แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ ตามแนวคิดของปตัญชลี (๑/๕)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 
เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ
ตามแนวคิดของปตัญชลี
(๑/๕)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)

แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ตุลาคม ๒๕๕๒

 

ในบทที่ ๑ ประโยคที่ ๒๔ ของโยคะสูตรได้กล่าวว่า "กเลศะ-กรรมวิปากาศไยรปรามฤษฏะห์ ปุรุษะ-วิเศษะ อีศวระห์" แปลว่า อีศวรเป็นปุรุษะพิเศษซึ่งไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้นจากกิเลส รวมถึงกรรมทั้งหลาย การสุกงอมของกรรม และแหล่งสะสมกรรม (ซึ่งต่างจากปุรุษะที่อยู่ในมนุษย์ทั่วไป)

จากฉบับที่แล้ว (๑ : ๒๓) กล่าวถึงอีศวรประณิธานะว่าเป็นการยอมจำนนอย่างถึงที่สุดหรือการละตัวตน(ความเป็นตัวฉัน) อย่างสมบูรณ์เพื่อเข้าถึงเป้าหมายของโยคะคือไกวัลย์ และเราก็พอเข้าใจกันแล้วว่าอีศวรของปตัญชลีนั้นไม่ใช่พระเป็นเจ้าและไม่ได้มีตัวตนจึงไม่มีรูปหรือร่างกาย และไม่ได้เป็นทั้งผู้หญิงหรือผู้ชาย ตามหลักความจริงของปุรุษะ(ตัวสำนึกรู้)ในตัวมนุษย์นั้นแยกออกจากประกฤติ(ส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย) แต่การปรากฏขึ้นของสิ่งลวงตาหรือความเข้าใจผิดมาจากการที่ปุรุษะเกี่ยวพันใกล้ชิดกับประกฤติเพราะปุรุษะที่อยู่ในตัวมนุษย์นั้นทำงานผ่านทางจิตตะหรือจิตใจ(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประกฤติ) ทำให้จิตตะหลงผิดคิดว่าเป็นการกระทำของร่างกาย ความหลงผิดหรือภาพลวงตาเช่นนั้นจะไม่มีทางเป็นไปได้สำหรับอีศวรเนื่องจากมันไม่เคยเป็นเจ้าของร่างกายและรวมทั้งไม่ได้เป็นเจ้าของจิตใจซึ่งทำงานผ่านร่างกาย กิเลส ๕ (ในประโยค ๒ : ๓ ถึง ๒ : ๙) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่ออีศวร นั่นจึงตอบคำถามที่ว่าทำไมมันถึงเป็น "กเลศะ-อปรามฤษฏะ" (กิเลสไม่สามารถสร้างผลเสียอันใดต่ออีศวรได้)

ตามกฎแห่งกรรมได้กล่าวไว้ว่า กรรมที่แตกต่างกันย่อมใช้เวลาที่ต่างกันในการดำเนินไปจนสุกงอมและให้ผลกรรม(วิบาก)ออกมา จึงสันนิษฐานได้ว่ากรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ที่ไหนสักแห่งในรูปที่ละเอียดอ่อนบางอย่าง แหล่งที่เก็บสะสมกรรมเหล่านี้เรียกว่า "กรรมาศยะ" และเนื่องจากอีศวรไม่มีทั้งร่างกายและจิตตะ มันจึงไม่อาจสร้างกรรมหรือการกระทำใดๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้นการสุกงอมและให้ผลของกรรมจึงไม่เกิดขึ้นในกรณีของอีศวร 

(อ่านต่อ ๒/๕)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431949เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2011 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท