การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาที่สำคัญ 7 ประการ
1. จากการศึกษาในระบบโรงเรียน ไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต (อย่าคาดหวังว่าจะต้องสอนทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อชีวิตนักเรียน)
2. จากการสอน ไปสู่การเรียนรู้ (พัฒนาสมรรถภาพเพื่อนำไปสู่หลักสูตรที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้)
3. จากความพยายามที่จะให้เกิดความเสมอภาคไปสู่คุณภาพของการศึกษา จากการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เก่งที่สุดไปสู่การจัดการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน (ความต้องการเร่งด่วนก็คือ การปรับปรุงคุณภาพของการสอนและคุณภาพของครู)
4. จากการเน้นที่ปัจจัยเรื่องเงินงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ ไปสู่กระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ
5. จากหลักสูตรความรู้เดียวๆในแนวลึกไปสู่หลักสูตรแบบบูรณาการและการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ
6. จากการประเมินผลปริมาณของการเรียนรู้ความรู้ความจำ เพียงอย่างเดียวไปสู่การประเมินผลทั้งคุณภาพและปริมาณของทุกมิติของผลลัพธ์การเรียนรู้ ได้แก่ด้านความรู้ความสามารถ เจตคติ ค่านิยม และทางด้านร่างกาย
7. จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแต่ละบุคคลไปสู่การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนหรือของระบบ
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ทำให้จุดหมายของการศึกษาเปลี่ยนจาก การศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการผลิต ไปเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้านและมีบุคลิกภาพดี และจากการพัฒนาการในส่วนของสติปัญญาของคน ไปเป็นการพัฒนาเพื่อการเติมเต็มในทุกส่วนของความสามารถพิเศษและศักยภาพที่อยู่ภายในของทุกคน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย somtawin ใน ขุมทรัพย์ความรู้KM
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 41047, เขียน: 26 Jul 2006 @ 21:45 (), แก้ไข: 23 Jun 2012 @ 02:57 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 4, อ่าน: คลิก
ชื่นชม และรู้สึกเป็นสุขที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์ ถ้าปรับกระบวนทัศน์ครูไทยให้เป็นเหมือนอาจารย์ ได้ (โดยเฉพาะบรรดาผู้มีอำนาจทางการศึกษาทั้งหลาย)การศึกษาของไทยคงไม่ไร้ทิศทางเหมือนทุกวันนี้ ขอบคุณที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ