วิทยาลัยป้องกันชุมชน สร้างคน สร้างสังคมใหม่ 2


ภูมิปัญญาชุมชชนไทยกับการอยู่รอด ของยุคเริ่มต้นสร้างสังคมใหม่

            หลักคิดของวิทยาลัยป้องกันชุมชน ต้องการให้มีสถาบันสถานที่ศึกษาที่นำเอาความรู้ในชุมชนมาถ่ายทอดให้คนในชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนรู้ศักยภาพงานของชุมชน พร้อมที่จะปกป้องชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการชุมชนกันได้  เสมือนหนึ่งการเรียนรู้ในที่อยู่  ที่ทำกิน  สร้างความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่ายั่งยืน  วิทยาลัยนี้ ไม่มีอาคารสถานที่ ไม่มีการรับรองวิทยฐานะ แต่มีอาจารย์ หลายคณะ หลายมหาวิทยาลัย รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งคนเก่า คนใหม่ มาช่วยกันให้ความรู้

       อาจารย์ บู๊ท ว่าที่ร้อยตรีเฉลิมพล บุญฉายา มาแนะนำทำความรู้จัก และดำเนินการบอกกล่าวกับนักเรียน ผ่านการเปิดอบรมจาก รศ.วิเชียร  แก้วบุญส่ง  แล้วก็มาถึงการปาฐกพิเศษ 

 "เรื่องภูมิปัญญาชุมชนไทยกับการอยู่รอด  ของยุคสร้างสังคมใหม่" โดย รศ. อาคม เดชทองคำ อดีตรองอธิการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ผู้มีผลงานสะเทือนปฐพี ด้วย งานวิวัย"สัมพันธ์หลากหลายในสายเชือก"คนปักษ์ใต้เราเรียก หัวเชือกวัวชน ในปี 2542 ผู้เขียนเคยอ่านงานนี้นี้มาแล้ว

รศ. อาคม เดชทองคำ

       ตำราวัวชนดีตามคติชนไทยและฮินดู ต้องมีรูปลักษณ์ดังนี้" หูเล็ก ตาเล็ก หางร่วง คิ้วหนา หน้าสั้น เขาใหญ่ ไข่ช้อนไปหน้า ขนที่อัณฑะดก  คร่อมอกใหญ่ ท้ายเรียว " ตรงกันข้ามกับตำราต้องห้าม ที่บอกว่า"แข้งดาง หางดอก หนอกพาดผ้า หน้าใบโพธิ์"

    อาจารย์ อาคม ได้จุดประกาย นำไปสู่ปรากฎการ หลัง พศ. 2398 ที่ประเทศไทย ต้องทำสัญญากับต่างชาติหลายฉบับ ในอดีต เราผลิตเพื่อกิน ทำเอง กินเอง เหลือไว้แจก แบ่งปัน   หลัง 2398 มาสู่สังคมใหม่ สังคมเลียนแบบ ผลิตเพื่อ จำ แนก แจก จ่าย ขาย เพื่อบริโภค สินค้าหลายตัวเป็นสินค้า"ขังลืม" จำพวกทัพเพอร์แวร์ ซื้อใส่ตู้เก็บไว้ไม่เคยเอาออกมาใช้ 

    จนมาสู่ยุคปัจจุบัน สังคมใหม่ในการสร้างเครือข่าย  สังคมใหม่ในความหมายทันสมัย มีความสะดวกสยาย    คนละความหมายกับสังใหม่ในการป้องกันชุมชน ที่มุ่งสร้างคน สร้างการเรียนรู้ที่จะป้องกันชุมชน รักษาทรัพยากรไว้ใช้ร่วมกัน ให้คนในชุมชน ได้มีความรู้ เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ ปัญหาของชุมชนกันโดยผ่านเวทีการพูดคุยกันในชุมชน 

       ฟังอาจารย์ อาคมบรรยาย นึกถึงเรื่องที่อาจารย์บู๊ทเล่า ครูกับนักเรียนสนทนากันด้วยสำเนียงกลาง ครูตรวจแถวนักเรียนตอนเช้า มีนักเรียนคนหนึ่งมาสาย ครูจึงถามว่า 

* ครู....ไซรสาย  

นักเรียน....ไกสูญ

ครู...สายิ่ว

นักเรีย...หม้าย มูสัง

 *นี้คืออัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่ในหมู่คนใต้ ทำให้นักเรียนหลายอาชีพ หลายวัย หลอมรวม ร่วมเรียนกันอย่างมีความสุข

*ครู ..ไซรสาย   =ทำไม่ถึงมาสาย

นักเรียน...ไกสูญ =ไก่หาย

ครู..สายิ่ว =สงสัยเป็นเหยี่ยวจิกไก่ไป

นักเรียน..ไม่ใช่ครับครูเป็น มูสัง

 ที่พักรวมวิทยาลัยภูมิปัญญา

อ. สุวัฒน์ หนูแป้น ชันชีการอยู่ร่วม

ร่วมเรียน

นอนๆ กินๆ เรียนๆ

พี่น้องมุสลิมสามจังหวัดชายแดนใต้ สมัคมาเรียนหลายคน

หมายเลขบันทึก: 411911เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

มนุษย์เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่รอดครับ ชื่นชมในความสามัคคีของคนใต้ครับ..

ขอบคุณนะครับ..

สวัสดีครับครู ป้อม เป็นการเรียนที่ Pleasure ที่มากกว่าHappyครับ

พี่บัง

เเวะมาส่งอาหารสุขภาพครับ โหมงานหนักรักษาสุขภาพด้วยครับ

มาเข้าร่วม เรียนรู้ด้วยคนครับ ดูกิจกรรม แล้วมีผมมีตัวอย่างเยอะเลย ไว้เเลกเปลี่ยน เรียนรู้ครับ  

                         

เป็นความสร้างสรรค์จากหัวใจของกลุ่มคนเล็กๆ แต่งดงาม ยิ่งใหญ่
และมาจากพลังชีวิตดีจริงๆเลยนะครับ ขอร่วมชื่นชมและร่วมเป็นกำลังใจครับ

สวัสดีครับคุณ ต้นกล้า

ดูแนวคิดและหลักการแล้ว น่าสนใจ เกรงแต่ว่าทำๆ เรียนไปๆ เกิดมีเจ้าภาพ มีเจ้าของขึ้นมาเหมือนหลายเรื่องที่คิดดี ทำดี พอมีเจ้าภาพ หลักการก็ต้องเปลี่ยนไปสนองความต้องการของเจ้าของงบประมาณ เห็นพี่น้องมุสลิมมาศึกษาด้วยความพยายามที่จะสารกันด้วยภาษา ผมคิดว่าคงการนี้ ต้องติดตามลงไปดูไปช่วยในพื้นที่ ให้เกิดความคิดในการป้องกันชุมชน ลำพังคนที่มาเรียน มาอบรม ห้า วัน ไม่อาจรู้เท่าทันผู้ที่หวังใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นได้

ขอบคุณเมนูอาหาร หลนเต้าเจี้ยวถั่วเหลืองครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ วิรัติน์

วันนี้วิทยาลับป้องกันชุมชน คงความงาม ความหลายหลาย ที่ทุกคนเข้ามาเรียนได้

แต่เกรงว่าสักวันหนึ่งเกิดมีเจ้าภาพเข้าจัดการ แนวทางและหลักการของคนต้นคิดก็จะเปลี่ยนไป

เป็นการครอบงำเหมือนหลายๆเรื่องที่ชาวบ้านคิดทำ

เรื่องนี้คงเป็นบทพิสูจน์ ว่าชาวบ้านชุมชน แข็งและเก่งจริงหรือไม่ ก็ต้องติดตามกันยาวๆครับ

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า

กาลเวลาเปลี่ยนไปคนก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อการอยู่รอด

 วิทยาลัยป้องกันชุมชนเป็นงานสำคัญที่รวมใจของพี่น้องชาวใต้

                 ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

                         

                         มีภาพวาดวันลอยกระทงฝีมือนักเรียนมาฝากค่ะ

เป็นอะไรที่ดีมาก ๆ ให้ประโยชน์กับผู้เรียน

สร้างคนให้รู้ในสิ่งที่น่ารู้ เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอด

น่ายกย่องชื่นชมค่ะ

ลักษณะวัวชน ก็ไม่เคยรู้ แต่ถ้าเห็นวัว จะรู้โดยอัตโนมัติว่า วัวแบบนี้ต้องเป็นวัวชน

(เมื่อก่อนตอนเด็กๆ อยู่ปักษ์ใต้...เห็นวัวชนบ่อยๆค่ะ เรียนรู้โดยการเห็นบ่อยๆ)

  • สวัสดีครับ
  • ชุมชนแข้มแข็ง เกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจ อยู่ได้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองอย่างเพียงพอ แล้วเผื่อแผ่
  • ดูแล้วมีสมาชิกหลากหลายวัย ล้วนมีไฟพัฒนา ดูท่าแล้ว ชุมชนก้าวหน้าแน่นอนครับ

 

สวัสดีครับครู ดาลากาลเวลาเปลี่ยนไปคนก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อการอยู่รอด

พวกนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อหากินในน้ำลงทุนดำน้ำไปกินหญ้าน้ำ หากเป็นควายบกป่านนี้คงปอดบวมไปตามๆกัน

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า มาเยี่ยมแร่ววว.. ยังระลึกถึงนะคะแม้จะนานๆมาทักทาย ขอบคุณที่แบ่งปันสาระและการทำกิจกรรมที่ดีเพื่อสังคมเราค่ะ

สัวสดีครับท่านผู้เฒ่า วอญ่า

ยิ่งให้ ยิ่งได้ ดีครับวิทยาลัยป้องกันชุมชน สร้างคน สร้างสังคม สอนให้คนช่วยเหลือกัน ช่วนกันแก้ปัญหาให้ชุมชน ให้ความรู้ชาวบ้านให้ความรู้ประชาชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองเพราะต่างคนต่างให้ต่างคนก็ต่างได้ความรู้เพิ่มครับ กำไรชาวบ้านคือความรู้วิชาการจากอาจารย์มาช่วยชี้แนะ "มาตฐานครับ ขอให้กำลังใจครับ"

สวัสดีครับคุณ nana ชาวใต้เรามีอั๖ลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะถิ่น มีเรื่องเล่ามากมายที่ควรแก่การเล่าต่อ ยาสั่งเมืองตรังมีที่มาน่าสนใจ มีโอกาสจะนำมาแบ่งปัน

ชื่นชม  สร้างคน  สร้างสังคม  สุขสันต์วันพ่อครับ

  • สวัสดีครับท่าผู้เฒ่า
  • "วิทยาลัยป้องกันชุมชน"
  • ชื่อนี้สื่อได้แหลมคมมากครับ
  • เราถูกรุกไปทุกด้าน
  • หากคนในชุมชนไม่รู้เท่าทัน
  • ชุมชนก็ย่ำแย่ ประเทศก็ย่อยยับนะครับ

วิทยาลัยป้องกันชุมชน  

เพิ่งได้ยินค่ะ  เสียชื่อคนใต้เหม็ด

ชื่นชมคนใฝ่เรียนรู้ค่ะ 

 แต่เด็กบ้านนอกมักเป็นเช่นนี้ 

ครู ..             = ไซรมาสาย 

นักเรียน... =หากางเกงไม่พบแม่ไปตัดยาง หัวเช้า

ครู..          = กางเกงแรกวาซักแล้วยัง

นักเรียน..  = ม้าย  หวางอี้ไปแลไก่ชน

(ครูพูดสองภาษา  คือภาษากลางกับทองแดง   เด็กทองแดงทั้งเพ ) 5555

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า

มาเป็นแรงใจให้ชุมชนเข้มแข็งนะค่ะ สังคมเข้มแข็งประเทศมั่นคง

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ แต่การศึกษาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในประเทศไทย....

สวัสดีครับคุณ ชำนาญ

คนหลายวัย ทุกคนที่มามงานชุมชนในพื้นที่ เรียนจบกลับไปนำความรู้ใหม่ สู่ชุมชน

สวัสดีครับครูรินดา ลงมาใต้แวะพัทลุง มาดูความฉลาด กินหญ้าใต้น้ำ ที่ทะเลน้อย

สุดยอดแห่งความอยู่รอด

สวัสดีค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ที่ใต้ฝนคงตกชุกใช่ไหม  นาเซียคงวิ่งไม่หยุด

มาจูงมือไปดูความงดงามที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/krukim/412001

สวัสดีครับท่านเดชา

นักศึกษา วปช.ไปดูงานและถอดบทเรียนกรณีผลกระทบจากโรงงานแยกแก๊ส จะนะ เบื้องต้นเห็นผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านบริเวณโรงงาน สิทธิชุมชนหากมีการสร้างโรงงานในชุมชน คนในชุมชนควรรับรู้อย่างครบถ้วนประกอบการตัดสินใจ

เข้ามากราบสวัสดีวอญ่าในวันสำคัญวันนี้ค่ะ..

"..สุขภาพแข็งแรงตลอดไปนะคะ.."

ด้วยรัก เคารพและระลึกถึงเสมอค่ะ

ศน.อ้วน

สวัสดีครับท่านผอ.ประจักษ์ สุขสันต์วันพ่อครับท่านผอ.

สวัสดีครับน้องสิงห์

ภาคเกษตร เราถูกรุกอย่างหนัก เมื่อก่อนเราโทษ กรมวิชาการเกษตร ว่าส่งเสริมการผลิต ไม่ส่งเสริมการขายให้

วันนี้กลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ ทำบันทึกความร่วมมือ กับสาธารณสุข ผลิตผักผลไม้ปลอดสารพิษ เข้าสู่โรงครัวของ โรงพยาบาล

ต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป

สวัสดีครับท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า

"คนในชุมชนควรรับรู้อย่างครบถ้วนประกอบการตัดสินใจ"(ถูกต้องที่สุดครับ)

"แล้วตัวเล็กที่ท่านอุ้มอยู่นั้นปัจจุบันถอดบทเรียนชั้นอนุบาลแล้วยังครับ"

สวัสดีครับครูดาว นั่งอ่านจดหมายปี 19 เลยเอามาเล่าในบันทึก ถึงเหตุการในอดีต ที่ครูแหลงลางไม่ชับ

นักเรียน... =หากางเกงไม่พบแม่ไปตัดยาง หัวเช้า

ครู.. = กางเกงแรกวาซักแล้วยัง

นักเรียน.. = ม้าย หวางอี้ไปแลไก่ชน

ครู...ไหนบอกมาแลถิใครทำใครก่อน

ครูขา....หนูอยู่แน๋งๆ เขามาแท๋งหนูก่อน พอหนูไปแท๋งเขามั่ง เขาถั้งฟัดหัว..ค่ะ

สวัสดีครับเจ๊ปุ นักเรียนชุมชนคนสร้างฝัน ฝันสร้างสังคมใหม่ที่ทุกคนลุกขึ้นปกป้องทรัพยากรของชุมชน

สวัสดีครับเกลอ ฝนยังคงตกเหมือนเดิมทั้งวันทั้งคืน แต่ที่บ้านปลอดภัยจากน้ำท่วม

ขอบคุณที่ห่วงใยในสุขภาพครับ

ทุกคนสบายดี

น่าจะมีทุกหมู่บ้านค่ะ หลักสูตรก็ตามสภาพเป็นจริงของแต่ละหมู่บ้าน

สวัสดีครับท่านศน. อ้วน

ด้วยความขอบคุณที่มาอวยชัยให้พรในวันสำคัญ

ยังคิดถึงมีโอกาสวาสนาพาไปคงได้เยือนถิ่นล้านนา

ขอบคุณอีกครั้งครับท่าน

สวัสดีครับ มีตัวอย่างกลุ่ม เกษตรกร บ้านช้างมิ่ง มาเเลกเปลี่ยน เรียนรู้ครับ

รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ เหมือนกับกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน บ้านลาน ของ พี่เพชร

ติดตามต่อได้ที่บันทึก ครับ

  • บังครับบัง
  • กลับมาหรือยัง
  • อาจารย์ บู๊ท ว่าที่ร้อยตรีเฉลิมพล บุญฉายา
  • คนนี้น้องผมเอง
  • ฮ่าๆๆ
  • ชวนทำกิจกรรมกันตั้งแต่สมัยเป็นนักนิสิต
  • แต่เพิ่งเห็นอาจารย์อาคมไม่ได้เห็นนาน

"การรวมกลุ่มยิ่งสำคัญ ต้องเป็นความคิดร่วมของคนในกลุ่ม หากเป็นกลุ่มจัดตั้ง ก็จะพังไปพร้อมกับคนที่มาตั้ง"

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ต้องเกิด จากความสมัครใจร่วมกัน ของสมาชิก

แต่จะใส่ "ตัวเร่งปฏิกิริยา" เข้าไปอย่างไร หลายๆเรื่อง ไม่มีเจ้าภาพ ก็เริ่มไม่ได้เหมือนกัน ครับ

เห็นด้วยอย่ายิ่งครับ

(การรวมกลุ่มยิ่งสำคัญ ต้องเป็นความคิดร่วมของคนในกลุ่ม หากเป็นกลุ่มจัดตั้ง ก็จะพังไปพร้อมกับคนที่มาตั้ง"

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ต้องเกิด จากความสมัครใจร่วมกัน ของสมาชิก

แต่จะใส่ "ตัวเร่งปฏิกิริยา" เข้าไปอย่างไร หลายๆเรื่อง ไม่มีเจ้าภาพ ก็เริ่มไม่ได้เหมือนกัน ครับ)

ตัวเร่งปฎิกริริยา สำคัญที่สุด ที่ต้องจุดประกายความคิด ภาษาใต้บอกว่า "ยอน" คือไปบอก ไปขุดความคิด ดึงศักยภาพของเขาออกมา ให้เขาอยากทำ มีคนต้นคิดหลายคนที่ศึกษาวิธีคิด เช่น จุดกำเนิด ธนาคาร ปู หลักคิดแผนชีวิตชุมชน อยู่ที่ปัจจัยนำเข้า จะเข้าไปจัดการหรือเข้าไปชวนคิดครับ มองมองว่าอย่างนั้นครับท่าน

หวัดดีครับนายหัวเดชา วันก่อนผ่าน ระโนดไปจะนะ ยังคุยกันในรถพาดพิงถึงท่าน โดยบอกว่าใน gotoknow โดยบอกว่าที่นี้มีคนหลายอาชีพ

คำถามนี้....(คนในชุมชนควรรับรู้อย่างครบถ้วนประกอบการตัดสินใจ"(ถูกต้องที่สุดครับ)

"แล้วตัวเล็กที่ท่านอุ้มอยู่นั้นปัจจุบันถอดบทเรียนชั้นอนุบาลแล้วยังครับ"

ตอบว่า ตัวเล็กอายุได้ 18 เดือนครับ

สวัสดีครับคุณ จรรย์ หลักสูตรกำหนดโดยชุมชนส่วนหนึ่งร่วมกับนักวิชาการครับ

พอดีไปค้นเจอ ตัวอย่าง การเรียนรู้ในเเปลงนา "ทุ่งนาบ้านเรา มีข้าวสังหยด"
เลย Add ไว้ใน ลิงค์ http://gotoknow.org/blog/supersup300/404332

จุดประกายได้มากเลยครับ

ขอบคุณพี่บัง ที่ช่วยเข้าไปช่วยเติมเต็มบันทึก ครับ

เกษตรเชิงเดี่ยว เดียวดาย และเสียดายโอกาสดีๆ อีกหลายอย่างที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ระหว่างทางครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ขจิต

อาจารย์ บู๊ท ทำกิจกรรมร่วมกันหลายครั้งครับ ทั้งแผนชุมชน สวัสดิการชุมชน

วิทยาลัยป้องกันชุมชน อาจารย์ บู๊ท ก็เป็นคณะก่อการร่างหลักสูตร สนุกครับทำกิจกรรมกับอาจารย์บู๊ท

ขอบคุณครับที่ชื่นชม บัง/ดร.ขจิต

แอบนินทาอาจารย์ขจิตนิดนึงนะครับ เมื่อนานมาแล้วตอนสมัยที่เรียนหนังสือกันอยู่ และอาจารย์ขจิตจบเป็นบัณฑิตหมาด ๆ อาจารย์ขจิตเคยเป็นตัวการทำให้ผมต้องหนีแม่ออกจากบ้านเพื่อไปเที่ยวกาญจนบุรีบ้านอาจารย์ขจิตไงครับ

แล้วเราก็ได้แวะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์รัชนี ธงไชย ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กนอกจากจะได้้เรียนรู้เรื่องการศึกษาทางเลือกแล้ว สาว ๆ ในกลุ่มที่ไปด้วยกันก็ได้เหาติดหัวกลับมาด้วย (ครูติ๋ว ครูตุ๊ก น้องตู่ และครูปอน)

อยากหาโอกาสไปเที่ยวบ้านอาจารย์ขจิตอีกครั้ง

ปล.ท่านใดที่สนใจจะเข้าเรียนรู้ที่ วปช. ยินดีเปิดต้อนรับนะครับ

เฉลิมพล

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์ บู๊ด

(แล้วเราก็ได้แวะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์รัชนี ธงไชย ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กนอกจากจะได้้เรียนรู้เรื่องการศึกษาทางเลือกแล้ว )

ตอนที่ผม มีเพื่อนทำงานอยู่ มูลนิธิ"สวนแสงอรุณ" เคยไปเยี่ยมกลุ่เด็กรักป่าภาคตะวันออก และเยี่ยมค่ายเด็กที่บ้าน ผญ. วบูลย์หลายครั้ง ตอนนั้นยังไม่เข้าวงการ ของชุมชน

วันนี้ผมก็ชวนหลายคนให้สมัครเรียน วปช. ....วปช.ให้อะไรมากกว่าที่คิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท