การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้ง: จริยธรรมที่ต้องเข้มงวด


ประเด็นจริยธรรมในการวิจัย เพราะประเด็นนี้แหละหากใครละเมิด ผมยากที่จะทำใจยอมรับได้

     วันนี้ (3 ส.ค.49) ผมไปขอตรวจสอบวันลา เพื่อขอลาพักร้อนสัก 4 วัน กับพี่อร งานบุคลากร สสจ.พัทลุง ด้วยน้ำใสใจจริง พี่อรทักทันทีว่าน้องเขาจะยกเลิก ว.16 แล้วนะ ทำ ว.ได้แล้ว หมายถึงการส่งผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนระดับ เนื่องจากผมเป็นระดับ 5 มาอย่างมาราธอน และไม่คิดจะทำ ว. เพื่อขอเลื่อนระดับเลย เรียกว่าชนเพดานมาหลายปีแล้ว อันนี้ผมมีเหตุผลส่วนตัวที่ไม่ขอกล่าวถึง พี่อรบอกว่าผลงานมีกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง กลับไม่ทำส่งเสีย ผมก็ได้แต่นิ่ง ๆ

     ในใจแล้วใช่ว่าผมจะเพิกเฉยต่อความก้าวหน้าตรงนี้ เพียงแต่ใจมันไม่อยากทำในลักษณะที่เป็นอยู่ ผมขอเรียกว่าผมไม่ประทับใจในมาตรฐานการพิจารณา โดยเฉพาะจากงานที่เคยผ่านตา ประมาณว่าลอกเขามาอย่างไร้จริยธรรม กลับผ่านการพิจารณาไปได้ ประมาณนั้น จับได้เห็นว่าใช้คำสั่งใน Ms-word เปลี่ยนจาก “พังงา” “พัทลุง” อำเภอตะกั่วป่า เลยกลายเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพัทลุงไปเลย (ชื่อจังหวัดและสถานที่ สมมติขึ้น)

     หากเป็นผมคงให้ยกเลิกแล้วทำเรื่องใหม่ ไม่ใช่การให้ไปเปลี่ยนให้ถูกต้อง รวมถึงมีประเด็นอื่น ๆ อีกหลาย ๆ ประเด็น ล้วนเป็นประเด็นจริยธรรมในการวิจัย เพราะประเด็นนี้แหละหากใครละเมิด ผมยากที่จะทำใจยอมรับได้

     พี่อรหยิบเอกสารให้ผมดู และบอกแหล่งที่จะให้ไปดาวน์โหลด เป็นหนังสือเวียนของ กพ. ว.10/2548 ซึ่งทาง อกพ.กระทรวงสาธารณสุขให้เริ่มใช้วันที่ 1 ก.ย.49 นี้ แทน ว.16/2538 ซึ่งใช้มา 10 ปีแล้ว เป็นเรื่องการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตําแหน่งประเภททั่วไป) และตําแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ตําแหน่งระดับ 8 ลงมา

     สำหรับรายละเอียดหนังสือเวียนต่าง ๆ ของ กพ. ลองติดตามดูได้จากที่ link ไว้นะครับ ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงนำมาแบ่งปันกันไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 42420เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มีความเห็นในประเด็นของพี่ "ชายขอบ" ดังนี้

  • มาตรฐานการพิจารณาฯ สมควรปรับปรุงให้มีความน่าเชื่อถือและประทับใจ
  • "จริยธรรมทางวิชาการ" เป็นสิ่งที่ผู้ที่ได้ชื่อว่านักวิชาการ สมควรยึดถือเป็นหลักในการทำงาน
  • จริยธรรมทางวิชาการ ควรปลูกฝังตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน
  • คงไม่มีเฉพาะ "อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพัทลุง" เท่านั้นแน่ๆ ผมว่ายังมีอีกมากมาย (นับไม่ถ้วน)
  • ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คำว่า "จริยธรรมทางวิชาการ" จะถูกนำมาใช้ด้วยความเข้าใจจริง
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ครองความเป็นข้าราชการระดับ 5 มาอย่างเหนียวแน่น นานกว่าทศวรรษ จนกลับมาทำงานเมื่อปลายปีที่แล้วทางต้นสังกัด ประมาณขอร้องให้ทำ...โดยอ้างว่าเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่ง ดิฉันก็เลยทำส่งไปหนึ่งเรื่อง ปรากฏว่ามีเสียงสะท้อนออกว่า ผลงานที่ดิฉันนำเสนอไปนั้นน่าจะได้รับแก้ไข ให้ตัดทอนเนื้อหาลง...ด้วยเหตุผลที่ว่า "ทำเยอะเกินไป-เข้มข้นในเนื้อหามากเกินไปกว่าที่คนระดับหกจะทำได้ และควรทำเรื่องง่ายๆ...เหมือนที่คนอื่นทำ(ลอกต่อๆ กันมา)" เมื่อดิฉันได้ยินเช่นนั้น จึงย้อนกลับไปว่าคงไม่แก้ล่ะนะ จะปรับแก้ไขให้ก็ต่อเมื่อว่าผลงานนั้นผิดเนื้อหา และไม่สอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา...หากว่าจะให้แก้ไขเพียงเพราะงานวิชาการที่ศึกษา เป็นการศึกษาที่มาจากการศึกษาวิจัยจริง และไม่ได้ลอกใครมานั้น ดิฉันไม่ทำ...

Dr. Ka-Poom

  • "ทำเยอะเกินไป-เข้มข้นในเนื้อหามากเกินไปกว่าที่คนระดับหกจะทำได้ และควรทำเรื่องง่ายๆ...เหมือนที่คนอื่นทำ(ลอกต่อๆ กันมา)" ใครนะช่างคิดได้ (ไม่ใช่คิดหรอกผมว่า แค่ "นึกเอา" เท่านั้น)
  • การที่เขามองและพูดแบบนั้น เพราะเห็นเขาทำกันมา (ลอกๆ) "คนอื่นก็ทำกันแบบนี้" ไม่เคยคิดใหม่
  • ความเข้มข้นของเนื้อหางานวิจัย เขาวัดกันที่ "ระดับที่จะประเมิน" ไม่ใช่วัดที่ "แนวคิดและองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย" เหรอครับ?
  • ผมเห็นด้วยกับ Dr. Ka-Poom ครับ

อรุณสวัสดิ์คะ "คุณอำนวย"...

ยินดียิ่ง...เจอแนวร่วมอีกคนแล้ว...

หากเราหลายๆ คนลุกขึ้นมาทำ...อย่างจริงๆ...

ค่อยๆ..ทำไปในกลุ่มเล็กๆ...

แล้วขยายวง...ให้กว้างออกไป...

ดิฉันเชื่อว่า...สักวันการเปลี่ยนแปลงนั้น...อาจเกิดขึ้น

  • ด้วยความยินดี และหวังไว้เช่นนั้นครับ เราต้องช่วยกันครับ ทำในกลุ่มที่มีความเห็นไปในทางเดียวกันก่อน ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผมเชื่อเช่นนั้น

คุณ"อำนวย"...

ท่านเจ้าของบันทึกยังไม่ตื่นรับรุ่งอรุณเลยคะ...

แต่ไม่เป็นไรนะคะ...เราชักชวนคนอื่น...อื่น...

มาร่วมด้วยช่วยกัน..

ทำสิ่งที่ถูกต้องและพึงทำ...ทางปัญญา...

ไปก่อน..นะคะ...ก่อนที่คุณชายขอบจะมาร่วมผลัก..ดันกันไปอย่างเข้มแข็งต่อไป

มาขยี้ขี้ตา...อยู่หน้าจอ...คล้าย ๆ คนละมือเดินลงมา
ตื่นกันเร็วจัง กะจะมาเป็นคนแรกนะเนี่ย
ตกลงสองท่านข้างบนเมื่อคืนได้หลับได้นอนกันใหมคะ (หมายถึง ต่างคนต่างนอนนะคะ)

เด็กระดับ 5 ขอคุยบ้างนะ
ประมาณว่าชอบสนับสนุนให้ข้าราชการทำผลงานเพื่อปรับระดับ ปรับเพื่อความก้าวหน้าทั้งตนเองและส่วนรวม

คนขอลอก...ประเภทมักง่ายสุด ๆ แล้วยังเดินหน้าด้านมาขอลอกแบบไม่เกรงใจ
คนให้ลอก...ก็ให้ลอกแบบเลี่ยงเสียมิได้...ก็เพื่อนอุตส่าห์หน้าด้านมาขอ
คนตรวจ...ประเภทเคยมักง่ายจากการลอกผลงานเพื่อนมาก่อนแล้ว ก็ขอตรวจแบบมักง่ายจะเป็นไรไป

ก็เป็นวัฎจักรครบวงจรของความมักง่ายผลงานทางวิชาการ แล้วจะพัฒนาคน พัฒนาผลงาน พัฒนาระบบให้ดีเลิศได้อย่างไรกัน ก็คิดกันแค่ฉาบฉวย ฉกฉวย ผลงานของผู้อื่นมาดัดแปลง...วางเสนอ...แล้วก็ผ่านกระบวนการพิจารณา...ยิ้มหน้าระรื่นกับความมักง่ายของตนกันทั่วหน้า

 

คุณน้อง "อำนวย"

     ดีใจมากครับ ที่พอตีพิมพ์ ก็มีคนสนับสนุนในแนวคิด สำหรับพี่แล้ว นอกจากสนับสนุนโดยการกระทำด้วยตน ในส่วนของตน คือปฏิเสธการได้มาอย่างไม่สง่างามนั้นเสีย และหากใครมาขอคำปรึกษาเพื่อทำ และคิดจะทำเอง พี่ช่วยถึงขั้นนัดเอง กระตุ้นเอง ไปหาเขาเองก็ได้เพื่อให้เขาทำเองจริง ๆ จนเสร็จ แต่สุดท้ายเขาก็ค่อย ๆ หมดกำลังใจเมื่อมาส่ง จำนวนคนที่คิดจะทำเองก็ลดลงเรื่อย ๆ ง่าย ๆ ด้วยการตัดสินใจ ลอกเขา ปรับนิด ๆ 3-4 วันก็เสร็จ และที่สำคัญผ่านง่าย ๆ ซะด้วย
     แต่คนที่ทำเองจริง ๆ และตั้งใจ ผ่านการพิจารณาจริง ๆ ก็มีเยอะนะครับ น่าเสียดายอีกประการคือ เราไม่เคยเห็นผลงานเหล่านั้นปรากฎออกมาในสังคมเลยครับ ว.10/2548 เขาบังคับให้มีการนำเสนอด้วย ตรงนี้แหละที่ชอบกว่า ว.16/2538 เดิม

Dr.Ka-poom

     ยินดีด้วยอีกท่านนะครับ ที่ยังคงรักษาสถานภาพของความเข้มข้นทางจริยธรรมเอาไว้ให้ ว.10/2548 น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่พี่อรเล่าว่า ยังใหม่ ๆ จะทำยากไหมก็ไม่ทราบ
     ว.10/2548 ต่างจาก ว.16/2538 ตรงที่ ของใหม่นี้หน่วยงานจะประกาศว่าตำแหน่งใครถึงคุณสมบัติและให้มาทำ แทนของเดิมที่เจ้าตัวต้องรับรู้เอาเองและทำเอาเอง ส่วนกระบวนการอื่น ๆ ก็แตกต่างกันอีกในหลาย ๆ ส่วน เช่น ต้องเขียนรายงานอย่างย่อส่งให้คณะกรรมการอ่านก่อน เป็นต้น

อาจารย์น้อง Vij

     ข้อที่ว่า "คนตรวจ" นี่แหละครับ ที่ทำให้ผม อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ว่าแล้วก็เหนื่อย
     คิดว่านะ หากบังคับให้นำเสนอต่อสาธารณะด้วย จะป้องกันการลอกได้ดีทีเดียว อย่างน้อยก็รู้สึกว่ากลัวเขาจับได้ อาย ประมาณนั้น หรืออย่างน้อยก็มีคนหลาย ๆ คนที่ทักท้วงหากลอกกันมา ไม่ทราบเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรครับ

  • เห็นด้วยกับน้องชายขอบครับ
  • แต่เบื่อระบบราชการจังเลย
  • แวะมาให้กำลังใจครับ

อาจารย์พี่ขจิต

     ทำไมเบื่อระบบราชการครับ ผมไม่เบื่อนะ แต่มีใจอยากพัฒนาครับ "การงานแทนในหลวงเพื่อประชาชนของพระองค์"

เห็นด้วยกับแนวคิดคุณ "พี่ชายขอบ" ค่ะ 

ทำให้นึกถึงการสอบป้องกันการเสนอดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา เพราะนอกจากจะมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ แล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจมีส่วนร่วมในการรับฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมเป็นสักขีพยานในการตัดสิน เป็นวิธีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ช่วยให้นักศึกษามีจริยธรรมทางวิชาการได้มากขึ้น ป้องกันการคัดลอก และได้ดุฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพ จบออกมาก็ไม่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ดร.ตัดแปะ"

     "ดร.ตัดแปะ" ฟังแล้วดูดีจัง แต่หากมีจริงก็ตกใจตายเลย (ยิ้ม ๆ) การทำอะไรก็แล้วแต่หากได้เปิดเผยเพื่อให้โปร่งใสตรวจสอบได้ น่าจะป้องกันได้ในหลาย ๆ เรื่องครับ
"..ในใจแล้วใช่ว่าผมจะเพิกเฉยต่อความก้าวหน้าตรงนี้ เพียงแต่ใจมันไม่อยากทำในลักษณะที่เป็นอยู่ ผมขอเรียกว่าผมไม่ประทับใจในมาตรฐานการพิจารณา โดยเฉพาะจากงานที่เคยผ่านตา ประมาณว่าลอกเขามาอย่างไร้จริยธรรม กลับผ่านการพิจารณาไปได้..."
           ทำไมถึงถอดใจผมออกมาเขียนได้ล่ะเนี่ย ? ไม่เชื่อก็ไป อ่านนี่ ดู

อาจารย์พี่ Handy

     ตามไปอ่านแล้วนะครับ ตอนนี้ถามใจตนเองว่า วิธีการใหม่ที่จะปรับเปลี่ยนนี้ จะสู้หรือเฉย ๆ อีกทีต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท