จากผู้เข้าร่วมสัมมนากลายเป็นวิทยากรกระบวนการ


จากที่ฟังท่านอธิบดีฯ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในช่วงต่อไป ค่อนข้างชัดเจนว่าเขาจะ focus ตรงไหน ท่านย้ำว่าเราต้องแยกแยะงานให้ชัดเจนว่าอะไรเป็นงานหลัก อะไรเป็นงานรอง เพราะเรามีงานเยอะมาก ท่านต้องการเห็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแต่ละคนวิเคราะห์งานหลักของตนเอง และทำเป็น PSA (Public Service Agreement) ให้ชัดเจน

วันที่ 31 กรกฎาคม 2549  ได้เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร โรงแรมโกลเด้นดรากอน .นนทบุรี  ตอนแรกที่เดินทางไปก็คิดว่าตัวเองคือผู้ร่วมสัมมนาคนหนึ่ง แต่พอลงทะเบียนผู้จัด (กองแผนงาน) บอกว่า จือกับสำราญ ช่วยในการจัดกระบวนการหน่อย อย่างไรก็ตกกระไดพลอยโจนแล้ว ได้ก็ได้  ก็ขอเล่าถึงการสัมมนาให้ฟังพอสรุป ดังนี้    

        การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับพื้นที่ (จังหวัด  อำเภอ ตำบล) ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในช่วงต่อไปที่กรมฯต้องรับผิดชอบงานหลักที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน และอาสาสมัครเกษตรกร

         บุคคลเป้าหมาย มาจากตัวแทนของ 5จังหวัด คือ ชลบุรี นนทบุรี  สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา  และ กทม.         

         กระบวนการสัมมนา    

        เริ่มด้วยการให้ตัวแทนทั้ง 5 จังหวัดในระดับพื้นที่ (เกษตรตำบล) เล่าประสบการณ์ในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรคนละ 10 นาที ทราบว่าได้มีการสื่อถึงจังหวัดให้ช่วยสะท้อนถึงปัญหาในการปฏิบัติงาน เพราะผู้บริหาร (อธิบดี รองฯเกรียงไกร รองฯไพโรจน์ และ ผอ. กอง/สำนัก) มานั่งรับฟังด้วยตนเอง  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ทุกคนได้ระบายความอึดอัด อัดอั้นตันใจในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่เบี้ยเลี้ยง/ค่าน้ำมันรถยนต์/วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการปฏิบัติงานไม่พร้อม เจ้าหน้าที่ 1 คน รับผิดชอบหลายตำบล ปริมาณงานที่มีมากจนทำไม่ทัน ฯลฯ       

         หลัง coffee brak ท่านอธิบดีฯ ทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ ซึ่งนั่งฟังอยู่ตั้งแต่ต้น ได้ให้แนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมการเกตษรแก้ผู้เข้าร่วมสัมมนาพอสรุปได้ว่า      

         ท่านจับประเด็นจากการนำเสนอของทั้ง 5 จังหวัด รู้ว่า ปัญหาอยู่ที่ 4 M คือ      

 Man         - งานมาก เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบงานหลายตำบล      

 Money     - เบี้ยเลี้ยง/ค่าน้ำมันไม่พอ    

 Material  - วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เช่น หมึกพิมพ์ สื่อต่าง ไม่พร้อม      

 Machine - รถยนต์ computer ไม่พร้อม

ดังนั้น   ต้องเอา M ตัวที่ 5 คือ Management เข้ามาช่วยเพื่อให้งานของเราบรรลุตามภารกิจ โดยเฉพาะงานหลัก 3 เรื่อง ที่กล่าวไว้ข้างต้นคือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 มิย.49 ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นใน 70,000 หมู่บ้าน ส่วนอาสาสมัครเกษตรเป็นไปตามระเบียบกระทรวงเกษตรฯที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรในระดับพื้นที่ตำบลละ 14 คน ทำหน้าที่ในการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ตัวเอง ซึ่งจะช่วยงานเจ้าหน้าที่ได้มาก จากเดิมที่แต่ละกรมฯในสังกัดกระทรวงเกษตรฯมีเกษตรกรอาสาในสังกัดของตัวเอง เช่น หมอดินอาสา ปศุสัตว์อาสา เป็นต้น ก็จะมีความเป็นเอกภาพมากขึ้นภายใต้ร่มเกษตรกรอาสาของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบงานนี้ในระดับพื้นที่ ส่วนวิสาหกิจชุมชนเป็นไปตาม ...วิสาหกิจชุมชนทีมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นสำนักงานเลขานุการ ต้องพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้     

         จากที่ฟังท่านอธิบดีฯ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในช่วงต่อไป  ค่อนข้างชัดเจนว่าเขาจะ focus ตรงไหน ท่านย้ำว่าเราต้องแยกแยะงานให้ชัดเจนว่าอะไรเป็นงานหลัก อะไรเป็นงานรอง เพราะเรามีงานเยอะมาก ท่านต้องการเห็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแต่ละคนวิเคราะห์งานหลักของตนเอง และทำเป็น PSA (Public Service Agreement) ให้ชัดเจน  

          ในช่วงบ่าย ผอ.วิทยา อธิปอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการวิสาหกิจชุมชน และ ผอ.สุขสันต์ มุกดาสนิท จากสำนักพัฒนาเกษตรกร ช่วยมาเติมเต็มข้อมูลให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจเรื่องทั้ง 3 เรื่องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น       

         หลังจากรับทราบโยบายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วก็ได้มีการแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับตำบลออกเป็น 5 กลุ่มรายจังหวัด เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ 1 กลุ่ม  เจ้าหน้าที่ระดับจัหวัด  1 กลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจทั้ง 3 เรื่อง ให้ชัดเจน โดยมีโจทย์ให้แต่ละกลุ่มทำงานคือ จากประสบการณ์ของแต่ละคนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในช่วงต้นของการสัมมนา ให้กลุ่มช่วยกันคิดว่าท่านต้องการเห็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน มีหน้าตาเป็นอย่างไร โดยให้คิดเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่อง ขับเคลื่อนไปด้วยกัน (โดยโจทย์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจในแนวทางเดียวกันก่อน) ซึ่งในช่วงเที่ยง ผมและคุณจือ ได้ประชุมร่วมกับกองแผนงานว่าเราจะออกแบบกระบวนการโดยในช่วงแรกต้องการสร้างความเข้าใจร่วมก่อน หลังจากนั้นในวันที่ 2 ค่อยมาให้ทุกคนคิดกระบวนการว่าถ้าต้องการเห็นการดำเนินงานตามข้างต้นจะมีแนวทางในการดำเนินงาน (ขั้นตอน/วิธีการ) อย่างไร จึงทำให้งานบรรลุผลได้       

         วันนี้ ผลจาการทำงานกลุ่มย่อย ได้ดำเนินการสรุปให้เห็นภาพรวมโดยใช้เทคนิค Mind Mapping เพื่อให้ทุกคนได้เห็นข้อสรุปร่วมและไปทำงานต่อในวันต่อไป ซึ่งผมก็จะต้องทิ้งให้คุณจือ ช่วยจัดดำเนินการกระบวนการสัมมนาต่อ เพราะผมได้นัดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (คุณจำลอง พุฒซ้อน) ไปสกัดความรู้การผลิตและใช้น้ำส้มควันไม้ (Wood vinegar) ของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอภาชี ในวันที่ 1 สิงหาคม  2549ซึ่งได้นัดกันมานานแล้ว

หมายเลขบันทึก: 43159เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

ผมว่าถูกต้องแล้วนะครับที่เริ่มต้นนำกระบวนการแบบตกกระไดพลอยโจน ผมว่าหลายคนรวมทั้งตัวผมเองก็เป็นอย่างนี้ ตกกระไดหลายๆครั้ง ก็จะทำให้ขึ้นลงกระไดชำนาญไปเองแหละครับ มีบันทึกแบบนี้มาฝากครับ และผมเองก็เพิ่งจะทราบว่าคุณราญส่งเสริมเป็นคนใต้ จากการพูดคุยโทรศัพท์เมื่อบ่าย 4 โมงวันที่ 10 ส.ค.49 บอกนิดหนึ่งก็ดีนะครับว่าอยู่จังหวัดไหนครับ

ขอชมเชย หากเอาสามเหลี่ยมอีกรูปมาอธิบาย จะทำให้เข้าใจได้ดีกว่านี้
นายสำราญ สาราบรรณ์

ต้องขออภัยทุกท่านครับ  ช่วงนี้งานยุ่งมากครับและอยู่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่จึงไม่ได้เข้ามาดูใน blog ตัวเองเลย  ต้องบอกครูนงว่าผมคนจังหวัดตรัง  แล้วเจอกันวันที่12-13 กันยายน 2549 นะครับ

 

นายสำราญ สาราบรรณ์
ขอขอบพระคุณท่านรองฯไพโรจน์  ครับที่เข้ามาให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท