มิติสัมพันธ์ :ประโยชน์และการพัฒนา


ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า อัจฉริยภาพ หรือ ปัญญา ของมนุษย์ ไม่ได้มีเพียงด้านเดียว หากประกอบด้วยหลายๆด้าน คือ ด้านภาษา, ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์, ด้านมิติสัมพันธ์, ด้านดนตรี, ด้านร่างายและการเคลื่อนไหว, ด้านมนุษยสัมพันธ์ และ ด้านการเข้าใจตนเอง โดยที่คนคนหนึ่งสามารถมีอัจฉริยภาพในด้านต่างๆได้มากกว่าหนึ่ง

 

อีกทั้งพบว่าความสามารถเหล่านี้ สามารถพัฒนาให้เติบโตขึ้นได้ ไม่ว่าเราจะมีอายุมากสักเพียงใด (เพียงแต่บางท่านอาจไม่โดดเด่นเท่าผู้ที่พัฒนาเมื่ออายุน้อยกว่า)

พบว่าอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และเหตุผลมักถดถอยเมื่ออายุมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าผลงานการค้นคว้า หรือการค้นพบที่สำคัญๆของโลก มักจะมีในบุคคลที่มีอายุช่วงก่อน 40 ปี โดยหลังจากช่วงหลังอายุ 40 ปีไปแล้ว การค้นพบต่างๆมักลดน้อยลง ส่วนอัจฉริยภาพทางด้านดนตรี มิติสัมพันธ์ เมื่อพัฒนาแล้ว สามารถดำรงอยู่กับเราตลอดไป ดังเช่น นักเปียโน หรือศิลปินเอกของโลกที่สามารถสร้างผลงานศิลปะได้จนวันสุดท้ายของชีวิต  

ผู้ที่มีทักษะด้านมิติสัมพันธ์มักเห็นภาพโดยรวมได้อย่างชัดเจน เช่น มัณฑนากรผู้สามารถจัดวางเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในห้องหรือสถาปนิกผู้สามารถออกแบบโครงสร้างของตึกได้ในจินตนาการ, ศิลปินผู้เห็นภาพรวมของผลงานศิลปะ, มัคคุเทศก์ หรือผู้ดูแลป่าที่มีความสามารถในการสังเกต, วิทยากรผู้บรรยายงานได้อย่างเป็นขั้นตอน ไม่ลืมหลง เพราะเห็นภาพการบรรยายอยู่ในความคิด มีการนำเสนอเนื้อหาอย่างเข้าใจง่าย เพราะมีการนำรูปภาพ แผนภูมิ หรือ กราฟ มาประกอบ สามารถอธิบายเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย จนผู้ฟังเข้าใจ เห็นภาพตาม, นักเรียนผู้สามารถจำการเขียนบรรยายของอาจารย์บนกระดานเป็นภาพรวมได้และนำมาจดบันทึกอย่างครบถ้วน เป็นต้น

จึงอยากชวนคุณฝึกวาดภาพพืชพรรณในแนวพฤกษศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์นี้ค่ะ เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาสมองแล้ว ยังได้นำทักษะนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ผลงานไว้ชื่นชมหรือเป็นของขวัญตามเทศกาล จนถึงเป็นการสร้างรายได้ในอนาคต

ประโยชน์ของทักษะด้านมิติสัมพันธ์

1 การจำเป็นภาพ ทำให้จำได้มาก และยาวนานขึ้น จึงลดเวลาในการอ่านซ้ำ หรือท่องจำลง เช่น การจำในลักษณะของ Mind Maps  

2 ได้ใช้สมองซีกขวาพัฒนาซีกซ้าย “การจำ” เป็นการทำงานของสมองซีกขวา เมื่อเราจำได้มากและนานขึ้น แต่อาจยังไม่ใคร่เข้าใจนัก การคิดหาเหตุผล การค้นคว้าเพิ่มเติม เป็นงานของสมองซีกซ้าย จึงเท่ากับเป็นการใช้สมองซีกขวาพัฒนาซีกซ้าย ช่วยให้สมองทั้งสองซีกทำงานได้อย่างสมดุล ไม่หนักไปทางซีกใดซีกหนึ่ง

การใช้สมองซีกหนึ่งซีกใดทำงานมากเกินไป โดยเฉพาะสมองซีกซ้าย จะทำให้เราเครียดได้ ดังที่เราทราบดีอยู่แล้วว่าความเครียดอันเป็นเรื่องของจิตใจ สามารถส่งผลออกมาทางกาย ก่อให้เกิดโรคภัยตามมาได้ เช่น ไมเกรน กระเพาะอาหาร แผลในปาก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ท้องเสีย เป็นต้น

ในยุคที่ชีวิตมนุษย์ผูกติดกับความเร่งรีบ การแข่งขัน ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์จึงนับว่าจำเป็นสำหรับเราทุกคน เพราะช่วยผ่อนคลาย ได้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขขึ้น

3 ช่วยให้อายุยืน ลดความเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากทั้งสองข้อต้น

4 ช่วยในการทำงานต่างๆเช่น การเสนอผลงาน ความสามารถในด้านมิติ จะช่วยให้สร้างกราฟ แผนภูมิต่างๆประกอบการเขียนได้ดีขึ้น

5 เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฝึกสมาธิจนอาจทำให้เกิดองค์ธรรม “ธรรมสมาธิ 5” อันสามารถเป็นบาทฐานของการวิปัสสนาได้

องค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5 ประกอบด้วย ปราโมทย์ – ปีติ – ปัสสัทธิ – สุข – สมาธิ  เมื่อองค์ธรรมเกิดจะเกิดตามกันเป็นชุด โดยเริ่มจากปราโมทย์ (ความพอใจ) แล้วปราโมทย์ก็พัฒนาเป็น ปิติ (ความอิ่มใจ) เมื่อปิติสงบ (ปัสสัทธิ)  ความสุข (สุข) ก็ตามมา เมื่อสุขดับ จิตก็สงบ ตั้งมั่น (สมาธิ )

เราสามารถใช้จิตที่เป็นสมาธินี้ ไปพิจารณาธรรมใดๆ(วิปัสสนา) ก็ได้ต่อไป

การวิปัสสนาโดยวิธีใช้สมาธิที่ได้ตามธรรมชาติจึงเริ่มต้นจาก การนึกถึงความดีที่ทำ หรือนึกถึงศีลที่รักษาอย่างไม่ด่างพร้อย หรือพอใจกับผลงานที่สร้าง เป็นต้น จิตก็จะเกิดปราโมทย์ขึ้นจนถึงจบกระบวนธรรมที่สมาธิ ยามที่จิตเป็นสมาธิ จึงแจ่มใส นุ่มนวล ควรการใช้งานทางปัญญา และรู้เห็นได้ตามที่เป็นจริง

การพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์

1 เขียนอัตชีวประวัติเกี่ยวกับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น เคยวาดคาร์ดเพื่อส่งให้คุณแม่ เคยวาดรูปประกอบบทเรียน เคยวาดภาพทิวทัศน์เพื่อประดับฝาผนังในห้องนอน เป็นต้น เพื่อค้นหาความสามารถและความสามารถของตนที่พัฒนาขึ้น

2 ฝึกวาดวงกลม โดยอาจเริ่มที่วงกลมขนาดประมาณเหรียญห้าบาท วาดใหม่ๆอาจจะยังไม่กลม ไม่เป็นไรค่ะ เราเพียงฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และฝึกการควบคุมทิศทาง เมื่อวาดไปเรื่อยๆ จะพบว่าวงของเราค่อยๆกลมมากขึ้นค่ะ อาจเปลี่ยนขนาดของวงกลมให้เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง

3 พัฒนาทักษะการสังเกตด้วยสายตา เช่น การวาดภาพในแนวพฤกษศาสตร์ ที่ต้องใช้การสังเกตอย่างถี่ถ้วนถึงรูปทรง สีสัน รายละเอียด เพื่อให้ถ่ายทอดออกมาได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

4 พัฒนาความแม่นยำเรื่องทิศทาง เช่น ฝึกวาดแผนที่ง่ายๆ 

5 ฝึกเขียนหนังสือกลับหัว (การเขียนหนังสือกลับหัว เราต้องจำภาพตัวหนังสือปกติแล้วนึกถึงการกลับบนลงล่าง และการกลับซ้ายเป็นขวาไปด้วยในคราวเดียวกัน )

6 วาดภาพตนเองกำลังทำงานโดยกำลังใช้ปัญญาด้านคิดถึงมิติสัมพันธ์ เพื่อเป็นการเตือนตนเองว่าเป็นสิ่งที่ตนต้องทำให้สำเร็จ

ด้วยความอดทนต่อการพัฒนา ผลคือ ศักยภาพของตนเองที่เพิ่มขึ้น และความนับถือตนเองที่ตามมา และเป็นอีกเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5

เหล่านี้เป็นการฝึกทักษะและแผนการพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์อย่างง่ายๆ ส่วนการวาดภาพแนวพฤกษศาสตร์ในบล็อคนี้ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านนี้ค่ะ

..................................................... 

บรรณานุกรม

รองศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา สริวัฒน์ การคิด. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์, 2549.

ศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ สัณหฉวี พหุปัญญาประยุกต์. กรุงเทพ : สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก, 2552.

ผ.ศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ ชนะชีวิต คิดอย่างอัจฉริยะ. กรุงเทพ : ปริ๊นท์โอโซน, 2552”

วนิษา เรซ อัจฉริยะสร้างได้. กรุงเทพ : อัจฉริยะสร้างได้, 2550.

หมายเลขบันทึก: 406179เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นพหุปัญญาที่ครูต้องนำไปพัฒนาผู้เรียนครับ

ต้องให้เด็กได้ค้นหาความถนัดของตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ

คุณณัฐรดาเปลี่ยนรูปใหม่ดูดี มองเป็นผู้ใหญ่ครับ

มาเยี่ยมมาอ่านสาระ ดี ดีครับ การดับทุกข์...อะไรนี้ต้อง คุณ ณัฐรดา ผมมาเยี่ยมชม แต่ไม่ได้ ลงหลักฐาน ออ ลืมไปรูปภาพ นึกว่าสาวจากไหน ....ออ....สวยมา ๆ

สวัสดีค่ะ

แวะมารับสาระทางโลกผสมทางธรรมดีๆในบันทึกนี้ค่ะ

ศักยภาพในตัวคนบางครั้งตัวเองยังไม่รู้เลยว่ามีในตนเอง  จนกว่าจะมีสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งมาผลักดัน   เพราะฉะนั้นคนที่ใกล้ชิดที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่และครูอาจารย์ควรจะสังเกตและดึงเอาส่วนเด่นของเขาออกมาใช้ค่ะ


ผมอ่านตามและพิจารณาใคร่ครวญไปด้วย ยังค้นไม่พบอัจฉริยภาพด้านใด้นหนึ่งของตน ทั้งวัยยังเลื่อนเลย 40 ไปนานแล้ว คงต้องปล่อยไปตามที่เป็นมาแล้วครับ อิอิ

สวัสดีค่ะIco64

  ชื่นชมค่ะ สวยงามมาก คนก็สวย ภาพก็สวย ดูแล้วมีความสุขค่ะ คุณยายขอเป็นกองเชียร์นะคะ ทำไม่เป็นจริงๆค่ะ ถนัดจับไซริงค์มากกว่าภู่กันค่ะ อิอิ

แวะมาชื่นชมผลงานสวยๆค่ะ สบายดีนะคะ ไม่ได้ทักทายกันนาน

  • สวัสดีครับ
  • การวาดภาพแนวพฤกษศาสตร์ ผมว่าเป็นการฝึกสมาธิอย่างดี เพราะต้องสังเกตอย่างถี่ถ้วน ถึงรูปทรง สีสัน ให้เหมือนของจริง ผมเคยแต่ใช้ดินสอวาดภาพวิว ต้นไม้ ภูเขา แต่นานๆ ครั้ง ไม่เคยลองฝึกใช้พู่กัน คงต้องหาเวลาศึกษาและพัฒนาบ้างแล้วครับ

ผู้ใดทำได้เยี่ยมนะคะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆนะคะ...วันนี้มาชวนไปชมการสวนสนามที่เกาหลีเหนือค่ะ....http://gotoknow.org/blog/0815444794/406303

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

วันนี้นำเอาพหุปัญญามาบูรณาการได้อย่างยอดเยี่ยมมากเลยครับ

ขอบคุณสาระดีดีครับ

มาชม

มีข้อธรรมที่น่าสนใจ

มีดอกกุหลาบสีงามสดใสนะครับ...

  • พี่ณัฐรดาครับ
  • หายไปนาน
  • เป้นเรื่องพหุปัญญาของ เดอโบโน่ นะครับ
  • พี่สบายดีไหมครับ

มาเรียนคุณณัฐรดาว่าหนังสือได้รับแล้ว ขอบพระคุณแทนเด็กด้วยครับ

ช่วงนี้ผมจัดงานแต่งงานลูกชายวันที่ 20 พ.ย. จึงห่างจากการเข้าเยี่ยมชมครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยนเยียน คุณณัฐรดาสบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                  

  • ประกาศๆๆ
  • พี่ณัฐรดาหายไป
  • ฮ่าๆๆ
  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...คุณณัฐรดา
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

    สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ... อธิษฐานขอขมาแม่พระคงคาที่ได้ล่วงล้ำก่ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และขอตั้งจิตอธิษฐานขอให้หมดเคราะห์โศกโรคภัยทั้งหลายจงลอยไปกับสายน้ำ ให้ชีวิตที่จะดำเนินต่อไปข้างหน้านี้ประสบแต่ความสุขสมปรารถนาเทอญ...

     

    * ครูใจดีพึ่งเข้ามาที่ G2K วันนี้วันแรก หลังจากที่หายไป มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาค่ะ และปวดร้าวที่ต้นคอและหลัง นั่งนานไม่ได้ กำลังรักษาด้วยการฝังเข็ม และทำกายภาพบำบัดทุกวันค่ะ  ถ้าค่อยยังชั่วจะเข้ามาหาบ่อยๆ นะคะ 

    * ระลึกถึงเสมอค่ะ

    • มาบันทึกนี้ ได้ทั้งศิลป์และธรรม
    • ขอบพระคุณเรื่องราวดีดีที่นำมาแบ่งปัน

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท