ผู้คนมากมายที่เราได้พบปะอยู่ทุกวัน บางคนก็นิสัยดี บางคนก็นิสัยไม่ดี บางคนพูดมาก ขี้เหงา โมโหง่าย ชอบความท้าทาย หรือว่าชอบเฮฮากับเพื่อน ฯ เคยสงสัยใหมว่า อะไรที่เป็นตัวกำหนดนิสัยและพฤติกรรมของพวกเขาเหล่านี้...
ย้อนไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ ขณะที่ผมกำลังตัดสินใจเลือกวิชาเรียนนอกภาค สายตาก็มาสะดุดตรงวิชา"จิตวิทยาอุตสหกรรม" ประกอบกับพวกเพื่อนบอกว่า เฮ้ย วิชานี้ง่าย พี่รหัสบอกว่า นั่งดูหนังแล้วก็เขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากหนัง ก็จบแล้ว
หลังจากนั้น ผมก็ได้ไปสัมผัสกับ โลกจิต-วิทยา ถึงแม้มันจะไม่ได้ลงลึกเหมือนพวกหมอหรือจิตแพทย์เรียน แต่ผมก็รู้สึกชอบมันมากๆ วิชานี้ สามารถอธิบาย ต้นเหตุของการกระทำของคนหรือบุคลิกของคนๆนั้นได้ เรียนไปๆก็สนุกดี วิชานี้ทำให้ผมเข้าใจโลกมากขึ้น "เข้าใจนิสัยเพื่อนบางคน และคนเรามันต่างกัน"
หลังจากจบ ก็หาเรื่องราวเกี่ยวกับ เมื่อปีก่อนได้พบกับเวปดีๆเวปหนึ่ง ชื่อ PSYCHOLA มีนักเขียนเก่งๆด้านจิตวิทยามาเขียนบทความ การทดลองทาง PSY เยอะมาก ที่ชอบอ่านที่สุดคือ จิทวิทยาด้านบวกหรือที่เรียกกันว่า positive psychology ผมก็ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากเวปนั้นๆ แต่เสียดาย เวปนั้นไม่มี ผู้สนับสนุน เลยปิดตัวลงไป
ผมจะเข้าไปอ่านอีกที ก็แอบเสียดาย เค้าไม่มี bacup ข้อมูลเก่าให้อ่านบ้างเลยเหรอ....
post นี้ เลย ขอปลุกเจ้าหมีน้อย PSYCHOLA ออกมาอีกรอบ
หนึ่งในสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมพวกเราทุกคน มันคือ จิตใต้สำนึก พวกนักจิตวิทยาชอบเปรียบเทียบ จิตใต้สำนึกนี้ว่าคล้ายกับภูเขาน้ำแข็งก้อนใหญ่ๆก้อนหนึ่ง เราดูเผินๆก้อนน้ำแข็งเล็กๆที่ลอยอยู่เหนือผืนน้ำเย็นเจี๊ยบนี้อาจจะดูเล็กๆ แต่ด้านล่างก้อนน้ำแข็งนี้จะมีขนาดใหญ่มาก เป็นส่วนที่ผมผลต่อการกระทำของคนเราเป็นอย่างมาก
การตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง จะใช้สมองอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือส่วนที่ใช้เหตุผลและอีกส่วนคือส่วนของจิตใต้สำนึก ยกตัวอย่างเช่น ตอนเด็กๆ หลายคนคงเคยได้ขี่จักรยาน ยังจำความรู้สึกนั้นได้ใหม
ตอนแรกที่เราขี่จักรยานครั้งแรก ความยากของมันคือการค่อยๆปั่นและประคองตัวอยู่บนจักรยานคันเล็กนี้ เราจะรู้สึกไม่ค่อยมั่นคง ไม่ปลอดภัย แต่เมื่อเราปั่นจนคล่องแล้วก็จะเกิดทักษะ ทักษะนี้เกิดบนสมองส่วนมีเหตุมีผลที่คอยเก็บรายละเอียดวิธีปั่นจักรยานที่ถูกต้อง(ปั่นยังไงไม่ให้รถล้ม) เจ้าสมองส่วนเหตผลก็จะส่งข้อมูลก้อนนี้คล้ายบะหมี่กึ่งกำเร็จรูปไปให้จิตใต้สำนึกเก็บไว้ พอวันหลังเราจะกลับมาปั่นจักรยานอีกรอบก็ดึงข้อมูลการปั่นจักรยานออกมาใช้ และไม่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากอีกต่อไป