ผืนดินชีวิต บ้านต้นเรื่อง 'ดังลมหายใจ'


(๒) 

 อรุณสวัสดิ์  หนองบัว

เช้าวันที่ ๒๔ มีนา ฉันตื่นแต่เช้าเดินสำรวจรอบๆ บ้าน เล่นกับน้องแมวที่มาเคล้าแข้งเคล้าขา แวะสบตากับเจ้าวิลลี่ น้องหมาที่ตัวโต๊โตและต้องประเมินอารมณ์กันเล็กน้อย เพราะถ้าเจ้าวิลลี่มีอารมณ์ดีใจจะกระโจนเข้าหาแบบขาแทบท่วมหัว วิลลี่นะลิลลี่ฝากรอยเท้าเอาไว้เต็มเสื้อไปหมด ..

เมื่อได้เวลาทานข้าวทานปลา ซึ่งอาหารเช้ามื้อนี้มีน้ำพริกปลาย่างแนมด้วยผักบุ้ง ถั่วผักยาว ทั้งสีเขียวและสีม่วง สด กรอบ ไม่มีสารพิษแน่นอน ผักอิซึกต้ม ที่แม่บุญมา คำศรีจันทร์ เตรียมไว้ให้ ฉันบอกแม่บุญมาเมื่อแม่จะตักข้าวให้ฉันอีก ว่า 'คุณพ่อมักจะบอกให้กินข้าวน้อยๆ กินกับเยอะๆ' แต่แม่บุญมาตอบว่าผิดกับบ้านนี้ที่ต้อง 'กินข้าวเยอะๆ จะได้อิ่มๆ' ซึ่งฉันก็ไม่ได้ปฏิเสธข้าวกล้องร้อนๆ อร่อยๆ อีก ๑ ทัพพีที่แม่ตักให้ เมื่ออิ่มหนำและพักพุงเต็มที่ สายๆ จึงพากันข้ามถนนไปฝั่งตรงข้าม จาก ฝั่งบ้านนอก (เรียกอย่างที่ชาวบ้านเรียกขานกันในสมัยก่อน) ไปยัง ฝั่งบ้านห้วย ระยะทางประมาณ ๑ ถึง ๒ กิโลเมตร ผ่านท้องทุ่งนาอันกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ลมพัดเย็นสบาย เสียงรถอิแต๋น แท๊ก แท๊ก วิ่งสวนผ่านไป แหม๋ได้อารมณ์จริงๆ ..

แม่บุญมา อาจารย์วิรัตน์ น้าโอ น้องสาวของแม่บุญมา พาเดินและชี้ชวนดูโน่น ดูนี่ ดูนั่น เลี้ยวเข้าบ้านโน้น แวะเข้าบ้านนี้ แนะนำให้ฉันได้รู้จัก ได้กราบคารวะใครต่อใคร ที่อยู่ในช่วงว่างเว้นจากการทำนา แต่หันมาปลูกพืชผัก ทำขนมจีนบ้าง ทำขนมลอดช่องบ้าง ทำงานฝีมือ หรือกำลังวิดบ่อดักจับปลา บ้างก็นำของเหล่านี้ไปขายในตลาดหนองบัว ฉันรู้สึกซาบซึ่งในความมีไมตรีของคนฝั่งบ้านห้วยเป็นอย่างยิ่ง ...

'บริเวณนี้ คือ บ้านหลังเดิมของพี่ ก่อนย้ายไปบ้านโน่น ฝั่งบ้านนอก แต่ตอนนี้รื้อไปหมดแล้วเพราะไม่มีใครอยู่' สิ้นเสียงของอาจารย์วิรัตน์ ฉันจึงหันไปมอง และต้องรีบหยิบกล้องขึ้นมาบันทึกภาพเอาไว้ เพราะนี่คือสิ่งที่ทำให้ฉันนึกขึ้นได้ว่า ฉันกำลังอยู่ในสถานที่เกิดเหตุของ ดังลมหายใจ ผืนดินชีวิตเลยนะนี่ ประนึงจะเดินทะลุกระจกทวิภพแบบแม่มณีมาเลยเชียว ..

                        

-----------------------------------------------
เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
กล้อง : Kodak Z981

                         

                         

-----------------------------------------------
Retouching : ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์


--------------------------------------------------------------

ตอนที่ ๑ : มนต์เสน่ห์หนองบัว
ตอนที่ ๒ : ผืนดินชีวิต บ้านต้นเรื่อง 'ดังลมหายใจ'
ตอนที่ ๓ : แม่ ครอบครัว ชีวิต : ลมหายใจ

 

หมายเลขบันทึก: 433321เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

*พี่ใหญ่มา up date link อีกหนึ่งบันทึกค่ะ เป็นหัวข้อลำดับที่ ๒ ของ "กลุ่มดังลมหายใจ"

ถอดบทเรียน"ดังลมหายใจ" : (๒) บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433316

สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่นงนาท

  • ขอบคุณค่ะสำหรับการอัพเดทข้อมูลการถอดบทเรียนของทีม ดังลมหายใจ โดยมีพี่ใหญ่เป็นพี่ใหญ่ของทีมจริงๆ
  • ได้แวะเข้าไปอ่านทั้งของพี่ใหญ่ คุณแสงฯ พี่ณัฐรดา และพี่ครูอ้อยเล็ก บ้างแล้วหล่ะค่ะ ^^
  • ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้ให้กำลัวใจด้วยนะคะ ..

บันทึกแบบนี้น่าอ่านดีนะครับ เพลินดี สั้นกระชับ เหมือนพาเดินเที่ยวหาประสบการณ์
ขอแจมด้วยการทำรูป Retouching มาให้เห็นภาพเพิ่มขึ้นอีกครับ

                        

บ้านกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มบ้านที่ตั้งอยู่รวมกันหลายหลังคาเรือน แต่เดิมนั้นมี ๔ ครัวเรือน แต่ในแต่ละครัวเรือนมีคนหลายรุ่นอยู่ด้วยกันนับแต่รุ่นยายทวด ยาย แม่ ลูก เป็นศูนย์กลางของกลุ่มบ้าน โดยมีครัวเรือนของลูกหลานแตกขยายออกไปตั้งบ้านอยู่โดยรอบต่อๆไปอีกเชื่อมต่อกันเป็นหมู่บ้านต่อเนื่องกันหลายหมู่บ้านเลียบไปตามแนวลำคลองธรรมชาติและเดินทะลุถึงกันได้หมด 

ภาพเดียวมีค่ากว่าคำร้อยคำอีก

ช่างน่าประทับใจที่มีเรื่องราวประกอบงดงาม

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์

  • ดีจังเลยค่ะ ทำให้เห็นภาพเด่นชัดขึ้นค่ะว่าบ้านอาจารย์อยู่ตรงไหน .. เป็นกลุ่มบ้านที่อบอุ่นดีนะค่ะ เป็นครอบครัวขยายออกไปอยู่โดยรอบอย่างที่อาจารย์ว่าจริงๆ เพราะทราบจากน้าโอ้ว่ากลุ่มบ้านกลุ่มนี้ปัจจุบันมีกว่า ๑๐ ครัวเรือนแล้วหล่ะค่ะ ..
  • และยังได้รู้จักบ้านของแตรวง ช.ลูกทุ่ง ที่อาจารย์ไปขอเรียนเป่าแตรตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนกลายเป็นศิษย์เอกไปเลย ไม่แปลกใจที่อาจารย์ชอบเล่นดนตรี ชอบร้องเพลงและทำได้ดีมากๆ ด้วยค่ะ ..
  • การจิตนาการจากการอ่านหนังสือ ดังลมหายใจ ก็ชัดขึ้นเรื่อยๆ
  • ขอบพระคุณค่ะ ..

สวัสดีค่ะ อาจารย์โสภณ

  • กำลังตามติดกับความเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มคนจำนวนนึงที่เป็นลูกหลานชาวหนองบัว ประนึงนักสะกดรอย สนุกดีค่ะ ..
  • และไม่อยากที่จะสนุกคนเดียว เลยนำภาพมาเล่าสู่กันฟังด้วยค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับดอกไม้ให้กำลังใจด้วยนะคะ

ภาพเพิ่มเติมพี่อาจารย์ยอดเยี่ยมมากมาย...ตอนนี้ฝนตกหนักทางใต้ ต้นไม้วิ่งได้..วิ่งจากเนินเขาลงมาบนถนน..ภาพถ่ายเก่าคงเป็นบันทึกได้ดีนะคะน้องณัช..ส่วนนครปฐมเรา..เพื่อนรักกันโทรมาจากสระบุรีว่า..เฮ้ยๆอ้อยน้ำจากเขื่อนมันวิ่งมากรุงเทพฯ3วัน..แล้วมันจะเข้านครปฐมกี่ช.ม.ถึง...เลยพูดกะเพื่อนแบบติดตลกว่า..เราไม่รู้ เพราะเราจมน้ำไปแล้ว..ฮาๆ

ภาพเก่าที่บ้านเกิด...

สวัสดีค่ะ พี่ครูอ้อยเล็ก

  • ห่างหายจากการบันทึกไปนาน เคอะเขิลเล็กน้อย ^^"
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นทอดๆ นะค่ะ แต่เป็นในลักษณะนี้แล้วใจไม่ดีเลยหล่ะค่ะ ขอให้ทุกๆ สิ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยนะค่ะ ..
  • อากาศหนาวมากๆ รักษาสุขภาพด้วยนะคะพี่ครูขาา

                        

ชานบ้าน จะเหมือนกับขนบการทำบ้านเรือนของชาวบ้านในชุมชนเกษตรกรรมและชุมชนในชนบท โดยก็จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ใช้สอยและเป็นองค์ประกอบจัดวางทางสังคมอยู่ในตัวเอง เรื่องเล่าและเรื่องราวเป็นจำนวนมากในชีวิตของคนชนบทจะก่อเกิดขึ้นที่ชานบ้าน เมื่อเด็กก็จะนั่งฟังนิทานและเรียนรู้ดวงดาวกับท้องฟ้า สืบทอดความรู้กันในชานเรือน ใช้ดูแลญาติพี่น้อง ลูกหลาน และชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ต้อนรับขับสู้ผู้คนที่ไปมาหาสู่กัน

นอกจากนี้ก็มีลานบ้าน ซึ่งตอนนี้หมดสภาพไปแล้ว การมีลานบ้านเกิดจากวิถีการผลิตที่ต้องใช้แรงงานจากวัวควาย การนวดข้าว อีกทั้งเกิดจากขนาดครอบครัวและแบบแผนการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันของคนหลายรุ่น เมื่อไม่มีเด็กๆ วัวควาย และการเดินไปมาหาสู่กัน ตลอดจนการต้องกองลอมข้าว นวดข้าว เหล่านี้ ลานบ้านและกิจกรรมที่ต้องอยู่กับผืนดินเป็นส่วนใหญ่ก็หายไป พัฒนาการอย่างนี้เป็นการบันทึกสภาวการณ์สังคมและทำให้เราสามารถอ่านวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆได้เป็นอย่างดีเช่นกันนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์

  • ขอบพระคุณอาจารย์ที่ทำภาพ retouching ชุดนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนค่ะ ..
  • การอ่านสภาพวการณ์สังคมของวิถีชีวิตชุมชนของอาจารย์ทำให้เห็นถึงความแปรเปลี่ยนไปของวัฒนธรรมชุมชนอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ tacit knowledge ที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะมาจากลานบ้าน ชานบ้านนี่หล่ะค่ะ ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท