KM0039 : KM&ENNEAGRAM


ไม่ว่าจะเป็น สัตว์สี่ทิศ (หมี กระทิง อินทรี หนู) หรือ DISC หรือนพลักษณ์ โดยส่วนตัวผมแล้วถือว่าดีหมดครับ และอย่าไปคิดว่าจะสับสนหรือไม่ เพราะหากมองไปยังจุดหมายปลายทางก็คือการทำให้เรารู้จักตนเองและคนอื่นมากขึ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองอยู่ ๒ เรื่อง เรื่องแรกได้มีโอกาสไปร่วมนำ KM ไปแทรกในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศหรือ IT ส่วนเรื่องที่สองผมมีโอกาสได้เข้าอบรมนพลักษณ์หรือ Enneagram ทั้งสองอย่างให้ประสบการณ์ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกันสำหรับผม

เรื่องแรกการนำกระบวนการ KM ซึ่งผมสอดแทรกเรื่อง LO หรือ Learning Organization เข้าไปด้วย ดูไปแล้วก็ไม่ค่อยถูกจริตกับคน IT ซักเท่าไหร่ ผมและทีมงานก็พยายามแย่งเวลามาจากผู้จัดจนได้บ้าง ทั้งนี้อยากพยายามทำให้เห็นว่า การเรียนการสอนให้ดีอย่างไรก้ไม่ประสบผลสำเร็จ หากไม่สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ หรือนิสัย (Habit) แห่งการเรียนรู้เข้าไปด้วย คน IT มีลักษณะที่คิดแบบตรรกะ (Logic) เมื่ออยู่ด้วยกันในกลุ่ม แต่ชอบจินตนาการเมื่ออยู่คนเดียว เรียกว่ามีความเป็นศิลปินพอสมควร ดังนั้นเราจึงเห็นกันบ่อยๆ ว่า คนทั่วไปมักสื่อสารกับคน IT ไม่รู้เรื่อง (อาจรวมทั้งผมด้วย)  สิ่งหนึ่งที่ผมเข้านั่งฟังการประชุมอยู่ด้วยและรู้สึกเสียดาย คือ คน IT มี Tracit Knowledge เยอะมาก แต่อาจขาดเรื่องการเปลี่ยนเป็น Explicit Knowledge จากการสังเกตุอาจสรุปได้ว่าคน IT ไม่ค่อยชอบเขียน (ยกเว้นเขียนโปรแกรม แต่ถ้าจะให้เขียนคู่มือล่ะก็.....) ผมเองพยายามเสนอให้มีการแปลง Tracit ให้เป็น Explicit โดยชี้ให้เห็นว่าหากทำได้ อาจเหนื่อยน้อยลง จะทำกันได้หรือไม่ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ อีกเรื่องคือการจัดประชุมลักษณะอบรมหรือลักษณะเป็นการเรียนการสอนก็อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องดีเพราะเป็นการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้วยกัน แต่อาจไม่เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้เท่าที่ควร อาจต้องใช้กระบวนการเรียนรู้อื่นๆ เข้าร่วมด้วย เช่น Play and Learn คือ เล่นไปด้วยเรียนไปด้วย ทำอย่างไร ไปคิดต่อกันเองครับ

เรื่องที่สอง การอบรมนพลักษณ์ หรือ Enneagram ผมไม่ขอกล่าวถึงราละเอียดนะครับ แต่การอบรมหรือเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องดีครับ จริงๆ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์สี่ทิศ (หมี กระทิง อินทรี หนู) หรือ DISC หรือนพลักษณ์ โดยส่วนตัวผมแล้วถือว่าดีหมดครับ และอย่าไปคิดว่าจะสับสนหรือไม่ เพราะหากมองไปยังจุดหมายปลายทางก็คือการทำให้เรารู้จักตนเองและคนอื่นมากขึ้น จะจริงหรือไม่จริงไม่สำคัญที่สำคัญมันชะลอ เสียงแห่งการตัดสิน (Voice of Judgement :VOJ) ที่อยู่ในใจของเราลงได้ ไม่รีบไปตัดสินใครคนใดคนหนึ่ง ประโยชน์มีมากหลายนำมาใช้ทั้งในครอบครัว ชุมชน องค์กร หากทุกคนเข้าใจตนเองและคนอื่นมากขึ้น (ส่วนใหญ่เข้าใจตัวเองน้อย แต่สนใจเรื่องคนอื่นมาก) ความขัดแย้งก็น่าจะลดลง ความสัมพันธ์ที่ดีและความสุขก็ย่อมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานก่อนจะทำอะไรให้สำเร็จ ผมชอบอาจารย์ที่มาอบรมที่บอกว่าเรื่องเหล่านี้คือการให้ความสนใจ Being มากกว่า Doing (คืออะไรค่อยว่ารายละเอียดคราวหน้า)

สรุป สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้พัฒนาตัวเองไปอย่างน้อยก็สองเรื่อง เรื่องแรกคือ พัฒนาการเป็นวิทยากรหรือกระบวนกร เพราะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ปัญหาใหม่ทุกครั้งที่ไปมา (รวมทั้งกิจกรรมใหม่ๆ ที่ต้องคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า) เรื่องที่สองคือรู้จักแนวคิดการดูตนเองและผู้อื่นใหม่ๆ ที่น่าจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามทั้งสองเรื่องนี้น่าจะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เป็นสัปดาห์ที่คุ้มค่าสำหรับผมครับ

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 423419เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับพี่คิดคม

อันนี้ต้องยอมรับว่าจริงทีเดียว เพราะผมก็เป็นคนหนึ่งที่ทำงานไอที แต่ไม่ชอบการทำบันทึก  แต่ก็มีวิธีแก้คือการใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องอัดเสียงหรือเครื่องบันทึกภาพแทน แล้วก็ไปตัดต่อลำดับเรื่องราวใหม่ครับ  เพราะ เราลำดับเรื่องราวไม่เก่ง เล่าไปมาอาจจะจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูก อาจจะต้องขอผู้ช่วย ^_^

สวัสดีครับคุณ apicha แบบไหนก็ได้ครับ หากทำแล้วคนอื่นสามารถเข้าถึงความรู้เราได้ ส่วนตัวผมคิดว่าการเขียนมันจะได้ทักษะอะไรหลายอย่างครับ เช่น การค้นคว้า การรวบรวม การคิดเป็นระบบมากขึ้น หากอยากเขียนให้เก่งมี 2 อย่างครับ คือ อ่านให้มากและเขียนให้บ่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท