ถอดบทเรียน…พลังแห่งชีวิตที่สัมผัสได้ด้วยหัวใจกับการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน


 

 

 

ผู้เขียน..ต้องการบอกเล่าภาพบางสิ่งบางอย่างที่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือที่ผู้เขียนได้รับจาก อาจารย์วิรัตน์  คำศรีจันทร์  ในชีวิตของผู้เขียนเอง ถือว่า.. หนังสือเล่มนี้เป็นของกำนัลที่เชื่อมโยงชีวิตจิตใจของคนในชุมชนแห่งหนึ่งของเมืองไทย สู่วิถีการเรียนรู้และการพัฒนาต่อยอดให้กับชุมชนอื่น…ในสังคมได้เป็นอย่างดี

 

บทเรียนที่ถอดออกมาในครั้งนี้  ผู้เขียนใช้มุมมองและความคิดของผู้เขียนเพียงผู้เดียว การแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จึงเป็นสิ่งที่ผู้เขียนถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ต่อการถอดบทเรียนในมุมที่กว้างขึ้นของการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตในชุมชน…ต่อไป  (หากผู้มีเกียรติท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ผู้เขียนขออนุญาตรวบรวมและนำไปใช้ในกิจกรรมของชุมชน gotoknow ต่อไปด้วย ขอขอบคุณในทุกความคิดเห็นนะครับ)

 


 

 

แม่…มือแห่งเมตตาธรรม

 

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/286693

 

พลังแห่งความเมตตาที่เผื่อแผ่ของแม่…มีอยู่ในตัวของแม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  หากแม่จะทำสิ่งใดที่เผื่อแผ่บุคคลอื่นด้วยกำลังกายที่แม่ทำได้  นั่นเป็นเพราะแม่ทำสิ่งเหล่านี้มาตลอดชีวิตของแม่เสมอ   ทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนของชีวิตคนเราก็ตาม หากได้เคยทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในชีวิตแล้ว ก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวเองและเผื่อแผ่ไปถึงสิ่งที่อยู่รายล้อมรอบตัว เมื่อมีโอกาสและมีพลังแห่งชีวิตพอที่แม่จะลุกขึ้นทำสิ่งนั้นได้

 

การลงมือกระทำ…มันเป็นความสุขจากภายใน ที่แสดงออกมาทางพฤติกรรมของแม่ เชื่อมโยงลงไปในกิจกรรมที่แม่ทำ “ขนมจีนที่ทำเลี้ยงเด็ก ๆ และครูในโรงเรียน” จึงเต็มเปี่ยมด้วยความรักและความเมตตาที่คนในชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง พึงมีต่อกันได้  มันเป็นความผูกพันระหว่างกันด้วยจิตสำนึกแห่งการให้แบบง่าย ๆ และเป็นไปโดยธรรมชาติแห่งตัวตนของคนที่พึงมีต่อกัน..อย่างน่าเอาเป็นแบบอย่างนัก  มองดูแล้ว… อิ่มเอมในหัวใจดีแท้

 

 

ลูก ๆ คือเพื่อนและความอุ่นใจในชีวิตของแม่

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/287832

 

คำว่า “เพื่อนชีวิตระหว่างกัน” ไม่จำกัดเพียงแค่..การกินอยู่หลับนอน…หรือดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างเรื่อยเปื่อยไปแบบเรื่อย ๆเพียงเท่านั้น  เพื่อนชีวิต…ต้องมีรายละเอียดและสายใยแห่งความห่วงหาอาทร  มีความรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะดำรงชีวิตอยู่แบบตัวใครตัวมัน  ความรู้สึกในความเป็นเพื่อนแห่งชีวิตของแม่ที่แสดงออกมาต่อบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ   ณ มุมหนึ่งนั้น…ทำให้ผู้เขียนตระหนักซ้ำว่า หากครอบครัวขาดองค์ประกอบหนึ่งองค์ประกอบใดของครอบครัวไป  ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมหรือสมควรเป็น  ครอบครัวคงต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตและเยียวยาสภาพจิตใจของกันและกันอย่างมากมายเลยทีเดียว

 

 “สติและอารมณ์” ที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ต่างพลัดกันวิ่งแซง พลัดกันวิ่งนำหน้า ด้วยความตระหนกต่อเหตุการณ์  ณ ช่วงเวลานั้นที่แม่มีต่อพ่อ เหตุเพราะความห่วงจากส่วนลึกของหัวใจ   เป็นความผูกพันที่บอกได้ว่า  “ไม่ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นก็ตาม แม่จะไม่ทอดทิ้งพ่อ  แม้ในค่ำคืนแห่งความมืดมิดนอกบ้าน ที่อาจมีอันตรายอยู่รายรอบ..ก็ตาม”

 

เมื่อมองมาที่ชุมชนที่เราอาศัยอยู่  ความผูกพันระหว่างครอบครัวกับชุมชน  สะท้อนได้กับสิ่งที่แม่ทำ  การใช้วิถีชีวิตความผูกพัน เอาใจใส่และช่วยเหลือต่อกิจกรรมที่ตัวเองพึงกระทำได้   จึงเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่แตกต่างกันนัก  ครอบครัวเข้มแข็งเพราะสิ่งที่แม่ได้ลงมือกระทำให้สมาชิกในครอบครัวได้รับรู้   สิ่งนี้แหละ! สามารถทำให้ ชุมชนที่เราอาศัยอยู่เข้มแข็งได้อย่างเนียนไปในความเป็นจริงของการใช้ชีวิตร่วมกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติของเรา ผู้เขียน มองว่า การที่ชุมชนที่เราอาศัยอยู่เป็นเช่นนี้ มันงดงามในความเป็นจริงแบบไม่ต้องลงทุนหรือจัดสรรทรัพยากรอื่นใดมาสนับสนุนให้เปลืองเปล่า

 

 

เป็นหอยสังข์และเทพผู้คุ้มครองพ่อแม่ : อำนาจวรรณกรรมและการอ่าน

 

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/288027

 

ความซุกซนของเด็ก ๆ มุมหนึ่ง ที่พวกเขาเล่นบทบาทสมมุติเป็นหนูน้อยหอยสังข์ที่ออกมาจากเปลือกหอยหรือรุกขเทวดาที่ออกมาจากเปลือกไม้  มาช่วยงานบ้านยามพ่อแม่ไม่อยู่บ้านนั้น   เหตุเป็นเพราะ…การซึมซับความความเหนื่อยยากลำบากของพ่อแม่ จากการทำมาหาเลี้ยงครอบครัว และส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความซุกซนของวัยและจินตนาการของพวกเค้าเหล่านั้น

 

ถือเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ เล่นอย่างสร้างสรรค์และท้าทายมโนภาพที่ตัวเองวาดไว้นั่นเอง…การลดภาระงานของผู้ใหญ่ และตามรอยจินตนาการที่ตัวเองคิดไว้ว่าจะเหมือนหรือต่างกันมากน้อยแค่ไหน ผลสรุปที่ออกมา...แม้ว่าจะทำไม่ได้ตามที่หวังไว้ทุกอย่าง ก็ตาม

 

หากแต่ เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น และได้กลับมาย้อนคิดเมื่อครั้งอดีตในวัยเยาว์  ทำให้พบว่า..พลังมหัศจรรย์ที่แสดงออกมาเหล่านั้น  เป็นเสมือนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตที่มีฐานความคิดมาจากการได้อ่านหนังสือ การได้ศึกษาเล่าเรียน  และที่สำคัญความทรงจำเหล่านี้จะติดตัวพวกเขาเหล่านั้นไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว 

 

ความทรงจำดีดี ที่มีโอกาสช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว ตั้งแต่เยาว์วัย ถือเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้การใช้ชีวิตจากครอบครัว ออกสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ด้วยแรงบัลดาลใจและไฟฝัน และเป็นการพัฒนาสู่การเป็นผู้เอาใจใส่ ช่วยเหลือในกิจกรรมของชุมชนและสังคมที่ตัวเองอาศัยอยู่ อย่างยั่งยืน….

 


จบตอนที่ 1

หมายเลขบันทึก: 433093เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2011 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

นำดอกไม้มาเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณแสงฯ : เพิ่งกลับมาจากเวทีคนหนองบัวมาค่ะ เหนื่อยค่ะ แต่เห็นความสำเร็จอยู่ตรงหน้า สุขใจไปกับชาวหนองบัวที่ริเริ่มโดยอาจารย์วิรัตน์ และการร่วมพูดคุยของชาวหนองบัวที่เดินผ่านไปผ่านมาหน้าเวที แวะเข้ามาเยี่ยมชมและคุยแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลาที่จัดนิทรรศการค่ะ .. ขอให้คุณแสงฯ มีความสุขกับการถอดบทเรียน ดังลมหายใจ นะคะ ตามพี่ณัฐรดามาส่งกำลังใจค่ะ =)

สวัสดีครับ   : ชุมชนคือแหล่งกำเนิดของสรรพวิชช์

  • อ่านแล้วซาบซึ้งมากค่ะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอ

ขอบคุณค่ะ..เห็นความเชื่อมโยงในแง่มุมที่สัมผัสได้จากความรู้สึกดีๆเช่นนี้ค่ะ..กลุ่ม "ดังลมหายใจ" ช่วยกันสอดประสานเนื้อหาได้น่าสนใจมาก ..

พี่ใหญ่จะขอ copy ผลงานของสมาชิกกลุ่มจากบันทึกน้องมะปราง ที่พี่รวบรวมไว้มา post ที่นี่อีกแห่งหนึ่งนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ'แสงแห่งความดี'

ความรัก ความอบอุ่น จากครอบครัวเป็นพลังมหัศจรรย์ที่หล่อหลอมให้มนุษย์มีน้ำใจ...ที่ไม่มีในสิ่งมีชีวิตใดๆในโลกนี้.

 

กลุ่มกิจกรรมถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ" ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ซึ่งในขณะนี้ มีสมาชิก ๕ คน แล้วค่ะ :

                      * คุณแสงแห่งความดี

                      * คุณณัฐรดา

                      * อ.ณัฐพัชร์

                      * คุณครูอ้อยเล็ก

                      * พี่ใหญ่

  สำหรับประเด็นการถอดบทเรียนนี้ จนถึงวันนี้ คุณณัฐรดา และพี่ใหญ่ ได้ลองร่างมาเบื้องต้น เพื่อพิจารณาร่วมกัน ดังนี้ :

1.แก่นสาระหลัก (theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" (พี่ใหญ่)

2.บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน(พี่ใหญ่)

3.การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (คูณณัฐรดา)

4.ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม(พี่ใหญ่)

.....................................ฯลฯ...........................................................

.. ชื่อในวงเล็บคือผู้เสนอประเด็น ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพ ร่างรายละเอียดขึ้นมาเสนอให้สมาชิกพิจารณาร่วมกันต่อไปนะคะ ..  

 ..สมาชิกท่านใดจะเสนอประเด็นเพิ่ม โปรดแจ้งด้วยนะคะ..

Ico48

 

ประเด็นดีจังเลยครับพี่ใหญ่ครับ
เป็นการร่วมกันเขียนหนังสือไปในตัววิธีหนึ่งเลยนะครับ
ผมเองก็จะนำมาเขียนบทสังเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกันครับ
จะเพิ่มระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในแนว Autoethnography เข้าไปครับ
เชื่อว่าจะเป็นระเบียบวิธีที่เหมาะมากสำหรับวิธีทำประสบการณ์ชีวิตและประวัติศาสตร์สังคมที่สะท้อนอยู่ในเรื่องราวตัวบุคคลให้เป็นการสร้างความรู้และวิธีเรียนรู้ทางสังคม สำหรับสังคมที่มีพื้นฐานที่ดีมากมายแต่มีช่วงเวลาการพัฒนาสังคมแห่งความรู้ทีหลังประเทศที่พัฒนามาก่อนของโลกดังเช่นสังคมไทย

แต่ละท่านนี่สามารถเน้นบางด้านที่เป็นการสกัดประเด็นและสร้างความรู้ต่อยอดขึ้นจากกรณีตัวอย่างที่ใช้เป็นวัตถุดิบการถอดบทเรียนด้วยกัน ในแง่มุมที่แตกต่างหลายด้านเลยนะครับ

  • อย่างคุณแสงแห่งความดีก็น่าจะเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน
  • คุณณัฐรดานี่ได้รอบด้านเลย โดยเฉพาะเรื่องระบบวิธีคิดทางพุทธธรรม ศิลปะ
  • อาจารย์ณัฐพัชร์น่าจะเชื่อมโยงไปที่เรื่องศิลปะและสื่อภาพกับการวิจัยชุมชน โดยเฉพาะวิธีทำให้การพรรณาและเรื่องเล่าเพื่อนำเสนอการวิจัยเชิงคุณภาพให้มีพลังต่อการแสดงสิ่งซึ่งมีความเป็นนามธรรมมากกว่าข้อมูลตัวหนังสือ
  • น้องคุณครูอ้อยเล็กนี่น่าจะโยงไปที่การพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นและกิจกรรมชีวิตชุมชน และการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะแบบบูรณาการ
  • ส่วนของพี่ใหญ่นี่ นอกจากโยงไปที่ประเด็น ๒, ๓, ๔ อย่างอยู่มือได้เป็นอย่างดีแน่นอนแล้ว เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้าน ในชุมชน รวมทั้งจากแหล่งประสบการณ์ที่มีอยู่หลากหลายในสังคม เช่น กลุ่มเพื่อน หนังสือและการอ่าน ศิลปะวรรณกรรม เหล่านี้พี่ใหญ่ก็มองเชื่อมโยงได้ลึกซึ้งและกว้างขวางครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วางอยู่บนฐานของการเห็นและรู้สึกได้ออกมาจากข้างในแล้วก็ว่าไปตามนั้นนี่ดีที่สุดครับ จะสบายและเป็นการได้ทำเพื่อเรียนรู้ตัวเอง เบาๆ และบอกเล่าสะท้อนความบันดาลใจได้ดีกว่าวิธีอื่นครับ

http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/432524?refresh_cache=true

..........................................................................................................

พี่ใหญ่ขอนำความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ มาประกอบการถอดบทเรียนของพวกเราทุกคนค่ะ..พี่เพิ่งเข้าไปสนทนาหารือกับท่านเมื่อเช้านี้เอง..

Ico48

เรียนกลุ่มสมาชิกถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ" ทุกท่านค่ะ

     พี่ใหญ่มาส่งร่าง แก่นสาระ(theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" รวบรวมจากความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ใน blog ดังกล่าว..(โปรดเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร)

 * สะท้อนเรื่องราวชีวิตในอดีตของครอบครัวชนบทในบ้านเกิด ท่ามกลางญาติพี่น้องที่มี “ แม่ ” เป็นศูนย์กลางและตัวหลักของเนื้อเรื่อง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ แต่มีจิตสำนึกอย่างชาวบ้าน ที่ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต เปรียบเสมือน “ ดังลมหายใจเข้าออก ”

* เป็นการนำเสนอให้คนสัมผัสได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องของตนเอง และเชื่อมโยงสู่โลกกว้าง คนภายนอกจะเห็นประเด็นที่ไม่ใช่เรื่องจำเพาะกรณี แต่เห็นภาพของสังคมทั่วไป ตามบริบทเหล่านี้ :

     ๑. กิจกรรมชุมชน และความเป็นชุมชนที่คลุกคลีและสัมผัสด้วยตนเองและจากการถ่ายทอดของ แม่ และกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน

     ๒.เค้าโครงการผูกเรื่องนั้น เป็นการตกผลึกสิ่งที่ได้จากการวิจัย การทำงาน และการสรุปบทเรียนของชีวิตในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้น ความมีจิตสาธารณะ ของปัจเจก และกลุ่มก้อนของคน ในบริบทของชุมชนและสังคมไทย ซึ่งเป็นประเด็นย่อย ของ Civil Society

     ๓.พยายามจูงมือผู้อ่าน ไปสัมผัสในแง่มุมต่างๆ ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต มีเหตุการณ์และการแสดงออกในสถานะการณ์ต่างๆ การก่อเกิดจากครอบครัว สภาพแวดล้อมชุมชน การเล่นและกลุ่มเพื่อน การปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การสนทนากับระบบคิด และหลักชีวิตที่มาในศาสนธรรม

     ๔.ใช้ศิลปะภาพเขียน เพื่อสื่อภาษาภาพและก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูงที่เรียกว่า Simplification Communication และ Interaction Learning Empowerment เพื่อมุ่งเน้นให้ชาวบ้านที่อ่านหรือเขียนหนังสือหรือแสดงความรู้ที่เป็นทางการกับคนภายนอกไม่ค่อยได้ ไม่เกิดความเคอะเขิน ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง ทำให้เกิดชุมชนที่ใช้ความรู้และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

Ico48

สวัสดีค่ะ

อ่านแกนหลักของเรื่องที่พี่ส่งให้ทางความเห็นแล้ว ชอบมากค่ะ

ขอส่งประเด็น การหล่อหลอมสังคมโดยพุทธศาสนามาเพื่อให้พี่พิจารณาดังนี้นะคะ

การหล่อหลอมสังคมไทยโดยพุทธศาสนา

เหตุการณ์ต่างๆในชีวิตที่นำมาร้อยเป็น “เรื่องเล่า” นอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตของบุคคลผู้หนึ่งให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเพลิดเพลินตามผู้เล่าไปด้วยแล้ว ยังเป็นอีกแหล่งของการเรียนรู้ หรือสืบสาวความเป็นไปในสังคม

ดังเช่นเรื่องเล่า “ดังลมหายใจ” ที่ผู้เล่า (อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์) ได้เรียบเรียงเหตุการณ์ในชีวิตท่านมาเล่าผ่านงานเขียนนี้ ผู้อ่านสามารถเห็นภาพสังคมไทยที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทธศาสนา ความสุขของพุทธศาสนิกชนที่ฉายออกมาจากการดำรงชีวิตโดยนำหลักธรรมมาเป็นแนวทาง ได้จากทั้งภาพวาด และเนื้อความเรียง

พอที่จะเรียบเรียงจากเนื้อเรื่องเล่าได้ดังนี้

1.การเกิดประเพณีเพื่อพระศาสนาโดยเฉพาะ

ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เล่าถึงประเพณีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระรัตนตรัย  

เดิมคนในสุวรรณภูมินับถือผี ต่อเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาถึง จึงเกิดการผสมกลมกลืนกันระหว่างพุทธกับผี (หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พุทธแบบชาวบ้าน”)  คือมีการนับถือผีและพุทธไปด้วยกัน แต่ยังให้พุทธเป็นประธาน

จึงเกิดความกลมกลืนของประเพณีดั้งเดิมต่างๆกับพิธีกรรมทางศาสนา และเกิดประเพณีต่างๆเพื่อการในพระศาสนาขึ้น

ดังที่เห็นได้จากประเพณีปล่อยโคมลอยดังกล่าว

2.การสร้างเครือข่ายทางสังคม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประเพณีทางศาสนา

ในประเพณีการปล่อยโคมลอย ผู้เขียนได้เล่าว่า

“เมื่อโคมลอยลอยขึ้นไปจนถึงลมบน ก็จะมีลมส่งลอยไปไกลได้หลายวัน บางครั้งจากบ้านผมที่ชุมชนบ้านตาลิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ดังในปัจจุบันนี้ ก็อาจลอยไปตกถึงจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลกบ้าง ........ การรู้กันว่าบนโคมลอยมีสตางค์ อีกทั้งข่าวสารงานบุญ ..... ชาวบ้านปลายทางวิ่งตามเก็บโคมลอยและเปิดจดหมายออกอ่าน เมื่อรู้ข้อมูลที่ส่งและเสี่ยงทายโคมลอยแล้ว ชาวบ้านและชุมชนปลายทางก็จะมีธรรมเนียมนับความเป็นญาติพร้อมกับหาทางส่งข่าวกลับไปยังแถวบ้านผม จองกฐิน หรือขอเดินถือจดหมายกลับไปสร้างความคุ้นเคยเป็นญาติ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลและทำบุญด้วยกันในอนาคต ...”

นั่นคือจากประเพณีทางศาสนา ได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงถึงกันของชุมชนหนึ่งกับชุมชนอื่นๆ สร้างเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆของกันและกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3.ลักษณะของสังคมที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอันเนื่องจากการมีวัดเป็นศูนย์กลาง

ในวัฒนธรรมไทยนั้น ชุมชนผูกพันกับวัดและพระอย่างแนบแน่น เนื่องจากวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน พระจึงไม่ได้สอนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว หากยังสอนวิชาทางโลกด้วย เช่น วิชาช่าง ศิลปะ การรักษาโรค และมักเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ เช่น การขุดบ่อน้ำ สร้างสะพาน ผู้ระงับกรณีพิพาทในชุมชนเหล่านี้เป็นต้นอีกด้วย จากการที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เดียวกัน ทำให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในชุมชนเพื่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอันเกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยส่วนรวม

ในชุมชนที่ผู้เขียนได้เล่าไว้ ก็พบความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยมีวัด หรือ กิจกรรมทางศาสนาเป็นศูนย์กลางได้เช่นกัน ดังเช่น การปล่อยโคมลอยซึ่งไม่สามารถทำได้โดยบุคคลใดเพียงบุคคลเดียวเนื่องจากความยุ่งยากเกินกำลังทั้งกำลังแรงงาน และกำลังทรัพย์ จึงต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน,  การสร้างโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย, การขุดสระน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบริโภคหลังโรงเรียน เป็นต้น

(อย่างไรก็ดี จากเรื่องเล่านี้ ก็ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่วัดในชุมชนถูกลดความสำคัญลงด้วย เช่น ศึกษาที่แยกตัวออกจากออกจากวัด จากการจัดการโดยพระ มาเป็นการศึกษาที่จัดการกันเองโดยฆราวาส ซึ่งก็เป็นลักษณะเดียวกับที่พบเห็นได้ในวัดอื่นๆทั่วประเทศ)

4.ลักษณะของอุปนิสัย หรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน

หลักธรรมในศาสนาพุทธมีส่วนในการหล่อหลอมลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากในศาสนาพุทธมีทั้งหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกแง่มุม เช่น การพัฒนาจิตใจ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม และมีความสุขตามฐานะทางสังคม (เช่น ในฐานะผู้ปกครอง ในฐานะแม่ ลูก เป็นต้น) การเกื้อกูลกัน รวมไปถึงความมีระเบียบเรียบร้อยในสังคม

ดังในเรื่องเล่าเรื่องนี้ สามารถพบลักษณะนิสัยที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทะศาสนาได้ในหลายแง่มุม เช่น

-การมีจิตใจที่ดี เช่น หลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เป็นต้น

-การครองชีวิตอย่างสงบสุขในฐานะฆราวาสและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม เช่น หลักฆราวาสธรรม (สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ) หลักสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา) หลักสัปปุริสธรรม 7 (รู้จักเหตุ รู้จักผล รุ้จักตน รู้จักกาล รู้จักประมาณ  รู้จักบุคคล รู้จักบริษัท)

-การนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตเพื่อความสุขตามเหตุปัจจัย เช่น หลักปัจจุบันธรรม ชีวิตจึงผ่านความยากลำบากไปอย่างมีความสุขเพราะมอง และ ยอมรับโลก อย่างถูกต้องตามพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน หรือ หลักสันโดษ ยินดีตามที่มี ที่หาได้ จึงไม่ริษยาใคร เป็นต้น

-การถือเอาประโยชน์ที่เลยตาเห็น หรือ สัมปรายิกัตถะ และ ปรมัตถะ นอกเหนือไปจากประโยชน์ปัจจุบัน หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ ของพุทธศาสนิกชน

Ico48

(ต่อ)

-การดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ที่นำมาจัดในลักษณะของบุญกิริยาวัตถุ 10 เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตฆราวาส(ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย และ ทิฏฐุชุกัมม์)

ดังมีตัวอย่างอย่างมากมายที่พบได้จากเรื่องเล่าค่ะ เช่น การขายผัดไทยแบบเงินเชื่อ ที่ผู้ซื้อนำเงินมาชำระภายหลัง (สัจจะ) การคิดและทำกิจกรรมเพื่อเด็กๆที่ขัดสน (พรหมวิหาร ประกอบกับธรรมอื่นเช่น สังคหวัตถุ) การแบ่งเฉลี่ยความดีให้ผู้อื่น โดยแบ่งหน้าที่กันทำกิจกรรมเพื่อชุมชน เช่น การเลี้ยงอาหาร การขุดบ่อน้ำ  (ปัตติทานมัย) ซึ่งนอกจะเป็นการแบ่งเฉลี่ยความดีกันแล้ว ในส่วนตัวผู้ทำ ยังถือว่าได้บำเพ็ญประโยชน์ (อัตถจิรยา) การยินดีกับความดีของผู้อื่น เช่นการที่ผู้เขียนยินดีกับมารดาที่จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารเด็ก (ปัตตานุโมทนามัย) เหล่านี้เป็นต้น 

Ico48

ต้องขอบคุณพี่ค่ะที่กระตุ้นให้นำเรื่องดังลมหายใจนี้ขึ้นมาอ่านอีกครั้ง

จึงทำให้ได้เห็นความงามมากมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องค่ะ

สวัสดีค่ะคุณแสงฯ

  • พลังในหัวใจของแม่ "เต็มเปี่ยม" ไปด้วยคำว่า " ให้" ค่ะ หนึ่งใจกับสองมือแม่พร้อมทุกเมื่อที่จะทำเพื่อ " ครอบครัว" ค่ะ

                                          

...สำหรับการถอดบทเรียนแต่ละประเด็น ซึ่งมีความยาวหลายตอน เกินกว่าจะรวมเป็นบันทึกเดียว สมาชิกแต่ละคนอาจขึ้นบันทึกในประเด็นของตน แล้ว link เพื่ออ้างอิงถึงกัน..ในแนวที่ ดร.วิรัตน์ ได้กรุณาชี้แนะนำไว้แล้ว .. ดังเช่นกรณีของคุณแสงแห่งความดี..ส่วนกรณีของคุณณัฐรดา ที่ส่งรายละเอียดของประเด็น "การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา" มา post ไว้ที่พี่ใหญ่แล้ว..จะได้นำมารวมไว้โดยไม่ต้องมีบันทึกต่างหากอีก..

*บันทึกของพี่ใหญ่ที่จะทำต่อไป เป็นการเกริ่นนำบทที่ว่าด้วยแก่นสาระสำคัญของ blog ดังลมหายใจ ตามที่ ดร.วิรัตน์ กรุณาให้ความเห็นไว้แล้ว และประเด็นอื่นๆที่ได้อาสาร่างไว้เป็นเบื้องต้น รวมทั้งรายละเอียดของ"การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา"ของคุณณัฐรดา

..ส่วนสมาชิกท่านใดได้มีความก้าวหน้าในการถอดบทเรียนอย่างไร โปรดนำมา post ไว้ที่บันทึกน้องมะปราง เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวค่ะ..

สวัสดีครับ

ชื่มชมกับบันทึกของพี่นะครับ

และชื่มชมกับความตั้งใจของคนในกลุ่มเล็ก ๆ แต่จิตใจยิ่งใหญ่

ในการถอดบันทึกร่วมกัน

ผ่านเครือข่ายโกทูโน

ผมจะนับวันรอ

อ่านบทความการถอดบทเรียนชิ้นนี้นะครับ

เพียงแค่เผยประเด็นหลัก

ก็ยั่วยวนนำลายสอแล้วครับ

 

สวัสดีค่ะ

ขอแวะมาเป็นกำลังใจให้กลุ่มดังลมหายใจนะคะ ดีใจมากๆ ค่ะ ที่พี่ๆ มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

^___^

  • ชื่นใจจังนะคะกิจกรรมนี้....
  • สิ่งที่สกัดออกมาได้แต่เนื้อเน้นๆ......
  • ช่างมีคุณค่าจริง สำหรับงานเขียน....ที่ท่านได้เสกสรรบันทึกไว้

พี่ใหญ่มาส่งข่าวว่า ได้ขึ้นบันทึก แก่นสาระ(theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" ซึ่งตั้งใจให้เป็นบทนำของการถอดบทเรียนของกลุ่มของเรา

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433145

..พี่ได้ไปชวนคุณณัฐรดา ให้ขึ้นบันทึกเรื่อง การหล่อหลอมสังคมไทยโดยพุทธศาสนา เป็นอีกบทเรียนหนึ่ง ตามความพร้อมเธอมีอยู่แล้วค่ะ..

 

ถามไถ่..สถานการณ์น้ำ..เป็นไงบ้างคะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจและข้อเสนอแนะของพี่ใหญ่ และกลุ่มที่ฝากไว้ในบันทึกนะครับ

ช่วงนี้ บ้านสวนวิกฤติจากภัยน้ำท่วม วันนี้ตลอดทั้งวันยังคงอยู่ในสวน ดูบ่อปลาที่เลี้ยงไว้

หากว่าฝนตกมากกว่านี้ คงลำบากเป็นที่สุดแล้ว ครับ

ขอฟ้าได้โปรดปรานี สำหรับชาวสวนบ้าง

 

เมื่อวานผมก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการทำกิจกรรมกับชุมชน  ซึ่งผมแนะนำให้พวกเขาจัดกิจกรรมในลักษณะบ้านหลังเรียน  อันประกอบด้วยวัตถุประสงค์สำคัญคือการบริการวิชาการสู่สังคม (แต่ให้ตระหนักในฐานะไปเรียนรู้มากกว่าการเป็นคนรู้มาก)  รวมถึงการมุ่งประเด็นไปสู่การกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักในเรื่อง "บ้านเกิด" ของตัวเอง

ผมฝากให้เจ้าหน้าที่ได้ลงชุมชนเพื่อสำรวจก่อนว่าชุมชนมีทุนอันใดบ้าง  หรือแม้แต่เอาง่ายๆ ให้ไปดูว่าเด็กๆ มีกี่คน, วัยเท่าไหร่บ้าง, เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาคิดรูปแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

ผมฝากให้เจ้าหน้าที่ค้นหาครูภูมิปัญญาในท้องถิ่นนั้นๆ มาสอนลูกสอนหลาน ผ่านนิทาน, เรื่องเหล่า ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงนิมนต์หลวงตามาเป็นพระวิทยากรในเรื่องบางเรื่อง

ผมฝากให้เจ้าหน้าที่ออกแบบกิจกรรมให้เด็กๆ นำเที่ยวในชุมชน  เพราะจะได้ประเมินว่าเด็กๆ รู้เรื่องชุมชนสักกี่มากน้อย หรือแม้แต่ทำกิจกรรมนั้นให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกันไปในตัว

ผมฝากให้พาเด็กๆ ไปก่อกองทรายริมฝั่งแม่น้ำชีในเทศกาลสงกรานต์  ชวนให้เขาดูวิถีชีวิตของพ่อกับแม่ในการจับปลา, เข้าป่าแหย่ไข่มดแดง  หรือแม้แต่ชวนให้เขาขึ้นเวทีแคร่ไม้ไผ่เพื่อประชันการเล่าเรื่อง "ท้องถิ่นของฉัน"  ให้กันฟัง

ฝากให้เจ้าหน้าที่ชวนเด็กๆ มาฟื้นฟูการละเล่นแบบอีสานๆ ในลานวัด จัดเป็นมหกรรมเล็กๆ มีคนหลากวัยมาอยู่ร่วมกัน  ทำเป็นงานวัดไปเลยก็ได้

พอใกล้เปิดเรียน ก็ค่อยสอนเสริมเพื่อนำเข้าสู่แบบเรียนที่จะมีขึ้น  แต่ไม่ต้องการให้ไปสอนพิเศษใดๆ ในช่วงปิดเทอม  เพราะอยากให้เขาเรียนรู้และสนุกอยู่กับหมู่บ้านของตัวเอง  และบางวันก็ได้พาเด็กๆ มาเที่ยวเล่นในมหาวิทยาลัยสลับกันไป เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ เกิดพลังในการที่จะเรียนต่อฯ

ขอบพระคุณครับ

 

ขอส่งกำลังใจให้คุณแสงฯอีกครั้งหนึ่ง..เข้มแข็งไว้นะคะ..หลายท้องถิ่นเผชิญหนักหนาสาหัสจริงๆ..ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ..

................................................................................................................

*พี่ใหญ่มา up date link อีกหนึ่งบันทึกค่ะ เป็นหัวข้อลำดับที่ ๒ ของ "กลุ่มดังลมหายใจ"

ถอดบทเรียน"ดังลมหายใจ" : (๒) บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433316

พี่แสงแห่งความดีคะ

ตอนนี้สถานการณ์เป็นยังไงบ้างคะ บ้านและสวนพี่ได้รับความเสียหายไหมคะ ขอให้ไม่เสียหายมากนะคะ

น่าเป็นห่วงชาวใต้จริงๆ..ชาวกรุงเกทม.ร่งระดมความช่วยเหลือค่ะ..ขอให้กำลังใจ

............................................................................................................

       พี่ใหญ่มาส่งความคืบหน้าของการถอดบทเรียนของกลุ่มดังลมหายใจ ดังนี้ :

*น้องครูอ้อยเล็ก ได้ถอดบทเรียนประเด็น "การเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้..ดังลมหายใจของการเติบโต " ซึ่งขอเพิ่มเติมเป็นประเด็นที่

http://gotoknow.org/blog/sto/433214

และเลื่อนประเด็น "ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม " (พี่ใหญ่) เป็นประเด็นที่ ๖ (กำลังร่างรายละเอียด)

พี่ใหญ่มาส่งบันทึกถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ"ในประเด็นที่ ๔ ของ คุณณัฐรดา ฝากรวม ไว้ที่พี่ใหญ่ :

 ๔.การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (คูณณัฐรดา)

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433473

เมื่อวานพี่ได้ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบภัยกับทางรพ.คะ

เพื่อนๆพี่ขาดการติดต่อกันหลังเกดิน้ำท่วมที่นครฯ ได้แต่ส่งกำลังใจ

และสวดมนต์ภาวนาขอให้ทุกชีวิตปลอดภัยพ้นวิกฤตด้วยดี

พี่ได้ติดตามอ่านการถอดบทเรียนของสมาชิกลุ่มดังลมหายใจ

และได้กำลังใจจากสมาชิก โดยเฉพาะพี่ใหญ่เก่งมากๆเลยค่ะ

ทำให้มีความเข้าใจประเด็นมากขึ้นอีกทั้งบางเหตุการณ์ในบันทึกนั้น

มีบางประเด็นยังเป็นความทรงจำในอดีต

ที่เก็บไว้เป็นพลังใจให้กับการดำเนินชีวิตตัวเอง

เป็นห่วงนะคะ ระลึกถึงอยู่เสมอค่ะ

จึงเลือกเข้ากล่ม

เป็นห่วงนะคะ ระลึกถึงอยู่เสมอค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท