หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เราสู้ : กระบวนการต่อสู้ของชาวดอยมูเซอ



          ดอยมูเซอ เป็นที่อยู่อาศัย ที่ทำมาหากินของหลากหลายชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็น ม้ง ลีซู ลาหู่ และปกาเกอะญอ การทำมาหากินแต่ดั้งเดิมคือการทำไร่และเลี้ยงสัตว์ ในอดีตประชากรไม่มากนัก อีกทั้งความเข้มงวดของทางราชการในการใช้ผืนป่าไม่มากนัก การยังชีพก็มิใช่เรื่องยุ่งยาก

          เวลาผ่านไป ประชากรมากขึ้น พื้นที่มีเท่าเดิม บวกกับความเข้มงวดของทางราชการในการใช้ผืนป่าที่มีมากขึ้น ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพก็มีความลำบากมากขึ้น การปรับตัวของชาวบ้านพื้นที่ดอยมูเซอประการหนึ่งคือการปลูกพืชผักจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวและผู้เดินทางสัญจรไปมาที่แวะเยี่ยมชมจับจ่าย ณ ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ

          ไม่เพียงชาวดอยมูเซอเท่านั้นที่มาใช้พื้นที่นี้จำหน่ายสินค้า แต่ผู้ประกอบการค้าชาวพื้นราบก็ขึ้นมาบุกรุก จับจอง พื้นที่จำหน่ายสินค้าจำนวนไม่น้อย กระทั่งปัจจุบันเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ตลาดมากกว่าชาวบ้านในพื้นที่ มีความได้เปรียบทั้งขนาดและทำเลร้าน

          ปัญหาของตลาดในปัจจุบัน คือ ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย การกีดขวางทางจราจร คือข้ออ้างทางจังหวัดที่ได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว เป็นเหตุผลสำคัญที่จังหวัดใช้อ้างเป็นเหตุผลในการจัดทำโครงการปรับปรุงตลาดฯ โดยไม่ยอมทำความเข้าใจว่าสาเหตุที่แท้ของปัญหาที่มาจากการเข้ามารุกและจับจองพื้นที่ของผู้ประกอบการค้าชาวพื้นราบ ซึ่งบังหน้าอาคารไม่สามารถให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปซ้อสินค้าในอาคารได้ กระทั่งชาวบ้านต้องยกแผงออกมาจำหน่ายสินค้าด้านนอก เป็นต้นตอปัญหาที่สำคัญ

          ข้อขัดแย้งที่สำคัญประการหนึ่งคือ การมุ่งแก้ปัญหาเพียงผู้ค้ารายเดิม ซึ่งละเลยชาวบ้านที่เดือดร้อนด้านการทำมาหากิน ซึ่งตลาดชาวเขาเป็นช่องทางเกือบสุดท้ายที่พอจะทำให้เขาประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้

          นี้เป็นเพียงบางเหตุผลของชาวบ้านที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับโครงการปรับปรุงตลาดชาวเขาดอยมูเซอ ของทางจังหวัดตาก    และได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในรูปแบบที่ควรจะเป็น

          ผมได้เข้าไปมีส่วนรับรู้เรื่องราวความเดือดร้อนของชาวบ้าน และพยายามมีส่วนร่วมในส่วนที่ตัวเองมีความสามารถและพอจะทำได้ โดยเฉพาะการรับฟังเรื่องราว ความเป็นไปเป็นมา ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ นำมาเรียบเรียงเป็นข้อเขียนเผยแพร่เท่าที่จะมีช่องทาง เพื่อให้เสียงของชาวบ้านออกไปด้ำกลที่สุด ด้วยหวังว่าจะเกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น

          ข้อเขียนที่เกิดในระยะนี้ ผมได้รวบรวมมาไว้ในหนังสือ “เราสู้” ครับ

 

          โหลดได้ที่นี่นะครับ "เราสู้"

 

.

หมายเลขบันทึก: 433092เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2011 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณหนานฯ

  • กำลังใจจากคุณยายค่ะ รับไว้ด้วยนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • อยากอ่านเราสู้เล่มเต็มๆค่ะ

ระดมพลสู้ทางความคิดและกระบวนการ โดยเครือข่าย จะได้ไปร่วมสู้ด้วย

สวัสดีครับ คุณลำดวน

ผมได้แนบลิงค์หนังสือมาไว้แล้ว
ขอบคุณที่สนใจนะครับ 

คารวะท่านผู้เฒ่าครับ

ตอนนี้ยังพอสู้ไหวครับ หากเหลือบ่ากว่าแรงสงสัยต้องขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายครับ
เหตุการณ์น้ำท่วมเป็นไงบ้างครับ ฟังข่าวแล้วเห็นว่าฝนหยุดแล้ว คงจะดีขึ้นแล้วนะครับ 

นมัสการพระอาจารย์ครับ...

ที่หายไปก็เป็นเพราะเรื่องวุ่น ๆ ตามที่เล่าถึงในบันทึกนี้แหละครับ
ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่แวะมาเยี่ยมเยียนถามไถ่ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท