Deep Reading: การอ่านระดับ “จิตวินิจฉัย”


สามารถอ่านหนังสือที่คนอื่นเขียนได้ แล้วสามารถเข้าใจ ในระดับ “อารมณ์ ความคิด ระดับสติ และปัญญา”ของคนเขียน ได้ดี พอๆกับคนเขียน

ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้มีพันธมิตร blog เข้ามาให้ความเห็นเชิง "วิเคราะห์ระดับแนวคิด" ของผม ที่ทำให้ผมเริ่มเข้าใจความหมายของ Deep Reading ในระดับต้นๆ

แต่ระยะสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสรู้จักและเรียนรู้วิธีการอ่านของพันธมิตร blog อีกท่านหนึ่งที่มีความสามารถพิเศษในการอ่านหนังสือในระดับที่ลึกซึ้งมากอย่างที่ผมไม่คิดว่าจะมีตัวจริง ทำจริง ประเมินได้ และตรวจสอบได้มาก่อน

ผมเคยได้ยินมาก่อนหน้านี้ก็คือ

  • บางคนสามารถอ่านหนังสือที่คนอื่นเขียนได้ แล้วสามารถเข้าใจ ในระดับ “อารมณ์ ความคิด ระดับสติ และปัญญา”ของคนเขียน ได้ดี พอๆกับคนเขียน
  • หรือแม้กระทั่งเข้าใจคนเขียนมากกว่าคนเขียนเอง ที่มีระดับความคิดยังไม่สูงนัก แต่เน้นเขียนเล่นๆระบายอารมณ์ของตัวเอง โดยไม่คิดว่าใครจะได้อะไร แบบ "ครูประเมินนักเรียน"

ที่ผมไม่ทราบจะใช้คำจำกัดความว่าอะไร จึงขอใช้ศัพท์ชั่วคราวว่า

ระดับ “จิตวินิจฉัย”

ที่การอ่านระดับต่ำกว่านั้น ก็น่าจะได้เพียง อย่างหนึ่งอย่างใด หรือส่วนผสมที่ไม่ครบถ้วน เช่น เพียง

  • เข้าใจปรัชญาและแนวคิด
  • จับหลักการได้
  • จับประเด็นสำคัญๆ ได้
  • เข้าใจแนวคิดหลักๆ
  • เข้าใจเนื้อหา
  • เข้าใจใจความหลักๆ
  • จับได้บางประเด็น
  • เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเขียน
  • พอมองแนวทางออก
  • ฯลฯ

จนกระทั่งระดับต่ำสุดของความสามารถในการอ่าน คือ

  • อ่านได้แค่ตัวหนังสือ ไม่เข้าใจกรอบและประเด็นที่นำเสนอ

แต่ คนที่มีความสามารถในการอ่านระดับ “จิตวินิจฉัย” นั้น จะเข้าใจอย่างครอบคลุมถึง

  • ประเด็นและเนื้อหาหลักๆ
  • ระบบคิดและปรัชญาของคนเขียน
  • ความหมายที่แฝงอยู่ในตัวหนังสือแต่ละตัว
  • ปรัชญาที่แฝงในคำและวลีที่สำคัญๆ
  • อารมณ์และความคิดของผู้เขียนในขณะที่เขียน แต่ละบรรทัด แต่ละย่อหน้า แต่ละเรื่อง แต่ละตอน

และเมื่อเปรียบเทียบงานเขียนต่างๆแล้ว

ผู้อ่านระดับ “จิตวินิจฉัย” จะสามารถเปรียบเทียบ

  • ระดับปรัชญา และแนวคิด
  • ความละเอียดลึกซึ้ง ระดับสติปัญญาชองงานเขียน และ
  • สถานะ และการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้เขียนแต่ละคน ในขณะที่เขียนเรื่องนั้นๆ

ทำให้สามารถประเมินเบื้องต้น เปรียบเทียบ และวัดความสามารถในด้าน

  •  
    •  
      • ปรัชญา และหลักการ
      • ระดับความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ระดับสติ และปัญญา
      • แนวทางในการทำงาน และ
      • ระดับความสามารถในการทำงานของผู้เขียนแต่ละท่านได้

เท่าที่พูดคุยกันทางโทรศัพท์ สรุปว่า ได้ประเด็นสำคัญๆ ของความหมาย "จิตวินิจฉัย" มาประมาณนี้ครับ

ผิดพลาดอย่างไรจะพยายามเก็บตกมาเติมให้ครับ

นับว่าน่าสนใจมาก

  • เพราะอาจเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาตัวเองสำหรับผู้อ่านที่ต้องการพัฒนา “ความสามารถในการอ่าน” ของตัวเอง และ
  • ผู้เขียนที่ต้องการพัฒนาการเขียนที่สามารถสื่อความเป็น “ตัวจริง” ของตัวเอง ให้คนอื่นเข้าใจตัวเองอย่างถูกต้อง
  • หรือจะเก่งระดับ "เขียนหลอกล่อ" ให้ผู้อ่านบางระดับหลงทาง ก็เป็นได้ แต่ไม่น่าจะปิดบังผู้อ่านระดับ "จิตวินิจฉัย" ได้ (ข้อนี้ผมยังไม่แนใจ)
  • เพื่อหลีกเลี่ยง ปราม ลด หรือไม่ให้ความสำคัญกับ การแสดง "วาทะกรรม" เล่นๆ ไปเรื่อยๆ ที่ทำให้เสียเวลาและทรัพยากรของทุกคนในสังคม แบบไม่ตรงกับความจริง หรือ
  • ลดการอ่านที่ด้อยคุณค่า เสียเวลาไปอย่างได้ประโยชน์น้อย และไม่มีประสิทธิภาพ หรือเกิดความคิดแบบ "ขยะ" รกสมอง หลงเนื้อหา หลงทาง ตีความผิดฝาผิดตัว

สำหรับคนที่อ่านเล่นๆ หรือ เขียนเล่นๆ เพียงให้เวลาผ่านไป

  • ไม่สนใจเนื้อหาสาระอะไร จะสื่ออะไร หรือใครจะได้อะไรหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ
  • ทั้งจากการเขียนและการอ่าน
  • บทความนี้คงไม่เป็นประโยชน์อะไรกับบุคคลเหล่านั้นครับ

สวัสดี และขอให้ทุกท่านมีความสุขกับพัฒนาการเขียนและการอ่านที่มีคุณภาพครับ

หมายเลขบันทึก: 398379เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2010 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

   หลังจากทำการ Deep Reading แล้วก็เข้าใจตามที่สื่ออกมาครับ  แล้วก็อดไม่ได้ที่ต้องมองย้อนไปยังระบบการศึกษาที่ผิดพลาดมายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะก้าวพ้นออกมาจากกะลาหลายใบ และหลายชั้นที่ครอบอยู่ได้เลย  การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของระบบการศึกษาหรือการจัดการเรียนการสอน วิธีง่ายๆอันหนึ่งจึงน่าจะได้แก่การพิจารณาจากปฏิกิริยาที่ผลผลิตของระบบการศึกษาคือนักเรียน นักศึกษา บัณฑิต มหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต แสดงออกมาหลังจากได้อ่านเรื่องราวบางอย่างที่กำหนดให้

   ผมไม่ได้มองโลกแง่ร้าย หรือมี Negative Thinking แต่มองด้วยความจริง ก็พอคาดเดาได้ว่า  ผลที่พวกเขาจะแสดงออกมาได้น่าจะอยู่แค่ในระดับ พอมองแนวทางออก   เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเขียน   จับได้บางประเด็น   เข้าใจใจความหลักๆ  เข้าใจเนื้อหา  เข้าใจแนวคิดหลักๆ  และ    จับประเด็นสำคัญๆ ได้  แต่จะให้ถึง  ระดับปรัชญา และแนวคิด  ความละเอียดลึกซึ้ง สติปัญญา และการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้เขียนแต่ละคน ในขณะที่เขียนเรื่องนั้นๆ  ผมว่ายังห่างไกลมากทีเดียว  ที่สำคัญเราจะยังคงพบที่อาการหนักๆถึงขั้น "ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน" แม้ในระดับผิวเผิน  และจะมีบ้างเหมือนกันที่ถึงขั้น เข้าใจไปคนละทิศกับสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอ

   ขออภัยที่ยาวไปหน่อย  แต่ขอต่ออีกนิดด้วยบทกลอนแสบๆจากพี่ชายชื่อ จุมพล วัฒน์บุญ เป็นอาจารย์ เป็นกวี ที่เกษียณอายุราชการแล้ว เราเจอกันโดยบังเอิญที่ร้านอีสานเรือนไทยเมื่อ 4-5 วันก่อน กินข้าวด้วยกันเสร็จบอกว่าน้องตามไปบ้านพี่หน่อยอยู่ห่างไปราว 1 กม. มีหนังสือจะให้ 1 เล่ม ผมก็ไปตามนัด คุยกันนาน 2-3 ชั่วโมงก่อนอำลากลับ ได้ความรู้และแง่คิดอะไรมากมายจากหนังสือ "บทกวี .. ใต้ฟ้ากะลาครอบ" ของพี่ท่าน  แล้วผมต้องสะดุ้งเมื่อมาพบภายหลังว่ามีบทกลอนพิมพ์เป็นลายมือเขียนของเจ้าของหนังสือไว้ที่ปกหลัง ความว่า ..

   "  ไม่รักอ่าน  อย่าหาญ  มาด้านขอ

ไม่อยากอ่าน  อย่าบ้ายอ  ไปโอ่อ่าน

ใครขอไป  เป็นขยะ  คือประจาน

ขอลูกหลาน  จำไว้ด้วย ... ซวยทั้งวงศ์ "

       นับว่าโชคดีที่ผมไม่ได้ขอ  แต่เจ้าของคือผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น เป็นคนบอกให้ผมเอง .. เกือบไปแล้วมั้ยล่ะ

    อิ อิ อิ

 

 

 

ขอบคุณครับ ที่มาเติมต่อให้

เพื่อความชัดเจนครับ

จะนำไปใช้ต่อครับ

    ขออภัยครับ  เจ้าของหนังสือ และบทกลอน "ทิ่มใจ" คือ อาจารย์ จุมพล วัฒน์บุณย์ ครับ  ไม่ใช่ จุมพล วัฒน์บุญ

ไม่เฉพาะงานเขียน อย่างเดียว ตามประสบการณ์ก็หมายรวมถึง การสนทนา การพูดคุย การตั้งคำถาม บุคลิก การมองโลก ผ่านการสื่อสารแบบใดก็ตาม เราก็วิเคราะห์ได้ไม่ยากว่าคนหนึ่งๆ เขามีเบื้องหลังความคิดอย่างไร? ต่อให้คนที่เก็บไว้ลึกที่สุด (หมายถึงก้นภูเขาน้ำเเข็ง) ก็ยังพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่ากิเลสเขานั้นแสดงผ่านสัญลักษร์อะไร?

ตรงนี้เป็นวิธีการวิดคราะห์คนเเบบเร็วๆ ผ่าน Facilitator แบบผมนะครับ เพื่อประโยชน์ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

โดยพื้นฐานคน-มนุษย์ มีความต้องการเเทบไม่ต่างกัน เพียงเเต่ช่องการเเละสัญลักษณ์การสื่อสารเพื่อบอกต่างกัน

 

ผมก็รู้สึกเช่นเดียวกันกับคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ครับ ไม่ว่าจะเป็นการ อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยว เล่น ทำกิจกรรม ใดๆ ฯลฯ แต่ของผมจะเน้นไปทางการ ตีความ จุดประกาย ต่อยอด เชื่อมโยง เพื่อสร้างองค์ความรู้อื่นๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ ให้เหมาะกับชีวิตของเราครับ

สวัสดีครับอาจารย์

อ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วเข้าใจตัวเองขึ้นแยะเลยครับ

ต่อไปคงต้องอ่านอะไรที่มากกว่าตัวหนังสือซะแล้ว

แหะ แหะ ไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า

เพราะที่ผ่านมาแค่อ่านเบื้องหน้า (ตัวหนังสือที่ปรากฏ) ก็ยังเข้าใจได้ไม่หมดเลยครับ

จริงด้วยครับ

ต้อง "อ่าน" ทุกด้านเลย

แม้แต่สีหน้า สายตา แววตา.....

ต้องไปหาที่เรียนซะแล้วซิ

ได้ข่าวว่าที่เมืองปายมีโรงเรียนสอนใช่ไหมครับ

ถ้ามีขอระเบียบการด้วยนะครับ

อิอิ

555555555

One person that can do so is surely YOU and KRUU YUI.

I see he has a good comment and can analise deeply to mind level on your definition.

Regards,

zxc555

 

สวัสดีขอรับ ท่านอาจารย์

  • เข้ามารับความรู้ตามเคยขอรับ  มาเอาเฉย ๆ ก็เขิน ๆ จึงขอแสดงความคิดเห็นน้อย ๆ เอาไว้ดังนี้ขอรับ
  • ผมว่า ความสามารถในการอ่านได้ลึกซึ้งนั้น ขึ้นอยู่ระดับความสงบของจิตด้วยนะขอรับ ยิ่งจิตสงบ จิตยิ่งจะละเอียดเข้าถึงสรรพสิ่งได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น
  • แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นการปรุงแต่งอยู่ดี (กิริยาจิต)
  • ขอบพระคุณขอรับ

 

นั่นนะซิครับ

เราจะอ่านจริงๆ ได้ของที่เป็นอยู่ ทั้งที่เป็นจริงและการปรุงแต่งของผู้เขียน โดยผู้อ่านไม่ปรุงแต่งนั้น ผมว่ายากยกกำลังสองเลยครับ

แต่ก็เป็นข้อคิดควรระวังที่ดีมากครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอคารวะองค์ความรู้นี้ด้วยใจจริงครับ

 

ขอบคุณมากครับ

นี่แหละคือพลังของเครือข่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท