คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

คุณมีส่วนร่วมในงานความปลอดภัยในการทำงานอย่างไรบ้าง


นายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องมีส่วนร่วมในการทำงานถึงจะทำให้การเกิดอุบัติเหต การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานลดลง ทำให้ลดการสูญเสียทั้งเวลา ทรัพยากร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
นายจ้าง
 
 1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อกำหนด และ กฎหมายความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย
2. แสดงความรับผิดชอบ ในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด ของกฎหมาย และ ส่งรายงาน ตามแบบที่กำหนด ทุกครั้ง
3. จัดหาสำเนา ข้อกำหนด และ กฎหมายความปลอดภัย และ อาชีอนามัยไว้สำหรับ ให้คนงานอ่าน และ ศึกษาตามคำร้องขอ
4. ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน
5. ประเมินสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และ ดำเนินการลด หรือ ขจัดสิ่งซึ่งอาจเป็นอันตราย
6. จัดหาอุปกรณ์ และ เครื่องมือที่ปลอดภัย ให้ลูกจ้างใช้ปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคล ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ให้ลูกจ้างสวมใส่
7. สื่อสาร ให้ลูกจ้างได้รับข่าวสาร เกี่ยวกับความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย ที่เกี่ยวข้องกับเขา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับอันตราย และ วิธีการป้องกันอันตราย ในงานที่ลูกจ้างปฏิบัติ
8. ส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ
ลูกจ้าง
 
 1. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และ ข้อบังคับที่นายจ้างกำหนด และ สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลที่นายจ้าง จัดหาให้ ตามสภาพ ของงานตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงานนั้น
2. ปฏิบัติตามมาตรฐาน และ กฎหมายด้านความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย ที่เกี่ยวข้องซึ่งหน่วยงาน ราชการกำหนด
3. ดูแลอุปกรณ์การปฏิบัติงาน และ สภาพแวดล้อม ในการทำงานของตน ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และ เหมาะสมอยู่เสมอ
4. ตรวจตรา และ รายงานสภาพที่เป็นอันตราย ให้หัวหน้างานทราบทันทีที่พบ
5. รายงานการเจ็บป่วย หรือ บาดเจ็บจากการทำงาน ให้นายจ้างทราบ และ ไปรับการรักษาทันที
6. ให้ความร่วมมือกับนายจ้าง ในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการทำงานแก่ตนเอง เพื่อนร่วมงาน และ สถานประกอบกิจการ
7. ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน ตรวจความปลอดภัย ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
เจ้าหน้าที่รัฐ
 
 1. พัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย และ บังคับใช้โดยอาศัย กระบวนการ ตรวจสถาน ประกอบกิจการ
2. จัดหาความช่วยเหลือ ด้านวิชาการ และ การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งอบรม ความรู้แก่นายจ้าง เพื่อให้สามารถบริหาร จัดการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อม ในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ติดตามสถานการณ์ด้านความปลอดภัย และ อาชีวอนามัยอย่างใกล้ชิด เพื่อการกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน และ พัฒนาให้เกิดความปลอดภัยแก่นายจ้าง ลูกจ้าง
4. กระตุ้นให้นายจ้างนำระบบ การจัดการ ความปลอ ดภัย และ อาชีวอนามัย ไปปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนางาน ความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย ของสถานประกอบกิจการ ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ และ ต่อเนื่อง
5. สนับสนุนการพัฒนา วิธีการใหม่ๆ ในการจัดการกับอันตราย ในสถานที่ทำงาน
6. ส่งเสริมโปรแกรม การดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมระหว่าง นายจ้าง ลูกจ้าง ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน และ ลดอุบัติเหตุ ของสถานประกอบ กิจการ
7. จัดทำโปรแกรม การอบรมเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถ ของบุคลากร ด้านความปลอดภัย และ อาชีวอนามัย
8. จัดทำระบบรายงาน และ บันทึกผลเพื่อติดตามสถิติ การประสบอันตราย โรคที่เกี่ยวเนื่อง และ โรคจากการประกอบอาชีพ

นายนรินทร์  แก้ววารี

เจ้าพนักงานแรงงาน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 40051เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท