อยากรู้วิธีการวัดประเมินผลภาษาอังกฤษแนวใหม่ช่วยบอกด้วย
ขอบคุณ
ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษน่าจะมาจาก
1. นักเรียนมีพื้นฐาน(เดิม)ภาษาอังกฤษในระดับต่ำโดยเฉพาะโรงเรียนรัฐบาล
2. คุณภาพและระดับความสามารถในการสอนของครูชาวต่างชาติและครูไทย
3. ความแตกต่างของสภาพแวดล้อม ครอบครัว โอกาส ของนักเรียน
4. ชั่วโมงการสอนภาษาอังกฤษน้อย ขาดความต่อเนื่อง (ไม่ใช่ชั่วโมงสอนของครูในโรงเรียน) ทำให้ความรู้ไม่ต่อเนื่อง
5. การสนับสนุน ให้ความสำคัญ จากผู้บริหาร
ปัจจุบันนี้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญต่อภาษาอังกฤษมากขึ้นจริง โดยคาดหวังว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อสารได้จริง แข่งขันกับนานาประเทศได้ แต่คิดว่าเป็นไปได้ยากสำหรับประเทศไทย เนื่องจากชั่วโมงในการเรียนการสอนน้อยมาก ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น วิชานี้เป็นวิชาทักษะแต่นักเรียนมีโอกาสฝึกใช้ภาษาน้อยมากทั้งในและนอกห้องเรียนเพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องมาก 40- 50 คน ไม่มีโอกาสใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง
การสอนและจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากประสบการณ์ของครูที่ไม่จบเอกอังกฤษ ขอเล่าสู่กันฟัง คิดว่าสอนแล้วได้ผลไม่ต้องพึ่งครูต่างประเทศเพราะปัจจุบันมีสื่อมาก
1. ครูต้องเขียนแผนเตรียมสื่ออุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า
2. ออกแบบกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติทั้ง 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน)และนำเสนองานอย่างสัมพันธ์กัน
3. สอนให้สนุก ตื่นเต้น กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้
4. เวลาสอนอย่าจี้เด็ก เพราะจะทำให้เด็กที่ทำไม่ได้ขาดความมั่นใจ
5. ครูต้องสังเกตุเด็กที่ทำไม่ได้ต้องให้ทำกับเพื่อน ทำในภาพรวมแล้วครู เพื่อน คอยช่วยเหลือ
6. นำเรื่องราวใกล้ตัวเด็กมาสอน
7.ถ้าเป็นไปได้ทุกชั่วโมงก่อนสอนเนื้อหาใหม่ ควรให้เด็กได้สนทนา และทักทายกันเป็นภาษาอังกฤษ
8 . ประเมินการสอนของตนเองและความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างสมำเสมอ
9. ครูต้องเป็นกลัยณมิตรกับนักเรียนตลอดเวลา
เวลาผ่านมาเด็กของฉันรักและอยากเรียนภาษาอังกฤษ
อยากให้อาจารย์ ศูนย์eric ช่วยบอกวิธีอ่านบทความ และข้อความในหนังสือพิมพ์ วารสาร ให้ด้วยบอกวิธีการเป็นหลักเกณฑ์เป็นข้อๆนะครับ
ขอบคุณมาก ครับ
จากการไปนิเทศครูชาวต่างชาติในโรงเรียนที่รับผิด-ชอบพบว่า - ทุกท่านมีความตั้งใจในการทำงานมีแผนการสอนที่เป็นปัจจุบัน จัดทำสื่อการสอนได้น่าสนใจนักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อการเรียนกับครูชาวต่างชาติมากกว่าครูผู้สอนชาวไทยซึ่งเป็นข้อดีต่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
- ที่น่าสังเกตไว้เป็นข้อคิดคือ ส่วนใหญ่ครูชาวต่างชาติจะมีความเป็นกันเองกับนักเรียน นักเรียนกล้าพูดคุยกับชาวต่างชาติมากขึ้น แต่ในทางกลับกันทำให้ครูชาวต่างชาติอาจจะคุมห้องเรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรและการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนอาจจะไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง
ขอให้คุณครูภาษาต่างประเทศ สพท.นบ. 1 ช่วยกระซิบคุณครูชาวต่างชาติในโรงเรียน และจะแนะนำโรงเรียนใดที่จัดการสอนภาษาได้น่าสนใจ เรายินดีจะตามไปดู ขอบคุณค่ะ
เรียน อ. ศฺรินา
ช่วยให้ความรุ้เรื่อง active /passive voice
ขอบคุณ
ครูกระแต
สนใจครับ เป็นนักศึกษา และกำลังค้นหา trend การวิจัยครับ ขอสมัครสมาชิกด้วยคนนะครับ
สนใจการสอนสไตล์มิสเตอร์หลี หยางมาก จะทดลองใช้แล้วนำมารายงานผลค่ะ
สวัสดีครับทุกท่านที่มีสนใจด้าน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาตร์ประยุกต์ ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานชาติ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานชาติ) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
ก่อนอื่นต้องเรียนอย่างนี้ว่า หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)ได้มีจัดการเรียนการสอนมานานกว่า 20 ปี ผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถเทียบชั้นกับมหาวิทยาลัยดังๆได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและสถานประกอบการที่ต้องการบัณฑิตในสาขาของเรา ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และได้ทำงานการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆมากมาย ทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติสนใจเข้ามาศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก
จากความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จึงทำให้เกิดหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ทำให้มีผู้สนใจจำนวนมากเข้ามาเรียน ภายในระยะเวลาแค่ 2-3 ปีนี้
จะขอสรุปหลักสูตรทั้งหมดของคณะศิลปศาสตร์ดังนี้
1.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรภาษานานาชาติ) ด้านการสอนภาษาอังกฤษ และสามารถเลือกเรียน ด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเองได้ เปิดสอนทั้งโครงการปกติ (จันทร์ – ศุกร์) และโครงการพิเศษ (เสาร์ – อาทิตย์)
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://arts.kmutt.ac.th/ma
2.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://arts.kmutt.ac.th/phd
ป.ล. ท่านที่สนใจสามารถเข้าสมัครได้ทาง http://www.admission.kmutt.ac.th
เรียน ผู้สนใจเรียนต่อ ป.โท - ป.เอก คณะศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ขอประกาศวันรับสมัครอย่างเป็นทางการ
1. ป.โท ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (International Programme) ด้านการสอนภาษาอังกฤษ
โครงการปกติ (รอบที่2) รับสมัครบัดนี้จนถึง 9 มีนาคม 2552
โครงการพิเศษ จนถึงเดือน กันยายน 2552
2. ป.เอก ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (International Programme)
รับสมัครบัดนี้ จนถึง 24 ก.พ. 2552
สมัครได้ทาง http://www.admission.kmutt.ac.th
ปัญหาคือ เด็กไม่ชอบภาษาอังกฤษ ก็เลยอยากจะใช้โน๊ตบุ๊ค และ สื่อ cai ช่วยในการสอน เพื่อที่จะกระตุ้นให้เด็กสนใจ และชอบมากขึ้น และปัญหาอีกอย่างคือ ชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษมีน้อยมาก 2 ช.ม ต่อสัปดาห์ บางทีมีวันจันทร์ กับวันศุกร์ พอจะทบทวนวันศุกร์ เด็กบอก ลืมหมดแล้วครับ จำไม่ได้แล้วค่ะ ไม่ว่าจะสอนบทใหม่ เด็กก็จำบทเก่าไม่ได้ จะต้องสอนให้ทันจำนวนคาบชั่วโมง ทำให้เด็กจำไม่ค่อยได้ และลืมบทเรียนเก่า ๆ ค่ะ ใครมีวิธีการสอนที่ดี ๆ แนะนำบ้างนะคะ
เรื่องทำอย่างไรนักเรียนหรือนักศึกษาจะเก่งภาษาอังกฤษได้ ส่วนใหญ่จะโทษว่าครูเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักเรียนไม่เก่งภาษาอังกฤษ ผมอยากให้อ่านบทความข้างล่าง
นี้ซึ่งเขียนไว้วารสารทางวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อ่านแล้ว อาจจะได้แนวคิดไปสอนนักเรียนบ้างนะครับ
เรียนภาษาอังกฤษ
ประสา เด็กบ้านนอก
ผศ.ดร.ธวัศชา เดชสุภา
(อดีตนักเรียนทุนก.พ.)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลภาษาหนึ่งที่มีอิทธิพลมากในโลก เพราะว่าเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลก เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะสามารถท่องเที่ยวไปได้ทุกมุมโลกที่ประชากรในย่านนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารกันในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษหลักสูตรมุ่งให้เกิดทักษะทั้ง 4 ทักษะ ขึ้นในตัวของผู้เรียน ได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารความเข้าใจและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ แต่จากสภาพความเป็นจริงปรากฎว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น ปัจจุบันนี้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ยังเป็นปัญหาอยู่ หมายความว่า นักศึกษาหรือผู้เรียนใช้เวลาเรียนภาษาอังกฤษเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ว่าศักยภาพด้านภาษาอังกฤษยังเป็นปัญหาอยู่ เมื่อไรก็ตามที่มีชาวต่างชาติมาเยี่ยมชมตามสถานที่ต่างๆ มักไม่ค่อยจะมีใครกล้ามาให้ข้อมูลหรือพูดคุยกับฝรั่งเพราะว่ากลัวว่าตนเองจะพูดสื่อสารกับฝรั่งหรือชาวต่างชาติไม่รู้เรื่อง เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ทำไมนักศึกษาไทยใช้เวลาเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับปริญญาโท แต่ว่าความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ผู้เขียนสอนภาษาอังกฤษ นักศึกษาระดับปริญญาโท มาหลายสมัย ก็ยังพบปัญหาเดิมของการเรียนภาษาอังกฤษ นั่นคือ ความรู้ภาษาอังกฤษ ไม่เหมาะสมกับระดับชั้นที่เรียน
เมื่อมีการยกประเด็นว่าทำไมนักเรียนหรือนักศึกษาไทย ไม่ประสบความสำเร็จกับการเรียนภาษาอังกฤษเท่าที่ควรจะเป็น คนส่วนใหญ่ก็จะไม่กล่าวโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นสาเหตุสำคัญ แต่กลับกล่าวหาปัจจัยภายนอก เช่น ครูผู้สอน ตำราเรียน สถานศึกษา นโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สภาพแวดล้อมทางสังคม ตลอดทั้งความพร้อมของสถานศึกษา กล่าวคือ
กล่าวโทษครูผู้สอน ว่าขาดความรู้ความชำนาญ ขาดการเตรียมตัวในการเรียนการสอน
ใช้วิธีสอนไม่ทันสมัย ครูไม่อุทิศเวลาให้นักเรียน ครูขาดความรับผิดชอบ ครูใช้วิธีสอนที่น่าเบื่อหน่ายเป็นต้น
ตำราเรียน ไม่ทันสมัย ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่จะใช้ภาษาอังกฤษใน
การสื่อสารกัน คนแต่งไม่มีศักยภาพพอ เป็นต้น
สถานศึกษา ไม่จัดหลักสูตรโดยเน้นความสำคัญของภาษาอังกฤษให้มากกว่าเดิม คือ
จัดวิชาบังคับและวิชาเลือกยังไม่มากเพียงพอที่จะทำให้นักศึกษาเก่งภาษาอังกฤษ รายวิชาทีเปิดสอนก็มีเวลาเรียนต่อสัปดาห์น้อย และที่สำคัญห้องเรียนก็มีขนาดใหญ่เกินไป คือมีจำนวนนักเรียนมากกว่า 50 คนขี้นไปต่อห้องเรียน ทำให้ครูดูแลไม่ทั่วถึง
นโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีวิสัยทัศน์ในการวาง
นโยบายการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ขาดทิศทาง ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน
สภาพแวดล้อมทางสังคม คือคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษ
ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่เห็นประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษเท่าที่ควร ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนและนักศึกษาจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น
จริงอยู่ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีผลกระทบอยู่บ้างต่อการเรียนภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่ว่าปัจจัยหลักสำคัญในการทำให้คนเก่งภาษาอังกฤษนั้น มาจากปัจจัยสำคัญภายในคือ ตัวผู้เรียนเองต่างหาก ปัจจัยภายนอกไม่ได้มีอิทธิพลมากมายนัก จากประสบการณ์ของผู้เขียน การเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วย (1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (2) ปณิธานอันแน่วแน่ (3) ท่องจำ (4) ฝึกฝน (5) สังเกต(6) เลียนแบบ (7) ดัดแปลง (8) กล้าแสดงออก
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผู้เขียนเรียนภาษาอังกฤษจากโรงเรียนวัด เป็นโรงเรียนศึกษา
ผู้ใหญ่ ซึ่งสมัยนี้เรียกว่าการศึกษานอกโรงเรียน ผู้เขียนเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนมาก บ้านที่อยู่อาศัยเป็นกระต๊อบมุงด้วยสังกระสีผุๆ กลางวันแดดร้อนมาก ส่วนกลางคืนก็หนาวเย็นยะเยือก เวลาฝนตกก็ไม่มีที่จะอยู่ มีพี่น้องด้วยกัน 7 คน ผู้เขียนเป็นลูกคนที่สาม เพราะความที่ไม่มีข้าวจะกิน พ่อแม่ก็จะให้กินกลอย (เป็นพืชแป้งชนิดหนึ่งซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่ชาวบ้านรู้จักกันดีเนื่องจากทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ) เพราะฉะนั้น ผู้เขียนก็จะมีรูปร่างเล็กมาก หัวโต พุงปอด ไม่ค่อยเแข็งแรง ป่วยบ่อย เมื่ออายุได้ 5 ขวบ พ่อแม่ได้นำไปฝากให้อยู่วัดโพธิ์ศรี อำเภอ นาดี ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน ได้ยังชีพด้วยข้าวก้นบาตร ได้กินอาหารเพียงสองมือคือ เช้ากับกลางวัน ส่วนอาหารเย็นได้กินบ้างไม่ได้กินบ้าง ได้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 -4 ที่โรงเรียนประถมศึกษาใกล้บ้าน ไม่ค่อยได้ใส่รองเท้าไปโรงเรียนเพราะไม่มีรองเท้า มีเสื้อผ้าชุดนักเรียนอยู่ชุดเดียว ขาดแล้วขาดอีก ปะแล้วปะอีก หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว ก็ไม่ได้เรียนต่อเพราะความยากจน เมื่ออายุ15 ปี ได้มีโอกาสเรียนศึกษาผู้ใหญ่ที่โรงเรียนวัด นับเป็นครั้งแรกที่ได้เริ่มรู้จักตัวอักษรภาษาอังกฤษ A B C ETC. ครูส่วนใหญ่เป็นพระ เพราะความที่ไม่เงินค่าเทอม ค่าหนังสือ ก็ใช้วิธียืมเงินพระมาเป็นค่าเทอม แล้วก็ทำกิจวัตรภายในวัดตามที่พระท่านจะใช้ ส่วนหนังสือก็จะยืมเพื่อนๆอ่าน ยังจำได้ว่า เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เขียนเขียนภาษาอังกฤษได้เพียงคำเดียวคือ TELEVISION
ภาพชีวิตที่ผู้เขียนเห็นประจำวันตั้งแต่เกิดคือ ภาพของพ่อใส่กางเกงขาดซอมซ่อ ท่อนบนเปลือยเปล่า ถูกแดดแผดเผา ไถนาอยู่กลางทุ่ง ภาพเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจว่า ถ้าหากผู้เขียนไม่มีการศึกษาก็คงต้องมีสภาพไม่แตกต่างไปจากพ่อเลย ทำให้ผู้เขียนเกิดแรงมุมานะอยากเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง เพื่อจะได้มีงานทำมาเลี้ยงพ่อแม่ หลังจากจบจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้สมัครเป็นครูที่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ที่ตนจบมานั่นแหละ ก็ได้สิทธิสอบชุดครู ป.กศ. และ พ.ม. (อนุปริญญา) เมื่ออายุได้ 20 ปี ก็สอบได้ระดับอนุปริญญา โดยเลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษทั้งจากการสอบ ชุดครู
ป.กศ. และ พ.ม. เพราะฉะนั้น การที่ผู้เขียนใช้เวลาเรียนศึกษาผู้ใหญ่ 3 ปี จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 และใช้เวลาอีกสองปีหลังจากนั้น สอบชุดครูจนได้ใบประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญา เมื่ออายุได้ 20 ปี ก็เพราะว่า ผู้เขียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่อยากให้ตัวเองมีสภาพเหมือนพ่อตนเองนั่นเอง
ปณิธานอันแน่วแน่ แม้ว่าผู้เขียนจะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนมาก และได้เห็นภาพ
ของพ่อแม่ที่ทำงานเหนื่อยยากสายตัวแทบขาด แต่ก็มีปณิธานอันแน่วแน่ว่าวิธีเดียวที่จะหนีจากความยากจนก็คือ ต้องเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง ผู้เขียนจะอ่านตำราที่เป็นภาษาอังกฤษอย่างหิวกระหาย ตำราหรือเอกสารภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะได้มาจากการยืมเพื่อนๆ หรือห้องสมุด บ่อยครั้ง ได้จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเก่าๆที่หล่นตามท้องถนน ผู้เขียนยังจำได้ว่า หลังจากที่ผู้เขียนเรียนจบปริญญาโท ในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรแล้ว ผู้ได้เขียนคำอธิษฐานจิตไว้ใต้ฐานพระว่าในชีวิตชาตินี้จะขอเรียนปริญญาเอก สาขา ภาษาอังกฤษที่ประเทศยุโรปให้ได้ หากไม่ได้เรียนในชาตินี้ จะขอกลับมาเรียนต่อในชาติหน้า (ผู้เขียนได้เจอคำอธิษฐานจิตใต้ฐานพระหลังจากเรียนจบปริญญาเอก จากประเทศออสเตรเลีย)
ท่องจำ การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด (สำหรับผู้เขียน) ก็คือ การท่องคำศัพท์ เพราะว่า
การท่องคำศัพท์ จะทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ จะต้องท่องคำศัพท์ทุกวัน ผู้เขียนยังจำได้ว่า ในช่วงที่ผู้เขียนกำลังฝึกฝนเรียนภาษาอังกฤษนั้น ผู้เขียนจะต้องท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 200 คำต่อวัน อานิสงส์จากการท่องคำศัพท์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้เรียนสามารถท่องจำคำศัพท์ได้มากมาย และสามารถเรียนได้ทันเพื่อนและเกินเพื่อน เมื่อสอบเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี สองปี ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้สอบบรรจุครูระดับกรมสามัญศึกษา ในสาขาภาษาอังกฤษ ได้ที่หนึ่งและเพียงคนเดียวของประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอบบรรจุครูทั่วประเทศ ต้องการครูภาษาอังกฤษ 42 อัตรา พ.ศ.2529) ทำให้สอบชิงทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอก สาขาภาษาอังกฤษ ของสำนักข้าราชการพลเรียน ได้เพียงคนเดียว และเมื่อเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรเลีย ก็สามารถสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ IELTS ได้คะแนน 7.5
ฝึกฝน สมัยที่ผู้เขียนเรียนมัธยมนั้น ไม่มีหนังสือดีให้อ่านหรือเทปภาษาอังกฤษให้ฟัง
เลย ไม่มีโอกาสได้ดูหรือฟังรายการภาษาอังกฤษดีๆจากรายการโทรทัศน์ หรือวิทยุเลย เพราะว่าโรงเรียนไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ และอีกอย่าง ผู้เขียนก็ไม่มีแม้แต่วิทยุหรือเทปวิทยุที่จะฟังภาษาอังกฤษ ดังนั้น ผู้เขียนต้องฝึกฝนจากฝรั่งตามท้องถนน หรือฝรั่งที่มาเที่ยวตามวัด การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีต้องมีการฝึกฝน ผู้เขียนจะฝึกฝนโดยการอ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ โดยการเขียนบันทึกประจำวัน เขียนผิดบ้าง ถูกบ้าง แล้วนำไปให้ครูหรือผู้รู้ตรวจให้ ส่วนใหญ่ก็จะผิดมากกว่าถูก ส่วนทักษะพูดก็จะพยายามพูดกับฝรั่งทุกคนที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียน เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้เขียนเห็นฝรั่ง ก็จะนึกเสมอว่า เหยื่อมาแล้ว ผู้เขียนยังจำได้ว่า ครั้งหนึ่ง ในสมัยเรียนระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนและเพื่อนได้นำฝรั่ง (สัญชาติใด จำไม่ได้) เข้ามา ในห้องเรียน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ซึ่งตามปกติเป็นครูที่สอนไวยากรณ์เก่งมาก แต่กลับทักทายฝรั่งเพียงสองประโยค “Good afternoon, how are you? I’m fine, thank you” หลังจากนั้นครูก็ไม่คุยอีกเลย ปล่อยให้ผู้เขียนและเพื่อนเป็นล่ามให้ ตั้งแต่นั้นมา ผู้เขียนเลยต้องฝึกฝนด้วยตนเอง นอกห้องเรียน โดยการสนทนากับฝรั่งแทบจะทุกคนที่ได้พบเห็นโดยบังเอิญตามท้องถนน
สังเกต ความสังเกตนับว่า จำเป็นมากในภาษาอังกฤษ เพราะกฏเกณฑ์หนึ่งใช้ได้กับสิ่ง
หนึ่ง แต่กฏเกณฑ์เดียวกันนั้นกับใช้ไม่ได้กับอีกสิ่งหนี่ง ยกตัวอย่าง เช่น ในการเติมคำเอกพจน์ให้เป็นพหุพจน์ จะต้องเติม es เมื่อคำนั้นลงท้ายด้วย sh เช่น wish – wishes แต่คำว่า a fish, two fish ไม่เติม es หลังคำ two fish ในภาษาอังกฤษมีกฏเกณฑ์ มากมาย ซึ่งสามารถใช้กับสิ่งหนึ่งแต่ไม่สามารถใช้ได้กับอีกสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ความสังเกตช่วยได้มากจริงๆ
เลียนแบบ การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีต้องมีการเลียนแบบ โดยเลียนแบบเจ้าของภาษา
ทั้ง การพูด และ การเขียน ทักษะที่จำเป็นมากในการเลียนแบบคือ ทักษะการพูด ผู้เรียนจะต้องพูดให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผู้เขียนยังจำได้ว่า สมัยที่ผู้เขียนเริ่มฝึกพูดภาษาอังกฤษ กับฝรั่งที่เจอในท้องถนน ผู้เขียนจะพยามยามเอาหัวมุดลงในตุ่มเปล่า แล้วพยายามเปล่งเสียงออกมาให้เหมือนเจ้าของภาษา ในช่วงแรกๆ การเลียนแบบก็จะมีเพี้ยนมากกว่าเหมือน แต่เมื่อทำบ่อยๆ ก็จะได้ทักษะการพูดที่ใกล้เคียง หรืออย่างกรณี ดูภาพยนตร์ฝรั่ง ก็จะพยายามฝึกออกเสียงตาม เป็นต้น
ดัดแปลง แม้ว่าการเลียนแบบเป็นสิ่งที่ดีในการเรียนภาษาก็ตาม แต่ว่า การดัดเปลงก็
เป็นสิ่งจำเป็นมาก เมื่อเรียนโครงสร้างต่างๆแล้ว ต้องรู้จักนำมาดัดเแปลงเป็นประโยคใหม่ๆ อย่างกรณีประโยคภาษาอังกฤษ ประโยคเดียวสามารถดัดแปลงได้ไม่ต่ำกว่า 100 ประโยค เช่น
Could you open the door, please?
call me, please ?
come to see me at 8.00am, please?
turn on T.V, please?
reward me any tip, please? ETC.
กล้าแสดงออก การกล้าแสดงออกเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างยิ่งของการเรียนภาษา
อังฤฤษ เพราะฉะนั้น ผู้เรียนต้องกล้าแสดงออกในการพูด อ่าน เขียน ผู้เขียนยังจำได้ว่า สมัยที่ผู้เขียนเรียนภาษาอังกฤษนั้น 90 เปอร์เซ็นต์ของความรู้ด้านภาษาอังกฤษนั้น ผู้เรียนศึกษาจากตำราและจากนอกห้องเรียน ผู้เรียนไม่ค่อยได้เจอ ครูหรืออาจารย์ภาษาอังกฤษเก่งๆ เหมือนอย่างในสมัยปัจจุบัน การออกเสียงภาษาอังกฤษสมัยก่อน จะไม่สามารถออกเสียงได้ดีเหมือนในปัจจุบัน ยกตัวอย่างคำว่า Television ผู้เขียนได้รับรู้ว่าการออกเสียงเป็น เทลลีวีซั่น แทนที่จะออกเสียงเป็น ‘telIvIӡn’ หรือคำว่า thank you ผู้เขียนจะได้รับรู้ว่า ต้องออกเสียงเป็น “แทงกิ้ว หรือ แทงยู” สมัยนั้น ผู้เขียนไม่รู้ออกว่าจะออกเสียงที่ถูกเป็นอย่างไร แต่ขอให้ได้พูด ผิดหรือถูกเอาไว้ทีหลัง ดังนั้น ผู้เขียนจะหาโอกาสเข้าร่วมแข่งขันรายการภาษาอังกฤษทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น การแข่งการตอบปัญหาภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์หรือที่ไหน การเขียนบทความภาษาอังกฤษระดับประเทศ (ในช่วงเรียนปริญญาตรีสองปีหลัง) และเพื่อนส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนรู้จักจะเป็นฝรั่ง
สรุปว่า การที่นักเรียนจะเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งนั้น อย่าโทษปัจจัยภายนอก เช่น ครู เป็นต้นเลย ต้องโทษตัวเองนั่นแหละว่า ได้ใช้ความพยามยามในการเรียนภาษาอังกฤษมากน้อยแค่ไหน โอกาสที่ใครสักคนจะเก่งภาษาอังกฤษค่อนข้างยาก หากจะรอคอยให้เพียงครูมาป้อนความรู้ให้ในห้องเรียน โดยที่ตนเองไม่สนใจที่จะขวนขวายหาความรู้นอกห้องเรียน ไม่สนใจที่จะติดตามดูรายการภาษาอังกฤษตามโทรทัศน์ ดูหนังเสียงในฟิล์มหรือ ซีดี เพราะฉะนั้น ผู้เขียนขอฟันธงเลยว่า การที่ผู้เรียนจะเรียนภาษาอังกฤษเก่งหรือไม่เก่งนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือตัวผู้เรียนนั่นเอง
หมายเหตุ ฉบับต่อไป จะเขียนเรื่อง “30 ชั่วโมง ก็เก่งภาษาอังกฤษ”
ประวัติการทำงาน
รางวัล : 1984 สอบบรรจุครูตำแหน่ง วิชาเอก ภาษาอังกฤษ ได้ที่ 1 ของประเทศ
ได้รับรางวัล นักเขียนหนุ่มสาวจากการส่งบทความภาษาอังกฤษเข้าประกวดในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบรอบ 60 ชันษา
ได้รับรางวัลสำหรับนักวิจัยดีเด่นระดับปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒิ ประสานมิตร
สอบชิงทุน กพ.ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก สาขาภาษาอังกฤษ ใน 5 ประเทศ คือ : USA, AUS, England, Switzerland and New Zealand
ได้รับรางวัล นักเรียนต่างชาติที่สอบผ่านข้อสอบ IELTS ได้คะแนน 7.5 ประเทศออสเตรเลีย
จากการอ่านบทความของผศ.ดร.ธวัศชา เดชสุภา แล้ว น้ำตาของหนูแทบจำไหลหลั่งลงมา เพราะหนูท้อมากเลยค่ะ เลยอยากถามและปรึกษาหน่อยว่า บังเอิญ หนูจบเอกการพัฒนาชุมชน วิชาโทภาษาอังกฤษ แล้วอยู่ดีๆ ก็ได้มาทำงานในโรงเรียนมัธยม จึงตัดสินใจไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพครู ได้ฝึกสอนภาษาอังกฤษกับนักเรียนชั้น ม.3แต่พอจบมาจะไปสอบบรรจุเป็นครูสอนภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ แม้จะช่วยสอนในโรงเรียนเหมือนเก่าก็ไม่ได้ เครียดมาก อยากเป็นครู ไม่รู้จะไปทางไหน หนูอยากรู้ว่าถ้าหนูไปเรียนป.โปการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ ของราชภัฏ โดยไม่ต้องไปเรียนป.ตรีใหม่ เอกอังกฤษ แล้วเวลามาสอบบรรจุครูจะสมัครสอบได้มั้ย ของสพฐ.หนูเครียดมาก ตังค์ก็ไม่ค่อยมี หรือหนูต้องเรียนใหม่ 4 ปีค่ะ ช่วยแนะนำหนูหน่อย
ภาษาอังกฤษ เรียนเหมือนภาษาไทยได้
1.เทียบเสียงพยํญชนะ และสระ (โดยการจำตัวอักษร พร้อมการออกเสียง)
พยัญชนะออกเสียงตัวเอง เช่น b บ c ซ/ค d ด g ก/จ
ยกเว้นชื่อพยัญชนะมีตัวสะกด เช่น f เอฟ l แอล w ดับลิว x เอคซ y วาย ออกเสียงที่ตัวสะกด
2.สระก็ออกเสียงตัวเอง ได้แก่ a เอ e อี i ไอ o โอ u ยู y อาย
ยกเว้นเมื่อมีพยัญชนะสะกดอยู่ด้านหลัง
a = แอะ / e = เอะ / i = อิ / o = เอาะ / u = อะ / y = อิ่
bag camp / bed when / fish him / box stop / bus slum / system syllable
แล้วสะกดเป็นคำอ่าน เช่น
ba-con [ b เบอะ - a เอ (เบ) - c เค่อะ - o เอาะ - n เน่อะ (เค่อน)] เบ๊เค่อน = หมูสามชั้น
ti-ger [t เทอะ - i ไอ (ไท) - g เก่อะ - er เออร (เกอร)] ไท้เก่อร = เสือ
ลองฝึกเทียบเสียงหรือสะกดคำที่รู้จักดู จะพบรูปแบบดังกล่าวข้างต้น
ทำให้อ่านภาษาอังกฤษได้เหมือนภาษาไทย
(มีบางคำเท่านั้นที่ต้องจำ เนื่องจากอ่านต่างจากกฎ เพราะรากคำมาจากภาษากรีก)
แล้วเรียนรู้โครงสร้างประโยคด้วยความเข้าใจ
จะทำให้ศึกษาภาษาอังกฤษได้อัตโนมัติเหมือนเราเรียนภาษาไทย (ใช้วิธีจำศัพท์โดยทำแผนภาพคำ จะจำง่ายขึ้น)
ไม่ยากนะคะ เมื่อออกเสียงถูกต้องก็ฝึกอ่านประโยคในหนังสือโดยออกเสียงดังๆ โดยเน้นคำตาม dictionary จะทำให้ค่อยๆ พูดได้เองค่ะ - โชคดี มีความสุขทุกๆ คนนะคะ