KM ที่รัก ตอนที่24 "จะเรียนอย่างไร ให้จบตามกำหนดเวลา และมีมาตรฐาน(2)"


วิทยานิพนธ์ จะเดินอย่างไร แล้วจะจบแบบไหน??

            จากคำแนะนำของ อ. ที่ปรึกษาอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นหมากเป็นผล มาจากวิธีการเรียน(รู้) ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 23 และที่สำคัญจะเป็น คำตอบของโครงการนี้ ที่หลายคน(ทั้งประเทศ) คอยดูอยู่ ซึ่งหลายคนเขียนคำตอบไว้ล่วงหน้า  บางคำตอบน่ากลัว !! ในเรื่องนี้ เป็นประเด็นที่ 2 วิทยานิพนธ์จะมีเส้นทางเดินอย่างไร? แล้วจะจบแบบไหน?  ความคิดเห็น  ความเป็นห่วงของ อ. ที่ปรึกษา(อ. อริยาภรณ์) ค่อนข้างตรงประเด็น กระตุกกาย กระชากใจนัศึกษาได้มาก สิ่งแรกที่ อ. พูดถึง และชูประด็นขึ้นมาให้มองเห็นชัดทั้ง รูปร่างและขนาดความสำคัญ  คือ เรื่องที่ อ. อภิชัย พูดค้างไว้ว่า "หัวข้อเรื่องของการวิทยานิพนธ์ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจนวันจบ   มีความเห็น(เชิงเป็นห่วง) ว่าการปรับนั้นสามารถปรับได้ แต่ต้องมีจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน (กลัวเรียนสนุกแล้ว..ไม่จบ) กรอบความคิดต้องไม่เปลี่ยน  แต่โดยความเป็นจริงแล้ว  ถ้านักศึกษา หรือผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์เอง มีการเรียนรู้ และเกิดปัญญาอย่างต่อเนื่อง กรอบความคิดจะด้นได้ และจะเกิดการปรับตัว  จากกรอบเดิม ที่ใหญ๋มาก และขุ่นมัว  ก็จะเริ่มกรอบเล็กลง ๆ คนมองดูก็จะชัดใส ขึ้น สบายตา สบายใจ(อ. แสวง) 

                     หัวใจของวิทยานิพนธ์ คือการเขียน ถึงแม้นักศึกษามีวิธีการเรียนที่ดี  อ่านหนังสือแล้ว สามารถสรุปได้ ตีประเด็นแตก แยกแยะได้ แต่ไม่สามารถนำสิ่งที่รู้ เข้าใจมาเขียนให้มีความสอดรับ ร้อยเรียง เป็นเรื่องราวเพื่อสื่อกับคนอ่าน ให้อ่านแล้วมีความรู้สึก  สนิทชิดเชื้อ กับคนเขียนมาก  เสมือนกับได้กระโจน เข้าไปอยู่  เข้าไปลงสนามร่วมเรียนรู้ กับคนเขียนจริง ๆ ( ทั้ง ๆที่ไม่รู้จักกันเลย)   งานเขียนวิทยานิพนธ์ แบบนี้น่าจะเป็นงานเขียนที่มีชีวิต มีคุณค่ามาก..แต่เท่าที่ อ. ที่ปรึกษาอ่าน ของนักศึกษา  ยังเป็นการใช้เทคนิคทางศิลปะ ของอนุบาล 2 อยู่ คือเทคนิคการตัดแปะ (อ. ฐิติพล) ซึ่งรวมถึงผมด้วย   นักศึกษาส่วนมากพูดได้ดีมากชัดเจนเห็นภาพ ตามแต่เขียนไม่ใด้เรื่อง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่นักศึกษาอ่านหนังเสือมาก แต่ขาดประสบการตรง ควรจะเข้าไปสัมผัส กับเรื่องจริง ๆด้วย นอกจากนี้วิธีการที่จะเขียนให้ได้เร็วตามความคิดที่กำลังใหลลื่น ให้ทัน คือ พูดอัดเสียงไว้ แล้ว ค่อยมาพิมพ์ และแก้ไขทีหลัง เพราะบางครั้งคิดไปพิมพ์ไป โดยเฉพาะคนที่พิมพ์ไม่คล่อง มัวแต่ไปมองหา ว่า ตัว "ค" อยู่ตรงไหน ความคิดดี ๆ ก็หลุดไปแล้ว(อ.แสวง)     เมื่อความคิดติดขัดเขียนก็ติดขัด  คนมาอ่านงานเขีนนก็ อ่านไปก็ติด ๆขัด ๆ คงไม่มีใครอยากอ่านครับ     แต่นักศึกษาของเราทุกคนก็สบายใจขึ้นมากเพราะ ทางหลักสูตร (โดย อ.สุธิดา)มีตารางการเรียนในเดือนสิงหาคมทั้งเดือน เป็นเรื่องที่เรากำลังกังวนอยู่  คือเรือง การศึกษาระเบียบการวิจัย , แนวทางการทบทวนวรรณกรรมฯ ซึ่งมีคณะ อ.ที่เครพนับถือหลายท่านกรุณามาช่วย  ..เราคงได้เห็นความก้าวหน้าของ นักศึกษา และความหวัง ความรู้สึกดี ๆขององค์กร คงจะกลับคืนมาสู่พวกเรา ..ครับ

                     ประเด็นร้อน

                        ถ้าความคิดติดขัด คุณจะทำอะไรไม่ได้(อ. อภิชัย)

                       ปรับ(กรอบ)ได้แต่เปลี่ยนไม่ได้(อ.แสวง)

                       เรียนสนุกลุกนั่งสบาย..ระวังจะไม่จบ(อ. อริยาภรณ์) 

                       ทฤษฎี มาทีหลัง ปฏิบัติจริงจังและข้อเท็จจริงมาก่อน(อ. อภิชัย)

หมายเลขบันทึก: 40058เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท