แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสี มาตราส่วน 1 ต่อ 4,000


แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเดิมใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 50,000 และ1 ต่อ 25,000 ซึ่งรายละเอียดที่ปรากฏยังไม่มากพอ และใช้ได้กับงานบางประเภทเท่านั้น

 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินร่วมกับกรมแผนที่ทหารและบริษัทเอกชน จัดทำข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสี มาตราส่วน 1 ต่อ 4,000 ถือเป็นแผนที่ความละเอียดสูง และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถใช้ประโยชน์ด้านการวางแผนแก้ปัญหาของประเทศ อาทิ การจัดการทรัพยากรของชาติ การวางแผนจัดการที่ดิน การแก้ไขปัญหาเอกสารสิทธิในเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกร การจัดการการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ป่า เป็นต้น

แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ทำขึ้นนี้ ยังสามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานราชการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเดิม ที่ใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 50,000 และ1 ต่อ 25,000 ซึ่งรายละเอียดที่ปรากฏยังไม่มากพอ และใช้ได้กับงานบางประเภทเท่านั้น

จากเหตุการณ์อุทกภัยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ กรมพัฒนาที่ดินได้นำภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูงนี้ ไปใช้ร่วมกับภาพถ่ายของกองทัพอากาศ ในการตรวจดูพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอนดิน รวมทั้งใช้สำรวจพื้นที่ที่อาจเกิดแผ่นดินถล่ม เนื่องจากภาพถ่ายทางอากาศที่ทำขึ้นใหม่เมื่อนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเ ตอ ร์ จะได้ภาพ 2 และ 3 มิติ จึงระบุถึงขนาดชั้นดินของพื้นที่นั้นๆ ได้อีกด้วยอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว

ในการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสีดังกล่าว ได้จัดแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ อาทิ งานหมุดหลักฐานภาคพื้นดิน งานขยายจุดบังคับภาพถ่ายทางอากาศ งานจัดทำแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขและงานแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข โดยใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงการทำแผนที่นี้ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเหลือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องถ่ายภาพอีกประมาณ 3,000 ภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการถ่ายภาพและตรวจรับ คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนสิงหาคมนี้

หากต้องการให้ภาพถ่ายทางอากาศทันสมัย อาจต้องบินถ่ายภาพซ้ำทุกๆ 5-6 ปี ทำให้ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ยังถูกกว่าการซื้อภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงราคากว่าพันล้านบาทจาก ต่ างประเทศอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว

สำหรับความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนจากการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายดังกล่าว มาใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย หรือดาวเทียมธีออส ที่จะส่งขึ้นอวกาศในปี 2550 ภาพจากธีออสจะไม่สามารถระบุพิกัดของพื้นที่ได้ตรงกับความต้องการของโครงกา ร อีกทั้งธีออสออกแบบมาสำหรับสำรวจทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ส่วนภาพถ่ายดาวเทียมที่ปรากฏบนเวบไซต์กูเกิลเอิร์ธ เป็นภาพความละเอียดต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างจริงจัง

ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐใช้บริการแผนที่ภาพถ่ายความละเอ ีย ดสูงดังกล่าว ในอัตราค่าบริการ ระวางละ 500 บาท (500 บาท ต่อ 4 ตารางกิโลเมตร) โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง การประปาส่วนภูมิภาค การเคหะแห่งชาติ ได้ยื่นเรื่องขอใช้บริการภาพถ่ายดังกล่าวแล้ว <p>————————————————————-</p> นอกจากนี้การจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสี ดังกล่าวนี้ ยังได้ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลโดย 4 หน่วยงานที่สำคัญ กล่าวคือ 1.งานหมุดหลักฐานภาคพื้นดิน ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจาก กรมแผนที่ทหาร
2.งานขยายจุดบังคับภาพถ่ายทางอากาศ ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3. งานจัดทำแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจาก บริษัท Consultant of Technology
4. งานแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจาก กรมโยธาธิการและผังเมือง
ข้อมูลจำเพาะ โดยการจัดทำข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศสีนี้ ได้ดำเนินการจัดทำในบริเวณที่ราบที่มีความลาดชันไม่เกิน 35 % ให้มีความถูกต้องของตำแหน่งทางราบที่ 1 เมตร หรือดีกว่า และความถูกต้องทางดิ่งที่ 2 เมตร หรือ ดีกว่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (บริเวณที่ราบ หรือ มีประชาชนอยู่อาศัย) <p>ส่วนในบริเวณพื้นที่ลาดชันเกิน 35 % ความถูกต้องของตำแหน่งทางราบที่ 2 เมตร หรือดีกว่า และความถูกต้องทางดิ่งที่ 4 เมตร หรือดีกว่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (บริเวณภูเขาสูงชัน หรือป่าเขา)

http://www.thaigoogleearth.com/index.php?option=com_simpleboard&func=view&catid=17&id=1887#1887</p>

http://www.esrith.com/TnewDetail.cfm?newsID=253
 

</span>

คำสำคัญ (Tags): #แผนที่
หมายเลขบันทึก: 42906เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 02:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แผนที่ตำบลสำพะเนียง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท