต้องประคับประคององค์กรให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง คงต้องศึกษาแนวทางการบริหารของนายกฯ ผู้นี้ ผู้ซึ่งแม้แต่คนใกล้ชิดยังบอกว่า “I find him hard to read”

ผู้นำที่ไม่ได้อยู่ใน TIME 100 2 คน ได้แก่

1. ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เป็นบุคคลที่รักการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา โดยมีความคิดที่ว่าคนเราจะต้องเริ่มด้วยการที่มีใจเปิดกว้างพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกต การลงมือทำงาน การเข้าห้องอบรม การทำวิจัยค้นคว้า ที่สำคัญเมื่อเรียนรู้แล้ว ต้องรู้จักนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ นำมาบูรณาการให้เกิดผลงานที่ดีขึ้น แล้วแลกเปลี่ยนให้กับทีมงานคนอื่นๆ การมีความรู้ทำให้คนเราพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เคยกล่าวว่า “ความสำเร็จเกิดจากพลังของคน เพราะคนคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ”

ผู้นำของ กฟผ. ควรมีลักษณะเช่นนี้บ้าง ต้องเปิดกว้าง ยอมรับสิ่งใหม่ ต้องให้ความสำคัญต่อคนในองค์กร

2. คุณณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ผู้นำแห่งความคิดสร้างสรรค์

องค์กรต้องการผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์เช่นเขาผู้นี้

ความคิดสร้างสรรค์มาจาก 3 ส่วน คือ 1. Expertise ผู้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องนั้น 2. การคิดอย่างเป็นระบบ Critical Thinking มีเหตุมีผล และ 3. มีแรงจูงใจ Motivation

กฟผ. ควรต้อง คิดใหม่ ทำใหม่ กับการเข้าหาชุมชน การให้ชุมชนมีส่วนร่วม การทำให้ชุมชนยอมรับ หากผู้นำ ยังยึดติดอยู่กับกรอบแนวทางเดิมๆ เห็นทีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆจะเกิดขึ้นได้ยากแน่นอน

เรียน อ.จีระ

ผมได้ส่งเมล์เตือนเพื่อนๆทุกคน เรื่องการบ้านทั้งหมดไปแล้วครับ

ส่วนตัวผมเอง ก็จะทะยอยทำส่งเช่นกันครับ

จิระศักดิ์

คู่ Buddy - กลุ่มนี้มี 3 คน เนื่องจาก มีผู้เข้าอบรม 29 ท่าน

1. คุณรังสิมา พักเกาะ 2. คุณสุนทร พันธุ์เมฆ 3. คุณจิระศักดิ์ มัณฑางกูร

การบ้านเรื่อง การสัมมนา GMS - วิเคราะห์หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS and Developing Countries

 

ก. ท่านคิดว่าหลักสูตรนี้มีอะไรเป็นจุดอ่อน และอะไรเป็นประโยชน์

 

1. ระยะเวลานานเกินไป ทำให้เนื้อหาของหลักสูตรดูหลวมๆ และไม่ Intensive ตามหัวข้อกิจกรรมเท่าที่ควร น่าจะให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา มีส่วนร่วมในการทำ workshop มากกว่ารับฟังจากภาคการศึกษาที่เหมือนจะมากไป (สัดส่วน workshop ในโปรแกรมมีเพียง 10% เท่านั้น) และหากเป็นไปได้ น่าจะให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกๆวัน หลังจากไปรับฟังรับชมและได้ข้อมูลต่างๆมาทั้งวัน หากมาสรุปในวันสุดท้ายเพียงครึ่งวัน อาจไม่ครบถ้วน

 

2. ช่วงแรกที่ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาที่ กฟภ. มากไป หากเป็นไปได้ น่าจะไปดูงานที่หมู่บ้านแม่กำปองสักครึ่งวัน

 

3. น่าจะพาไปดูชายทะเลบางขุนเทียน ที่ซึ่งมีน้ำทะเลท่วมลึกเข้ามาหลายร้อยเมตร รวมทั้งการกัดเซาะตลิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่งที่อยู่ใกล้ๆแค่นี้

 

4. ข้อสังเกต

    4.1 การจัดสัมมนาในครั้งนี้ ตอบโจทย์ การสำรวจจากการจัดครั้งที่ 1 มากน้อยเพียงใด

    4.2 หลักสูตร สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 5 ข้อ ได้มากน้อยแค่ไหน เช่น เรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของแต่ละประเทศ หรือการส่งเสริมการทูตภาคประชาชน

    4.3 ผู้เข้าร่วมสัมมนา ใช่บุคคลกลุ่มเดิมที่เคยเข้าร่วมจากครั้งที่ 1 หรือไม่ และหากจัดครั้งต่อไป เขาเหล่านี้ ควรต้อง Attend ต่อหรือไม่ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง

    4.4 ประโยชน์ที่ได้ คงได้ความสัมพันธ์อันดีของผู้ที่รับผิดชอบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เดินทางมาร่วมสัมมนา แต่เป็นแค่คนกลุ่มน้อยที่ได้เห็นและเรียนรู้ และบางเรื่องอาจไม่มีหรือไม่เกิดขึ้นกับประเทศนั้นๆ

 

ข. ถ้า กฟผ.จะทำเรื่องการฑูตภาคประชาชน (People to people Diplomacy) ลักษณะเช่นนี้ ท่านคิดว่ากฟผ.ควรทำอย่างไร

 

กฟผ. มีหน่วยงานที่มีปฏิสัมพันธ์กับภาคประชาชนอยู่หลายหน่วยงาน เช่น ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายกิจการสังคม ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายสื่อสารองค์การ ฯลฯ แต่ยังไม่มีการบูรณาการให้เป็นหนึ่งเดียวที่จะให้เข้าถึงในจิตใจของประชาชนได้ ไม่ต้องไปมองถึงนอกประเทศ เอาแค่เข้าถึงประชาชนในประเทศ ก็เพียงพอแล้ว

 

การจะทำการฑูตภาคประชาชน คน กฟผ. ต้องทำตัวเป็นประชาชน ทำตัวเป็นคนในพื้นที่นั้นๆ พื้นที่ของ กฟผ. ในพื้นที่ใด ต้องทำให้เหมือนว่าเป็นของประชาชนในพื้นที่นั้น ที่ต้องรักและหวงแหน คน กฟผ. ต้องเข้าถึงชุมชน ทั้ง บ้านเรือนชุมชน ทั้งวัด ทั้งโรงเรียน ไม่ว่ามีงานอะไรภายในก็เชิญคนในชุมชนโดยรอบมาร่วม อย่างน้อย ก็เชิญผู้นำชุมชน คนในชุมชนโดยรอบมีงานอะไร คน กฟผ. ก็ออกไปร่วม ไม่เพียงผู้บริหาร หรือ หน่วยงานประชาสัมพันธ์ในนั้น แต่ ควรเป็นใครก็ได้ในหน่วยงาน กฟผ. ณ ที่นั้นออกไปร่วมงาน

 

ฑูตภาคประชาชน ของ กฟผ. ควรสร้างจาก คนในท้องถิ่น ไม่เพียงรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่ควรมีทุกจังหวัดทั่วประเทศ เปิดรับสมัครไปเลย 7000 ตำบล 7000 คน รวมทั้งขอความร่วมมือหรือเชิญ NGO มาร่วมเป็นทูตภาคประชาชนของ กฟผ. ไปเลย เขาเหล่านั้น อาจไม่จำเป็นที่จะต้องคล้อยตามหรือเอาใจ กฟผ. ยังคงมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ขอเพียงมารับรู้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงของ กฟผ. แล้วนำไปถ่ายทอดต่อ หรือ หากต้องการทราบข้อมูลใดๆ กฟผ. ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ข้อมูลที่เขาต้องการ เหมือน Right to information Act ของอินเดีย คนเหล่านี้ สามารถนำปัญหา นำข้อสงสัยจากชุมชนที่เขาอยู่มาขอหารือ กับ กฟผ. ได้ทุกเมื่อ

My Personal Brand (in the Past)…เจ้าพ่อระบบคอมพิวเตอร์ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า

 

นั่นคือ Brand ของผมในอดีต เพราะ ภาพตัวตนของผมที่ผู้อื่นเห็นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือ วิศวกรไฟฟ้า ผู้มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ เริ่มจาก เป็นวิศวกรกะในศูนย์ควบคุมฯ อยู่ในฐานะผู้ใช้ระบบ จน กฟผ. ต้องการเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์ฯ เป็นระบบของอเมริกา จึงคัดเลือกวิศวกรไปร่วมพัฒนาและตรวจรับระบบที่โน่น ผมได้รับคัดเลือก และ ต้องไปนั่งทำงานพัฒนาระบบร่วมกับบริษัท Control Data ที่อเมริกา ตั้งแต่ปี 2532 เป็นเวลา 2 ปีครึ่ง และเมื่อกลับมา ก็ได้ทำงานด้านนี้ในฐานะผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี

 

ด้วยความที่ทำงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้าน Special Skill  เช่นนี้ ทำให้ไม่สามารถโยกย้ายไปทำงานในด้านอื่นๆได้เลย จนต้องดิ้นรนขวนขวายที่จะ Reinventing ตัวเอง โดยต้องการนำความรู้และประสบการณ์ที่ตัวเองมีไปใช้ในงานใหม่ เป้าหมายที่มองไว้คือ งาน Demand Side Management หรือ DSM (Step 1 – Define Your Destination) โดยการนำเสนอผู้บริหารให้ทราบถึงแนวทางใหม่ๆของการทำ DSM ที่ต้องการเข้ามาดำเนินการ จากเดิมอยู่ในรูปแบบ Energy Efficiency ผ่านฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 มาสู่การทำ Peak Shifting หรือ Load Management หรือ การดำเนินการเกี่ยวกับ Demand Response (Step 2 – Levrage Your Points of Difference)  ทั้งนี้ การนำเสนอดังกล่าว ทำโดยการบอก วิสัยทัศน์ของตัวเอง เกี่ยวกับการนำพางาน DSM ให้ก้าวหน้า สามารถเสริมภารกิจและลดความเสี่ยงขององค์กร ตลอดจน เขียนแนวทางการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวอีก 4-5 ประการ (Step 3 – Develop a Narative)

 

ในที่สุดผู้บริหารก็เข้าใจและเห็นด้วยกับแนวทางและให้มาทำงาน ณ จุดนี้ได้ ...เมื่อมาทำงานใหม่ ก็ต้องเร่งหาความรู้ และ ดำเนินการให้ได้ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ การมาอยู่กับสายงานใหม่ หน่วยงานใหม่ ก็ต้องปรับตัว ต้องสร้างตัวเองให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ จึงได้เขียนบทความหลากหลายฉบับ การเดินสายพบปะผู้คนที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาฯ สกพ.  ก็ได้ดำเนินการมาโดยตลอด (Step 4 – Reintroduce Yourself)  จากนี้ไป ก็ต้องดำเนินการงานที่นำเสนอไว้เกี่ยวกับการทำ Demand Response ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานแล้ว และงานกำลังเดินหน้า ส่วนการเขียนบทความเกี่ยวกับงาน DSM ก็ทำให้เกิดการขวนขวายหาความรู้ในด้านนี้เพิ่มเติมเพื่อนำมาเขียนบทความ(ออกทุกสัปดาห์) ทำให้เรียนรู้งานได้รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา (Step 5 – Prove Your Worth)

 

ในที่สุดแล้ว Brand ของตัวเองในอนาคตที่ตั้งไว้ก็คือ

My Personal Brand (in the Future)…เจ้าพ่องาน Demand Side Management

 

ถึงประธานรุ่น 7 และลูกศิษย์ทุกท่าน

โปรดอ่านบทความเกี่ยวกับการทูตภาคประชาชนที่ลิงค์ต่อไปนี้

http://www.naewna.com/news.asp?ID=147120

http://www.naewna.com/news.asp?ID=197405

http://www.naewna.com/news.asp?ID=63096

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ถึงประธานรุ่น 7 และทุก ๆ ท่าน

ผมขอความคิดเห็นหัวข้อที่พวกเราสนใจจะทำ Workshop ในวันสุดท้ายของหลักสูตร จากหัวข้อต่อไปนี้ ท่านคิดว่าข้อใดเหมาะสม หรือว่าจะเสนอแนะหัวข้ออื่น ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการทำงานในอนาคตของ กฟผ.

  1. Regulator – กระทรวงพลังงาน – กฟผ. ต้องทำงานร่วมกันอย่างไร? อธิบายจุดอ่อน จุดแข็ง และนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้
  2. ถึงจะชะลอนิวเคลียร์ในช่วง 3 ปีนี้

2.1) ช่วง 3 ปีควรทำอะไร?

2.2) และหลังจาก 3 ปีควรจะทำอะไร?

2.3) ปัจจัยล้มเหลวและสำเร็จ คืออะไร?

3. ถ้าจะเอาชนะ NGOs หรือชุมชนโดยเฉพาะเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องมียุทธวิธีอะไร?

4. ถ้าจะมีโครงการสร้างการทูตภาคประชาชนในลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย กฟผ. ควรจะเน้นวิธีการอย่างไร?

5. ถ้าจะสร้างให้ กฟผ. เป็นเลิศ ในเรื่อง “คน” คล้าย ๆ กับปูนซิเมนต์ ควรมีนโยบายอย่างไร สร้าง Brand เรื่องคนอย่างไรที่ปฏิบัติได้และเป็นรูปธรรม

ควรจะได้มีการขอคำปรึกษาจากรองผู้ว่าฯ วิรัชด้วยจะเป็นประโยชน์มากครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

         

 

ถึงประธานรุ่น 7 และสมาชิก

          การบ้านส่งมามากขึ้นแล้ว..ดีมาก การวิเคราะห์เรื่องผู้นำทำได้ดี

          ดีใจที่หลายคนมีความคิดกว้างไกล และสร้างสรรค์ที่ชอบ อ.ณรงค์ศักดิ์ (รุ่น 7 น่าจะเป็นรุ่น "Creativity"

          เมื่อเช้านี้ ท่านรองฯ วิรัชได้ออกรายการวิทยุ Human Talk ที่คลื่นความคิด 96.5 ไปแล้วสำหรับท่านที่สนใจสามารถฟังย้อนหลังได้

           สำหรับรุ่น 7 หากพร้อมก็ออกได้เสมอ

           - รุ่น 7 ต้องเป็นรุ่นที่สร้าง Trust ให้แก่ประชาชน.. การสร้างศรัทธาหรือ Trust อย่าพูดเฉย ๆ - บางครั้งทำร่วมกับอ.จีระก็ได้ เพราะอาจารย์มรลูกค้าใหม่ ๆ เสมอ

           - ทำ Facebook ให้ประชาชนไว้ใจก็ดี หรือมี Blog ให้ชาวบ้านรับรู้เรื่อง Demand side บ้างก็ดี

           - ทำให้ กฟผ. เป็น Social Entreprise ก็ดี

           - Act now!!

จีระ หงส์ลดารมภ์    

เรียน อ. จีระ  และ สวัสดีเพื่อนๆรุ่น 7 ทุกๆท่าน..

 

ได้เข้าไปอ่านเรื่องการทูตภาคประชาชนตามลิงค์ของอาจารย์แล้วครับ...

 

ส่วนเรื่องการทำ workshop ผมเสนอว่า เรื่อง NGO น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ  หากสามารถมีกลยุทธ์ที่ทำให้อยู่ร่วมกันกับ NGO ได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร หรือ มีความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ต่อต้านแบบไร้เหตุผล ไม่ดื้อดึงอย่างขาดสติ ไม่ต้องการเอาชนะคะคานกัน หากทำให้เกิดความร่วมมือกันได้ อนาคตสดใสแน่นอนครับ....

 

เรื่อง Facebook ของงาน DSM น่าสนใจครับ ตอนนี้ ผมมี account บน fb 4 accounts แล้วครับ มีเรื่องงานห้องเรียนสีเขียวที่ผมเป็นคนดูแลด้วย เอาไว้จะนำเสนอผู้บริหาร เพื่อสร้าง fb งาน DSM อีกสักงาน

 

รุ่น 7  มีอายุอานามอยู่ระหว่างปี 2499-2506 หากดูตาม FWD mail ที่เคยได้รับกัน ที่เขาแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 4-5 แบบ รุ่นนี้ ก็จะตกอยู่ในกลุ่ม Baby Boom ตามนี้ครับ

*********** 

กลุ่ม Baby Boom: คนที่เกิดช่วงปี 2499 – 2507

หลังสงครามยุติ ประเทศเข้าสู่ความสงบ การรณรงค์คุมกำเนิดยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดพลเมืองตัวน้อย ๆ ขึ้นมากมาย Baby Boom เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และแข่งขันกับคนวัยเดียวกันเพื่อให้ได้งาน ยิ่งเมื่อประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ยุคความเป็นอุตสาหกรรม Baby Boom ก็ยิ่งจำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้น เต็มเหยียดวันละ 8 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์   ลูกจ้าง Baby Boom มักเคยชินต่อการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อให้นายจ้างยอมรับในศักยภาพ การจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใหญ่นั้นต้องใช้เวลาและแรงผลักดันอย่างสูง

กลุ่ม Generation–X: คนที่เกิดช่วงปี 2508 – 2523

Generation–X ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้สำเร็จ ของเล่นสุดฮิตของเด็กรุ่นจึงไม่ใช่ม้าโยก หรือตุ๊กตาหมีอีกต่อไป แต่เป็นวิดีโอเกม เกมกด และ Walkman พวกเขาเติบโตมาในยุครอยต่อของ Analog กับ Digital อยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ ทว่าที่สังคมเปลี่ยนแปลงในทางวัตถุนี้ กลับทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน  ความภักดีต่อองค์กรของคนรุ่นนี้จึงคลายลงมาก นำมาสู่การลาออก และเปลี่ยนงานเป็นว่าเล่น ไม่แปลกที่ชาว Baby Boom ผู้ไม่เคยเกี่ยงที่จะทำโอทีจนดึกดื่นจะอึ้งที่ชาว Generation–X ปฏิเสธการทำงานล่วงเวลาหรือลาออกไปหางานใหม่หน้าตาเฉยหากไม่พอใจ ทั้งนี้เพราะ Generation–X เชื่อว่างานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต

*********** 

 

ดังนั้น EADP รุ่น 7 นี้ ถึงจะเป็นคนรุ่น Baby Boom แต่ก็ยังมีหัวคิดทันสมัย มีวิสัยทัศน์ รักการพัฒนา กล้าเปลี่ยนแปลง แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จึงน่าจะเรียกชื่อรุ่นว่า "Change & Creativity Baby Boom" หรือ เรียกย่อๆว่า "CC Boom" เพื่อนๆว่าไงครับ? หรือจะใช้ชื่อ "Creativity" ที่อาจารย์ตั้งให้ก็ได้ครับ

 

ปล. วันที่ 18-19 พค. ผมไปสัมมนาโครงการห้องเรียนสีเขียวกับผู้บริหารและครูที่ดูแลห้องเรียนสีเขียวทั้ง 14 จว. ภาคใต้ที่เขื่อนเชี่ยวหลานครับ คงได้นำแนวคิดของ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ไปถ่ายทอดต่อให้ผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆได้เก็บเอาไปคิดและต่อยอด หากมีอะไรก็โทรเข้ามือถือได้เลยครับ มือถือผมเปิด 24 ชม. ครับ...

ยุวดี ธงสุวรรณ และ วรพจน์ อินทร์ทอง

ความเห็นต่อ Energy and Environment Projects for GMS and Developing Countries

1. โครงการมีประดยชน์ต่อการพัฒนาทัศนคติ และวิสัยทัศน์ของบุคลากรของกลุ่มประเทศ

2. เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ขอเสนอให้มีการปรับปรุงดังนี้

2.1) ปรับระยะเวลาการสัมนาให้สั้นลง

2.2) ควรเริ่มต้นที่การบรรยายในห้องประชุม เพื่อให้เห็นภาพรวมของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

แล้วจึงค่อยเสริมด้วยโปรแกรมทัศนศึกษา

3. เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยมากขึ้น ควรเสริมโปรแกรมโปรโมทการท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วย

สำหรับการทูตภาคประชาชนของ กฟผ. เป็นสิ่งที่ กฟผ. ได้ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ เช่น การที่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามเทศกาล และกิจกรรมสาธารณประโชน์

ของชุมชน โดยไม่ได้ไปในนามของ กฟผ. หรือ การที่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เป็นอาสาสมัคร อสง เข้าไปดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน พฤติกรรมเหล่านี้ ถือเป็นการทูตภาคประชาชนของ กฟผ. ซึ่งมีส่วนทำให้ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีกับ กฟผ. และเป็นการ

สนับสนุนการดำเนินงานของ กฟผ. ในทางอ้อมด้วย

ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย "บทบาท regulator และ energy tax"

- ได้ทราบถึงเหตุผลและวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

- ได้ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

- ได้ทราบถึงชนิดของใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าซึ่ง กฟผ. ในฐานะผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าต้องได้รับจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งได้แก่ใบอนุญาต    ผลิตไฟฟ้า, ระบบส่งไฟฟ้า, จำหน่ายไฟฟ้า และควบคุมระบบไฟฟ้าสำหรับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้านั้นเป็นใบอนุญาตที่ออกให้แก่ กฟน., กฟภ., SPP

- กองทุนพัฒนาไฟฟ้าซึ่งเกิดจากการพัฒนา Energy tax สู่กองทุนพัฒนาไฟฟ้า        ในปัจจุบัน โดยผู้ผลิตไฟฟ้า เช่น กฟผ. ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนด     ไว้ใน พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย "ทิศทางเศรษฐกิจกับการปรับตัวของ กฟผ."

- ทิศทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ ภาคอุตสาหกรรมจะมีการเจริญเติบโตไม่มากเหมือนในอดีต-อีกแล้ว ส่วนภาคที่จะมีการเติบโตได้โดดเด่นคือภาคการเกษตรและภาคการบริการ     ดังนั้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนจะมีเปอร์เซนต์การเติบโตมากกว่า               ภาคอุตสาหกรรม

- หากประเทศไทยต้องการรักษาอัตราการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจให้สูงเหมือนในอดีต จำเป็นต้องเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็น Trading Nation ให้ได้

- เนื่องจาก Demand ไฟฟ้าในครัวเรือนจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  กฟผ. จึงควรทำการศึกษาแยกการใช้ไฟฟ้า/การเติบโต เป็นราย sector (โรงงาน, ธุรกิจ, ครัวเรือน)

สิ่งที่ได้รับจาก Panel Discussion "ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. "

- การผลิตพลังงานไฟฟ้ามากว่า 70% ใช้เชื้อเพลิง Fossil ซึ่งนับวันจะหมดไป

- ประเทศต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี ตามแผน PDP 2010 (พ.ศ. 2553) คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอีก 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2573) เท่ากับ 65,300 MW หรือ      เพิ่มขึ้น 40,000 MW ซึ่งในจำนวนนี้ กฟผ. ต้องเป็นผู้จัดหา 50% หรือ 20,00 MW     เท่ากับ กฟผ. ต้องสร้างโรงไฟฟ้าปีละ 1,000 MW

- ปัญหาคือภาคประชาชน (NGO) ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า

-แนวทางแก้ปัญหาการต่อต้าน คือ กฟผ. ต้องเข้าถึงประชาชน ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและเร่งบริหารความเชื่อถือให้ประชาชนเชื่อข้อมูล กฟผ. และเชื่อว่า กฟผ. เป็นผู้จัดหาพลังงานไฟฟ้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เรียน ท่านประธานรุ่น 7 และสมาชิก

ผมชอบข้อเขียนของคุณจิระศักดิ์ เรื่อง Personal Brand (เพื่อน ๆ ควรอ่าน และสำรวจตัวเองด้วยครับ) ซึ่งคล้าย ๆ กับ Reinvent ตัวเราตลอดเวลา

รุ่น 7 แต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน Personal Brand แต่ละคนทำได้ แต่บางคนอยู่ในกรอบมากไปยังค้นหาตัวเองไม่พอ เพราะที่ผ่านมาวัฒนธรรมองค์กร Strong ในด้านวิศวะฯ มากไป

การเรียนกว่า 70 ชั่วโมง เป็นการ Open Mind ใส่แว่นตาใหม่ ปรับ Brain ซ้ายให้ดี แต่เพิ่ม Brain ขวา ให้ Balance กันนี่แหละเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้นำ ใครทำได้อนาคตของ กฟผ. อยู่ในมือคุณแน่นอน

จีระ หงส์ลดารมภ์

ศุภชัย ปิตะสุวรรณและลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

หลักสูตร Energy and Environment Projects for GMS and Developing countries

จุดอ่อน

1. ควรจะมีหัวข้อการ Discussion เรื่องนโยบายของแต่ละประเทศที่กระทบต่อ Energy and Environment ของประเทศอื่น เช่น ลาวมีนโยบายเป็น Battery of ASEAN เวียดนามสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จีนสร้างเขื่อนขวางแม่น้ำโขงเพื่อผลิตไฟฟ้า

2. ควร Discuss กรณีศึกษาที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนและเกี่ยวเนื่องกระทบกับ GMS โดยตรงเช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนไชยะบุรีที่ลาว

3. การทูตภาคประชาชนระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS คิดว่าไม่ได้ผลเท่าไร เนื่องจากระบบการปกครองของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันโดยเฉพาะประเทศที่มีระบบ           การปกครองแบบสังคมนิยม เช่น จีน ลาว เวียตนาม ซึ่งนโยบายหลักกำหนดมาจาก     ส่วนกลาง

ประโยชน์

1. การเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน

2. การศึกษา Case Study โครงการที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

3. กรณีศึกษาการบริหารความเสี่ยงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

4. เป็นตัวแทนภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบโครงการในเรื่องผลกระทบต่อพลังงานสิ่งแวดล้อม

5. ได้สร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าอบรมจากประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม GMS

ถ้า กฟผ. จะทำเรื่องการทูตประชาชน (People to people Diplomacy) ลักษณะเช่นนี้ ท่านคิดว่า กฟผ. ควรทำอย่างไร

กฟผ. อาจกำหนดนโยบายให้หน่วยงานด้าน CSR เชิญผู้แทนประชาชนของกลุ่ม GMS ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ที่ขายไฟฟ้าให้ กฟผ. มาดูงานในประเทศไทย

จาก ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรือง กลุ่ม 5

การบ้าน 12 พค.54

Regulator&Energy Tax

ผมดูว่าการตั้ง Reg. ไทยเหมือนนำรูปแบบที่อื่นมาใช้(copy)ทำให้มีปัญหาที่ไม่ได้คาดหมาย เมื่องจากใช้รวมทั้งหมดไม่ใช่ไฟฟ้าอย่างเดียว(ปตท) ดังนั้นการดำเนินงานและการควบคุมต้องแก้ปัญหาและใช้เวลาในการแก้ บุคลากรยังไม่มีความเชี่ยวชาญพอ คงใช้เวลาสักระยะ.

ภาษี เก็บได้แต่จะเก็บอย่างไรให้ดีที่สุดจะเก็บผู้ผลิต ?% ผู้ใช้ ?% เก็บผู้ผลิตมากค่าไฟจะสูงขึ้น

ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของ กฟผ.

ชอบทุกเรื่องที่พูด น่าจะขยายไปให้ผู้คนส่วยใหญ่ได้ทราบจะทำให้ความคิดและการเชื่อของคนมีข้อมูลมากจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องขึ้น(Social Network)

ในส่วนของ กฟผ. ทำอย่างไรให้ผู้ต่อต้านรู้ว่าที่เราทำและพูดจริง งานก่อสร้างโดยส่วนใหญ่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในส่วนของ กฟผ.นั้นข้อดีประชาชน ไม่ได้รับโดยตรงเหมือน ถนน ไฟฟ้าภูมิภาค. หรือประปา.

ทิศทางพลังงาน กับการทำงานของ กฟผ.

กฟผ. ควรโต้ NGO. ในส่วนที่ กฟผ. ทำครบและถูกต้อง NGO.ก็เป็นมนุษย์เหมือนเราทำถูกและผิดได้เหมือนเรา.

ในส่วนของแม่เมาะ กฟผ.ควรที่จะนำสิ่งที่ดีๆชี้ให้สังคมได้รับทราบอย่างทั่วถึงผ่าสื่อที่ไท่มีใครหยุดได้(TV) การทุ่มเงินเป็น 1000 ล้านแก้ปัญหาแม่เมาะนั้นประชาชนไม่ได้ประโยชน์โดยตรงและไม่ได้รับทราบ ถ้านำเงิน 100 ล้านไปให้หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบแก้ปัญหาทุกคนในหมูบ้านรับรู้และได้ประโยชน์โดยตรง ไม่ว่า NGO.จะกล่าวหา กฟผ.อย่างไรถ้าไม่จริงพวกเขาทุกคนจะแก้แทนกฟผ.

ความต้องการพลังงานเพิ่มคือการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม แต่เชื้อเพลิงจะเป็นแบบไหนนั้นเป็นอีกประเดน. ในอนาคต กฟผ.ควนตั้งเป้าเลยว่าปีไหนจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นที่ไหนและเมื่อไร,โรงไฟฟ้าพลังนำขึ้นที่ไหนและเมื่อไร, หรือโรงไฟฟ้าพลังนิวเครียขึ้นที่ไหนและเมื่อไร, เพราะทุกพลังงานที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวกำหนดค่าไฟฟ้าในอนาคต ถ้าตัวไหนเกิดไม่ได้ควรเป็นปัญหาร่วมระหว่างรัฐบาลกับกฟผ.และการแก้ปัญหาจะเป็นตัวชี้ทิศทางของประเทศ

ประมาณ

ความรู้ที่ได้รับจาก ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

1. จิตวิทยาการบริหาร คือ การเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้ใต้บังคับบัญชา

2. รูปแบบของผู้นำกับการบริหาร 4 สไตล์

2.1 การบอกงาน (Tell)

2.2 การขายงาน (Sell)

2.3 การร่วมงาน (Consult)

2.4 การมอบงาน (Delegate)

3. การมอบหมายงานตามความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชา

3.1 ความต้องการขั้นพื้นฐาน ใช้ Tell Style

3.2 ความต้องการความมั่นคง ใช้ Tell Style

3.3 ความต้องการความรัก สังคม ใช้ Sell Style

3.4 ความต้องการการยอมรับ ใช้ Consult Style

3.5 ความต้องการสำเร็จ รู้จักตัวเอง ใช้ Delegate Style

4. เทคนิคการจูงใจ มีปัจจัยหลัก 2 ข้อ

4.1 รางวัล

4.2 สิ่งล่อใจ

- สิ่งล่อใจที่ไม่เป็นเงิน เช่น คำชม,คำเยินยอ ฯลฯ

- สิ่งล่อใจที่เป็นเงิน เช่น โบนัท, การขึ้นเงินเดือน ฯลฯ ซึ่งเงินเป็นสิ่งล่อใจดีที่สุดเมื่อ

1. เมื่อคนนั้นอยู่ในภาวะขาดแคลนเงิน

2. เมื่อเงินนั้นมากพอเปลี่ยนวิถีชีวิตคนๆ นั้น

3. เมื่อเงินไปผูกกับความสำเร็จ

5. หลักการติ-ชม

5.1 การชม ให้ใช้ Adjective และ Adverb

5.2 การติ ให้ใช้เฉพาะ Adverb

ความรู้ที่ได้รับจาก Panel Discussion (คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์, คุณวิฑูรย์ เลื่อนจำรูญ)

เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดอันหลากหลายซึ่งมีประโยชน์มาก

นายวัฒนา หลายเพิ่มพูน

ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

เป็นการให้มองเห็นมุมมองในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับแนวคิดในเชิงการตลาด (Marketing) พร้อมทั้งยกตัวอย่างที่ทำให้มองเห็นแนวคิดอย่างชัดเจน

ให้ข้อคิด Value Chain ในปัจจุบันต้องย้อนกลับจาก Value Chain เดิม เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ Information Technology

ความรู้ที่ได้รับจาก อ.ธัญญา ผลอนันต์

เป็นเรื่องที่ใช้งานอยู่แล้ว แต่อาจารย์สอนดีโดยค่อยๆ อธิบายตั้งแต่การเริ่ม Mind Mapping ทีละ Step ทำให้เข้าใจถ่องแท้มากขึ้น

นายวัฒนา หลายเพิ่มพูน

ความรู้ที่ได้รับจาก ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ได้ทราบรายละอียดบทบาทของ Regulator อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทราบคณะทำงานชุดต่างๆของ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าและกฎระเบียบที่จะนำเข้าใช้ใหม่

ความรู้ที่ได้รับจาก ม.ร.ว.ปรีดิยากร เยาวกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตคือ ด้านเกษตรกรรม,บริการการท่องเที่ยว ยังจะยิ่งดีต่อเนื่องส่วนด้านอุตสาหกรรมนั้น หยุดแล้วและยังให้ข้อแนะนำกับ กฟผ. ที่ต้องเตรียมการรองรับความต้องการกระแสไฟฟ้าด้วย

ประเทศไทยควรปรับทิศทางให้เป็น Trading National

ความรู้ที่ได้รับจาก Panel Discussion (ผวก.สมบัติ ศานติจารี, รวห.วิรัช กาญจนพิบูลย์ )

แนวคิดในทิศทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศและ กฟผ.กับการหาพื้นที่และเชื้อเพลิงในการสร้างโรงไฟฟ้าทราบแนวทาง NGO

นายวัฒนา หลายเพิ่มพูน

ก. ท่านคิดว่าหลักสูตรนี้มีอะไรเป็นจุดออ่นและอะไรเป็นประโยชน์

1.หลักสูตรเน้นไปด้านทัศนศึกษามากเกินไปทำให้ประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่ตามเจตนารมณ์ ทำให้ระยะเวลาของหลักสูตรมากเกินไป

2. น่าจะมีการทำ Work Shop ร่วมกันมากๆ ในเรื่องโครงการความร่วมมือด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างกลุ่มประเทศ GMS และประเทศอื่นๆ เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา มาสรุปแนวทางปฏิบัติร่วมกันในอนาคตให้เป็นรูปธรรม

3. เนื้อหาของหลักสูตรการทัศนศึกษาและฟังบรรยายค่อนข้างเน้นเรื่องพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานตัวอื่นๆ(ไม่ทราบว่าอาจจะมีการสรุปแนวทางความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนไว้แล้วหรือไม่)

ข. ถ้า กฟผ.จะนำเรื่องทูตภาคประชาชน ท่านคิดว่า กฟผ.ควรทำอย่างไร

ปัจจุบันมีความเห็นว่า กฟผ.ดำเนินงานในเรื่องมวลชนมาก โดยเฉพาะพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทุกโรงไฟฟ้า อีกทั้งมีผู้รับผิดชอบด้านนี้เป็นรองผู้ว่าการไฟฟ้าฯ ซึ่งเห็นว่าได้ผลน่าพอใจในระดับหนึ่ง

ในความเห็นที่น่าจะดำเนินการเพิ่มคือดึงตัวแทนของภาคประชาชนมาทำงานร่วมกับผู้ปฏิบัติงานของ กฟผ.ให้มากทั้งจำนวนและเวลา อีกทั้งให้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่ารอบโรงไฟฟ้า

ส่วนต่างประเทศเห็นว่าปัจจุบันยังไม่น่าดำเนินการ

นายวัฒนา หลายเพิ่มพูน

นายเธียรศักดิ์ สุจิตภัทร

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

จาก ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรือง กลุ่ม 5 การบ้านคู่

Energy & Enviroment Projects for GMS. & Developing Countries

จุดอ่อน

• การรวมกันของหลายประเทศจะมีข้อแตกต่างทางวัฒนธรรมและการปกครอง

• พื้นฐานการศึกษาและแนวความคิดต่างกัน

• Infrastructure

• นโยบายของแต่ละประเทศ (ผู้นำเปลี่ยนนโยบายเปลี่ยน)

ประโยชน์

• รวมได้จะเป็นกลุ่มใหญ่คล้าย EU มีอำนาจต่อรองสูง

• แลกเปลี่ยนทางความคิดและความรู้

• เกิดจุดแข็งด้านเกษตรและอุตสาหกรรม

• ความต้องการพลังงานจะเพียงพอและมีราคาที่เหมาะสม ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านการค้ากับกลุ่มประเทศอื่น ๆ

• เกิดการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทั้งภุมิภาค

ถ้า กฟผ ทำเรื่อง การฑูตประชาชน(People to people Diplomacy)

ควรทำ – ร่างข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติ

--การชดเชยที่ประเทศที่เสียผลประโยชน์ควรได้

--องค์คณะที่เป็นผู้ทำงานแทนกลุ่ม

ระบบ Buddy การเมือง และ ธุรกิจ

จากการอ่านระบบ Buddy การเมือง และ ธุรกิจคิดว่าเป็นระบบ Buddy ที่ผิดพลาด

การที่นายกมี Buddy มาก ทุกคนเสนอความคิดดีๆแต่วิธีการและการนำไปใช้ต้องเป็นนายกเอง

ตัวอย่าง Buddy ที่ดี และเห็นชัด น่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างหมอและพยาบาล เวลาเราเข้าตรวจในโรงพยาบาลทั้งหมอและพยาบาลจะเข้ามาเป็คู่ ถ้าเกิดเหตุไม่ดีขึ้น ทั้งหมอและพยาบาลจะเป็นพยานซึ่งกันและกันถ้าโดนฟ้องร้องแพ้ยาก

จากตัวอย่างระหว่างคู่ Buddy Paul & Bill Gates และคู่Warren Buffet & Chorlie Munger

เป็นการรวมกันของคนที่มีศักยภาพต่างกัน แต่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การจะสร้างให้มีคู่ Buddy ที่ดีน่าจะนำคนที่มีความสามารถในเรื่องนั้น ๆ มารวมกับ คนที่มี Creative mind

พิพัฒน์ ราษฎร์ศิริ

โครงการ Energy & Enviroment Projects for GMS. & Developing Countries

จุดอ่อนโครงการ

- การสัมมนาต่อเนื่องนานเกินไป ในทางปฏิบัติอาจไม่สามารถร่วมสัมมนาได้อย่างจริงจัง (ไม่มีแรงจูงใจชัดเจนที่จะดึงดูดใจผู้เข้าสัมมนาให้สนใจ)

- กิจกรรมดูงานอาจซ้ำๆ กัน เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ ควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ในการดูงานแต่ละที่ว่ามีอะไรน่าสนใจและคาดว่าจะได้อะไรบ้าง เนื่องจากแต่ละสถานที่มีจุดเด่นน่าสนใจแตกต่างกัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- หากมีเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความคิดเห็นที่เหมาะสม จะได้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากผู้แทนแต่ละประเทศน่าจะมีความเห็นที่หลากหลาย และแต่ละสถานที่ก็มีข้อจำกัดและสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน

หากกฟผ.จะทำการฑูตภาคประชาชน (People to people Diplomacy) ... ข้อเสนอแนะ

1. กฟผ.ควรกระจายงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภาคประชาชนให้เข้าถึงคนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอจริงจัง ปัญหาการเข้าพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมเพียงครั้งคราว กฟผ.อาจจะไม่ได้ข้อมูลหรือทราบความต้องการที่แท้จริงได้เลย

2. ปัจจุบันแต่ละสายงานใน กฟผ. มีการทำกิจกรรมด้านสังคมมาตลอด แต่อาจมีรูปแบบ งบประมาณ และวิธีการที่แตกต่างกัน รวมทั้งบุคคลากรมีจำกัด (ไม่มี Brand ที่ชัดเจน ) จึงทำให้แต่ละสายงานได้ผลแตกต่างกัน ซึ่งประชาชนในพื้นที่เขามองว่า กฟผ. น่าจะส่งเสริม-ช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่พวกเขาได้มากกว่านี้

3. การฑูตภาคประชาชนของ กฟผ. แน่นอนคงต้องมาจากคนในท้องถิ่นที่เขาสมัครใจ เขาจะเห็นประโยชน์ที่ชุมชนเขาจะได้รับ กฟผ.จึงจะได้รับการยอมรับ หากแต่ปัจจุบัน กฟผ. อาจยังเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อาจต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ

พิพัฒน์ ราษฎร์ศิริ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอส่งการบ้านแบบรวดเดียวจบ ถึงแม้บางช่วงจะไม่ได้เข้าเรียน แต่ก็ตามมาอ่านใน blog และในเอกสารที่แจกค่ะ ที่สำคัญพี่ๆ ในกลุ่มน่ารักมาก เล่าให้ฟังตลอด เริ่มเลยนะคะ

1. จิตวิทยาของนักบริหาร: ได้ลองทำแบบทดสอบและให้คะแนนตัวเองแล้วก็ดีใจค่ะที่ออกมาดี แต่ก็ยังต้องพัฒนาค่ะ เพราะในเวลาการทำงานเราต้องเจอกับคนหลายรูปแบบ หลายอารมณ์ คาดเดาไม่ได้ การใช้จิตวิทยาในการบริหารจะทำให้เรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก เรื่องยากเป็นเรื่องง่ายได้ ขอให้เราเข้าใจว่าหัวหน้าเรา ลูกน้องเรา เป็นอย่างไร ทำให้เค้าเข้าใจ พอใจ และเต็มใจทำงานกับเราในที่สุด ขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเองละกันนะคะ ตอนที่มารับตำแหน่งที่ สกพ. เป็น ผอ. ฝ่ายที่อายุน้อยที่สุด เวลาจะติดต่องานกับ ผอ.ฝ่าย ท่านอื่น ก็จะใช้วิธีเดินไปหาถึงห้องทำงาน ไม่เคยใช้การโทรศัพท์ ไม่น่าเชื่อว่าแค่ 1 เดือนผ่านไป ท่าทางทีเคยหมางเมิน เป็นเอ็นดูและเป็นกันเองกับเรามากขึ้นค่ะ สำหรับลูกน้องก็มีความหลากหลายมาก ก็ต้องหาวิธีและปรับเปลี่ยน จูนกันให้ได้ จะใช้วิธีคุยและปรึกษากับลูกน้องในการมอบหมายงานมากกว่าที่จะสั่งทางกระดาษอย่างเดียวค่ะ

2. การอภิปราย Social Innovation กับการทำงานของ กฟผ.: ดีใจค่ะที่ได้เห็นมุมมองของคน กฟผ. ที่มุ่งเน้นทำงานร่วมกับสังคมมากขึ้น และยังมี NGO ที่ทำเพื่อสังคมจริงๆ ที่ประธานและพี่สุนทรมีข้อเสนอเกี่ยวกับการให้ชุมชนเสนอพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอง ตอนนี้เริ่มทำแล้วค่ะ กำลังศึกษาสิทธิประโยชน์ที่ชุมชนควรได้รับอยู่ค่ะ ส่วนตัวมีข้อเสนอแนะกับ กฟผ. ค่ะ อยากให้ กฟผ. ทำโครงการพลังงานหมุนเวียนในชุมชนที่ กฟผ. มีโรงไฟฟ้า โดยอาจทำร่วมกับชุมชนในรูปแบบสหกรณ์ก็ได้ค่ะ ชุมชนไหนมีศักยภาพเชื้อเพลิงอะไรก็ใช้ที่ตัวเองมีอยู่นั่นล่ะค่ะ ผลิตแล้วก็ให้ชุมชนได้้ใช้ไฟที่เค้าผลิตเอง เค้าก็จะเข้าใจเรื่องการจัดหาไฟฟ้าและตระหนักถึงคุณค่าของไฟฟ้าค่ะ

3. Creative Thinking: จะสร้างสรรค์ได้ต้องทำใจให้เปิดรับก่อนค่ะ การบริหารงานและการทำงานในปัจจุบันมีปัญหาใหม่ๆ ให้ลับสมองลองปัญญากันอยู่ตลอดเวลา วิธีการเดิมที่เคยว่าดีในสมัยหนึ่ง แต่อาจจะใช้ไม่ได้เลยในตอนนี้ ดังนั้น ต้อง "เปิดหู" "เปิดตา" และ "เปิดใจ" ค่ะ สมัยที่อยู่กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมทำโครงการประชาสัมพันธ์ทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยการให้ประกวดสื่อการเรียนการสอนของครู ไม่น่าเชื่อค่ะว่าไอเดียสุดๆ แถมใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในพื้นที่จังหวัดของตนเองด้วย ทำให้เห็นว่าเค้าเข้าใจพลังงานอย่างไร และอย่างจะสื่อและสอนอย่างไรให้เยาวชนไทยเข้าใจและตระหนักถึงการใช้พลังงาน

4. Mind Mapping: วันหยุดได้ลองทำ mind map ดูค่ะ ได้เห็นตัวเองคิดเป็นระบบมากขึ้น ไม่กระเจิดกระเจิง เคยเรียนมาก่อนหน้านี้ในหลักสูตรอบรมนักบริหารของกระทรวงพลังงาน แต่วิธีสอนต่างกัน ตอนนี้เลยเข้าใจมากขึ้น และจะนำไปใช้ในการกำหนดกระบวนการและการวางแผนงานของตนเองค่ะ รวมทั้งนำไปใช้ในการคุยกับลูกน้องเพื่อหาไอเดียร่วมกันด้วยค่ะ

5.

ไปสมัครเป็นสมาชิกมาแล้วค่ะ ขอส่งการบ้านต่อเลยนะคะ

5. ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.: ดีใจที่เห็นพี่ๆ กฟผ. กล้าคิดและนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ค่ะ เห็นด้วยกับอาจารย์และประธานว่ารุ่นนี้เป็นรุ่น creative จะ baby boom or generation-x ก็ไม่กี่ยงค่ะ มันอยู่ที่ใจว่ากล้าคิดกล้าเปลี่ยนกันมั้ย กฟผ.ยุคนี้ได้รับความกดดันกลายด้านค่ะ ทั้งการเมืองแทรกแซง การแข่งขันภายในและภายนอกองค์กร การต่อต้านของชุมชนซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่สุด ถ้าหน่วยงานรัฐเองสร้างยังไม่ยอมรับ อนาคตได้จุดเทียนแน่ๆ ค่ะ อยากเห็น กฟผ. ทำงานแบบบูรณาการมากกว่านี้ เท่าที่ดูจากคนนอก แต่ทำงานกับหลายฝ่ายใน กฟผ. มา 15 ปีี เห็นว่าคนทำแผนก็ทำไปค่ะ คนไปลงพื้นที่ก็อีกกลุ่มนึง คนไปชี้แจงม็อบก็อีกกลุ่ม น่าจะให้ทำด้วยกันหรือคนทำแผนไปรับม็อบมั่งก็ดีนะคะ อิอิ

6. ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.: ดีใจมากกกก ได้เจอตัวจริงเสียงจิงของหม่อมอุ๋ย ได้ฟังประวัตศาสตร์และประสปการณ์เศรษฐกิจไทยแล้วอดเป็นห่วงการเมืองไทย เอ๊ย! ไม่ใช่สิ ห่วงประเทศไทยจริงๆ ท่านตอบคำถามได้ตรงไปตรงมามากค่ะ แต่ดูท่านยังเข้าใจว่า กฟผ. เป็น regulator อยู่ แต่ดีนะคะที่ท่านให้เครดิต กฟผ. มากท่านบอกว่าข้อดีของ กฟผ. คือ ไม่คอรัปชั่น และสร้างความมั่นคงและวางแผนการจัดหาพลังงานได้อย่างทั่วถึง แต่ข้อเสียที่ท่านพูดถึงคือการพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นี่เป็นข้อสำคัญที่ กฟผ. ควรเร่งแก้ไขค่ะ

ชอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง (changing) ทางเศรษฐกิจ

- demand household เพิ่มขึ้น industrial growth ลดลง นั่นคือความต้องการใช้พลังงานขายตัวไปยังครัวเรือนเล็กๆ ที่อยู่กระจายออกไป

- business sector มีลักษณะการใช้ไฟต่างกัน

- ภาคเกษตรกรเติบโตเพราะนโยบายส่งเสริมพืชพลังงาน

- logistic สร้าง new business และทำให้ต้นทุนต่ำ และเกิดความรวดเร็วในการขนส่งสินค้า

เหล่านี้น่าจะมีประโยชน์ต่อการวางแผนในอนาคตของ กฟผ. บ้างนะคะ

อาจารย์คะ

ขออนุญาตเข้าช่วงบ่ายนะคะ ตอนเช้ามีกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา มาพบ กกพ.ค่ะ เลยต้องอยู่เตรียมการต้อนรับค่ะ

ทัศนีย์นาถ พฤกษไพบูลย์

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ยังส่งการบ้านอาจารย์ไม่ครบเลยค่ะ แต่วันนี้มีข้อสังเกตหลายรายการ เกรงจะลืมเสียก่อน จึงขอเล่าสู่กันฟังเลยค่ะ

อาจารย์เป็นหนึ่ง (ตอนอยู่จุฬาฯ เรียนเก่งมากกก..ค่ะ) บรรยายได้น่าฟังมากค่ะ มีสื่อที่เชื่อมโยงเรื่องราวเป็นลำดับ

ในช่วงท้ายที่อาจารย์กล่าวถึง การเลือกเชื่อความจริงที่มีกล่าวอ้างกันอยู่มากมายนั้น น่าสนใจทีเดียว

รวมถึงการมีหน่วยงานที่ไม่มีส่วนได้เสียกับรัฐ หรือ กฟผ. เป็นผู้รับรองการดำเนินการเกี่ยวกับ รฟ.นิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนด้วย

เท่าที่ทราบ ในประเทศญี่ปุ่น Operator รฟ.นิวเคลียร์ จะต้องมี License ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานอิสระเช่นที่อาจารย์กล่าวถึง นอกจากนั้นยังมีหน่วยงาน Training Institute กลาง ที่จัด program และ Simulator สำหรับ train เจ้าหน้าที่ เพื่อไปสอบให้ได้ License ที่ว่าค่ะ ทั้งสองหน่วยงานนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเจ้าของโรงไฟฟ้าค่ะ หากมีผู้รู้ลึก จะช่วย Share เพิ่มเติมก็ขอบคุณนะคะ

เมื่อกล่าวถึงเรื่องความเชื่อมั่น ก็มีอีกข้อสังเกต ซึ่งได้เคยกล่าวไปบ้างแล้ว คือ กฟผ.ทำอะไรก็จะถูกต่อต้าน ดูราวกับว่าเราเป็นคนละฝ่ายกับประชาชน ฝ่าย NGO ดูจะได้รับความเชื่อถือมากกว่าเสมอ หากลองคิดใหม่ คิดตาม NGO ไป แล้วลืมเสียว่าเราคือคน กฟผ. เราอาจพบว่าแนวคิด NGO หลายอย่างน่าสนับสนุน ตัวอย่างเช่น เรื่องความยั่งยืน Sustainability ก็เช่นเดียวกับที่อาจารย์มนูญยกตัวอย่างค่ะ จะดีเพียงใดถ้า กฟผ. ได้ชื่อว่า ผลิตแต่ไฟฟ้าที่สะอาด ไม่ได้มุ่งแต่ผลิตไฟฟ้าที่ราคาถูก ซึ่งก็อาจถูกไม่จริง เพราะไม่ได้รวมค่าความเสียหายที่ Generation ต่อไปต้องแบกรับไว้

ลองคิดอีกแบบว่า เป็นไปได้ไหม ที่ กฟผ.จะคิดแทน NGO เสียเลย เป็นผู้จัดหาไฟฟ้าเพื่อประชาชนจริงๆ ซึ่งแน่นอนว่าไฟฟ้าต้องมีเพียงพอ มีคุณภาพ ต้องไม่สร้างภาระในอนาคตให้รุ่นลูกหลาน และคงไม่สามารถราคาถูกเท่าปัจจุบัน ซึ่งอันนี้กระทบการลงทุนของต่างชาติแน่นอน รัฐบาลทุกยุคสมัยสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องการสาธารณูปโภคและค่าแรงราคาถูก อุตสาหกรรมได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก แล้ว กฟผ.ได้อะไรจากการเป็นคนละฝ่ายกับประชาชน

อีกหนึ่งข้อสังเกต ท่านอาจารย์จีระกล่าวตอนหนึ่งว่า ม.ธรรมศาสตร์ ยืนอยู่ข้างประชาชนตลอดมา อันนี้เป็นภาพที่ทุกคนคุ้นเคย ทำอย่างไร กฟผ.จะมีภาพอย่างนี้ได้ เราอาจต้องใช้เวลายาวนานมากที่จะทำให้ประชาชนไว้วางใจ แต่ถ้าเราเป็นที่เชื่อถือแล้ว กฟผ.อาจเปลี่ยน position จากการไปขอสร้างโรงไฟฟ้า เป็นผู้มาช่วยสร้างโรงไฟฟ้าแทน...ฝันเกินไปหรือเปล่านี่

ข้อสังเกตท้ายสุด..เรื่องที่ รฟ.ฟูกุชิมา ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้รับความเชื่อถือสูงสุด ยังต้องเสียหายหนักจากภัย Earthquake และ Tsunami ครั้งนี้ แต่ทั้งโลกก็มีโอกาส learning ครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการในภาวะวิกฤติ และมาตรการป้องกันใหม่ๆ ที่จะพัฒนาขึ้น เนื่องมาจากเหตูครั้งนี้ ในส่วนของ กฟผ. ไม่ควรจะเป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้ แต่น่าจะเป็นการดีที่จะมีเวลาและโอกาสติดตามเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม เมื่อมั่นใจแล้วจึงเสนอต่อประชาชน

เรื่องสุดท้ายที่เพิ่งนึกได้ ไม่เกี่ยวกับการเรียนวันนี้เลยค่ะ...เคยนึกไหมว่าเวลาประชาชนอ่านข่าวตามสื่อต่างๆ ว่า กฟผ.นำส่งรายได้เข้าคลังหลายพันล้านบาท...เขาคิดอย่างไรกันบ้าง?????

วันชัย หงส์เชิดชัย

สวัสดีครับอาจารย์

ผมวันชัย หงส์เชิดชัย กลุ่ม 3

วันนี้ 23 พค. 54

ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว รอยเลื่อนของเปลือกโลก สาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวซึ่งประเทศไทยก็มิได้ปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวและส่งผลเสียหายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ระบบการทำงานโรงไฟฟ้านิวเคลียใน generation ต่างๆ ความเสียหายของโรงไฟฟ้านิวเคลียในญี่ปุ่น เหตุผลที่เกิด ผลกระทบที่เกิดและแนวทางการแก้ไขปัญหา

มุมมองของ NGO ต่อการก่อสร้งโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และเอกชน โดยเฉพาะ การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียในความคิดของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง แนวทางที่ กฟผ.จะต้องเริ่มปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การเข้าไปอยู่ในใจผู้คัดค้าน ทำให้เกิดการยอมรับและหันมามาให้คำแนะนำช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จะต้องถอดเครื่องแบบ กฟผ. เข้าไปคลุกคลีกับผู้คัดค้านเปิดใจเพื่อเข้าใจปัญหาของเขา ขอคำแนะนำ ให้ความรู้ในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า สร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันด้วยความจริงใจเพื่อให้ทุกคนและประเทศชาติได้ประโยชน์ร่วมกัน

สรุปแล้วปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียคงจะไม่สามารถสร้างได้ใน 5-10 ปี นี้ กฟผ.จะมีแนวทางในการจัดการอย่างไร

ในช่วงบ่าย เรื่อง Blue Ocean อาจารย์มีความรู้ความสามารถและประสพการณ์ที่สูงมาก สามารถ อธิบายทฤษฎีและยกตัวอย่างแนวคิด Blue Ocean การสร้างแนวความคิด ในการคิดนวตกรรมใหม่ๆ จะต้องปรับ Mind set ของตัวเองให้มีการคิดแบบ Organic คิดสร้างสรรไปเรื่อยๆ ไม่อยู่กับกรอบเดิมๆ รู้จักคิดในมุมต่างๆ และไม่นำความคิดของตัวเองมาใช้ในการตัดสินใจ ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินว่าความต้องการของเขาคืออะไร จะต้องเข้าใจและสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคให้ได้จึงจะประสบความสำเร็จ อาจารย์สมชายได้สอนทฤษฏีมากมาย ทั้ง ไมเคิล พอตเตอร์ คอตเลอร์ ทฤษฏีความต้องการของมนุษย์ และกลยุทธต่างๆมากมาย

ซึ่งจะต้องนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ. โดยจะต้องเปลี่ยนมุมมองของ กฟผ. ไม่ใช่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การอภิปรายร่วมผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของกฟผ.

โดย ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ดร.กมล ตรรกบุตร คุณมนูญ ศิริวรรณ

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 23 พฤษภาคม 2554

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้ทุกกลุ่มคิดหัวข้อ หลังจากทั้ง 3 ท่านพูดไปแล้ว สรุป Scenario ต่าง ๆ เพื่อมองอนาคตว่า จะทำอย่างไรถึงจัดการกับความไม่แน่นอน

ในการดำเนินการอภิปรายให้ผู้พูดพูดคนละ 25 นาที แล้วมาอภิปรายร่วมกัน

ดร.กมล ตรรกบุตร

• ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องของแผนพัฒนา PDP ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดผลกระทบของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประเทศไทยจึงต้องมีการปรับแผนจากเหตุการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูโกชิเป็นตัวอย่าง

• การใช้พลังงานในปี 2553 เป็นการพึ่งพาน้ำมัน กับก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก มีนำเข้าถ่านหินกับไฟฟ้า 2 % และมีมูลค่าการใช้พลังงานเป็นเงินกว่าล้าน ๆ บาท

• ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณ 72% โดยซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าในสัดส่วน 1/3 ของก๊าซทั้งหมด เนื่องจากในอ่าวไทยมีไม่มาก เราจึงต้องพึ่งพา

• อายุการใช้พลังงาน โดยทั่วไป น้ำมัน 40 ปี ก๊าซธรรมชาติ 60 ปี ถ่านหิน 200 ปี ยูเรเนียม 100 ปี

• แผนของประเทศไทยที่บอกว่าใน ปี 2010 จะมีนิวเคลียร์ 8 % ตอนนี้หายไปแล้ว

• ผลกระทบที่ปรับแผน PDP สืบเนื่องจากปฏิกรณ์ที่มีปัญหา ศึกษาจากการใช้ที่ ญี่ปุ่น ที่มีปัญหา กรณีใช้ที่ฟูโกชิมาเป็น Boiling Water น้ำที่เข้าไปมีโอกาสปนเปื้อนรังสีบ้าง ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลเป็นพิเศษ แต่อย่างน้ำคล้าย ๆความดัน มีลักษณะถ่ายเทความร้อน ต้มน้ำ กลายเป็นไออีกทีนึง ในปฏิกรณ์ลักษณะนี้ อย่างไรก็ตามต้องมีการซ่อมบำรุง สัมผัสกับน้ำที่ผ่านปฏิกรณ์มา แท่งเชื้อเพลิงแต่ละแท่งเป็นหลอดเล็ก ๆ แท่งยูเรเนียมมีเปราะหุ้มเป็นเซอร์คูเนียม ทำให้เกิดปัญหาไฮโดรเจนขึ้นมาส่วนที่เป็นกากจริง จะอยู่แค่ 3 %

• เชื้อเพลิงจากถ่านหิน 1 กิโล ให้ไฟฟ้า 3 หน่วย เชื้อเพลิงยูเรเนียม 1 กิโล ให้ไฟฟ้า 300,000 หน่วย

• โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นมี 55 โรง

• ฟูโกชิมา มี 2 กลุ่ม คือ ไดอาชิ 6 โรง และไดมิ 4 โรง ทั้งหมดอยู่ในแถบฝั่งต.อ. ตอนนี้หยุดอยู่ ต้องทำการตรวจสอบ โดยปกติแล้วหลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้ว เครื่องจะปิดโดยอัตโนมัติ แต่ที่ไดอาชิ ขณะเครื่องกำลังทำงานอยู่นั้นมีสึนามิ เข้ามา ส่วนที่เป็นดีเซลถูกทำให้ลงทะเลไป ไม่มีปั้มที่ระบายความร้อน ลักษณะปฏิกรณ์ อ่างเก็บแท่งเชื้อเพลิงอยู่นอกตัวคลุม มีความร้อนที่คงค้างจึงทำให้เกิดปัญหา ไอน้ำเป็นตัวเพิ่มความดันขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะมีการปล่อยตัวไซโครเนียมออกมา และเมื่อไอน้ำกับไฮโดรเจนที่ออกมาสัมผัสกับออกซิเจน จึงเกิดระเบิดขึ้น จึงทำให้เราเห็นว่าจริง ๆ แล้วปัญหาคือ ถ้าไม่มีการระบายความร้อน แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะหลอมละลาย วิธีการแก้ไขคือการเตรียมการให้มีอ่างรองรับเข้ามา แต่ถ้าเกิดรั่ว และเหลว ก็จะปล่อยรังสีออกมา

• ที่มีปัญหาขณะนี้คือ ยูนิต 1-3 เกิดความร้อนในเตาปฏิกรณ์ และอ่างเก็บแท่งเชื้อเพลิงสูง วิธีการแก้ไข คือ อัดน้ำทะเลเข้าทั้งอ่าง และตัวปฏิกรณ์ แต่ทำได้ไม่ดีนักเนื่องจากเป็นการใช้ปั้มชั่วคราว …..ยูนิตที่ 1 เกิดการหลอมเหลวของแท่งเชื้อเพลิงแล้วมารวมอยู่ข้างล่าง ปัญหาคือเกิดน้ำระบายไม่พออาจทะลุได้ ในวันที่ 19 ได้ส่งหุ่นยนต์เข้าไปก่อนเพื่อวัดเชื้อเพลิง แล้วถ้าโอแล้วค่อยส่งคนเข้าไป แต่ถ้าถังปฏิกรณ์อยู่ที่อุณหภูมิ 100 องศา ก็ยังสามารถพอควบคุมได้บ้าง

• ต่อมา GE ออกแบบโดยการมองถึงอนาคต ปรับสิ่งที่ต้องแก้ไขและปรับปรุง เช่น ในปี 2012 มี อีเซอร์เจตมากขึ้น เพิ่มแบตเตอรี่ ความแข็งแรง เพิ่งคอนโทรลรูป เซฟตี้ซิสเต้ม ให้ทันสมัยมากขึ้นโดยสรุปแล้ว GE เห็นว่า อันเดิมที่ออกแบบไว้ไม่เพียงพอ ปัจจุบันนี้จึงได้ปรับปรุงใหม่ทั้งหมด

• การประเมินความเสียหาย โตเกียวประเมินว่า มูลค่าความเสียหายสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญ มีการการยกเลิกแผน 7 กับแผน 8 คิดเป็นมูลค่า 480 ล้านเหรียญ นอกจากนี้ยังมีผู้อพยพออกไปที่ยังไม่คิดมูลค่า และTesco ขาดทุนไป 15,000 ล้านเหรียญ

• สำหรับกรณีประเทศไทย มีคณะกรรมการเดินทางเพื่อหารือร่วมกับ IAEA ซึ่ง IAEA ได้ส่งตัวแทนเป็น Self Evaluation ดูว่าประเทศไทยมีความพร้อมข้างต้นหรือไม่ ซึ่งส่วนที่ต้องดำเนินการต่อคือ Convention ที่ต้องเซ็นกับประเทศต่าง ๆ และความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้ดำเนินการให้รัฐบาลดูแล้ว แต่หลังจากเกิดปัญหาสึนามิที่ญี่ปุ่น ค.ร.ม. ที่มีมติเมื่อหลังวันที่ 3 พ.ค. .บอกให้เลื่อนโครงการนี้ไป 3 ปี ส่งผลให้การเลื่อนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2566 ซึ่งปลัดกระทรวงพลังงานก็มีความเห็นว่า ระหว่างนี้จึงน่าจะกลับมาเร่งงานที่ค้างอยู่คือ เรื่องกฎหมาย, PAPR ,Public Relation เป็นต้น

• มีการหารือกับประเทศเวียดนาม ก็จะเห็นว่าท่านทูตให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ในรุ่นที่ 7 นี้ ถือเป็นรุ่นที่น่าสนใจ แต่ก่อนนั้น ในรุ่นที่ 6 มีนโยบายจะทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แน่นอน จึงได้มีโครงการพาไปศึกษาดูงานตัวอย่างนิวเคลียร์ที่เซินเจิน แต่หลังจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น จึงทำให้ต้องปรับหลักสูตรนิดนึง

• จะเห็นว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดความตระหนก อย่างการเข้า ค.ร.ม. บอกว่าให้เว้นไป 3 ปี แต่ระหว่างนั้นก็มีกิจกรรมให้ทำต่อหมายถึงยังไม่ได้ละทิ้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

• ในฐานะผู้นำ จะเห็นว่าเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นไม่ได้สกัดการทำนิวเคลียร์ แต่มีการชะลอแบบมียุทธศาสตร์ ไม่ได้ทิ้ง พอผ่านไป ปี 2 ปี อาจลืมได้

• หลายท่านที่อยู่ที่นี่ มี Professor คนนึง ยืนยันในการทำอย่างนโยบายรัฐบาลของจีน กับเวียดนามซึ่งจะเห็นว่าประเทศเขาโชคดีที่มีรัฐบาลที่เข้มแข็งแต่ประเทศเราต้องขึ้นกับฐานเสียงประชาชน ดังนั้น เราควรเรียนรู้ตลอดเวลา

ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย

• ถ้าจะเดินต่อในเรื่องนิวเคลียร์ ควรให้คนส่วนมากยอมรับ เราต้องทำให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงวิธีแก้ปัญหาที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้วย

• การกระจายแผ่นดินไหว้ทั่วโลก จะเกิดตามแนว เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ใกล้แนวรอยต่อตรงแผ่นเปลือกโลกจึงเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง แต่สำหรับประเทศไทยไม่ได้ใกล้มากนัก แต่ใช่ว่าไม่มีโอกาสเกิดเลย

กลไกการเกิดแผ่นดินไหว

• แผ่นเปลือกโลก มีรอยร้าวรอยแตกมากมาย หรือเรียกว่ารอยเลื่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้หินหลอมเหลวลอยตัว และเย็นตัวลง ต่อมาเปลี่ยนจากหินหลอมเหลวเป็นหินแข็ง หินหลอมเหลวจะสร้างเปลือกให้แยกกัน เปลือกจึงขยายตัวตลอดเวลา เปลือกเคลื่อนได้ พอเปลือกขยายมาชนกับอีกแนวนึง ทำให้มีอีกเปลือกนึงต้องมุดใต้อีกเปลือกนึง การมุดตัวของเปลือกโลกดังกล่าวเป็นการมุดแบบไม่นิ่มนวล จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งถ้าเป็นการไถลเบา ๆ แผ่นดินไหวจะไม่ใหญ่นัก แต่ถ้าเป็นการไถลอย่างแรงจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่มาก การไถล แผ่นเปลือกโลกที่เคยล็อกติดกัน ก็เด้งกลับที่เดิม ทะเลที่อยู่ใกล้ ๆ อาจกลายเป็นเครื่องสึนามิได้ อย่างกรณีเซนได หนีไม่ทัน 4-5 กิโล ภายใน 15 นาที เห็นว่าไม่สามารถทันได้เลย

ประเทศไทย...แผ่นดินไหวเกิดตรงไหนบ้าง ?

• ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล แนวมุดตัว ซ้ายขวา

• แนวประเทศพม่า ลอยเลื่อนใหญ่ชื่อ สกาย อยู่ใกล้ มันดาเล ไดบีดอ ย่างกุ้ง ซึ่งจะเห็นว่าเคยเกิดมาแล้วที่มันดาเลโดนทำลายลง

• แนวเวียดนามตอนเหนือและพม่า และมีแนวมาถึงไทยด้วยทำให้แผ่นดินไหวในไทยมีบ้างประปราย ซึ่งปกติลูกจะเล็กกว่า นาน ๆ ครั้งจึงเกิดลูกใหญ่ อย่างเช่นที่ไทยเคยเกิดมาแล้วก็มีลูกขนาด 6.2 ริกเตอร์

• กรณีแผ่นดินไหวที่ไคลเชิร์ท นิวซีแลนด์ เคยเกิด 7 ริกเตอร์กว่า ๆ อาคารเสียหาย แต่ไม่มีใครตาย แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เกิด 6.3 ริกเตอร์ ห่างจากตัวเมือง 5 กิโล แต่ปรากฎว่ามีคนตายจำนวนมาก ในคราวต่อมามีแผ่นดินไหว 5 ริกเตอร์ที่ สเปน ก็มีคนตายเหมือนกัน

• ไทย เคยเกิดแผ่นดินไหว 5,5.6,6.5 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวพวกนี้ไม่เป็นอันตราย เกิดทีไรเกิดเบา ๆ เนื่องจากโชคดีที่ไม่ได้อยู่ตรงตำแหน่งศูนย์กลางพอดี แต่ถ้าอยู่ตำแหน่งศูนย์กลางพอดีแผ่นดินไหวจะแรงมาก เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เกิดแผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ที่เชียงรายแต่ห่างจากเชียงราย 50 กิโล ทำให้ไทยเสียหายไม่มากนัก

• แต่ถ้าคิดว่าแผ่นดินไหวจะเกิดในไทยไม่ได้นั้น ถือว่าเข้าใจผิด เนื่องจากมีประเทศไทยก็มีรอยเลื่อนเหมือนกัน และแผ่นดินไหวสามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นไทยจึงต้องเตรียมพร้อมในการรับมือ แต่เราไม่ได้เอาอุปกรณ์ไปวัดตรงตำแหน่งศูนย์กลาง

• แผ่นดินไหวที่โกเบ ปี 1995 ถือว่าใหญ่มากถ้าไม่นับที่เกิดขึ้นที่เซนไดเมื่อไม่นานนี้ เพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ 10 วินาที อาคารต้องสร้างใหม่ 7,000 หลัง คนตาย 6,000 คน เกิดจากรอยเลื่อนฮูโรจิมาร็อกโก้ นักธรณีวิทยารู้อยู่แล้วว่าจะต้องเกิดแผ่นดินไหวแต่ชาวเมืองทั้งหมดไม่มีใครทราบ โดยเฉลี่ยการเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดทุก ๆ 1,400 ปี ชาวเมืองโกเบไม่เคยเจอมาก่อน แต่หลังจากเหตุการณ์ที่โกเบนี้ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับรอยเลื่อนเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ 200 – 300 รอย (ในไทยมีอยู่ 14 รอย เช่น แม่จันทร์ เถิน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ กรณีรอยเลื่อนภาคใต้จะสะสมพลังงานช้ากว่าภาคเหนือเป็น 10 ๆ เท่า ความเสี่ยงจึงอยู่ในภาคเหนือ คิดว่าแผ่นดินไหว 7 ริกเตอร์จะเกิดทุก 200-300 ปี ส่วน 6 ริกเตอร์กระจายทุกที)

• จากข้อมูลนี้ ได้นำรายละเอียดทั้งหมดมาสร้างเป็นแผนที่เสี่ยงภัย สีเขียวคือปลอดภัย สีเหลือ สีแดงเข้ม ๆ ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นตามการกระทบของสี

• ความสอดคล้องกับการกระจายตัวของแผ่นดินไหว สีแดง มีการกระจุกตัวของรอยเลื่อนอยู่ เช่น เถิน ปัว ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ แผนที่นี้ใช้ประกอบกับการกระทรวง และการออกแบบของกรมโยธาธิการ ฯลฯ เราสามารถระบุได้ว่าพื้นที่ไหนเสี่ยงมากกว่าพื้นที่ไหนเสี่ยงน้อยกว่า ปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมอยู่ เราจึงจำเป็นต้องขยายการควบคุมกฎหมายให้ควบคุมอาคารทุกประเภท ดังปี พ.ศ. 2550 ได้เพิ่มพื้นที่ควบคุมอาคารให้รองรับแผ่นดินไหวด้วยเนื่องจากพื้นที่ในกทม. อ่อน ในทั่วเมืองไทยมีลักษณะดินอันตรายอยู่พื้นที่เดียวคือกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถขยายความรุนแรงได้ 2-3 เท่า ถ้าคลื่นความถี่ต่ำ ๆ แผ่นดินไหวจะส่งไปได้ไกล ถ้าคลื่นความถี่สูงแผ่นดินไหวจะส่งไปไม่ไกล และถ้าส่งมาที่กรุงเทพฯ สามารถทำให้อาคารสูงโยกได้

• ระยะหลังทางกรมอุตุ ฯ มีการติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ มีข้อมูลมากขึ้นจึงทำให้สามารถยืนยันได้ พื้นที่ดินอ่อนเวลาเกิดแผ่นดินไหวจะมีความแรงกว่า ไม่แรงในการทำอันตรายต่ออาคารขนาดเล็ก แต่จะอันตรายต่ออาคารสูง ๆ ซึ่งมีการโยกตัวรุนแรง

• แต่ละครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวจะปล่อยความถี่ไม่เหมือนกัน โดยรวมแล้วเป็นอาคารที่ค่อนข้างสูง เราจึงต้องหาวิธีให้อาคารรุ่นใหม่ต้านทานแผ่นดินไหวได้ แต่ถ้าเป็นอาคารรุ่นเก่า อย่างอาคารที่เราเห็นกัน เช่นตึกแถว จุดอ่อนมีหลายเรื่อง คือถ้าเจอแผ่นดินไหว เสาข้างล่างจะโยกมากเนื่องจากมีกำแพงน้อย เพราะเปิดหน้าร้าน จะเห็นว่าส่วนที่พังส่วนใหญ่คือแถวติดถนนชั้นล่างพัง เมื่อเรารู้จุดอ่อน เราจึงเรียน รู้วิธีแก้ แต่วิธีแก้ก็มีหลายรูปแบบ แต่เราอาจไม่ค่อยได้คุยเท่าไหร่ว่าจะทำอย่างไร เพียงแต่อาจเราอาจไม่คิดแก้ปัญหา หรือลงทุนตรงรายละเอียดเท่าที่ควร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ธรณีวิทยาของกฟผ. กับ AIT ในอนาคตน่าจะร่วมกันได้ ให้คุณมนูญสรุปในฐานะสังคมศาสตร์ให้แต่ละโต๊ะใช้เวลา 5 นาที มีข้อเสนอแนะ หรือการมองพลังงานนิวเคลียร์ ภัยธรรมชาติที่กระทบกับกฟผ.

คุณมนูญ ศิริวรรณ

• ผู้บริหารจัดการด้านพลังงาน

• ผลกระทบแผ่นดินไหวมีกระทบต่อนโยบายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในระดับประเทศที่ทำยังไงให้มีพลังงานพอใช้

• กรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ทำให้กระแสการคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกมีกระแสได้รับการตอบรับมากขึ้น ... ทำให้กระแสการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศอ่อนลง ค.ร.ม. มีมติการเลื่อนการตัดสินใจออกไปอีก 3 ปี ซึ่งดูแล้วอาจนานกว่า 3 ปี ในไทย คิดว่าไม่สามารถเกิดได้ตามแผน นายกฯอภิสิทธิ์ ดูไม่ค่อยเห็นด้วยอยู่แล้วที่จะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอเกิดเหตุที่ญี่ปุ่น จึงเป็นเหตุปฏิเสธโดยสมบูรณ์

• ตัวอย่างที่เคยเห็นในเมกะโปรเจคของไทย ทำให้คิดว่าไม่น่าสร้างเสร็จได้ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเชื่อว่า กฟผ. ต้องเตรียมการรองรับว่าถ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นไม่ได้ กฟผ. ต้องทำอย่างไรเพื่อรองรับการใช้ไฟที่เกิดขึ้นในอนาคต ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีแต่จะหมดไป ไทยใช้ถึง 70% มีสัดส่วนใช้เพื่อผลิตไฟฟ้ามากในโลกเป็นอันดับ 9 ที่ตามมาอาจมีสิงคโปร์ แต่จริง ๆ ไทย มีสำรองก๊าซธรรมชาติไม่เยอะ จึงคิดว่าเป็นจุดที่เสี่ยง และที่สำคัญก๊าซธรรมชาติไม่ได้เอามาจากอ่าวไทยทั้งหมด มีการซื้อจากพม่าด้วย และในอนาคต อาจต้องมีการนำเข้า LNG จากตปท. ซึ่งทำให้ LNG แพงขึ้นด้วย อย่างเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นต้องไปซื้อ LNG มากขึ้น ไทยจึงเสมือนนำเข้า LNG แข่งกับญี่ปุ่นราคา LNG จึงแพงขึ้น

สิ่งที่ กฟผ.ต้องพิจารณาคือ

1. ทำอย่างไรกับต้นทุนที่สูงขึ้น

2. ทำอย่างไรกับความต้องการไฟฟ้าที่มากขึ้น

3. ถ้ากำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ไฟติด ๆ ดับ ๆ ใครรับผิดชอบ

4. ค่าไฟฟ้าแพงใครรับผิดชอบ

• ดังนั้นเรื่องของนโยบายรัฐบาลที่ชะลอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คิดว่าน่าจะมากกว่า 3 ปี แล้วจะทำอย่างไร ใช้พลังงานอะไรจากไหน สิ่งนี้เป็นข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น ค่าไฟจากพลังงานหมุนเวียนจะกระทบค่าไฟไหม เรื่อง Demand Size Management ,NGO พูดมากเลย ถ้าเปลี่ยนหลอดผอมทั่วประเทศก็ประหยัดได้ 5,000 เมกะวัตต์ ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง แต่ กฟผ.บอกว่าประหยัดได้แค่ 1,400 เมกะวัตต์ เท่ากับเขื่อน 2 เขื่อน สิ่งนี้ต้องเคลียร์ให้ประชาชนทราบด้วย

• โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังพอมีความหวัง ยังคงเป็นทางเลือกและทางรอดของประเทศไทยอยู่ ถ้าถามว่ามีอันตรายไหม? ตอบว่า ควรต้องเลือกเทคโนโลยีที่ปลอดภัยที่สุด ดูแลไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เอาบทเรียนที่เกิดขึ้น มาทำ และถ้าเห็นว่าจำเป็นจริง ๆ และต้องมีให้เกิดในประเทศไทย และทางเลือกอันสุดท้ายเราต้องสร้างความมั่นใจ และสื่อสารให้ประชาชนยอมรับได้ ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกหรือทางรอดของประเทศ และจากที่ผมได้สัมผัสหรือพูดคุยกับ NGO เขาก็ไม่ได้ปฏิเสธอย่างหัวชนฝา หรือไม่ได้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย

พบว่าถ้าเราอยากให้เกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยต้องตอบคำถาม 3 ข้อ

1. มีความจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถจัดการกับ Demand Size Management (DSM) ได้ไหม เช่น ห้างต่าง ๆ ให้ใช้ไฟน้อยลง อาคารประหยัดพลังงาน ให้ประชาชนใช้ไฟน้อยลง เราคงไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ไหม ถ้าเรามีการจัดการที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว แต่เรายังผลิตไฟฟ้าไม่มากพอ จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น

2. สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้ไหมเช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล น้ำ

และเมื่อทำทั้ง 2 ข้อให้เต็มที่ แล้ว ไฟฟ้าพอเพียงไหม ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ไหม แต่ถ้าทำทั้ง 2 ข้อแล้วยังไม่พอ ก็อาจต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

3. มาตรฐานความปลอดภัย เป็นการจัดการที่ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดูแลอย่างไรไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และจะจัดการอย่างไรไม่ให้เกิดกัมมันตรังสีออกมา จะขจัดกากนิวเคลียร์อย่างไร

** ที่สำคัญอีกเรื่องคือ

• การสร้างการยอมรับจากชุมชน การเข้าไปอย่างโปร่งใสแบบไม่มี Hidden Agenda การเข้าไปแบบไม่บอกตรง ๆ ว่าเข้าไปทำอะไร แล้วพอเข้าไปอีกทีว่าจะมาสำรวจพื้นที่จะทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เขาอาจรับไม่ได้ แต่ถ้าบอกตั้งแต่ต้น แล้วให้ชุมชนร่วมกันคิดน่าจะดีกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ควรใช้ลักษณะแบบ NGO เข้าถึงชาวบ้าน และ

• ข้อสำคัญคือ เราต้องตอบคำถามให้ได้ คือ การพัฒนาไฟฟ้า แล้ว ผลประโยชน์ตกกับใคร ? เช่นถ้าคนได้รับประโยชน์จริง ๆ คนในเมือง อุตสาหกรรม ได้ประโยชน์ แล้ว ชาวบ้านได้อะไร อันเนี้ยต้องตอบให้ได้

• อีกกรณีคือ การสร้างโรงไฟฟ้านั้น เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมใหญ่ อุตสาหกรรมหนัก กับในเมือง ทำไมถึงต้องนำโรงไฟฟ้ามาไว้ที่ชุมชนไม่ไว้ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของไฟฟ้า สิ่งนี้ก็ต้องตอบให้ได้ นอกจากต้องตอบให้ได้ ต้องให้ชุมชนเข้าใจด้วย เพื่อให้สามารถผ่านปราการจากชุมชนไปได้ การทำเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่ กฟผ. ต้องเข้าถึงและพัฒนา รวมถึงนำนโยบายไปใช้ ที่ผู้บริหารต้องทำร่วมกับ รัฐบาล กฟผ.(ออกนโยบาย) นักวิขาการ NGO (ประสานนโยบาย) และประชาขนในพื้นที่ (รับนโยบาย)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ผู้นำในห้องนี้ต้องคิดวิเคราะห์ให้รอบด้าน นี่คือการเรียนที่น่าสนใจ โครงการที่ดร.จีระ ทำกับ GMS หลายวัน ต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องเรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เข้าใจถึงเบื้องลึกของเขา ความละเอียดอ่อนของการทูตภาคประชาชน ไม่ได้เน้นวิชาการ แต่เน้นเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจ ดร.จีระ ทำด้านนี้มานานในธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์เสมือนองค์กรระดับรากหญ้า การจัดหลักสูตรแบบนี้จึงไม่ง่าย ผู้บริหารทุกท่านต้องคิดอีกครั้งหนึ่งว่าเราจะควรเดินไปทางไหนดี

• ให้เวลา 5 นาทีหลังเบรก เป็นคำถามหรือ Comment ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสรุป

ร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 5

ถาม ดร.กมล เรื่องโรงไฟฟ้า ตัวเตา ตัวแชมเบอร์ น้ำเสียไปหล่อไม่ได้แล้วไปละลายที่ก้น ก้นบ่อสามารถออกแบบได้ไหมเพื่อให้รองรับได้

ตอบ ตรงตัวข้างล่าง อ่างที่เป็นตัวรองรับเป็นน้ำ รองรับการละลาย อาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ออกแบบไว้ สามารถรองรับได้หมด มีอ่างเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิง แต่ละครั้งที่มีการสลับที่ต้องมีอ่างระบายความร้อน อ่างจะดึงไปเก็บตัวใหม่ ย้ายตัวนี้ไปอยู่ตรงนี้แล้วเอาตัวใหม่มาใส่ เวลาหยุดเดินเครื่องก็นำแท่งเชื้อเพลิงมาใส่ในอ่าง การเก็บในอ่างเป็น DK Heat การขยายตัวของกัมมันตภาพรังสี ส่วนที่มีปัญหาเก็บไว้ในอาคารครอบปฏิกรณ์ เวลายกออกจะทำง่ายจึงสร้างอ่างไว้ข้างบน อ่างก็จะมีความร้อน ถ้าเย็นแล้วก็ย้ายไปเก็บอีกที่หนึ่ง

รุ่นแรก Gen 1 รุ่นหลัง ๆ ตั้งแต่รุ่นที่ 3 มีการออกแบบอาคารครอบขนาดเครื่องบินเจทชนก็ไม่เป็นไร

ถาม ดร.เป็นหนึ่ง สร้างโรงไฟฟ้าไปอยู่ในมหาสมุทรได้ไหม เมื่อพิจาณาตามแผนที่การเกิดแผ่นดินไหว เพื่อหลีกเลี่ยง NGO แม้ลงทุนสูงแต่ก็อยู่ในน้ำ เช่นกลางมหาสมุทร ได้ไหม

ตอบ....กรณีถ้าสร้างบนพื้นดินขอเสนอให้สร้างบริเวณภาคอีสานไล่ลงมาภาคใต้จะปลอดภัยกว่าภาคเหนือเยอะ ส่วนตรงในมหาสมุทรก็สามารถสร้างได้ บริเวณตรงกลาง

ถาม คุณมนูญ เห็นด้วยที่ว่านโยบายพลังงานของ EGAT เป็นของประเทศ ถ้าไม่มีก๊าซธรรมชาติแล้วปรับตัวไม่ทัน นอกจากไฟดับ แล้วค่าไฟแพงขึ้นจะทำอย่างไร

ตอบ การสร้างทางทะเลก็มีคนต่อต้านอยู่ดี ต้องเข้าใจว่านับจากนี้ไปทำอะไรก็ตามมีโอกาสถูกต่อต้านได้ทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ไม่ว่าพลังงานหมุนเวียน ไม่หมุนเวียนก็ถูกต่อต้าน ดังนั้นต้องเริ่มจากชาวบ้านแล้วให้ชาวบ้านนั้นมีส่วนร่วมแต่แรก แต่ถ้าเริ่มจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นโครงการจะถูกต่อต้านหมดเลย ดังนั้นแนวคิดการทำโครงการทุกโครงการควรเริ่มจากท้องถิ่นแล้วค่อยนำกลับเข้ามา

แล้วทุกวันนี้ ถ้าเราสร้างอะไรไม่ได้ แล้วไม่เตรียมการ ไฟดับ แล้วแพงด้วย นั่นคือความท้าทายด้านพลังงานของประเทศที่เราต้องเผชิญใน 5 ปีข้างหน้า นับจากนี้ต้องทำความเข้าใจในทุกภาคส่วนของสังคม ยกเว้นคือไม่จำเป็นต้องไปพูดกับนักการเมือง ซึ่งจะไม่ทำ เนื่องจากมี Hidden Agenda เพื่อชนะการเลือกตั้ง และกลุ่มการเมือง ดังนั้น การทำให้สังคมรอดพ้นวิกฤติคือ สังคมต้องสามารถเข้าใจ แล้วสังคมจะเป็นตัวกดดันให้นักการเมืองต้องทำต้องมีกระบวนการในการทำความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นเป็นรูปธรรม เป็นเรื่องที่ลำบากแต่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ให้ประชาชนบีบนักการเมืองอีกทีให้ประชาชนทำ

กลุ่ม 4

ถาม เราทำ DSM มากน้อยแค่ไหน เต็มที่หรือยัง กฟผ.ทำมากกว่า 17 ปี เน้น Energy Efficiency ลดได้ 2,100 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าแม่เมาะทั้งหมด ปัจจุบันนี้ ที่จะลดการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง ให้มองในเรื่อง Load Management กับ Demand Respond จะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้บางส่วนเหมือนกัน

พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่ NGO เอามาอ้างเหมือนกัน สามารถตอบ ข้อ 2 คือ เราทำได้ไหม การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ต้องจ่าย 12 บาทต่อหน่วย แต่ถ้าถึงจุดหนึ่งสร้างอะไรไม่ได้แล้วเมื่อถึงจุดนั้น ค่าไฟมากขึ้นแน่นอน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ใช้พื้นที่เยอะมาก ต้องหาพื้นที่ที่แดดดีด้วย แม้แต่พลังงานลม ก็แพง ดินฟาร์ม พลังงานหมุนเวียน เราสร้างเท่าไหร่ เราต้องสำรองไว้ในกรณีไม่มีด้วย เช่น ลม หรือ แสงอาทิตย์ที่บางครั้งไม่มี แสดงถึงความไม่แน่นอน ตอนนี้ กฟผ. จ้าง ม.เกษตรฯ ศึกษาว่า 1. ผู้ใช้ไฟยอมรับ และยินดีที่จะจ่ายได้เท่าไหร่เมื่อค่าไฟแพง 2.ถ้ายอมรับให้ไฟดับ ยอมรับความสูญเสียได้มากน้อยแค่ไหน (Willing to pay, Willing to accept)

ถาม ดูงานที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กากนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วจะขนย้ายไปที่เกาะอีกแห่งหนึ่ง กำลังอยู่ระหว่างศึกษานำกลับมาใช้ได้หรือไม่

ตอบ ยังไม่ถือว่าเป็นกาก เนื่องจากเป็นแค่ 3-4 % แต่เป็นการเอาแท่งเชื้อเพลิงเก่ามาแยกยูเรเนียมที่คงเหลือ การคัดแยกคือนำยูโรเนียมที่เหลือมาสู่กระบวนการ Reprocessing แล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ได้

ฟูโกชิมา ก็สามารถนำแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วมาทำ Reprocessing ได้เช่นกัน ปัจจุบัน บริษัทที่สามารถประกอบแท่งเชื้อเพลิงขาย มีหลายแห่งเช่น โตชิบา ,ฮิตาชิ, ก็มีการทำ Reprocessing เข้ามา ตอนนี้หลายประเทศกำลังมองว่าใครจะทำต่อ การตรวจสอบด้านนี้ก็สามารถทำได้ เนื่องจากมี IAEA ตรวจสอบอยู่ การดำเนินการลักษณะนี้ที่ตกลงกับ IAEA เบื้องต้น จะมีหน่วยงานดูว่าเราใช้ไปเพื่ออะไรบ้าง เช่นรักษาโรค หรือ อุตสาหกรรมต่าง ๆ

ถาม การสูบน้ำมันหรือก๊าซเพื่อใช้งานมีผลต่อแผ่นดินไหวหรือไม่

ตอบ ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกหนา 30- 50 กม. รอยเลื่อน 10 กม. แต่ที่เราสูบอยู่บนบก ปริมาณแค่ไหนกระทบน้อยมาก ส่วนแผ่นดินไหวจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เราทำไม่ว่าจะสร้างเขื่อนหรือขุดน้ำมัน แต่แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดตามธรรมชาติ

ถาม เรื่องความปลอดภัยการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาตรฐานการก่อสร้าง ที่ฟูโกชิมา การก่อสร้างมีผลเสียหายอย่างไรบ้าง

ตอบ ดร.เป็นหนึ่ง ไม่มีรายงานความเสียหายในการก่อสร้างเป็นนัยสำคัญนอกจากเรื่องสึนามิ คลื่นที่อยู่ในระนาบวิ่งเข้าสู่ตัวเมือง การวัดการบันทึกวัดเป็น PGA เราเจอแบบ 1 G 2 G ประเทศไทยไม่ได้กำหนดไว้สูงขนาดนั้น ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยไม่ใช่ว่าโรงไฟฟ้าแบบนี้ทนแผ่นดินไหวได้ดี ไม่ใช่ที่นี่โอเค แล้วที่อื่นโอเค

กลุ่ม 1

ถาม เปลี่ยนหลอดไฟผอมประหยัด 1,400 เมกะวัตต์ แบ่งภาคการใช้เป็นภาคที่อยู่อาศัย ภาคผลิต และอุตสาหกรรม สิ่งที่ทำได้ตอนต้นควรทำที่ภาคที่อยู่อาศัย เราจะเปลี่ยนที่กระบวนการผลิตเลย เปลี่ยนที่อุปกรณ์ ปัจจุบันจะเลือกตัวที่มีตัวเก็บพลังงานได้มาก แต่ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย ต่อมามีการทำห้องเรียนสีเขียว ซึ่งมีคนให้ความสนใจมากน้อยต่างกันออกไป

การทำเรื่อง Demand Response ต้องปรับที่ภาคธุรกิจด้วย เน้นความร่วมมือการทำงานกับ กฟน. และ กฟภ. ด้วย การประหยัดพลังงานอาจเป็นทางเลือกหลังในการทำกับ ห้างสรรพสินค้า

ในส่วนกฟผ.ทำ DSM ไม่ 100 % เนื่องจากต้องใช้ความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน การทำ Smart Grid

สรุป เราควรทำอย่างไร ให้คนเห็นว่าเราทำ แล้วให้มองว่าเป็นปัญหาของทั้งประเทศ

ตอบ ถ้าให้กฟผ.ทำคนเดียวลำบาก DSM เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ เรื่องประหยัดประเทศไทยสอบตกหมดเนื่องจากวัฒนธรรมไม่เน้นเรื่องความประหยัด เน้นเรื่องความสะดวกสบาย ต้องให้ DSM ทำอย่างจริงจังโดยวางนโยบายระดับประเทศ ทุกฝ่ายควรรณรงค์ร่วมกัน ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นเจ้าภาพ ดึงเอา NGO มาร่วมด้วย ให้มาเป็นภาคประชาชนจริง ๆ แล้วทำร่วมกันไป

แม้ว่าเราทำดีแค่ไหน แล้วไม่สื่อสารกับประชาชน เขาจะรู้สึกว่าเราทำไม่เพียงพอ เราต้องสื่อสารให้กับประชาชนแล้วสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เหมือน NGO ทำ เน้นเข้าถึงประชาชน และจูงใจให้เขาเชื่อถือด้วย เข้าถึง แล้วทำงานร่วมกับเขา ดึงชาวบ้านกับ NGO ทำงานร่วมกับเรา อีกเรื่องการรณรงค์เปลี่ยนหลอดผอม ไม่ได้ผลเนื่องจากเราใช้ Presenter มีชื่อเสียงมากเกินไป ทำให้ข้อความที่คุณต้องการสื่อลืมไปหมดเลย

กลุ่ม 2

ถาม เรื่องนิวเคลียร์ มีการเอาเรือไปเก็บน้ำ ถ้าโรงไฟฟ้าวิกฤตจริง ๆ แล้วเรากู้ไม่ได้ มันจะมีขั้นตอนอย่างไรถึงต้องทำแบบนั้น

ตอบ เรือที่มาเก็บจะเก็บเอาน้ำที่ปนเปื้อนรอการบำบัดทั้งหมดถ่ายลงเรือเก็บไว้ก่อนรอการบำบัด เนื่องจาก IAEA กำหนดไว้ว่าอัตราการปนเปื้อนที่ถ่ายลงทะเลต้องไม่เกินที่กำหนด เรือที่รองรับใหญ่มากสามารถถ่ายได้จาก ยูนิตที่ 1-4 ขณะเดียวกัน ระหว่างสูบน้ำทะเลระบายความร้อนเนื่องจากไม่สามารถหาน้ำจืดระบายน้ำได้เพียงพอ อเมริกาเอาเรือรบขนน้ำจืดไปส่งให้เรื่อย ๆ แสดงถึงความร่วมมือ โรงไฟฟ้า มี 6 ยูนิต 1-4 หยุดถาวร ต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนว่าจะกำจัดอะไรไล่ไปเรื่อย ๆ การเทซีเมนต์ปิดเนื่องจากเกิดเหตุร้ายแรงและถังปฏิกรณ์แตก แต่นี่อาจไม่ขนาดนั้น มีแผน 9 เดือนในการทำ ยูนิต 5,6 เทสโก้คิดว่าจะกลับมาใช้งานได้

ถาม การเมืองภาคประชาชนที่จัดตามหมู่บ้านทั่วไป มีกลุ่ม NGO ร่วมในการเมืองภาคประชาชนแต่ละหมู่บ้านด้วยหรือไม่ แล้ว กฟผ. เข้าได้ไหม

ตอบ NGO อาจเข้าไปเป็นเหมือนยาดำ การเมืองภาคประชาชน ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปจับกลุ่มกันแล้วมีส่วนในนโยบายภาคสาธารณะมากขึ้น เช่นภาคการเมืองท้องถิ่นเป็นต้น ท้องถิ่นมีการบริหารจัดการงบประมาณด้วยตัวเองมากขึ้น ประชาชนในท้องถิ่นต้องมีคนเข้าไปแนะนำ ซึ่งNGO อาจเข้าไปแทรกแซงจริง ๆ แต่ความจริงแล้วอาจเป็นใครก็ได้ เช่นปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ ดังนั้นต่อไปการทำงานของ กฟผ. ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน ให้กฟผ.ทำงานแบบ Change Agent เหมือน NGO แต่เราอาจดีกว่าด้วยซ้ำเนื่องจากมีงบสนับสนุนของกฟผ. แต่มีข้อแม้ว่าต้องทำงานแบบ NGO จริง ๆ ใช้วิถีชีวิตเหมือนชาวบ้าน ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนวิถีชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คน กฟผ. ต้องเข้าไปมีบทบาทปรับพฤติกรรมตรงนี้มากขึ้น อย่างเช่น ถ้าจะทำเรื่องการทูตภาคประชาชน อาจพูดเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ต้องเรียนรู้ จากการเป็นนักพัฒนาไฟฟ้า แล้วพูดให้เป็น และเข้าใจถึงวัฒนธรรมในถิ่นนั้น ๆ ถ้าเราอยากได้ผลประโยชน์ของตัวเองจะไม่มีการทูตภาคประชาชน ซึ่งความจริงต้อง Win-Win หลังจากเรียนรู้จบแล้ว ช่วยกันทำโครงการให้เกิดขึ้นก็จะดีมาก ชอบที่บอกว่าการเอาพฤติกรรม DSM นั้นเป็นวาระแห่งชาติ แล้วทำหลาย ๆ ฝ่าย พฤติกรรมผู้บริโภคกับพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในเมืองไทยเป็นพฤติกรรมความฟุ่มเฟือย โลกไม่ยั่งยืน Trend ของประเทศไทย หนีจาก Industrial Complex มาสู่ Service Sector แต่ถ้าเป็นเรื่องของ Modern trade ก็ไปคุยกับเขา จริง ๆ เรื่อง NGO กับการไฟฟ้าเป็นเรื่องเดียวกัน เราต้องหาพันธมิตร

แชร์ ผู้ใช้ไฟ อยากขยายต่อ DSM ในเรื่อง Solar cell ซึ่งเป็นภาระของกฟภ. บางครั้งถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องการใช้ที่ตั้งมากนัก การเชิญชวนให้ผู้ผลิตหันมาใช้ Solar Cell มาก ๆ ก็จะช่วยลดการผลิตไฟ ได้

กลุ่ม 3

ถาม แต่ก่อนพูดเรื่องความจริง กับความเชื่อ DSM จริง ๆ ช่วยได้ แต่แผนการพัฒนาเศรษฐกิจจะพัฒนาใช้ไฟน้อยลงเป็นไปไม่ได้ อายุของพลังงานที่บอกว่า น้ำมันหมด 40 ปี แก๊ซหมด 60 ปี ถ่านหินหมด200 ปี สุดท้ายนานสุดคือมีนิวเคลียร์เหลืออยู่

น้ำมันหมด รถเปลี่ยนมาใช้เป็นรถไฟฟ้า สิ่งนี้คือความจริง แล้วเราแปลงความจริงเป็นความเชื่อ

เราบอกว่าใช้ก๊าซธรรมชาติมาก เรามีก๊าซแค่ 2 ท่อเท่านั้นเอง แล้วถ้าอยู่ ๆ หยุดสัก 15 วัน ลองทำแผนฉุกเฉินให้ท่อน้ำมันแตกสักเดือนหนึ่งแล้วให้ประชาชนลองดับไฟ ประชาชนจะเชื่อหรือยังว่าสิ่งนี้จะเป็นความจริง

ตอบ คุณมนูญ

เคยพูดว่า...ถ้าอยากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลองทำให้ไฟดับ แต่พอไฟดับปุบ ก็จะโดนต่อว่าก่อน จ

เกรียงศักดิ์ พูลเฉลิม กลุ่ม 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ภาคเช้า

1.ได้เรียนรู้ถึงสาเหตุของวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม ทราบถึงแนวทางการแก้ไขและผลกระทบต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย ในเบื้องต้นต้องเลื่อนแผนงานด้านนิวเคลียร์ออกไปอีกอย่างน้อย 3 ปี และคาดว่าอาจต้องมากกว่า 3ปี

2.ได้เรียนรู้ถึงลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหวตามพื้นที่ส่วนต่างๆบนผิวโลกและผลกระทบที่เกิดหลังแผ่นดินไหว

3.การจะสร้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ชัดเจน

3.1 มีความจำเป็นมากน้อยอย่างไรที่จะต้องสร้าง (มีการรณรงค์ด้าน Demand ดีเพียงพอหรือยัง)

3.2 ใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนได้หรือไม่อย่างไร

3.3 มาตรฐานความปลอดภัย ( ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง การกำจัดขยะนิวเคลียร์ ฯลฯ)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ภาคบ่าย

1.ได้เรียนรู้ถึงแนวคิด Blue Ocean ( กลุ่มลูกค้าใหม่, สินค้าใหม่. ส่วนแบ่งโอกาส) ซึ่งแตกต่างกับ Red Ocean

2.ได้แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในมุมมองแบบ Blue Ocean

ศุภชัย ปิตะสุวรรณและลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

ระบบ Buddy

- ในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเรามีภรรยาเป็น Buddy

- ในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ระบบ Buddy เป็นแนวทางที่หลายธุรกิจโดยเฉพาะต่างประเทศประสบผลสำเร็จ มีความเห็นว่าคนที่เป็น Buddy กันต้องเข้าใจกันอย่างดีด้วย ถึงจะไปด้วยกัน และนำพาธุรกิจประสบประสบผลสำเร็จได้ มิฉะนั้นจะเหมือนสามีภรรยาที่หย่าร้างกัน

- ในประเทศไทยนึกไม่ออกว่ามีคู่ไหนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นคู่ คิดว่าเป็นนิสัยของคนไทยด้วยที่ทำให้ไม่มีการทำงานในแบบนี้

- ใน กฟผ. เท่าที่ทำงานมาเกือบ 30 ปี ไม่เห็นตัวอย่างการทำงานลักษณะนี้

จากการอ่านบทความ Reinventing your personal Brand โดย Dorie clark กระผมเห็นว่าเป็นบทความที่ดีมาก สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ระดับตนเองหรือปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตนเองให้สอดคล้องกับภารกิจให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แนวทางต่างๆที่เสนอแนะในบทความสามารถนำมาใช้กับทุกๆคนโดยเฉพาะทุกคนในชั้นเรียน EADP รุ่น 7 ได้ กล่าวคือ

1. เขาควรจะตั้งเป้าหมายของตนเองว่าเราอยากเป็นอะไร อยากไปสู่จุดไหน แล้วดูว่าเราขาดอะไร จะเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะตนเองอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

2. ในการสร้างคุณค่าหรือสร้างความน่าสนใจในตัวเรา จะต้องมองหาจุดแตกต่างของเราที่ไม่มีใครเหมือน แล้วนำความแตกต่างนั้นมาสร้างคุณค่าให้กับตัวเรา ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเรา

3. การนำเสนอตนเองหรือนำเสนอความเห็นต่างๆ อย่างสร้างสรรค์และเป็นภาพบวกต่อตนเอง ทำให้ดูน่าสนใจ เป็นประโยชน์ มีวิสัยทัศน์โลกทัศน์ที่กว้างไกล ต้องเสนอในแนวทางที่บ่งบอกว่าประสบการณ์อดีตของท่านจะเพิ่มคุณค่าให้กับเรื่องนั้นๆ ภารกิจหรืองานนั้น ๆ อย่าง แทนที่จะเสนอความเห็นแคบๆ ตามมุมมองวัคซีนหรือเพื่อบอกความต้องการหรือสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น

4. สามารถใช้แนวทางผลักดันตนเองให้เป็นที่รู้จักด้วยการหาโอกาสร่วมเสนอความเห็น เสนอผลงานในที่ประชุมสัมมนา หรือการเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของกลุ่ม

5. อย่างไรก็ดีในการแนะนำตนเองทางสื่อต่างๆ การเสนอประวัติหรือผลงานตนเองสู่สาธารณะอย่างกว้างขวาง อาจเป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมตะวันตก แค่ในบริบทสังคมไทย อาจไม่คุ้นเคย เนื่องจากการหล่อหลอมให้เป็นคนสงบเสงี่ยม ไม่โอ้อวด ยกตน การนำเสนอตนเองส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของบุคคลสาธารณะ

6. สรุปแล้วภาพรวมของบทความนี้ให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ยกระดับศักยภาพ การใช้เป็นแนวทางการนำเสนอตนเองในการสัมภาษณ์งาน การเลื่อนตำแหน่งงาน การเปลี่ยนงาน รวมทั้งการทำให้ตนเองเป็นที่รู้จักทั่วไป ในภาพลักษณ์ที่ดี

ส่วนการหา Brand ของตนเองจะต้องกล่าวคือ พื้นฐานหรือคุณลักษณะและจุดมุ่งหมายตนเองดังนี้

1. พื้นฐานครอบครัวเป็นระดับรากหญ้า คุ้นเคยกับการใช้ความอุตสาหะ ขยัน อดทน

2. คุ้นเคยกับความมุ่งมั่น ซื่อรง เพียงพอและเรียบง่าย

3. ถนัดการใช้พระคุณมากวาพระเดช

4. ชอบอ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร

5. ผ่านงานหลายด้าน งานปฏิบัติการ วิชาการ งานวางแผนและที่ปรึกษา

6. ฝันว่าบั้นปลายอยากทำงานอิสระเกี่ยวกับงานเขียน วิชาการและปลูกผักทานเอง

Brand of Myself

มุ่งมั่น ใฝ่รู้ คุณธรรม เชื่อถือได้

สุนทร พันธ์เมฆ

ท่านประธานรุ่น 7 และสมาชิก

• บรรยากาศการเรียนรู้ของพวกเราเมื่อวานนี้ดีมาก ผมดีใจที่ได้พบกันอีก และดีใจที่ทุกคนยังมีไฟในการเรียนรู้

• หลักสูตรนี้สำเร็จเพราะทั้ง 30 ท่านเป็นทุนมนุษย์ที่ใฝ่รู้ มีอุปนิสัยในการคิด แสดงออก ทั้งในห้องและนอกห้อง .. แล้วเราคงจะได้ Comment ความรู้สึกเหล่านี้ด้วยกัน – อย่าลืม Blog เรื่อง Personal Brand.. การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ

• สำหรับช่วงเวลาการเรียนรู้ร่วมกันที่เหลืออยู่ขอให้ท่าน Open Mind และมีความสนใจและพัฒนาวิธีการคิดให้กว้างไว้

• ต้องขออภัยที่วันนี้ไม่ได้เข้ามาให้กำลังใจทุกท่าน และจะติดตามอ่านสิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกันทาง Blog

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้รับจาก Panal Discussion ผลกระทบของแผ่นดินไทยที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

1. 11 มี.ค. 54 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 8.9 ริกเตอร์ และเกิด สึนามิตามมา ทำให้โรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi Unit 1 – 4 ได้รับความเสียหาย เนื่องจากระบบ Pump น้ำหล่อเย็นปฏิกรณ์ และบ่อ SFP หยุดทำงาน

2. ครม จึงมีแต่มติ เห็นชอบตามที่กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เสนอให้เลื่อน Nuclear power plant Project ออกไป 3 ปี (COD เลื่อนจาก พ.ศ. 2563 เป้น พ.ศ. 2566)

3. เพื่อชดเชยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปลัดกระทรวงพลังงานได้กำหนดแนวทางให้จัดหา LNG และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

4. การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พึ่งพาเชื้อเพลิง ก๊าชธรรมชาติถึง 67% ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงหากเกิดปัญหากับระบบส่งก๊าช การกระจายให้ใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนั้นปริมาณก๊าชธรรมชาติในโลก จะใช้หมดภายใน 60 ปี น้ำมันจะหมดภายใน 40 ปี ขณะที่พลังงานทดแทน เช่น แสงอาทิตย์ พลังลม มีความไม่แน่นอน นิวเคลียร์นั้น โลกมีแหล่งสำรอง Uranium ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ถึงประมาณ 1,000 ปี

5. ดังนั้น หาก กฟผ.ต้องการจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้สำเร็จนั้น กฟผ.ต้อง ตอบคำถามและสร้างความเข้าใจและเชื่อมั่นในเรื่องต่อไปนี้ข

- เราสามารถลดความต้องการพลังงานไฟฟ้า โดยการทำ Demand side Management (DSM) ได้หรือไม่

- สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนแทนได้หรือไม่

- หากต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะมีมาตรฐานความปลอดภัย ตลอดจนการบริหารจัดการในกรณีเกิดอุบัติภัยอย่างไร เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ

6. กฟผ.ต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ต่อสังคมให้เป็นองค์กรที่มุ่งผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย Blue Ocean กับการทำงาน กฟผ.

- Blue Ocean คือ นวัตกรรมซี่งมี Strategy ในการสร้างสินค้าบริการใหม่ ซึ่งยังไม่มีการแข่งขัน เป็นการสร้างลูกค้าใหม่ เป็นการแย่งส่วนแบ่งทางโอกาส (opportunity Share)

- การจะสร้าง Blue Ocean ได้นั้นต้อง Strategic Positioning ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า Customer Value ซึ่งได้แก่ ราคา และความแตกต่างของตัวสินค้าและบริการ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย ดังกล่าว ต้องสมดุลกัน

เรียนอาจารย์จีระ

จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาการทำงานด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณและ ดร.จีระ ที่ทั้งสองท่านมีความเหมือนกันในสาระที่สำคัญ ถึงแม้จะแตกต่างกันในวิถีปฏิบัติเนื่องจากเส้นทางการทำงานที่แตกต่างกัน กล่าวได้ว่ามีเป้าหมายที่ตรงกัน แต่วิธีการที่ต่างกัน ทั้งสองมีพื้นฐานการศึกษาที่มิได้เกี่ยวข้องงานพัฒนาหรือการศึกษา แต่ด้วยจังหวะชีวิตที่ต้องมาทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยความบังเอิญและด้วยมีทัศนคติ ความเชื่อ ศรัทธา ความมุ่งมั่นเกี่ยวกับเรื่องคนคล้ายกันไม่ว่าจะเห็นความสำคัญ คนดี คนเก่ง เข้าใจเข้าถึงทุกระดับ ชนชั้น รับฟังให้ความสำคัญต่อผลตอบแทนทางใจและท่านทั้งสองเป็นผู้ที่ผ่านการทำงานหลายหน้าที่หลายบทบาทและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดเวลาจากการทำงาน

บทเรียนสำคัญที่ได้รับ

1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่ต้องใช้เวลาเป็นงานที่สำคัญของชาติ เราไม่สามารถนำความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ความสุขอย่างยั่งยืนสู่ประเทศชาติได้โดยไม่พัฒนาคนก่อน

2 การสร้างคนด้วยแนวทางที่แตกต่างจากเดิมๆ จะไม่สำเร็จ และหากปราศจากการสนับสนุนผลักดันจากระดับนโยบายและความเข้าใจยอมรับร่วมทำจากระดับปฏิบัติ มิเช่นนั้นจะไม่ได้ช้าหรือได้เพียงแค่ Pilot Project

3 ความสำเร็จของการทำงานมิได้โรยด้วยกลีบกุหลายต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย นอกจากนี้ความสำเร็จอยู่ที่จังหวะและการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย Know Who

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ดร.กมล ตรรกบุตร คุณมนูญ ศิริรวรรณ

1 ข้อมูลเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พอทราบมาบ้าง แต่ได้ทราบเพิ่มเติมในเรื่องกลไกของเหตุการณ์ และการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

- การเพิ่มระบบพลังงานสำรองให้มากขึ้น

- เตรียระบบสำรองที่ไม่ใช่แบบอยู่กับที่ แต่สามารถขนย้ายมาติดตั้งและเชื่อมต่อจ่ายพลังงานได้ทันที

- การใช้หุ่นยนต์ ฯลฯ

ปัญหาที่สำคัญคือ การอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและคลายความกังวลได้อย่างไร สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งคือ สามารถเปลี่ยนชื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้มีชื่อที่ Soft ลงมาได้หรือไม่ เป็นโรงไฟฟ้า พลังงาน Fusion โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด เป็นต้น

2 เรื่อง ความเป็นไปได้ของความเสียหายจากแผ่นดินไหว ถึงแม้จะมีโอกาส แต่ก็นอยมากสำหรับประเทศไทย จากคนเข้าใจถึงลักษณะและตำแหน่งของรอยร้าว รอยแยก สภาพดินของแต่ละภาค ของประเทศ น่าจะมั่นใจว่าสามารถเลือกบริเวณที่สร้างรฟ ได้โดยมีความเสี่ยงน้อยมาก

3 ประเด็นโอกาสในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยเห็นด้วยถึงอาจารย์ว่าคงไม่ใช้ภายใน 10 – 20 ปี นี้ตราบใดที่ประชาชนยังไม่ชัดเจนในคำตอบของ 3 ข้อคำถามและมีรัฐบาลที่ยังไม่กล้าเดินหน้าเต็มสูบและตราบเท่าที่สถานการณ์พลังงานภายในประเทศทั้งในแง่ราคา ความพร้อม ยังไม่กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน อนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ หลัก 2ร

ร่วมบน ร่วมผลักดันโดย ก.พลังงาน Regulator กฟผ. และ กฟน. กฟภ.

ร่วมล่าง กฟผ. นักวิชาการ NGO ภาคประชาชน

จากการอ่านบทความเรื่อง buddy ของอาจารย์ จะเห็นว่าการทำงานที่ประสบความสำเร็จจะทำงานเป็นทีม อย่างน้อยต้องมากกว่า 2 คน ซึ่งดังคำพังเพยได้กล่าวไว้ว่า 2 หัวดีกว่าหัวเดียว ยังสามารถใช้ได้ถึงปัจจุบัน สามารถช่วยกันเสริมในจุดอ่อนหรือสิ่งที่คาดไม่ถึง เพื่อสงเสริมให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่องแนวคิดของ Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 23 พฤษภาคม 2554

• Blue Ocean กับ Creative thinking เป็นเรื่องเดียวกัน

• Blue Ocean มาจากหนังสือของ คิวชัน เป็นชาวเกาหลีและอีกคนเป็นของชาวฝรั่งเศส

• ในอเมริกันเรื่อง Blue Ocean ไม่ค่อยดัง เพราะชื่อดู Sexy แต่เนื้อหาด้านในไม่น่าสนใจ

• Blue Oceanพัฒนามาจากระบบความคิดด้านนวัตกรรม ของ คริสเตนเซ่น ที่เขียน เรื่อง Innovative dilemma ,Innovative Solution

• สิ่งที่ใช้เอามาใช้ได้แต่ไม่เต็มที่นัก ซึ่งแนวคิดจริง ๆ คือ นวัตกรรมนั่นเอง

• แต่ Creative ไม่เท่ากับ Innovation ควรนำ Creative นำสู่ Innovation

• Blue Ocean ในความหมายของคิวชัน เขาแยกตลาดออกเป็น 2 ส่วนคือ Red Ocean และ Blue Ocean

• คำว่าบริการในความหมายของ Blue Ocean คือ บริการสินค้า

• การสร้างบริการสินค้าใหม่ให้เกิดขึ้นได้นั้น ต้องรู้ให้จริง

Red Ocean Blue Ocean

สู้กันด้วยสินค้าและบริการที่มีอยู่แล้ว สร้างสินค้าบริการตัวใหม่

ต้องชนะการแข่งขัน การแข่งขันไม่น่าสนใจ

แย่งลูกค้าเดิม สร้างลูกค้าใหม่ สร้างอุปสงค์ใหม่

สรุป Red Ocean สู้กันด้วยลูกค้าเก่า แย่งลูกค้าเก่า Segment เก่า หรือ Segmentที่กำลังจะมา แย่งส่วนแบ่งการตลาด ,การที่จะดึงลูกค้ามา อาจทำสินค้าเดิมแต่ปรับให้ดีขึ้นเช่น คริสปี้ครีม เกิดขึ้นมีการแย่งส่วนแบ่งตลาดของ ดังกิ้นโดนัท เป็นต้น

Blue Ocean เป็นกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่มีใครเห็น (Non consumer) แต่อยากบริโภคเหลือเกิน คนเหล่านี้มีเยอะมากแต่คนที่เห็นไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นลักษณะการสร้างสินค้าตัวใหม่ที่ไม่มีใครสร้างมาก่อน แล้วดึงมา ขณะที่ยังไม่มีใครแย่งกับเรา ดังนั้นการแข่งขันจึงไม่เกี่ยว เราเรียก Blue Ocean ว่าเป็นการแย่งส่วนแบ่งของโอกาส (Opportunities Share)

ตัวอย่าง การอธิบาย Red Ocean กับ Blue Ocean

กรณี Southwest Airline ถูกเหมือนรถเมล์ เร็วเหมือนเครื่องบิน เป็นลักษณะ Blue Ocean (กลุ่มนี้ยังไม่มีใครเห็น) กลยุทธ์เก่าราคาแพงไปถึงเร็ว กลยุทธ์ใหม่ราคาถูกบริการไม่ดี

Blue Ocean

• องค์ประกอบที่ลูกค้าพอใจต้องให้ชัด (ปัจจุบันลูกค้าเปลี่ยนตลอด) – ราคา, รสชาด ,บริการ, ทำเล, บรรยากาศ

เช่น Southwest Airline ทำอย่างไรให้เข้าสู่กลยุทธ์ที่ต้องการ ถูกเหมือนรถเมล์ เร็วเหมือนเครื่องบิน – ราคาลดให้เท่ากับรถเมล์ เร็วเหมือนเครื่องบิน ,อาหารเหมือนรถเมล์, เลาท์ใช้ที่ดอนเมือง ,ไม่มี transfer, ถึงก่อนนั่งก่อน ,ลูกน้องรายได้มากขึ้น, เร็วกว่าเนื่องจากไม่ต้องรอ Transfer

• ความแตกต่างต้องมี

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

Blue Ocean มาจาก

• Strategy Canvas of Cirque de Soleil คนที่ดูเป็น Customer คนที่ไม่ดูเป็น Potential (กลุ่มที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต)

ก่อเกิดการผสมผสานของ 2 สิ่ง

• Four Action Framework หรือ Strategy Grid

Eliminate , Raise, Create, Reduce

สรุป Blue Ocean

1.มีสินค้าตัวใหม่และบริการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

2.ลูกค้าไม่เคยเป็นของใครมาก่อน (Non Consumer)

ถ้าจะทำ Blue Ocean

• Buyer Value

• Value Innovation

กลยุทธ์ทางธุรกิจ

1.สู้ด้วยต้นทุน

2.สู้ด้วยความแตกต่าง

การวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ (Strategic Positioning)

สินค้าขายได้อยู่ในตำแหน่งไหนก็ได้

ของดีราคาถูกเช่น google

ไมเคิล พอร์ตเตอร์ บอกว่าสินค้าอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่ต้องวางตำแหน่งให้สมดุลระหว่างต้นทุนและความแตกต่าง

ฟิลลิปป์ คอตเลอร์ ได้ปรับกลยุทธ์จาก ไมเคิล พอร์ตเตอร์ เสนอกลยุทธ์แบบใหม่ ทำให้ลูกค้าพอใจเพราะเกิดความสมดุลระหว่างราคา และคุณภาพความแตกต่าง ตรงตามใจลูกค้า

Customer Satisfaction = Customer Value

ความพอใจลูกค้าขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างราคากับคุณภาพความแตกต่าง

แต่ถ้าเป็นไฟฟ้า และน้ำมัน สินค้าตัวนี้ต้องสู้ด้วยต้นทุน

Value คือ uniqueness กับ utility

Value คือ ความพอใจของลูกค้า

เราต้องการ Innovative ที่ Customer Value

Blue Ocean ต้องมีนวัตกรรมและสินค้าบริการ

คิด.....แบบให้เกิด Blue Ocean

ทำไม เมืองไทยมีคนเดินทางไปต่างจังหวัดเยอะ

คนเดินทางไปต่างจังหวัดมี 2 แบบ 1 เติมน้ำมัน 2.อยากแวะโดยไม่เติมน้ำมัน

ให้ใช้ตากับสมอง เช่นบอกว่าขี้เกียจ เบื่อ ๆ ท้องเสียตลอดเลย ....ก็คิดว่า...ปั๊ม มีห้องน้ำ

มีของกินเต็มไปหมดเลย....เกิด Jiffy ในปั๊ม

ตัวอย่างที่สอง สังเกตจากกลุ่ม Non –Consumer เวลาไปโรงพยาบาลสังเกตเห็นว่ามีคนแต่งตัวดีแต่มีความรู้สึกไม่พอใจเวลาไปจุฬาฯ ,ศิริราช ทั้ง ๆ ที่หมอดีเนื่องจากรอนาน นำมาสู่การวิเคราะห์ SWOT เพื่อดึงกลุ่ม Non-Consumer นี้ ตัวอย่างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สร้างขึ้นมีเป้าหมาย

1. คนไทยรวย

2.กลุ่มต่างชาติมาใช้บริการในเมืองไทยประเทศรวย แต่ระดับกลาง.....

3. คนที่กำหนดว่าใช้โรงพยาบาลไหน 1. คนไข้ 2. ญาติ

สิ่งที่ต้องทำ การวิเคราะห์เพื่อนวัตกรรม

1. ต้องการความเร็ว 2. คุณภาพความแตกต่าง (มีโรงแรมอยู่ในโรงพยาบาล) ต้องการร้านอาหารอร่อย

เราจะสร้าง Blue Ocean ได้อย่างไร

กฎข้อ 1 ทำอะไร Concept ต้องชัด ถ้าไม่ชัดทำนวัตกรรมไม่ได้ ถ้าไม่ชัดไม่เป็น Value Innovation

กฎข้อ 2 ต้องเป็นนวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ ถ้าเคยเกิดที่อื่นแล้วมาเกิดที่นี่ไม่ใช่สิ่งใหม่

เวลาอ่านหนังสือ อ่านหนังสือแบบฉลาด ต้องใช้สมอง มองหนังสือเป็นลูก ไม่ต้องเชื่อทุกเรื่อง

ถ้าจะทำนวัตกรรมได้ต้อง Organic ทำนวัตกรรมต้องเริ่มใช้สมอง คือ Why ? and How to?

Creative and Innovative ต้อง Value Innovation

โลก Dynamic เราคิดอะไรใหม่ ๆ แต่หลังจากนั้นอาจแพ้ใน Red Ocean เช่น บ้านไร่กาแฟเป็น Blue Ocean แต่แพ้ Red Ocean คือ Amazon, โคคาเป็น Blue Ocean แต่แพ้ Red Ocean คือ MK

Blue Ocean โดยอนุโลม

1.ทำเป็นเจ้าแรกในเมืองไทย

2.Concept Blue Ocean ไม่ครบ เช่น

- บ้านไร่กาแฟ กาแฟเป็นสินค้ามานานแล้ว แต่สามารถดึงเอาคนที่อยากแวะซื้อกาแฟระหว่างทาง

- สุกี้โคคาเป็น Blue Ocean ของแท้

- ตัวอย่าง Blue Ocean โดยอนุโลม เช่น การกิน Sandwiches ใช้กลยุทธ์แบบใหม่ใช้กระบวนการ เป็นเจ้าแรกในงานศพ ที่มาของ S&P (สินค้าตัวเก่า แต่ได้ Non consumer คืออยากกินที่วัดเวลา 1 ทุ่ม เป็นต้น)

- Amazon.com คนที่อยู่ทั่วโลกอยากซื้อหนังสือ แต่มีหนังสืออยู่แล้ว

Blue Ocean คือ ประเภทของนวัตกรรม

1.สินค้า

2.บริการ

3.ไอเดีย

4.กระบวนการ

5.กลยุทธ์

6.คุณค่า

Blue Ocean โดยอนุโลม

1. เราทำเจ้าแรก

2. มีคนอื่นทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ

ปรับระบบ Mindset

• การปรับกระบวนทัศน์ Mechanic แบบไม่มีชีวิตต้องปรับแบบ Organic ต้นไม้มีชีวิต ต้นไม้ก็เติบโต

• แบบ Mechanic ใช้ตา กับหู อะไร อะไร

• แบบ Organic ถาม Why ,How to เป็นตัวอย่างของ Creative

• Creative อยู่ในสมอง แต่ต้องทำให้เป็น Innovation แต่ไม่พอต้อง ให้เป็นInnovation ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

• Why,How to นำสู่ idea innovation

• ต.ย. 1. ดินสอ ปากกา แอปเปิ้ล เวลาตกพื้นไม่เหมือนกัน การเห็นต่างกันใช้ตากับหูได้ แต่ทำไมตกต้องใช้สมอง

• เอาถังมาใส่กอล์ฟ แล้วถาม นร.ว่าเต็มยัง นร.ตอบเต็มแล้ว อ.สมชาย ใส่ทรายต่อได้อีก แล้วถามเต็มยัง นร.ตอบเต็มแล้ว อ.สมชายใส่น้ำได้อีก หมายความว่าอย่างไร?..... สอนเรื่องความรู้ไม่มีวันเต็ม

• ความรู้ไม่ได้อยู่ที่ตัวปริญญา ความรู้ไม่มีวันจบ จบที่โรงเรียนคือ ต้องหาความรู้เพิ่ม

• ความรักไม่มีวันเต็ม ความรู้ก็ไม่มีวันเต็ม

• เวลาใส่ใส่สิ่งที่สำคัญก่อน เปรียบเสมือนทำสิ่งที่สำคัญก่อน

• การพัฒนานวัตกรรมได้ ต้องเข้าใจสิ่งนี้คือต้องรู้จักบริโภคข้อมูลข่าวสารให้เป็น อย่าใส่ข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป ไม่งั้นจะเป็น IOKO คือข้อมูล Overload บางเรื่องไม่สำคัญตัดออก เรื่องที่สำคัญใส่เข้ามา

ข้อมูลมี3 ประเภท

อยากรู้ว่าอะไรสำคัญกำหนดถัง แล้วจะรู้ว่าเราอยากทำอะไร ใช้สมองคิด

1.ข้อมูลความรู้ทั่วไป ไม่มีความหมาย

2.ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำให้เพียงพอ กฎพาเรนโต หมายถึง ทำน้อยได้มาก เช่น 20 ,80 ทำน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมากกว่า, แต่ถ้า 5/95 ก็เป็นไปได้ ยิ่งดี

เรื่องนี้สอน

1.สอนในโลกนี้ไม่มีอะไรเต็ม 2.ต้องเรียนลำดับความสำคัญก่อน

2. แต่ละคนให้ความสำคัญไม่เหมือนกัน หลักการคือลูกค้า ไม่ใช่สำคัญหมด เช่นอาหาร อะไรก็สำคัญแต่สิ่งห้ามพลาดคืออร่อย, ยาม อะไรก็สำคัญแต่สิ่งห้ามพลาดคือปลอดภัย

เครื่องมือในการสร้างนวัตกรรม

1. Organic คือต้องพัฒนา

2. สิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จที่เราได้เงินเยอะ

ต.ย. การหาเงินให้คนตาบอด อาจมีการเขียนป้ายว่าโลกนี้สวยเหลือเกินแต่ไม่สามารถมองเห็น สิ่งนี้อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากให้เงินมากขึ้น วิธีการอาจหาสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความ Contrast ในความรู้สึก , เปลี่ยนสถานที่บ่อย ๆ เป็นต้น

Why and How to

Innovation Strategy

• Customer Centric (เอาใจเขามาใส่ใจเรา สังเกตหน้า สังเกตตา แล้วได้คำตอบ)

Vertical Innovation คิดแล้วปรับอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย

Modulation – ออกตัวใหม่ เช่น เพิ่มสี เพิ่มกลิ่น เพิ่มรส

Size – มีหลายขนาด

Packaging

Design-ทำให้การแข่งขันมีลูกเล่นมากขึ้นได้

Complement- การผสมรวมกัน

Afford – ATM

สี่เหลี่ยมเชิงกลยุทธ์

1. มีสินค้าบางอย่างที่คู่แข่งไม่ทำแต่เราทำ และมีสินค้าบางอย่างที่คู่แข่งทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ

2. ต้องดูความต้องการของลูกค้า

3. มีความต้องการ กลุ่มเป้าหมาย

4. สถานที่

- Non-Competitive Benchmarking ไปดูใครก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับการไฟฟ้าแล้วเขาประสบความสำเร็จ

- Reverse Benchmarking ตัวอย่างเช่น กระบวนการที่ใช้กับ MK สุกี้ เอามาปรับใช้กับ McDonald ได้

กรมที่ดินนำกลยุทธ์อย่างเคี้ยงเอมไพน เอามาปรับใช้กรมที่ดินด้วย คือการไปตั้งอยู่ที่พารากอน และเอ็มโพเรียมเปิดถึง 2 ทุ่ม

- The world is flat ถ้าเดินทางไปต่างประเทศ ดูโทรทัศน์ เห็นแล้วดีเอามาปรับใช้ได้เลย เช่นคุณตันไปเกาหลี เปิดสตูดิโอสำหรับงานแต่ง

นวัตกรรมนอกกรอบที่ตรงกับValueของลูกค้า

1.Select a focus-เป็นกระบวนการ สินค้า ฯลฯ

2. เวลาประชุม อย่าดูถูกซึ่งกันและกัน ให้คิดอะไรก็ได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี

3. เอาแนวคิดเชื่อมต่อได้ไหม ถ้าทำได้ ขายได้ไหม ถ้าขายได้ก็โอเค

คิดแบบ lateral thinking ต้องตรงกับลูกค้า

ตัวอย่าง ... ทำต้นไม้ไม่ตายได้ไหม เกิดต้นไม้ปลอม ขับรถโดยไม่มีรถได้ไหม เกิดเกมส์ ทำไงให้เจ้าของไนท์คลับซื้อปอบคอร์น เกิด การทำปอบคอร์นแบบสแน็ค เพื่อให้ขายเหล้า และเบียร์มากกว่าปกติ เป็นต้น

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง เศรษฐศาสตร์พลังงาน

โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

วันที่ 24 พฤษภาคม 2554

………………………………………………………………..

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลก

• เกือบ 40 ปี ตั้งแต่วิกฤตน้ำมันครั้งแรกถึงปัจจุบัน

• ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น สูงสุดที่ประมาณ $140 ต่อบาเรลในปี ค.ศ. 2008

• ราคาปีนี้เฉลี่ยประมาณ $100 ต่อบาเรล และน่าจะสูงต่อไป

โลกใช้พลังงานประเภทใดบ้าง

• โลกใช้น้ำมันในสัดส่วนมากที่สุด

• รองลงไปคือถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ

• อื่นๆ คือนิวเคลียร์ พลังน้ำ และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ

ปัญหาพลังงานของโลก

• โลกใช้น้ำมันมากและจะมากขึ้น ในขณะที่น้ำมันจะแพง และหาได้ยากขึ้น

• โลกใช้พลังงานฟอสซิลมาก ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และปัญหาภาวะโลกร้อน

• พลังงานที่สะอาดก็มี แต่ยังแพงและมีข้อจำกัด

• เป้าประสงค์สูงสุด “ใช้พลังงานอย่างสะอาด โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (มากนัก)”

ตัวอย่างของพลังงานสะอาด

• แสงอาทิตย์ (ผลิตไฟฟ้า และความร้อน)

• กังหันลม (ผลิตไฟฟ้า)

• วัสดุเกษตรเพื่อผลิตไฟฟ้า และน้ำมัน

• พลังน้ำ (ผลิตไฟฟ้า)

• คลื่น ความร้อนใต้พิภพ

ในอีก 20 ปีข้างหน้า การคาดการณ์พลังงาน มี 2 แบบคือ

• Worse Scenario โลกมุ่งใช้ถ่านหิน เป็นหลัก การลดใช้พลังงานจากฟอสซิลและก๊าซเรือนกระจกไม่ได้ผลเท่าที่ควร ขณะเดียวกันการใช้ ไบโอแมสยังสูงอยู่

• Best Scenario การใช้พลังงานทดแทน อย่าง renewable สูงกว่าแบบ Worse Scenerio

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

• น้ำมันเป็นพลังงานที่สำคัญที่สุด

- ประมาณ 40 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด

- มูลค่านำเข้ากว่า 8 แสนล้านบาทในปี 2551

- กว่า 10% ของการนำเข้าทั้งหมดในปี 2551

• ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานรองจากน้ำมัน

- เกือบ 30 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด

- ที่เหลือเป็นพลังงานหมุนเวียน (เช่น ชานอ้อย ฟืน) ลิกไนต์ และถ่านหิน (นำเข้า)

• ไทยยังคงพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้น

- นำเข้าน้ำมันกว่า 90% โดย 80% มาจากตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับฯ ซาอุฯ โอมาน)

- นำเข้าก๊าซธรรมชาติ 30% จากพม่า

- โดยรวม ต้องนำเข้าถึง 2 ใน 3 ของพลังงานเชิงพาณิชย์

- ยิ่งพึ่งพลังงานนำเข้ามาก ยิ่งได้รับผลกระทบมากจากราคาน้ำมัน

- อัตราการพึ่งพาพลังงานนำเข้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้

• เศรษฐกิจไทยพึ่งพลังงานในอัตราเพิ่มขึ้น

• การใช้พลังงานเพิ่มปีละ 6% - 7% และความเข้มข้น (energy intensity หรือ ปริมาณพลังงานต่อ GDP) ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

• ความเข้มข้นเริ่มลดลงเมื่อราคาน้ำมันแพงตั้งแต่ปี 2547

……………………………………………………………………………….

• นำเข้าน้ำมันกว่า 90% โดย 80% มาจากตะวันออกกลาง

• การผลิตไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติมากเกินไปประมาณ 70% และมีการนำเข้า LNG

• ตามแผนสามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงเหลือ 60% ภายใน 10 ปีไม่รู้ได้หรือไม่

ปัญหาพลังงานของไทย

• ไทยพึ่งพาน้ำมัน (+พลังงานอื่น) ที่นำเข้ามาก ในขณะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น

• ใน 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่าน้ำมันและเชื้อเพลิงนำเข้าเพิ่มจาก 300,000 ล้านบาท (12%) มาเป็น 1 ล้านล้านบาทในปี 2553 (17%)

• ไทยมีก๊าซธรรมชาติเอง แต่ก็ยังไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้า และในราคาที่คงแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน

• การผลิตไฟฟ้าอาศัยก๊าซธรรมชาติมากเกินไป (70%) และคงใช้มากต่อไปโดยนำเข้าในรูป LNG

• โรงไฟฟ้ากับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม “ไม่มีใครต้องการโรงไฟฟ้าไว้ใกล้บ้าน” (แต่ทุกคนต้องการใช้ไฟฟ้า) [NIMBY Not in my backyard]

• ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี จะตอบสนองได้อย่างไร?

• รัฐบาลยังอุดหนุนราคาน้ำมันบางประเภท (LPG) ทำให้มีการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นการบิดเบือน

ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายราคาน้ำมันของไทย

• ไม่ได้ส่งเสริมการทดแทนพลังงานและการใช้พลังงานในประเทศ การกดราคาก๊าซหุงต้ม จะช่วยประเทศเพื่อนบ้านด้วย ไม่ใช่แค่ประเทศตนเอง มีผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศด้วย

• การตั้งราคาน้ำมันมีความแตกต่างกันมากในราคาขายปลีกมากเกินไปทำให้มีการทดแทนที่ไร้ประสิทธิภาพ โครงสร้างการใช้กับราคาน้ำมันไม่สมดุลกัน ไร้ประสิทธิภาพ

• ก๊าซหุงต้มมีการโยกย้ายถ่ายเทที่อันตราย

• เป็นการอุดหนุนการใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งคนที่ประโยชน์อาจไม่ใช่คนจนอย่างเดียว ซึ่งการอุดหนุนมันมี Cross Subsidy ซึ่งไม่แน่ใจว่าคนใช้เบนซิลนั้นจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่ที่ต้องจ่ายอุดหนุน ดีเซล หรือ ก๊าซธรรมชาติ

แนวทางแก้ปัญหาพลังงานไทย

• พึ่งพาเชื้อเพลิงในประเทศมากขึ้นเช่น พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ไบโอแก๊ซ ฯลฯ

- ลิกไนต์: ใช้มาก ก็สกปรก

- พลังน้ำ: เหลือแต่เขื่อนเล็กและฝาย

- วัสดุเกษตร และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ: พอมีใช้บ้าง แต่ไม่มาก และต้นทุนยังสูง

• พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน ต้นทุนค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่ซื้อจากลาวอยู่แล้วและจะซื้อต่อไป พึ่งมากไปก็เสี่ยง ปัจจุบันซื้อไม่ถึง 5% แต่อีก 10 ปีข้างหน้าอาจขึ้นเป็น 10%

• ใช้ถ่านหินนำเข้ามากขึ้น

- ราคาค่อนข้างถูก และยังเหลืออีกมาก

- สกปรก แต่ก็ยังสะอาดกว่าลิกไนต์

- มีโอกาสใช้ clean coal technology

• ไปสู่นิวเคลียร์ ข้อดีคือสะอาดไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าเชื้อเพลิงต่ำ แต่ข้อเสียคือลงทุนสูง อันตราย ปัญหาความปลอดภัย กากเชื้อเพลิง และการยอมรับของประชาชน

พลังงานหมุนเวียน

• พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) คือพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น ประกอบด้วยพลังงานที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น พลังน้ำ แสงอาทิตย์ คลื่น ลม และความร้อนใต้พิภพ รวมทั้งพลังงานชีวมวล (Biomass) ที่ได้จากวัสดุจากพืช/สัตว์ และขยะ/น้ำเสีย

• ประเทศไทยที่ใช้มากที่สุด คือ อ้อย กาก หรือชานอ้อย เศษไม้ ซังข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตไฟฟ้าของประเทศ ข้อดี สะอาด และใช้เป็นวัตถดิบในประเทศ ส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมชนบท ชนบทถ้าผลิตไฟฟ้าได้เองถือว่าดีมาก ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูงอยู่ และต้องใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา วัตถุดิบกระจัดกระจายไม่สม่ำเสมอ เช่นตอนนี้แกลบหายาก และอีกปัญหาคือ แย่งความสามารถในการผลิตพืชเพื่ออาหาร ซึ่งนี่ถือเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจคือราคาน้ำมันขึ้น แล้วราคาอาหารต่าง ๆ ในโลกขึ้นด้วย

แต่อีกเรื่องคือ มีแนวโน้มต้นทุนลดลงสามารถเกิด Economy of scale เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิล

• พลังงานชีวมวล

- พลังงานหมุนเวียนที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศ

- ได้จากวัสดุเกษตร เช่น กาก/ชานอ้อย แกลบ เศษ/เปลือกไม้ ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง (+ขยะ)

- ใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในการผลิตไฟฟ้าและให้ความร้อน (ไอน้ำ อบแห้ง)

• ข้อดีคือ

- เป็นพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

- ใช้วัตถุดิบในประเทศ ทำให้ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

- ส่งเสริมการเกษตร

- สร้างงานและรายได้ในชนบท

- สามารถใช้ได้ในชนบทที่อยู่ห่างไกล

- ศักยภาพสูง เพราะ “ไม่มีวันหมดสิ้น”

• ข้อจำกัด

- ต้นทุนในการผลิตยังสูงอยู่

- เทคโนโลยีการผลิตยังต้องพัฒนาอีก เช่น solar cell กังหันลม และโรงไฟฟ้าใช้วัสดุเกษตร

• อย่างไรก็ตาม

- มีแนวโน้มว่าต้นทุนจะลดลงและสามารถแข่งได้กับพลังงานฟอสซิล (ซึ่งแพงขึ้นมาก)

- การประหยัดจากขนาด ผลจากการเรียนรู้ รวมทั้งการพัฒนาและวิจัย

แผนพลังงานทดแทนใน 15 ปีข้างหน้าของก.พลังงาน

• เมื่อเปรียบเทียบพลังงานหมุนเวียนกับฟอสซิล อาจทดแทนไม่ได้มากนัก เนื่องจากเงินลงทุนสูงกว่า

• เชื้อเพลิงราคาถูกกว่ามาก บางชนิดไม่ใช้เชื้อเพลิงเลย

• ค่าดำเนินการอื่น ๆ (เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าบำรุงรักษา) ใกล้เคียงกัน

• ปัญหาคืออัตราการใช้งานค่อนข้างต่ำ แต่ข้อดีคือสะอาดกว่า

การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน

• ปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิต

• ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มี Energy Intensity ลดลง

• การให้ข้อมูลสำหรับผู้ใช้พลังงาน

• มีมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่มีลักษณะต่อเนื่องและระยะยาว

• มีข้อกำหนดการควบคุมโรงงานและอาคารต่าง ๆ

• พรบ.กำหนดให้มีกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

มาตรการราคาพลังงาน

• ตั้งราคาให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง อย่าบิดเบือน เพื่อให้คนใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

• ลดการแทรกแซงให้น้อยที่สุด

ถาม-ตอบ

กลุ่ม 4

การดูราคาน้ำมันในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าราคาน้ำมันขึ้นมาเกือบ 400 % สำหรับเรื่องไฟฟ้าขึ้นมา 100 % สัดส่วนมีผลกระทบต่อต้นทุนธุรกิจแค่ไหน

ตอบ ขึ้นอยู่กับธุรกิจ ถ้าใช้ไฟมาก ค่าไฟฟ้าจะเป็นต้นทุนประมาณ 30% ถ้าไฟฟ้าเพิ่ม 10% ต้นทุนอาจเพิ่ม 3-4 % สำหรับในกรณีที่ราคาน้ำมันแพงขึ้น ต้องเปลี่ยนการใช้น้ำมันไปใช้อย่างอื่นทดแทนเช่นใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือก๊าซหุงต้ม หรือถ่านหินลิกไนต์ หรือนำเข้า นี่คือการปรับตัว เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าราคาน้ำมันในช่วงหลัง ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งก็มีการปรับตัวเช่นกัน คือมีการหันไปใช้ LPG ดีเซล หรือก๊าซธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัว แต่สำหรับเรื่องไฟฟ้านั้นปรับยากเนื่องจากไม่มีทางเลือกมากนันก

กลุ่ม 2

มีโอกาสหรือไม่ที่รัฐบาลไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน มีตัวเลขบอกหรือไม่ถ้า GDP ขึ้นมากี่ % อัตราการใช้ไฟฟ้าจะขึ้นมากี่ %

ตอบ ปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันลอยตัว แต่รัฐบาลแทรกแซงให้เงินอุดหนุนผ่านทางกองทุนน้ำมัน โดยมีเครื่องมือคือให้ปตท. กับบางจากช่วยกดราคาน้ำมันอยู่ รวมถึงก๊าซธรรมชาติก็อาศัยมือจากปตท.เช่นกัน เนื่องจากปตท.ซื้อก๊าซมาจากหลุม ให้ LPG กับ ก๊าซธรรมชาติ บางทีการให้ LPG ราคาขึ้นรัฐบาลอาจไม่กล้าจึงกดราคา LPG ให้ปตท.ช่วยกด แต่อาจไม่เต็มใจนัก ต้องคอยดูรัฐบาลชุดต่อไปว่าจะทำอย่างไร ในกรณีก๊าซหุงต้ม ความจริงไม่จำเป็นต้องให้เงินอุดหนุนเนื่องจากโดยเฉลี่ยถัง 15 กก. ในครัวเรือนใช้ไม่เยอะ

กลุ่ม 1

จริง ๆ เหมือนรู้ปัญหาของประเทศ การพัฒนาของประเทศไทยจาก Industry ไปสู่ Civilize นโยบาย Intensive หรือ Subsidy policy ดูเหมือนล้มเหลว ถูกบ่งชี้ว่าอาจไม่เหมาะสมกับสังคมไทยที่ว่าของดีราคาแพง ทำให้ถูก Complain ส่วนของถูกของฟรีจะแย่งกัน คำถามคือ เรามีข้อมูลหลายอย่างที่ล้มเหลวด้านพลังงาน อาจารย์พรายพลพอแนะนำ Model ไปสู่ความสำเร็จได้หรือไม่โดยไม่อยู่ภายใต้รัฐบาล

ตอบ หัวใจของนโยบายราคาคือ เน้นเรื่องการตั้งราคาที่เหมาะสม มีการแทรกแซงน้อยสุด ถ้ามีก็มีเหตุมีผลและมีระยะเวลาจำกัด โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการปรับตัว ลดความผันผวนในระยะสั้น ไม่ให้ราคาน้ำมันขึ้นหรือลงเร็วมากเกินไป สัญญาณที่ถูกต้องคือต้องประหยัด ไม่ควรใช้ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือย ในเรื่องการใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยฟรี เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้อง การช่วยต้องช่วยชั่วคราว ไม่ควรบอกว่าเป็นของฟรี ของทุกอย่างมีต้นทุน ไม่ว่าจนหรือรวยต้องใช้อย่างประหยัด และที่ต้องทำมากขึ้นคือ การส่งเสริม การให้ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ เช่นประหยัดอย่างไร มีทางเลือกอย่างไร คนยังต้องการข้อมูลอยู่

โดยสรุปต้องให้สัญญาณที่ถูกต้องคือ

1.ให้สัญญาณราคาที่ถูกต้อง

2.ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

Intensive เรื่องภาษียังมีอยู่ได้แต่ต้องไม่มากเกินไป

นโยบาย ลด แลก แจก แถม ท้ายที่สุดจะมีต้นทุน

สัดส่วนหนี้ GDP จะสูงขึ้น ถ้าเราไม่ลดภาระการสร้างหนี้ของรัฐ เช่นการประกันราคา ประกันรายได้ ค่าแรงขั้นต่ำเป็นต้น

กลุ่ม 4

ขอเสนอว่าเรื่องที่บอกว่าปล่อยให้รัฐบาลพูดไปก่อน จริง ๆ อยากเสนอให้นักวิชาการพูดแนะนำสิ่งที่ถูกต้องว่าควรทำอย่างไร ประชาชนจะได้ตัดสินใจได้ว่าควรเลือกใคร

เชื่อในเรื่องสื่อสารว่า อย่างนักวิชาการหรือ อ.พรายพลพูดจะมีน้ำหนัก อยากให้ออกเสียงเยอะ ๆ ว่าทำอย่างไร และควรพูดให้เยอะขึ้น

ตอบ เห็นด้วย จริง ๆ อาจารย์พรายพลก็พูดเรื่องนโยบายที่เขาหาเสียงตอนนี้อยู่เหมือนกัน อย่างที่บรรยายในตอนนี้คือเรื่องการลด แลก แจก แถม นั้นเป็นผลดีในระยะสั้นแต่เป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว ถ้าใครถามมาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็จะพูด และอยากให้หลาย ๆ ฝ่ายช่วยกันพูดจะดีกว่า

กลุ่ม 2

กราฟราคาน้ำมัน ที่กำหนด fix ราคาน้ำมันดีเซลไว้ 30 บาท คิดว่ารัฐบาลที่เข้ามาใหม่จะค่อย ๆ ปล่อยลอย นายกฯอภิสิทธิ์ลอยตัวไม่ได้เนื่องจากเคยสัญญาไว้ ทำให้เกิดผลกระทบเสียหายมาก แต่เมื่อหมดสมัยรัฐบาลชุดนี้ จึงน่าจะปล่อยลอยตัวน้ำมันได้ นอกจากนี้อยากทราบถึงต้นทุน LPG กับ NGV ว่าอยู่ที่เท่าไหร่

ตอบ LPG ราคาตลาดโลก อยู่ที่ 30 บาทต่อกิโล เมื่อเทียบกับที่เราใช้ 11 บาทต่อลิตร หรือ 15 บาทต่อกิโล

NGV มีการศึกษาจากต้นทุน ประมาณ 13-15 บาท เทียบกับตอนนี้ขาย 8-9 บาทต่อกิโล

ดีเซล 1 บาร์เรลห์ ราคา 110 เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันราคาดีเซลแพงกว่าเบนซิลในตลาดโลก แต่ประเทศไทยเป็นในทางตรงกันข้าม รัฐบาลไม่ยอมปล่อยให้ดีเซลเพิ่มขึ้น

ถาม จะมีอะไรที่จะบอกได้ว่าเมื่อไรที่รัฐบาลทนไม่ไหวถึงยอมปล่อยลอยตัว

ตอบ ต้องดูเงินกองทุนที่ไหลออกค่อนข้างมาก ตอนนี้ยังไม่ติดลบแต่ใกล้ติดลบแล้วเนื่องจาก กองทุนน้ำมันนอกจากใช้อุดหนุนดีเซล แล้วยังอุดหนุนก๊าซหุงต้มด้วย ทำให้กองทุนติดลบด้วย นอกจากนี้ยังช่วยแอทเธอนอล และไบโอดีเซล เนื่องจากอยากให้คนใช้มากขึ้น ความจริงในบัญชีอาจติดลบไปแล้ว อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันจะขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกด้วย แต่ก๊าซหุงต้มต้องมีการอุดหนุนแน่นอนเนื่องจากราคาห่างจากราคาตลาดโลกมาก จึงขอสรุปว่า การแทรกแซงที่มากเกินไปนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาและแก้ไขยาก

การประเมินความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน

ตัวอย่างการทดแทนหลอดไส้ด้วยหลอดตะเกียบ

- หลอดไส้ 60W ใช้งานได้นาน 1,000 ชั่วโมงราคาหลอดละ 16 บาท

- หลอดตะเกียบ 15 W ใช้งานได้นาน 8,000 ชั่วโมง ราคาหลอดละ 530 บาท

- อัตราการใช้งานวันละ 10 ชั่วโมง

- ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3.25 บาท

- การเทียบหลอดตะเกียบ 2 หลอดเท่ากับหลอดไส้ 16 หลอด

กลุ่ม 1

กฟผ. มีโครงการรณรงค์การใช้หลอดตะเกียบ จะเห็นว่าจากโครงการหลอดตะเกียบภาพรวมทางการตลาดเติบโตมาก หลอดไส้มีอัตราการผลิตที่ลดลง แต่การเลิกก็ค่อยเป็นค่อยไป ถามว่ามีการทดแทนหรือมีการเปลี่ยนไหม ตอบว่ามีค่ะ

ในต่างประเทศ มี Model ผลิตหลอดแจก ,Intensive ผลิตแจก Return กลับมาได้หลายอย่าง แต่ EGAT ทำไม่ได้ เนื่องจากการไปผลิตแข่งกับภาคเอกชนจะไม่ยุติธรรม แต่ถ้าให้เป็นนโยบายของชาติเอาเงินงบประมาณแจกไปเลยให้เปลี่ยนมาใช้หลอดตะเกียบ เอางบแจกเลย แล้วผลที่ได้กลับมาจะได้เยอะมาก

DSM ในประเทศไทย เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไปปรับตัวอุปกรณ์เลยจะยั่งยืนมากกว่า ดังนั้นในการทำหลอดอ้วนเป็นหลอดผอม จะมีการเปลี่ยน line การผลิตเป็น 5 line โดย กฟผ. จะทำการตลาดให้ มีการแทรกแซงตลาด มีการติดฉลากเบอร์ 5 ที่ผ่านมาได้มีการแจกหลอดผอมไป 8,000 หลอด เพื่อร่วมมือและให้เกิดกระตุ้นในการใช้งาน ปัจจุบันนี้เกิดผู้ผลิตหลอดตะเกียบในประเทศมา 3 ราย เป็นการสร้างความยั่งยืน ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลอดตะเกียบในประเทศทำให้ลดการนำเข้าหลอดตะเกียบ แต่ที่ทำเป็นลักษณะชั่วคราว หรือเรียกว่าเป็นแค่ แคมเปญ เท่านั้น

กลุ่ม 2

ถ้าจะทำเรื่องหลอดตะเกียบจริง เสนอว่าให้เอาหลอดไปให้ประชาชนเลยอย่าให้เงินไม่เช่นนั้นอาจนำเงินไปใช้อย่างอื่นแทน จำนวนการใช้หลอด 1 ปี 25 ล้านบาท อยากให้ทำแคมเปญนี้ไประยะนึงจนกระจายไปทั่ว แล้วต่อไปก็จะได้รับผลตอบรับกลับมาอย่างดี

อ.พรายพล บอกว่า เรื่องนี้จะมีส่วนดีในด้านการส่งเสริมให้คนรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

คุณกิตติ ถาม ที่ผ่านมารู้ว่าในเรื่องพลังงานเราติดขัดเยอะมาก ในเรื่องนโยบายและความไม่แน่นอนของรัฐบาล อยากสอบถามว่าในแต่ละประเทศ รัฐบาลจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลออกนโยบาย แต่ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่นโยบายรัฐบาลอย่างเดียว ความสำเร็จอยู่ที่ การมี Platform กับ Framwork แล้วมีระบบที่ชัดเจน ที่วางไปนระยะยาวอย่างน้อยถึง 10 ปี เป็นการวางเพื่อชาติ เพื่อ 20 ปีในอนาคต รัฐบาลไทยเปลี่ยนไปตามยุค และวาระ เป็นการเอาตัวรอดในยุคปัจจุบันและรัฐบาลยุคปัจจุบัน ขอถามว่ามีความเป็นไปได้ไหมในการ Set National Platform ขึ้นมา อยากมี Platform ของประเทศ คนในบ้านเรามีนักวิชาการและหลายคนที่รู้ปัญหา ถ้าไม่สามารถพลักดันเป็น National Platform ให้ได้ ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้

ตอบ สำหรับประเทศมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปีที่อาจชี้ให้เห็นว่าประเทศควรมีทิศทางทางเศรษฐกิจและสังคมไปในทิศทางใด เรื่องพลังงาน เกษตร สังคมอยู่ในนี้ แผนด้านพลังงานในระยะยาว ก็ยังคงทำอยู่ จริง ๆ จะมีแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยความพยายามไม่ให้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลไม่ว่าชุดไหนอย่างไร ควรให้แผนพวกนี้ใช้อยู่ แผนขนส่งก็มี Master Plan ของเขา ก็มีออกมาทุก 5 ปีตามความเป็นจริง จริง ๆ มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี แต่ถามว่าได้ผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่เข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศให้ความสำคัญกับแผนพัฒนามากน้อยแค่ไหน บางรัฐบาลเอานโยบายพรรคมาก่อนซึ่งอาจขัดกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ และในบางช่วงเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไป ดังเช่นวิกฤติปี 2540 และ 2552 ทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเปลี่ยน การจะทำตามแผนแบบเดิมเลยทีเดียวนั้นทำไม่ได้ สรุปว่ามี แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล และความเหมาะสมนั้น ๆ เราสามารถวางแผนได้ แต่จะให้ตายตัวอาจจะยาก ถ้าเหตุการณ์เปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนด้วย

ตัวเลขชี้ให้เห็นว่าอย่างไรนิวเคลียร์ต้องมีบทบาท เมื่อใดที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นไปได้

ถาม คุณกิตติ อยากยกตัวอย่าง ประเทศภูฏาน รัฐบาลตั้งโดยกษัตริย์จิกมี่ รัฐมนตรีจะมีการหมุนเวียนเป็นนายกฯ คนละปี แต่เขาบอกว่ามีแผนไว้อยู่แล้วว่าในกี่ปีจะให้มีการเลือกตั้ง การพัฒนาประเทศจะไปในทิศทางใด ระบบไฟฟ้าพอมีพอใช้ตามสภาพ มีการแยกการใช้พลังงานในด้านต่าง ๆ

ตอบ ในประเทศไทย ยังตอบไม่ได้ เนื่องจากความคิดเห็นยังไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าแยก SOออกถามว่าทำได้ไหม คงอาจไม่ยอม แสดงให้เห็นว่าไทยยังมีหลายเรื่องที่ยังตกลงไม่ได้ว่าจะเอาอะไรกันแน่ การทำ Platform ในความเป็นจริงจึงเป็นเรื่องที่ยาก ถึงแม้ว่าทำได้อาจไม่เหมาะกับลักษณะประเทศไทย เนื่องจากเรายังไม่รู้แน่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ชัวร์อย่าทำ อยากเสนอให้ทำอะไรที่ Flexible จะดีกว่า กฎ กติกา ถ้าแน่นอนแล้วทุกคนรักษาก็จะช่วยได้ เอาให้ชัดเจนว่า การยอมรับ ไม่ยอมรับทำอย่างไร มีกติกาอย่างไร อย่างเช่นถ้าตกลงว่าจะสร้างโรงไฟฟ้า ก็ควรทำให้ได้ สังคมไทยเป็นลักษณะอ่อนนิ่ม ความสามารถในการรักษากฎ ระเบียบ วินัยของสังคม ยังทำไม่ได้ จึงทำให้เกิดความยากลำบากถ้าจะมี Platform จริง ๆ ถึงมีก็ Enforce ยาก ทางด้านพลังงานจึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ

กลุ่ม 4

มี NGO บางกลุ่ม บอกว่าประเทศไทยส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างชาติมากไปหรือเปล่าการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อไปส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรม แต่ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์ กฟผ. ควรมองเรื่องการใช้ในประเทศให้มุ่งมาที่เรื่องอาหารและบริการได้ไหมหยุดส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ไหม มันถูกหรือไม่ที่ยอมให้ต่างชาติมาลงทุนใช้พลังงานจากเรา แล้วส่งออกไป

ตอบ ในระดับหนึ่งอาจจริงแต่ไม่ถึง 100 % แน่นอนที่ว่าการลงทุนใช้ทรัพยากรของเรา ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน แต่เขาก็สร้างรายได้ให้เรา สร้างให้คนมีงานทำ เขาไม่มาหรือมา เราก็ต้องนำเข้าพลังงานอยู่ดี ที่พูดมีส่วนจริงอยู่ แต่ไม่ถึง 100 % สิ่งที่อยากเสนอคือเราต้องเลือกชนิดอุตสาหกรรม การเลือกอุตสาหกรรมที่สกปรกและเป็นพิษด้วยต้องระวังนิดนึง โครงสร้างเศรษฐกิจสำคัญต่อการพัฒนานโยบายพลังงานที่เหมาะสม อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ควรอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ในกรณีที่บางครั้งเน้นอุตสาหกรรมหนักมากเกินไป หรือเน้นอุตสาหกรรมเหล็ก จะทำให้ใช้ไฟ และพลังงานมหาศาล นอกจากนี้ยังส่งผลให้สกปรกด้วย ดังนั้นสิ่งนี้จึงน่าเป็นส่วนของนโยบายพลังงาน ที่ควรคิดให้ดีว่าทิศทางประเทศถ้าจะไปด้านอุตสาหกรรมควรไปที่อุตสาหกรรมประเภทใด

กลุ่ม 5

ราคาค่าพลังงานที่ก่อให้เกิดมลภาวะไม่มีการเก็บเงินในตัวที่ไปก่อให้เกิดมลภาวะขึ้น พลังงานสะอาดส่วนมากอยู่ในมือนายทุนเพื่อลดต้นทุน ไม่ได้เพื่อแรงจูงใจ คราวนี้พลังงานที่ก่อให้เกิดมลภาวะควรเก็บค่าชดเชยเพื่อไปแก้ไขมลภาวะที่เกิดขึ้น ส่วนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดน่าจะมีเงินช่วยบ้าง อันนี้ก็เสมือนเป็นดึงและเลือกคนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน

ตอบ ปัจจุบันมีการเก็บภาษีน้ำมันคล้ายกับการเก็บภาษีสรรพสามิต คือ มองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย คล้าย ๆ กับว่าเป็นภาษีที่เสนอ คือการเก็บเงินเพราะทำให้เกิดความสกปรก เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่การเก็บที่ผ่านมาไม่ได้เกิดบนพื้นฐานนั้น เราอาจปรับวิธีการเก็บเงินตามผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายในด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนพลังงานอื่น ๆ พลังงานทดแทน ทำเพื่อลดต้นทุน เห็นว่าการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ผ่านมาก็มีเงินช่วยสนับสนุนอยู่ กองทุนพลังงานก็ช่วยส่วนหนึ่ง แต่จริง ๆแล้วคนที่ผลิตไม่ได้ลดต้นทุนอย่างเดียว ปัญหาคือสิ่งแวดล้อม เล้าไก่ เล้าหมู เหม็น ชาวบ้านบ่น เขาทำเพื่อให้เกิดการผลิตไฟฟ้า และลดภาระเชื้อเพลิงด้านฟอสซิลไปในระดับหนึ่ง

ถาม ส่วนคาร์บอนเครดิตมาชดเชยตรงนี้ได้ไหม

ตอบ ตอนนี้มีองค์กรมหาชนรับซื้อ รับขายก๊าซเรือนกระจก สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ กับการไปเซ็นที่เกียวโตโปรโตคอน

สรุป ถ้ามี Spirit โอกาสการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ถ้าจะมี Asian Grid น่าจะดีขึ้น ควรมี Grid ที่ต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการซื้อขายกัน แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่ามี Grid เราอาจนำเข้าพลังงานอยู่ดี เนื่องจากเราใช้เยอะไฟฟ้าในประเทศไม่เพียงพอ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะหลังถ้าไม่ใช้พลังงานเลยนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพียงแค่ว่าใช้พลังงานสะอาดนั้นสามารถทำได้ไหม

กลุ่ม 3

ถาม สัดส่วนการใช้พลังงานต่อ GDP เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ฟุ่มเฟือยไปหรือเปล่าที่ใช้พลังงานแล้วผลผลิตก็ไม่ได้

ตอบ ก็เป็นอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่เป็นไปได้ เมื่อพัฒนาพลังงาน พลังงานต่อ GDP ยังสูงอยู่ ไม่ได้ผิดอะไร คนมีเงินมากขึ้น เขาต้องเดินทางมาก ต้องใช้ไฟฟ้ามาก แต่ว่าเมื่อถึงระดับหนึ่งเราต้องเริ่มคิดว่าตัวนี้น่าจะเริ่มลดลงได้ เราสามารถหาวิธีใดผลิตโดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก ๆ ตัวนี้จะมีโอกาสลดลง อย่างเช่นตอนนี้การใช้พลังงานเริ่มลดลง เนื่องจากเขาคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราอาจไม่เริ่มลดตอนนี้ แต่ทำให้อยู่นิ่งก่อน แล้วค่อย ๆ ลดลง

กลุ่ม 4

รถยนต์เริ่มมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ถ้าทุกคนเสียบไฟพร้อมกันไฟฟ้าก็รับไม่ไหว จึงอาจมีการตั้งเวลาให้ชาร์ตไฟได้ตอนช่วงใช้ไฟฟ้าน้อย ๆ

Smart City or Smart grid Model ไม่ควรที่ไปชาร์ตในเวลาที่ควบคุมไม่ได้ ก็เลยเสนอรูปแบบการเทิร์น ที่ไหนก็ได้ เวลาเทิร์นในกรณีที่เหลือ 20 % เราจะได้ชดเชยหรือปล่าว Model นี้ในไทยจึงไม่ง่าย มูลค่าลงทุนคงพอ ๆ กับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความจริงทั่วโลกก็ทำ Model นี้ ไทยมีก็ดีแสดงให้เห็นว่าเป็นประเทศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

อ.พรายพล ได้เล่าว่าเคยไปศึกษาดูงานไฟฟ้าที่ทำจากไบโอแก๊ซ ส่วนเหลือไปทำปุ๋ยชีวภาพ แล้วปรากฎว่ารายได้จากการขายปุ๋ยดีกว่าไฟฟ้าเสียอีก สามารถทำปุ๋ยเป็นสินค้าได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าการทำอย่างนี้แล้วคุ้ม ชาวบ้านก็น่าจะทำได้ เช่นให้มีการผลิตไฟฟ้าขายในตำบล อีกทั้งยังผลิตปุ๋ยได้มากขึ้นไม่ต้องอาศัยปุ๋ยเคมีที่แพงตามราคาน้ำมัน นอกจากนั้นก็ทดลองปลูกสาหร่ายเซลล์เดียว (เอามาบีบ ๆ แล้วได้ไบโอดีเซล) ซึ่งยังไม่ค่อยสำเร็จดี

สรุป ในที่สุดเราก็จะมีเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้น ซึ่งมันจะหลากหลาย และอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ถ้าผลิตไฟฟ้าเพียงพอบวกกับการใช้ไฟไม่มากก็ยังดีกว่า อีกทั้งยังสามารถขายปุ๋ยได้ ชนบทเราสามารถเป็น Self Sufficient ซึ่งถ้าเป็นจริงอย่างที่ว่าเกษตรกรก็จะดีขึ้น สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ถ้าเหลือก็สามารถขายได้อีกด้วย โอบามาได้กล่าวถึงอย่างกรณี Smart Grid สามารถทำได้ดีก็ต้องมี Storage มีแบตเตอรี่เสริมด้วย

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่องจากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ บุณยเกียรติ

วันที่ 24 พฤษภาคม 2554

การตลาดเป็นเรื่องมาจากเศรษฐศาสตร์

สิ่งแรกคือเรื่อง Supply ,Demand

ความคิดทางเทคนิคขึ้นกับ Supply มีอะไรไป offer ให้คนหมู่มาก ใครทำได้ก็รวยสุด เช่น Microsoft หรือ Facebook เป็นต้น

เรื่องอุปสงค์ อุปทาน

อุปสงค์

โรงงาน

สินค้า

(สร้าง Product โดย ผ่านโรงงาน)

• สินค้า ประกอบด้วย 3 อย่างก่อนเป็นตัวสินค้า คือ ที่ดิน โรงเรือน เครื่องจักร ทั้ง 3 ตัวนี้ เอาไปเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ได้ แต่หลังจากปี 40 หลักค้ำประกันเงินกู้เปลี่ยนไป การใช้ทั้ง 3 สิ่งนี้ธนาคารไม่ยอมรับ จะเห็นว่าหลักค้ำประกันเงินกู้ในปัจจุบันจะแทนค่าด้วยสิ่งที่มองไม่เห็นเรียกว่า Feasibility Study คือความเป็นไปได้ของโครงการนั้น เพราะฉะนั้นปัญหาที่เกิดในแบงค์ปัจจุบันยังใช้ที่ค้ำอยู่ ซึ่งยังไปไม่ถึงไหน บางอย่างเป็น Asset ของเราหรือเปล่า

• บางครั้งเป็นความเสียเปรียบอย่างมหาศาลถ้าเป็น Supply Size Economy จึงนำมาสู่การเปลี่ยนเป็น Demand Focus ทำให้เรา Work Smart ไม่ Work hard กฟผ.ต้องถามว่าคนใช้ไฟต้องการอะไร แล้วเราจะได้ทำถูก

• Demand คือลูกค้า ถ้า Assume ว่าลูกค้ามีทางเลือก สิ่งที่ดีไม่ได้ถูกเลือกโดยอัตโนมัติ แล้วแต่พูดว่าการตลาดเป็นแรงจูงใจหรือเป็นงานอดิเรก

• Demand Focus Group ประเด็นอยู่ที่มุมมองว่าเราเป็น Supply Focus ไม่ได้ และเมื่อลูกค้ามีทางเลือกจะก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ มีพฤติกรรม และทัศนคติเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีทางเลือก แม้แต่ กฟผ. ผลิตไฟฟ้า 49% ของประเทศ 51% เป็นของภาคอื่น

• ถ้าเราอยู่ใน Supply Size Economy จะเป็นจำเลยตลอดเวลา จึงควรเปลี่ยนเป็นการมองด้าน Demand Size คือ มองว่าลูกค้าต้องการอะไร เลือกอะไร อาจเป็นทางรอดมากกว่าเดิม

สรุป

• ถ้าพูดเรื่องการตลาด ให้ถามคนที่รับบริการอยู่ว่าต้องการอะไร หรือเรียนรู้จักการสังเกต

• การตลาดคือการทำอะไรโดยถามคนรับบริการก่อน

• Marketing โดยทางรูปธรรมมี 3 กิจกรรมหลัก เป็น Process อยู่ 3 Process

นิยามการตลาด

1. ที่ MBA ชอบใช้ การตลาดเป็น Mass Communication คือ การสื่อสารมวลชน เป็นการบอกกล่าวว่าเราคือใคร ... คนใช้เงินโฆษณาประชาสัมพันธ์มากที่สุดในปี 2553 และ Fail มากสุดคือ สำนักนายกฯ เรียกการตลาดแบบนี้ว่าเป็นการ Expectation ทำให้มีจุดอ่อนคือ คนจะคาดหวังตลอดถึงครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งความเป็นจริงการจะดีตลอดไปนั้นเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามการตลาดแบบนี้มีข้อดีคือเงินเยอะ ได้หมู่มาก เรียกว่าเป็นการสัญญา

2. Value Chain การนำส่งหรือจัดส่งสินค้า ซึ่งเรื่องนี้ EGAT ทำได้ดีมากเรียกอีกอย่างว่า Delivery ถ้าโฆษณาไว้ว่าความคาดหวังสูง ท่านต้องนำส่งให้ได้กับความคาดหวังนั้น เรียกว่าการทำตามสัญญา

3. Retailing คือการเจอหน้าตา เรียกว่า Person to Person จุดนัดพบ หรือจุดค้าปลีก EGAT คนหลายหมื่น ตรงไหนคือจุดนัดพบ มนุษย์ต้องการ Personal Service หรือสิ่งที่ให้รู้ว่าเป็น Personal

สรุป การตลาด ถ้าเข้าใจ 3 ข้อ นี้ การทำการตลาดก็ง่าย ทำให้ตัว Product มีผลิตผล และประสิทธิภาพในสิ่งที่อยากเป็นอยากมี

• การตลาดต้องดูที่ลูกค้า ลูกค้าหลาย ๆ คนรวมกันเรียกว่าการตลาด – ต.ย. การServe คนให้เยอะสุด เช่น โทรศัพท์มือถือ การตลาดเกิดจากความไม่พอใจในบางอย่างทำให้เกิดอีกอย่างเช่น เฟอรารี่เกิดจากความไม่พอใจในรถ เฟียต เป็นต้น

• ลูกค้าเมื่อมาจัดหมวดหมู่ มีเครื่องมือประเมินลูกค้า 4 ตัว เรียกว่าแม่บทการทำการตลาดอย่างแท้จริงอย่างแรกเรียกว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีการแบ่ง Spec

1. Size เป็นตัวคูณ ยิ่งใหญ่ยิ่งเฉลี่ย

2. Growth อัตราการโต สำหรับไฟฟ้าไม่แน่ว่าจะดี เนื่องจากเหมือนโต๊ะจีน ถ้าเกินต้องแยกเป็น 2 โต๊ะ เป็นต้น เราจะวังตอนที่เพิ่มโรงไฟฟ้าอีกโรง อย่างไรก็ตามให้พิจารณาร่วมกับ Size ด้วย

3. Share ส่วนแบ่งการตลาดอยู่กันอย่างไร ในประเทศไทยอาจเริ่มคิดว่าเราเป็นกี่เปอร์เซ็นในอาเซียน เนื่องจากว่านอกจากกฟผ. เป็นผู้ผลิตแล้ว ยังเป็นผู้รับซื้อไฟจากลาวด้วยเช่นกัน เป็นลักษณะของส่วนแบ่งตลาดแบบ Power จึงไม่ใช่ส่วนแบ่งตลาดของลูกค้าอย่างเดียว

4. Competition การแข่งขันเป็นอย่างไร ยุคพลังงานถูกหมดไปแล้ว

อย่างไทย เป็นตัวอย่างของคำที่เรียกว่า “ปากเล็ก หูใหญ่” รับได้เยอะแต่โฆษณาน้อย ตปท.ไม่ค่อยรู้จักไทยเท่าที่ควร ตัวอย่างบ้านปูไม่ได้ขายถ่านหิน แต่ขายความมั่นใจในพลังงาน ภาวะพลังงานพึ่งได้ทั้ง Supply และ cost หรือเปล่า

ถ้า EGAT จะทำการตลาดในยุคหน้าต้องทำ 6 ตัวนี้เข้ากันให้ได้

1. Politic – การเมืองเล่น EGAT ได้ ดังนั้นต้องรู้เท่าทันเกมส์ , รู้ Internal Politics แสร้งว่าเราไม่รู้จักกัน

2. Economics – กฟผ. ต้อง Deal กับ cost of funding ด้าน source & cost of fund

3. Social - CSR

4. Technology – Product ระหว่าง EGAT ทำ เสาพาดสาย ตามความเห็นผู้ประเมินOECD บอกว่า EGAT มี Network Connection Line ดีที่สุด เรียกว่าเป็น Potential Product หรือ Community Product , Wealth of Product คือ Product ที่ EGAT ,Product เป็น non power เยอะ

5. Energy – ในที่นี้จะเป็นในเรื่อง Threat การคุกคาม เจอทั้ง Cost /Against … Sector ที่ ดีสุดคือนิวเคลียร์ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน Line of Fire, Line of Wind เมืองไทยจึงเสมือนเป็นสถานที่ตั้งที่ปลอดภัยจากเรื่องภัยธรรมชาติคุกคาม

6. Law – International law ต่าง ๆ เช่นวิศวกรรมศาสตร์ในไทยต้องรับรองวิศวกรรมศาสตร์ในเวียดนามทั้งหมดเป็นต้น พยาบาลจากฟิลิปปินส์จะเข้ามาปีละ 20,000 คน เรียนที่ราชภัฏสวนดุสิตแต่ไปจบที่สิงคโปร์ได้ ถ้าเรารู้เท่าทัน ใน International law ท่านก็จะสามารถต่อรองได้

แล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะเปลี่ยนปรากฎการณ์ที่ว่านี้เป็น Opportunities ได้อย่างไร

Marketing ไม่ได้เป็นคำตอบทุกอย่าง แต่ คนในกฟผ.จะต้องรู้เท่าทัน

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กลุ่ม 4

ถามอ.ไกรฤทธิ์ว่าเคยดู กฟผ.เอาผู้นำออกโฆษณาหรือไม่ ในมุมมองของอาจารย์คิดว่าอย่างนี้โดนใจคนดูไหม และถ้าให้คนมองภาพกฟผ.ออกควรเป็นแบบไหน

ตอบ ก่อนอื่นขอพูดเรื่อง 3 Know ก่อนคือ ไม่ว่าทำดีหรือไม่ก็ตาม ถ้าผู้บริหารปรากฎกาย คนจะติดจุดอ่อนเขา จะเป็นเป้าสายตา แต่จากผลงานทั่วโลกทุกคนที่ขึ้นมาเป็นดาราให้หนังตัวเองคนดูจะหมั่นไส้ แต่ทำไมเกิดเหตุนี้บ่อยมาก บางครั้งที่นักโฆษณาคิดไม่ออกว่าจะทำโฆษณาอย่างไรให้โดนใจ คิดไม่ออก จึงเชียร์ CEO มาเป็น Presenter แต่จริง ๆ แล้วไม่ควรทำ โฆษณาเป็นเหมือนมายานิดนึง ผู้บริหารไม่ใช่นักแสดง รูปแบบเหมือนปล้นคนรวยเอามาใส่คนจน เพราะว่าไม่ยุติธรรมกับผู้ว่าฯ ได้แนะนำว่าผู้บริหารทั้งหลายถ้าไม่ใช่นักการเมืองอย่าให้ Visible สูง ตัวผู้ว่าฯ อย่าเล่นเอง ในทางวิชาการเสี่ยงมาก สมควรเปลี่ยนตัว Agency ,Power Engineering ต้อง โดย Training & Experience สรุปแล้วไม่สมดุลทั้งเหตุและผล

เมื่อไรคนมี Choice จะ take the choice

วิธีการคือ

• ให้มีการ Mix Solution คือ การประชุมหลาย ๆ คน ให้ฟังคนที่รู้เรื่องที่สุดแต่ให้การตัดสินใจเป็นของท่านเอง ต้องใช้ Expert ให้เป็น และใช้ Experience ในการแก้ปัญหา

• Grass root ของ Marketing คือ Story telling การตลาดคือการ Poll experience ของทุกคนแล้ว Design เป็น Product สมมุติว่าโฆษณานี้ออกมาดีจะกลายเป็น High Expectation ท่านต้องคิดไปอีก 5 เรื่องข้างหน้า เรื่องหน้าจะจิ๊กซอว์ กับเรื่องที่แล้วยังไง เรียกว่า Strategic Question ต้องมี Before During and After แล้วต้อง Effective กับเรื่องนั้น ๆ ด้วย

โดยสรุปแล้ว

• อย่าไปสร้าง Expectation ในโฆษณา ขอเสนอมให้สร้าง แคมป์เยาวชนที่กฟผ. ศูนย์การเรียนรู้ที่นี่ ใครจะเรียนรู้จากต่างประเทศให้มาที่ EGAT แล้วผู้บริหารทั้งหลายของกฟผ. เป็นคนสอน เป็นต้น

• หลายท่านทราบว่ากี่ปีมาแล้วที่ กฟผ. เป็น First choice สำหรับ Engineering สังเกตว่าทำอะไรเป็นประโยชน์กับประชาชนเยอะ แยะ แต่ไม่ปรากฎให้เห็นผลงานชัดเจน

• ตลาด EGAT ใน 5 ปีข้างหน้าคือ อินโดจีน อยากให้ EGAT เป็น กูรูในทุกเรื่องเกี่ยวกับ Power , ไทย เป็น Center เป็นอนุสาวรีย์ชัยของโลก นี่คือสิ่งที่เราต้องทำให้ปรากฎ

• การเชื่อมไทย ญี่ปุ่น กับจีน เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากในสายตาของอเมริกา และยุโรป

*** ท่านต้องให้คนค้นพบท่าน ต้องเป็น EGAT ที่ Friendly มาก ทำสถานที่ให้เป็น User Friendly เช่น มีการเอาคนสลัมมาเล่น ฟุตบอลที่ EGAT มีการตั้ง EGAT FC อย่างนี้เรียกว่าการทำ Marketing ในข้อ 2 แล้วต่อมาคนที่เรียนได้ที่ 1 ในประเทศไทยก็ต้องเลือก EGAT ในการทำงาน

EGAT – Strength อยู่ที่คน ,teamwork, LO

กลุ่ม 3

ที่ผ่านมา EGAT ก็ได้สร้างความสัมพันธกับชุมชนในรอบรัศมี 5 กม. อยู่แล้ว เช่น ที่บางพลัด บางกลวย ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นพวกเดียวกับ กฟผ. ข้อ 1. ทำสัญญา ทำสิ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. มีไตรภาคี 3. มี Site Visit เป็นคณะรัฐบาลไตรภาคีกับประชาชนมาดูงานที่กฟผ. ว่าเป็นตามสัญญาหรือไม่ ในวันเสาร์อาทิตย์กฟผ. ก็จะออกพื้นที่เป็นหลัก บางครั้งที่ประชาชนมีปัญหากับปตท. เขาไม่คุยด้วย EGAT จึงมานั่งที่หัวโต๊ะ เขาถึงยอมคุยด้วย สรุปแล้ว EGAT ทำตรงกับนโยบายตลาดที่ทำ ตัวอย่างคือ สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้โดยไม่มีเสียงต่อต้านจากประชาชน

อ.ไกรฤทธิ์ อยากให้นำสิ่งที่ทำอยู่นี้ลงใน Newsletter ข้างนอกให้คนทั่วไปรับทราบด้วย ไป Relate กับอะไร อยากเห็นการคุยเหล่านี้ในสโมสรบ่อย ๆ แล้วจะก่อให้เกิดการตกผลึก ให้เป็นเรื่องที่ทำได้ การลงพื้นที่เพราะรัก EGAT และชุมชนเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่อยากให้สร้าง Inspiration ให้กับคนอื่นด้วย อาจมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ หรือความเป็นมิตรโดย บริเวณตึกริมรั้ว ให้คนภายนอกมาเล่นกีฬาได้ ปลูกดอกไม้ขายได้ ตั้ง Junior FC หาพี่ ๆ เป็นทีมสำรอง User Friendly สำคัญ อยากให้ Inspire ให้ผู้หญิงลงไปทำงานพื้นที่ด้วยกันกับชุมชน อย่างนี้ถือเป็น Real Marketing ขอชื่นชม

กลุ่ม 5

อยากเปลี่ยนโฆษณาเป็นหนัง Action เช่น ให้เขา Suffer อย่างเช่น ในขณะนั่งดูละครเรยาอยู่ ไฟดับจะทำอย่างไร ขอนำตัวอย่างที่คล้ายกันคือมีเหตุการณ์ไฟดับที่เกิดที่ภูเก็ต ในการติดตั้งสายส่งถ้าสายส่งเส้นนี้เสร็จ ไฟก็ไม่ดับ แต่ไม่เสร็จเพราะติดอยู่ที่คนหนึ่งเขาไม่ยอม เนื่องจากคนนี้เข้าจังหวัดไม่ได้ พออยู่ ๆ ไป ดีขึ้นสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ สรุปคือเมื่อเขา Suffer นิดนึง แล้วทุกอย่างอาจจะดีขึ้น ภาพ EGAT น่าจะเปลี่ยน คือ ไฟดับเพราะอะไร สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ไฟก็ดับ ทำอย่างนี้ได้ก็จะแยกคนออกมาระหว่างคนที่ต่อต้านจริง และคนที่ต่อต้านไม่จริง

อ.ไกรฤทธิ์ นี่คือ Creative ถ้าทำอันนี้เป็นคลิปจะดีมากคือให้คนไฟฟ้าฝ่ายผลิตพูดเองคนจะ Get เนื่องจากเป็น Personal Experience แล้วเอาเข้าเวปจริง ประเด็นคือคนที่ทำงานโดยตรงแล้วเล่าให้ฟังมันคือชีวิตจริง และจะถูกกล่าวถึงในหลาย ๆ ครั้งในต่อมา เสนอว่าถ้า Serious จริง ๆ ปล่อยไปใน Youtube เป็นลักษณะ Personal Account จะดีมาก

กลุ่ม 1

EGAT จะใช้ผู้ผลิตงาน 20,000 คนเข้าไปแล้วยังไม่เป็นรูปธรรม คน EGAT อยู่ในคณะกรรมการต่าง ๆ เยอะมาก แต่ไม่ค่อยได้แสดงให้เห็นว่า EGAT ได้ทุ่มเทลงไปอย่างแท้จริง ดูตัวอย่าง ตปท. มีการสร้าง university ถ้าโรงไฟฟ้าสร้างไม่ได้จริง ๆ สามารถทำเป็นมหาวิทยาลัยแทนได้ไหม

ที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ลึก ๆ EGAT กลัวการต่อต้านจากชุมชน และ university ฝั่งตรงข้าม เนื่องจาก EGAT มีนักวิชาการจำนวนมากที่สามารถเล็กเชอร์ง่าย อยากให้มีอาจารย์ Full time ไม่มีอาจารย์Part time

องคมนตรีกำธน เป็นประธานมูลนิธิพระดาบส บอกว่า คนสอนเป็นระดับ Operation จริง ๆ EGAT มีช่องนะ แต่ไม่ทำ ถามว่า EGAT มีไหม แต่ถ้า Policy ไม่ชัดเจนก็ไม่ออกไป เพราะสมัยนี้ทำโดย จิตอาสา บางครั้งอาจดูเหมือนว่าไม่ยั่งยืน ถ้าไม่ให้ก็เสมือน Negative แต่ถ้าให้การศึกษาจะถูกมองว่าทำให้ Sustain ต่อไป

จากการ Train ให้ Sudan เห็นว่าการให้วิชาการด้านความรู้ทำให้เขาเห็นคุณค่าของการให้ บางครั้งเราเรียน Theory มากไป แต่ Practical ไม่โชว์เลย

ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าในพระนครเหนือ? เนื่องจากมีอยู่แล้ว

บางครั้งเรา Success ในหมู่ชาวบ้าน บางครั้งเราเหมือนเดินตามปัญหาแต่สื่อที่จะรับรู้จากชาวบ้านไม่มี เช่นไม่เห็นที่ชาวบ้านเชิญชวนว่า EGAT สนับสนุนการเป็นมิตรกับชุมชน

อ.ไกรฤทธิ์ บอกว่า กฟผ.ที่ผ่านมาทำดีแล้วในแง่ Formal ถูกแล้ว คิดใหญ่ทำเล็กถูกแล้ว อยากให้พนักงาน EGAT คุยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ว่าใคร ทำอะไรที่ไหน ต้องมีจิตวิญญาณแบบ NGO ในเรื่อง Formal อย่าไปท้อ ให้เอาปัญหามาคุยกันบนโต๊ะ เช่นทุกวันศุกร์มีรายการ Friday Advic นั่งคุย แขร์ประสบการณ์จนได้รู้ว่า ใครทำอะไรที่ไหน

แบบ Informal ในส่วนบุคคลตั้ง Internal Web แชร์ว่าใครทำอะไรลักษณะ CSR อยากเห็นชื่อเดียว ๆ ที่ไม่เป็นทางการว่าเขาทำอะไรกันบ้าง

กลุ่ม 2

ใน EGAT มีแผนทำ Sport Complex ทุกปิดเทอมใหญ่มีการสอนกีฬากับคน EGAT เอง ตอนเย็นก็มีการสอนลีลาศ ในอีกไม่นานจึงคิดว่าน่าจะเป็นตามแผนการตลาดของอาจารย์ไกรฤทธิ์สอนในไม่ช้า

การบ้าน โดย อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ลองไปเขียนสเป็กผู้ว่าการกฟผ.ในอนาคตมีอะไรบ้าง 5 ข้อ เขียนให้ตรงกันทุกโต๊ะเลย แล้วทำทุกอย่างให้เป็นตามนั้น

เทพประสิทะ ธรรมธาร

การบ้านวันที่ 23 พค. 2554

1.ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต ของ กฟผ.

1.1 ได้ทราบถึงแนวเปลือกโลกที่มีรอยต่อ กันถึง 7 แผ่นใหญ่ๆ และมีแผ่นเล็กๆ มากมายที่มีการเคลื่อนตัวโดยธรรมชาติ อันเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว

1.2 ดีใจอย่างยิ่งที่ ตำแหน่งของประเทศไทย อยู่ชายแดนการเกิดแผนดินไหว และมีเพียงรอยเลื่อนเล็กๆพาดผ่าน (แต่มีสูงถึง 14 รอยเลื่อน) ภาคเหนือของไทย มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริคเตอร์ ทุก 200-300 ปี เราคงไม่ทันได้เห็น

1.3 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เลื่อนไป 3 ปี วันนี้(24 พค. 2554) ขณะขับรถ กลับบ้านฟัง วิทยุ รักษาการ รัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ นโยบายพลังงาน จากกรณีศึกษา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา ที่ญี่ปุ่น จะไม่สร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในประเทศไทย โดยจะ ใช้พลังงานหมุนเวียน Green Energy สายน้ำ สายลม แสงแดด ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ ทดแทน

1.4 อจ. มนูญให้ความเห็นว่า กฟผ.ต้องชี้แจงและตอบคำถาม 3 ข้อให้ชัดเจน ก่อนคือ

1.4.1 มีความจำเป็นอย่างไรที่ ต้องสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

1.4.2 มีพลังงานทางเลือกอื่นใช้ทดแทนได้หรือไม่

1.4.3 มาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงใด อธิบายให้ประชาชนเห็นด้วยได้หรือไม่

1.5 อย่างน้อย กรณีศึกษา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา จะทำให้เทคโนโลยี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง

2. แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.

2.1 ระบบความคิด จะต้องคิดอย่างสร้างสรร มีชีวิต ตอบคำถาม Why , How to…

2.2 Blue Ocean : ลูกค้าใหม่ เราต้องค้นหาให้เจอ , สินค้า / บริการ ตัวใหม่ หรือคือ นวัตกรรม นั่นเอง , โอกาสในตลาด

2.3 กฟผ. สามารถใช้ แนวคิด Blue Ocean เพื่อค้นหา การผลิตไฟฟ้าจาก พลังงาน หมุนเวียน หรือ พลังงานสีเขียว สายน้ำ สายลม แสงแดด

......................................................................................................................................................................

ภาพบรรยากาศ ระยะที่ 2 ระหว่าง วันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2554

ประมาณ วงศ์วานรุ่งเรือง

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อ.พลายพล คุ้มทรัพย์

ความรู้ที่ได้สามารถนำไปจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพ จาก Chart ที่อาจารย์เสนอ ปี 2020 และ 2050 คาดการณ์ว่าการใช้พลังงานจะลดลงนั้น ในส่วนของราคาลดด้วยหรือไม่

ถ้าเป็นไป้ในอนาคต เราหน้าจะแจ้งให้ประชาชนทราบว่าในแต่ละเดือน องค์ประกอบพลังงานในแต่ละเดือนประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น น้ำ กี่ % ถ่านหิน กี่ % น้ำมัน กี่ % เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่าในแต่ละเดือนค่าไฟไม่คงที่ และจะเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชน หลังจากนั้นจะมีประโยชน์ในการชี้แจงช้อมูลต่อไป

สิ่งที่ได้รับจาก ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ช่วยในการวางแผนการตลาดของ กฟผ. การทำ CSR ให้ถูกจุด สามารถดึงผู้ต้านให้ลดการต่อต้าน เช่น ทำสวนหย่อมในพื้นที่ กฟผ. หรือ ที่ใกล้เคียง ปรับวิธีโฆษณา กฟผ.ให้ถูกจุด ไม่ต้องบอกว่ากฟผ.ทำอะไร ควรบอกเขาว่าจะเกิดอะไรถ้าเราทำสิ่งที่วางไว้ไม่ได้ และใครจะเสียหายเท่าไร โดยให้ผู้เสียหายมาพูดยืนยัน

เรียน อาจารย์จีระ

จากการอ่านระบบบัดดี้ จากบทความสั้นๆ ของอาจารย์ ผมมีความเห็นว่า ระบบบัดดี้เป็นระบบปกติของมนุษย์ในสังคมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมหรือครอบครัวอย่างมีความเข้าใจ ความสุขและมีคุณค่า พ่อแม่กับลูก สามีกับภรรยา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าลูกน้อง ทั้งคู่ไม่ว่าสัมพันธ์กันแบบใดต่างต้องร่วมเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแต่ละคู่ ไม่ว่าจะทำให้ธุรกิจมีความเจริญเติบโต ครอบครัวมีความสุข ทำงานด้วยความสำเร็จราบรื่น ควรจะต้องร่วมร่วมคิดร่วมทำด้วยความเข้าอกเข้าใจด้วยมุมมองที่อาจจะแตกต่างกันตามความรู้ ประสบการณของแต่ละคน

ระบบบัดดี้จะยั่งยืนและประสบการความสำเร็จเมื่อ

1 ทั้งคู่ต้องมีวิถีแห่งความคิด ความเชื่อทัศนคติที่เหมือนกันเชื่อว่า 2 หัวดีกว่าหัวเดียว รับฟังซึ่งกันและกัน เชื่อว่าไม่มีใครรู้ไปทุกเรื่อง

2 ไม่เป็นคนมั่นใจตนเองสูงเกินไป จนเป็นจุดอ่อน ไม่รับฟังผู้อื่นหรือไม่ถือความเห็นคนอื่น

3 มีความสนใจในบางเรื่อง ที่เหมือนๆกัน จะทำให้ไปกันได้ยาว

สุนทรพันธุ์เมฆ

ภาพบรรยากาศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ถ่ายรูปร่วมกับ ผู้เข้าร่วมอบรม พร้อมทั้งอาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง Art & Feeling of Presentation

โดย คุณจิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

เริ่มต้นด้วยให้แต่ละท่าน เขียนว่าจะเป็นอะไร ใช้ไอเดียแบบปิ้งแว๊บ ลงในกระดาษ เปล่า แล้วแปะไว้ที่เสื้อ

- Present.ให้คนในกลุ่มรู้ว่าทำไมอยากเป็นตัวนี้ พร้อมประกอบทำท่า

- ขอตัวแทนกลุ่มละ 2 ท่าน ว่าทำไมอยากเป็นพร้อมท่าสัญลักษณ์ ใช้วิธีการนำเสนอแบบ สั้น ย่อ ได้ใจความ ที่ยกตัวอย่างในห้องมีอยากเป็น โดเรมอน ,นก ,ปลา ,นักฟุตบอล ,ผีเสื้อ เป็นต้น

- เอาทุกท่านที่พูดเมื่อสักครู่มายืนเรียงกันหน้าห้อง แล้วให้คนแรกพูดในสิ่งที่ตัวเองเป็นสั้น ๆ ย่อ ๆ 3 ประโยค ให้คนต่อไปเอาประโยคสุดท้ายมาต่อเรียงความให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองเป็น แล้วพูดต่อกันไปเรื่อย ๆ เรียงร้อยเป็นเรื่องราว

- เวลาคนอยู่หน้าห้องความรู้สึกจะเปลี่ยนไปไม่เหมือนตอนนั่งฟัง บางทีจะรู้สึกตุ้ม ๆ ต่อม ๆ เราจะต้องทำให้เขตแดนตรงหน้าห้องเป็น Comfort Zone ให้เหมือนที่นั่งอยู่

- ถามว่า..สิ่งที่เราเห็นเพื่อนอยู่ข้างหน้าเวที รู้สึกอย่างไร ….. คนที่นั่งอยู่มองเห็นอะไร และประเมินอะไรบ้าง เช่น ลักษณะการนำเสนอ ,บุคลิกภาพ, เสียง ,อากัปกริยา, อารมณ์เป็นอย่างไร,สายตา,การยืน ,ท่าทาง

- การที่ท่านยืนอยู่หน้าห้องคือการปรากฎโฉม , วิธีคิดเขาเป็นอย่างไร จากตัวอย่างที่ให้ลองทำ...แสดงให้เห็นถึงการใช้ตัวเชื่อมเชิงสร้างสรรค์เดี๋ยวนั้นเลย เรียกการพูดแบบนี้ว่าการพูดโดยกระทันหันไม่ได้เตรียม ( Impromptu Speech )

- เรามีวิธีการเตรียมความคิดตรงนั้นอย่างไรบ้างเพื่อให้การพูดดูดี เอาประโยคจาก Mind Mapping มา คือ การจับประเด็นให้ได้

- ใช้สูตร Power of Three คือการสร้าง 3 เหลี่ยมในใจ (เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่เราจะทำอะไรไม่ค่อยเกิน 3 เราจึงนำ 3 เหลี่ยมมาไว้ในใจเรา ใน 3 เหลี่ยมมี 3 มุม คือ ประเด็น 1 ประเด็น 2 ประเด็น 3

o ประเด็นแรก น่าจะเป็นปัญหาหรือโอกาสในเรื่องนั้น

o ประเด็นที่สอง คือ ทางแก้ของปัญหานั้นหรือโอกาสให้อะไร ใน 3 ข้อ

o ประเด็นที่สาม คือ ประโยชน์ที่จะได้รับ

เราสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ใน Impromptu Speech ได้ ให้แต่ละประเด็นสร้างเป็นภาพไว้ในใจ เพื่อจำได้ง่าย แล้วดึงภาพนั้นออกมา จึงง่ายที่จะพูดออกมาเป็นตัว Wording

ให้ทุกคนในห้อง เริ่มคิดถึง การทำ Value of Organization

ให้แต่ละคนลองทำวาดภาพ และใช้สีในการวาดจะช่วยดึงจินตนาการ

เมื่อวาดเสร็จแล้วให้ลองไปดูจินตนาการของเพื่อนว่าวาดอะไรบ้างแล้วให้คะแนนเพื่อนเป็นดาวว่าได้กี่ดาว

ถามว่า....ในช่วงที่กำลังทำอยู่ เราได้อะไรจากแบบฝึกหัดนี้บ้าง

- มีความรู้สึกเหมือนคืนชีวิตไปสู่เด็ก ๆ เด็กไม่มีความรู้สึกเครียด ไม่ต้องกลัวว่าผิด รู้สึกสนุก

- ตอนได้แบบฝึกหัดมา พยายามคิดว่าจุดประสงค์คืออะไร มองว่าเป็นกระบวนการคิดที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องเขียนเป็นประโยค ในภาพหนึ่งภาพสามารถมีคำอธิบายได้มากมาย แต่ถ้าเขียนแล้วจะถูกจำกัด การวาดภาพจึงทำให้มีคำอธิบายได้มากขึ้น

- แต่ก่อนไม่กล้าพูดในที่สาธารณะ การทำแบบฝึกหัดนี้จึงช่วยทำให้รู้สึกง่าย และให้เรากล้าพูดมากขึ้น

สรุป โดยคุณจิตรสุมาลย์ การทำแบบฝึกหัดนี้ แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวต่าง ๆ แต่ละท่านจะรู้สึกเอง เป็นความรู้สึกที่ไม่มีใครมารู้สึกด้วย เป็นการใช้สมองทั้งสองซีกของเรา เป็นเรื่องของจิตวิทยา แล้วต่อมาเราจะรู้ว่าเพราะเหตุใดเราถึงควรวาดรูป อารมณ์และความรู้สึกจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องที่ท่านจะรู้ในช่วงอีก 1 ชั่วโมงครึ่งต่อไป (หลังจากเบรค)

ส่วนใหญ่เวลาที่เราได้การบ้านมาเราจะเตรียมอย่างไร

- ดูอย่างแย่สุดเป็นอย่างไร อย่างดีสุดเป็นอย่างไร ทำอย่างดีที่สุด

- ให้ทำเป็นข้อ ๆ เป็นแผนภูมิ

ตัวอย่างที่ 1. การพูดเรื่องความคิดนำเสนอ

ทางลบ ความคิด ทางบวก

ความคิดแบ่งเป็น 2 ข้างในตัวเราเอง ข้างบวกเป็นไปได้ ข้างลบเป็นไปไม่ได้ ให้เทียบดูว่าในชีวิตประจำวันเราทำตามบวกหรือลบ ในทางบวก จะผลักดันให้เราก้าว ไปได้และสำเร็จ ในทางลบ จะฉุดรั้งให้ถอยกลับไป

ตัวอย่างที่ 2 การประกวด Britain’s got Talent ตอนนั้น Susan Boyld ประกวด ทุกคนมีศักยภาพที่ซ้อนเร้น ให้ไปร้องเพลงบนเวที

ข้อสังเกต

- Susan Boyldเป็นเสมือนคนบ้านนอก แก่ อ้วน แต่คนที่เธอใฝ่ฝันอยากเป็น คือ Allen Peath

- Susan Boyld ข้างในของเธอคิดอะไรบ้าง

- เสียงนึง บอกเธอว่าเธออ้วน แก่ บ้านนอก ประกวดก็ไม่ได้หรอก

- เสียงนึง บอกเธอว่าเธอเป็นคนดี เก่ง มีความสามารถประกวดชั้นนี้ย่อมสำเร็จ

- เสียงนึงบวก เสียงนึงลบ คนเรามีทั้งลบและบวกในตัว แต่เสียงบวกเป็นแรงผลักดันให้สำเร็จ

สรุป...การนำเสนอจะพึ่งพาสมองซีกขวามากกว่า ต้องการสีสัน ต้องจินตนาการ อารมณ์ความรู้สึกมากกว่า

เราอยู่ในโลกของจินตนาการ ดูที่ประกายตา

ซีกซ้าย เป็นซีกแห่งตรรกะ เป็นรูปแบบ ซีกขวาเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ

สมองจริง ๆ ไม่ชอบอยู่เฉย ๆ กระโดด โลดเต้น สนุก หัวเราะ พอเราเห็นเด็กจะรู้สึกชอบมากเพราะสมองซีกขวาทำงานมากกว่า แต่เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ ซีกซ้ายกลายเป็นโดดเด่น ไปแต่ปรากฎว่าการรับรู้ของคนที่ฟังเราเสนอกลับไม่น่าสนใจ ดังนั้นเราทำอย่างไรให้ข้อมูลที่นำเสนอน่าสนใจ

นำมาสู่ทฤษฎีการสื่อสาร ข้อมูลที่รับได้

- 7% ตัวเนื้อหา Content ข้อมูล

- 55% ภาษาท่าทาง

- 38% พลังของเสียง

ดังนั้น เราจึงควรที่จะย้ายสมองจากซีกซ้ายไปซีกขวา จะใช้พลังเสียงมากขึ้น ใช้ท่าทางในการนำเสนอเพิ่มขึ้น การนำเสนอควรใช้เสียงเป็นตัวดันให้เกิด

คนโกรธ จะเหี่ยวเร็วเนื่องจากใช้แค่ส่วนหลอดลมกับจมูก แต่ถ้าเราอยากให้เสียงมีพลังเราจะกักเก็บลมให้ถึงท้องน้อย เป็นลักษณะลมหายใจแห่งสติและมีพลัง

ตัวอย่างที่ 3 คนที่ชนะ Britain’s got Talent เป็นกลุ่มคนที่เต้น สังเกตเห็นว่าใช้ภาษาท่าทาง ผลดึงดูดได้รับการตอบรับมากกว่าเสียงเป็นต้น

สรุป การนำเสนออะไร ให้กลั่นกรองเรื่องราวให้มีสีสันมากขึ้นจะทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมด้วยแล้วตัวเรามีสีสันในการนำเสนอขึ้น เพราะคนที่จะฟัง จริง ๆ แล้วอยากพูดทั้งนั้น เพราะฉะนั้นพยายามหาแบบฝึกหัดให้เขาทำ ให้ลงมือปฏิบัติแล้วจะจำ

ตัวอย่างที่ 4 โน้ต อุดม มีการนำเสนอที่น่าสนใจมากขึ้น

การนำเสนอของเราให้น่าสนใจต้องทำให้เขามีส่วนร่วม การนำเสนอน่าสนใจดูดี มีสาระ น่าดูมากขึ้น คือให้ใส่ ภาษาท่าทาง และเสียงเข้าไป

กรณีมะนาว ทำยังไงให้น่าสนใจ ใส่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

แจกแบบฝึกหัด ทั้ง 3 แบบ คือ เห็น ได้ยิน และสัมผัส ให้อ่านเพื่อให้ได้อรรถรส

1. อ่านให้ได้อารมณ์ของภาษาเขียน

2. พูดด้วยอารมณ์ของตัวเอง คือ เห็น ได้ยิน สัมผัส

o อ่านแล้วให้ขีดเส้นใต้ 3 ประโยคที่เราชอบ

o ขณะอ่านให้จินตนาการตามกับอรรถรสในภาษาเขียนนั้น

o ทำความเข้าใจก่อนในอรรถรสนั้น ๆ แล้วพูดเป็นภาษาส่วนตัวของเรา

o ให้แปลง 3 ประโยคที่เราชอบเป็นคำพูดของเราเราจะพูดอย่างไร

o อรรถรสที่เขียนในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพื่อให้โดนใจเรา เราดึงที่ชอบแปลงเป็นภาษาเราเอง แล้วให้นำเสนอในกลุ่มของตัวเอง สลับกันพูดในกลุ่ม

o การพูดให้ใช้สมองซีกขวา ในการดึงจินตนาการออกมา

o ให้กลุ่มละ 1 คน Present

o เวลาพูดถึงอารมณ์และความรู้สึกลึก ๆ มันจะมีจินตนาการ มีภาพจากใจเองโดยธรรมชาติ จะทำให้สนุก และมีสีสัน วิธีการคือคิดเป็นภาพ...ทำให้มีจิตวิญญาณออกมาขณะนั้น

o ทุกอย่างที่เป็น Art & Feeling จะซ่อนลึก ๆ ในตัวเรา เมื่ออยู่ข้างหน้าห้อง ภาษาท่าทางจะออก เสียงจะออก

การก้าวผ่านความกลัวได้ต้องทำอย่างไร ให้เป็น Comfort Zone

สรุป

- กรณี Dead by Powerpoint – คือมีกราฟ แผนภูมิ ตัวหนังสือเยอะเกินไป

- อยากให้ดูตัวอย่างของ สติฟ จอป เป็นผู้ที่ทำให้การนำเสนอสวยงามที่สุด และดูน่าสนใจ

- เอารูปภาพ แทนเรื่องราว และทำตัวอย่าง ตัวมีเดียเป็นเครื่องมือในการช่วยเรา

- เวลาทำ Powerpoint ให้ทำในรูปแบบ ที่ทำให้เรามีประโยชน์ในการนำเสนอบนเวที

- เอารูปอะไรขึ้นจอให้คิดถึงโปสเตอร์หนัง เรื่องราวต้องโฟกัสให้รู้ว่าเราจะนำเสนออะไรแล้วให้ชัดเจนไปเลย ถ้าเราใส่อะไรเยอะ ๆ ในรายละเอียดใน Powerpoint คนฟังจะงง หมดเลย และไม่จำ ตัวอย่าง โปสเตอร์หนังเรื่อง Black Swan มีความชัดเจนมาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวที่เราต้องยอมรับในเรื่องนี้

- หนังทุกเรื่องจะใช้ท่าสัญลักษณ์เพื่อให้จดจำหนังนั้นได้ เชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์ของคน

- ภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องใช้ Wording ภาพสามารถแทนคำได้เป็นพันคำ

- ความคิดสร้างสรรค์แต่ละคนคิดไม่เหมือนกันในการเห็นหนึ่งภาพ

- ภาพบางอย่างเสนอด้วยจิตวิญญาณ จะเห็น Passion มีความตื่นเต้นเร้าใจเกิดขึ้น

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย คุณประกาย ชลหาญ

วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

เกริ่น

• GE บอกว่าทำอะไรต้อง Customer Centric เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

• ฝรั่งบอกว่าชีวิตเริ่มต้นที่ 40

• คนอายุ 40 คบกับ 60 ปี คบกันได้แล้วคุยกันรู้เรื่องเพราะ ประสบการณ์ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ถ้า 20 กับ 40 ความคิดจะต่างกันเยอะ อาจไม่เข้าใจกัน

• หมายความว่าตอนอายุ 40 ปี เราควรรู้ทั้งหมดแล้ว เกิน 40 จะเป็นการนำเอาประสบการณ์เดิมมาใช้ ถ้าอายุ40 ปีแล้วคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่องอาจจะสายไป

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

• ทำไมต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลง

• ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรถึงเป็น Becoming and Change Leader

• การเปลี่ยนแปลงยิ่งรุนแรงขึ้น และมากขึ้นกว่าเสมอ เป็นเรื่องของ mindset ,paradigm, มุมมอง และแนวคิด

• Management เป็นเรื่องยาก , การตัดสินใจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับเหตุและผล

• หน้าที่หลักของผู้นำมีเรื่องเดียวคือ Competency คือ ความรู้ (ตัวที่วัดความรู้ คือวุฒิการศึกษาแต่ในชีวิตจริง วุฒิการศึกษาไม่ได้การันตีเรื่องความรู้ วุฒิการศึกษาไม่ใช่ทุกอย่าง ยังมีประสบการณ์ ทักษะ ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือการสร้างทักษะให้เพิ่มขึ้น อย่างเช่น กฟผ. มีคนเก่งเยอะ แต่ผลงานดีเท่ากันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับโอกาส

C+M=P (Competency +Motivation = performance)

ถ้าสามารถทำให้คนเก่งแล้วมีแรงจูงใจสูง ๆ ผลคือ performance จะสูง

สรุปคือ 1. สร้างคนให้มี C สูง ๆ มีประสบการณ์เยอะ ๆ ทำงานหลายด้าน และ 2. จูงใจเขาให้คนทำงานเยอะ ๆ ผลงานก็จะสูง แต่ถ้าคนมี Competency น้อย ก็ไม่ควรให้ต้องขยัน....

หน้าที่จริง ๆ คือการสร้าง การพัฒนา และเปลี่ยนทัศนคติคน โดยเป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการคัดเลือกคนเข้ามาในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การมีเส้นสายอาจเป็นภาระของคนในองค์กร ดังนั้นหน้าที่หลักคือ ต้องสร้างคนให้เก่งและขยัน การสร้างความขยันคือการสร้างแรงจูงใจให้เขาทำงาน

ในกฟผ. สร้างแรงจูงใจเยอะหรือไม่ ?

ตัวอย่างแรงจูงใจในการทำงาน เช่น เลื่อนตำแหน่ง ขึ้นเงินเดือน ยกย่องชมเชย

จิตวิทยาในการจูงใจ ดังทฤษฎีของ Maslow

• เรื่อง Motivation ตามทฤษฎี Maslow บอกถึง แรงจูงใจขั้นพื้นฐาน จนถึงแรงจูงใจที่มากที่สุด

• ระดับขั้นพื้นฐาน คือ ปัจจัย 4

• ระดับสูงสุด คือสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อการได้รับความปรารถนาสูงสุด

• จะเห็นว่าแรงจูงใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน อย่าบังคับให้คนมีแรงจูงใจเหมือนกัน

• ลูกน้อง 100 คน ไม่ได้มีความต้องการเหมือนกันหมด ดังนั้นเวลาจะให้ motivate ลูกน้องต้องศึกษา และเข้าใจลูกน้องจริงๆ ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็น demotivate เขา

• พนักงานคือลูกค้าอย่างนึงของคุณ ดังนั้นต้องรู้จักความต้องการของพนักงานด้วย

• เรื่องจริยธรรมอยู่ในส่วนหนึ่งของ Motivation

ดังนั้น หน้าที่หลักของท่านมี 2 เรื่องคือ

1. ทำไปแล้วเพิ่มสมรรถนะ เพิ่มความรู้ ความสามารถของลูกน้องหรือไม่

2. สิ่งนั้น Motivate พนักงานหรือจูงใจพนักงานหรือเปล่า

ถ้าทำแล้วไม่ตอบสนอง 2 อย่างนี้อย่าทำเลย เสียเวลา

ในภาพ Human Performance Frameworkแสดงภาพรวมทั้งหมดของการพัฒนาองค์กร

• ผลงานขององค์กรมาจากคน 1 คน แล้วผลงานแต่ละคนรวมกันจะเป็นผลงานของทั้งองค์กร เรียกรวมกันว่า Human Performance Framework

• องค์กรดี หรือไม่ อยู่ที่คนเป็นหลัก ดังนั้นคือทำอย่างไรให้คนมีผลงาน คือ มาจาก Competency + Motivation ส่วนองค์ประกอบทั้งหลาย ท้ายสุดจะเป็นตัวผลักดันให้คนทำงานให้กับองค์กร ต้องมี Performance ให้กับองค์กร

Performance Cycle

- Performance เกิดจากอะไร จะรู้ได้ไงว่ามีผลงาน ต้องวัดจากเป้าหมาย ใช้ระบบอะไรประเมินผลงาน เขียนเป้าหมาย แต่ละเป้าหมายมีตัวชี้วัด เช่น KPI , BSC เป็นต้น

- เครื่องมือไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าจะเอาเครื่องมือมาใช้ทำอะไร

- ผลงานต้องเริ่มจากเป้าหมายเสมอ แล้วถ้าไปได้ดี ทำได้ตามเป้าหมายก็มีผลงาน

- เมื่อมีผลงานแล้ว ในฐานะหัวหน้า ลูกน้องทำได้ตามเป้าหมาย อย่างน้อยสุดต้องชมเชย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ

- หน้าที่หลักของหัวหน้าคือต้องโค้ช

- หัวหน้าต้องสอนให้ลูกน้องรู้จักความผิดพลาด ใช้ระบบคุณทำเยอะ ๆ

ทำไมต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลง

- มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในการไฟฟ้าหรือไม่ หรือเยอะจนกระทั่งชิน

- ในเรื่องส่วนตัวมีการเปลี่ยนแปลงเยอะหรือไม่

- การเปลี่ยนแปลงยิ่งรวดเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

“Change before you are forced to change” ต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลงตอนที่ถูกบังคับให้เปลี่ยน

- อะไรบ้างบังคับให้เปลี่ยน เช่น สิ่งแวดล้อม ผู้บังคับบัญชา นโยบายองค์กร เพื่อน เทคโนโลยี อายุ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทุกอย่างบังคับให้คุณเปลี่ยนตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไหน ๆ เราต้องเปลี่ยน เราไม่รู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสักก่อน otherwise it’s too late ไม่เช่นนั้นมันจะสายเกินไป เราห้ามการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราจึงควรเปลี่ยนก่อน

เครื่องมือที่ทำให้เปลี่ยนแปลงดีที่สุดเท่าที่จะดีได้

- การเปลี่ยนแปลง มี 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงที่คุณเลือกอยากให้เปลี่ยน กับ การเปลี่ยนแปลงที่ถึงแม้คุณไม่อยากให้เปลี่ยนมันก็จะเกิดขึ้น

- การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อยากให้เกิดแต่เกิดมีเยอะมาก อะไรบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เทคโนโลยี อากาศ โลกร้อน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

- 6 เดือนที่ผ่านมามีอะไรเปลี่ยนแปลงในการไฟฟ้า...เช่น เรื่องแผนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขึ้นเงินเดือน 5% ไม่ได้ตามคาดหวัง เกิดระบบการประเมินผลจาก Performance Agreement เปลี่ยนมาเป็น State Enterprise เป็นต้น

- มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่อยากให้เกิดแล้วก็เกิด เช่น อยากให้ชุมชนยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เปลี่ยนอุปกรณ์ระบบสายส่งไฟฟ้าทั้งหมด เป็นต้น

สรุป

• มีการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดโดยอาจชอบหรือไม่ชอบ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแบบไหนที่ยากกว่า ไม่มีคำตอบถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับเหตุและผล

• โดยธรรมชาติคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสบาย และชิน

• ทำทุกอย่าง ๆ อย่างเหมือนเดิม แต่หวังผลต่างกัน นี่คือความโง่เขลา ดังนั้นถ้าอยากให้ผลต่างกัน ต้องทำบางอย่างหรือทุกอย่างให้ต่างกัน

• ถามว่าเวลาทำงานทุกวัน ๆ ทำโดยอัตโนมัติหรือเปล่า

• Busy doing nothing อย่าให้การทำงานซ้ำซาก จำเจเกินไป ต้องทบทวน ทบทวน และทบทวน

• สิ่งหนึ่งที่ Jack Welch สอนในการทำงานคืออะไรทำแล้วเป็นประโยชน์ก็ทำ ไม่เป็นประโยชน์อย่าไปทำ จะประหยัดได้เยอะมาก ดังนั้นคือ ต้องปรับเพื่อองค์กร คนที่ได้ประโยชน์คนแรกคือตัวเอง เนื่องจากได้ประสบการณ์ ความรู้ ฯลฯ

• อะไรที่แก้ไม่ได้ต้องทนยิ่งเป็นผู้ใหญ่มากต้องอดทนมาก

อะไรสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง

1.เราต้องยอมรับว่าองค์กรซับซ้อนและ Complex คนมีจิตวิญญาณ มีสมอง มีความคิด คนซับซ้อน เปลี่ยนแปลงยาก

2. องค์กรเดินด้วยกระบวนการ ไม่ได้เดินด้วยโครงสร้าง ปัจจุบันนี้ Process สำคัญมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นต้องสอนองค์กรให้คิดเป็นระบบ

3. การเปลี่ยนแปลงมีหลายรูปแบบ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา

4. องค์กรต้องมีการผสมผสานกัน เข้าใจเรื่องนโยบาย และการปฏิบัติ (สิ่งที่ทำอยู่)

5. ยอมรับว่ามีเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เยอะมาก

6. ให้ยอมรับถึงความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร เพราะคุณเลือกนาย หรือหัวหน้าไม่ได้

อะไรเป็นองค์ประกอบสำคัญให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ

1. อย่าปล่อยให้องค์กรของคุณเป็นองค์กรสบาย ๆ ตามใจฉัน เฉื่อยแชะ เฉื่อยชา (complacent) ต้องสร้างให้ลูกน้องรู้จักความเร่งด่วน ต้องต่อสู้กับองค์กรอื่นให้ได้

หลายบริษัทล่มสลายเนื่องจากตกเป็นเหยื่อของความสำเร็จของตัวเองเพราะไม่พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (Victim of your own success)

2. พยายามเข้าใจว่า Stakeholder เป็นใคร

3. สร้าง Commitment (ความร่วมไม้ร่วมมือที่ทำด้วยใจ) ให้ได้กับคนที่เกี่ยวข้อง หรือเรียกอีกอย่างว่าซื้อใจ

4. มองหาว่ามีงานอะไรง่าย ๆ ประสบความสำเร็จเร็ว ๆ ทำสิ่งนั้นเสียก่อน ตัวอย่าง เช่น มีต้นส้ม ต้นหนึ่งแล้วออกผลเต็มหมดเลย ให้เก็บข้างล่างก่อน แล้วค่อยไปซื้อกระไดเก็บข้างบน อันนี้เรียกว่า Quick win เลือกทำสิ่งที่ง่ายและทำได้ทันทีก่อน

5. เวลาทำอะไรต้องมีขั้นมีตอน Roadmap

6. ท้ายที่สุดต้องไปเปลี่ยนที่ OD (organization development) เปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยนโครงสร้างให้ยั่งยืน

GE Change Model

- ชอบไปซื้อการบริหารกิจการจากที่อื่น Merger & Acquisition เช่น take over Central Card เวลาไปซื้อบริษัทต่าง ๆ นั้น จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุด

- เวลาไปซื้อบริษัทต้อง Integrated ให้ได้ ต้องรวบรวมเป็นระบบเดียวให้ได้ บริษัทที่ ทำ M&A มีมากแต่ที่ประสบความสำเร็จไม่เยอะ ตัวอย่าง Hamburger Crisis ปี 2009 หรือ ต้มยำกุ้ง Crisis ปี 2540 ส่งผลให้ GE คิด Module ขึ้นมา

- เพื่อเข้าใจ Module นี้ให้ดีให้แต่ละท่านคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลง 1 เรื่องที่ประสบมาภายในช่วง 3 เดือน

GE’s Change Model

ในการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมีอยู่ 3 สถานภาพ

1. Current state สถานภาพก่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นลักษณะของบ้านเก่า

2. Improved State สถานภาพที่เปลี่ยนเสร็จแล้ว

3. Transition State เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง ช่วงนี้สำคัญที่สุดของการบริหารจัดการ เพราะคุณจะจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดีหรือไม่ อยู่ที่ช่วงนี้ ในช่วงที่ท่านคิดก่อนเปลี่ยนมาเปลี่ยนใช้เวลานานมาแล้วเท่าไหร่ จะสังเกตว่าช่วง Transition State ยาวไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเรื่องว่าเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก

ถามว่าเมื่อเปลี่ยนแล้วมันดีขึ้นไหม การเปลี่ยนแล้วไม่จำเป็นว่าต้องดีขึ้นแต่ถ้าเลวให้เลวน้อยที่สุด แต่ถ้าดีให้ดีมากที่สุด

การเปลี่ยนดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ?

• โดยส่วนใหญ่แล้ว ...อะไรที่เปลี่ยนโดยไม่อยากให้เปลี่ยนจะแย่ลง แต่ทำอย่างไรให้แย่น้อยที่สุด เช่น เกิดสึนามิมาแล้วต้องทำอะไรต่อ หรือแก้ไขอย่างไร

• แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงที่คุณอยากเปลี่ยนเองนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะดีขึ้น เช่นการสร้างบ้าน

สิ่งสำคัญสุดในการเปลี่ยนแปลงต้องหาคนนำการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง

เขาต้องนำการเปลี่ยนแปลง

1. สร้างความรู้สึกร่วมกันให้ได้ว่าอยากเปลี่ยน (Creating a shared need)

2. ในขั้นตอนที่สร้างให้อยากเปลี่ยนต้องสร้างให้เห็นภาพว่าจุดหมายปลายทางจะดีขึ้น (Shaping A Vision) สร้างภาพที่คนนึกไม่ออกให้นึกออกให้ได้ ตัวอย่าง การติดต่อในหลายCulture วัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญ การไป Sensitive เกินไปกับ Culture ไม่ได้ อย่านึกเอาคนเป็นที่ตั้ง

3. การผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วม (Mobilizing Commitment )

4. การติดตามผล (monitoring progress)

5. ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน (Making Change Last) การทำให้ยั่งยืนต้องไปเปลี่ยนที่ระบบ ระบบการทำงาน ระบบตอบแทน เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแล้วกลับหลังหรือถอยหลังไปสู่ที่เดิม

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ในเรื่องที่คนในห้องคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงคิดว่าเรื่องอะไรสำคัญที่สุดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของท่านดีขึ้น

- Shaping A Vision

กลุ่ม 5

- ตอน Making Change Last คิดว่ายากสุด ตัวอย่างที่เห็นคือวัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนจากการรู้งานแค่คนมอบหมายงาน กับคนรับงาน เปลี่ยนเป็นทุกคนต้องรับรู้ข้อมูลเหมือนกัน จะได้รู้ว่าคนทำคือใคร เวลาขอข้อมูลจากคนอื่นทำให้ง่าย และง่ายต่อการโปรโมทคนรับมอบหมายงานด้วย

อ.ประกายบอกว่าเวลามีคนถาม แล้วถ้าเราไม่รู้อะไร อย่าตอบว่าไม่รู้เด็ดขาด เป็นสิ่งที่ควรเลี่ยงที่สุดในองค์กร ให้ตอบว่าจะไปหาข้อมูลให้

กลุ่ม 1

คิดว่าเรื่อง Making Change last ยากสุด ถ้า OD ไม่นิ่งอาจพับได้เลย เนื่องจากมีหลายอย่างกระทบ

อ.ประกายเสนอว่า....ต้องให้หัวหน้ามีอำนาจและผลักดันให้เกิดผลอาจสำเร็จได้ง่ายขึ้น

เรียน อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอส่งการบ้าน

ผู้ว่าการ กฟผ.คนต่อไปควรมีคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้

1. Good Charisma (ต้องเป็นผู้มีภาพลักษณ์ที่ดี มีเสน่ห์ดึงดูด)

มีครอบครัวที่อบอุ่น มีประวัติการทำงาน สะอาด โปร่งใส มีระเบียบ วินัย ซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทนฉลาด มีไหวพริบ ปฏิภาณ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เวลาปรากฏตัว ตามที่สถานที่ต่างๆ ต้องมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายเหมาะกับเวลาและสถานที่ ผู้คนเห็นแล้วศรัทธา

2. Good Creative Thinking Man (ต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์)

มี Vision ที่ดี สามารถประเมินปัญหาหรือสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรในอนาคตได้ถูกต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ คิดใหม่ทำใหม่ สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้องค์กรและประเทศชาติเจริญก้าวหน้า

3. Good Change Leader (ต้องเป็นผู้นำที่ดีในการบริหารการเปลี่ยนแปลง)

มีสามารถจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยน แปลงตัวเอง สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

4. Good Coach (ต้องเป็นครูฝึกที่ดี ในการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ)

มีความเข้าใจ รู้ปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา หาทางแก้ไขปรับปรุง โดยไม่ใช้วิธีสั่งการ แต่เป็นการชี้แนวทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นด้วย สามารถคิดเองและฝึกฝนไปสู่ความสำเร็จ

5. Good Communicator (ต้องเป็นโฆษกที่สามารถถ่ายทอดสื่อสารได้ดี)

มีความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี สามารถถ่ายทอดสื่อสารให้ผู้ร่วมประชุม ผู้ชม ผู้ฟัง เข้าใจง่าย เหตุผลชัดเจนและศรัทธา ทั้งการชี้แจง การประชุม การบรรยาย การกล่าวสุนทรพจน์ และการให้สัมภาษณ์ ในช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น ทางวิทยุกระจายเสียง ทางโทรทัศน์ และทาง Social Network ได้อย่างคล่องแคล่ว

ธานี จำเนียรกาล กลุ่ม 3

ลัญจกร อภิชิตเรืองเดช

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย หัวข้อ "เศรษฐศาสตร์พลังงาน"

1. การใช้พลังงานของโลกพึ่งพาการใช้น้ำมันสูงสุด คิดเป็น 35% รองลงมาได้แก่ ถ่านหิน 25% , ก๊าซธรรมชาติ 21% และ นิวเคลียร์ 7%

2. สำหรับประเทศไทยนั้น น้ำมันยังคงเป็นพลังงานที่สำคัญที่สุด คือใช้ถึง 40% ก๊าซธรรมชาติ 30% โดย 2 ใน 3 ของพลังงานที่ใช้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเช่น 90% ของน้ำมันต้องนำเข้า, 30% ของก๊าซธรรมชาตินำเข้าจากพม่า

3. ปัญหาพลังงานของประเทศไทย

- ไทยพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ต้องมีการนำเข้า และแนวโน้มราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น

- ไทยมีก๊าซธรรมชาติแต่ไม่พอกับความต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ พึ่งพาการใช้ ก๊าซธรรมชาติถึง 70%

- การสร้างโรงไฟฟ้าได้รับการต่อต้านเนื่องจากประชาชนกลัวผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม "ไม่มีใครต้องการโรงไฟฟ้ามาไว้ใกล้บ้าน" แต่ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า และพลังงานอื่น ๆ ของประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี

4. แนวทางการแก้ไขพลังงานไทย

- พึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงที่มีในประเทศให้มากที่สุด เช่น Lignite, น้ำ, วัสดุทางการเกษตร

- ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากราคาถูก

- หันมาใช้ถ่านหินนำเข้า ให้มากขึ้น

- ใช้พลังงานหมุนเวียน

- ใช้พลังงานนิวเคลียร์

- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น การใช้หลอดผอม, เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5

- มาตรการด้านราคา ต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง, รัฐต้องไม่แทรกแซง

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายหัวข้อ "จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงาน กฟผ."

- แนวคิดด้านการตลาดในปัจจุบันมุ่งสู่ Demand Focus คือลูกค้าต้องการอะไร กฟผ.ในฐานะผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ควรมุ่งสู่แนวทางด้านการตลาด ที่จะสร้างความรู้สึกของผู้ใช้ไฟว่า "กฟผ. ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่ กฟผ. ผลิตความมั่นใจให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้"

-กฟผ. ต้อง integrate 6 เรื่องต่อไปนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ ; 1) Politic 2) Economic 3) Social 4) Technology 5) Enviroment & Energy 6) Law

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย หัวข้อ "สุนทรีย์แห่งการพูดและการนำเสนอ"

- ในการนำเสนอนั้น ผู้นำเสนอควรผสมผสาน ทั้งคำพูดหรือตัวหนังสือ, พลังของเสียง และท่าทางเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความ สนุกสนานไม่เบื่อ ในทางจิตวิทยา พบว่าถ้าสื่อออกไปด้วยคำพูดหรือตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวจะเร้าใจผู้ฟังเพียง 7%, 38% ของ ผู้ฟังจะเร้าใจด้วยพลังของเสียง ขณะที่ 55% ของผู้ฟังจะรู้สึกเร้าใจจากท่าทาง

- ในกรณีที่จำเป็นต้องพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนนั้น ให้ใช้หลัก Power of Three คือ หัวข้อที่จะพูดแล้วแตกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ปัญหา หรือ โอกาส 2) แนวทางแก้ไข 3) ประโยชน์ที่จะได้รับ

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยาย หัวข้อ "การวางกลยุทธ์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง"

- การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง

- การเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบคือ 1) การเปลี่ยนแปลงที่เลือกได้ 2) การเปลี่ยนแปลงที่เลือกไม่ได้

- ถ้าเป็นไปได้ควร "เปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน (change before you are forced to change)"

- การเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผลสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจหรือยอมรับในเรื่องต่อไปนี้ ;

- ต้องยอมรับว่า องค์กรซับซ้อน และมีจิตวิญญาณ ไม่ solid เหมือนเครื่องจักร

- ต้องเข้าใจว่า องค์กรเดินด้วยกระบวนการ (Process) ไม่ได้เดินด้วย structure

- ต้องเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงมีทั้งการเปลี่ยนแปลงใหญ่และเล็ก

- ต้องเข้าใจว่าจำเป็นต้อง integrate นโยบาย, ความรู้ และการปฎิบัติเข้าด้วยกัน

- ต้องยอมรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน

- ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร

สวัสดีครับ อจ. จีระ และเพื่อนๆ EADP7 ทุกๆท่าน...

หลังจากจบหลักสูตรล่าสุดไป แต่ละท่านคงติดภารกิจอันยุ่งเหยิงกันถ้วนหน้า...เลยหายเงียบกันไปหมด

ผมเองได้ส่งเมล์เตือนเรื่องการบ้านกลุ่ม การบ้านส่วนตัว การบ้าน Buddy ให้เพื่อนๆไปเป็นระยะ แต่ก็ยังไม่มีข่าวคืบหน้าครับ อจ. จีระ...

แต่อย่างไรก็ตาม ผมมั่นใจว่า แต่ละกลุ่มคงยังติดต่อประสานงานและยังดำเนินงานกลุ่มกันอยู่ คงเสร็จทันก่อนไปบางปะกงครับ

ช่วงนี้ ก็มีเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย เกษียณก่อนกำหนด ฯลฯ ก็ขอเรียน อจ. จีระว่า มีสมาชิก EADP 7 ได้ยื่น Early Retire ไป 1 ท่านครับ คือ ท่านสุทธิศักดิ์

ก็จะพยายามเข้ามาส่งข่าวคราวเป็นระยะๆนะครับ

จิระศักดิ์

เรียน อาจารย์จีระ

           การบ้านข้อนี้ นับว่ายากมากๆสำหรับผม ตลอด 28 ปี ที่ผมทำงานอยู่ใน กฟผ. ผมไม่เคยวาดฝัน ไม่เคยคิดเปลี่ยนหน้าที่การงานเลย ผมง่วนอยู่กับการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้า การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

           ผมเข้าทำงาน ใน กฟผ. ปี 2526 รับผิดชอบงานวิเคราะห์และแก้ปัญหาโรงไฟฟ้า กฟผ. ทุกแห่งทั่วประเทศ ผมเคยไปปฎิบัติงานชั่วคราวที่ รฟ.แม่เมาะ รฟ.ระยอง และรฟ.บางปะกงมาแล้ว การงานก้าวหน้าราบรื่นจนเป็นหัวหน้าแผนกวิศวกรรมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จากนั้นถูกย้ายไปรับหน้าที่บำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบควบคุมโรงไฟฟ้า ที่มักเรียกกันว่า DCS (Distributed Control System) ผมพัฒนางาน จนสามารถออกแบบ ติดตั้งระบบ DCS เองโดยไม่ต้องใช้ Supervisor จากต่างประเทศเลย ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 ผมมีโอกาสได้เป็นผู้รับผิดชอบวางแผนแก้ปัญหา Y2k ของโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ งานนั้นประหยัดงบประมาณให้ กฟผ. นับพันล้านบาท ผมมีโอกาสเป็นหัวหน้ากองฯ ดูแลระบบควบคุมและเครื่องมือ และต่อมาดูแลโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม มีโอกาสปรับปรุงระบบควบคุมโรงไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองความถี่ได้อย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า Primary Response ทำให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ อย่างมีคุณภาพ (ความถี่ 50 Hz) Brand ของผมจึงยังคงเป็นวิศวกรตลอดมา ผมเริ่มมีการเปลี่ยน Brand เล็กน้อย เมื่อเป็น วศ.11 ซึ่งดูแลระบบคุณภาพ ISO9002, ISO17025, QCC ผมเริ่มฝึกฝนเพื่อปรับเปลี่ยน Brand จนสามารถ Present คำว่า คุณภาพ เหมือนที่ Mr.Kano เคยบรรยายได้

My Personal Brand (in the Past)…วิศวกรบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า

          ปัจจุบัน ผมเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า-บำรุงรักษา ผมกำลังค้นหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการวางแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า เพื่อให้โรงไฟฟ้า มี Reliability และ Availability ที่ดี ผมยังต้องสร้างวิธีบำรุงรักษาที่รวดเร็ว ต้องควบคุมงานให้มีคุณภาพปฏิบัติงานไม่ผิดพลาด ไม่เกิดอุบัติเหตุทั้งร่างกายและทรัพย์สิน อีกทั้งต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแต่ละครั้ง (แต่ละงาน Plan Outage Maintenance) ให้ สามารถแข่งขันกับธุรกิจเอกชนได้

My Personal Brand (in the Present)…เจ้าพ่อแห่งการวางแผนบำรุงรักษาแผนใหม่

Step 1 – Define Your Destination (Understand your new identity)

        อาจารย์ครับ ถ้าผมสมมุติว่า ในอนาคต ผมเป็นผู้บริหารงานบำรุงรักษาอยู่ส่วนกลาง ผมคงทำงานเกือบเหมือนเดิมแทบไม่ได้เปลี่ยน Brand เลย ดังนั้นเพื่อเป็นการเรียนรู้ ผมสมมุติว่า ผมต้องย้ายไปเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แห่งหนึ่ง ซึ่งมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากจะต้องบริหารงานเดินเครื่องและบำรุงรักษาแล้ว ยังต้องดูแลบริเวณโรงไฟฟ้า ต้องทำงานขุมชนสัมพันธ์ ในสถานการที่ชุมชนมักต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ขณะนี้ ผู้บริหารโรงไฟฟ้าต้อง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ปฏิบัติตัวเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเป็นที่พึ่งของชุมชน

Step 2 – Leverage Your Points of Difference (What's your Unique Selling Proposition?) หันกลับมาวิเคราะห์ตัวเองใหม่ อะไรคือจุดเด่นของตัวผมเอง คุณครูประจำชั้นในสมัยเรียนชั้นประถม เคยบอกไว้ว่า “ผมเป็นคนช่างคิด” ใช่เลย ผมเป็นคนชอบคิดไม่เหมือนคนอื่น ชอบคิดเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พบเห็น ผลงานของผมจึงมี แต่การสร้างสิ่งใหม่ๆออกมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ การบำรุงรักษาแบบใหม่ การบริหารธุรกิจแบบใหม่ การควบคุมคุณภาพ และ การบริหารงานบำรุงรักษาแบบใหม่ (อาจารย์ครับผมไม่เคยวิเคราะห์ตัวเองมาก่อนเลย ผมชอบวิเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชา บอกจุดอ่อนจุดแข็งและชี้แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติให้เขาทราบประจำ ผมขอขอบคุณอาจารย์ ที่การบ้านของอาจารย์ทำให้ผมต้องลองวิเคราะห์ตัวเองดูบ้าง)

 Step 3 – Develop a Narrative

     ถ้าผมเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ผมต้องแปลงตัวผมเอง เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแห่งนั้น ผมต้องคิดเหมือนชาวบ้านส่วนใหญ่คิด ผมต้องลองทำเหมือนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำ ผมต้องเข้าใจความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ก่อน และต้องไม่ลืมเข้าใจความต้องการของชาวบ้านส่วนน้อยด้วย จากนั้นจึงคิดโครงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไปเสนอให้ชาวบ้านเลือก แล้วจัดการให้ กฟผ.ดำเนินการสนันสนุนให้ชาวบ้านได้สิ่งที่เขาควรจะได้ ต้องทำให้ชาวบ้านรู้ว่า โรงไฟฟ้าที่อยู่ร่วมกับเขานี้ เป็นเพื่อน เป็นน้อง เป็นพี่ เป็นญาติที่พร้อมจะช่วยเหลือเมื่อพวกเขาเดือดร้อน ไม่พาความเดือดร้อนมาหาพวกเขา และ นำพาพวกเขาให้มีความสุขเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา

Step 4 – Reintroduce Yourself

          ผมต้องเริ่มเป็นนักวิชาการ ต้องรู้ว่าชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้าเขามีอาชีพอะไรบ้าง เขาทำงานกันอย่างไร เขามีปัญหาอะไรบ้าง ความสำเร็จของเขาคืออะไร ผมต้องเป็นวิทยากรที่สามารถบรรยายให้คนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ผมต้องหาตัวอย่างของผู้ประสบควมสำเร็จในอาชีพเหล่านี้มาแล้ว ผมต้องศึกษาค้นคว้าเทคนิค การบริหารจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ผมต้องเริ่มเป็นนักเขียน เสนอบทความแสดงความสำเร็จของอาชีพเหล่านี้ ต้องทำให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อมั่นและศรัทธาว่า นอกจากสามารถบริหารงานเดินเครื่องและบำรุงรักษาแล้ว ผมคือผู้ที่รู้และเข้าใจปัญหาของชุมชน

Step 5 – Prove Your Worth (Prove your skills)

       เมื่อมีโอกาสผมต้องรีบปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์สิ่งที่ผมคิด สิ่งที่ผมอยากทำให้สำเร็จนั้น เป็นจริงได้

My Personal Brand (in the Future)… “คนที่ชาวบ้านยินดีให้ไปสร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนของเขา”

เยี่ยมมากเลยครับ คุณธานี...

ถึง สมาชิกรุ่น 7 ทุกท่าน

        ในวันพรุ่งนี้ (19 กรกฎาคม 2554) เราก็จะได้พบกันอีก 3 วัน คราวนี้ก็ได้เปลี่ยนบรรยากาศไปอยู่ที่บางปะกง

        ต้องขอบคุณ..คุณจิระศักดิ์ กับ คุณธานีที่เป็นตัวแทนของกลุ่มพยายามส่งการบ้านเพื่อที่จะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

         ขอชื่นชมคุณธานีที่สรุปบทความภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญญาของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงการค้นหาตัวเองในเรื่องของภาพลักษณ์  เช่น คุณธานีบอกว่าจะเป็นเจ้าพ่อในการวางแผนบำรุงรักาซึ่งก็เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง

        ผมก็หวังว่าคงจะได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในอีก 3 วันข้างหน้า และในโอกาสต่อ ๆ ไปกับทุกท่านครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึง สมาชิกรุ่น 7 ทุกท่าน

        ผมเช็คล่าสุด Blog ของพวกเรามีคน Click เข้ามากว่า 1,520 ครั้ง ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับรุ่นที่ 6 ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันแล้วถือว่ามีคนที่ติดตามมากกว่า แต่จำนวนความคิดเห็นที่เข้ามามีเพียง 139 นับว่ายังแพ้รุ่นที่ 6 อยู่ 30 - 40 ความคิดเห็น เพราะรุ่น 6 มีประมาณ 178 ความคิดเห็น

        เห็นได้ว่า Blog กฟผ. มีคนสนใจคลิ๊กเข้าไปใน Ratio 1:8 แสดงว่าข้อมูลขอพวกเรามีประโยชน์ทางด้านวิชาการ และการนำไปใช้ในการเรียนการสอน และการวิจัยพัฒนา

        ผมหวังว่า ในเวลา 3 วันที่เหลือสำหรับการเรียนรู้ร่วมกันในห้องเรียน Blog ของพวกเราจะเป็นหลักฐานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้..

  1. กฟผ. ช่วงหลังเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น
  2. การสร้าง Social Entreprise
  3. การวิเคราะห์และศึกษาเรื่อง Demand Management เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงาน เป็นสิ่งที่ กฟผ.จะต้องคิดและทำเพิ่มมากขึ้น และเป็นงานหลักที่สำคัญของ กฟผ.ในอนาคต
  4. การสร้างภาพลักษณ์ในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ใน กฟผ.

        เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นจากความจริง และมีคุณค่ามากสำหรับสังคมไทยและสังคมโลกของเรา ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุก ๆ ความคิดเห็นของท่านจะมีส่วนสร้างสรรค์องค์กรของเราให้เข้มแข็ง รวมทั้งสังคมไทยและสังคมโลกของเราด้วยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 19 กรกฎาคม 2554

สรุปที่ผ่านมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เน้นการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรนี้ 3 เรื่องคือ :

1. การมองภาพระดับ Macro

2. ค้นหาตัวท่านเองในการทำงานในอนาคต

3. Soft Skill เข้าใจคุณค่าของคนในลักษณะ Value เช่นมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น

………………………………………………………………………………………………

• เชื่อว่าศักยภาพคนสูงขึ้นอยู่กับ Motivation และ Inspiration ของคน

• เราเริ่มวันที่ 9 พ.ค. พูดเรื่องผู้นำ พูดว่ายุคการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องมีคุณสมบัติแบบไหนบ้าง พูดเรื่องความขัดแย้ง และวัฒนธรรมในองค์กร

• การพูดเรื่องนวัตกรรมทางสังคม เป็นเรื่องสำคัญในโลกยุคการเปลี่ยนแปลงช่วยให้เราสามารถอยู่รอดในสังคมต่าง ๆ

• ฯลฯ

HR for Non HR

แม้ว่าท่านไม่ใช่ HR แต่ แต่ละท่านเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่เกี่ยวพันกับคนและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

Workshop

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

เริ่มต้นด้วยการพูดเรื่องความจริง (Reality & Relevance)ทางด้าน HR ของ EGAT

1. EGAT ทำงานแบบ เป็น Silo และ Functional ชัดเจน

2. ในอนาคต อาจเพิ่ม High Performance, ความสุข, ความยั่งยืน เข้าไปด้วย

3. เราจะพัฒนาลูกน้องด้วยวิธีอะไร ....

4. การที่จะมี HR แบบเก่า (Functional Approach) ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรมีการปรับเปลี่ยน Role ให้มาเป็น Smart HR ด้วย

5.

6. งานของ EGAT เปลี่ยนไป ต้องเน้นในเรื่อง Demand Side มากขึ้น สามารถบริหารความไม่แน่นอนได้ หา Competency สมรรถนะเพื่อขับเคลื่อนไปข้างหน้า มีพลังงานทางเลือกมากขึ้น อาจมีการพูด Alternative Energy มากขึ้น , การอยู่ร่วมกันในระดับประเทศ, อาเซียน, GMS มากขึ้น

7. Role ของ Non-HR อย่างท่านต้องทำอะไร ? ต้องเป็น Innovator , Social Innovation ?

8. การมองเรื่องคนเป็นเรื่องของทุนมนุษย์ ประเทศไทยมีทุนอยู่ 4 ชนิด Financial Capital, Physical Capital, Natural Resource, Human Capital …HC เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีคุณภาพของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนาก็จะไปไม่รอด… สรุป Non HR น่าสนใจในเรื่องทุนมนุษย์ เนื่องจาก มีเรื่องทุนอารมณ์ ความรู้สึก เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย , ทุนมนุษย์สำคัญกว่าทุนอื่น ๆ ทั้งหมด .... ใครก็ตามมีความรู้มากกว่าวัดจากปีที่เขาเรียน....รายได้ก็จะเพิ่มมากขึ้น การศึกษาช่วยให้คนมีศักยภาพเพิ่ม

9. EGAT Training ไม่ได้รองใคร แต่ไม่ได้เน้นที่ทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่เน้นไปที่เรื่องการทำงานให้ดีขึ้น มากกว่า.... สรุป การวัดด้วยปริมาณการศึกษาหรือ Training อย่างเดียวไม่พอ ควรมีการวัดจากวิธีการเรียนด้วย

10. K มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน” หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ เป็นที่มาของทฤษฎี 8K’s ,5K’s ทุกคนในห้องนี้มี ทุนที่ 1 เหมือนกัน คือ Human Capital แต่อาจมีทุนที่ 2-8 ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนา การเรียนของดร.จีระ เน้นเรื่องการมองไกล เป็นการใช้ระยะสั้นให้อยู่ได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ....

ทฤษฎีทุน 8K’s พื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

• ความยั่งยืนคือการไม่เป็นคนอวิชา ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อย่าง EGAT มีทุนทาง IT ที่ดีกว่าหลาย ๆ องค์กร แต่ขาดความมุ่งมั่นด้าน Non – Engineering ….

• ต้องมีทัศนคติ หรือ Mindset ที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง

• ถ้าเราเป็น Non-HR แล้วทำเพื่อ HR ให้ดีขึ้นจะนำ 2-8 มาพิจารณาหรือไม่? ลูกน้องควรจะมีหรือไม่? แล้วถ้าจะมี จะมีด้วยวิธีการอะไร?

• ทุนมนุษย์อย่างเดียวไม่พอต้องมีสมรรถนะ 3 ตัวแรกที่ต้องการคือ 1. ความคิดสร้างสรรค์ 2. ความรู้ เช่น เกี่ยวกับชุมชน การบริหารจัดการแล้วเอาไปทำเป็น 3. ทุนทางนวัตกรรม และ 2 ประเด็นสุดท้ายในการเป็นผู้นำและทำให้สำเร็จคือ ต้องมี 4.ทุนทางอารมณ์ที่ดีไม่มากหรือน้อยเกินไป 5.ทุนทางวัฒนธรรม คือการเข้าใจในรากเหง้าของสังคมจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ดี

• Blue Ocean คือ Human Capital นั่นเองเนื่องจากมาจากมนุษย์ซึ่งคิดนอกกรอบ

• ทฤษฎี 8K’s และ 8H’s

• ทฤษฎี 3 วงกลม ช่วยบอกว่าทำยังไงให้ EGAT ทำงานให้เราอย่าง Maximum benefit + Happiness ถ้าเราจะทำเรื่องคนให้สำเร็จ เราจะบริหารจัดการคนอย่างไร ต้องบริหารเขาให้เป็น ทฤษฎีนี้เรียกว่าทฤษฎี 3 วงกลม

1. ความสามารถในการทำงาน

2. ความสามารถในการบริหาร

3. การเป็นผู้นำ

4. การมีจิตวิญญาณเป็นผู้ประกอบการ คือเห็นอะไรฉกฉวย สร้างมูลค่าเพิ่ม และเอาชนะอุปสรรคตลอดเวลา

5. Know what going on จับประเด็นให้ได้ว่าโลกเปลี่ยนอย่างไร ...โลกที่ขัดแย้งกัน โลกร้อนกับ การไฟฟ้า , การเมืองกับ EGAT ,ขัดแย้งระหว่างตปท. กับในป. ดังนั้นต้องเรียนรู้เรื่องความไม่แน่นอนด้วย

6. หลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

7. สรุปอยากให้แต่ละท่านทำตัวเองเป็นผู้กระตุ้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อนร่วมงานและลูกน้องของท่านให้ทำงานเป็นเลิศ

8. อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนให้ EGAT ทำงานเป็นเลิศ ? อะไรเป็นแรงบันดาลใจ Inspiration ?

• ทฤษฎี HRDS – Happiness, Respect, Dignity, Sustainability

• พิสูจน์ว่า Non-HR ในห้องนี้ไม่ได้อยู่ที่การทำงานโดยใช้ Hard Skill แต่เป็น Soft Skill คือเห็นคุณค่า...อยากให้คนในห้องนี้เป็น Realistic ... เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนใน EGAT ได้หรือไม่? ท่านต้องทำงานกับ HR Function, กับ CEO และลูกน้องของท่านได้

• ถ้าจะช่วยเป็น Non-HR ต้องรู้จริงและเอาชนะอุปสรรคมัน

• เวลาทำ Workshop การเป็น Non-HR ให้สำเร็จจะเอาชนะอุปสรรคอะไรบ้าง

• การจะทำงานสำเร็จได้ต้องมีตัวละคร 3 กลุ่ม คือ CEO หรือ ผู้นำ ,Smart HR, Non-HR

• Business and Human Capital ต้องให้ความสำคัญเรื่อง Vision,Mission,Strategy,Core Value

• ตัวที่หล่อหลอมให้เกิดความสำเร็จคือการมี Share Core value ร่วมกัน

• Core Value ที่ EGAT เก่ง แต่ Core Value ที่จะขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ รุ่นเก่าคืออะไร..?

• สิ่งที่ขับเคลื่อนให้องค์กรนี้เป็นเลิศจะเป็นอย่างไร ? การเป็น Non-HR ต้องเน้นเรื่องการทำให้สำเร็จด้วย

Workshop

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

กลุ่ม 5

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

• การกำหนดแรงจูงใจ ... Non-HR ที่ทำงานร่วมกับ Line Management จะเป็นตัวกำหนดเนื่องจากคุ้นเคยกับผู้ปฏิบัติงานดี รู้จักให้คุณและโทษ ให้คุณไม่ยาก แต่ให้โทษทำอย่างไรให้เขารับฟังและยอมรับได้ขึ้นอยู่กับ จิตวิทยา

• การสร้างคน เนื่องจากเราอยู่ใกล้ชิดกับเขาจะรู้ว่าใครดีไม่ดี เราจะสร้างเขาขึ้นมา

• สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน

ดร.จีระ เสนอว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งดีมาก

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

• สร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ให้ Set วิถีทางก่อน

• กำหนดเป้าหมายแล้วไปร่วมกัน ต้องมีวางระบบ วิธีปฏิบัติ สู่เป้าหมาย

• มีการประเมิน

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

• มีความเป็นผู้นำ เนื่องจากเราคุมการปฏิบัติ

• มีประสบการณ์ มีการประสานงานกับ CEO ต่าง ๆ

• มีจิตวิทยา

ดร.จีระ เสนอให้มีการเน้น Stakeholder มาด้วย

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

• โครงการองค์กรและการแบ่งหน้าที่ยังเป็นแบบเดิม มองคนเป็นค่าใช้จ่าย แนวคิดเดิมกำหนดว่าด้านคนเป็นของ HR อย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแล้ว

• ดร.จีระ บอกว่า โครงสร้างองค์กรเป็น Structural ที่แข็งเกินไป ไม่มี Rolling plan ควรมีงบ Surplus บ้าง

กลุ่ม 4

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

• สนับสนุนในการ Motivate สร้างแรงจูงใจ ให้พนักงานมีบทบาทตามที่ต้องการ

• ให้ Coaching เป็นผู้สอนงานที่ดี

• มีการ Evaluate ประเมินดูแลเพราะเราอยู่หน้างานตรงนี้

• ทำหน้าที่ดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุขเพิ่มขึ้น (Mentoring)

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

• การกำหนดนโยบาย และเป้าหมาย

• การสร้างวัฒนธรรม ค่านิยม ต้องเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเพื่อให้เกิด Commitment ในการร่วมหัวจมท้ายและทำให้สำเร็จ

• การ Recruit คน (ดร.จีระ เสนอว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากจะได้คนที่ตรงจริง ๆ)

• การให้คุณ ให้โทษ หรือ Promotion เนื่องจากเป็นคนประเมินอยู่แล้วจึงมีผล

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

• ต้องมีความเป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความน่าเชื่อถือ มีคุณธรรม จริยธรรม การเอื้ออาทร ยกย่องให้เกียรติกัน มีทักษะเรื่องคน ทำงานเป็นทีมได้

• ต้องมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่นไม่ยืดติดกฎระเบียบเดิม ๆ

• ดร.จีระ เสนอว่า ผู้นำต้องรู้จักฟังบ้าง เป็น Listening Skill ฟังเป็นและฟังให้ครบ

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

• โครงสร้างปัจจุบันเป็น Silo แยกสายงาน แยกความรับผิดชอบมากเกินไป สายใคร สายมัน ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเองจึงไม่สามารถ implement กับ HR ได้

• โครงสร้างไม่ก่อให้เกิดความร่วมมือ

กลุ่ม 3

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

• Non-HR ดูแลตัวเองอยู่แล้ว เราต้องสอนศิลธรรม การปฏิบัติการอยู่ร่วมกันในองค์กรย่อย ๆ ของเรามีข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง เริ่มต้นสอนให้รู้ว่าเราต้องการอะไร หน่วยงานต้องการอะไร มีพี่เลี้ยงคอยโค้ชว่าทำอะไรแล้วได้ดีหรือไม่ ?

• พัฒนาเขาในหน่วยงาน เช่นมีการ on the job ข้ามหน่วยงาน

• คัดเลือกคนที่เป็น Star (ค้นหา Talent) และเสริมงาน HR

• เราจะพัฒนาคนให้เป็นฝ่ายตัวเองจะทำอย่างไร? เราจะสนับสนุนพวกเราอย่างไร?

ดร.จีระ เสนอว่า ถ้าทุกคนค้นหาตัวเองได้ ก็จะเป็นผู้นำได้ รู้สึกว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสร้างผู้นำ จุดแข็งคือมี People Management มากขึ้น

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

• รู้ค่านิยม เป้าหมาย วิสัยทัศน์ขององค์กรทุกคนต้องทำ

• Career Path ต้องทำให้ชัดเจนถึงไปจุดนั้น และกระบวการสรรหา

• กฎหมาย กฎระเบียบต้องกำหนดจากตรงการและสรรหา

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

• ต้องเปิดใจกว้างและมีเครือข่าย ต้องไปคุย กับส่วนต่าง ๆ ว่าทำอย่างไร ต้องคุยเรื่องคนอื่น ฝ่ายอื่นทำอะไร เป้าหมายเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นเราไม่สามารถคำนึงถึงผลสำเร็จขององค์กร

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

• ไม่เข้าใจบทบาทของตนเองว่าอนาคตต้องโต

กลุ่ม 1

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

ต้องเป็น Management Matching ต้องอ่านให้ได้หมด ทั้ง Man , Money, Machine

Build Working Team Knowledge to technology and Operation

Power ในเรื่อง สั่งการตามแนวทางที่ตัวเองวางและตั้งเป้าไว้ มีการ Contribute, Control, Compromise for all

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

• ต้อง Set up Organize Policy, Behavior ,Strategic for investment

• สร้างองค์กรให้ยั่งยืนต้องมี Firm Commitment เช่น องค์กร SCG ใช้ในระดับอุดมการณ์

สามารถวางกรอบ วางระบบให้องค์กรและ Staff มี HRDS และเพิ่ม Slow life (มาจากช้าสักนิดเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน) – คือสอนให้คนรู้จักความสงบ

• S มาจาก Slow, Smooth,Success…

• L มาจาก Local & Legal

• มาจาก Organize

• W มาจาก Wholesome

• L มาจาก Love

• I มาจาก Inspiration

• F มาจาก fun

• E มาจาก Emotion & Experience

ดร.จีระ เสนอว่า ผู้นำต้องรุกและ ควบคุม (Restrain)ให้ได้ รู้จัก Rhythm & Speed

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

• ต้องมี Creative ทั้ง Macro และ Scenerio

• Influence & consult& Coaching in mind เนื่องจาก Line Manager มีหลายสไตล์

• Strong Knowledge stand for learning oriented ภาพลักษณ์ของคนมีความรู้ที่เชี่ยวชาญเรียนรู้ในทุกเรื่องราว

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

• Limited in organization

• Financial Support in HRD &TD

• Lack of Knowledge ขาดคนชี้นำให้คนมีออุดมการณ์ร่วม

HRD

Hard, Real ,D ดีใจจริง ๆ ที่กลุ่ม 1 ทำให้อาจารย์จีระ

ดร.จีระ เสนอว่า Habit ที่มีในห้องนี้ ถ้า Translate beyond Class room จะดีมาก

กลุ่ม 2

1. Role ที่ CEO และ HR ไม่ต้องทำ แต่ Non-HR ต้องทำ HR คืออะไร ?

• มองว่าไม่มีเนื่องจาก HR เป็นเสมือนยาดำที่แทรกตามทุกส่วนอยู่แล้ว

2. งานที่ CEO + HR+Non-HR ต้องทำร่วมกัน มีอะไร 3 เรื่อง ?

• การสร้างค่านิยมองค์กร

• เรื่อง Career Path ความก้าวหน้าในวิชาชีพ มองให้เหมือนนักกีฬา คือรู้กติกา

• ระบบการบริหารงานและการพัฒนาบุคคล HR System

3. Non-HR ต้องมีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะทำงานเรื่องคนได้สำเร็จ?

• ต้องสามารถสอนงานลูกน้องได้ เรียนรู้จนเก่งจนเป็นครูได้ มี Leadership และสอนงานได้ มีลูกน้องทำงานตามได้อย่างมีความสุข

4. โครงการในปัจจุบัน ทำไม Non-HR ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และยังไม่สำเร็จ ?

• โครงการ กฟผ. เป็นลักษณะ Function Oriented แยกคนละกระบอก ไม่ได้ดูภารกิจของงาน Mission Oriented ไม่มี ทุกคนสร้างกฎระเบียบขึ้นมาเอง เราพยายามสร้างกติกาอันนึงใช้กับทุกคนในโลก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ขององค์กร

……………………………………………………..

• ดร.จีระ สรุปว่า อย่างข้อ สุดท้าย Silo ไม่ทลายลง แต่ก็มี Informal Learning , มี Cross Function team

• อย่างข้อที่ 2 ทุกคนต้องมีเป้าหมายร่วมกัน แล้วมี Strategy ไปสนองเป้าหมายอันนั้น HR จะอ่อนเรื่องเป้าหมายองค์กร , Non-HR และ CEO รู้เป้าหมายองค์กร ดังนั้น จึงต้องกำหนด Strategy นโยบายร่วมกัน

• คนที่เป็น HR อ่อนในเรื่อง Finance ,Engineering แต่ต้องมีความมั่นใจที่จะคุยกับ CEO หรือ Non-HR ได้

• มีกลุ่มที่พูดดีมากคือ การมี Commitment ที่จะ Follow through final product

• ดีที่ทุกกลุ่มพูดเรื่อง Core Value ขององค์กร

• อย่างทฤษฎี ทุน 8K’s , 5K’s – มีพูดที่เหมือนกันคือเรื่อง Networking, ความคิดสร้างสรรค์ , ความสมดุลกับความสุข ถ้า Non-HR เอาจริงก็น่ามีความเป็นไปได้ น่าจะให้เสนองบกลางในแต่ละปี

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

วิกฤติเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล คุณมนูญ ศิริวรรณ

ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

วันที่ 19 กรกฎาคม 2554

เราเรียนรู้อะไรจากวิกฤตต้มยำกุ้งบ้าง?

คุณมนูญ

• วิกฤติเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยในวันนี้ไม่มีอะไรแตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วงนั้น

• ช่วงนั้นเกิดเงินท่วมประเทศ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บูม ธุรกิจไทยสามารถกู้เงินได้ในอัตราที่ต่ำ ถือเป็นการทำธุรกิจที่ง่ายดายมาก ตลาดหุ้นฟื้นฟู ไม่ได้มองเป็น Real Sector การเก็งกำไรมากมายมหาศาล , คนทำธุรกิจตอนนั้น ธนาคารยินดีให้กู้เยอะแยะมากมาย ดอกเบี้ยถูก

• อย่างตอนนั้น ปั้มน้ำมันบางจากรับข้อเสนอในการกู้เงินเพื่อขยายปั้มน้ำมันให้มากขึ้น มีการค้ำประกันเงินกู้ พอเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ธุรกิจฟุบหมดเลย คนตกงาน ยอดขายน้ำมันตกทันที ปั้มน้ำมันเจ้ง เป็นแถว ลูกค้าเป็น NPL ผลตกอยู่กับบริษัทปั้มน้ำมันที่ค้ำประกันเงินกู้ให้

รศ.ดร.สมชาย

• กฎเห็นสิ่งเหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง ทำให้เราสามารถดูอะไรลึกซึ้ง

• มีคนบอกว่าจีนจะยิ่งใหญ่

• ไม่ว่าดูวิกฤติต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ PIGS(Poland,Ireland,German,Span) ,SPLIT ล้วนเป็นความผิดพลาดที่เกิดจาก Paradigm Shift เจ้งเนื่องจากโลกเปลี่ยน ,mindset คนไม่เปลี่ยน

• ค่าเงินบาทลอยตัว เจ้ง แต่ทำไม จอซ โซรอส ชนะ ภาพแรกคือ Immediate ลอยตัววันที่ 2 กรกฎาคม มีเงินสำรองต่ำกว่าหนี้ระยะสั้น ไทยมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คือ ซื้อสินค้าบริการมากกว่าขาย มีประเทศเกิดใหม่เยอะมาก เรายังขายสินค้าตัวเดิม ส่งผลให้ในปี 1996 อัตราการขยายตัวมีบวกตลอด เศรษฐกิจโลกกำลังบูมเป็นยุคของคลินตัน ประเทศไทย มีความสามารถต่ำ ขายสินค้าตัวเดิม Paradigm จึงไม่ Shift

• เมื่อตอนเปิดเสรีทางการเงินช่วงแรก อัตราแลกเปลี่ยนไทยยัง 26 บาท มีเกิดการกู้จากต่างประเทศ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ Paradigm ไม่ Shift อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ไทยเสียความสามารถทางการแข่งขัน

• PIGS กับ SPLIT โลกเปลี่ยนเราไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นกรณีเดียวกัน

ดร.กอบศักดิ์ เรามีภูมิต้านทานเพียงพอไหม และจะรับมืออย่างไร ?

• ยามที่เกิดวิกฤติเกิดขึ้น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยไม่เคยสอน ต้องลองทดสอบตามที่อยากจะทำ ซึ่งเป็นศาสตร์อีกประเภทหนึ่งที่ต้องทำ

• คนที่อยู่ใจกลางของปัญหาทั้งหมดคือ แบงค์ชาติ วิกฤติของสถาบันการเงินที่ล้ม ไม่ได้เงินคืนในระยะเวลาหนึ่ง แบงค์ชาติก็ต่อสู้อีกข้างหนึ่ง ต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจชาติที่กำลังล้มเหลว และการเก็งกำไร

• คนที่จะไปกับวิกฤติก็คือแบงค์ชาติ ใช้เวลานานมาก จนกลับมารับได้ แต่ไม่ได้กลับมาสู่ยุคทองอีกเลย

• การเกิดวิกฤตที่อเมริกา ไทยหุ้นตกแรงมาก เห็นวิกฤติเกิดขึ้นต่อหน้า ถ้าย้อนกลับไปดูแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมด คือ เกินตัว ใช้จ่ายเกินตัว อยู่อย่างเกินตัว เสี่ยงเกินตัว ไทยมีการใช้จ่าย มีการลงทุนมากกว่าที่คิดไว้ แต่พอไปดูอเมริกา หรือ ยุโรป ก็คือตรงนี้เช่นกัน เป็นการสะสมความเปราะบางอย่างต่อเนื่อง วิกฤติเกิดขึ้นได้ต้องมีอะไรที่ทำให้ตัวเราเองลำบากตลอดเวลา

• แบงค์ปล่อยสินเชื่อ 30 % หลายปีติดต่อกัน ถ้าโครงการไม่ดีคนล้มคือธนาคารและลูกหนี้นั่นเอง อย่างกรณี Miracle of Europe เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เป็นการสะสมความเปราะบางอย่างต่อเนื่อง

• คนที่โจมตีเรามาก ๆ คือ จอร์ซ โซรอส ปี 2538 ส่งลูกน้องมือขวามาเมืองไทย ลูกน้องบอกว่าประเทศนี้ไปแน่เพราะว่าเห็นว่าบริษัทกู้ยืมเยอะ แล้วธนาคารปล่อยเยอะ เป็นการสะสมความเปราะบางอย่างต่อเนื่อง แล้วความเชื่อมั่นหายไป เวลาปั่นไปสูง ๆ พอกระเทือนนิดเดียว เราก็พร้อมที่จะออกทันที ทำให้ทุกคนมีหนี้เยอะ

วิกฤติที่เกิดนี้จะอยู่กับเรานานเท่าไหร่แรงขนาดไหน แล้วทิศทางเป็นอย่างไร

ดร.สมชาย

• โลกแห่งความยุ่งเหยิง เราจะอยู่ในลักษณะ Crisis from time to time ตั้งแต่ ต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ ยุโรป วิกฤติ ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากอะไร จะมี Tipping Point คนทั่วไปจะไม่รู้วิกฤติ วิกฤติต้องใช้สมอง...ไม่ใช่แค่ตากับหู

• ไทยรอดช่วงนั้นเพราะการลงทุนของต่างประเทศสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดลด

• วิกฤติในอเมริกา กับยุโรป ยังไม่จบ

ในอเมริกาต้องกำหนดให้ได้ถึงเพดานของหนี้ ไม่อย่างนั้นไม่มีเงินจ่าย ถ้าตกลงได้จะกำหนดเพดานในการกู้ถึงได้เงินออกมา

หนี้สาธารณะ การขาดดุลงบประมาณ คนว่างงาน 9% กว่า

Moody ปรับตัว

สหภาพยุโรป อยู่ใน 17 ประเทศ เงินยูโร เป็น Monetary Union , ใครก็ตามที่จะเข้าสกุลเงินยูโร ต้องมีหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ต่อไป มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สอดคล้องกัน ฯลฯ ประเทศที่เข้าได้หลังสุด อีกด้านหนึ่งเป็นเงินสกุลเดียวกัน อีกด้านเป็นความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่แตกต่างกันเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา อย่างที่สอง สเปนก่อนหน้านี้วางตัวเป็นมหาอำนาจ ผลของการเข้าสหภาพยุโรป อัตราการเจริญเติบโตสูงเนื่องจากได้รายได้จากการท่องเที่ยว แต่ขาดเรื่องศักยภาพการแข่งขัน ส่วนอีกด้านที่เจริญมากคือ อสังหาริมทรัพย์ แต่ประเทศเหล่านี้ลืมตัว...ความสามารถทางการแข่งขันไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงไปด้วย ใช้จ่ายเงินเกินตัว แบงค์ในอเมริกา บอกว่า ทำมากกว่า ดีกว่าทำน้อยกว่า การขาดดุลงบประมาณสูงกว่า 10 %

เมื่อเกิดวิกฤติรายได้น้อยลง รายจ่ายมากขึ้น กรีก ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อยู่ใน ICU

การช่วยลดภาระดอกเบี้ย

• ถ้ารัฐบาลออก สี่แสนสี่ช่วยเหลือต้องใช้ในตลาดแรก ห้ามใช้ในตลาดรอง ให้แบงค์ช่วยแบบไม่บังคับ ยอมเปลี่ยนเป็นพันธบัตรรัฐบาลยาวขึ้นถ้าสเปนเป็นอะไรไปเงินไม่พอ ดังนั้นควรเพิ่มเงินกองทุนโดยผ่านมติเอกฉันท์ นางแมคเกลให้เอาเอกชนมาช่วย

• แผน 2 เป็น Default ให้กรีก Default แล้วสร้างเป็นเขื่อนขนาดใหญ่

สรุป คืออยู่ในสถานการณ์ไม่แน่นอนอย่างสูง เราต้องพยายามลด Default ลง ถ้าร้ายแรงที่สุด เงินพวกนี้หลุดมาจากเงินยูโร แบงค์ของสเปนพังเพราะแบงค์ของโปรตุเกส

การเกิดเงินยูโรเป็นผลมาจากการรวมตัวทางการเมือง ปัญหาของยูโรไม่ใช่แค่เงิน แต่เป็นนัยมหาศาล

สิ่งที่เกิดในอดีตมีปัญหา ปัจจุบันหมดไปหรือยังในแก้ปัญหา Crisis ที่เกี่ยวกับพลังงาน ?

คุณมนูญ

• พลังงานมีส่วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด ความผันผวนของพลังงานทำให้ค่าน้ำมันขึ้นไปถึง 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เกิดก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ เกิดการเก็งกำไร และปั่นราคา ทำให้ราคาพลังงานขึ้นไปสูงถึงขนาดนั้น ในอดีต ราคาน้ำมันขึ้นลงขึ้นกับ Demand ,Supply และปัจจัยทางด้านการจัดหา เราจะเห็นว่าปัจจัยที่มีส่วนทางด้านน้ำมันมี 2 ข้อ คือเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจโดยตรง และเกี่ยวกับ Conflict วิกฤติราคาน้ำมัน , Financial Driven ราคาน้ำมันขึ้นลงตามปัจจัยทางการเงิน ราคาน้ำมันจาก 84 เหรียญ ขึ้นไป 147 เหรียญ ต่อบาร์เรล ภายในเวลา 4 เดือน ถือเป็นความผันผวนที่เกิดขึ้น เกิดจากการโยกย้ายเงินทุนจากตลาดหนึ่งไปสู่อีกตลาดหนึ่ง แล้วเรื่องภาวะเงินเฟ้อ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นการมองทางเศรษฐกิจในแง่ดี เศรษฐกิจที่มีมุมมองทาง Optimistic ทำให้ราคาน้ำมันมีส่วนปรับตัวสูงขึ้น

• หนี้สินสาธารณะในยุโรปทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง

• สหรัฐฯ มีปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะว่าจะสามารถยกเพดานหนี้สาธารณะขึ้นได้หรือไม่ ถ้ายกขึ้นไม่ได้จะเกิด Technical Default ไม่สามารถจ่ายเงินได้ ลดการชำระงบประมาณลงโดยตัดภาษีของคนรวย กลายเป็นการเอาประเด็นทางเศรษฐกิจไปต่อสู้ทางการเมือง

เรื่องของน้ำมันในตลาดโลกมีความคิดเห็น 2 ฝ่าย

1. มีปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป สหรัฐอเมริกา ความมั่นใจผู้บริโภคลดต่ำลง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟุบยาว ราคาน้ำมันจะถูกกดให้ต่ำลง ราคาน้ำมันจะลงไปได้ 15-20 เหรียญ จากราคาน้ำมัน ถ้าน้ำมันดิบ 2 ชนิดนี้ลดลง น้ำมันดิบของดูไบก็จะลดลงไปด้วย

2. นักวิเคราะห์อีกกลุ่มพบว่า เศรษฐกิจที่เลวร้ายลง คงไม่สามารถทำให้พังพินาศ แล้วคิดว่าช่วยปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจแย่ลงแต่คิดว่าความต้องการน้ำมันยังคงเพิ่มขึ้น ปีนี้ 88.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

3. มีนา Crisis ยังไม่จบลงง่าย ๆ น้ำมันดิบที่หายไป จะไปบีบน้ำมันดิบส่วนเกินทดแทนน้ำมันดิบที่หายไปจากลิเบีย

4. Access Capacity ลดลงทำให้ปริมาณน้ำมันดิบสูงขึ้น

5. จีนมีปัญหาการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลง

ราคาน้ำมันในครึ่งปีหลังอยู่ในช่วง 100 – 120 เหรียญต่อบาร์เรล

ดร.กอบศักด์

วิกฤติอยู่กับเรานานแค่ไหน ?

• วิกฤติเกิดกับเราบ่อยมากแล้วแรงขึ้นทุกครั้ง

• ทำไมอเมริกาเกิดอีกรอบ เพราะเกิดความชะล้าใจ ตอนแรกคิดว่าเป็นของประเทศด้อยพัฒนา แต่ทว่าก็ไม่มีประเทศไหนต้านทานและมีภูมิต้านทานกับเศรษฐกิจได้ อยู่ที่เราจะแก้ไขอย่างไร ?

วิกฤติครั้งต่อไปจะอยู่ที่ไหน ?

• วิกฤติช่วงหลังมีเงินไหลเข้าเยอะ มาจาก Easy money , Easy Credit ความสุขใจตอนแรก คือความทุกข์ใจ คือตัวอย่างของการมีเงินเข้ามาง่าย ใช้จ่ายง่าย เกิดการเป็นหนี้เกินตัว เจ้าหนี้เกิดการกระวนกระวายใจเมื่อลูกหนี้สภาพคล่องไม่ดี

• เจ้าหนี้กลัวว่าเราจะไม่ทวงหนี้

• ปี 92,93 เงินไหลไปแมกซิโก เพราะว่าปี 94 มี NAFTA เงินไหลไปเยอะคือการใช้จ่ายเยอะ สิ่งที่ปล่อยกู้ไปนั้นอาจไม่ได้คืน ความไม่ดีก็จะถามหาประเทศแม๊กซิโก

• ยุโรปไปไม่ได้ อเมริกา ญี่ปุ่นไม่ได้ ก็เหลืออีกประเทศเดียวคือจีน คือที่ที่เงินอยากจะมา มีการหลั่งไหลไปที่จีน

• และทุกครั้งที่เงินมา ก็จะเกิดความเปราะบาง และใช้จ่ายเกินตัว หุ้นไทยสูงเป็นประวัติการณ์ เงินไม่มีที่ไป

• วิกฤติรอบนี้ที่จะเกิดขึ้น คนที่จะเกิดวิกฤติคือคนที่ไม่เกิดวิกฤติมาก่อน ครั้งนี้ในเมืองไทยอาจถูกผลกระทบแต่ไม่แรงเท่าที่ผ่านมา เพราะรู้แล้วว่าตอนเกิดวิกฤติแล้วนั้นเงินมันหายากแค่ไหน ถ้าบริหารจัดการที่ดีก็จะไม่เกิด จีน กับ อินเดียจึงเป็น Easy target เป็นที่มาของวิกฤตทิ่เกิดขึ้น วิกฤติหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราจะเกิดภูมิคุ้มกันจากเหตุการณ์ในอดีต

คุณมนูญ

การปรับตัวของโครงการกฟผ.

กฟผ. คงทราบดีว่าความเสี่ยงมีอะไรบ้าง?

• ความเสี่ยง ... ความต้องการพลังงานขยายตัวอยู่สูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ดีพอ GDP โต 1% ใช้ไม่ถึงหนึ่ง เราต้องใช้พลังงานขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เราจะเอาพลังงานอะไรมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต เราใช้น้ำมันกับใช้ก๊าซธรรมชาติมาก น้ำมันนำเข้า 84 % ผลิตได้ไม่ถึง 20% ไฟฟ้านำเข้า 30 % ก๊าซสำรองธรรมชาติใช้ได้แค่ไม่ถึง 20 ปี ทำให้เรานำเข้าพลังงานแพงมากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอัดเหลว LNG ซึ่งแพงมาก เราต้องนำเข้าแข่งกับ ญี่ปุ่น จะแข่งได้อย่างไร เพราะประเทศเขาร่ำรวย เป็นสิ่งที่เราเผชิญในอนาคต

• สิ่งที่กฟผ.ต้องปรับตัว คือต้องตอบโจทย์แรงงานประเทศระยะยาว : ความพอเพียง การพึ่งพาตนเองทำอย่างไร การผลิตมีไฟฟ้าสำรอง 15 % แต่ความต้องการไฟฟ้าสูงขึ้นตาม GDP , สร้างที่ไหนโดนต่อต้านตลอด คือโจทย์ที่กฟผ.ต้องคิด และการลงทุนอย่างไรที่ไม่ฟุ่มเฟือยมากเกินไป และไม่สร้างภาระให้คนรุ่นหลัง ทำอย่างไรใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และไม่สิ้นเปลือง

• ภาพกฟผ. ที่ปรากฎต่อบุคคลภายนอกไม่แน่ใจว่าสังคมภายนอกมองรับรู้อย่างที่อยากให้รับรู้หรือไม่ การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับสำคัญมาก

• การปรับภาพลักษณ์เป็นผู้นำด้านพลังงานสีเขียวและประหยัดพลังงาน

• การไฟฟ้าต้องทำให้ Public เชื่อด้วย เป็นการปรับตัวอย่างหนึ่ง

• การพัฒนาพลังงานต้องเป็นประโยชน์กับประชาชนในระยะยาว ไม่ได้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาชุมชน

• เราจะละทิ้งปัญหาชุมชนไม่ได้ ต้องทำงานควบคู่กันไปกับงานทางด้านชุมชน

• การบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

• การประชาสัมพันธ์ หรือทำชุมชนสัมพันธ์ ถือว่าต้องเป็นภาระกิจของพนักงาน กฟผ.ทุกท่านที่ต้องช่วยกัน และจะประสบความสำเร็จต้องเป็นงานที่ทุกคนในบริษัททำงานร่วมกัน ให้พนักงานทุกคนถือเป็น KPI ที่พนักงานในองค์กรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ต้องทำงานสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง

• การประเมินผลงานทำให้ให้ความสนใจกับชุมชนมากขึ้น ทำนาน ๆ เข้าจะกลายเป็นจิตสำนึกเป็นวัฒนธรรม และ In กับงาน ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่องาน และ Contribute ให้กับสังคมด้วย ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมเสนอความคิด ร่วมแรงร่วมใจ แล้วงานจะประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น

ดร.สมชาย

• กฟผ.ต้องปรับ 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ ของ Michael Porter คือภายนอก และ Core Competency คือเรื่องภายใน

• ภายนอก อุปสงค์ด้านไฟฟ้าพลังงานจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเจอมาก่อน เป็นแบบ Exponential ประชากรในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งถาวร ส่วนหนึ่งจากการเดินทาง อาเซียน + 3 + 6

• การใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาล คนเหล่านี้สร้างแรงกดดันในเรื่องการใช้ไฟ

• วิธีการบริโภคเหมือนกัน แต่การใช้พลังงานมหาศาล

• รูปแบบต่าง ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน

• การวางแผนไม่เหมือนเดิม

• ด้านอุปทาน พลังงานทดแทน สามารถแทนทันหรือไม่? อุปทานยังมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สึนามิ ก็เล่นงานเรื่องพลังงานเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้การบริหารความเสี่ยง และทำอย่างไรถึงให้มี Stability ทางพลังงานและอาหาร

• การก่อการร้าย เป็นลักษณะ Anti Globalization ,Global Paradox เป็นสิ่งตรงข้ามที่ไปด้วยกัน เช่นเกิดการขยายตัวของก๋วยเตี๋ยวเรือโบราณ กาแฟโบราณ เกิด Creative Economy ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม , Anti Globalization สามารถก่อให้เกิดการก่อการร้ายได้เช่น พวกตาลีบัน เมื่อเกิดความไม่พอใจขึ้นเรื่อย ๆ จะเกิดเหตุก่อการร้ายต่าง ๆ ตามมา

• การปรับเรื่อง Core Competency : Core Competency คือ

1. มองตัวเราเองว่ามีอะไรที่เป็นจุดแข็งซึ่งคนอื่นไม่มี

2. สิ่งที่เป็นจุดแข็งสามารถเกิดประโยชน์กับลูกค้าได้ไหม

3. ทำได้หลายอย่างไหม นี่คือหัวใจสำคัญ

4. เป็น Dynamic

ต้องมอง Core Competency เป็น Strategic Resource ,Strategic Asset สิ่งต่าง ๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เข้าใจ ต้องปรับ 2 เรื่องคือ รู้เขา รู้เรา

ดร.กอบศักดิ์

• เศรษฐกิจเอเชียเข้าสู่เศรษฐกิจโลก

• จีน เป็นประเทศที่กำลังเจริญรุ่งเรืองอย่างดี เราจึงได้ยินถึงข้อมูลต่าง ๆ หมายถึงยุคใหม่ของการลงทุนรอบใหม่ เศรษฐกิจไทยเก่ง สามารถโตได้เช่นกัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี และต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เราจึงต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงให้ดี การผลิตพลังงานต้องสามารถตอบโจทย์ของชุมชนได้

• มีความต้องการพลังงานในอนาคตเพิ่มขึ้น เราจึงควรต้องเตรียมพร้อมและตอบโจทย์ให้ได้

เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนหัวข้อ HR for Non-HR ทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่คิดและพยายามทำในเรื่อง HR เป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีผู้ที่คิดเหมือน ๆ กันมาก นอกจากนี้ยังได้มุมมองแนวคิดจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกหลายข้อเพื่อเติมเต็มมากขึ้น

อนึ่ง Handout ที่อาจารย์แจกในห้องเรียนเป็นประโยชน์มากในการสร้างความเข้าใจและการนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนหัวข้อวิกฤติเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดยวิทยากรคุณภาพชั้นนำของประเทศ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คุณมนูญ ศิริวรรณ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ดำเนินรายการโดยคุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

ถือได้ว่าได้รับข้อมูลความรู้สอดคล้องครบถ้วนตามหัวข้อวิชา ทำให้เข้าใจความเป็นมาของวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดในประเทศต่าง ๆ กลไกและปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นชนวนก่อให้เกิดวิกฤติ ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่างกัน ความเปราะบางของปัจจัยด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งยังทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจไทย และการวางแผนรับความเสี่ยง ซึ่งสามารถจะนำมาเป็นข้อมูลในเรื่องส่วนตัวและส่วนรวมได้

สุนทร พันธุ์เมฆ

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันช่วงสุดท้าย..ที่ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง (19 - 21 กรกฎาคม 2554)

19 กรกฎาคม 2554

วิชา HR for Non - HR โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 

19 กรกฎาคม 2554

Panel Discussion

หัวข้อ    วิกฤติเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย..

ผลกระทบและการปรับตัวของ  กฟผ.

โดย       รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   

            ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล      

            คุณมนูญ  ศิริวรรณ    ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด   

ดำเนินรายการโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

20 กรกฎาคม 2554

วิชา บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย..ม.ร.ว. เบญจาภา ไกรฤกษ์

วิชา Passion - Leadership and High Performance โดย Mr.Bruce Hancock

วันชัย หงส์เชิดชัย

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

กล่าวถึงเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจของไทยช่วงต้มยำกุ้งปี 2540 เกิดจากการไหลของเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศจำนวนมาก เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมต่ำ การลงทุน ขยายตัวสูง สภาพคล่องในระบบสูง การกู้ยืมง่าย ดอกเบี้ยต่ำ สถาบันการเงินปล่อยกู้ โดยขาดความระมัดระวังทำให้เกิดหนี้สูญ เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ในส่วนของราคาน้ำมันในอนาคต จะไม่ลงไปต่ำกว่า 80 ดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจาก Optimistic thinking และความต้องการในอนาคตสูงขึ้น จึงจะส่งผลให้ราคาน้ำมันจะขึ้นไปถึง 200 ดอลล่าร์สหรัฐ

อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ทำให้ทราบถึงสาเหตุของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ เกิดจากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ตัวอย่างจากวิกฤติเศรษฐกิจในไทย USA.,EUROPE เป็นต้น ควรปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานะการ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสามารถป้องกันวิกฤติให้ลดความรุนแรงได้

อาจารย์กอบศักดิ์ ภูตระกูล

กล่าวถึงการไหลเวียนของเงินทุนจากต่างประเทศ จะมีการเคลื่อนตัวจากภูมิภาคหนึ่งไปยังภูมิภาคหนึ่งในแต่ละประเทศที่เงินทุนไหลไปจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความเคยชินกับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน เมื่อเวลาที่เงินทุนไหลออกก็จะสร้างวิกฤติเศรษฐกิจกับประเทศนั้น ๆ ซึ่งในอดีตได้เกิดวิกฤติในแต่ละทวีปแต่ละประเทศและในอนาคตเงินทุนจะไหลมาที่ทวีปเอเชียที่จีนและอินเดียเป็นหลัก รวมทั้งประเทศรอบข้าง

วันชัย หงส์เชิดชัย

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายหัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โดย มรว. เบญจภา ไกรฤกษ์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2554

• นอกจากความเก่งที่เท่ากันแล้ว บุคลิกภาพจะพาไปสู่การโน้มน้าวคนและดึงคนเข้ามาหาตัวเราได้อย่างดีมาก ๆ แล้วเราจะสังเกตได้ว่าเราจะดูดีกว่าเพื่อน ๆ

• ความมีจุดเด่น จึงสามารถช่วยดึงคนออกมาจากหมู่คณะได้

• Characteristic คือคุณลักษณะของเราเอง ทั้งรูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง

• ทฤษฎีบุคลิกภาพ

o Ego ,Super Ego

o บางคนเงียบ,บางคนเก็บตัว อาจจะยากในการเป็นผู้นำ แต่ทว่าในกรณีที่นิ่ง แต่พูดมาทีเดียวคนยอมรับก็สามารถเป็นผู้นำได้เช่นกัน แต่ทว่าคนส่วนใหญ่จะชอบคนแบบ Extrovert ชอบความร่าเริง และการแสดงออก

o บุคลิกภาพที่เด่น กับบุคลิกภาพที่ด้อย

o บุคลิกภาพที่เด่นในตัว เช่น Kenedy ทำไมถึงเป็นคนเด่น ทำไมคนรัก บางคนบอกว่ามี Kenedy มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่โน้มน้าวจิตใจคนได้

o โดยทั่วไปคนรูปร่างกำลังดี จะดูฟิต เป็นลักษณะที่ดี การแสดงออกมาในลักษณะของการนั่ง ยืน เดิน พูด และแสดงอารมณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องละเอียด ต้องมีการเตรียมพร้อมในการสร้างบุคลิกภาพ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมด้วย

o Personality มาจากคำว่าใส่หน้ากาก หรือสร้างให้ดูดีขึ้น เราต้องศึกษาตัวเองและแก้ไขตลอดเวลา

o นั่งให้หลังตรง ยืนให้หลังตรงจะช่วยรักษาบุคลิกภาพและดูแลหลังเราได้ดี

o ผู้หญิงใส่ส้นสูงนิ้วครึ่งจะสามารถรักษาสุขภาพได้ดี ส่วนผู้ชายควรมีส้นนิดนึงแล้วใส่รองเท้านิ่ม ๆ

o การแต่งกาย ถ้าแต่งสบาย ๆ แล้วดูเรียบ ก็ควรเลือกเสื้อให้พอดีตัว หาคอเสื้อที่พอดี ทรงผม ไม่ให้กระเจิดกระเจิง ทรงผมเป็นสิ่งสำคัญ เรียบหน่อยจะช่วยได้มาก

o ใบหน้าเป็นหน้าต่างของบุคลิกภาพ ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ การรักษาดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

o ความสะอาด ดูเล็บ ทรงผมอย่าให้มีรังแค

o บุคลิกภาพต้องเริ่มต้นด้วยความสะอาด แล้วตามมาด้วยความเรียบร้อย

o บุคลิกภาพที่ดีไม่ใช่โดดแบบประหลาด พวกที่โดดแบบประหลาดคือพวกศิลปิน

o ส่วนคนทั่วไป คือ ความเสมอเหมือนคนอื่นแต่มีจุดเด่นของเราเอง ซึ่งเราสามารถสร้างได้ โดยการแต่งตัวให้พอดีตัว ไม่หลวม หรือฟิตไป

o เส้นผม แห้งกรอบ และเบา แก้โดยใช้สมุนไพร ไม่ควรสระผมกลางคืน เนื่องจากหนังศรีษะจะเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง รักษาด้วย มะมาสมุนไพร มะมาไม่สอนให้สระผมทุกวัน ให้ดูแลเรื่องหนังศรีษะให้ดี

o การแต่งตัวต้องให้เหมาะสมและเคารพสถานที่ รวมถึงให้เกียติงานต่าง ๆ

o การดูแลดวงตาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในใบหน้าคนเราตาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ใครตาแห้งก็อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย ใครออกแดดควรใส่แว่นตาดำ ผู้หญิงมีความเสื่อมในการผลิตน้ำตาเร็วกว่าผู้ชาย จึงควรดูแลรักษาดวงตาให้ดี

o การรักษาดวงตา โดยใช้ถุงชุบน้ำปก ช่วยรักษาเปลือกตาได้เหมือนกัน

o คนหน้าแห้งอย่าใช้น้ำร้อนล้างหน้า คนหน้ามันควรใช้น้ำอุ่นจะช่วยลดความมันได้ดี

o ขอให้ใช้ Sun block เสมอ

o หน้าแห้งให้ใช้ครีม หน้ามันให้เช็ดหน้าด้วยน้ำเกลือ

o น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ดีสำหรับศรีษะ

o น้ำมันมะรุม รักษาผิวหนังเป็นแผลได้ด้วย

o เรดเน คือยาที่สามารถสร้างผิวใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ

o โคเอนไซม์ คิวเทน สร้างพลังให้กับเซลล์ แล้วช่วยเรื่อยหัวใจได้เยอะ 50 - 100 มก.

o การดูแลผิวพรรณ นวด และถนอมร่างกายช่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อด้วย ให้นวดแบบเบา ๆ อย่านวดแรง ๆ การกดถ้ากดไม่ดีจะเป็นอันตรายได้

o การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ยากที่จะให้มีบุคลิกขึ้นมา เมื่อเราเข้าไปในหมู่คนจำนวนมาก การมีจุดเด่นขึ้นมา ก็สามารถดึงคนให้มองเราได้ เช่น นักการทูต ดารา อย่างเช่นดาราที่มีบุคลิกภาพดีที่สุดในมุมมองของคุณหญิงเบญจภาคือ นิรุตติ์ ศิริจรรยา

o ส่วนใหญ่เราจะชอบคนร่าเริงแจ่มใส แล้วเราจะอยากคุยด้วย

o การเข้าสังคม จะเป็นคนที่คุยเก่งหรือฟังเขา ขอให้ฟังก่อน....ฟัง รับ แล้วโต้ตอบ มีการมองตาให้ความเป็นมิตร และประนีประนอมตลอดเวลา

o เวลาเราออกงานเราต้องเตรียมชุดเพื่อแปลงกายได้ตลอดเวลา อย่างสุภาพสตรีเวลาออกงานอาจมีการใส่เครื่องประดับ และถือกระเป๋าออกงาน

o ถุงน่องที่จะให้ใช้คืองานที่ต้องให้ความเคารพ การออกงานฝรั่งต่าง ๆ งานพิธีการต่าง ๆ การพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา สำหรับฝ่ายชายถ้ารองเท้าดำ ถุงเท้าควรดำไปด้วย

o การเซ็นสัญญาระหว่างองค์กร ต้องมี Representative องค์การให้ดีที่สุด

o ผู้ที่มีบุคลิกผู้นำ ต้องมีความคิดตลอดเวลา มีวิสัยทัศน์ และเป็นตัวแทนให้โลกรู้ว่าเราต้องประหยัดไฟ

o การเจรจาออกงานสังคม ใช้ความสนใจของเรา กับความรู้ของเราแลกเปลี่ยนกับประสบการณ์ของเขาในการเข้าสังคม

o ในการเข้าสังคม ก่อนอื่นต้องมีความพร้อมในใจก่อน ถ้าอารมณ์ไม่ดี หน้าตาไม่พร้อม บุคลิกก็เสียไปเหมือนกัน

o สูทสีเข้มอ่อน ขึ้นอยู่กับความเป็นทางการ ยิ่งสีเข้มมากจะแสดงถึงความเป็นทางการมากเป็นต้น

o ผู้ชายที่ใส่เสื้อสีขาว แสดงถึงความเป็น Formal , หรืออยากใส่เสื้อสีก็ใส่ได้ แต่ต้องเป็นสีฟ้า หรือสีเทา จะสุภาพกว่า หรือถ้าอยากให้มีลายหน่อย ก็พอได้บ้าง

o ถ้าเวลาถ่ายรูปเซ็นสัญญาติดกระดุมสูทเต็มหมดเลย แต่ถ้าค้อกเทล อาจติดกระดุมเดียวหรือสองเม็ด

o สิ่งสำคัญที่สุดของบุคลิกภาพคือกระจกส่องตัว เพราะนั่นจะช่วยบอกบุคลิกเรา เราจะต้องดีให้ได้

o เบรเซอร์ เป็นคอนเซปต์ของนักเดินเรือหรือนักกีฬา เป็นกางเกงกับเสื้อไม่ต้องสีเดียวกัน แต่ต้องเลือกสีให้เข้ากัน ไม่ใช่สีใกล้กันเกินไป

o การเลือกเสื้อให้ดูเหมาะสมกับเรา ถ้าเท่ห์กว่า ดูดีกว่าก็ใส่ได้เลย

o แต่งตัวให้ Over dress ดีกว่า Under dress

o Persuasion การชักจูงและโน้มน้าวคนได้

EQ ต้องควบคุมอารมณ์ให้เป็น

MQ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี

AQ มีความอดทน

OQ ทำงานเพื่อสังคมเป็นหลัก

Organize power , มี Relationship ดี, Self Control ควบคุมสติอารมณ์ให้ได้

Persuasion Essential

o ความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจ และชักจูง

o ต้องรู้เขา รู้เราด้วย ถึงสามารถชักจูงได้

o Concept selling idea เราต้องเริ่มโดยการฟังก่อนว่า คุณต้องการอะไร พอใจอะไร อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตของเขา เช่น เรื่องลูก เงินเดือน สุขภาพ แล้วพาไปสู่ความคิดที่ต้องการ หลังจากนั้นค่อยโน้มน้าวอีกที

o Prof.Peter Hiddemma มีชื่อเสียงระดับโลกในการสอนเรื่องการเจรจาต่อรอง คนที่ต้องการสร้างธุรกิจและต่อรอง สร้าง Prof. คนนี้ทำงาน และยกย่องคน 3 คนที่สามารถโน้มน้าวคนได้ คือ มหาตมะ คานธี ช่วยสร้างสังคมในอินเดียและทำด้านอิสรภาพด้วยอหิงสา, แม่ชีเทเรซ่า สร้างองค์การการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้, จอห์น เอฟ เคเนดี โน้มน้าวให้คนทั้งโลกฟังเขาในสิ่งที่ต้องการเสนอได้

o ผู้ชาย กับผู้หญิงควรมีประเด็นในการเข้าหาคน สังเกตได้ว่าส่วนใหญู่ผู้หญิงจะมีวิธีการพูดที่นิ่มกว่า เราควรเรียนรู้ และปรับตัวในการเข้าหาคนจะเป็นประโยชน์มาก

แต่ท้ายที่สุดแล้วการควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งที่สำคัญ

บุคลิกภาพในการเจรจาจุดไหนเป็นจุดสำคัญ

o Key สำหรับแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจหน้าตาดี พูดดี เสียงเพราะเป็นต้น

o แต่ละคนมีจุดอ่อน จุดแข็งไม่เหมือนกัน

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

เตะตา รื่นหู ดูดี มีวัฒนธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณ

เตะตา – ต้องดูดีทั้งหญิง ทั้งชาย

วัฒนธรรม – การเลือกเครื่องแต่งกาย สีเสื้อ เครื่องประดับ ให้ความเคารพสถานที่และธรรมเนียม ณ ที่นั้น ๆ

จรรยาบรรณ - การควบคุมอารมณ์ได้ดี เป็นต้น

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย หัวข้อ People Management

บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

21 กรกฎาคม 2554

• Coaching ในต่างประเทศเป็นเรื่องกำลังบูม ..ปัจจุบัน โตเป็นอันดับที่ 2 รองจาก IT

• Training มาเป็นอันดับเกือบสุดท้ายเลย แต่ Coaching มาเป็นอันดับ 1 หรือ 2

• การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเพิ่มผลงาน ผู้บริหารส่วนใหญ่คิดว่า สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ

1. Assign Project

2. Executive Coaching

• ความสำเร็จอยู่ที่คนได้รับการโค้ชตั้งใจเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เจ้าตัวต้องเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง โค้ชไม่ได้เก่งกว่าเพียงแค่ทำให้คนที่ถูกโค้ชแสดงความเก่งออกมา

• งานของเราจะสำเร็จได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับลูกน้อง

• Leader คือคนที่พา Follow ไปในที่ที่ไม่เคยไป เราต้องให้ลูกน้องหันกลับมาว่า ผมโตมาได้เพราะพี่คนนั้น เป็นต้น ต้องทำให้เขาทำงานแทนด้วยใจได้อย่างไร ?

• คน + แรงบันดาลใจ ได้คุณค่าและผลงาน .... การจ้างคนเข้ามาทำงานต้องดูที่ค่านิยมในการทำงานด้วย เวลาหาคนในปัจจุบันให้ recruit ที่ค่านิยมก่อน

• คน(สินทรัพย์) ...ดูจากความสามารถ ,ศักยภาพ การปฏิบัติงาน,ค่านิยมที่สอดคล้อง เป็นต้น

• แรงบันดาลใจ + ความมุ่งมั่น อยู่ที่ภาวะผู้นำ ,ระบบสนับสนุนที่เหมาะสม,คุณภาพของทีมงาน,โอกาสในการเรียนรู้/พัฒนา,ระบบผลตอบแทน เป็นต้น เราต้องเข้าใจเขา อย่าสร้างภาพให้เขาคาดหวัง ต้องให้เข้าใจว่าที่นี่คือที่ไหน อยู่กันอย่างไร ดังนั้น สิ่งที่เขาคาดหวังคือสิ่งที่เราให้ได้ ดังนั้นต้องคุยกันบ่อย ๆ

• งานที่ทำร่วมกันคือ Recruitment อย่าให้ HR Recruit อย่างเดียว เราต้องมีสิทธิ์มีเสียงในการเข้าไปสัมภาษณ์ อย่าให้งานสัมภาษณ์เป็นงานฝาก เพราะว่าเราจะต้องดูแลเด็กที่เข้ามาอีกมา ถ้าระบบการ Recruit ดี , ต้องมาสู่ที่ระบบ Retrain , สร้าง Positive work & Environment ลูกน้องมีความสุข คนก็อยากทำงานกับเรา

• ศาสตร์ในการใช้ภาษาให้ตัวเรามีการพัฒนาดีขึ้น

• Training for the trainer …. ให้มาจาก Heart Space ... ให้ในสิ่งที่เขาต้องการโดยไม่สนใจว่าภาพลักษณ์ของเราเป็นอย่างไร ... การมาให้คือต้องเป็นอะไรก็ได้ เราต้องไม่มี Ego ทุกครั้งที่คุยกับลูกน้อง ให้คิดถึงว่าเราทำเพื่อลูกน้อง เราจะสร้างใครไว้ สร้าง Successor ให้เกิดขึ้น ...ถ้าเราคิดถึงตัวเราเองบางครั้งไม่อยาก Delicate งานบางงาน เพราะเรากลัวทำไปแล้วเสียหน้า …. ให้คิดว่า..เราคิดถึงกลุ่ม หรือคิดถึงเรา

• เมื่อเราเข้าใจว่าอะไร Motivate เรา เราต้องรู้ว่าอะไร Motivate เขาให้ทำงาน

• คนเราตื่นมา มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ตัดสินใจเพื่อตัวเอง ให้มองเห็นอนาคตตัวเองตั้งแต่วันนี้ว่าทำอะไรอยู่

• หน้าที่ของผู้บริหารคือกระตุ้นให้ลูกน้องอยากทำงานในสิ่งที่เขาควรต้องทำ ... สนับสนุนลูกน้อง สนองนโยบายหน่วยงาน

• ที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร แล้วเราต้องการอะไร...ถ้ามนุษย์ใช้ความรู้สึกกับสติปัญญาจะอยู่รอดได้

• วันนี้เราเป็นคนอย่างไร ตัวเราจะเป็นอย่างไร ลูกน้องเราเป็นคนอย่างไร เวลาที่ใช้อยู่ใช้ไปกับอะไร หนังสือที่อ่านอ่านประเภทไหน คบใครอยู่บ้าง ดูหนังประเภทไหน จะบอกได้เลยว่าคนนั้นจะไปทางไหน ?

• ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การให้คนอื่น เราทำตัวอย่างไร ลูกน้องก็เป็นแบบนั้น ต้องศึกษาพื้นเพว่าเขาเป็นแบบนั้นเพราะอะไร ? ถ้าเราต้องการเปลี่ยนคน เราต้องรู้จัก Feedback

• ถ้าเรารู้จักมโนธรรมลึกซึ้ง เราจะรู้จักการนำมาใช้ แล้วเราจะรู้ได้ว่าเรามี Being ตรงไหน

1. ให้เขียนคำแต่ละคำที่คนอื่นชมเราว่าอะไรบ้างเป็นคำ ๆ ออกมา (เขียนช่องที่ 1) ให้เต็ม

1 2 3 4 5

6

2. สมมุติว่าถ้าเราเลือกเป็นสัตว์ได้ 1 ตัว เราจะเป็นตัวอะไร คุณสมบัติตัวนั้นมันคืออะไร (อนุญาตให้เป็นสัตว์ในนวนิยายก็ได้ (เขียนช่องที่ 2))

3. ถ้าสมมุติว่า กฟผ.บอกว่าให้พี่แต่ละท่านพักร้อน 2 ปี มีเงินเดือนปกติและสวัสดิการปกติ จะเอาเวลาทั้ง 2 ปีไปทำอะไร ? ถ้าสมมุติมียาวิเศษกินแล้วเก่งขึ้นทันที อยากเก่งอะไร ?

4. เรื่องที่แย่ที่สุดของเราในชีวิตคือเรื่องอะไร ? แล้วเราผ่านมาได้อย่างไร? ใช้คุณสมบัติอะไรที่เราอยู่ได้ทุกวันนี้

5. ในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่เด็กจนโตจนถึงทุกวันนี้ที่เราทำอะไรแล้วมีความสุขที่สุด ลอง List มาสัก 2-3 ข้อ

6. ในชีวิตนี้เราชื่นชมใคร ... ใครเป็น Role Model ของเรา เขียนชื่อคน ๆ นั้น แล้วเขียนชื่อคุณสมบัติคนนั้น

เอากระดาษอีกแผ่น เขียนรูป โขดหิน และระดับน้ำ อันไหน 80% ขึ้นไป ใส่บนโขดหิน บางครั้งบางคราว ใส่ตรงระดับน้ำ ส่วนที่เราอยากเป็นแบบนั้นแต่ยังไม่เป็นให้ลอกมาใส่ไว้ในข้างล่าง

(ข้างบนหมายถึงเป็นเราตลอดเวลา 80 – 100% ตรงระดับน้ำ หมายถึง เป็นบางครั้ง ตรงข้างล่างหมายถึงอยากเป็นแต่ไม่ได้เป็น)

80-100%

ให้สังเกตว่าคำที่เราเลือกอยู่ตรงไหนเยอะมากที่สุด

• ใต้น้ำเยอะหมายถึงเราไม่ได้ทำสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ เป็น Being ของเรา ในวันนี้ยังไม่โต แต่พร้อมที่จะโต แสดงว่าเราลึก ๆ เป็นคนแบบนั้น จึงเสมือนแม่เหล็กในการดึงดูดให้เราเป็นแบบนั้น

• อะไรอยู่เหนือน้ำคือสิ่งที่เราแสดงนั้นตลอดเวลา

• อยู่ระดับน้ำหมายถึง เป็นสิ่งที่บางครั้งเราสามารทำได้หรือไม่ภายใต้สภาพแวดล้อมนั้น ๆ

…………………………………………………………..

• เมื่อเรามี 5 ศูนย์ในร่างกาย ให้ 5 ศูนย์ Allign กัน ... เราควรทำตรงนั้น

สิ่งที่ทำให้เราไม่มีความสุขที่สุด...คือเพราะเราเองไม่ตัดสินใจ..แล้วจะแบบต่อมาเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว

ถ้าเห็นอะไรแล้ว เห็นอะไรแล้วให้ทำ แต่ถ้าคิดว่าไม่ทำดีกว่า ให้ตัดทิ้งจะได้หายเครียดไปเลย ถ้าตัดสินใจแล้วชีวิตจะได้เดินเส้นตรง

• ให้ List เรื่องที่คาอยู่ในหัว แล้วตัดสินใจ และเมื่อตัดสินใจแล้วให้ลบคำว่า Failure ออกไป มีแต่ Feedback ...There’s no failure ,it’s only a feedback (ไม่มีคำว่าล้มเหลว มีเพียงแต่การตอบรับไม่ว่าจากเจ้านาย หรือ ลูกน้อง หรือสิ่งแวดล้อม แสดงถึงเราอาจพยายามไม่เพียงพอ แสดงว่าเราต้องพยายามกว่านั้นอีก) ...Feel the fear and do it anyway..เพราะว่าในโลกนี้ความกลัวเป็นการสร้างจากตัวเราเอง...มนุษย์ฉลาดมากในการหาเหตุผลว่าเราจะทำอะไร...อย่าพูดคำว่ารู้งี้...แสดงว่าหมายถึงการไม่ตัดสินใจ...

………………………………………………..

• จากตาราง Being ให้เราขยายผลว่า...เราทำอะไรได้ดีกว่า Competency ที่มีอยู่

• กลับไปดูลูกน้องแต่ละคนว่ามีอะไรดี ๆ เยอะที่บางครั้งอาจไม่ได้ดึงออกมาใช้

…………………………………………………..

R.P.M (Result Purpose Massive Action Plan)

• เวลาตั้งเป้าต้องกำหนดลงไปให้ชัด (Specific) หรือเขียนตัวเลขแล้วให้ได้ตามนั้น

• ถ้ากล้าตั้งเป้าหมายก็จะได้ตามนั้น

• การตั้งเป้าหมายไว้ พฤติกรรมจะเปลี่ยนเนื่องจากมี Timing

• Smart Goal, Result อยากได้อะไร สั้น ๆ ..จะเอาอะไร เมื่อไร แล้วให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ

• Michael Jordan บอกว่า “You have to believe things of yourself before you can achieve them” หมายถึงสิ่งที่ตั้งต้อง Realistic ,specific , มี Timeframe

• ส่วนใหญ่ที่ไม่สำเร็จคือ เราตั้งเป้าหมายแล้วเขียน Action Plan เลย

• Smart Goal เวลาตั้งเป้า ... เขียนลอย ๆ จะไม่สำเร็จ

1. Goal ที่ Smart ต้องวัดได้ … Specific

2. Time able สามารถบอกเวลาได้ว่าเสร็จเมื่อไหร่

3. Attendable , Reasonable, Relevance เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเรา แล้วเป็นไปได้

วิธีการทำให้สำเร็จ

• ธงไม่ควรเปลี่ยน...ให้เปลี่ยน Action ให้ไปถึงมัน

• เวลาเขียนความสำเร็จใน KPI ต้องเขียนให้เห็นภาพ บรรยายให้เกิดความรู้สึก ให้มองเห็น ให้ได้ยิน (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เห็น ได้ยิน รู้สึกให้ไปสู่ตรงนั้น

• ระบุ วันที่ และเวลาไปเลย เพื่อทำให้เกิดขึ้นจริง

• อย่าเขียนคำว่า จะ หรือ ถ้า เพราะเรื่องราวที่เขียนเป็นวันที่สำเร็จแล้ว

• ก่อนทำ action plan ให้ถามว่าวัตถุประสงค์ที่ทำเพื่ออะไร

- ทำไปทำไม ?

- ถ้าได้อันนี้แล้ว คุณได้อะไร ?

- เพื่ออะไร ?

- แล้วอะไรอีก?

The dream will come true only when you take action

รู้ไหมว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร?

• พัฒนา Being แล้วเลือกตัวเต็ง 3 ตัวแรก จะเป็นตัวที่เรามีความสุขที่สุด

• ถ้าใช้ Being ในการทำงาน จะเหมือนเล่น ยิ่งทำแล้วยิ่งมีความสุข

• การเห็นพฤติกรรมของคนให้แกะ Being ว่ามาจากตรงไหน?

• ทำไมถึงต้องทำงานนี้ให้สำเร็จ

MAP

Massive Action Plan Result Purpose

MAP ให้เอา Top 5 ไปใส่ในปฏิทิน (มาจาก Action ที่เป็น Purpose กับสิ่งที่ทำให้สำเร็จ)

• สิ่งที่ลงในปฏิทินคือสิ่งที่เราจะทำที่เหลือไม่ได้ทำ

• เราต้องเลือกได้ว่าอะไรสำคัญ ใครสำคัญ ที่เหลือทิ้งไปให้หมด

• การตัดอะไรทิ้งคือ การตัดสินใจ ใช่คือใช่ ไม่ใช่คือทิ้ง

• ก่อนลง Action ให้ถาม Purpose ก่อนว่าเราตัดสินใจทำอะไร

เช่น งาน ,ครอบครัว,สังคม,สุขภาพ, ความสุขทางใจ,ศาสนา

• เราสามารถใช้ MRP ตั้งเป้าได้หมดเลย

• เคล็ดลัพธ์คือบรรยายภาพในอนาคตให้ได้ แล้วอธิบาย Action Plan Top 5 ใส่ในปฏิทิน และเมื่อเจออุปสรรคเราจะไม่ท้อง่าย ๆ ถามได้ว่า Purpose คืออะไร

• การคัดเลือกข้อมูลส่วนใหญ่จะเลือกสิ่งที่เราชอบและสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา แล้วเราตัดอะไรทิ้งไป

สมองทำหน้าที่ :

o สมองทำหน้าที่ Delete สิ่งที่ไม่ชอบลบทิ้งไป

o สมองทำหน้าที่ Distort คือ บิดเบือนมัน เราพยายามบินเบือนให้ตรงกับที่เราคิด

o สมองทำหน้าที่ Generalize คือทำให้เป็นเรื่องธรรมดา เคยเรียนรู้มาอย่างนี้ ใช้ลักษณะ Assume อาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิดก็ได้ ให้ Aware ไว้ให้ดี เพราะบางคนอาจ Delete หรือ Distort มัน สมองสร้าง Stage of Mind

• Behavior อะไรจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จอยู่ที่ Driven

• ให้ลองคิดเรื่องที่เศร้าสุดในชีวิต แล้วมองไปข้างบน ให้หัวเราะแล้วขำ .. ระหว่างที่หัวเราะ จะสังเกตว่าเราเศร้าไม่ได้ แสดงว่าร่างกายบังคับ Emotion ได้ , Emotion แบบไหนที่จะทำให้สำเร็จให้ทำ emotion แบบนั้น ซึ่งร่างกายจะช่วยได้ ใช้ภาษาบอกร่างกาย และจิตใจ แล้ว Behavior จะเป็นแบบนั้น

• การสร้างความสัมพันธ์กับคนในเบื้องต้นต้องสร้างให้ดีก่อน ต้องทำให้เรารู้สึกว่า คนนี้เหมือนคนที่เรารู้จักมาก่อน จะช่วยให้เราทำงานสำเร็จ ใช้ลักษณะ Matching เช่น หายใจระดับเดียวกับเขา พูดโทนเดียวกับเขา กระพริบตาระดับเดียวกับเขา

• การ Lead เขาให้ทำ Matching แล้วเขาจะตามมาเอง Yes มาก่อน 3 ครั้ง หรือ Paraling เป็นการทำตรงข้ามเหมือนมองกระจก..จะสามารถ Lead ได้แรงกว่า

• Fear ของมนุษย์ เช่น Fear ว่า I’m not good enough, I’m not being love, not belong to

เกิดพฤติกรรมมากมายในองค์กร เช่น ขยันทำงาน ค้นคว้าหาความรู้ ... คนแบบนี้ทำงานหนัก ผลออกมาดี

1. Fear ที่ว่า I’m not good enough ทำไม่ดีไม่ได้ ... โทษคนอื่น โทษสภาพแวดล้อม

2. Fear ที่ว่า I’m not being love ..Cooperation จะดี คือทำให้คนอื่นมีความสุข แต่ตัวเองไม่มีความสุข

3. Fear ที่ว่า Not belong to ... กลัวไม่รับเข้าพวก

ความจริง... เราไม่ต้องเลือกอะไรก็ได้ ต้องตัดสินใจ เราสามารถตัดสินใจว่าไม่ทำอะไรได้

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

Present …

กลุ่ม 5 ยุทธวิธีชนะใจชุมชนเพื่อ กฟผ.

• การสื่อสาร, พัฒนาเทคโนโลยีดูแลสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น

• กำลังผลิต มีความต้องการสูงขึ้นปีละ 5%

• ตั้งโรงไฟฟ้าจากปี 2512 ถึงปัจจุบัน การใช้ไฟเพิ่มหลายเท่าตัว

• อยู่ในกทม. 31%

• การใช้ไฟอยู่ในอุตฯ เป็นหลัก พึ่งพาก๊าซธรรมชาติประมาณ 70% นอกนั้นเป็นถ่านหิน พลังน้ำ ฯลฯ เทียบกับโลก ถือว่าเป็นอัตราส่วนที่ไม่สมดุล

• ทรัพยากรเชื้อเพลิงใกล้จะหมด ถ่านหินบ้านเราไม่เกิน 50 ปี ก๊าซไม่เกิน 20 ปี

• จุดเสี่ยง คือ ระบบส่งและนำเข้าจากพม่า และมาเลเซีย และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

• ประเทศญี่ปุ่นมีความสมดุลในพลังงาน จึงน่าห่วงน้อยกว่าไทยที่ไม่สมดุล

ช่วงนี้ถึงในปี 2573 เราจะผลิตด้วยอะไรถึงจะเหมาะสมและเข้ากับไทย

• การพัฒนาพลังงานภาคใต้ มีโรงไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น กระบี่ ชนะ เชี่ยวหลาน สุราษฎร์

• ภูเก็ต พังงา กระบี่จำเป็นต้องใช้สายส่งไฟฟ้าแรงสูง

• สถานะการผลิตในภาคใต้ นอกจากความจำเป็นที่เพิ่มขึ้น ต้องมีการปลดออกจากระบบ และหยุดบำรุงรักษา ตามช่วงเวลา

• ภาคใต้ บางจังหวัดไม่มีแหล่งพลังงานของตัวเองต้องพึ่งพาจากที่อื่น เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา เป็นต้น

• ไทยใช้ 2,050 เมกะวัตต์ ในอนาคตจะเพิ่มเป็น 3,000 เมกะวัตต์

• ปี 62 จะได้ไฟ 800 เมกะวัตต์ ที่กระบี่

ทุกคนรู้ว่าไฟฟ้าจำเป็น รู้ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร

ไฟฟ้าอยากได้ แต่ให้ไปสร้างที่อื่นและไม่ใช่บ้านฉัน

ไฟฟ้าอยากได้แต่อย่าให้สายส่งผ่านบ้านฉัน

ดังนั้นจึงเกิดการประท้วง ไม่เอาไฟฟ้าถ่านหิน เช่นที่ชุมพร โรงไฟฟ้าทับสะแกเป็นต้น แทนที่กฟผ.เป็นที่ต้อนรับกลับเป็นที่ถูกขับไล่ เรามีแนวคิดที่จะไปทำตปท. ที่พม่า ที่ลาว ที่แม่น้ำสาละวิน ที่ลาว ที่แม่น้ำโขงต่าง ๆ

ประเด็นคำถามที่พบบ่อย มี 5 ข้อ

1. ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่นั่น

2. สร้างแล้วมีผลกระทบอย่างไร

3. ทำไมไม่ใช้พลังงานทดแทน

4. ความมีส่วนร่วมชุมชนเพียงพอหรือไม่

5. สร้างแล้วได้ประโยชน์อะไร

เราจะเลือกใช้เชื้อเพลิงอะไร เราต้องมองที่ความมั่นคง ตัวแปร ทางเลือก ความมีส่วนร่วม ทำไมใช้โรงไฟฟ้าต่าง ๆ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

• ทางเลือกหนึ่งในอนาคตที่สนใจคือ ถ่านหินนำเข้า มีแนวโน้มทำโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้โดยใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพดี

• เราต้องมีการขนส่งทางเรือ

• ถ้าเลือกที่ตั้งต้องมองทางวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ความมีส่วนร่วมของชุมชน

หัวใจของสิ่งที่เราได้คิด จะประเมินจากที่อาจารย์สอน แล้วทำอย่างไรจึงชนะชุมชนได้

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ โดยก้าวข้ามขีดจำกัดที่มีอยู่

ฐานข้อมูลชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน

ทุนทางสังคมของชุมชน เช่น ทรัพยากร ปราชญ์ชาวบ้าน ประเพณี ค่านิยมต่าง ๆ สร้างทุนความสัมพันธ์ในทุนทางสังคมนั้น ต้องมีบุคลิกและคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเข้าไปพบกับชุมชน

คือ

1. กิริยา ท่าทาง การแต่งกาย ภาษา การพูดที่เหมาะสม กาลเทศะ

2. เป็นผู้ฟังที่ดี

3. ทำงานด้วยความโปร่งใส

4. อดทน นุ่มนวล

5. มีจิตวิทยา

6. คิดบวก

7. นักสื่อสาร

8. หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

9. คิดว่าความคิดเห็นแตกต่างเป็นเรื่องปกติ

10. ใฝ่รู้และมีความรู้รอบด้าน

สรุปแล้วคือ เก่ง ดีและทำงานเป็นทีม ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

• การโปร่งใสของข้อมูลในการเข้าสู่พื้นที่ ชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย

• กระบวนการมีส่วนร่วมจะเข้ามามีบทบาท ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ และรับประโยชน์จากโครงการของเรา

• การเป็นเจ้าของร่วมกัน ในความเป็นเจ้าของ มี 2 เรื่อง คือ เรื่องรูปธรรม คือเรื่องหุ้นส่วน อบต. อบจ. สหกรณ์ เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ (แก้พรบ.สามารถทำได้) หรือรับบุคคลท้องถิ่นเข้ามา เรื่องจิตใจ มองให้โรงไฟฟ้าเป็นส่นหนึ่งของชุมชน เช่นเจ้าของบ้าน เจ้าของวัด คนมีส่วนร่วมได้

• ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับเป็นรูปธรรมคืออะไร การรับเหมา ,การรับเป็นลูกจ้างพนักงาน, งบพัฒนาท้องถิ่น, ค่าไฟฟรีในรัศมีใกล้โรงไฟฟ้า, ทุนการศึกษาเป็นรายบ้าน ประโยชน์เป็นภาพรวมของชุมชน และรายบ้าน เช่นมีการพัฒนาโรงเรียนทุกเขตเขื่อน เช่นมีงบประมาณเท่าไหร่ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องเป็นต้น การพัฒนาผู้สูงอายุ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตกลุ่มเกิดขึ้น ชดเชยผลกระทบให้เขาเกิดความมั่นใจ การแก้ไข ทำให้เกิดผลกระทบเท่าเดิมหรือน้อยที่สุด พัฒนาคุณภาพชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมชุมชน ให้คนกินดีอยู่ดี

• การลงนามเป็นสัญญาประชาคม ที่ผ่านมา กฟผ.มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อย คำมั่นต่าง ๆ ชาวบ้านติดอยู่ กลายเป็นความไม่ไว้วางใจเรา ดังนั้นอีกทางที่คิดดูคือ การทำ Commitment ในลักษณะสัญญาประชาคม มีการลงนามเป็นหลักฐาน สร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น เป็นเรื่องของคำพูดและสัญญา

• การประกาศเป็นนโยบายหลักขององค์กร Eco Friendly Power Plant,Green Power Plant ถูกควบคุมโดยกฎหมายต่าง ๆ มลพิษต่าง ๆ ในกม. มีค่าควบคุม กฟผ. ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานกว่าครึ่ง หรือประกาศเป็นนโยบายว่า กฟผ. มีการผลิตที่ดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เป็น Green Power plant และทำให้ชุมชนภายนอกเขียวด้วย เป็นเรื่องของความอุดมสมบูรณ์

• การเปลี่ยนแนวคิด หรือกระบวนทัศน์เลือกที่ตั้งถ่านหิน เดิมคิดจากตัวเรา เช่นต้องมีพท. กว้าง มีแหล่งน้ำ ชุมชนเข้าถึงง่าย แต่ก่อนคิดตามที่ กฟผ.ต้องการ แต่รองปรับให้ชุมชนเสนอพื้นที่ที่เหมาะสม อาจได้ที่ใหม่ ๆ แต่ต้องมีการดูแลกำกับ เช่นดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการปรับเรื่องการขนส่ง สายส่งต่าง ๆ ทำให้ Cost สูงขึ้น แต่ช่วยปรับแนวคิดของชุมชนได้

ข้อเสนอแนะ

ข้อ 1-4 ควรเริ่มก่อน แล้วข้อที่เหลือค่อยตามมา งานประชาสัมพันธ์ต้องเริ่มก่อน ก่อนการอนุมัติแผน

ดร.จีระ ทั้งหมด ถ้าจะมีคำถามคือ นี่คือถ่านหิน แต่ถ้านิวเคลียร์ แล้วมีความแตกต่างในการ Approach ไปถึงไหน แล้วกรณีกระบี่เริ่มหรือยัง

ตอบ กระบี่เป็นที่ที่มีอยู่เดิม และใช้ถ่านหินมาก่อน ประเด็นคือต้องมีการขนถ่าย ตอนนี้เริ่มนับ 1 ก่อน ยังไม่ได้นับถึงผลกระทบเลย

ดร.จีระ ถือเป็น Basic ,Roadmap ที่ดี ชอบมากเลยตรงที่ไปหา Stakeholder ให้เขามีส่วนร่วมและเห็นถึงความมีเจ้าของ ให้พัฒนา Paper เรื่องถ่านหินที่จะ Import เข้ามา ได้ทำสำเร็จไปบ้างในนิคมอุตสาหกรรม ถ้าจะสู้ใน กระบี่แล้วเป็นพื้นที่เดิม โอกาส Success จึงสูง

กลุ่ม 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

การชะลอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 3 ปี และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปศึกษาและวิเคราะห์ เมื่อมีการชะลอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 3 ปี จะทำอะไร ?

ถ่านหินใช้ไป 18% เมื่อเราจะทบทวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ต้องเริ่มปี 66 ปี 63 ต้องนำถ่านหินมาแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แผน PDP เป็นช่วงใกล้เคียงในการดำเนินการ อยู่ในช่วงแผนระยะยาว โอกาสจะมีการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น

ปรับ PDP 2010 เล็ก ปรับเอาโรงไฟฟ้าถ่านหินแทน แล้วต้องศึกษาในเรื่องสร้างโรงไฟฟ้าในตปท.ด้วยเช่น พม่า และลาว แต่ต้องมีเงื่อนไขกำกับว่าไม่เกินกี่เปอร์เซ็น

เราต้องเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการถ่ายเทพลังงานไปตปท.

สถานที่ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำใหญ่ สะดวกการขนส่ง ใกล้ท่าเทียบเรือ ไม่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ ชุมชนไม่ต่อต้าน

ประเทศไทยมี 13 กลุ่มรอยเลื่อน กลุ่มภาคเหนือไม่เหมาะ ฝั่งทะเลอันดามันก็ไม่เหมาะ แต่ที่น่าจะเหมาะสม นครสวรรค์ ขนอม ตราด จันทบุรี

ตราดและจันทบุรี ถือว่าเป็นพื้นที่เหมาะในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เนื่องจากใกล้แหล่งน้ำ และสะดวกการขนส่ง และโอกาสเกิดสึนามิน้อย มีท่าเทียบเรือเดิมอยู่แล้ว จึงคิดว่าน่าจะเหมาะสม

ดังนั้น งานมวลชนต้องเตรียมให้พร้อมก่อนลงพื้นที่ แล้วสรุปไปแล้วว่าเป็นอย่างไร

งบประมาณ เมื่อมีการปรับแผน กระบวนการสร้างโรงไฟฟ้าต้องมีการปรับทั้งหมด บุคลากรต้องดูว่าเมื่อชะลอไป 3 ปี จะกระทบอะไร

ผู้เชี่ยวชาญต้องสร้างให้ต่อเนื่องเพื่อรองรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการเตรียมตั้งแต่เนิ่น ๆ ในเรื่องบุคลากรที่จะรองรับ ต้องเรียนรู้จากประเทศที่มีนิวเคลียร์มานานเช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ดังนั้นบุคลากรชุดนี้ควรอายุประมาณ 30 กว่า ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญ อาจให้ไปดูงานที่จีน มีการจัดหลักสูตรอบรม เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ มีการเปิดสาขานิวเคลียร์ ให้เด็กจบออกมาสามารถทำงานให้ กฟผ.ได้เลย

การเผยแพร่ความรู้ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ แล้วให้ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจมีการชะลอในช่วงนี้นิดนึงสัก 2 ปี แล้วต่อไปค่อยให้ความรู้มากขึ้น

เป้าหมาย เด็กประถมควรเป็น คนรุ่นใหม่ที่จะรู้ว่านิวเคลียร์คืออะไร จะได้ไม่กลัวนิวเคลียร์

การประสานงาน ผู้เกี่ยวข้อง แผน PDP โรงไฟฟ้าที่สร้างมา จะเห็นว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเริ่มจริง ๆ ปี62 แห่งที่ 2 จะเข้าในปี 63 ซึ่งถือว่าน้อยมาก ไทยยังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงปี 65 จนถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะขึ้นปี 66

ปี 63 มีความต้องการไฟฟ้าเกือบเท่าตัว แต่ถ้าเขยิบไปอีกจะเห็นว่ามีความต้องการไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้นจึงเห็นว่าก่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะขึ้นอีก 10,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่ขึ้น โรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นมาแค่ 2 โรง จึงน่าห่วงที่ก๊าซธรรมชาติจะหมดเร็ว ดังนั้นข้อมูลทั้งหมด กฟผ.ควรรวมรวมให้รัฐบาลและ Regulator ทราบถึงปัญหา

คำถาม

• ใช้นโยบายประหยัดพลังงาน DSM แก้ไขได้ไหม?

• พลังงานทดแทนใช้ได้ไหม?

• ประเทศใหญ่ ๆ ยังเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเลิก แล้วประเทศไทยยังจะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหรือไม่?

• ถ้ามีนิวเคลียร์ มั่นใจได้อย่างไรว่ามีความปลอดภัย

• คุณภาพของคน กฟผ. มีความรับผิดชอบไหวหรือไม่ ต้องเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบ และพร้อมดูแลต่อไปหรือไม่

• โรงไฟฟ้าทุกประเภทที่สร้างอยู่ประชาชนได้อะไร แล้วจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

• หลังจาก 3 ปีแรก เราจะทำอะไรต่อ เริ่มวางแผนต่อต้านเรื่องการประกวดโรงไฟฟ้า

• ถ้าไปดูรัฐบาลใน 3 ปีต่อมา รัฐบาลจะต้องประกาศเป็นนโยบายเป็นวาระแห่งชาติเป็นเรื่องจริงจัง ถ้ารัฐบาลไม่กล้าหาญประกาศ เป็นเรื่องยาก และต้องร่วมชี้แจงกับประชาชนถึงจะเกิดขึ้นมา

• พื้นที่ไปที่ไหนก็ไล่หมด สิ่งนี้เป็นเรื่องจริงจัง เรื่องอื่น ๆ รัฐบาลต้องช่วยเหลือ กฟผ.อย่างเดียวช่วยไม่ได้ การประชาสัมพันธ์ ต้องผ่านสื่อแล้วเข้าไปในโรงเรียน เอาเนื้อหาของพลังงานไปสอดแทรกเป็นวิชาหนึ่ง ให้คนรุ่นใหม่ถือว่านิวเคลียร์ไม่น่ากลัว

• มวลชนควรลงพื้นที่ แล้วตอบคำถามด้วยความจริงใจ ตอบตามตรง แล้วหาแนวร่วม

ปัจจัยความล้มเหลวและสำเร็จคือ

1. รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนเป็นนโยบายแห่งชาติและประชาชน

2. กฟผ.ต้องดูสถานที่ความพร้อม และชี้แจงประชาชน

3. สื่อมวลชนต้องให้ความเข้าใจ และให้ความรู้

4. ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับ และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ

ยุคนี้ถ้าจะให้สำเร็จต้องประชานิยม ประชาชนไม่รับรู้ว่าได้อะไรบ้าง Energy Tax ประชาชนไม่รับรู้ว่าไปใช้อะไรบ้าง บางทีเราอาจตัด Energy Tax ออกไปให้ประชาชนในพื้นที่ก่อน เงินเหลือค่อยขยายออกไป

แผนรองรับกรณีความล้มเหลวนการสร้างรฟ.นิวเคลียร์ในประเทศไทย

PDP แผนพัฒนากำลังการผลิตปรับทั้งหมด

1. การสร้างโรงไฟฟ้านอกประเทศ แล้วสร้างสายส่งเข้ามา ที่สำคัญคือเราต้องมีเส้น Grid และสายขนาด 500 KV กฟผ. ต้องลงทุนการสร้างสายในต่างประเทศ จากเวียดนามมาประเทศไทย ใช้สายส่งให้เป็นประโยชน์แล้วอาจสร้าง Outbound

2. DSM เป็นความหวังของกลุ่ม เราจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่จะเอาเข้ามาใช้ในประเทศไทย คือ โซลาเซล และหลอด LED เป็นหลอดใหญ่ ๆ เหมือนโคมไฟสาธารณะ Induction Motor ตัว Inverter ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟลงมา อาจมีการปรับเปลี่ยน Office Hour

3. Inverter กับ Solar cell ทำได้อย่างไร เนื่องจากราคาแพง ผลิตได้น้อย วิธีคือ ต้องให้มีการผลิตในประเทศแล้วมีโรงงานขนาดใหญ่เยอะ ๆ ใช้ Economy of Scale ทำให้ถูกขึ้นมา

4. Solar Cell เอาไว้ที่หลังคาบ้านชาวบ้านเยอะ ๆ แล้วรับซื้อไฟเข้ามา คิดว่าในอนาคตเทคโนโลยีอาจถูกลงเรื่อย ๆ ในการเอาแผงไปติดไว้ตามหลังคาบ้าน แล้วรับสัมปทาน

5. LED Lamp วิธีทำให้ถูกคือ ตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย แล้วจะถูกลงเรื่อย ๆ กฟผ.จะถูกต่อต้านน้อยลง คนมีรายได้จากการขายไฟมากขึ้น วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไป เช่นอาจเข้างานเที่ยงแล้วเลิกงาน 2 ทุ่ม

6. พลังงานทางเลือกจะทำอย่างไร ตจว. ไหนมีความสามารถสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กให้ชุมชนมีส่วนร่วม สามารถขายไฟให้กับกฟผ.ได้เลย แล้วในอนาคตจะได้ค่าไฟถูกลง เกาะกงถือว่าเป็นจุดดีมากสำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วลากสายส่งเข้ามา ก็สามารถทำได้

การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจดีไซน์รูปแบบให้ความน่ากลัวลดลง

ดร.จีระ เสนอว่า คุณภาพของคนในกฟผ.ที่พึงปรารถนาต้องคิด Scenario หลายอัน โลกมีความไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้เสมอ พยายามให้พวกเราใฝ่รู้หลายเรื่อง

เห็นความต่อเนื่องของคนที่ถูกกระตุ้นให้คิดนอกกรอบ จะมีทางออก ถ้าเราคุยกับเขาบ่อย ๆ อาจดีขึ้น กฟผ.อาจมีการจัด Forum ขึ้น เชิญนักวิชาการ เชิญ NGOs จากตปท.มาคุยด้วยจะช่วยให้ความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

กลุ่ม 4 DSM

• PDP 2010 เราต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 40,000 เมกะวัตต์ เราต้องหาเพิ่มปีละ 1,200 เมกะวัตต์ แต่เราก็โดนต่อต้านตลอด ดังนั้นเราจะเอาไฟฟ้าที่ไหน จึงทำให้ผู้บริหารมองว่าเป็นยุคทองของ DSM

• DSM คือ Energy Efficiency ผ่านอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟเบอร์ 5 ใช้เท่าเดิมแต่ใช้ไฟน้อยลง

• ประชาชนได้อะไร คือใช้เหมือนเดิม แต่ปริมาณการใช้ลดลง,สามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าต่อไปได้

• เริ่มแต่ปี 2536 คุณอังคณาอยู่ในยุคบุกเบิก DSM กฟผ.ถือว่าเป็นประเทศแรกที่เอามาใช้แล้วประเทศอื่น ๆ ตามมา ญี่ปุ่นยังตามหลัง

• ลดการใช้ไฟไป 2100 เมกะวัตต์

• ถ้าเราปลูกฝังการใช้พลังงานให้กับเด็ก ๆ ให้ประชาชนรับรู้เรื่องพลังงานที่ถูกต้องจะเป็น Key หลักที่จะพึ่งเขาได้ อย่างกฟผ. มีการทำโรงเรียนสีเขียวทุกจังหวัด 400 กว่าโรงเรียน กฟผ. สร้างให้เยาวชน ประถม มัธยม รับรู้พลังงานที่ถูกต้อง มีความรู้ว่าจะผลิตอย่างไร

มีหนทางในการป้องกันอย่างไร หาบุคคลที่เรียนรู้เรื่องพลังงานแล้วอยากทำงานทางด้านนี้มีหรือไม่ ? หรืออาจไปทำงานตามโรงงานเป็นต้น

• การบรรยายเรื่องพลังงานทดแทน สื่อสารให้เด็ก ๆ ทั่วประเทศดูว่าข้อมูลเหล่านี้คืออะไร มีสื่อมัลติมีเดียทำเป็นซีดีส่งไปให้โรงเรียนต่าง ๆทั่วประเทศ 36,000 โรงเรียน

• ห้องเรียนสีเขียวมีการบูรณาการแต่ละวิชา

DSM กับ บริบทของประเทศ

• แผน PDP 2010 มีการเอาหลอดผอมมาบรรจุในแผน

• หลอด T5 ที่บรรจุในแผน แค่ 0.3 % ของทั้งหมด

• แผน PDP ก๊าซต้องลดเหลือ 39%

• ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงมาก ถ้าลงทุน DSM ต้นทุนแค่ประมาณ 5%

• DSM กับ NGO เป็นอย่างไร ? มองว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกฟผ. น่าจะเป็นจุดเชื่อมระหว่างกฟผ.กับ NGOs มีการเชิญ NGOs มาคุยกัน

• กฟผ.ทำได้ดีเรื่อง DSM

• การนำ DSM ไปใส่ใน PDP ถือว่าดี แต่ใส่น้อยไป ควรใส่ไปให้ได้สัก 15% มากกว่า 200 เมกะวัตต์ นี่คือสิ่งที่ NGOs มอง จุดนี้จึงควรเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่าง กฟผ. กับ NGOs ถ้าเราทำเต็มที่ แล้วได้แค่นี้ แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี อาจสามารถคุยได้มากขึ้นในการสร้างโรงไฟฟ้าได้

• การใช้ไฟฟ้า Renewable Energy ใช้โรงไฟฟ้าพลังงานลมก็โดนต่อต้าน สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้เงินสูงสร้างได้นิดเดียวและใช้พื้นที่เยอะ ไม่ได้สร้างได้ง่าย ๆ ต้องขึ้นอยู่กับ แสงแดด และลม

• ในอนาคตอาจใช้พื้นที่ของเขื่อนตั้งโซลาเซลได้อาจมีทางเลือกอีกทางหนึ่ง

• เน้นว่าเราทำอย่างเต็มที่แล้วหรือยังจะได้มีแรงต่อต้านที่ต้านไม่ได้

ประเด็นปัญหา

• โรงไฟฟ้าหมุนเวียนจะพึ่งไม่ได้ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าหมุนเวียนเยอะ ๆ แดดหาย กำลังการผลิตจะตก

• ต้องนำ DSM มาจัดการกับ Renewable Energy ให้ได้

• แต่ก่อน เรา Supply เพื่อรองรับ Demand ดังนั้นในอนาคต สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ อาจจะประกาศเรื่องการกำหนดการใช้ไฟฟ้าว่ามีแค่ไหน คนใช้ไฟต้องทำตามไฟที่มี

• DSM กับการลดภาวะโลกร้อน 1 หน่วยเท่ากับส่งคาร์บอนขึ้นไป ½ กิโล

• ในอนาคตปัญหาอย่างหนึ่งนอกจากไฟฟ้าไม่พอ ถ้า EV มา รถการใช้ไฟฟ้า(Electronic Vehicle) หมายถึงเราต้องเตรียมไฟให้เขาชาร์ตไฟฟ้าตอนการใช้ไฟสูงสุด ต้องเอา DSM ,Smart Grid มาจัดการให้ได้ ไม่อย่างนั้นมีปัญหา

• Load Management ในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญ ถ้านโยบายของโครงสร้างค่าไฟ Regulator กำลังคิดเอา DSM มาใส่ในโครงสร้างค่าไฟ ให้คนใช้ไฟหนีการใช้ไฟช่วง Peak ขจัดช่องว่างระหว่าง Off Peak กับ Peak อาจมีการปรับราคาช่วง Peak ให้สูง แล้ว Off Peak ลดลง

• เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองตามโรงงานต่าง ๆ มีศักยภาพสู่ 3,000 เมกะวัตต์

โครงการหมู่บ้านประหยัดพลังงาน

• อาจมีการ ร่วมมือกับ หมู่บ้านใหญ่ ๆ หมู่บ้านอาจใช้ไฟด้วยตัวเอง และถ้าผลิตไฟได้เยอะ ๆ อาจทำให้ราคาถูกลง

• โครงการหมู่บ้านเบอร์ 5 อบต. เบอร์ 5 ให้คิดว่าจะรณรงค์ประหยัดไฟอย่างไร?

• ถ้าลดการใช้ไฟสามารถมี Adder ให้ได้หรือไม่ ? แต่ต้องมีการศึกษาและตรวจสอบให้ดี

สรุป ในอนาคต DSM ต้องไป Co กับ Smart Grid เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ Demand Side หรือ Demand Response

ดร.จีระ บอกว่า นี่เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ แต่ต้องควรปลูกฝังให้คนในกฟผ.เห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงาน ถ้าประหยัดพลังงานได้ดี ก็ทำให้การผลิตโรงไฟฟ้ามีคุณภาพมากขึ้น ที่ฝากอีกเรื่องคือ งานวิจัย สิ่งที่ต้องทำคือพฤติกรรมของผู้บริโภคในการประหยัดพลังงานต้องให้สอนว่าไม่ให้ใช้พลังงานมากเกินไปโดยไม่ Awareness อยากให้กฟผ. Link กับ สมาคมหอการค้า ธนาคาร สภาอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวว่า ถ้าใช้พลังงานอย่างประหยัด

ประเทศอย่าง GMS ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้พลังงานชุมชน Trend ของการพูดของเราขยายไปเรื่อย ๆ ถ้าดูแลพฤติกรรมการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพลังงาน DSM น่าจะเป็น Habit แล้วผลักดันให้คนรุ่นต่อไปเอาจริงเรื่องเหล่านี้ ต้องสร้างให้เข้าใจ และตระหนักอย่างแท้จริง

กลุ่ม 3 เรื่องหน่วยราชการกับ กฟผ.

• ความสัมพันธ์ของหน่วยงาน ก.พลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ กฟผ.

• ทั้ง 3 หน่วยงานนี้ เป็นมาอย่างไร กฟผ. เกิดก่อนเพื่อนแต่เป็นลูกน้องเพื่อน

• กฟผ. ตามด้วย ก.พลังงาน และ Regulator

ก.พลังงาน

เดิมมาจากทบวงพลังงาน ก่อนหน้านั้นมาจากสำนักงานพลังงานชาติ เป็นหน่วยงานสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับกฟผ. และสร้างเขื่อน เมื่อสร้างแล้วเขาก็จะโอนมาให้กฟผ.

• ก.พลังงาน มีหน้าที่หลักในการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ...มุ่งบริหารงานอย่างยั่งยืนให้คนไทยใช้อย่างเพียงพอ

• ค่านิยมของ ก.พลังงาน มุ่งเน้นประชา กล้าคิดนอกกรอบ รับผิดชอบเป็นทีม

• การสร้างความมั่นคง ดูเรื่องกองทุนน้ำมัน และจัดหาพลังงานไฟฟ้า หน้าทีหลักส่งเสริมพลังงานทดแทนด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ ขยะ ชีวภาพ ชีวมวล ส่งเสริม แล้วให้ กฟผ.ทำ

Regulator ดูแลกิจกรรมผลิตพลังงาน เครือข่าย ระบบไฟฟ้า ...

• หน้าที่หลัก ใครสร้างโรงไฟฟ้า สายส่ง การจั๊มไฟระบบส่ง ต้องขออนุญาตเขา

• จัดเก็บเงินตามกม.ของระบบสายส่ง มีศูนย์สำหรับเก็บเงิน

• รับโอนกองทุนด้านพลังงานไฟฟ้า

• การผลิตไฟฟ้าระบบส่ง

• ฯลฯ

• เงินที่ใช้มาจาก กฟภ. กฟผ. และบางจาก เก็บเงินตามชนิดเชื้อเพลิงที่ผลิตได้

EGAT

• ดูแลระบบสายส่ง และการรับซื้อไฟ

ปัญหา

• โรงไฟฟ้าที่จะสร้างถูกต่อต้านจาก NGOs กฟผ. และบริษัทเอกชนต้องดำเนินโดยลำพัง ก.พลังงาน และ Regulator ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แม้ช่วย DSM บ้างแต่ไม่มาก จึงอยากเน้นให้ 3 หน่วยงานร่วมมือกัน ในการสร้างโรงไฟฟ้า เนื่องจากการผลิตและจ่ายไฟฟ้าให้ประชาชนอย่างเพียงพอเป็นปัญหาของประเทศชาติ ก.พลังงานต้องกำหนดให้ปัญหาเหล่านี้เป็นวาระแห่งชาติแล้วต้องช่วยกัน เริ่มแรกต้องอธิบายประชาชนให้ได้ก่อน ปัจจุบันเราบอกประชาชนตลอดเวลา เรื่องเราใช้ก๊าซธรรมชาติ 70 % ใช้ถ่านหิน 18 % มันมีปัญหาอย่างไร เราไม่ได้อธิบายให้ประชาชนเข้าใจอย่างแท้จริง ถ้าไม่ได้สร้างโรงไฟฟ้าที่นี่เขาจะทำอย่างไร เรากำลังแก้ปัญหาอยู่ทุกวัน แต่ประชาชนไม่ทราบเลยว่าเรากำลังทำอย่างไร เพราะฉะนั้นควรบอกให้ประชาชนรับทราบว่าปัจจุบันมันเกิดปัญหาอะไรบ้าง

• พลังงานแสงอาทิตย์สร้าง 1 เมกะวัตต์ ใช้ได้ 8 ชั่วโมง ยกเว้นสร้างโรงไฟฟ้าอย่างแถวลำตะคอง ซึ่งทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องรอเทคโนโลยี อะไรต่าง ๆ ต้องไปถ่านหิน นิวเคลียร์ก่อน ถึงไปพลังงานแสงอาทิตย์ต้องช่วยกัน

• การสร้างโรงไฟฟ้าต้องยึดให้มั่นก่อน ประชาชนต้องไม่เดือดร้อน แล้วต้องสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาให้ชุมชนให้ได้ ชุมชนต้องได้ผลประโยชน์ ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้าตรงนั้นจะไม่มีประโยชน์สุดท้ายคือต้องยินยอมให้เราสร้าง สรุปคือทำจริง ๆ ก.พลังงานต้องเป็นพี่ใหญ่ในการประสานงานต่าง ๆ โดยรวบรวมหน่วยงานราชการทั้งหลาย ไปเอาก.เกษตรฯ มาพัฒนาอาชีพเกษตร เอาก.พาณิชย์ มาขยายตลาด ก.วิทย์ มาช่วยด้านเทคโนโลยี ก.ศึกษาฯ ให้ประชาชนเรียนรู้ ก.แรงงาน ต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน กระจายอยู่ทั่วป. สรุปคือทุกกระทรวงต้องช่วยกัน

• แค่มีเป้าหมายว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าต้องเอาเงินไปดูแล ไปสำรวจความคิดเห็นแล้ว ต้องเริ่มทำ

• ต้องมีแผนพัฒนาชุมชนควบคู่กับแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าแล้วคิดก่อน 5 ปี ถ้าทั้ง 3 หน่วยงานทำไม่ได้ อาจต้องให้ส่วนอื่นมาช่วย

• อาจารยนาริศ พูดเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

• ท่องเที่ยวมีกลุ่มหนึ่งได้รับผลประโยชน์ กลุ่มหนึ่งเสียประโยชน์ จึงเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเน้นการรับนักท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ คัดมาไม่ต้องมาก แต่ต้องใช้เงินเยอะ ๆ 1. ถ้าเราเอาความคิดเขามาพัฒนาความคิดเราเลิกเสียที ต้องทำให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าให้ได้ โดยการให้เข้ามาทำงาน รับรู้ ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเขาได้2.หยุดเรื่องรวยกระจุก จนกระจาย ต้องคิดใหม่ ต้องให้ชุมชนเหล่านั้นเข้ามาช่วยกฟผ. ด้วยการที่เขาได้เงินอย่างเต็มที่ 3. Creative Work แจกงานให้ชุมชนเหล่านั้น โดยงานที่จะแจกต้องสนับสนุน กฟผ. ทำให้รู้ให้ได้ว่างานที่ทำสนับสนุนโรงไฟฟ้า 4. การพัฒนาคน ถ้าเราพัฒนาให้คนเรียนหนังสือ แล้วตั้งเกณฑ์ดี ๆ ว่าให้คนทำงานให้กฟผ. แล้วเข้ามาดูโรงไฟฟ้าที่อยู่ที่บ้านเองก็จะมีความสัมพันธ์ และช่วยคิดมากขึ้น แล้วเราสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน 5. ฟังความคิดเห็นของชุมชนว่าต้องการอะไร แล้วมาปฏิบัติให้ได้

ดร.จีระ...บอกว่าหัวข้อนี้ควรเก็บให้ดีแล้วดูว่าเราจะทำอะไรต่อ ก.พลังงานอาจมาช่วยได้น้อย เห็นดีด้วยที่บอกว่าก.พลังงานต้องไปร่วมกับก.อื่น ๆ Regulator อาจคุยง่ายกว่าก.พลังงาน เพราะก. พลังงานส่วนใหญ่ไปคุยกับ ปตท.มากกว่า แต่ กับ กฟผ. ก.พลังงานอาจไม่ชอบทำเท่าไหร่

เราต้องใช้ 3 หน่วยงานเป็นแกนนำ แล้วใครก็ตามที่เป็น Stakeholder หลาย ๆ ส่วนต้องเข้ามา

Paper นี้จึงมีลักษณะของการมีโอกาสในการขยายทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไป ทุกอย่างกลายเป็นพันธมิตรกัน Strategic Alliance ก.พลังงานจะสนใจเรื่องที่ไม่มี Controversial

กลุ่ม 1 New Egat HR Brand

จะทำอย่างไรให้กฟผ.เป็นเลิศในการพัฒนาคน อย่างองค์กร SCG ให้เกิดในทางปฎิบัติ

Reviews HRD&TD

• ในธุรกิจผลิตไฟฟ้า มี 18 บริษัททั้งหมดในโลก คิดว่าจะมี EGAT อยู่ในนี้ ก่อนอื่นเปรียบเทียบว่าเราแตกต่างกับเขามากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างมาเลเซีย มีแผนชัดเจน ปตท. มีธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ มั่นคง ยั่งยืน Spirit ที่ดี ตอบสนองสังคม สร้างความดี มีความจริงใจและเชื่อมั่นในตัวเอง

• วิสัยทัศน์ กฟผ. เป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระดับสากล...

o การบริหารงานบุคคล กฟผ.

o การดูแลพนักงาน

o การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน

o การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน

o การประเมินผลการปฏิบัติงาน

o การบริหารสวัสดิการ

o การแรงงานสัมพันธ์

สิ่งที่ขาดไม่ได้คืออยากได้ Career Path ที่ชัดเจนของหน่วยงาน

HRD ของ กฟผ. คืออะไร

• บุคลากรของกฟผ.เท่านั้นที่จะทำให้กฟผ.สามารถขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

• ลักษณะโครงสร้างเหมือนหัวปลาวาฬโต

• อายุเฉลี่ยสูงมาก

• แผนแม่บทของการพัฒนาบุคลากร 5 ปี ใช้ลักษณะ Fast Track ซึ่งมีการคัดกรองมาใช้ในอนาคตได้

• พนักงานไม่น้อยกว่า 80 % อยู่ที่ Line Function จึงมีหน้าที่สำคัญมากกว่า HR ซึ่ง HR จะเป็นผู้ประสานและสนับสนุนการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กร

SCG HRD

• เน้นการมุ่งพัฒนาคนอย่างเต็มที่

• ประกอบด้วยคนที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับ Top เท่านั้น

• มุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรด้วยกลยุทธ์หลัก 2 อย่างคือ การขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคอาเซียน และการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ภายใต้กรอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาค

• ปลูกฝังให้คนใน SCG มีอุดมการณ์ 4 ประการ คือ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม,มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ,เชื่อมั่นในคุณค่าของคน,ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม , “คุณภาพและเป็นธรรม”

• แนวคิดการรับพนักงาน คนเก่ง-คนดี

• การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน มีการจัดกิจกรรม สามารถหาคนเก่ง 4 ดี 10 ได้จากสิ่งเหล่านี้

• Excellent Internship รับนักศึกษาฝึกงานภาคฤดูร้อน จึงทำให้สามารถ Recruit คนได้อย่างถูกต้องด้วย

• การคัดเลือกพนักงานให้ทุนเรียนดี สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศ

• ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ด้านวิชาชีพ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

• พัฒนาพนักงาน ถือว่าเป็นการลงทุน คิดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาให้กับองค์กรได้ มีการกำหนดคุณสมบัติ ระบบพี่เลี้ยง มอบหมายงาน มี Road Map

• สร้างความผูกพันกับพนักงาน ให้การศึกษาและช่วยเหลือ สร้างขวัญ กำลังใจ

• การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน ทำมากได้มาก มีประสิทธิภาพสูง มี 4 กล่องที่จะให้เรื่องเงิน

• มี Broadband ของเงินเดือน

• การบริหารแรงงานสัมพันธ์ ทุกคนอยู่อย่างพี่น้อง ทุกคนได้สิ่งที่เขาต้องการก่อนสิ่งที่เขาอยากได้ เน้น Line Manager ในการดูแลใกล้ชิดกับลูกน้อง และเป็นที่ปรึกษา มีการดูแลพนักงาน มีระบบ Coaching ,Line Manager จะดูแลพนักงานได้เต็มที่

ความแตกต่างและเหมือนกันของ SCG กับ EGAT

• EGAT เป็น First Choice Energy ความแตกต่างคือการบริหารจัดการเชิงนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารที่เปลี่ยนไป ในขณะที่ SCG มีคณะกรรมการบริหารที่นิ่ง มั่นคง และต่อเนื่อง

• ภาพการวางโครงสร้างของ SCG กับ EGAT ,EGAT มีการปรับเปลี่ยน Organize Structure การเปลี่ยนไม่ง่าย SCG ในส่วน Organize Structure เลือกธุรกิจที่สามารถพัฒนาต่อได้ และตัดธุรกิจบางส่วนออกไป เขามองว่าธุรกิจไปด้านไหน ก็จะ Train คน และ Recruit คนให้เหมาะกับธุรกิจของเขา

• HR อยู่ที่ Life Style ,Working Style และAttitude SCG ทำงานเป็นทีม มีผู้นำตรวจเลือกอย่างชัดเจน ส่วน EGAT ขึ้นอยู่กับผู้นำ Power เท่ากับตัวตนคน ๆ เดียวในการนำองค์กร แต่ SCG ใช้ลักษณะกลุ่มคนในการนำองค์กร

• ดังนั้นถึงเวลาที่ EGAT ต้องปรับเปลี่ยน เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง เป็นองค์กรที่มีส่วนเทียบเท่ากับองค์กรสากล ปัญหาคือ เราจะทำอย่างไร องค์กรต้องเป็นการรวมกลุ่มลักษณะSILO ต้องมีการปรับเปลี่ยน เน้นการพัฒนาบุคลากรให้สอดรับภารกิจ และให้ความสำคัญในการ Recruit และ Develop คน สิ่งที่ต้องสร้าง ต้องวางอนาคตของการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับว่าเป็น HBO ,HIO ผู้นำในภูมิภาค เน้นความเก่ง เอื้ออาทร คล่องตัว ทันสมัย และไว้ใจได้เพื่อนำสู่การเป็นผู้นำองค์กรไฟฟ้าในระดับสากล

• EGAT มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และไว้ใจได้ ถ้ามีผลอะไรที่ไม่ถูกต้องจะมีความเสียหายค่อนข้างสูง

• ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง เราไม่ได้ด้อยกว่า SCG แต่การ Recruitment เราไม่ได้ทำอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับ SCG

• ผลตอบแทน และการพิจารณาต่าง ๆ SCG ทำโดยคณะกรรมการภายใต้ Consensus แต่ กฟผ. ไม่ได้มีคณะกรรมการประเมิน และตัดสินใจภายใต้ Consensus

• SCG มีวิธีการเลือก Talent ที่มีประสิทธิภาพ สังเกตได้ว่ากลุ่มผู้นำ SCG ถูกวางไว้ และได้รับการถ่ายเทความรู้ทั้งหมด และได้เรียนที่ Harvard

• อยากให้กฟผ.มีการวางแผนกลยุทธ์มุ่งสู่ HBO,HIO ภายใน 2 ปี ให้ Line Manager มีบทบาทในการรับและพัฒนาพนักงาน

• ปรับทัศนคติจากเดิมที่ใช้ Human Cost ให้มองว่าทำอย่างไรให้องค์กรไปแข่งขันในระดับสากลได้ เน้นว่าทำอย่างไรให้องค์กรต้องยั่งยืนตลอดไป เป็นลักษณะ Human Capital

• นำหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์มาใช้ใน กฟผ.

• การวางระบบคัดสรร ที่มีประสิทธิภาพสูง ชัดเจน และยอมรับ มีแผนพัฒนาที่เข้มข้น

• มีแผนการพัฒนาและลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง

• เน้นสร้าง Generation Brand เน้นคนเก่ง คนดี และเป็น Coaching ได้

• สร้างตัวตนของ EGAT ขึ้นมา ให้มีอุดมการณ์ ความคิด ความรู้ และมองโอกาสพัฒนาสู่ความยั่งยืน

• EGAT ไม่ได้แพ้ SCG แต่อยู่ที่การวางระบบในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน สรุปคือต้องสร้างอุดมการณ์ และค่านิยมให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง

ความเห็นจาก ช.ฝ่าย HRD

• การพัฒนาคนของกฟผ.ติดกรอบอยู่ว่าต้องม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท