ความโลภเป็นบ่อเกิดแห่งบาป


लोभात्क्रोधः  प्रभवति  लोभात्कामः  प्रजायते  ।
लोभान्मोहश्च  नाशश्च  लोभः  पापस्य  कारणम्   ॥

โลภาตฺกฺโรธะ ปฺรภวติ โลภาตฺกามะ ปฺรชายเต  ฯ
โลภานฺโมหศฺจ นาศศฺจ โลภะ ปาปสฺย การณมฺ   ๚

(แยกสนธิ)
โลภาตฺ  กฺโรธะ ปฺรภวติ โลภาตฺ กามะ ปฺรชายเต  ฯ
โลภาตฺ  โมหะ  จ นาศะ จ โลภะ ปาปสฺย การณมฺ   ๚

 

lobhāt krodhaḥ prabhavati, lobhāt kāmaḥ prajāyate
lobhāt mohaś ca nāśāś ca, lobhaḥ pāpasya kārṇam.

(เขียนด้วยอักษรโรมัน มักแยกคำเท่าที่จะทำได้)

 

คำแปล

ความโกรธ เกิด จากความโลภ 

ความรัก (ความต้องการ)  เกิด  จากความโลภ 

ความหลง  และ  ความพินาศ  ก็ (เกิด) จากความโลภ  [ใช้กริยาจากประโยคข้างบน]

ความโลภ  (คือ) สาเหตแห่งบาป   [เติม "คือ" เข้ามา]

 

Anger arises from desire, love arises from desire.
Destruction and infatuation (arise)  from desire, desire is a cause of sin.

 

สุภาษิตบทนี้มีศัพท์ไม่ยาก ส่วนมากเราพอจะคุ้นเคยกันแล้ว

แต่มีรายละเอียดทางไวยากรณ์ที่ควรทราบ ดังนี้

 

คำนาม

กฺโรธะ    (กฺโรธ, เพศชาย ประธาน) = ความโกรธ

โมหะ      (โมห, เพศชาย ประธาน) = ความหลง

โลภะ    (โลภ, เพศชาย ประธาน) = ความโลภ

โลภาตฺ  (โลภ, เพศชาย แปลว่า จาก...) = ความโลภ

นาศะ (นาศ, เพศชาย ประธาน) = ความพินาศ

การณมฺ (การณ, เพศกลาง ประธาน) = สาเหตุ

ปาปสฺย (ปาป, เพศกลาง แปลว่า ของ...) = บาป

 

กริยา

ปฺรภวติ (มาจาก ปฺร+√ภู)  ปัจจุบันกาล, เอกพจน์ บุรุษที่ 3 = มีขึ้น บังเกิดขึ้น

ปฺรชายเต (มาจาก ปฺร+√ชนฺ) ปัจจุบันกาล, เอกพจน์ บุรุษที่ 3 = เกิด มีขึ้น  

 

จ แปลว่า "และ",  "ก็" "ด้วย" ฯลฯ ขึ้นกับตำแหน่งในประโยค 

 

อธิบายสนธิ

"โลภานฺโมหศฺจ" มาจาก "โลภาตฺ  + โมหะ + จ" มีการกลมกลืนเข้าด้วยกันโดยเสียง (มิใช่เพื่อความหมาย) ดังนี้

1) "ตฺ" เมื่อมี "ม" ตามมา จะเปลี่ยน "ตฺ" เป็น "นฺ"

2) วิสรรคะ (เครื่องหมาย "ะ" )  เมื่อมี "จ" ตามมา ให้เปลี่ยน ะ เป็น ศฺ

จึงได้รูปสำเร็จเป็น โลภานฺโมหศฺจ

นาศศฺจ มาจาก นาศะ + จ  ตามหลักข้างต้น คือ

"ะ" ตามด้วย "จ"  ให้เปลี่ยน "ะ" เป็น "ศฺ"


"โลภาตฺกฺโรธะ" มาจาก โลภาตฺ กฺโรธะ  ไม่ใช่สนธิ แค่เขียนชิดกันกรณีที่คำหน้าลงท้ายด้วยตัวสะกด (ถ้าเขียนติดได้ควรเขียน แต่บางครั้ง ในบทประพันธ์อาจแยกกันก็ได้)

เช่นเดียวกัน "โลภาตฺกามะ" มาจาก โลภาตฺ และ กามะ 

 

ในโศลกบทนี้ไม่มีคำสมาสครับ




หมายเลขบันทึก: 438575เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2011 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

คำนาม ปกติก็ยากแล้วนะคะ เจอมีเพศ เข้ามาเกี่ยวข้องอีก โอ ...

แต่ลองอ่านดูก็ สนุก น่าสนใจ ขอบคุณค่ะ ท่านบ.ก.

สวัสดีค่ะ

ลองอ่านดู ยากเพราะไม่คุ้นเคย แต่สนุกดีนะคะ

ความโลภเป็นบ่อเกิดของบาป

น่าจะจริงนะครับ

สวัสดีครับ คุณIco48 Poo

ค่อยๆ อ่านครับ พอพ้นความยาก ก็เจอความยากกว่า อิๆ

ไว้จะเล่าเรื่องเพศในภาษาให้ฟังนะครับ

 

สวัสดีครับ คุณครูพี่Ico48 คิม นพวรรณ

อ่านยากนิดหนึ่งครับ พอคุ้นแล้วก็อ่านคล่องครับ ;)

 

สวัสดีัครับ อ.Ico48 โสภณ เปียสนิท

เข้าใจว่ามาจากวรรณกรรมเรื่องไหนสักเรื่องหนึ่ง

ผมคัดจากหนังสือเรียน  A Sanskrit Primer 

ในมหาภารตะ ก็พูดถึงความโลภเป็นบ่อเกิดของบาปเหมือนกันครับ

สวัสดีค่ะ

อ่านไปก็งงไป...รู้แต่ว่าตัวอักษรสันสกฤตสวยดีค่ะ แต่ชอบข้อคิดดี ๆ ค่ะ ความโลภนี่เป็นบ่อเกิดของบาปหรือสิ่งที่ไม่ดีจริง ๆ ด้วยนะคะ

เลยสงสัยขึ้นมานิดหน่อยว่า...แล้วความรู้สึกว่าภาษาสันสกฤต "ยาก" นี่เกิดจากความโลภด้วยหรือเปล่าคะ

...น่าจะเกี่ยวกันนะคะ เพราะ รู้สึกว่าภาษาสันสกฤตยาก เพราะโลภอยากเรียนรู้ได้เร็ว ๆ แน่เลยค่ะ ;)

สวัสดีครับ คุณIco48 คนไม่มีราก

งงบ้่างก็ไม่้เป็นไรครับ เพราะบันทึกนี้เน้นเรื่องสุภาษิต ส่วนภาษาถือเป็นของแถมครับ

อักษรเทวนาครี (เรียกสั้นๆ ว่า นาครี) ตัวแรกนั้น คือ ล ลิงครับ ลองหัดเขียนดูก็ได้

 

คำว่า "บาป" แปลว่า ความชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีก็ได้

ความอยากได้ ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี ถ้าน้อยไป ก็เฉื่อยชา ต้องเดินสายกลางครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท