จะบังคับจิตไม่ให้คิดเรื่องอะไรได้หรือไม่


จิตนั้น ประภัสสร แต่เพราะอุปกิเลสจรมาจึงหมองไป

เพราะจิต มีหน้าที่คิด การที่เราจะบังคับหรือควบคุมจิต ไม่ให้คิดเรื่องราวอะไรไปตามแต่ตัณหา ทิฏฐิ มานะ จะพาไปนั้น เป็นเรื่องยากที่จะทำได้ค่ะ ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้

" คัมภีร์รุ่นอรรถกถาจึงนิยมแสดงความหมายของอนัตตาว่า "ชื่อว่าอนัตตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ (อวสวตฺตนฏเฐน หรือ อวสวตฺตนโต = เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ) และอธิบายในทำนองว่า ไม่มีใครมีอำนาจบังคับ (ตามใจปรารถนาโดยไม่ทำตามเหตุปัจจัย)"

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ หน้า 70/18

ความคิด ทำให้จิตเสียความประภัสสร แต่อย่างไรก็ดี เราสร้างเหตุปัจจัย ให้จิตดำรงอยู่ในสภาพเดิม จนดูคล้ายๆกับว่าเราสามารถบังคับจิตให้คิด หรือไม่คิดเรื่องอะไรได้ค่ะ (เมื่อมีปัจจัยให้จิตสงบ จึงคิด หรือไม่คิดอะไรตามที่เราต้องการเท่านั้น ดังเช่นถ้าเราทุกข์ด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าจะบังคับไม่ให้คิดถึงเรื่องที่ทำให้ทุกข์ จะทำไม่ได้ แต่ถ้าหาเหตุผลจนรู้เท่าทันความเป็นจริงของเรื่องนั้น จนวางใจเป็นกลางกับเรื่องนั้นๆได้ ก็จะไม่หยิบเรื่องเรื่องนั้นมาคิดอย่างเป็นทุกข์อีกต่อไป)

นั่นคือการดำเนินชีวิตด้วยมรรคมีองค์ 8

ดังเช่น

1 มีสัมมาทิฏฐิ เห็นตรงตามธรรม ว่าธรรมทั้งปวงเกิด ดับ ตลอดเวลา ดังนั้น ความคิดที่ไม่ดี ไม่ใช่จะมีในจิตตลอดเวลา (เช่น บางท่านคิดว่ามีความคิดไม่ดีที่จะต้องกำจัดให้หมดไป การคิดยึดมั่นว่ามีเรื่องให้ต้องกำจัด เท่ากับการยอมรับถึงการมีตัวตนของสิ่งที่ต้องกำจัด) เพียงแต่จรมาจนทำให้จิตมัวหมองไป

เมื่อความคิดเกิด ดับ ตลอดเวลา ความคิด หรือการสังขารนี้จึงสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขไปตามปัจจัยได้

2มีสัมมาสังกัปปะ ตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น (ความคิดที่ไม่ดี ก็ทำให้ตนทุกข์ได้) จึงดำเนินชีวิตด้วยมรรคมีองค์ 8 อย่างกลมกลืน

3 มีศีล (สัมมาวาจา,สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ) เพื่อให้ชีวิตเป็นไปอย่างปรกติ เรียบร้อย เพื่อให้จิตสามารถเป็นสมาธิได้ง่าย

4 มีสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ คือเพียรลดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว และเพียรป้องกันอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ เพียรสร้างกุศลธรรมให้เกิดขึ้นและเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว) เพียรลดอกุศลธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดความคิดไปในทางอกุศล เช่น มีอินทรีย์สังวร หลีกเลี่ยงการกระทบกับสิ่งเร้า หรือ ลดการแส่ส่ายอายตนะ ไปกระทบกับสิ่งเร้า เพื่อลดโอกาสจิตในการปรุงแต่งจนเกิดความเพลิน จนพร่ำสรรเสริญ จนเมาหมก จนยึดมั่น ในเรื่องที่ไม่สมควรนั้นๆ จนยากที่จะควบคุม เป็นต้น

5 มีสัมมาสติ คือสติปัฏฐาน 4 ควรฝึกสติปัฏฐาน 4 ทั้งในทุกอิริยาบท และในอิริยาบทนั่ง (กัมมัฏฐาน) ตามแนวอานาปาสติสูตร

การฝึกในทุกอิริยาบท เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ คือการรู้ชัด ทั้งอิริยาบท และทั้งธรรมที่ประกอบกับจิต ส่วนการฝึกในอิริยาบทนั่งซึ่งมีทั้งหมด 16 ขั้นนั้น ควรฝึกให้เป็นประจำเพื่อให้บรรลุการฝึกในขั้นที่สุงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพของจิต

6มีสัมมาสมาธิ มีความเพียรในการฝึกสมาธิจนบรรลุฌาน เนื่องจากจิตที่เป็นสมาธิ จะรู้เห็นได้ตามที่เป็นจริง ดังพุทธพจน์ในสมาธิสูตรนี้

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง

รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง

ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ

..................."

ซึ่งสมาธิในในสัมมาสมาธิมุ่งถึงฌาน 4

ฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา

ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน

ผู้มีทั้งฌานและทั้งปัญญานั่นแล

จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

บางส่วนจาก สัมพหุลภิกขุวัตถุ สุตตันต. 17

และเมื่อบรรลุฌานแล้ว พึงฝึกสติปัฏฐานในกัมมัฏฐานตามที่ปรากฏในอานาปานสติสูตรต่อไป เพื่อเพิ่มความสามารถของจิต

นั่นคือ เมื่อฝึกถึงขั้น 4 ของฐานกาย บรรลุปฐมฌาน และฝึกอย่างสม่ำเสมอ จนมีความชำนาญ (วสี) ทั้งในการเข้าฌาน ดำรงอยู่ในฌาน และออกจากฌาน ก็จะสามารถ เพิ่มปัจจัยให้จิตเป็นไปในทางสงบได้ระดับหนึ่ง

เมื่อฝึกถึงขั้น 4 ของฐานเวทนา (หรือขั้นที่ 8 ของทั้งหมด) ก็จะรู้จักเวทนาต่างๆมากขึ้น พิจารณาจนเห็นคุณ โทษของเวทนาต่างๆ จนหาทางออกจากเวทนานั้นๆลงได้

เมื่อฝึกถึงขั้นที่ 4 ของฐานจิต (หรือขั้น 12 ของทั้งหมด) ก็จะรู้ได้ว่า จิตใดมีเหตุมาจากธรรมhttp://gotoknow.org/blog/nadrda/291187ใด จึงปลดเปลื้องจิตจากอารมณ์นั้นๆ

เมื่อฝึกถึงฐานธรรม (คนทั่วไปจะฝึกได้ถึงประมาณขั้น 14) จิตก็จะเริ่มเป็นกลางกับธรรมต่างๆ เพราะเห็นเหตุปัจจัยให้เกิด เห็นอริยสัจ 4 เป็นต้น

เมื่อวางใจเป็นกลางได้ ก็ไม่นำเรื่องราวที่วางใจเป็นกลางไปแล้วนั้นขึ้นมาคิด จิตจึงไม่ปักลงไปในเรื่องนั้นๆ จึงเป็นการลดทอน ความเคยชิน ที่จะ วิตก วิจาร ในเรื่องนั้นๆ

แล้วองค์มรรค จะหมุนวน สนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เพราะมีสติจึงมีสัมปชัญญะ จึงรู้ธรรมต่างๆที่เกิดประกอบกับจิตอย่างชัดเจน จึงเกิดสมาธิ หรือเพราะฝึกสมาธิ จิตจึงมีศักยภาพมากขึ้น จึงรู้ชัดธรรมต่างๆที่ประกอบกับจิตได้ดีขึ้น ดังนี้เป็นต้น

การฝึกสติปัฏฐานในกัมมัฏฐานและในทุกอิริยาบทจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ชีวิตประจำวันในการกำจัดความคิดที่ไม่ดีคือ (1) เมื่อเกิดความเคยชินที่จะคิด จิตหยั่งลงในอารมณ์ใด ในยามที่เผชิญเวทนาเฉพะหน้า การที่เคยฝึกรู้จักเวทนาและ ธรรมใดๆมาแล้วในกัมมัฏฐาน (คือฐานเวทนา ฐานจิต และฐานธรรม) ประกอบกับมีสมาธิอยู่ จิตจึงมีความไวพอที่จะจับ หรือคว้าเวทนา หรือธรรมใดๆไว้ได้ทันก่อนที่ธรรมนั้นๆจะดับ หรือดับไปไม่นาน (2) การฝึกจิตให้จดจ่อกับลมหายใจในกัมมัฏฐาน (คือฐานกาย) ทำให้สามารถหยุดความคิดได้ทันท่วงที เพราะจิตเปลี่ยนจากการคิดหรือสังขารมาติดตามลมหายใจแทน

เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม5 ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม4 ประการให้ยิ่งขึ้นไปอีกคือ

1.พึงเจริญอสุภเพื่อละราคะ

2.พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท

3.พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก

4.พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ

บางส่วนจาก เมฆิยะสูตร สุตตันต.17

และเมื่อความคิดหยุดแล้ว เราส่วนใหญ่ เมื่อเห็นการเกิด การตั้งอยู่ ดับไปแล้ว ก็คิดว่าจบแล้ว จึงมักหยุดการทำงานทางจิตไว้แค่นี้ ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ (คือการคิด) แต่ต้นเหตุ (คือเหตุที่ทำให้คิด) ยังไม่ได้แก้ไข จึงควรมีความเพียรต่อไป คือนำธรรมที่คว้าไว้ได้นั้น มาพิจารณา มีความเพียรตามองค์ธรรมในโพชฌงค์ 7 ตามมาเป็นลำดับ จนจบองค์ธรรมที่อุเบกขา (องค์ธรรมในโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ - ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา)จนในที่สุด จิตก็จะมีท่าทีเป็นกลางกับธรรมนั้นๆ

การมีท่าทีเป็นกลางกับธรรม ทำให้จิตไม่มีเรื่องให้ต้องผลักใส หรือยึดไว้ ธรรมนั้นๆจึงสักแต่ว่าเป็นสิ่งที่จรมาแล้วก็ไป ไม่เกิดโทษใดๆแก่จิต จิตจึงคงความประภัสสรไว้ได้ (ถ้าประภัสสรถาวร ก็คือนิพพาน)

เพราะการสร้างปัจจัยให้จิตไม่ติดใจในเรื่องใด จิตจึงไม่หยิบเรื่องใดมาคิด จึงดูคล้ายๆกับว่าเราบังคับจิตไม่ให้คิดเรื่องนั้นๆได้

อันที่จริง จะว่าเราบังคับจิตได้ ก็ได้ค่ะ แต่ควรทราบว่า ไม่ใช่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนา แต่ว่าบังคับได้ โดยเป็นไปตามเหตุปัจจัยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 412358เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2010 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ กุหลาบสีขาว สวยงามจังเลยค่ะ ชอบๆ เหมือนจริงมากๆ ค่ะ

อยากให้จิตไม่คิดอะไรบ้างจังค่ะ ขนาดว่าเวลานอนยังฝันได้เป็นเรื่องเป็นราว เฮ้อ ปูคงต้องฝึกอีกนานแสนนานเลยค่ะ ยากจัง :)

 

จึงสักแต่ว่าเป็นสิ่งที่จรมาแล้วก็ไป ไม่เกิดโทษใดๆแก่จิต จิตจึงคงความประภัสสรไว้ได้ (ถ้าประภัสสรถาวร ก็คือนิพพาน) 

 

  • บันทึกนี้เต็มเปี่ยมมากเลย เข้ามาเรียนรู้ ยากเหมือนกันนะคะ
  • ขอบพระคุณ ในการแบ่งปัน

อ่านบันทึกของคุณณัฐนี้ต้องความพยายามมากเหมือนกันนะเนี่ยกว่าจะเข้าใจ ดีแต่ว่ามีดอกไม้สวยๆให้ดูด้วยไม่งั้นคงต้องอ่านอีกหลายรอบ ตามหาอ่านที่แท้ก็อยู่ตรงนี้เองนะ เจริญพร

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

         ดอกกุหลาบสีขาวสวยมาก คนวาดต้องมีจิตนิ่งมีสมาธิกับการวาดมากจึงทำให้ได้ภาพออกมาสวยงามเหมือนจริง  คนมีจิตใจงามดูได้จากผลงานนี่เอง

                                ขอบคุณภาพสวยๆและข้อคิดที่ดีๆค่ะ

มาชม

อ่านแล้ว...นึกถึงพระสงฆ์เข้าฝึกจิตเข้านิโรธได้แล้ว แม้เสียงฟ้าผ่าลงมาใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน...นะครับ...

สวัสดีค่ะIco64

  • ดอกไม้สวยจัง
  • เฮ้อ บางครั้งบอกไม่ให้คิด แต่ก็ไม่ยอมฟัง คิดอยู่นั่นแหละ

เมื่อฟิสเนสใจอยู่ประจำคราใดที่คิดเราก็เท่าทันมันได้เนาะโยมพี่ณัฐ

หยุดจิต ใจมั่น มั่นคงไว้ สติมา เจริญสติ เจริญสติ เจริญสติ.....หยุดจิต....

สวัสดีค่ะ

แวะมาส่งกำลังใจวันหยุดยาวค่ะ

สวัสดีครับ

ผมคงบังคับได้ยากครับ ว่าจะออกจากบ้านโกทูโนแล้ว

พอเห็นบันทึกของคุณณัฐรดา จิตก็เผลอปล่อยให้มือและแขนเข้ามาแล้ว

แต่ก็พยายามครับ เพราะผมเป็นลูกหลานของ 'พระพุทธเจ้า' คนหนึ่ง

สบายดีนะครับ

 ขอบคุณนะคะ และภาพวาดสวยงามมากค่ะ

คงเหมือนที่เขาบอก ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวกระมัง ครับ

มีเพลงหนึ่งร้องว่า คิดๆๆ คิดเท่าไร คิดไม่ออกสักที ทำไงดีครับ ยิ่งอ่านยิ่งคิดตาม

จิต ก็คล้ายลูกโค ที่พยายามดิ้นรนไม่อยู่นิ่ง เราต้องเอาสติกำกับไม่ให้ลูกโคดิ้นรนจ๊ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท