น้าภา


การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด (2)
ลักษณะของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดด้านต่าง ๆ 1. ผู้เรียนที่มีความคิดไตร่ตรอง จะมีความสามารถ ดังนี้ # เชื่อมโยงความคิดที่เคยมีมาหรือกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันกับประสบการณ์และสิ่งที่คาดหวัง # ตั้งคำถามและถามตัวเองได้ # ประเมินตนเองและประเมินสถานการณ์ได้ 2. ผู้เรียนที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถดังนี้ # ตรวจสอบ # ตั้งสมมติฐาน # ทำให้กระจ่าง # ทำนาย # จัดระบบ # ประเมิน # ให้เหตุผล # สังเคราะห์ # วิเคราะห์ 3. ผู้เรียนที่มีการคิดสร้างสรรค์ จะมีความสามารถดังนี้ # สร้างแนวคิดใหม่ # แสวงหาและพิจารณาทางเลือกอย่างหลากหลาย # พลิกแพลงปรับเข้าหาแนวทาง # สำรวจทางเลือกที่เหมาะสม ************************************************ ยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการคิด ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียน ได้แก่ 1.สอนด้วยการต้งคำถาม เช่น เทคนิคการตั้งคำถามโดยใช้หมวก 6 ใบ ของ Edward de Bono หรือใช้กรอบการถามของ Benjamin Bloom หรือใช้คำถามเดียวและคำถามแบบชุด 2.สอนโดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) ฝึกการวิเคราะห์และสังเคราะห์ 3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 4.บันทึกการเรียนรู้ บันทึกข้อสงสัย ความรู้สึกส่วนตัวความคิดเห็นที่เปลี่ยนไป 5.การถามตนเองในการวางแผนจัดระเบียบคิดไตร่ตรองในเรื่องการเรียนรู้ของตน 6.การประเมินตนเองเพื่อประเมินความคิดและความรู้สึกของตน ************************************************* แนวการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด แนวทางการฝึกกระบวนการทางปัญญาซึ่งการฝึกพื้นฐานมีหลายตัวที่เป็นการฝึกให้คิดวิเคราะห์ เช่น การสังเกต การบันทึก การฟัง การต้งสมมติฐานและการตั้งคำถามซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ดังนี้ 1.ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เห็น หรือสิ่งแวดล้อม..(ทำให้เกิดปัญญา) 2.ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก วาดภาพหรือข้อความ..(พัฒนาปัญญา) 3.ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม ..(พัฒนาปัญญาของผู้นำเสนอและผู้ฟัง) 4.ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้นโบราณเรียกว่าเป็นพหูสูต 5.ฝึกปุจฉา-วิสัชนา มีการนำเสนอและฟังแล้ว ฝึกถาม-ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้น ๆ 6.ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้วต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดขึ้นจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น 7.ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วควรหาคำตอบจากหนังสือ ตำรา อินเตอร์เน็ต คุยกับคนเฒ่าคนแก่และแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบจากคำถามที่สำคัญจะทำให้สนุกและทำให้ได้ความรู้มากต่างจากการท่องหนังสือโดยไม่มีคำถาม 8.การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบ 9.เชื่อมโยงบูรณาการ ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ เพราะหลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้ 10.ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ เป็นการเรียบเรียงความคิดให้ปราณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐานที่มีที่อ้างอิงของความรู้ให้ถ้วนถี่ การเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญาของตนเองอย่างสำคัญและเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป ************************************************ รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รูปแบบการเรียนการสอน เป็นสภาพลักษณะของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่าง ๆ โดยประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบหรือยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์มีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียนและการเตรียมกลุ่มร่วมมือในการเรียนโดยคละความสามารถผู้เรียนตามสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นจัดกลุ่มนักเรียน ครูผู้สอนกำหนดประเด็นในการศึกษาค้นคว้าและแจ้งจุดประสงค์ในการเรียนรู้และข้อตกลงของการเรียนรู้แบบร่วมมือ วางแผนการศึกษาค้นคว้าตามที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มวางแผนการศึกษาค้นคว้าตามที่ได้รับมอบมายด้วยตนเองโดยศึกษาจากสภาพแวดล้อมจริงและเอกสารความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม สมาชิกกลุ่มปฏิบัติตามที่วางไว้เสร็จแล้ว สมาชิกในกลุ่มเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาต่อกลุ่ม ขั้นที่ 4 ขั้นร่วมกันกลั่นกรองงาน สมาชิกกลุ่มช่วยสะท้อนข้อมูลโดยการสนทนาซักถาม แสดงความคิดเห็น สรุปเป็นข้อมูลความรู้ของกลุ่ม ขั้นที่ 5 ขั้นตรวจผลงานและความเข้าใจ แต่ละกลุ่มรายงานผลการเรียนรู้ต่อ ชั้นเรียน สมาชิกในชั้นร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปบทเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ ครูและนักเรียนร่วมสนทนาผลการเรียนรู้โดยครูใช้คำถามตรวจสอบความรู้ความเข้าใจให้นักเรียนสะท้อนผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการตอบคำถาม การทำแบบทดสอบระหว่างเรียน รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเขียน 1) ขั้นนำ เป็นการใช้กิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจและพร้อมที่จะเรียนและทบทวนความรู้เดิม โดยอาจเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้คำถาม การใช้รูปภาพ การสร้างสถานการณ์ ฝึกให้นักเรียนคิด เป็นต้น 2) ขั้นสอน - ขั้นก่อนสอน เป็นการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลในการเขียนโดยใช้กิจกรรม การเรียนการสอนสังคมศึกษา เช่น การศึกษาค้นคว้า จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การศึกษารายกรณีตัวอย่าง การอภิปราย เป็นต้น แล้วร่วมกันกำหนดเรื่องที่เขียน - ขั้นเขียนร่าง เป็นการลงมือเขียนโดยครูใช้คำถามนำให้นักเรียนคิดถึงจุดม่งหมายในการเขียน ขั้นนี้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และสามารถเขียนได้มากว่า 1 ครั้ง ไม่เน้นที่ความถูกต้องของการสะกดคำและหลักภาษา - ขั้นเขียนใหม่ เป็นขั้นแก้ไขการใช้ภาษา การจัดระบบเรียบเรียงข้อมูลให้ชัดเจนแล้วให้นักเรียนนำเสนอผลงานโดยการอ่านให้เพื่อนฟังหรือนำผลงานไปติดไว้ที่กระดาน - ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้จากการเรียน 3) ขั้นวัดผลและประเมินผล กิจกรรมที่ใช้ เช่น การทดสอบข้อเขียน การสังเกต การตรวจผลงานภาคปฏิบัติ สรุป รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์มีความสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอน การที่นักเรียนจะเกิดการคิดวิเคราะห์ได้นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเรียนการสอน ดังนั้นในการเลือกใช้เลือกใช้รูปแบบการเรียนการสอนครูจะต้องนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ให้เหมาะสมกับระดับและวัยของนักเรียน เพราะนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีโอกาสเรียนในแบบและวิธีการที่เหมาะสมกับระดับและวัยของนักเรียน ถ้าครูเลือกใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ถูกต้องเหมาะสมกับนักเรียน นักเรียนก็จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นและบรรลุตามจุดม่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ได้ไม่ยากเลยจริงมั้ยค่ะ ศน.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 41563เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2006 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท