แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ ตามแนวคิดของปตัญชลี (๒/๕)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

บันทึก -(๑/๕)- ;



เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ

ตามแนวคิดของปตัญชลี
(๒/๕)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)

แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ตุลาคม ๒๕๕๒

 

"ตตระ นิรติศยัม สรรวชญพีชัม" (๑ : ๒๕) แปลว่า อีศวรเป็นแหล่งของความรอบรู้สรรพสิ่งที่ไม่มีอะไรเหนือไปกว่านี้ได้ เชื่อกันว่าบุคคลหนึ่งนั้นไม่สามารถรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือไม่สามารถรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ขณะ ทุกเวลาในสรรพสิ่งทั้งหมดได้ แต่บุคคลนั้นได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้รอบรู้สรรพสิ่งก็เพราะเขามีศักยภาพที่จะรู้เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์เฉพาะได้ถ้าเข้าปรารถนาเช่นนั้น ประโยคนี้จึงกล่าวสรุปได้ว่า แหล่งที่มาของความรอบรู้สรรพสิ่งก็คืออีศวร อีศวรมีศักยภาพที่จะรอบรู้สรรพสิ่ง จึงเป็นบทพิสูจน์ที่ว่าความรู้ทั้งหมดนั้นที่สุดแล้วเริ่มต้นอยู่ในอีศวร

"ปูรเวษามปิ กุรุห์ กาเลนานวัจเฉทาต" (๑ : ๒๖) แปลว่า อีศวรคือครูของคนรุ่นก่อนที่ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา

อีศวรนี้เป็นธรรมชาติของปุรุษะซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นมันจึงไม่ขึ้นอยู่กับเวลาหรือไม่สามารถแบ่งแยกได้ด้วยเวลา มันมีอยู่แล้วก่อนที่มนุษย์คนแรกจะเกิดขึ้นในโลกหรือแท้จริงมันมีอยู่ก่อนที่จักรวาลจะอุบัติขึ้นด้วยซ้ำ ด้วยเหตุที่มันเป็นแหล่งของความรู้ทั้งหมด (จาก ๑ : ๒๕) มันจึงได้รับการขนานนามว่า กุรุ หรือ ครู นั่นคือ เป็นแหล่งของความรู้สำหรับทุกๆ คน รวมถึงครูโบราณทั้งหมดด้วย แต่อีศวรในที่นี้เป็นนามธรรมเป็นกฎธรรมชาติ มันจึงไม่สามารถสอนในความหมายของครูปกติได้ แม้ว่าจะพิจารณาอีศวรว่ามีตัวตน เช่น พระเจ้า แต่ท่านก็ไม่สามารถสอนผ่านคำพูดหรือภาษาเขียนให้กับครูโบราณ เช่น ฤาษี และมุนี[1] ได้ ท่านจึงต้องถูกกล่าวขานว่าเป็นครูในเชิงสัญลักษณ์ในแง่ที่ว่าท่านเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้ทั้งหมด คำว่า "กุรุ" สามารถแปลความว่าเป็นสิ่งที่เก่าแก่ที่สุดหรือโบราณที่สุดได้ ในแง่นี้ประโยคนี้ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นนิรันดร์(ไม่เปลี่ยนแปลง) ของอีศวร

ดังนั้นเราจะพบว่า "อีศวร" ตามที่รับรู้ในปตัญชลีโยคะสูตรก็คือ

๑) แยกออกจากประกฤติอย่างสิ้นเชิง (๑ : ๒๔) นั่นคือมันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และดังนั้นมันจึงไม่ได้ทำกรรมใดๆ ๒) รอบรู้ทุกสรรพสิ่ง (๑ : ๒๕; ๒๖) ๓) มีความเป็นนิรันดร์ (๑ : ๒๖) ซึ่งอาจจะมีนัยของความมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งด้วย แต่ก็ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า (๑ : ๒๔) ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นผู้สร้าง ผู้ปกปักรักษา หรือผู้ทำลายจักรวาลนี้ และไม่เป็นผู้ประทานสิ่งใดๆ ให้ผู้อุทิศตัวด้วยความภักดีอย่างที่รับรู้กันเกี่ยวกับพระเจ้า

คำถามที่สำคัญข้อหนึ่งอาจผุดขึ้นในจิตใจของผู้ฝึกโยคะว่า อีศวรนี้จะช่วยเขาในการฝึกปฏิบัติโยคะได้ในทางใดบ้าง คำตอบนี้ปตัญชลีได้อธิบายไว้ในประโยคะถัดไป (๑ : ๒๗) แล้ว

 

หมายเหตุ
[1] ฤาษี คือ นักบวชผู้อยู่ในป่า หรือพวกชีไพร ใน Yoga Kosa Dictionary ได้อธิบายว่ามุนีคือ นักปราชญ์ นักบวช ฤาษี ที่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากความทุกข์ยากหรือความลำบากทั้งหลาย ไม่ยึดติดกับความยินดี เป็นผู้ที่ขจัดกิเลส ความกลัว และความโกรธได้อย่างสิ้นเชิง และปัญญาของท่านได้เกิดขึ้นและตั้งมั่นแล้ว อีกทั้งเป็นผู้ที่ควบคุมและดูแลภายในตนเองได้ทั้งหมดโดยผ่านการภาวนา (มุนีจะมีความหมายในเชิงผู้รอบรู้และมีปัญญาซึ่งเกิดจากการภาวนามากกว่าฤาษี - ผู้แปล) 

 

อ่านต่อ (๓/๕)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431950เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2011 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท