หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เล่าบทเรียน SHA ที่อุดร


        ไม่กี่วันมานี้มีโอกาสไปเข้าร่วมประชุมเครือข่ายโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ SHA ซึ่งจัดโดย สรพ.

        ทันที่ที่เจอแม่ต้อย ก็ถูกร้องขอให้ขึ้นพูดบนเวทีพร้อมกับคุณเอก – จตุพร ไม่ทันจะตั้งตัวก็พบว่าตัวเองตกปากรับคำไปเรียบร้อยทั้งที่ไม่รู้ว่าจะพูดคุยอะไร เรื่องราวต่าง ๆ นั้นคุณเอกได้ตระเตรียมไว้เป็นอย่างดี ที่สำคัญครอบคลุมทุกเรื่องที่ผมรู้ไปทั้งหมดแล้ว

        จะว่าไปผมเป็นคนนอกวงการสาธารณสุข เริ่มจะรู้เรื่องโรงพยาบาลบ้างก็เมื่อคราวที่มาร่วมงานถอดบทเรียน ๒ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ SHA ได้แก่ ร.พ.พิจิตร และ ร.พ.เจ้าพระยายมราช

        อาการหนาว ๆ ร้อน ๆ เริ่มจะปรากฏ ด้วยไม่รู้จะพูดอะไรบนเวที

        เรื่องราวเกี่ยวกับ HA และ SHA อย่าว่าตกผลึกเลย การรับรู้ความหมายก็ยังวิ่น ๆ แหว่ง ๆ

        แม้ว่าจะมีโอกาสได้ลงไปเรียนรู้และถอดบทเรียนโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ SHA อีก ๔ แห่ง ในปีนี้สด ๆ ร้อน ๆ แต่ก็ยังไม่ทันที่จะจัดระบบข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่

        จึงได้ใช้เวลาเท่าที่มีคิดทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพราะเกรงใจหลายคนหากพูดอะไรเห่ย ๆ ออกมา และมีแนวโน้มเป็นอย่างยิ่งที่จะเห่ยออกมาให้เห็น

        ผมกล่าวประโยคแรกบนเวทีว่า “ผมนึกอยู่นานว่าจะคุยอะไรให้ฟังดี กระทั่งขณะที่พูดอยู่นี้ก็ยังคิดอยู่...”

        เป็นเพราะยังใหม่ในวงการสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับ HA กระทั่ง SHA ไม่สามารถจะยกระดับปรากฏการณ์ขึ้นสู่หลักการทางนามธรรมได้ ผมจึงตัดสินใจจะเล่าเรื่องราวดิบ ๆ ที่ได้จากการลงไปเรียนรู้ในพื้นที่

        ผมเริ่มต้นจากสารภาพกับผู้ฟังว่าผมเป็นคนนอกวงการ เรื่องราวที่พูดออกไปแม้จะมาจากสุดยอดสองโรงพยาบาลในภาคอีสาน คือ ร.พ.อุบลรัตน์ และ ร.พ.ด่านซ้าย แต่เรื่องราวจากการนำเสนอของผมอาจจะธรรมดา จนกระทั่งไม่น่าสนใจ เพราะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน

        ประเด็นแรกที่ผมพูดคุยคือผมพบเห็นอะไรที่น่าสนใจในการลงพื้นที่ถอดบทเรียน

        สิ่งที่ผมพบเห็นในสองโรงพยาบาลที่ประทับใจมาก ๆ คือคำตอบสุดท้ายของงานบริการสุขภาพ จะเรียกว่าเป็นปลายทางของ HA หรือ SHA ก็ได้

        ที่ ร.พ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ระบบข้อมูลอันดีเยี่ยมของโรงพยาบาลบอกว่า สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของ อ.ด่านซ้าย คือ “แก่ตาย”

        และที่ ร.พ.อุบลรัตน์ ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลก็บ่งบอกชัดเจนว่า ชาวบ้านเจ็บป่วยมาใช้บริการที่โรงพยาบาลน้อยลงไปเรื่อย ๆ และสิ่งที่ผมเห็นกับตาคือ ตอนบ่ายที่โรงพยาบาลแทบไม่มีคนไข้

        ภาพปรากฏของทั้งสองโรงพยาบาลนั้น ในทัศนะของคนนอกวงการสุขภาพอย่างผมนั้นถือว่าเป็นสุดยอดของการทำหน้าที่บริการสุขภาพของโรงพยาบาล เป็นภาพอุดมคติที่สังคมพึงปรารถนา

        ประเด็นถัดมาที่ผมคุยก็คือ การหาคำตอบว่าทำไมโรงพยาบาลที่ปกติมักจะแออัดยัดเยียดด้วยคนเจ็บป่วย และการตายโดยมากก็มิใช่สาเหตุจากการแก่ตาย

        ผมเล่าว่าทั้งสองโรงพยาบาลนั้น มีพัฒนาการและเติบโตมาเป็นลำดับ ขยายเตียง เพิ่มตึก เพิ่มบุคลากร เพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น ได้รับงบประมาณมากขึ้น

        แต่สิ่งที่ทั้งสองโรงพยาบาลออกจะแตกต่างจากที่อื่นก็คือ การตั้งข้อสังเกตุว่า ในขณะที่โรงพยาบาลพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการรักษาไปเรื่อย ๆ คนเจ็บป่วยก็มากขึ้นตามไปด้วย ที่โรงพยาบาลอุบลรัตย์บอกว่าภายในเวลาไม่กี่ปี ผู้ป่วยจาก ๒๐ คนพุ่งพรวดเป็น ๒๐๐คน

        โรคภัยไข้เจ็บก็รุนแรงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาก็แพงขึ้น

        นอกจากนั้นโดยภาพรวมแล้วผู้คนประชาชนในพื้นที่มีความสามารถในการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพน้อยลงไปเรื่อย ๆ พึ่งพาหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ผู้คนอ่อนแอลง เจ็บป่วยมากขึ้น ไม่สามารถดูแลอาการเจ็บป่วยตนเองและสมาชิกในครอบครัวแม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้

        และยิ่งโรงพยาบาลพัฒนาไปเรื่อย ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรักษาพยาบาลก็ค่อยลดถอยลงไป ถูกละทิ้งจนแทบสูญหายไปเกือบหมด

        แทนที่จะมุ่งพัฒนาโรงพยาบาลไปสู่ความเป็นเลิศด้านการรักษา ทั้งสองโรงพยาบาลกลับมาตั้งหลักว่า สิ่งที่โรงพยาบาลเพียรกระทำที่ผ่านมาน่าจะมาผิดทาง หากตั้งรับเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ อีกหน่อยคนป่วยก็จะล้นโรงพยาบาล จึงคิดใหม่ ทำใหม่ ทำอย่างไรจะให้ชาวบ้านเจ็บป่วยน้อยลง จนเป็นที่มาของการทำงานเชิงรุกนอกโรงพยาบาล หรือที่เรียกกันในภาษาวงการว่า “การสร้างเสริมสุขภาพ” แต่ก็ไม่ทิ้งการรักษาคุณภาพหรือมาตรฐานการรักษาภายในโรงพยาบาล

        กระแสเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพ” และ “สุขภาวะองค์รวม” เกิดขึ้นมาพักใหญ่แล้ว ในทางทฤษฎีหรือหลักการเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป แต่การปฏิบัติและรูปธรรมยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก

        โรงพยาบาลอุบลรัตน์ค้นพบคำตอบอยู่ใน “เกษตรพอเพียง” จากปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสาน ๑๒ ท่าน

        โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายปิ้งแว้ปเมื่อคราวทำงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับ อ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ว่าระบบบริการต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน รวมทั้งการเชื่อมั่นของทีมงานในโรงพยาบาลว่าศิลปะและกีฬาสามารถสร้างเสริมสุขภาวะได้

        ยังไม่จบครับ ขอเล่าต่อบันทึกหน้า

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 393635เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะท่านหนานเกียรติ

มาเติมความรู้ค่ะ

การสร้างเสริมสุขภาพ การบริการเชิงรุก ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง น่าสนใจมากค่ะ ทำอย่างไรจะทำเป็นรูปธรรม ต่อเนื่อง อ่านเรื่องเล่าแล้วก็ประทับใจ ชื่นชมโรงพยาบาลทั้งสองเช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับน้องหนาน

นี่ขนาดยังไม่ตกผลึก เล่าตามนึกได้ ยังชวนติดตามเห็นความแตกต่างของการบริการอย่างเป็นเลิศ

กับการรุกไปที่ตัวของชุมชนเน้นภูมิปัญญาและวิถี สุขภาวะชุมชนในระบบวิถีชีวิต

สวัสดียามเช้าค่ะ ปี้หนานเกียรติ

มาเรียนรู้การตกผลึกความคิด และการถอดบทเรียน สู่การทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

เล่าต่อ ๆ ๆ ....รออ่านอยู่นะคะ....^_^

สวัสดีครับ คุณถาวร 

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะครับ ทำให้เป็นกำลังใจให้เขียนต่อ
ผมเป็นคนวงนอกสุขภาพ พยายามจะทำความเข้าใจงาน จากโณงพยาบาลที่ลงไปเยี่ยมครับ

คารวะท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรครับ ต้องใช้เวลาอีกหน่อย
พยายามจะเขียนสะท้อนเรื่องราวดี ๆ ของโณงพยาบาลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ที่อื่น ๆ หนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่หมวย สีตะวัน 

สวัสดียามเช้าเช่นกันครับพี่หมวย
ตามอ่านตอนต่อไปนะครับ 

พี่หนานทำผมแบบนี้เหมือนพระเอกเกาหลีคนนึงค่ะ

นึกจะตายแล้ว นึกไม่ออก

สวัสดีค่ะ

ว่าเหมือนน้องเอกแหละค่ะ

สวัสดีครับ เอก - จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 

ขอบคุณครับ
วันสองวันมานี้ผมทบทวน HA และ SHA อย่างหนัก
กำลังคิดว่างานเขียนถอดบทเรียนจะเป็นประโยชน์ในแง่สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้โรงพยาบาลคิดถึงเป้าหมายปลายทางอย่างที่ ร.พ.อุบลรัตน์ และ ด่ายซ้าย มุ่งหน้าไป ได้อย่างไร
คิดยังไม่ออกเลยครับ

 

สวัสดีครับ น้องกอ ไผ่ไม่มีกอ 

แหะ แหะ ผมว่าไม่หน้าจะเหมือนพระเอกนะ
น่าจะเหมือนผู้ร้ายมากกว่า
ลองคิดใหม่สิครับว่าเหมือนผู้ร้ายคนไหน อาจจะนึกออกทันทีก็ได้ครับ ฮิ ฮิ...

 

สวัสดีครับ พี่ครูคิม 

ตอบเหมือนที่ตอบเอกครับ ฮิ ฮิ...
เป็นโจทย์ใหญ่มาก ๆ ครับพี่คิม เพราะเราไปเห็นของดีมา มันจะถ่ายทอดอย่างไรให้โดน...

อืมมมมมมีกลยุทธกี่กระบวนท่า  งัดออกมาใช้หมดว่างั้นเถอะน้องหนานเกียรติ

คนเรามีความรู้ความสามารถเสียอย่าง...สบายไปแปดสิบแปดอย่างจ้า...

การที่เรามองไม่เหมือนใคร เพราะมองจากคนที่เคยเห็นรพ. ที่เคยเห็นมากับเห็นรพ.ที่ได้ไปรับรู้เบื้องหลังของการทำงานเพื่อผู้ป่วย แล้วพี่เกิดการเปลี่ยนปลงทางความคิดอะไรบ้าง น่าจะนำเสนอต่อคนที่ยังไม่เคยรับรู้เรื่องนี้อย่างไรบ้างค่ะ ถอดบทเรียนแบบคนนอก แต่เรื่องของ content การพัฒนา เขารู้กันหมดแย้วววว อิอิ

พี่หนาน ขึ้นเวที แล้วเท่ มากๆ อิอิ พูดรู้เรื่องและได้ประโยชน์ด้วยค่ะ ไม่เอามาขายสวน อิอิ

สวัสดีครับ

  • ครูจ่อยเคยใช้ชีวิตที่  อ. ด่านซ้าย ตั้งแต่เข้าเรียน ป.5 จนมาถึงเข้ารับราชการประมาณยี่สิบกว่าปี ได้มั้ง
  • ชีวิตชาวบ้าน ทำงานบนภูเขาเช่น ปลูกข้าวไร่ ปลูกฝ้าย ข้าวโพด
  • สุขภาพกายใจ ดีเยี่ยม  มีผู้เฒ่าอายุยืนยาวมากมาย  ร้อยกว่าปี ยังแข็งแรง
  • ส่วนที่อุบลรัตน์ครูจ่อยมีญาติเยอะแยะ ทำมาหากินกับการหาปลาในเขื่อนมาขาย
  • ญาติหลายท่านเสียชีวิตด้วยโรคใบไม้ในตับ ทั้งๆที่อายุยังน้อย
  • ถามๆดู เกือบทุกคนชอบกินปลาแบบสุกๆดิบๆ ทั้งนั้น
  • สรุปได้ว่า ที่อ.ด่านซ้ายส่วนมากมีคนแก่เยอะ แต่ที่อ.อุบลรัตน์ ส่วนมากคนแก่หายาก
  • โชคดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท