เมื่อมีโอกาสต้องอธิบายว่า KM หรือการจัดการความรู้ คืออะไร ก็จะมีอันต้องพูดถึงความรู้อะไรที่เราจะจัดการทุกที สงสัยว่าเอ๊ะ ทำไมถึงไปเริ่มอธิบายที่คำนี้นะ
เพราะจริงๆเวลาเราจะทำการจัดการความรู้ สิ่งที่ตัวเองมักจะเน้นย้ำก็คือ เราคนทำงานทุกคนทุกชนิดงานต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความรู้ที่ไม่เหมือนใคร เป็นสิ่งที่เราได้รับและสะสมอยู่ในตัวจากการทำงานเดิมซ้ำๆกันเป็นเวลานานๆจนเราอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ให้เราทุกคนคิดถึงว่าตัวเรารู้อะไร โดยเฉพาะความรู้ที่เป็นความรู้ฝังลึก ตรงจุดนี้ตัวเองคิดถึงคำว่า Knowledge Recognition เป็น KR ตัวแรก ก็คือการตระหนักรู้ว่ามีความรู้อะไร จากนั้นเราต้องทบทวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็น KR ตัวที่ 2 และ 3 คือ Knowledge Release* และ Knowledge Revision เมื่อมีการแลกเปลี่ยน ต่อยอดกันแล้ว เราก็จะสามารถถ่ายทอดออกมาให้ความรู้นั้นได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เป็น KR ตัวที่ 4 คือ Knowledge Re-use หรือ Re-utilization
*เป็น R ที่เพิ่มเติมโดยอ.หมอปารมี-คุณเอื้อผู้แสนขยันของภาคพยา-ธินี่เองค่ะ
ทั้ง 3 KR นี้ก็คือกระบวนการ KM นั่นเอง ตัวเองคิดว่าการอธิบายแบบนี้ ดูเหมือนจะเห็นภาพของการจัดการความรู้ได้ดีขึ้น ยังไม่ได้มีโอกาสนำไปพูดที่ไหน อยากจะเอามาเล่าเพื่อถามความเห็นจากเพื่อนๆชาว GotoKnow ว่า เป็นวิธีการอธิบาย KM ที่เข้าใจได้ง่ายหรือไม่คะ ใครจะนำไปขยายต่อก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ อยากฟังความคิดเห็นต่อยอดจากทุกๆท่านค่ะ
ส่วนที่ต่อยอดโดย คุณ Handy รู้สึกจะช่วยเติมเต็มได้ดีมากเลยค่ะ ขอเอามาเสริมไว้ในส่วนนี้เลยด้วยนะคะ คือ
- Knowledge Recognition รู้ว่า รู้อะไร
- Knowledge Realization เห็นคุณค่าสิ่งที่รู้
- Knowledge Release ปลดปล่อย - แลกเปลี่ยน ความรู้
- Knowledge Revision ทบทวนความรู้
- Knowledge Re-use ใช้ความรู้ (รอบใหม่)
รวมกันเป็น 5 KR ที่เป็นกระบวนการนำไปสู่ KM (การจัดการความรู้)
ท่านใดจะนำไปใช้ในการอธิบายเรื่อง KM ก็เชิญได้ตามสะดวกเลยนะคะ คิดว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ จะทำให้ขุมทรัพย์ทางปัญญาของเราตื่นรู้ตัวเองได้มากยิ่งๆขึ้นค่ะ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย โอ๋-อโณ ใน เรื่องเล่าและเรื่องคุยจาก Lab Chem
คำสำคัญ (Tags)#knowledge#management#recall#kr#recognition#revision#re-use#re-utilization
หมายเลขบันทึก: 41226, เขียน: 28 Jul 2006 @ 00:18 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 15:28 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 5, อ่าน: คลิก