ทำงานหนักไป-หัวใจเหนื่อยนะ [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Working long hours? Watch out for your heart' = "ทำงานนานไป (หลายชั่วโมง)? ดูแลหัวใจคุณหน่อย, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
.
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Annals of Int. Med.) ทำในกลุ่มตัวอย่างคนทำงานชาวอังกฤษ (UK) ที่ทำงานเต็มเวลา (full time) 7,095 คน ติดตามไป 11 ปี
 
ผลการศึกษาพบว่า การทำงานเกิน 11 ชั่วโมง/วัน เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 67% หรือประมาณ 2/3 เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานปกติ 7-8 ชั่วโมง/วัน
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจได้แก่ ความดันเลือดสูง เบาหวาน สูบบหรี่หรือหายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป (เช่น ห้องแอร์ที่ไนท์คลับ-ผับ-บาร์ ฯลฯ)
.
คณะนักวิจัยกล่าวว่า ยังไม่ทราบแน่ว่า จำนวนชั่วโมงที่ทำงานเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยทางตรง หรือทางอ้อม เช่น การทำงานนานเกิน (เช่น เข้าเวรกะบ่าย-ดึก ฯลฯ) ทำให้นิสัยในการกินเปลี่ยนไป คือ กินอาหารประเภท "หวาน-มัน-เค็ม" มากขึ้น, ออกกำลังกายน้อยลง หรือซึมเศร้าเพิ่ม
.
ฝรั่งมีสำนวนหนึ่งที่สอนให้คนขยัน คือ 'hard work won't kill you' = "งานหนักไม่ทำให้คุณตาย", ทว่า... ในญี่ปุ่นพบว่า มีคนที่ขยันจนตายบ่อย
.
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า โรคหัวใจ-หลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตัน), สโตรค (stroke = หลอดเลือดหัวใจตีบ-แตกตัน) ฯลฯ เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก
.
วิธีลดเสี่ยงโรคหัวใจในคนทำงานหนักได้แก่
.
(1). กินอาหารสุขภาพ และไม่กินมาก เพื่อป้องกันน้ำหนักเกินหรืออ้วน
.
(2). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เน้นการเดินให้เร็วขึ้น และเดินสะสมเวลารวมกันให้ได้ 30 นาที/วัน เช่น เดินเร็วก่อนอาหาร 10 นาที/มื้อ หลังอาหารเดินเล่นสบายๆ (ช้าๆ), ขึ้นลงบันไดตามโอกาส (1-2 ชั้นก็ทำให้ฟิตขึ้นได้มาก) ฯลฯ 
.
(3). ไม่นั่งนิ่งเกิน 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง - แม้การลุกขึ้น เขย่งเท้า บิดตัวไปทางซ้าย-ทางขวา แล้วนั่งลงมา 1 ครั้ง/ชั่วโมง ก็ยังดีกว่าการนั่งนานต่อเนื่อง
.
(4). ตรวจเช็คความดันเลือด น้ำตาลในเลือด (หาเบาหวาน), ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) - ถ้าสูงควรดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต
.
(5). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป
.
(6). นอนให้พอ คนส่วนใหญ่ต้องการนอน 7 ชั่วโมง/คืน ส่วนน้อยต้องการนอนมากหรือน้อยกว่านี้
.
การศึกษานี้นับรวมเวลาทำงานได้แก่ งานช่วงกลางวัน (work during the day), งานที่นำกลับไปทำที่บ้าน (work brought home) มาหารเฉลี่ยว่า จำนวนชั่วโมงที่ทำเฉลี่ยในวันทำงานเท่ากับเท่าไร (average weekday)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]                             

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 เมษายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 434241เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท