๗๒๓.กลุ่มคนปลูกผักกินได้ : ปลูกผักแล้วได้อะไร (๘)


ผักพื้นบ้านกับวิถีชีวิตจากคุณพล็อกพร้าว

 

         พล็อกพร้าว สมาชิกที่เราไม่คุ้นเคยนัก  เพราะนึกหน้าตาไม่ออกนั่นเอง  จากการติดตามอ่านบันทึกแล้ว  เข้าใจว่าผู้เชี่ยวชาญก้านการเกษตรอีกท่านหนึ่ง  เขียนเกี่ยวกับบทร้องไว้ว่า

 

          ถั่วๆๆ  แตงๆๆ ดินแตกระแหงเพราะมีแต่แตงถั่ว   ดูสิคนไม่เข้าใจ ดูสิคนไม่เข้าใจ ว่าผักเหนาะคืออะไร ทำไม มีแต่แตงถั่ว

 

             ถั่วๆๆ  แตงๆๆ คนหน้าแดงๆ มายืนอยู่แปลงผัก  ผมถามมาตั้งแต่ไกล ว่าคุณทำอะไร ทำไมมายืนอยู่แปลงผัก

 

             เขาตอบมาไวไว ว่าอย่าเพิ่งเข้ามา เพราะฉันจะฉีดยา  แล้วคุณทำเพื่ออะไร แล้วคุณทำเพื่ออะไร

 

              เขาบอก มาอย่างอาลัย ฉันไม่ได้ตั้งใจ ก็คนซื้อ มันชอบผัก ที่งามๆ  ฉันเองไม่อยากจะทำ ตัวฉันมันชอกช้ำ เพราะลงทุนมามากมาย

 

             ถั่วๆๆ แตงๆๆ ดินแตกระแหง เพราะมีแต่ แตงถั่ว   ยอดจิก ยอดขลี  ยอดแซะ ยาร่าง ยอดแมะ มันมีตั้งมากมาย

 

            ชุมเห็ด ชุมเลียง ผักเหมียง ลูกเนียง ลูกเหรียง เมื่อก่อน เคยขึ้นอยู่เรียงราย   ผักกาดนกเขาผักเสี้ยนผักริ้น บัวบกกะสังยายกลั้ง ดอกโดนศรคีรี นี่สิที่เป็นยา

 

           เพกา ยอดเดา ยอดม่วง ยอดยุม ยอดจวง ยอดราม ก็กินได้   สะตอลูกฉิ่งมันปู  หน่อปุดหัวทือ มะกอกมะไฟ ทำไมไม่ปลูกกัน

 

          ชะอม ขนุน ละมุด ยอดหมุย ยามม่อม ยอดเลียบ หัวปลี อร่อยดี   มะเขือตูน มะเขือเคย มะเขือม่วง มะเขืออ้อร้อ ยังรอให้เก็บกิน

 

           ถั่วพลูถั่วแป็บ ถั่วก้างถั่วดำถั่วแดง  แตงส้มใข่เข้แตงร้าน ผักพื้นบ้านเรา   ถั่วๆๆ แตงๆๆ ดินแตกระแหง เพราะมีแต่แตงถั่ว

 

         ดูสิคนไม่เข้าใจ ดูสิคนไม่เข้าใจ ว่าผักเหนาะคืออะไร ทำไม มีแต่แตงถั่ว

(พูด) ถั่วๆ แตงๆ โอ๊ยแย่ ไม่มีทางเลือกเลย ผักบ้านเรา หายไปไหนหมด  มีตั้งคะลักคะลุยเหม็ด

 

          ผักเหนาะ หมายถึง ผักสดที่ใช้เป็นผักเคียง ปัจจุบัน ในครัวเรือน ร้านค้า ร้านข้าวแกง และตามงานพิธีการต่างๆ

 

           ผักเหนาะ ที่เป็นผักพื้นบ้าน  ที่ไม่ต้องใช้สารเคมี เป็นอาหารเป็นยา แต่คนไม่นิยมกิน ชอบกินแต่ถั่วแตง ค่านิยมใหม่ครับลืมไปแล้ว ว่าบรรพบุรุษ ได้สั่งสมภูมิปัญญาในการกินผักพื้นบ้าน ให้เป็นมรดก สืบทอดต่อกันมา คนไทยมีทั้งทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสติปัญญา แต่ละเลย เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

 

          รวมรายการผักพื้นบ้านสำหรับผักเหนาะไว้ครบครัน  น่าจะนำสื่อนี้ไปเผยแพร่ให้แก่คนรุ่นเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ ฝึกอ่าน ท่องจำ ให้ผ่านหูผ่านตาเพื่อกระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น  เพราะเด็กและเยาวชนยังเป็นความหวังอันงดงามของสังคมและประเทศชาติ

 

            สมัยก่อนมีผักให้เก็บกินตลอดทุกฤดู บนควน ริมป่าชายทุ่ง ริมคลอง ท้องนา หาปลาได้เก็บผักแกงผักเหนาะ ได้พริก มะขามสดที่จอมปลวก ผักริ้น ผักบุ้ง บัวบก ที่หัวนา

 

          บนควนมีหน่อไม้ ยอดจิก ยอดจวง ยอดแซะ ยอดขลี     ยามน้ำแล้งเดินเลี้ยวเคี้ยวไปตามสายคลอง พาเจ้ย พานาง ไปหา กุ้งหอยปูปลา และเก็บหาผักสด หรือเรียกว่าผักพื้นบ้าน   

 

          ผักพื้นบ้านจะมีชื่อเรียกไปตามความสอดคล้องของภาษา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของผู้คน  ผักที่กล่าวมาฉันไม่รู้จักอีกตั้งมากมาย 

 

        วิถีชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  เพราะมีความเจริญสมัยใหม่เข้ามาผู้คนจึงหันไปสนใจกับความสะดวกสบาย  จึงทำให้หลงลืมความเป็นอยู่สมัยก่อนรุ่นปู่ยาตาทวด

 

                การคัดเมล็ดพันธุ์ตามวิธีการง่ายๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งจะแบ่งเมล็ดพันธุ์ผักออกเป็น ๔ กลุ่มคือ

 

๑.  เก็บเมล็ดพันธุ์จากผลแห้ง  ต้องนำผลไปตากแดด ๒ หรือ ๓ วันก่อนจะเก็บเมล็ดพันธุ์ซึ่งได้แก่ พืช ตระกูลบวบ

 

๒. เก็บเมล็ดเมื่อเริ่มสุกแก่ พืชกลุ่มนี้คือ ถั่ว ข้าวโพด ด้วยการนำมามัดรวมกัน แขวนผึ่งให้ลมพัดผ่าน (ห้ามตากแห้ง)

 

๓.เก็บเมล็ดเมื่อผลสุกแก่ ได้แก่ พริก มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงโม ฟักเขียว ต้องเก็บมาบ่ม และผ่าเมล็ดออก   นำเมล็ดไปล้างให้สะอาดผึ่งแดดให้แห้ง

 

๔.พืชห่อหุ้มเมล็ด เช่น มะเขือเทศ มะละกอ แตงกวา แตงร้าน นำมาขูดเมล็ดแล้วหมัก ไว้ ๑ หรือ ๒ คืน จะทำให้เมล็ดล้างออกง่ายขึ้นจากนั้นจึงนำไปล้างน้ำและตากแห้ง

 

           นำมาบรรจุลงถุงกระดาษแล้วบีบอากาศออกหรือขวดแก้วและปิดให้แน่น พร้อมทั้งเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสายพันธุ์ไว้ เมล็ดพันธุ์สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ ๒ ปี    

         

              นับเป็นกรรมวิธีการคัดเลือดเมล็ดพันธุ์ตามภูมิปัญญา  ทำให้นึกถึงคำสอนของปราชญ์ผู้ตกผลึกคือพ่อครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์  ว่า “หากทานผลไม้ชนิดไหนอร่อยก็เก็บเมล็ดใส่กระเป๋าไว้  เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธุ์ จึงเก็บเมล็ดมะละกอที่หวาน กรอบ หอม อร่อย  มาจากบ้านพ่อครูบาฯ อีกด้วย ”  แต่ไม่ได้ล้างหรือตากแห้งตามคำแนะนำข้างบน  

 

            นอกจากนั้นเป็นบันทึกเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ  และการทำนา  ผู้สนใจสามารถติดตามเข้าไปแลกเปลี่ยนในหน้าบันทึกของคุณ   พล็อกพร้าว ได้ 

          อ่านบันทึกของคุณ   พล็อกพร้าว  จบก็อยากจะต่อท้ายด้วยข้อคิดจากหนังสือธรรมะของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์  เหมือนบันทึกอื่น ๆ   แต่ดันไปนึกถึง “ศิริพงษ์ จันทน์หอม” จากหนังสือเรื่อง “เพื่อนชีวิต” ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มบันทึกแรก   และท่องเอาไว้ว่า “ลิงไม่เคยต้องการแหวนมากไปกว่ากล้วย และ ไก่ก็ไม่เคยต้องการพลอยไปมากกว่าข้าวเปลือก” หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงชีวิตและธรรมชาติที่มนุษย์เราต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย  แม้จะต่อสู้ ดิ้นรนสักเท่าไร  แต่ชีวิตทุกชีวิตต้องการเพื่อดำรงชีวิตเพียงอย่างเดียว

 

หมายเลขบันทึก: 434244เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณสาระประโยชน์ดีๆค่ะพี่คิม

ดอกไม้ที่แม่ลูกฝึกเพาะเมล็ดรอดอยู่ ๒-๓ต้น ไม่รู้ว่าจะมีดอกออกมาให้คนฝึกปลูกชื่นชมมั้ย

ลูกออมก็ชัก..เนือยๆไป หันไปสนใจหนูแฮมสเตอร์กับค้นดูพันธุ์สุนัขค่ะ

แต่ก็ยังพูดถึง..การปลูกผักสวนครัวอยู่ เอาไว้แม่หายเหนื่อย จะรีบค้นคว้า ทดลองปลูกกันค่ะพี่

มือใหม่หัดปลูกค่ะ..อิอิ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆที่ให้บทเรียนน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง..พี่ใหญ่ไม่มีประสบการณ์เรื่องการเลือกเมล็ดพันธ์ และเตรียมเมล็ดพันธ์ก่อนปลูก..ส่วนใหญ่ได้รับแจกมา นำลงดินเลย..งอกบ้างไม่งอกบ้าง..งอกบ้างมีแต่ใบไม่มีดอกบ้าง..มีดอกแต่ไม่ติดผลบ้าง..มือใหม่หัดปลูกค่ะ..ต้องเรียนรู้อีกมาก..

พี่คิมคะ

  • เพิ่งเข้าใจเรื่องการสกัดความรู้
  • ตอนแรกไม่เข้าใจจริง ๆ ค่ะ  อ่านบันทึกน้องมะปรางและดูตัวอย่างบันทึกไข้หวัดแล้ว
  • ตาลคิดไปว่า ต้องสรุปจากทุก ๆ บันทึกลงในบันทึกเดียว จึงคิดว่ามันเป็นเรื่องยาก
  • เลยคิดว่าตัวเองคงทำไม่ได้ จึงปฏิเสธทั้งการชวนของพี่คิมและน้องอุ้มบุญ
  • แต่พออ่านบันทึกของพี่คิมแล้ว เข้าใจ จริง ๆ แล้วก็ไม่ยากเลย
  • ตอนนี้ทำหน้าที่ติดตามอ่านของทุกกลุ่ม เพื่อเพิ่มต้นทุนความรู้ของตัวเองให้มากขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดาว่าต้องเชิญคุณพล็อกพร้าว มาร้องให้ฟังจริงๆนะคะ คงจะม่วนแน่ๆค่ะ อัดเสียงแล้วเป็นเพลงประจำกลุ่มคนปลูกผักกินได้ของ gotoknow เห็นด้วยไหมค่ะ

พี่คิมครับ

ถ้าแรงและกำลังเหลือเฟือ โปรดแบ่งปันมาทางนี้บ้างนะครับ
"ผู้ชายคนนี้กำลังจะหมดแรง" ฮิ ฮิ... 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์กุลมาตา

อาจารย์สบายดีนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์และน้องออมค่ะ 

สวัสดีค่ะนาง นงนาท สนธิสุวรรณ

เช่นเดียวกันค่ะพี่ใหญ่ ทำตามหน้าซอง  บางทีก็ไม่เกิดผลเลยค่ะ

สนุกดีค่ะ  ต่อไปต้องโล๊ะและเริ่มเรียนรู้ใหม่แล้วนะคะ

สวัสดีค่ะอิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล

พี่คิมขอบอกตรง ๆอีกครั้งค่ะว่า  ไม่กล้าขัดคำชวนของน้องอุ้มบุญรอบที่สอง

และที่ทำไปก็ไม่มีความรู้จริง ๆ

ใครอ่านแล้วเวียนหัวก็หากระโถนมาวางใกล้ ๆละกัน

สวัสดีค่ะกานดา น้ำมันมะพร้าว

มาพอเวลาเลยค่ะ  พี่คิมงดอาหารหนักมื้อเย็นค่ะ  ทานน้ำผลไม้และผลไม้ประเภทกล้วยแทนค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

ตอนนี้ก็คงปลื้มแล้วนะคะ  หนังสืออกได้เองแล้ว  น่าอิจฉา  ของพี่คิมไม่รู้ว่าถึงไหนกัน  รอลุ้นอยู่ค่ะ
  • ขอตามมาอ่านต่อนะคะ ขอนำเทคนิคดีดี กลับไปใช้ต่อ
  • 

สวัสดีค่ะ✿อุ้มบุญ✿

ขอขอบคุณค่ะ

หายหน้าไปพักหนึ่ง กลับมาแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท