ถอดบทเรียนอย่างไรให้Work; กระบวนการถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก)และเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง


ตรงนี้นอกจากสร้างสรรค์แล้ว คุณสุเทพ ยังนำไปกิจกรรมไปผูกกับทฤษฎีนี้ ซึ่งเป็นรากฐานของ OD ทั้งหมด (KM, AI, LO และ AR) ครับ นับว่าสอดคล้องกับปรัชญา ทฤษฎีที่เป็นรากฐานทีเดียว

พฤติกรรมแทบทุกอย่างของมนุษย์ล้วนแต่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ขอให้รู้วิธีการว่าจะต้องทำอย่างไร

จากหนังสือ “ Influencer ; The Power To Change Anything” โดยคุณโจเซฟ  เกรนนีและคณะ

ในหนังสือเล่มดังกล่าว คุณโจเซฟ ได้เล่าถึง  ยอดนักเปลี่ยนแปลงโลกผู้ทรงอิทธิพลเงียบ..โดยเฉพาะบทเรียนอันสำคัญยิ่งจากนายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร  ว่าในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นนายแพทย์วิวัฒน์ได้ให้ความสำคัญที่การค้นหาพฤติกรรมหลัก (Vital behaviors) ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายได้อย่างไร

ต่างจากโครงการอื่นๆที่มักจะเน้นที่การรณรงค์(รวมทั้งโครงการรณรงค์ต่างๆเช่นเหล้า บุหรี่ ที่สนับสนุนโดยสสส.ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการการค้นหาพฤติกรรมหลัก (Vital behaviors) ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม_ในทัศนะของผมเองนะครับ)

ในเมื่อโครงการรณรงค์ไม่ได้สร้างความกระจ่างถึงวิธีการปฏิบัติ ว่าผู้คนควรจะต้องทำอะไรบ้าง (ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง) ในเมื่อไม่บอกอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไร จึงทำให้คนทำงานผู้ปฏิบัติเลยไม่รู้ว่าคนทั่วไปเขาได้ทำสิ่งที่มีประสิทธิผลหรือเปล่า ผลเลยออกมาว่าเมื่อไม่เน้นว่าต้องทำอะไร ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร คนเราเลยไม่ได้เลือกปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพวกสุดยอดนักเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ว่าเขาเผชิญความถ้าทายอะไรก็ตาม พวกเขาจะเน้นไปที่เรื่องพฤติกรรมหรือเรื่องการกระทำที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเสมอ

นั่นคือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากคุณโจเซฟ  เกรนนีและคณะจากหนังสือ “ Influencer ; The Power To Change Anything”ครับ

เบื้องหลังการเตรียมการ สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สถานประกอบการไทย...ทำอย่างไรให้ปลอดบุหรี่(ถอดบทเรียน) ณ ศูนย์รวมตะวัน  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. ในครั้งนั้น ก่อนจะมีการWorkshopได้มีทีมจนท.โครงการจากแผนงานพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาปรึกษาผมว่าอยากจะถอดบทเรียนในโครงการฯ เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมาโครงการฯ เราได้ทำงานกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ ประมาณ 100 แห่งครบปีจากการประเมินในเบื้องต้นพบว่ามีที่ Work สุดๆอยู่ประมาณ 30 แห่ง ที่พอเริ่มต้นไปได้ประมาณ 30 แห่งพอๆกัน อีก 40 แห่งยังไม่ค่อยจะWork เราจึงอยากจะถอดบทเรียนหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อจะนำไปพัฒนาโครงการเสนอต่อ สสส.ในปีที่ 2 ต่อไป

ผมตอบไปว่าถ้าหากจะให้ผมช่วยจัดWorkshopหาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเห็นทีว่าจะมาผิดที่แล้วครับ ยิ่งเรื่องบุหรี่ เรื่องสถานประกอบการด้วยแล้ว ผมไม่เคยรู้เรื่องทำนองนี้มาก่อนเลย มีอาจารย์มหาวิทยาลัยในบ้านเราเยอะแยะที่เขาถนัดในการวิจัยค้นหาปัญหา   แต่หากจะเปลี่ยนใจใหม่ว่าจะให้ผมกับผู้เข้าWorkshopได้ร่วมกันค้นหาว่าทำไมงานอาสาสมัครของพวกเขา ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากสสส.เพียงน้อยนิด กับงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ที่แสนจะโคตรหินเช่นนี้ ทำไมพวกเขาจึงทำได้และถึงทำได้Work สุดๆด้วย  ผมก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ดูในตอนแรก จนท.โครงการฯจะเป็นกังวลด้วยเกรงว่าจะไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับแห่งทุนคือสสส.ได้ ด้วยเห็นว่าโครงการฯยังมีส่วนที่เป็นปัญหาอยู่  มีข้อบกพร่องอยู่ แล้วในปีที่ 2 โครงการฯจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ผมได้ให้แนวทางไปว่าพวกเราที่เป็นจนท.อาจไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้  อาสาสมัครที่เป็นคณะทำงานจาก 30 สถานประกอบการที่มีผลงานWork สุดๆนั้นพวกเขาจะเป็นผู้ให้คำตอบเองว่าจะทำอย่างไร ไม่ต้องเป็นห่วงหรอกครับ ผมให้ความหวังไป

ในการออกแบบการจัด Workshopในครั้งนั้น ในเวลา 2 วัน จัดนอกสถานที่  ผมได้เสนอให้ใช้กระบวนการถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก)  ซึ่งผมได้ให้คำปรึกษาออกแบบกระบวนการ Workshop ดังนี้ครับ

  • การWorm up ;ให้ผู้เข้าWorkshop ฝึกทำการบ้านด้วยหลักการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติAAR(After Action Review) ด้วยการบ้าน 5 ข้อของลูงโฮเป็นการWorm up ก่อนครับ(ผมเคยไปดูงานด้านการศึกษาที่เวียดนาม 2-3 ปีที่แล้ว ไปมา 2 ครั้งแล้วอยากไปอีกครับ  การWormในเบื้องต้นเราอาจจะทำเพียง 3 ข้อก็พอคือ วันนี้ตัวฉันเองได้ทำอะไรที่ดีๆบ้าง , วันนี้ตัวฉันเองได้เห็นใครทำอะไรที่ดีๆบ้าง ,วันนี้ฉันได้เห็นอะไรที่ดีๆเกิดขึ้นในในองค์กรของฉันบ้าง การบ้านของลูงโฮเพิ่มอีก 2 ข้อคือวันนี้นักเรียนได้เห็นอะไรที่ดีๆเกิดขึ้นในประเทศชาติของเราบ้างและวันนี้นักเรียนได้รับทราบว่ามีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นในโลกของเราบ้าง_ซึ่งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดีก็ได้เช่นการฆ่ากันตายของคนไทยที่ราชประสงค์5555)
  • จัดกลุ่มDialogue ; การสานเสวนา หรือสุนทรียสนทนา นำเรื่องราวต่างๆมาเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อเนื่องครับ
  • ใช้หลัก AI ในการค้นหาเรื่องราวที่จะนำมาถอดบทเรียน; การค้นหาความดีด้วยความชื่นชมหรือสุนทรียสาธก ( Appreciative Inquiry)  ซึ่งเรียกว่าเป็นทฤษฎีเห็ดโคน  ถ้ามีเชื้อหนึ่งแล้วก็จะกระจายรอบ ๆ เพียงแต่หาจุดเริ่มต้นให้พบและเชื่อว่ามีทุกที่ทั่วประเทศ หากเราได้ชื่นชมกับการค้นพบเห็ดโคน  ว่ามีเห็ดโคนเกิดที่หนึ่งแล้ว เมื่อเอื้ออำนวยให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เขาก็จะเจริญเติบโต เช่นเดียวกันกันสถานประกอบการถ้ามีคนเริ่มต้นเพียงหนึ่งในสถานประกอบการเชื่อแน่ว่าสถานประกอบการที่อยู่ข้าง ๆ จะเกิดขึ้นตามเพียงแต่เราทำให้ชัดเป็นรูปธรรม  กระบวนการทางสังคม  มีความเชื่อว่า สักวันจะต้องเกิด   มีเงื่อนไขที่ยึดหยุ่นได้ตลอดเวลา
  • การถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้ (The  Tree  Model) ของ Peter  Senge ผมได้บันทึกประสบการณ์เรื่องนี้ที่  http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369414
  • จัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแบบตลาดนัดความรู้ให้มีการขายสินค้าความรู้กันให้คึกคัก(เหมือนตลาดนัดสีลม5555)หรืออาจจัดแบบเวิลด์คาเฟ่ก็ได้
  • การจัดทำเป็นเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจมีการถ่ายทำวีดีทัศน์ประกอบแล้วนำเทปวีดีทัศน์มาเสนอต่อเป็นการเรียนรู้แบบสะท้อนกลับครับ ผมได้บันทึกประสบการณ์เรื่องนี้ที่ http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369330

..........................................................................................................................................

อ.ดร.ภิญโญ  รัตนาพันธุ์  จากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ความเห็นต่อ “เรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง”ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369330

คุณสุเทพ ทำได้ดีมากๆครับ ตรงนี้น่ารวมเล่ม แล้วเผยแพร่ได้เลยครับ จะเป็นคุณูปการต่อสังคมมากๆครับ”

และได้ให้ความเห็นกับการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้ (The  Tree  Model) ของ Peter  Senge ไว้ที่  http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369414  ว่า

สิ่งที่คุณสุเทพทำนั้น ผมขอชื่นชมมากๆ เลยครับ คุณกำลังทำสิ่งที่เรียกว่า Appreciative Evaluation ครับ ได้ทั้งการประเมินและการถอดบทเรียน ความคิด และกิจกรรมของคุณถือเป็นต้นแบบได้เลยครับ

ผมขออนุญาตนำไปเผยแพร่ให้ชาวเครือข่ายได้ทราบนะครับ และสิ่งที่ผมเห็นร่องรอยอย่างหนึ่งคือ "จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้สนับสนุน การลด ละ เลิกสูบบุหรี่ของเพื่อนพนักงาน จำนวน116 คน ทั้งหมดมีความภาคภูมิใจในการมีส่วนช่วยเพื่อนพนักงานและสนใจจะสมัครเข้าร่วมโครงการระยะต่อไป" ตรงนี้ต่อยอดเป็น Destiny ได้เลยครับ ว่าไปทำให้คุณเจอ Change Agent ในทันที

 นอกจากนี้การเอามารวมกับ Model ต้นไม้ของ Senge จริงๆ แล้วคล้ายๆกับทฤษฎี Open Systems Model 

ตรงนี้นอกจากสร้างสรรค์แล้ว คุณสุเทพ ยังนำไปกิจกรรมไปผูกกับทฤษฎีนี้ ซึ่งเป็นรากฐานของ OD ทั้งหมด (KM, AI, LO และ AR) ครับ นับว่าสอดคล้องกับปรัชญา ทฤษฎีที่เป็นรากฐานทีเดียว..

ทฤษฎีนี้ทำให้เราไม่หลุด เพราะมันครอบคลุมพลวัตทั้งหมดครับ 

สร้างสรรค์ดีครับ

และตัวโครงการเอง มีจุดเด่น น่านำไปขยายผล ต่อยอดอีกนะครับ

ขออนุโมทนาด้วยครับ 

ท่าน อ.ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ได้ให้ความเห็นการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้ (The  Tree  Model) ของ Peter  Senge ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/beyondkm/369555 ว่า

ผมเข้าไปอ่าน Link ที่คุณสุเทพให้ไว้แล้วครับ ทำให้ทราบเรื่อง Tree Model และได้เห็นตัวอย่างเรื่องเล่าที่เร้าพลัง . . หลายครั้งผมรู้สึกว่าเวลาแชร์เรื่องเล่า สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า) ก็คือได้แรงบันดาลใจ (Inspiration) หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าสามรถเปลี่ยนแปลงได้

ครับช่วงนี้ผมไม่สบายครับ ประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลที่ขอนแก่น  พรุ่งนี้(28 มิ.ย.)จะออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว ความคิดเห็นทัศนะของครูบาอาจารย์และเพื่อนๆชาวG2K เป็นกำลังใจเยี่ยมไข้ผมอย่างวิเศษสุดแล้วครับ

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 369866เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 *** ขอให้หายจากอาการเจ็บและสุขภาพแข็งแรงโดยเร็วนะคะ....ด้วยความห่วงใย ***
                                                     

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมคนไข้ และมาเป็นกำลังใจด้วยช่อดอกไม้สวย ๆ หายจากเจ็บป่วยเร็ว ๆ นะค่ะ

 

                                 

สวัสดีครับคุณครูPuallyP

  • เมื่อปลายเดือนพ.ค.ขับรถไป-กลับเชียงใหม่ ผ่านกำแพงเพชร
  • ยังนึกถึง  บ้านเมืองสวยงามน่าอยู่นะครับ
  • ขอบคุณครับที่มาแวะเยี่ยม

สวัสดีครับคุณบุษราP

  • ผมชอบคุณบุษราเขียนเรื่องส้วมมากที่สุด
  • ขอบคุณครับที่มาแวะเยี่ยม
  • ผมไม่เป็นอะไรมาก อยู่โรงพยาบาลได้ฟังเพลง(จากNotebook)เต็มอิ่ม
  • ได้อ่านหนังสือที่ชอบ
  • ที่สำคัญได้ท่องGTKแวะเยี่ยมบ้านมวลมิตร  ไปท่องหลายบ้านแม้ไม่ได้ทักทายก็ตาม

ขออนุญาตเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณพชรวรัตน์P

ทำอย่างไรให้คนส่วนใหญ่ขององค์กร มีความสุข ด้วยการลดความคาดหวังเบื้องหน้ามาอยู่กับ ความมี ความเป็น ณ ปัจจุบัน จากนั้นก็ขยับความสุขให้สูงขึ้นจากความเป็นผู้ให้ ซึ่งต้องเกิดจากคุณค่าภายใน เป็นความสุขที่เกิดจากการอยู่ร่วมอย่างมีความหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขส่วนใหญ่ในการทำงาน อันเป็นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพผู้รับบริการและประชาชนอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งมีข้อจำกัดที่หลากหลาย ด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์

ผมได้เข้าไปเยี่ยมบ้านคุณพชรวรัตน์ ได้พบโครงการ และเรื่องเล่าเร้าพลังที่ประทับใจมาก ขอบคุณกับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากการอยู่ร่วมอย่างมีความหมาย

ยินดีที่ได้รู้จัก ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท