ร่วมกันสร้างความรู้ท้องถิ่นผ่านบล๊อก : Healthy Literacy Nong-Bua*


เวทีคนหนองบัว เป็นวิธีหนึ่งที่ปัจเจกในฐานะพลเมืองและชาวบ้านทั่วไปกลุ่มเล็กๆหลากหลายสาขา ได้มาร่วมกันทำให้เกิดการสร้างฐานข้อมูลในชุมชนบ้านเกิดและได้ส่งเสริมให้กลุ่มคนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งได้บทเรียนที่ดีต่อการสร้างสรรค์ความเป็นส่วนรวมและความเป็นสุขภาวะสาธารณะในอีกมิติหนึ่งของชุมชน โดยเฉพาะในบริบทของการผสมผสานวิทยาการและเทคโนโลยีการศึกษาเรียนรู้สมัยใหม่เข้ากับวิถีชาวบ้านให้มีความกลมกลืน ส่งเสริมเกื้อหนุนกัน สามารถเรียนรู้เพื่อสร้างความเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและไม่ทอดทิ้งประสบการณ์อันเป็นพื้นฐานความเข้มแข็งของสังคม เป็นวิธีเรียนรู้เพื่อเดินออกจากที่ยืนอันมั่นคงและเข้มแข็งของตนเอง

ณ เวลานี้ พอจะกล่าวได้ว่า ทั่วประเทศซึ่งมีโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) อยู่ ๕ แห่งนั้น บล๊อกเกี่ยวกับ โรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) ที่ได้ก่อตั้งขึ้นในอำเภอหนองบัวหนึ่งแห่ง [๑] [คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่นี่] กับชุมชนบ้านตาลินและชุมชนรอบโรงเรียน[๒] [คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่นี่]  ที่ผู้เขียนและพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)กับสมาชิกเวทีคนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ได้ช่วยกันบันทึกถ่ายทอดไว้นั้น จัดได้ว่ามีเรื่องราวจากแง่มุมของคนในชุมชนที่รอบด้านที่สุด อีกทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้มีหัวข้อสนทนาพูดคุย ได้เรียนรู้ชุมชนตนเองดีมากยิ่งๆขึ้นเป็นลำดับ ในส่วนของข้อมูลและความรู้ชุมชนหนองบัว[๓] [คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่นี่] ก็เป็นข้อมูลที่ชุมชนไม่เคยมีมาก่อนหลายเรื่องด้วยกัน

สิ่งที่เคยเป็นเรื่องเล่าขานและสืบทอดความทรงจำกันไว้ปากต่อปากของชุมชนหลายอย่าง หลายเรื่องเป็นปูมท้องถิ่น สื่อสะท้อนภูมิปัญญาและปรีชาญาณการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ความเป็นชุมชน สั่งสมเป็นประสบการณ์ทางสังคมของสมาชิกรุ่นต่างๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีวิธีจัดเก็บ วาดรูปและสืบทอดความรู้ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปมากยิ่งๆขึ้นในอนาคตแล้ว เชื่อได้ว่าอีกไม่กี่รุ่นคนก็จะหายสาบสูญไปจากสังคม เช่น ประเพณีบวชนาคหมู่และการสร้างศาลาไม้ขนาดใหญ่ของวัดหลวงพ่อเดิม [๔] [คลิ๊กเข้าไปชมภาพและอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ : บวชนาคหมู่ เอกลักษณ์ของหนองบัว] ซึ่งไม่เพียงเป็นความทรงจำของคนหนองบัวเท่านั้น ทว่า ของผู้คนที่ศรัทธาหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่ออ๋อยทั่วประเทศจากหลายรุ่นคนนับแต่แผ่นดินยุครัชกาลที่ ๕ จนถึงยุคพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันอีกด้วยนั้น [คลิ๊กเข้าไปชมภาพและอ่านรายละเอียดได้ที่นี่] [๕] : [การเลื่อยไม้ทำกระดาน] และ [๖] : [การเข้าป่าหาไม้ทำศาลาวัดและสร้างบ้าน]  ก็เริ่มปรากฏขึ้นมาให้เห็นเค้าเงื่อน รองรับการสะสมและช่วยกันต่อเติมให้ดีมากยิ่งๆขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ลูกหลานและคนหนองบัวมีข้อมูลชุมชนที่เป็นเรื่องราวอันมีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคมสิ่งแวดล้อมใกล้ๆตัว ที่สามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้า เรียนรู้เพื่อเคารพตนเอง เห็นความเป็นตัวของตัวเอง มีภาวะผู้นำและความเป็นนายตนเองในการเริ่มก้าวเดินออกไปเชื่อมโยงเป็นหนึ่งกับโลกกว้างในวิถีทางดังที่พึงประสงค์ได้มากยิ่งๆขึ้นต่อไป

ผู้เขียนเองนั้น ก็ได้บทเรียนในการเขียนความรู้กับชาวบ้านและคนทั่วไปโดยการพากันเรียนรู้และส่งเสริมให้ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากสภาพที่ก็เป็นเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไปในสังคมไทย ที่ไม่คุ้นเคยต่อบล๊อกและขาดโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ให้ทัดเทียมกับความทันสมัยทางเทคโนโลยี เพื่อใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้เอื้อต่อการเข้าถึงความรู้ ขาดแนวคิดและวิธีที่เหมาะสม สำหรับนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการถ่ายทอดและบันทึกข้อมูลที่ตนเองมีเก็บไว้ให้เป็นระบบ สามารถสนองตอบต่อเงื่อนไขและความจำเป็นอันหลากหลายและซับซ้อนได้มากยิ่งๆขึ้น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้ความมั่นใจที่จะแปรทุนประสบการณ์ชีวิตต่อสังคมให้เป็นการคิด เขียน บันทึก อ่านค้นคว้า ปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความรู้และการสื่อสารเรียนรู้ กระทั่งกลายเป็นผู้ที่สามารถเขียนและสร้างความรู้เกี่ยวกับชุมชนเก็บบันทึกไว้ในบล๊อกด้วยตนเอง [๗] : [เข้าไปอ่านและชมรมภาพอีกตัวอย่างหนึ่งใน : เวทีคนหนองบัวกับพริกเกือ โดย เสวก ใยอินทร์กับสมาชิกกลุ่มพริกเกลือ] ทำให้มีสื่อและแหล่งทรัพยากรความรู้อีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเกิดขึ้น อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำคัญในอันที่จะยกระดับ ทำให้เกิดการสืบสานต่อยอดวิธีจัดการความเป็นส่วนรวมด้วยการลงแขกและการรวมกลุ่มในเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปจากอดีตของชาวบ้าน [๘] : [เข้าไปอ่านและชมรมภาพอีกตัวอย่างหนึ่งใน : การลงแขกของชาวบ้านหนองบัว] ให้เป็นวิธีปฏิบัติการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาวบ้าน จัดการความรู้และจัดการการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเด็นส่วนรวมในสภาพแวดล้อมใหม่ๆทั้งของท้องถิ่นและของสังคมโลก ให้ชุมชนมีความยั่งยืนในการพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น

จากชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่งในชนบทที่ไม่เคยปรากฏให้เป็นที่รู้จักมากนักบนพื้นที่ข่าวสารความรู้ของสังคมไทยและสังคมโลก ก็กลายเป็นชุมชนที่มีผู้สามารถเห็นและเข้าถึงได้กว่า ๒๐ ประเทศจากทั่วโลก จำเพาะจากอเมริกาประเทศเดียวก็มากกว่า ๒๕ users จึงไม่เกินจริงหากจะกล่าวว่ามีส่วนต่อการนำเสนอสิ่งดีงามของท้องถิ่นให้สังคมวงกว้างได้รู้จัก[๙] [คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่นี่] อีกทั้งเป็นความริเริ่มที่สามารถเป็นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่เห็นความสำคัญได้พัฒนาให้ดีมากยิ่งๆขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างไม่จำกัด 

พัฒนาการที่เกิดขึ้นนี้ นับได้ว่าเป็นวิธีเข้าถึงความทันสมัยและก้าวทันโลกอย่างไม่หลุดจากรากเหง้าตนเอง เห็นแนวทางส่งเสริมชาวบ้านให้มีวิธีเรียนรู้ที่จะเป็นนายเทคโนโลยี เข้าถึงเทคโนโลยีให้ได้คุณค่าและสร้างให้มีความหมายอย่างสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ใช้เสริมกำลังการพัฒนาออกจากจุดแข็งตนเองของปัจเจกและชุมชนได้อย่างเหมาะสมพอเพียง นับว่าเป็นอิฐก้อนแรกๆที่จะมีความหมายมากต่อพัฒนาการข้างหน้าของความรู้และข้อมูลข่าวสารของชุมชน

ดังนั้น จึงให้บทเรียนสำหรับเป็นแนวขยายผลประสบการณ์ไปยังแหล่งอื่นๆได้ว่า ชุมชนหนองบัวนั้นขาดโอกาสมากกว่าอีกหลายชุมชนของประเทศ หากชุมชนและคนหนองบัวทำเพื่อชุมชนของตนได้ ก็ย่อมจะให้ความมั่นใจได้ว่ารูปแบบอย่างที่เกิดขึ้นนี้ ชาวบ้านและชุมชนทั่วประเทศ ก็จะสามารถริเริ่มเพื่อเข้าถึงโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่ดีทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตนเองและการสร้างความรู้เกี่ยวกับชุมชนตนเอง ในลักษณะที่เวทีคนหนองบัวทำได้เช่นเดียวกัน

พัฒนาการดังกล่าวนี้ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในความเป็นชุมชนที่สามารถเรียนรู้และใช้ความรู้มาเป็นองค์ประกอบในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีและก่อเกิดสุขภาวะสาธารณะของชุมชน หรือ Healthy Literacy ซึ่งการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของพลเมือง จะเป็นการลงทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนมิติต่างๆของสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพิ่มพูนโอกาสให้ท้องถิ่นได้ร่วมสร้างพลวัตรและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมประเทศได้มากมากว่าการเป็นเพียงผู้บริโภคและรอรับสิ่งต่างๆจากโลกภายนอกจนเสียสมดุล ได้มากยิ่งๆขึ้น.

.............................................................................................................................................................................

เชิงอรรถ อ้างอิงภายในบันทึกหัวข้ออื่นของผู้เขียนและผู้อื่น :

* บันทึกและบทความนี้คัดลอกและนำมาปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมจากส่วนหนึ่งของบันทึก การใช้บล๊อกเพื่อขยายขีดความสามารถทำงานความรู้ ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/civil-learning/374278#2101355
[๑] โรงเรียนวันครูและบ้านตาลิน อำเภอหนองบัว ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/civil-learning/233623
[๒] สุขาภิบาลและสาธารณสุขชุมชนบ้านตาลิน  ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/civil-learning/238004
[๓] บวชนาคหมู่ เอกลักษณ์ของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์ : เบ้าหลอมชุมชน
ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/civil-learning/321506
[๔]  เวทีคนหนองบัว  http://gotoknow.org/blog/nongbua-community
[๕] การเลื่อยไม้กระดาน ทำเสาจากไม้ทั้งต้น และการสุมไฟทำครก ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/361959
[๖] คาราวานเกวียนหาไม้และอาหารจากป่า ใน ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/361301
[๗] เสวก ใยอินทร์ เรียนรู้ชุมชนโดยสมาชิกกลุ่มพริกเกลือ ใน คนหนองบัวกับพริกเกลือ ใน http://gotoknow.org/blog/pknongbur/281711 
[๘] การลงแขกของชาวบ้านหนองบัว : กระบวนการเรียนรู้ ความเป็นชุมชน และการบริหารจัดการเป็นกลุ่ม ใน เวทีคนหนองบัว http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/348467
[๙] เวทีคนหนองบัว ใน  http://gotoknow.org/blog/nongbua-community

หมายเลขบันทึก: 377660เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

จากชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่งในชนบทที่ไม่เคยปรากฏให้เป็นที่รู้จักมากนักบนพื้นที่ข่าวสารความรู้ของสังคมไทยและสังคมโลก ก็กลายเป็นชุมชนที่มีผู้สามารถเห็นและเข้าถึงได้กว่า ๒๐ ประเทศจากทั่วโลก

ซึ่งเป็นวิธีเข้าถึงความทันสมัยและก้าวทันโลกอย่างไม่หลุดจากรากเหง้าตนเอง สามารถเรียนรู้ที่จะเป็นนายเทคโนโลยี เข้าถึงเทคโนโลยีให้ได้คุณค่าและสร้างให้มีความหมายอย่างสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ใช้เสริมกำลังการพัฒนาออกจากจุดแข็งตนเองของปัจเจกและชุมชนได้อย่างเหมาะสมพอเพียง 

ยินดี และชื่นชมครับ อ.ดร.วิรัตน์

สวัสดีครับคุณสุเทพ

  • สบายดีนะครับ
  • ขอขอบคุณที่มาเยือนเวทีคนหนองบัวครับ
  • แนวนี้ คุณสุเทพและเครือข่าย พอช. ก็มีประสบการณ์และบทเรียนดีๆเยอะเลยนะครับ

ได้ข้อมูลในภาพรวบครบเลยครับ เห็น Flag counter แล้วทึ่งครับ ถ้ารวบรวมข้อมูลชุมชน ของแต่ละคนก็จะดีมากเลย สงสัยต้องไปรวบรวมชุมชนหนองขาวบ้านพ่อ และ ที่พนมทวน บ้านไร่เสียแล้วครับ ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆๆครับ

  • เห็นด้วยมากอย่างยิ่งครับอาจารย์ขจิตครับ
  • เห็นโอกาสส่งเสริมผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆจากคนในสังคมที่หลากหลายมากขึ้น
  • โดยเฉพาะชาวบ้านทั่วประเทศ อย่างเช่นหนองขาวและพนมทวน ซึ่งมีสิ่งดีๆที่เป็นทุนและศักยภาพทางสังคมอีกหลายอย่างนะครับ
    • gotoknow มีการติดตั้งให้พิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ได้ด้วย
    • เป็นอีกก้าวเล็กๆของวิธีจัดการความรู้ของ gotoknow
    • สร้างพื้นฐานสำหรับ Healthy Development Literacy ที่น่าจะทำให้คนทั่วไปเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายโอกาสมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างจังหวัด

    Dsc_0486-1

    Dsc_0417-22

    Dsc_0494-2

    Dsc_0470-9

    Dsc_0500-7

    นำภาพงานบุญเล็กๆ ของนิสิตมาฝากครับ..
    พวกเขายังไม่ได้กลับบ้าน
    แต่รวมพลังถวายเทียนพรรษาต่อเนื่องมาสองวัน...

    สุขกายสบายใจกันถ้วนหน้า...
    คืออีกนิยามเล็กๆ ของการเรียนรู้ในวันหยุดท่ามเทศกาลวิถีพุทธ,วิถีไทย
    และมุ่งสู่การให้บริการแก่ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยไปในตัว..
    เป็นการกระตุ้นให้นิสิตเห็นบทบาทและสถานะของตนเองที่มีต่อสังคม
    และรับผิดชอบต่อสังคมเท่าที่บทบาทและสถานะเขาพึงกระทำได้...

    ...ขอบพระคุณครับ..

    • นอกจากเป็นบทบาทในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสร้างประสบการณ์ทางสังคมให้แก่นิสิตแล้ว ชาวบ้านและชุมชนก็ได้กำลังใจและเกิดความอุ่นใจในชีวิตมากเลยนะครับที่คนหนุ่มคนสาว และคนมหาวิทยาลัยไม่ทอดทิ้งให้กิจกรรมอย่างนี้ดำเนินไปอย่างหงอยเหงาโดยชาวบ้านคน-สองคน
    • ขอบคุณอาจารย์แผ่นดินครับที่นำเรื่องราวอันงดงามในเทศกาลเข้าพรรษาของชาวมหาวิทยาลัยมหาสารคามและชุมชนมาแบ่งปันกัน
    • ขออนุโมทนาด้วยครับ 

    สวัสดีค่ะ

    *** มาเยี่ยมชมบันทึกดีๆ

    *** ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณคุณครูกิติยา เตชวรรณะวุฒิที่มาเยือนครับ
  • ขอให้มีความสุขและได้ความบันดาลใจกลับไปมากมายครับ
  • โรงเรียนจ่านกร้อง มักทำให้ผมนึกถึงวงดนตรีลูกทุ่งของนักเรียนครับ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์

    เดี๋ยวนี้ G2K มีปริ้นท์แล้ว ลอกเก็บได้ง่ายๆแล้วค่ะ

    ดีจัง

    มีดอกไม้มาฝากด้วยค่ะ

    สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ

    • เป็น Function ที่เพิ่มความสามารถรองรับการใช้งานของเครือข่ายคนทำงานและบล๊อกเกอร์ใน gotoknow ที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นไปอีกเลยนะครับ
    • น่าจะเป็นอีกหนึ่ง Function ที่จะช่วยการจัดการความรู้ในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะในการประชุม สัมมนา อบรม และปฏิบัติการ ของคนที่ทำงานกับข้อมูลและความรู้
    • รูปเขียนแนวนี้ของคุณณัฐรดา ดูทีไรก็เพลิน ได้ความรู้สึก นิ่ง และงดงามครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท