ภาษิตล้านา(คำบ่าเก่า) ช้างบ่ต๋าย บ่ดีถอดงา ปล๋าบ่ต๋าย บ่ดีถอดเงี่ยง


ไม่ควรมอบอำนาจให้ผู้อื่นก่อนถึงกำหนด

ช้างบ่ต๋าย บ่ดีถอดงา ปล๋าบ่ต๋าย บ่ดีถอดเงี่ยง

คำศัพท์  ช้างบ่ต๋าย บ่ดีถอดงา  แปลว่า ช้างไม่ตายไม่ควรตัดงาออกเพราะงาเป็นอาวุธของช้างที่เจ้าของใช้เป็นอาวุธปกป้องตัวเองและโขลง

ปลาไม่ตาย ไม่ควรถอดเงี่ยง(ปลามีเงี่ยง คือ ปลาดุก,ปลากลด,ปลาสวาย)แปลว่าปลามีเงี่ยงเป็นอาวุธประจำตัวเพื่อใช้ปกป้องภัยอันตรายรอบกาย แต่ถ้าเราขืนดื้อไปถอดเงี่ยงปลาเป็นๆเข้า ก็จะเกิดอันตรายเพราะปลาพยายามต่อสู้หนีเอาตัวรอด

ความหมาย  ไม่ควรมอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง หรือบุตรหลานก่อนเวลาสมควร  ตัวอย่างเช่น พ่อ แม่ มอบที่นาให้บุตรหลานทั้ง ๆ ที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่ได้รับมอบอาจจะนำไปขายหรือจำนอง และอาจจะเป็นเรื่องยุ่งภายหลังได้

หมายเลขบันทึก: 434636เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2011 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากครับที่ให้ความรู้ ครับ

สวัสดีค่ะ คุณสนั่น...

แวะเข้ามาอ่านค่าวฮ่ำ ได้ข้อคิดนะคะ...

 

สวัสดีครับคุณเนิ่ม

ขอบคุณมากครับ ที่แวะเยี่ยมให้กำลังใจครับ โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ

 

สวัสดีครับ คุณนีนาท

  • ขอบคุณครับ ที่ชม
  • ค่าวลักษณะอย่างที่เห็นนี้เรียกว่า"ค่าวก้อม"
  • ค่าวก้อมแบ่ง ๑ บท จะมีสี่วรรค เขียนได้ใจความสั้นๆ ใน ๑ บท
  • ในบทนี้เป็นภาษิตล้านนา ที่คนรุ่นเก่า นำมาเขียนเป็นคำสอนเตือนใจลูกหลาน
  • ภาษิตล้านนา เราเรียกกันว่า "คำบ่าเก่า"ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท