การถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้โดยหลักการAI(สุนทรียสาธก)ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้และเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง


เรื่องเล่า สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า)ในการถอดความรู้ และเรื่องเล่าเร้าพลังก็คือ การทำให้คนเล่าเรื่องและคนที่ถอดความรู้ได้ถอดตัวเอง ซึ่งจะ ได้แรงบันดาลใจ (Inspiration) หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

ได้เห็นตัวอย่างเรื่องเล่าที่เร้าพลัง .... . หลายครั้งผมรู้สึกว่าเวลาแชร์เรื่องเล่า สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้น   แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า)ในการถอดความรู้ และเรื่องเล่าเร้าพลังก็คือ การทำให้คนเล่าเรื่องและคนที่ถอดความรู้ได้ถอดตัวเอง ซึ่งจะได้แรงบันดาลใจ (Inspiration)  หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

อ.ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.)    จาก  http://gotoknow.org/blog/beyondkm/369555

......................................................................................................

วันที่ 30 มิ.ย.นี้โครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่   สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะจัดเวทีสัมมนาประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ และ สถานประกอบการที่มีความสนใจจะเข้าร่วมโครงการในปีที่ 2 งานนี้ทราบมาว่ามีสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการในปีที่ 2  เกินกว่าร้อยแห่งและแต่ละสถานประกอบการได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเวทีที่จะถึงนี้ด้วย  ในวันนั้น คุณโน้ต บริษัท N(นามสมมุติ)จะได้เล่าประสบการณ์จากเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้โดยหลักการAI(สุนทรียสาธก)ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้

 “ท้อได้แต่ไม่ถอยเพราะสิ่งที่เราทำไปนี้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม”เรื่องเล่าจากกรณีศึกษาของบริษัท N(นามสมมุติ) ซึ่งเล่าโดยคุณโน้ต  เป็นเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้โดยหลักการAI(สุนทรียสาธก)ด้วยแบบแผนภูมิต้นไม้ จากการสัมมนาครั้งที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องหนึ่งที่นำเสนอด้วยครับ

 โครงการจะความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรครับ องค์กรเราผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ มีการประกาศเจตนารมณ์เป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่าบริษัทเราจะเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่  เป้าหมายของเราคือเราจะทำอย่างต่อเนื่อง บริษัท N เราพนักงานที่สูบบุหรี่ต้องเป็น 0%  ภายใน 2 ปี”

..สิ่งที่เราได้ร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ของบริษัทเรานี้ เรานึกถึงว่าสิ่งที่เราทำไปนี้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ทำอย่างไรเราจึงจะต่อยอด กับผู้คนในสังคม เราอยากให้สังคมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเราด้วย

ต้องการกวนประสาทเริ่มจากถูกลองของ; ความเป็นมาของโครงการ(ราก/เมล็ดพันธ์)

ที่บริษัท N  เราสนใจทำกิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการเราให้เป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่มาก่อนจะเข้าร่วมโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ของสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดจะเริ่มแค่มุมเล็กๆกับกลุ่มเล็กๆก่อน แต่แล้วเราก็ล้มเหลวครับ เมื่อเราไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงานเลย ข้อมูลของเราที่ได้ไม่เป็นข้อมูลที่จริง คนที่สูบบุหรี่บอกไม่สูบบุหรี่  ส่วนคนที่ไม่สูบบุหรี่บอกตัวเองว่าสูบ เพียงเพราะต้องการกวนประสาททีมงานของเรา

ทั้งๆที่เราต่างก็ตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากการสูบบุหรี่ต่อพนักงานและต่อองค์กรเรา โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของพนักงาน  เราพบว่าพนักงานเรามีคนสูบบุหรี่จำนวนมากและมีคนป่วยมาก มีการลาป่วยบ่อย  เราจะสังเกตเห็นพฤติกรรมเวลาทำงานพบว่าพนักงานใช้เวลาเลี่ยงออกมาสูบบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง  ในพื้นที่สูบบุหรี่ที่เราจัดให้ แต่แล้วพนักงานเรากลับเห็นเราเป็นตัวตลกครับ  เรามีความพยายาม มีความทุ่มเทอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าเลยครับ

ความสำคัญอยู่ที่การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่(ปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต):

บริษัทเราประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ของเรา 70 % ส่งออกไปต่างประเทศ

   บริษัทเรามีการดำเนินการโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ของเราเองมาก่อนตั้งแต่กลางปี 2552   ก่อนที่จะได้ร่วมงานโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่  ที่ดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  แม้เราจะดำเนินงานมาก่อนก็จริง แต่เราก็ไม่รู้ถึงวิธีการที่มีประสิทธิผลที่จะทำให้เป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่ นั้นทำกันอย่างไร

ต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเพื่อนพนักงานและเริ่มจากสร้างศรัทธาในตัวทีมงานเรา(เพาะกล้าจากเมล็ดพันธ์ดี)

จากกิจกรรมการเข้าค่ายฝึกอบรมที่ศูนย์รวมตะวัน ทำให้ทราบว่าทั้งทีมงานเราและพนักงานเราต่างคนไม่รู้เหมือนกัน เราไม่รู้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไร จึงทำให้พนักงานเรา ละ ลด เลิกสูบบุหรี่ได้  เมื่อไม่เน้นว่าต้องทำอะไร ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเราเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เราทำไป  จะส่งผลให้พนักงานเขาได้ทำสิ่งที่มีประสิทธิผลหรือเปล่า ความรู้ทักษะที่เราได้จากการฝึกอบรม  ทำให้เราเกิดความมั่นใจว่าจะต้องทำได้ เราเชื่อมั่นว่าความรู้ทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการเราได้อย่างแน่นอน  การอบรมที่ศูนย์ดวงตะวันทำให้เราเข้าใจเพื่อนพนักงานเราว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ให้ความร่วมมือกับเรา ด้วยเขายังไม่เชื่อมั่นในทีมงานเรา พวกเขาพยายามมาทั้งชีวิตยังแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วเราจะมีวิธีไปช่วยเขาให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเราได้อย่างไร

หลังการอบรมแล้วคณะกรรมการกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้พนักงานเราได้ข้อมูล ความเป็นจริงที่ถูกต้อง จึงได้คิดค้นการจัดกิจกรรมเข้าไปให้ความรู้ต่างๆกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ประกวดคำขวัญ การจุดประกายโดยการให้การศึกษา ฝึกอบรมให้ความรู้เป็นแนวทางการดำเนินงาน

กระบวนการจัดสภาพแวดล้อม  กิจกรรมและวิธีการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ(ลำต้น)

การดำเนินงานที่บริษัท N  เราได้มีการจัดกิจกรรมสำคัญเพื่อมุ่งเน้นให้เป็นสถานประกอบการที่มีการควบคุมการสูบบุหรี่ และมุ่งให้เป็นสถานประกอบการที่มีการวางแผนงาน มีการดำเนินงานเพื่อสร้างภาวะปลอดบุหรี่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตามความพร้อมและตามบริบททางวัฒนธรรมของเรา ตามแนวทางที่เราได้คิดค้นของเราเอง ผสมกับแนวทางของโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ ตามที่คณะทำงานของเรา ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมหลักสูตร “การพัฒนาสถานประกอบปลอดบุหรี่อย่างเป็นระบบ” ที่สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดขึ้น เราได้เริ่มโครงการเมื่อกลางปี 2552  โดยถือเอาวันที่ 31 พฤษภาคม  ซึ่งเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เป็นวันเริ่มโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมของบริษัท N  เราให้เอื้อต่อการเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่ ตามแผนงานและกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

  1. การประกาศเจตนารมณ์เป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่าบริษัทเราจะเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่  เป้าหมายของเราคือเราจะทำอย่างต่อเนื่อง ของบริษัท N  เราพนักงานที่สูบบุหรี่ต้องเป็น 0%  ภายใน 2 ปี”
  2. สำรวจความคิดเห็น ทั้งผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ มาวิเคราะห์วางแผนเพื่อช่วยเหลือโดยให้หัวหน้างานเข้ามามีส่วนร่วม  ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายอย่างต่อเนื่อง
  3. การจุดประกายโดยการให้การศึกษา ฝึกอบรมให้ความรู้
  4. มีกล่องแสดงความคิดเห็นของพนักงานต่อนโยบายบริษัท ที่จะเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่ 

         - กำหนดแนวทางทำงานของบริษัทซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหาร

         - แนวทางการลดพื้นที่สูบบุหรี่ลง

         - ข้อเสนอแนะของพนักงานต่อเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่ 

จากกล่องแสดงความคิดเห็นพบว่าทุกคนเห็นพร้องต้องกันสถานประกอบการปลอดบุหรี่  ด้วยอยากเห็นเพื่อนเลิกสูบบุหรี่  ทำให้รู้สึกดี  มีกำลังใจ

  5. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์โทษของบุหรี่

      -แผ่นพับ ใบปลิว เอกสารแจก จัดบอร์ด ประชาสัมพันธ์

      -ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย (HR CONER) ช่วงพักกลางวัน

      -จัดงานสัปดาห์สุขภาพดี  ประกวดพนักงานสุขภาพดี

      -จัดทำวารสารประชาสัมพันธ์โครงการ

      -จัดทำข่าวสารคดี เป็นสกรุ๊ปพิเศษเนื่องในวันงดสูบบุหรี่ ออกอากาศทางทีวีท้องถิ่น 4 วันต่อเนื่องกัน

   6.  จัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษา  มีเบอร์โทรศัพท์  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   7. จัดแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ 5 แห่งในระยะแรก  ประชาสัมพันธ์และยุบพื้นที่สูบ ปัจจุบันเหลือ 4 แห่งเมื่อ 5 ธันวาคม  2552  และจะเหลือ 3 แห่ง ในวันที่ 12  สิงหาคม 2553

   8. บริษัทได้ออกนโยบายการรับพนักงานใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่  มีการคัดกรองพนักงานตั้งแต่มาสมัครงาน

   9. การต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพพนักงานโดยเชิญโรงพยาบาลมาให้คำแนะนำ  มีพยาบาลเข้ามาดูแลสุขภาพของพนักงาน   ให้คำปรึกษา  ให้ข้อมูล ทำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้น

ความสำเร็จของโครงการ(ดอก ผล)

  1. พนักงานทั้งหมด 450 คน สูบสูบบุหรี่จำนวน  109 คน  คิดเป็น  25%  ปัจจุบันเลิกได้  30 คน ที่ลดบุหรี่ได้มีทั้งหมด 30 คน มีตัวอย่างคุณลุงคนหนึ่งติดบุหรี่ตั้งแต่อายุ 18 ปี สูบวันละ 2 ซอง ปัจจุบันอายุ 51 ปี หลังจากเข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลิกสูบได้และเป็นตัวอย่างให้พนักงานคนอื่น ๆ
  2. สถานประกอบการเรามีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อสร้างภาวะปลอดบุหรี่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  โดยผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ มีการประกาศเจตนารมณ์เป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่าบริษัทเราจะเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่  เป้าหมายของเราคือเราจะทำอย่างต่อเนื่อง ของบริษัท N เราพนักงานที่สูบบุหรี่ต้องเป็น 0%  ภายใน 2 ปี”
  3. สถานประกอบการเรามีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการละ ลด เลิกการสูบบุหรี่มีเดิมเรามีพื้นที่จัดไว้สำหรับให้พนักงานสูบบุหรี่ เดิมในระยะแรก เราจัดแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ 5 แห่ง ต่อมามีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และยุบพื้นที่สูบเหลือ 4 แห่งเมื่อ 5 ธันวาคม  2552  และจะเหลือยุบ 3 แห่ง ในวันที่ 12  สิงหาคม 2553 และมีแผนจะยุบทั้งหมดภายใน 2 ปี
  4. มีเครือข่ายเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้มีเกิดการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเครือข่ายความร่วมมือ   เชิญโรงพยาบาลมาให้คำแนะนำ  มีพยาบาลเข้ามาดูแลสุขภาพของพนักงาน    ให้คำปรึกษา  ให้ข้อมูล ทำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้น
  5. การรับผิดชอบต่อสังคมโดยให้ความสำคัญกับสถานประกอบการและหน่วยงานในจังหวัด มีหน่วยงานเข้ามาติดต่อสอบถาม ขอคำปรึกษา ทำให้เรามีโอกาสในการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ทั้งภายในและหน่วยงานภายนอก

สิ่งที่จะฝากทิ้งท้ายไว้ให้กลายเป็นตำนาน(ใบที่ร่วงหล่น)

 “โครงการจะความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรครับ องค์กรเราผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ มีการประกาศเจตนารมณ์เป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่าบริษัทเราจะเป็นสถานประกอบการปลอดบุหรี่  เป้าหมายของเราคือเราจะทำอย่างต่อเนื่องพนักงานของบริษัท N  เราที่สูบบุหรี่ต้องเป็น 0%  ภายใน 2 ปี”

“การทำโครงการนี้เหนื่อยแต่มีความสุขเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของพนักงานผู้เลิกสูบบุหรี่ได้โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่มานานตั้งใจจะเลิกแต่เลิกไม่ได้  เมื่อมีโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่นี้ทำให้เขาเลิกได้”

สุดท้ายความมุ่งมั่นของเราคือเรื่องสุขภาพของพนักงานเราเองครับ เราจะทำโครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่นี้ต่อ และเราจะใช้ประสบการณ์จากโครงการฯนี้ไปต่อยอดขยายผลกับโครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานในมิติอื่นๆด้วยครับ เช่นความดัน เบาหวานโรคเอดส์หรือวัณโรค”

นี่คือคำพูดที่คุณโน้ต  กล่าวทิ้งท้ายให้กับพวกเราเพื่อจะฝากไว้เป็นตำนานครับ

 

ปล.สิ่งที่ผมสนใจตั้งแต่ต้นต่อโครงการนี้ คือ ทำไมงานอาสาสมัครในสถานประกอบการของพวกเขาซึ่งเป็นงานอาสาสมัครทำงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ที่แสนจะโคตรหินเช่นนี้ และได้รับเงินสนับสนุนจากสสส.เพียงน้อยนิด ทำไมพวกเขาจึงทำได้และทำไมงานพวกเขาถึงWork สุดๆด้วย  จากการถอดบทเรียนแบบAIและเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผมมีคำตอบและผมหวังว่าทั้งตัวเขาผู้เข้าร่วมWorkshopซึ่งเป็นอาสาสมัครในสถานประกอบการ  จนท.โครงการและสสส.ซึ่งเป็นแหล่งทุน น่าจะได้รับคำตอบด้วยเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 369862เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้เห็นตัวอย่างเรื่องเล่าที่เร้าพลัง .... . หลายครั้งผมรู้สึกว่าเวลาแชร์เรื่องเล่า สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้น   แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า) ก็คือ  ได้แรงบันดาลใจ (Inspiration)  หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

อ.ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) จาก  http://gotoknow.org/blog/beyondkm/369555

ผมเห็นด้วยกับอ.ดร.ประพนธ์นะครับจุดเน้นการถอดบทเรียนสิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้นแต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า) ก็คือทำให้คนที่ถอดตัวเองจะ ได้แรงบันดาลใจ (Inspiration)  หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

แรงบันดาลใจและแรงฮึด จะขับเคลื่อนกระบวนการและรังสรรค์งานดีๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสุข ...

มาทายทักท่านเทพฯ ด้วยระลึกถึง ขอบคุณบันทึกดีๆ นี้ค่ะ 

แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า)ในการถอดความรู้ ก็คือ การทำให้คนที่ถอดความรู้ได้ถอดตัวเอง ซึ่งจะ ได้แรงบันดาลใจ (Inspiration)  หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

ขอบคุณครับคุณPooP

  • เจ้าบ้านไม่ค่อยได้กลับมาเยี่ยมบ้านเลย..
  • ขอบคุณที่มาช่วยย้ำเตือนความทรงจำ ความตระหนักรู้ในตน

เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาแตกแยกในสังคมบ้านเรา  ซึ่งจะต้องเริ่มที่ตัวเรา  ไม่ใช่เสนอให้คนอื่นทำอะไร ทำอย่างนั้นจะดี ทำอย่างนี้สิดี  หากแต่ตัวเองกลับไม่ได้ทำอะไรเลย 

ยังติดตามอ่าน เเละให้กำลังใจพี่สุเทพเสมอครับ..

ขอบคุณครับ อ.เอกP

  • ไม่ได้ทักทายนานเลยนะครับ
  • ผมเองก็หยุดยาว..มีอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง
  • แต่ติดตามอ่านบันทึก อ.เอกอยู่เสมอครับ
  • ขอบคุณครับ

ฟักฟื้น เเล้วรวบรวมพลัง สู้ใหม่นะครับ

ความศรัทธาเเละความดี ผมว่าไปข้างหน้าได้อย่างทะลุทลวงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท