การนำเสนอโปสเตอร์(การประชุมทางวิชาการ)


การศึกษาพัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในธุรกิจสปา
การศึกษาพัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในธุรกิจสปาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยนเรศวร                นำเสนอเรื่องธุรกิจสปาในประเทศไทยว่าได้รับความนิยมและเป็นอุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะการแข่งขันได้ในระดับโลก  ไทยสปานอกจากจะเสนอกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนเสริมสร้างสุขภาพแล้ว ยังมีการให้บริการด้านความงามต่างๆ เช่น การนวดหน้า  นวดตัว  ขัดผิว  ตลอดจนการดูแลผมและเล็บ  รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ  มีการผสมน้ำมันหอมระเหย  หรือสารสกัดจากพืชที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่  และไทยมีความหลากหลายของพันธุ์พืช  น่าจะสามารถมาพัฒนา  นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจสปาได้  ทีมวิจัยจึงทำการศึกษาสถานการณ์  ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  ผลิตภัณฑ์สุขภาพในธุรกิจสปาของประเทศไทย  ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัดจากพืชไทยที่มีคุณภาพ  ประสิทธิภาพ  เพื่อเป็นการสร้างภาพให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตภายในประเทศ และเป็นการส่งเสริมการเป็น  “Spa  Capital  of  Asia”  วัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย-          เพื่อศึกษาสถานการณ์  ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในธุรกิจสปาของประเทศไทย-          เพื่อศึกษาผลกระทบของน้ำมันหอมระเหยจากพืชไทยบางชนิดต่อการตอบสนองของร่างกาย-          เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัดจากพืชไทยเพื่อใช้ในธุรกิจสปาโครงการวิจัยย่อ1.       ธุรกิจสปาในประเทศไทย  :  นิยามและผลิตภัณฑ์ที่ใช้2.       การวิจัยและพัฒนาน้ำมันหอมระเหยมาตรฐานจากสมุนไพรไทย3.       การศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยไทย4.       ผลของน้ำมันหอมระเหยต่อระบบสรีระวิทยาของมนุษย์5.       การใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและยาฆ่าเชื่อแบบธรรมชาติในผลิตภัณฑ์จำพวกสปา6.       การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดตัวจากน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในสปา7.       การพัฒนาผลิตภัณฑ์พอกตัวจากน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในสปา8.       การเตรียมน้ำมันและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำมันมะพร้าวสำหรับธุรกิจสปา9.       การพัฒนาวิถีการสกัดขิงเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับสปา10.    การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลล้างมือผสมสารสกัดขิง11.    การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำขิงเพื่อใช้ในสปา12.    การศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพสมุนไพรไทยกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์สุขภาพในธุรกิจสปานิยามสปาในบริบทของไทย                สปามีความแตกต่างกันตามมุมมองของแต่ละบุคคล  แต่โดยรวมสปามีความสอดคล้องกับการผ่อนคลายและสุขภาพโดยให้น้ำหนักต่างกันแล้วแต่ประเภทของธุรกิจ  เช่น  หากเป็น  destination  spa  จะเน้นในเรื่องสุขภาพในขณะที่  resort  spa  เน้นที่การผ่อนคลาย  ส่วนในมุมมองของการส่งเสริมการส่งออก  สปาควรเน้นหนักไปในด้านการผ่อนคลายมากกว่าการรักษาเพราะมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจน้อยกว่าผลิตภัณฑ์สปาไทย  มีการนำเสนอในรูปแบบตารางและบอกคุณสมบัติของแต่ละผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมาตรฐานน้ำมันหอมระเหยไทย  มีการนำเสนอโดยการใช้ตารางยกตัวอย่างโดยมีเทียบค่าประกอบผลของน้ำมันหอมระเหยต่อระบบประสาท                ผลจากการให้หนูถีบจักสูดดมน้ำมันหอมระเหย  6  ชนิด ได้แก่  น้ำมันไพล,น้ำมันมะกรูด,น้ำมันขิง,น้ำมันขมิ้นชัน,น้ำมันกระชายและน้ำมันแมงลัก  พบว่าน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวออกฤทธิ์สงบประสาท  แบบ  non  dose  response  และฤทธิ์คลายความกังวลผลของน้ำมันหอมระเหยต่อการเต้นของหัวใจ  นำเสนอให้เห็นในรูปกราฟเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของน้ำมันหอมระเหย                 น้ำมันหอมระเหย  3  ชนิดได้แก่  กานพลู  ตะไคร้และโหระพามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ดีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหย  นำเสนอในรูปของตารางเทียบค่าน้ำมันนวดตัวที่เตรียมจากน้ำมันมะพร้าว  นำเสนอในรูปของตารางเทียบค่าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ1.       เจลนวดตัวผสมเม็ดบิดที่กักเก็บน้ำมันหอมระเหยจากขิง2.       โคลนพอกตัวและหน้าผสมไมโครพาติเคิลที่มีสารสกัดขิง3.       เจลล้างมือผสมสารสกัดขิง4.       เครื่องดื่มน้ำขิง สรุป                ธุรกิจสปาไทยเน้นด้านการผ่อนคลายสุขภาพ  มีการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและน้ำมันหอมระเหยร่วมกับการนวดน้ำมันหอมระเหยจากพืชไทยหลายชนิดมีฤทธิ์ในการผ่อนคลาย  ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  และฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย  คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัดจากพืชไทยเพื่อใช้ในธุรกิจสปากิตติกรรมประกาศ 

โครงการนี้ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ปีงบประมาณ  2548 

การนำเสนอโปสเตอร์งานวิจัยนี้มีรูปภาพประกอบที่เหมาะสม  ไม่แน่นเกินไปและทำให้ผู้สนใจได้เห็นตัวผลิตภัณฑ์  มีการใช้แผนภูมิ  และกราฟเปรียบเทียบทำให้เห็นได้ชัดเจน  มีการให้สีสันของโปสเตอร์ที่สบายตาและน่าสนใจ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 42418เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากบอกว่าเป็นบทความที่ดีมากๆๆๆๆเลยค่ะ

พอดีตอนนี้กำลังจะทำวิจัย เรื่องผลิตภัณฑ์สปาเพื่อการส่งออก เป็นมุมมองด้านการตลาดอยู่พอดี ขอบคุณมากๆๆนะคะ

นำเปลือกองุ่นมาแปะหน้า ผิวจาได้เนียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท