CSR โรซ่า : โภชนาการดียั่งยืนอุดรธานี-หนองคาย


การเขียนโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กใหญ่ งบประมาณเท่าใดก็ตาม เมื่อหัวใจอยู่ที่ “ความยั่งยืน” นั้น กิจกรรมที่คิดภายใต้บริบท ศักยภาพ(ทุน) ที่มีอยู่ จึงสำคัญมากในช่วงเริ่มต้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เราจึงเน้นทั้ง “กระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม”ที่เข้มข้นกันจริงๆ

          โครงการจัดทำแผนโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียนปีที่ ๒  ในจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ทาง บริษัทไฮคิวอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด (ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร โดยใช้ตราโรซ่า) มีโรงงานของบริษัทตั้งอยู่ กิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นโดยผ่านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เน้นโภชนาการ ถือว่าเป็นงาน CSR : Corporate Social Responsibility ที่น่าสนใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพผ่านเด็กๆ ซึ่งเป็นปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย

          การริเริ่มเกิดจากการประสานงานระหว่าง กรมอนามัย(กองโภชนาการ) และ ภาคีที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นโดยการ รับสมัคร-คัดเลือกโรงเรียนสังกัด สพฐ.ในสองจังหวัด (อุดรธานี และ หนองคาย)  เพื่อเข้ามาร่วมกิจกรรมการทำแผนส่งเสริมโภชนาการดียั่งยืน เริ่มตั้งแต่คิดทำโครงการฯภายใต้เข็มมุ่งที่จะทำให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่ดี โภชนาการสมวัย

          เวที ๑ และ ๒ เป็นเวทีที่เน้นการให้ทักษะ ความรู้ การทำแผนงาน กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการ หรือ อาจเป็นไปเพื่อการเสริมศักยภาพของทุนที่มีอยู่ก็ได้ เวทีเหล่านี้เป็นเวทีสำคัญที่เสมือนเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งที่คุณครูทั้งหมดจะนำไปเปิดเวทีระดมความคิดในโรงเรียน โดยผ่านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระดมปัญหา ค้นหาทางออก และปฏิบัติการ พร้อมทั้งประเมินผลร่วมกัน ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับ “กระบวนการเรียนรู้ และ การมีส่วนร่วม” ดังนั้นเป้าหมายของความสำเร็จของโรงเรียนที่เข้าร่วมกระบวนการในครั้งนี้ จึงให้มุ่งไปที่การเรียนรู้ร่วมกันและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบโจทย์ “ความยั่งยืน” นั่นเอง

          ผมในฐานะนักวิชาการที่เข้าไปร่วมช่วยในการทำกระบวนการ และรับผิดชอบหลักๆ การประเมินผล CSR ในครั้งนี้ ต้องเข้าร่วมกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ เห็นพัฒนาการการพัฒนาตั้งแต่เริ่มคิด จนถึงสิ้นสุดโครงการ (แต่ไม่สิ้นสุดการพัฒนา) เป็นข้อดีที่นักวิชาการได้คลุกคลี เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน การประเมินผลแบบนี้ สามารถสะท้อนความเห็นข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนทิศทางในการพัฒนาของแต่ละโรงเรียนให้สอดคล้องกับบริบท(ปัญหา-ศักยภาพ) ที่แต่ละโรงเรียนมีอยู่

          ทางผู้ประสานงาน(บริษัทเลมอนเรย์) ส่งเอกสารโครงการมาให้ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพื่อคัดเลือกในการให้ทุนสนับสนุนของบริษัทไฮคิวฯ ต่อไป ผมเห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับการเขียนโครงการหลักๆก็คือ “วิธีคิด” ต่อการวางแผนการแก้ไขปัญหา การมองปัญหาที่แยกส่วน ไม่เป็นระบบไม่เป็นองค์รวม  เมื่อมีปัญหาในจุดนี้ การออกแบบโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเลยไม่สะท้อนว่า กิจกรรมเหล่านั้นจะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ (ซึ่งอาจแก้ไขได้) แต่ “ความยั่งยืน” นั้นไม่เกิดแน่นอน

          การเขียนโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กใหญ่ งบประมาณเท่าใดก็ตาม เมื่อหัวใจอยู่ที่ “ความยั่งยืน” นั้น กิจกรรมที่คิดภายใต้บริบท ศักยภาพ(ทุน) ที่มีอยู่ จึงสำคัญมากในช่วงเริ่มต้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เราจึงเน้นทั้ง “กระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม”ที่เข้มข้นกันจริงๆ

          ในเวทีที่สามในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๐ ตค.๕๓ นี้ เราจัดเวทีทบทวนแผนฯ ขึ้นมาอีกครั้งพร้อมมอบทุน จึงถือโอกาสนี้ มาทบทวนการเขียนโครงการอีกครั้ง แม้ว่าโครงการทั้งหมดจะได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากบริษัทไฮคิวแล้ว อย่างน้อยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการและคุณครูก็จะช่วยให้ทักษะ-แนวคิด การเขียนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่อๆไป

          เวทีที่สามในวันแรกที่โรงแรมแห่งหนึ่งในอุดรธานี (๑๙ ตค.) และ วันนี้ซึ่งเป็นวันที่ ๒ ที่หนองคาย (๒๐ ตค.๕๓) ประสบความสำเร็จในเบื้องต้นที่เห็นคุณครูมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน และ คุณครูดีใจที่ได้รับสื่อโภชนาการหลากหลายจากการผลิตขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานสุขศึกษา – Heath edutainment ผมเห็นสื่อที่โรงเรียนได้รับในวันสองวันนี้แล้ว ดีใจแทนเด็กๆจริงๆ

ผมขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีครับ บริษัทไฮคิวอุตสาหกรรมอาหารจำกัด,บริษัทเลมอนเรย์ พร้อมด้วย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ร่วมด้วยช่วยสร้างสรรค์สังคมในครั้งนี้

หมายเลขบันทึก: 403616เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เด็กถ้าสุขนิสัยการกินที่ดี จะช่วยลดโรคต่างๆที่จะตามมาได้มากค่ะ

ด้วยเหตุนี้ครับ งานโภชนาการจึงเป็นประเด็นเร่งด่วนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้คน โดยเฉพาะ เด็ก เยาวชน ครับ งานนี้มุ่งเป้าหมายเด็กนักเรียนครับ

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อสุขภาพและความสุขของสังคม  กลับวันไหนคะ

พี่คิมครับ

ผมกลับจากหนองคายเมื่อคืนเเล้วครับ เเต่ต้องมาเร่งทำงาน ' เร่งด่วน ' สองสามชิ้น เหนื่อยมากครับ

สำหรับ CSR ROZA เป็นงานที่ยาวเหยียดเลยครับ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า>งานนี้เดินทางไป อุดร หนองคาย จนพรุนเเน่ๆเลยครับ 

อย่าลืมส่ง sms ไปเป็นน้ำใจช่วยเหลือน้ำท่วมนะคะ ๔๕๖๗๘๙๙ 

ขอบคุณครับน้ำท่วมคราวนี้้ น่าเห็นใจพี่น้องชาวไทยในหลายๆจังหวัดมากๆครับ

คราวนี้เห็นเเล้วว่า เวลามีเหตุที่เราต้องช่วยเหลือกัน เราก็ช่วยกัน ไม่ต้องมาเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องของการเมืองไทย

คราวหน้าจะไปเที่ยวเป็นเพื่อนนะคะ  จะไปกินอาหารอิสานค่ะ

ยินดีครับ พี่ครูคิม >เมื่อวานเจอ พี่ปรีดา (เกษตรอยู่จังหวัด) ก็พุดคุยกันหลายเรื่อง รวมไปถึงการรวม blogger อีสานบน ทำเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่นั่นครับ

เเต่ก็เป็นความคิดเริ่มต้นครับ

ยายคิมมีความตั้งใจจะไปช่วยคนไข้ของ Hana เย็บปักถักร้อยค่ะ  ส่วนการทำเวที  มีคนชวนทำที่พิษณุโลกเหมือนกัน

ตอนนี้ยังไม่อยากคิดทำอะไร  นอกจากเรื่อย ๆ ไปก่อน

สวัสดีค่ะ

ทำงานหนัก รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

 

ความยั่งยืนสำคัญครับ..เห็นด้วย...

แต่ที่เห็นอยู่..คือเขาขอความยั่งยืนว่า..ให้มีงบมาทุกปี ๆ คือความยั่งยืนที่เขามอง..แค่นั้นครับ

พี่ปรีดา

ด้วยเหตุผลที่พี่เขียนไป-  ผมเลยให้ข้อสังเกตสำหรับการทำโครงการไว้ในสองประเด็นที่เป็นหัวใจ

เพราะหากเรามองเรื่องความยั่งยืน เเล้วละก็ ก็ต้องตีคำว่า ยั่งยืนให้แตกว่า จะได้มาโดยวิธีการใดบ้าง?

ผมเน้นสองประเด็นคือ

- การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกั

 

ทั้งสองประเด้นเลยเป็นทั้งกระบวนการเเละเป้าหมายไปในตัวด้วยครับ :)

  • การดำเนินการหลายเรื่องในบ้านเราเป็นอย่างนี้..ทำโดยไม่คำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ทำให้ต้องทำอย่างซ้ำซาก วนไปเวียนมาอย่างไม่ควรจะเกิด ทำเรื่อย ทำจริง ทำไม่หยุด แต่ปัญหาต่างๆไม่ยอมลุล่วงเสียที
  • ชื่นชมภาคเอกชนมากครับ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องสำคัญนี้
  • เดินทางไม่หยุดเลยเหมือนกันนะครับ..ขอบคุณความรู้ครับ

ครูธนิตย์

อีกไม่กี่วันผมมีกระบวนการสรุปเเละถอดบทเรียน "ธรรมนุญสุขภาพ" ที่นครสวรรค์ครับ มีโอกาสมาเรียนรู้ด้วยกันครับ

มีกิจกรรมดีๆอยู่ที่หนองคายบ้านเรานี่เอง

ทราบว่า พี่นางอยู่หนองคาย พี่เกียรติศักดิ์บอกผม โอกาสต่อไปคงได้เจอกันครับ ผมอาจได้เดินทางไปบ่อยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท