อาชญากรรมข้ามชาติภัยร้ายทางเศรษฐกิจ


       ในปัจจุบันเราคงต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดียว หรือดำเนินนโยบายปิดประเทศได้หากต้องการเห็นการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน แม้ว่าการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน ทำการค้า หรือการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางสังคม นอกจากจะเกิดผลดีต่อประเทศแล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มขององค์กรอาชญากรรม (Organized Crime) ในทางเศรษฐกิจ ซึ่งองค์กรอาชญากรรมจะมีความแตกต่างจากอาชญากรรมธรรมดา เนื่องจากเป็นการรวมตัวของอาชญากรอาชีพ มีโครงสร้างการปฎิบัติงานที่ซับซ้อน โดยมีการติดต่อประสานงานกัน มีหัวหน้าใหญ่คอยบงการการทำงาน จากระดับสูงไปยังระดับล่างมีการควบคุมและกฎระเบียบในการบังคับบัญชา ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การสนองต่อความต้องการสินค้า  และบริการที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การค้ายาเสพติด และรูปแบบอื่นทางการบริการแก่ลูกค้า โดยที่องค์กรอาชญากรรมเหล่านี้จะแผ่ขยายตัวเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมในธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มอาชญากรข้ามชาติสามารถเข้ามาในประเทศไทยได้ง่าย เนื่องจาก ประการแรก การที่ไทยดำเนินนโยบายแบบเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยว ทำให้อาชยากรข้ามชาติสามารถแอบแฝงเข้ามาในประเทศได้ในรูปของนักท่องเที่ยว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สมารถกวดขัน หรือดำเนินการตรวจสอบได้อย่างเข็มงวดมากนัก เพราะอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการเดินทางเข้ามาในประเทศของนักท่องเที่ยวแท่จริงได้ ประการที่สอง การที่ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสะดวกในการเดินทางและการขนส่ง และสามารถเดินทางต่อไปในประเทศที่สามได้อย่างสะดวก ประการที่สาม การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษของไทยยังไม่มีความเข้มงวดและรุนแรงมากเพียงพอในเรื่องอาชญากรข้ามชาติ ทำให้อาชญากรข้ามชาติสามารถเข้ามาก่ออาชญากรรมได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นโอกาสในการสร้าง และแผ่ขยายอำนาจสามรถกระทำได้ง่าย โดยการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆทั้งต่อตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือองค์กรเอกชนต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ 1. นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยงของประเทศ 2. นโยบายสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติ 3. นโยบายในด้านความมั่นคงแห่งชาติในส่วนอาชญากรรมข้ามชาติยังไม่มีเอกภาพ 4. การเข้าไปเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ที่ได้ 5. การขาดแคลนบุคคลากรและเทคโนโลยีที่จำเป็นอันเนื่องมาจากงบประมาณที่มีจำกัด
คำสำคัญ (Tags): #อาชญากรรม
หมายเลขบันทึก: 41225เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รออ่านต่อนะค่ะ ชอบมากค่ะ (รออ่านอยู่นะเร)

02 120 9900 เบอร์ที่แก๊งมิจฉาชีพอ้างว่าเป็น TOT เรียกเก็บค่าบริการเกินจริง ใช้ชื่อ ทิพวรรณ รัตนสุววรณา (ไม่รู้เอาชื่อใครมาแอบอ้าง) กด 9 เจอผู้หญิงชื่อวุฒิพร เกษมราด (อ้างว่าเป็นตำรวจหญิง) 02 2371173 เบอร์นี้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553ในนามบริษัท เจเอสแอล อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท ตั้งอยู่เลขที่ 319/2 กม 4 ถ.บางนา-ตราด เขตบางพลี จ.สมุทรปราการและโอนสายไปให้ผู้ชายชื่อ เสรี ฟุ้งสุวัน (ชื่อแอบอ้าง) (เบอร์ 02 2371173 ตรวจสอบจาก TOT ไม่มีในระบบ) เลขที่บัญชี 7290117592 ธนาคารกรุงเทพสาขาบางนา-ตราด อันนี้ให้ผู้รับผิดชอบตรวจสอบด้วย สงสัยว่าทำไมไม่มีใครจัดการกับพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ ส่วนเบอร์ 02 1209900 นี้มีในระบบจดทะเบียนในนาม บริษัท ไอซิสเทคโนโลยีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่อยู่ 446/54-58 อาคารปาร์คอเวนิวโฮมออฟฟิต 2 ชั้น 5 ซอยสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ดำเนินกิจการขายหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสารและเครื่องเขียน จดทะเบียนปี 2543 ถ้ารับผิดชอบต้องการตรวจสอบก็น่าจะทำได้ เพราะมิจฉาชีพแค่โทรผ่านเบอร์ ต้องตรวจสอบจากพื้นที่ที่โทรออก ซึ่งผู้เสียหายไม่อาจทำได้ แต่ก็ได้ลงบนทึกประจำวันไว้ที่โรงพักแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท