ความสุข อาจเป็นสิ่งที่บางคนต้องวิ่งตามหาเพื่อให้ได้มันมา
ความสุขของแต่ละคนนั้นต่างกัน
บางคนอาจต้องจ่ายเงินเพื่อให้ความสุขนั้นมา
บางคนอาจแค่ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจถึงธรรม ก็มีความสุข
แล้วถ้าเราอยากรู้จักการวิธีสร้างความสุขที่อธิบายทางจิตวิทยาละ....
มีคนหาคำตอบให้เราแล้วครับ
ศาสตรจาย์ มาติน เซลิคแมน(Martin seligman)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซิเวเนีย
ผู้ดูแลโครงการ
ศูนย์ปฏิบัติการจิตวิทยาเชิงบวก(
positive psychology center ได้กล่าวถึงศาสตร์แห่งการสร้างความสุข
บนเวทีการสัมนา
TED ได้อย่างน่าสนใจ(
คลิกที่
linkเพื่อเข้าไปชม video ครับ)
ตลอดชีวิตของท่านที่เป็นนักจิตวิทยา
คอยบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตมานาน 30 ปีได้สังเกตและเก็บข้อมูล
เพื่อเปรียบเทียบว่า คนที่มีความสุขต่างจากคนทั่วไปอย่างไร
เป็นคนรวย มีเงินเยอะ ...... ยังไม่ใช่
คนที่มีรูปร่างหน้าตาดี หล่อ สวย เท่ มีคนมารุมกรี๊ด.....
ก็ยังไม่ใช่
ดร.เซลิแมนบอกว่า คนที่มีความสุข ต่างจากคนทั่วไป
ตรงที่พวกเขามีสัมพันธ์ภาพทางสังคมที่ดีกว่าคนทั่วไป
เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือ เค้าจะเป็นคนชอบเข้าสังคม และสังคมนั้นดีด้วย
แต่ขอบอกก่อนว่า ความสุขในความหมายของ
ดร.เซลิแมนนี้คือความสุขที่จำกัดความว่าเป็นคนที่ร่าเริง อารมย์ดี
มีเรื่องให้หัวเราะได้ตลอดเวลา
ต่างกับความสุขทางใจในแง่พระพุทธศาสนาของเรานะครับ
ท่านได้กล่าวถึง โมเดลของจิตวิทยาเชิงบวก
ที่จะสร้างสุขให้กับคนเราให้มีความสุขขึ้นไปกว่าเดิมอีก
โดยการเก็บข้อมูลจากคนเป็นพันๆ แล้วข้อสรุปดังนี้
- ความสุขขั้นแรก the pleasent life
- ความสุขขั้นที่สอง the good life
- ความสุขขั้นที่สาม the meaningful life
ความสุขขั้นแรกที่เรียกว่า ชีวิตมีสุข(the pleasent
life)
พูดง่ายๆก็คือการที่มีความสุขจากเปลือกนอกหรือสิ่งรอบๆตัวเรา
อาจจะเป็นการดูหนังกับเพื่อน ได้ครอบครองสิ่งที่ตัวเองรัก
แต่ความสุขประเภทนี้จะไม่ยั่งยืน จะมีความสุขแค่ช่วงแรกๆ
ยกตัวอย่างเช่น เราเพิ่งได้ iphone4
มาใช้แรกๆจะมีควาสุขมากที่ได้ใช้หรือครอบครองมัน
สมกับที่เก็ยตังรอคอยวันที่จะได้ใช้มัน แต่พอนานๆไป iphone4
เหรอ...ก็งั้นๆอ่ะ
ความสุขขั้นที่สอง ชีวิตที่ดี(the good life)
คือการที่เราได้ทำอะไรแบบจดจ่ออยู่กับมันได้อย่างไม่เบื่อโดยเหมือน
เวลาที่เราทำสิ่งนี้เหมือนโลกหยุดหมุนเพื่อเรา
อาจจะทำสิ่งที่ชอบแล้วและจดจ่ออยู่กับมันแล้วจะรู้สึกว่าเวลานั้นหมดไปเร็วเหลือเกิน
ไม่ว่าคุณจะทำคนเดียวหรือทำกับคนอื่นร่วมด้วย เช่น
การทำกิจกรรมกับครอบครัวหรือกับคนที่รัก
เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ผ่านไปเร็ว
สุดท้าย ความสุขขั้นที่สาม
ชีวิตที่มีความหมาย(the
meaningful life) ส่วนสุดท้ายนี้อาจจะคลุมเคลือกับส่วนที่สอง
คือการที่ได้ทำสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบแล้วสิ่งนั้นสิ่งผลต่อให้คนรอบๆข้างเราได้มีความสุขไปด้วย
เป็นการเติมเต็มความหมายให้แก่ชีวิต ขอยกตัวอย่าง ของอาจารย์อาบทิพย์
ธีรวงศ์กิจ หรือ
อาจารย์อ้อม-ขิม
ที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบคือการเล่มขิมและสร้างบทเพลงเพราะๆให้คนอื่นได้ฟังด้วย
ตาม page facebook
นี้
สรุปได้ว่าการสร้างสุขแบบยั้งยืนนั้น
คือการที่เราได้ทำอะไรที่เรารักแล้วแบ่งปันให้คนอื่นได้มีความสุขด้วย
เพื่อนๆคนใหนที่อยากมีความสุขก็เริ่มต้นทำในสิ่งที่ตัวเองรักตั้งแต่วันนี้กันนะครับ
ของฝากก่อนจบ คือ
แบบทดสอบเพื่อวัดระดับความสุขของเพื่อนที่มาอ่านบทความนี้
ดร.เซลิคแมน เค้าได้ฝากเวป
www.authentichapiness.org
ไว้
ซึ่งต้องสมัครสมาชิกก่อนค่อยเข้าไปทำแบบทดสอบวัดระดับความสุขกันนะครับ