สรุปการฟังวิจัย(การประชุมทางวิชาการ)


ทัศนคติและความคาดหวังจากการประเมินการสอนของอาจารย์

ทัศนคติและความคาดหวังจากการประเมินการสอนของอาจารย์       คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(โดย  นางวาสนา  เฟื่องฟุ้ง) 

บทคัดย่อ                ผลการศึกษาสรุปได้คือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 พฤติกรรมในการให้ข้อมูลในขณะทำแบบประเมินคือ ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง  เกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน  รูปแบบการประเมินนักศึกษาส่วนใหญ่ชอบการประเมินด้วยกระดาษมากที่สุด  ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อประเด็นการประเมินอาจารย์โดยภาพรวมนั้น  นักศึกษาเห็นควรให้ใช้แบบประเมินการสอนอาจารย์ทั้ง 12 ประเด็น  ซึ่งมีระดับความคิดเห็นต่อประเด็นการประเมินการสอนอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากส่วนความคาดหวังของนักศึกษาจากการประเมินการสอนของอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์พัฒนาการสอน  เฉลี่ยอยู่ในระดับ คาดหวังมากวัตถุประสงค์ของการวิจัย-          ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการจัดประเมินการสอน  ประกอบด้วยแนวทางที่เหมาะสมของการจัดรูปแบบ  ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการประเมินการสอน-          ศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อประเด็นการประเมินการสอนของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์-          ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต้อการประเมินการสอน-          เปรียบเทียบความคาดหวังตามปัจจัยส่วนบุคคลระเบียบวิธีวิจัย                เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถาม  แบ่งเป็น 4 ตอน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for Windows                ตอนที่ 1 และ 2 ใช้สถิติในการวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละแล้วเสนอผลการวิเคราะห์เป็นตาราง                ตอนที่ 3 และ 4  ใช้สถิติในการวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นและความคาดหวังคือการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือการทดสอบเอฟ (f-test)   ผลการวิจัยและอภิปลายผล1.       ปัจจัยส่วนบุคคล2.       ความเห็นเกี่ยวกับการจัดประเมินผลการสอน3.       แนวทางที่เหมาะสมของการจัดรูปแบบ ช่วงเวลาที่เหมาะของการประเมินการสอน4.       ทัศนคติต่อประเด็นการประเมินการสอนของอาจารย์5.       ความหวังของนักศึกษาจากการประเมินการสอน6.       ผลการวิจัยความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในการประเมินการสอนอาจารย์7.       ผลการวิเคราะห์ความคาดหวังของนักศึกษาจากการประเมินการสอนอาจารย์8.       ผลการเปรียบเทียบรายคู่  ความคาดหวังของนักศึกษาต่างชั้นปี  ในการพัฒนาด้านการวางแผนการสอนความคาดหวังของนักศึกษาจากการประเมินการสอนอาจารย์                นักศึกษามีความคาดหวังพัฒนาทักษะการสอน  พัฒนาด้านการวางแผนการสอน  และพัฒนาด้านสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาไม่แตกต่างกัน  จะมีแต่นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่แตกต่างกัน  มีความคาดหวังในการพัฒนาด้านการวางแผนการสอนแตกต่างกันโดยเมื่อเปรียบเทียบความคาดหวัง  เป็นรายคู่ของนักศึกษาต่างชั้นปีพบว่า  นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความคาดหวังสูงกว่าชั้นปีที่ 2 และ 3 ซึ่งอาจเป็นเพราะว่านักศึกษาแต่ละชั้นปีมีการสะสมความรู้  และประสบการณ์ไม่เท่ากัน  ดังนั้นอภิปลายได้ว่านักศึกษาในชั้นปีที่แตกต่างกัน  มีทัศนคติต่อประเด็นประเมินโดยรวมแตกต่างกัน
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 42417เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • น่าสนใจนะครับ
  • เป้นเรื่องที่น่าสนใจมาก
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท