การบริการทีอยู่บนมาตรฐานและความปลอดภัย


SHA

 ความปลอดภัยต่อชีวิตเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในวงการแพทย์ สาธารณสุข ในการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่บนมาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำงานกับชีวิตมนุษย์ SHA มีS สอง S ใน ห้า S ได้แก่ Standard และ safety ที่นำมาผสมผสานคละเคล้ากันทำให้การดูแลคนไข้ได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและได้รับการเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกว่ารักษาทั้งคน และทั้งไข้ ไปพร้อมๆกัน

หากจะถอดบทเรียนของ SHA ในบันทึกต่างๆ บน gotoknow แห่งนี้ จะเห็นว่าการบอกเล่าถึงการดูแลที่เป็นมาตรฐานและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักนั้น หลายบันทึกด้วยกันที่แอบแฝงอยู่ในเรื่องเล่าของการทำงาน เรื่องเล่าที่ภาคภูมิใจของรพ. ที่มีหลากหลายวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล พนักงานขับรถ พนักงานเอกสาร เวรเปล ซึ่งจะแสดงลิงค์ให้สามารถไปอ่านเรื่องเล่าโดยละเอียดกันได้ต่อไปค่ะ

ถ้าจะเจาะลึกสืบค้นกันต่อไปว่าทำไม รพ.ถึงมาเขียนเรื่องเล่ากันมากมายในที่แห่งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สรพ.ได้ส่งเสริมให้รพ.ในโครงการได้ใช้พื้นที่แห่งการเรียนรู้ในโลกเสมือนแห่งนี้ เป็นที่บอกเล่าเรื่องราวอันเป็นความดี ความงามในการทำงาน ในการดูแลผู้ป่วย ผู้รับบริการ ตลอดจนชุมชน ให้กับบุคคลภายนอกได้รับรู้ รับทราบถึงความตั้งใจและหัวใจของเราที่กว้างใหญ่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เสียสละ และเอื้ออาทร และถึงแม้บางคราวข่าวลบๆ ที่เกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์นั้นสามารถกระจายออกไป ได้ไกลและรวดเร็วกว่าเรื่องราวดีๆ ที่ความจริงพวกเราได้ทำทุกวัน ทำจนเป็นกิจวัตร จนทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชีวิตของผู้คน คนแล้ว คนเล่า ได้ผ่านเข้า ออก รพ. มากมายจนนับไม่ถ้วนก็ตาม แต่เราก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะบอกเล่าให้ความดีงาม นั้นขยายออกไปให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

ประเด็นที่เห็นจากเรื่องของมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการดูแล เราพบเห็นการทำงานของทีม สหสาขาวิชาชีพ ที่เข้ามาดูแลคนๆ หนึ่งด้วยใจสู้ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ ทำให้เกิดปาฏิหารย์ แม้กระทั่งผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยังมีชีวิตอยู่รอดต่อไปหลายปี ดูแลราวกับว่าเป็นองค์ชาย ดังเรื่องเล่า “องค์ชาย” จากรพ.เจ้าพระยายมราช ดังนี้

“องค์ชาย” เด็กชายอายุ 1 เดือน ที่เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติหลายด้าน เช่น นิ้วเกิน ศีรษะเล็ก ตัวอ่อนปวกเปียก รวมทั้งความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจเป็นโรคปอดเรื้อรัง ทำให้ต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ จนแทบจะไม่ได้กลับบ้าน ครั้งแรกๆ ที่มานอน “องค์ชาย”จะมีอาการหอบเหนื่อยมาก บางครั้งหอบมากจนเขียว ดูดนมไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหาร พ่นยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน

ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล โภชนากรและนักกายภาพบำบัด ต้องช่วยกันดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อประคับประคองให้ “องค์ชาย” ได้กลับบ้าน และให้แม่ของ “องค์ชาย” สามารถกลับไปดูแล “องค์ชาย” ต่อเนื่องที่บ้านได้ เพราะการที่ “องค์ชาย” จะไปกลับโรงพยาบาลบ่อยๆ หรืออยู่โรงพยาบาลตลอดก็กระทบถึงครอบครัว “องค์ชาย” เป็นอย่างมาก เนื่องจาก “องค์ชาย” อยู่กับแม่ที่มีอายุเพียง 16 ปี และตาที่มีขาพิการต้องใช้ไม้ค้ำยันเวลาเดิน มีอาชีพขายล๊อตเตอร์รี่เลี้ยงครอบครัว ถ้า “องค์ชาย” มีอาการหอบเหนื่อยจะต้องมารักษาที่โรงพยาบาล ก็ต้องรอให้ตากลับจากขายล็อตเตอร์รี่ก่อนจึงจะพามาได้

ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นมันอาจสายเกินไป จากภาวะโรคและสภาพครอบครัวทำให้พวกเราทีมรักษาพยายามให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ “องค์ชาย” ได้กลับบ้าน โดยต้องกลับไปพ่นยา ดูดเสมหะ ให้อาหารทางสายยางและต้องมีอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่บ้าน ลำพังครอบครัวของ “องค์ชาย” แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ในการซื้อหาอุปกรณ์เหล่านี้ไปไว้ใช้ที่บ้าน แต่ในความโชคร้ายยังมีโชคดี เราได้ติดต่อกับญาติผู้ป่วยคนอื่นๆ และสโมสรโรตารี่จนได้รับบริจาคเครื่องพ่นยา เครื่องดูดเสมหะและอุปกรณ์ให้ออกซิเจนมา

พวกเราช่วยกันสอนแม่ “องค์ชาย” ให้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นหลายครั้งจนมั่นใจ เราได้ประสานงานกับสถานีอนามัยใกล้บ้านขอความร่วมมือในการติดตามไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านและตอบกลับให้เราทราบปัญหา ทำให้เราช่วยแก้ปัญหาในการดูแล“องค์ชาย”ได้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ปัจจุบัน “องค์ชาย” อายุ 2 ปี ไม่ต้องใส่สายให้อาหาร ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร พูดได้บางคำ นั่งถัดไปข้างหน้าได้

ซึ่งวันนี้กับอดีตถ้านึกย้อนไปจะรู้สึกคุ้มค่ากับการทุ่มเทของเรา เมื่อ 2 ปีที่แล้ว “องค์ชาย” ขอแค่มีชีวิตรอดได้เท่านั้นก็นับว่าดี แต่ในวันนี้เราสามารถทำให้สามชีวิตได้กลับไปอยู่ในสังคมได้ ทุกอย่างที่ได้ทำไป พวกเราเหนื่อย กังวล และตั้งใจอย่างที่สุด เราให้สมยาเขาว่า “องค์ชาย” เพราะพวกเรารวมทั้งแม่ “องค์ชาย” ดูแลเขาเปรียบประดุจ “องค์ชาย”

เราเห็นการสรุปบทเรียน จากการทำงานของรพ.ได้อย่างชัดเจน น่าจะเป็นขุมทรัพย์ในการดูแลผู้ป่วยของทีมสุขภาพได้เป็นอย่างดี เช่น

• ยามใดที่มีคนเจ็บป่วยที่บ้านหนึ่งคน นั่นหมายถึงว่าทุกๆ คนในครอบครัวพลอยได้รับผลกระทบ ถ้าสามารถช่วยคนเจ็บป่วยคนนั้นได้ หมายถึงได้ช่วยครอบครัวของเขาทั้งครอบครัว

• การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม การวางแผนจำหน่ายร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพและครอบครัวผู้ป่วยโดยคำนึงถึงข้อจำกัดบางประการที่อาจทำให้ครอบครัวผู้ป่วยปฏิบัติไม่ได้ การแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมอื่นๆ มาช่วย ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาผู้ป่วยได้ตรงจุดและประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี

• ถ้าคุณรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้ความพยายามใช้เวลาที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะดีขึ้น ความตั้งใจและความพยายามแก่งานอย่างดีที่สุดจะนำมาซึ่งความสำเร็จที่ทำให้คุณได้ชื่นใจเหมือนเช่น กรณี “องค์ชาย”

ภายใต้มาตรฐานการดูแลนั้น นอกจากปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เราได้เห็นบทบาทของ พยาบาลในการทำหน้าที่ประดุจดังแม่บังเกิดเกล้า ในการเฝ้าฟูมฟักตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโต จากคนที่สิ้นหวังกลับกลายเป็นเด็กแข็งแรง และมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้ต่อไปด้วย”ความรักมีเกินร้อยความสงสารและเมตตามีเต็มเปี่ยม” ดังเรื่องเล่าต่อไปนี้

 

จากคนที่เคยยิ้มได้ก็ยิ้มไม่ได้ เคยขยับแขนเองได้ก็ขยับไม่ได้ ร่างกายผ่ายผอม เป็นเพราะพยาธิสภาพของโรค แต่ป้าๆ พยาบาลจะทราบว่าเธอยิ้มก็เมื่อเห็นเธอกระตุกมุมปากให้เห็นและร้องไห้เมื่อมีน้ำตาคลอ และถ้าเธอหลับเธอจะหลับแบบตากระต่ายสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งหรือภาษากายที่น้องมาร์ช สามารถสื่อให้ป้าๆ พยาบาลรู้ว่า “หนูเป็นอะไร” และ เมื่อไหร่ “ใครช่วยหนูที”

ทุกวันพ้นผ่านวันแล้ววันเล่าแต่เตียง 5 ที่ “น้องมาร์ช” นอนอยู่จะมีผู้แอบแวะเวียนไปหาเสมอ แม้แต่ผู้ดูงานจะถามตลอดเวลาว่า...เธอเป็นอะไร ทำไมรูปร่างเป็นอย่างนี้ โอ้โห ! พยาบาลดูแลเก่งจังนะ 4 ปีแล้วนี่ ทำอย่างไรหรือ... ขอบอก พวกเราทำได้และจะทำกับทุกๆ คน เพราะเชื่อว่าพยาบาลเด็กทุกคนมีพื้นฐานอารมณ์และจิตใจแตกต่างจากพยาบาลด้านอื่นๆ ด้านความรักมีเกินร้อยความสงสารและเมตตามีเต็มเปี่ยม ข้าวของเครื่องใช้ไม่มี หลังจากเราเคยติดตามมาแล้วหลายครั้งเมื่อแม่“น้องมาร์ช” ไม่มา แม่ๆ พยาบาลก็ซื้อหากันมามิได้ขาด แป้งเอ่ย สบู่เอ่ย แพมเพิร์สก็มี เมื่อหมดก็จะมีมาเติมเสมอ วันเกิด“น้องมาร์ช” ก็จะร้องเพลงวันเกิดให้ฟัง ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่า“น้องมาร์ช” จะเข้าใจหรือเปล่า

และนอกจากนี้ ตลอดเวลาที่ “น้องมาร์ช” นอนพักรักษาตัวอยู่ที่ PICU เราได้ให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ เราสามารถคุยได้ว่าประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง และการป้องกันการเกิด VAP(ปอดบวมจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ) เราจะไม่เป็นรองใคร เพราะ“น้องมาร์ช” เคยเกิด VAP เพียงครั้งเดียวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และไม่เคยเกิด VAP อีกเลยและในอนาคตเราก็จะพยายามไม่ให้เกิด VAP กับ“น้องมาร์ช” และผู้ป่วยรายอื่นๆ อีก

นอกจากนั้น เห็นการเข้าถึงข้อจำกัดวิถีชีวิตผู้ป่วยจากบทเรียนในการทำงาน ทีมงานได้เรียนรู้และนำบทเรียนที่ได้จากความผิดพลาด ความเสียใจ รื้นน้ำตา และวาจาจากการตัดสิน มาปรับปรุงวิธีคิดในการบริการผู้ป่วย โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์และการบริการที่ยืดหยุ่น เอื้ออาทรต่อความทุกข์ยาก ลำบากของผู้คนมากขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น เรื่องเล่าจากรพ.พะโต๊ะ ทีมงาน OPD ได้เรียนรู้ว่าผู้ป่วยที่ขาดนัดไม่ได้ตั้งใจ...แต่ด้วยสถานการณ์และข้อจำกัดของเขา...เราจะทำอะไรได้บ้าง??

"ลุงก็ไม่อยากขาดนัดหรอกหมอ แต่บ้านลุงอยู่ไกลมาก แล้วอีกอย่างช่วงวันที่หมอนัดฝนตกหนักเหลือเกิน น้ำในคลองก็เอ่อท่วมถนนหลายสาย วันนี้ฝนแล้งลุงจึงมาโรงพยาบาลได้ แต่หมอรู้ไหม ลุงต้องเดินออกจากบ้านมา 10 กิโลเมตร ลอยคอและว่ายน้ำข้ามคลองที่น้ำไหลเชี่ยว มาเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้านญาติแล้วเดินต่ออีก เพื่อจะมาอาศัยรถชาวบ้านที่จะมาตลาดนัด ขอติดรถเค้ามา ลุงพยายามแล้วได้เท่านี้แหละ"


นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่บอกได้ว่า การบริการของรพ.หลายแห่ง อยู่ภายใต้ มาตรฐานและความปลอดภัย จากลิงค์ ด้านล่างค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามค่ะ มีความสุขจากการได้กลับไปทบทวนเรื่องราวต่างๆ ประทับใจมากมายค่ะ ขอบคุณ Gotoknow อีกครั้งค่ะ

 

http://gotoknow.org/blog/dansaihospital/434503

http://gotoknow.org/blog/dansaihospital/332078

http://gotoknow.org/blog/dansaihospital/265145   ไผ่

http://gotoknow.org/blog/dansaihospital/265145 มนุษย์ล้อหัวใจเหล็ก

http://gotoknow.org/blog/leena-lee/280790 วันนี้ที่รอคอย

http://gotoknow.org/blog/sha-yomraj/346147  สายใยแห่งสายใจ

http://gotoknow.org/blog/sha-yomraj/347381 ตึกเปี่ยมสุข

http://gotoknow.org/blog/sha-yomraj/348005 เยื่อใยแห่งความผูกพัน

http://gotoknow.org/blog/sha-yomraj/348570 องค์ชาย ผู้จุดประกายการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

http://gotoknow.org/blog/sha-yomraj/348585 น้องมาร์ช กับชีวิตที่เหลืออยู่

http://gotoknow.org/blog/sha-patoa/372946 ภูมิปัญญาชาวบ้าน

http://gotoknow.org/blog/sha-patoa/278303 แกะกล่องแห่งความสุข  รถส่งต่อ 

คำสำคัญ (Tags): #sha#ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 434643เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2011 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

จอง สอง แล้วนะ พี่หนาน.. หึหึ หุหุ 

พี่ๆ พอลล่า หายไปไหน กัลลลล หมดดดดดดด 

พรุ่งนี้จะมาอ่านนะคะ วันนี้ไม่ไหวแล้ว

http://gotoknow.org/blog/789000/434657

ช่วยดูให้ด้วยค่ะหัวหน้าทีมว่าประมาณนี้มั๊ยคะ

แบบว่าคนไม่เคยน่ะ

เลยทำงานนี้ด้วยความยากลำบากค่ะ

พี่ไก่ยังซุ่มตัวอยู่เลยค่ะ

พี่นางคะ พอลล่าไปอ่านบัทึกพี่มาแล้วค่ะ เขียนดีมากๆ เลยค่ะ 

ขอบคุณมากนะคะ สมาชิก SHA สู้ๆๆ 

พี่นางเขียนแล้ว ดีมาก ๆ เหลือพี่กำลังเขียน น้องพอลล่าเขียนนำร่องไปก่อน แล้ว

พี่ไก่คะ  ไม่ต้องเครียดค่า..ยังรอคะพี่ รอๆๆ รอพี่ำก่ กัญญา พี่ชูศรีด้วยค่า อิิอิ 

เขียนได้มากกว่า 1 บันทึกค่ะ 

มาชวน น้องพรทั้งหล้า ไปชมความงามในความหลากหลาย ของคนแถวหน้า งาน HA ที่บ้านลุง วอ.

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายหลังจากห่างหายกันไปนานมาก ๆๆๆๆๆๆ อาจารย์พอลล่าสบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                               

สวัสดีค่ะ พี่พอลล่า

หนูมารบกวนสอบถามเกี่ยวกับประเด็นที่ยังขาดอยู่น่ะค่ะ รบกวนพี่พอลล่าลองดูว่าจะตัดออกหรือจะเพิ่มเติม หรือว่าหนูตกหล่นลิงก์ไปอย่างไรบ้าง รบกวนแจ้งให้ทราบนิดนึงนะค่ะ ขอบคุณค่ะ ^_^

สรุป 6 ประเด็นหลัก

1. แรกเริ่มประเดิม SHA (พอลล่า)

2. หาคนมุ่งมั่น ร่วมฝันจุดประกาย (พอลล่า)

3. สหายร่วมสร้างสรร กัลยาณมิตรเพิ่มพูนทวี(ป้าแดง)

4. ความดี ความงาม ความศรัทธา สร้างค่าของคน(พี่นางและ ป้าแดง เพราะว่ามีเยอะค่ะ)

5. การบริการทีอยู่บนมาตรฐาน ความปลอดภัย(พี่พอลล่า และพี่ไก่ ประกาย)

6. บริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลถึงชุมชน(พี่ไก่ กัญญา พี่น้ำชาค่ะ)

น้องมะปรางที่รัก บันทึกที่สอง พี่รวมกับบันทึกแรก แต่..

พี่เขียนใหม่อีกบันทึกนึงนะะคะ

ขอบคุณค่ะ

พี่นกคะ พอลล่าสบายดีค่ะ 

พะโต๊ะน้ำท่วมไหมคะ 

คิดถึงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท