บุคคลกลุ่มใด เสี่ยงต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย


การฆ่าตัวตาย (อังกฤษ: Suicide) คือการกระทำที่ทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยเจตนา
สำหรับมนุษย์อาจเกิดมาจากภาวะความเสียใจอย่างมาก เช่น สูญเสียคนรัก
หรือภาวะความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกได้ จึงคิดสั้นโดยการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา
การฆ่าตัวตายของมนุษย์ถือเป็นปัญหาสังคม

มีการคาดการว่าปี 2020 ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 1
คู่กับโรคหัวใจขาดเลือด 15% ของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าจะมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย
โดย 50% สามารถฆ่าตัวตายสำเร็จ

ปัจจุบัน ร้อยละ 19.48 ของผู้ที่มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง โรคจิต ร้อยละ 70 ของผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง มีการดื่มสุรา
มีควาขัดแย้งกับคนรัก มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง และผู้หญิงซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย ๒ เท่า

เรามาดูว่า พื้นที่ไหน ในประเทศไทย มีอัตราการฆ่าตัวตายสุงสุด


...
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลปี 2552 วิธีการดูแผนที่ ให้ดูตามโทนสี
พื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีฟ้า - น้ำเงิน
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีฟ้าหรือน้ำเงินเข้มมาก
พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก

ส่วนในพื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีเหลือส้ม - เลือดหมู
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีเหลือส้มหรือสีเลือดหมูเข้มมาก
พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
...

SMR หรือ standard mortality ratio คือ การเปรียบเทียบอัตราตายจากโรคนั้นๆ ในจังหวัดนั้น
คำนวณจาก จำนวนตายที่เป็นจริงของพื้นที่ หารด้วยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่
ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายมากกว่าที่ควรจะเป็นค่า SMR จะมากกว่า 1 และยิ่งมากกว่า 1 เท่าใด
แปลว่ามีการตายมากขึ้นเท่านั้น ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ค่า SMR จะต่ำกว่า 1 และยิ่งต่ำกว่า 1 แสดงว่ายิ่งมีการตายที่ลดลงเพิ่มมากขึ้น
ถ้า SMR < 1 : จำนวนตายในพื้นที่ต่ำกว่าประชาชนทั่วไป,
SMR = 1 : จำนวนตายในพื้นที่เท่ากับประชาชนทั่วไป,
SMR > 1 : จำนวนตายในพื้นที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปโดยสรุป
ถ้า SMR อยู่ในโทนสีฟ้า อัตราตายของคนในจังหวัดนั้นต่ำกว่าประชากรมาตรฐาน
แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นดีกว่าประชากรโดยรวม
และถ้า SMR อยู่ในโทนสีเหลืองแดง แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้น
แย่กว่าประชากรโดยรวม


...
โดยสรุปอาการเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าจะนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ได้แก่

๑.กลุ่มที่มีอาการเศร้าชัดเจน

๒.ผู้ป่วยที่มีอาการของการเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม ไตวาย มะเร็ง 
   โรคหัวใจและหลอดเลือด

๓.โรคทางกายเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้

๔.ผู้กำลังประสบปัญหาทางจิตใจรุนแรง เช่น ผิดหวังในความรัก ไม่สมหวังในการเรียน
   โดยกลุ่มนี้มักเริ่มต้นพฤติกรรมเสี่ยงด้วยสุรา

๕.ผู้ประสบความสูญเสียทั้งด้านทรัพย์สิน ชื่อเสียง อวัยวะพิการ

๖.ผู้สูงอายุ

๗.ผู้ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

หากมีคนกำลังจะฆ่าตัวตาย เราควรทำอย่างไร อ่านคำแนะนำได้ที่ คลิก

อ้างอิง

เอกสารการพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
นพ.ทวี ตั้งเสรี ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

เอกสารโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในภาวะวิกฤต
รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ร่วมกับ รพ.พระศรีมหาโพธิ์

สมองและฮอร์โมนของผู้หญิง: ผลต่อความรู้สึกในตัวตนและจุดหมายในชีวิต
นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นพ.ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

หมายเลขบันทึก: 433318เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท