กาแฟ+อาหารไขมันเพิ่มน้ำตาลในเลือด[EN]


สำนักข่าว Dailymail.co.uk / Mailonline ตีพิมพ์เรื่อง 'Coffee after high-fat meal 'can raise blood sugar to harmful levels' = "กาแฟหลังอาหารไขมันสูงเพิ่ม (ระดับ) น้ำตาลในเลือดถึงระดับอันตราย (ได้), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกว้วฟ์ (Guelph) แคนาดา (ตีพิมพ์ใน J Nutrition) พบว่า การดื่มกาแฟหลังอาหารไขมันสูงเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้มากจนถึง 2 เท่า

 

การทดลองที่ 1 ทำโดยให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีกินอาหารไขมันสูง หลังจากนั้นให้กินน้ำตาลพบว่า ไขมันในเลือดที่สูงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มได้ถึง 1/3 (32%)

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ระดับไขมันในเลือดที่สูงทำให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อได้น้อยลง
.
การทดลองที่ 2 ให้กินอาหารไขมันสูง, หลังจากนั้น 5 ชั่วโมงให้กินกาแฟ 2 แก้ว, น้ำหวาน (หลังกาแฟ 1 ชั่วโมง) พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่ม 65% (เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้กินอาหารไขมันสูงและกาแฟ)
.
อ.มารี-โซเลย โบดวง แนะนำว่า วิธีที่ดี คือ ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารไขมันสูงพร้อมกาแฟในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
.
การศึกษานี้พบว่า การกินกาแฟหลังอาหารไขมันสูง 5 ชั่วโมง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ เนื่องจากอาหารไขมันสูงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังกินได้หลายชั่วโมง
.
ทางเลือกที่น่าจะดีแต่แพงได้แก่ เปลี่ยนกาแฟเป็นชนิดสกัดกาเฟอีนออก, ลดปริมาณกาแฟลง
  • กาแฟสำเร็จรูป 80 มก./แก้ว (กาแฟสดมีมากกว่านี้ - ทางที่ดี คือ ถ้าจะกินกาแฟ ให้หลีกเลี่ยงกาแฟซื้อ - ชงเองปลอดภัยกว่า)
  • น้ำอัดลม-โคล่า 45 มก./กระป๋อง
  • ชาดำ 40 มก./ถ้วย
ทางเลือกอื่นๆ คือ การหาทางลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้แก่
.
(1). ลดอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม (พบมากในอาหารทอด), เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น หมู แพะ วัว ฯลฯ)
.
(2). เปลี่ยนนม-ผลิตภัณฑ์นมเป็นชนิดไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน
.
(3). ลดน้ำหนัก - ถ้าน้ำหนักเกิน
.
(4). ถ้าเป็นเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน, ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ไม่สูงเกิน เนื่องจากภาวะน้ำตาลสูงเพิ่มระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
.
(5). ถ้ามีโรคเครียด-ซึมเศร้า, ควรรักษาให้ต่อเนื่อง นอนให้พอ ออกแรง-ออกกำลัง เนื่องจากภาวะนี้เพิ่มระดับไขมันในเลือดได้
.
(6). กินอาหารพอประมาณ 2-3 มื้อ/วัน > ภาวะอดอาหารนานเกิน 14 ชั่วโมงอาจเพิ่มระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ (พระภิกษุที่ฉันน้ำปานะตามพระวินัยไม่นับเป็นภาวะอดอาหาร)
.
(7). เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง, เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ), ลดน้ำตาล, และไม่กินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง-น้ำตาล" มากเกิน
.
(8). ไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์) หนัก
.
(9). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป โดยเฉพาะในห้องแอร์ที่แออัด เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ
.
ถ้าท่านชื่นชอบกาแฟและไขมันสูง, การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารกับกาแฟ อาจช่วยให้ได้ข้อมูลดีขึ้น เนื่องจากร่างกายคนเราตอบสนองต่ออาหารและกาแฟไม่เหมือนกันทุกคน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 > [ Twitter ]                             

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 4 เมษายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 434240เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท