การนอนหลับ .....สภาพที่ทุกคนควรจัดการตนเองได้ ทำสำเร็จจะมีความสุข


การนอนหลับ .....สภาพที่ทุกคนควรจัดการตนเองได้ ทำสำเร็จจะมีความสุข บางครั้งเรามองข้ามไป ลองหันกลับมามองใหม่อีกครั้ง

          การนอนหลับ  .....สภาพที่ทุกคนควรจัดการตนเองได้   ทำสำเร็จจะมีความสุข

          หลายคนมองผ่านการพักผ่อนของร่างกายโดยการนอนหลับไปอย่างที่คิดไม่ถึงว่ามีความสัญต่อการดำรงอยู่ของชีวิตนเอง  ชีวิตจึงมีสภาพที่แปรเปลี่ยนผิดปกติที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในกาดำเนินชีวิตที่มองหาจุดที่จะทำการแก้ไขได้ยากตามมา

          การนอนหลับจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามไปเพราะ

สภาพร่างกายคนเราทุกคนเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงาน ตลอดเวลา  ฉะนั้น การนอนก็เหมือนกับการให้เครื่องจักรได้หยุดพักก็เช่นกัน

          ร่างกายของคนเราจะอาศัยช่วงเวลานอนหลับซ่อมแซมและพักฟื้นตนเองปรับปรุงระบบต่างๆในร่างกายให้มีเสถียรภาพ เสริมสร้างความจำของสมองและขับของเสีย พร้อมทั้งสะสมพลังงานเพื่อใช้ในวันรุ่งขึ้น การนอนจัดเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ของชีวิตคนเราจึงต้องใช้เวลา1ใน3ของชีวิตในการนอน
        การนอนหลับอย่างเพียงพอทั้งด้านระยะเวลาและคุณภาพการนอนหลับ(หลับลึก)จะเป็นหลักประกันสำคัญต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดีอีกทั้งยังเป็นด่านแรกของการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงที่นอนหลับ ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone,GH)มากกว่าช่วงที่ไม่นอนถึง 3 เท่า  ซึ่งมีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโตและกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย
          นอกจากนี้การนอนหลับในแต่ละช่วงเวลามีความสำคัต่างกันต่อสุขภาพ เช่น

              การนอนหลับในช่วง 3 ทุ่ม - 5 ทุ่ม จะช่วยให้ระบบน้ำเหลืองขับของเสียได้ดีขึ้นพร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น
                  การนอนหลับสนิทในช่วง 5 ทุ่ม - ตี 1 จะช่วยให้ตับขับของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เซลล์ผิวซ่อมแซมตัวเองและมีการผลัดเซลล์ใหม่ซึ่งจะเร็ววกว่าปกติถึง8เท่า
                  การนอนหลับในช่วงเที่ยงคืน - ตี 4 จะกระตุ้นให้ไขสันหลังสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างมีประสิทธิภาพ
                   การนอนหลับในช่วงตี 1- ตี 3 จะกระตุ้นให้ถุงน้ำดีขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      การหลับสนิทในช่วงตี 3 - ตี 5 จะส่งเสริมให้ปอดขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ฉะนั้น  การนอนไม่หลับเป็นประจำหรือคุณภาพการนอนหลับไม่ดีเท่าที่ควรจะส่งผลกระทบต่อทุกๆ ระบบของร่างกาย ทำให้เแก่ก่อนวัยและเพิ่มความเสี่ยงต่อหลายๆโรคเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า เป็นต้น
              คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่านอนไม่หลับหมายถึงตาค้าง กระสับกระส่ายอยู่บนที่นอน  แต่จริงๆ แล้วการนอนไม่หลับเป็นภาวะที่นอนไม่พอและยังหมายรวมถึงอาการ     ดังนี้ด้วย คือ
                    หลับยาก: ใช้เวลามากกกว่า 30 นาทียังไม่หลับ
                    หลับไม่ลึก: ระยะเวลาการนอนหลับลดลง
                    ตื่นบ่อย: ตอนกลางคืนตื่นเกินกว่า 2 ครั้ง และหลับต่อค่อนข้างยาก
                    ตื่นเช้าเกิน:เมื่อตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น
                    ฝันบ่อย:รู้สึกตนเองฝันอยู่ทั้งคืน
                    ตื่นง่าย: มีเสียงหรือแสงรบกวนเพียงนิดเดียวก็จะตื่น
                    คุณภาพการนอนไม่ดี: เวลานอนเพียงพอ แต่ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น
                    อ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น: ง่วงเมื่อเวลาทำงาน รู้สึกมึนๆ งงๆสมองไม่ปลอดโปร่ง
          อาการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นชั่วคราวในบางช่วงของชีวิต เช่นมีเรื่องเครียดๆอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นต้น ามีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง ควรหาสาเหตุและรักษาอย่างจริงจัง

         เราจะต้องมีความรู้เบื้องต้นด้วยว่า ความต้องการในการนอนของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ  สิ่งแวดล้อมวิถีชีวิตและพันธุกรรม  เมื่อระยะเวลาหรือคุณภาพของการนอนไม่สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย  ร่างกายก็จะส่งสัญญาณหลายๆอย่างถึงเรา      ตัวอย่าง  เช่น        

                       รู้สึกอ่อนเพลียทั้งวันและงีบหลับในระหว่างวันบ่อยๆ
                        เวลาทำงานมีอาการง่วงเหงาหาวนอน ขาดสมาธิหรือมึนๆงงๆไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                         อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่ายโดยไม่มีสาเหตุเพียงพอ
                         บางคนอาจหลับขณะตื่นโดยไม่รู้ตัว    

             แต่อย่างไรก็ตาม   การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและวิถีชีวิตในปัจจุบัน  ก็ทำให้คนเราต้องแบ่งเวลานอนไปกับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ทำงานหรือการสังสรรค์ ทำให้คนส่วนใหญ่ประสบปัญหานอนไม่พอและมักจะแก้ไขด้วยวิธีการนอนชดเชยในวันหยุด

              แต่ในความเป็นจริง  การนอนชดเชยในลักษณะที่ผิดไปจากช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้นก็ไม่อาจไปฟื้นฟูร่างกายจากผลกระทบของการนอนไม่พอที่สะสมเรื่อยมาได้ อีกทั้งยังไปทำให้สภาวะในร่างกายเกิดความสับสนซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่นในวันถัดไปได้

                ฉะนั้นเมื่อเราต้องการที่จะให้สภาวะร่างกายของเราให้เป็นไปตามปกติจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการนอนให้เป็นไปตามช่วงเวลาการทำงานของแต่ละอวัยวะดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นจะเป็นการดีที่สุด

 

……………………………………………………………………………..

  แหล่งอ้างอิง.....http:www.enwei.co.th    15 กรกฏาคม  2553

หมายเลขบันทึก: 375356เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

-สวัสดีครับ

-แวะมาทักทาย......สบายดี...นะครับ

-เวลานอนแต่ละช่วงเป็นประโยชน์จริง ๆ ขนาดนี้เลยเหรอครับ....

-ผมน่ะ......เหมาเวลา ....หลับ...ยาว....เลยครับ

-คงจะต้องปรับเวลาซะแล้วหละครับ....

-ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ คุณธนา

สุได้รับเมลย์ ว่าจะตามมาเยี่ยมอ่านวันหลัง ปรากฏว่า สุลบอีเมลย์ประจำวันออกไป ที่คุณเมลย์เข้าไปหา ก็เผอิญอ่านของคุณแล้ว แต่มันผ่านระบบ GOTOKNOW  สุลบไป ยังไม่ได้กลับตอบคืนเลย และพยายามติดตามหา ตั้งนาน จนนำไปเห็นพี่น้องที่เข้าไปเยี่ยมสุ  คุณโสภณ เปียสนิท เลยตามไปเยี่ยมถึงได้พบกับ คุณธนา ที่เข้าไปเยี่ยมเช่นกัน

-วันนี้ โชคดี ที่ตามหาคุณจนเจอนะคะ แต่สุติดเลี้ยงหลาน มีเวลาเขียนเวลาเม้นท์ไม่มาก ได้เข้ามาเยี่ยมอ่าน ของคุณ  มีแต่เรื่องที่น่าสนใจทั้งนั้นเลยคะ วันนี้อ่านเรื่องการนอนหลับก่อนนะคะ ขอบคุณมากเลย เรื่องการนอนนี่ สุอดหลับอดนอน สัปหงกทุกวัน ขณะมี่เล่นคอม เพราะเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว ค้าขาย ประกันภัยรถ พรบ. ด้วย  มีเวลาก็ช่วงค่ำแล้ว ขณะที่กำลังเม้นท์อยู่นี้ก็เริ่มง่วงอีกแล้วคะ คงจะต้องรีบไปนอนให้อิ่ม พรุ่งนี้วันเสาร์ตื่นสายได้ แต่ก็ไม่กล้าตื่นสาย เพราะลูกค้ามาหาตลอดคะ ขอบคุณมากนะคะ แล้วสุจะมาเยี่ยมอ่านประจำ  ถ้ายังไม่มา ไม่ใช่ลืม แต่เผอิญว่า ไม่ว่าง โดยเฉพาะถ้าได้เลี้ยงหลาน เล่นคอมต้องหยุดเลย เพราะหลานไขว่คว้าด้วยคะ หลานพึ่ง 8 เดือน ต้องดุแลอย่างดีคะ กำลังหัดคลาน แต่ถ้าหากว่ามีเรื่องดีดี สุน่าจะได้อ่าน ก็แวะเข้าไปบอกได้นะคะ

ผมอ่านบันทึกนี้เป็นบันทึกสุดท้ายของค่ำคืนนี้  เพราะโดยปกตินอนดึกมาก  ทั้งมีงาน และการคุ้นชินกับการนอนดึก

แต่ยิ่งอ่าน ยิ่งพลอยให้สะท้อนใจกับพฤติกรรมการนอนดึกของตัวเอง  จนต้องบอกย้ำว่า พอได้แล้ว คืนนี้ไปนอนได้แล้ว  เพราะหมอที่ดี ก็คือ..ตัวเรานี่แหละ

ขอบคุณครับ-ขอบคุณมากๆ

 

การ "นอนหลับ" สำคัญมากจริงๆ ค่ะ ดิฉันไม่เคยมีปัญหาการนอน แต่เห็นคนไข้เข้ามาห้องตรวจจำนวนมากมีปัญหาการนอน ต้องพึ่งยานอนหลับ ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร เรื่องแบบนี้มีความเฉพาะเจาะจงของแต่ละคนมาก บางทีเราแนะนำไปเขาก็ทำไม่ได้ น่าเห็นใจ

สวัสดีค่ะ

วัยมากแล้ว ครูอ้อย หลับนิดนึงตอนเที่ยง สิบห้านาที  ลุกขึ้นมาสอนนักเรียนได้อย่างดี ไม่เพลียเลยค่ะ  ทดลองมาหนึ่งเดือนแล้วค่ะ

หลับยาวค่ะ

เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม(สัญญากะตัวเองไว้)

แล้วตื่น ตี 5 ทุกวัน เป็นประจำ

คุณธนา เนื้อหาดีครับ ทำให้รู้อะไรเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจเรื่องการนอนมากขึ้นค่ะ มีประโยชน์มากค่ะ ปกติตื่นเช้ามืดทุกวันแล้วชอบนอนกลางวันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณธนา..

ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามา comment เป็นคนแรกในบันทึก G2k ของดิฉัน..

สมาชิกทุกคนในบ้าน...นอนดึกทุกคนค่ะเฉลี่ยประมาณเที่ยงคืน...ไม่มีใครบ่นว่านอนไม่หลับเลย

เพราะกว่าจะได้นอนก็ดึกแล้วไงคะ...

สวัสดีครับ ผมจะมอบโคลงกระทู้แทนคำขอบคุณครับ

 

                จันทิมา......หาบ่ได้                 คำแปล

                จันทร์....แจ่มแต้มกระแส         ส่องหล้า

                 มณี.....ค่าน่าแล                    ออมเก็บ   ซ่อนเฮย

                 หวังจ่ายภายภาคหน้า             เผื่อไว้จำเป็น

                      ธนา  นนทพุทธ   จักสานอักษร

อ่า ผมนอนหลับเยอะนะ ประมาณ 7-8 ชม แต่ตืนมาก็ยังขี้เกียจตื่น ง่วงๆ

ร่างกายสุขภาพไม่ดีด้วยละมั้ง

ขอบคุณมากนะครับสำหรับความเห็นที่ให้ กระทู้แรกเหมือนกัน

ยินดีมากครับ

ท่าทางจะเจ้ากลอนนะครับเนี่ย - * -

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท