อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

ระบบแพทย์แผนไทยกับหลักการในพุทธศาสนา


ระบบแพทย์แผนไทยกับหลักการในพุทธศาสนา

ระบบแพทย์แผนไทยกับหลักการในพุทธศาสนา

                                    โดย  ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา
“ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอเรียนท่านผู้อ่านให้ทราบว่า การแพทย์แผนไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างแยกไม่ออก หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาก็ว่าได้ ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องนำเสนอระบบการแพทย์แผนไทยตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งรูปแบบอาจยากสักหน่อยสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ไม่ยากสำหรับความเข้าใจ”


พุทธพจน์บ่งชี้ว่า “อาหารเป็นพาหะนำโรค หมดอาหารก็หมดโรค”

อาหาร ตามศาสตร์และศิลปะในปรัชญาทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสัตว์ลำทุกประเภทย่อมจะต้องอาศัยอาหาร ชีพดำรงอยู่ได้ก็เพราะอาหาร ขึ้นตอนในการศึกษาคุณโทษของอาหารจำเป็นจะต้องพิจารณาศึกษาไปตามขึ้นตอน ถ้าศึกษาข้ามขั้นตอน หรือไปยึดติดเพียงบางส่วนจะทำให้ “ชีพ” ต้องผจญกับโรคร่ำไป ผู้เขียนขอลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ


๑. มโนสัญเจตนาหาร
อาหารอันดับแรกที่สำคัญในชีวิตคือ “เจตนา” หมายถึง อาหารที่เกิดขึ้นกับจิต ชีวิตเริ่มมาจาก “จิต” การจงใจเจตนาเริ่มมาจาก “จิต” จิตที่จงใจเจตนาย่อมนำไปสู่ “กรรม” คือ ภาควจีและกาย ความดีและความชั่ว บุญและบาป สุจริตและทุจริต สวรรค์และนรก ปุถุชนและอริยชน ทุกกระบวนการย่อมมาจาก “จิต” คือความจงใจเจตนานั่นเอง อาหารประเภทนี้มีอำนาจเหนืออำนาจใดๆ ในชีพ


๒. ผัสสาหาร
อาหารอันดับที่สองรองลงมา คือ การสัมผัสถูกต้อง การสัมผัสถูกต้องจะต้องรู้ทันในขณะที่กำลังถูกสัมผัสหรือ กระทบสติความระลึกได้ และความรู้สึกตัวเป็นตัวควบคุมผัสสะ ไม่ควรเผลอเรอในขณะกระทบจะต้องควบคุมรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ เพราะอาหารประเภทนี้สามารถก่อชนวนให้เกิดอารมณ์ที่พอใจ และอารมณ์ที่เสียใจได้อย่างร้ายแรงที่สุด


๓. วิญญาณาหาร
อาหารอันดับที่สาม คือ วิถีประสาทรับรู้แจ้งเห็นจริงตามทวารต่างๆ ที่เกิดผัสสะขึ้น เช่น มองเห็นสี ได้ฟังเสียง ได้กลิ่น รู้รส และสัมผัสต่างๆ อาหารประเภทนี้ ที่แท้จริง คือ ประสาทตื่น แต่ปัญญาและพิจารณาต้องคอยปรับปรุงให้ถูกไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมาย


๔. กวฬิงการาหาร
อาหาร คือ การบริโภคดื่มกิน เคี้ยวกิน ให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะอาหารในเวลาเช้าถึงเที่ยง (ยามกาลิก) หรือถนอมอาหารไว้ได้ในช่วงสัปดาห์ บางสิ่งที่เป็นยาจึงจัดเป็นอาหารประเภทตลอดชีพ อาหารประเภทนี้ชาวโลกและสถาบันการศึกษาทั่วโลกมองเห็นความสำคัญจึงได้เป็นกระบวนการวิชาการโภชนาการในรูปแบบ “อาหารหลัก ๕ หมู่” เป็นระบบการแพทย์ตะวันตก ยอมรับเป็นทฤษฎีที่ต้องศึกษา แต่มามองอีกมุมหนึ่ง เฉพาะการแพทย์แผนไทย เรายึดอุดมการณ์ระดับความสำคัญของอาหารต่างกัน ดังที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้นตามลำดับ

นี่คือ ส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการแพทย์แผนไทยที่ได้สืบสานถ่ายทอดสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน

หลักพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็น คือ ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

โรค หมายถึง สภาวะและอาการที่ทิ่มแทง ทำลาย ขัดขวาง ย่ำยี เบียดเบียน และเป็นอุปสรรคของ “ชีวิต” ทำให้ชีวิตได้รับทุกขเวทนา ปราศจากสันติสุข และพบแต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา (อนิฎฐารมณ์) อยู่ร่ำไป โรคมีอยู่ ๒ ประเภทคือ

๑. โรคทางจิต คือโรคที่ทำลายสันติและก่อให้เกิดพาหะนำไปข้ามภพข้ามชาติได้

๒. โรคทางกาย คือโรคที่ทำลายรูปธรรมให้พบแต่ความชำรุด คร่ำคร่าจนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า

โรคจิต เป็นโรคที่น่ากลัวกว่าโรคใด ๆ ในโลก และเป็นภัยอย่างมหันต์ในชีวิต โรคทางจิตย่อมได้รับเชื้อมาจากอาหารอันดับแรกคือ มโนสัญเจตนาหาร หมายถึง เจตจำนง เจตนา ที่แรงกล้า เจตนาเป็นตัวบ่งชี้บุญบาปหรือสวรรค์นรกเจตนา เป็นมโนกรรมที่นำข้ามภพข้ามชาติ เปลี่ยนชีพรูปธรรมให้ปรากฏเป็นไปต่างๆนานา ตาม “กรรม” ที่เจตนาบ่งชี้ให้เกิดขึ้น เช่น การแบ่งแยกมนุษย์ในรูปแบบมนุษโส, มนุษเทโว, มนุษเปโต, มนุษเดียรัจฉาโน และมนุษยนิรยโก ในสภาพที่อยู่อาศัยคือ “ภพ ๓” หรือ สภาพอำนาจจิต “ภูมิ ๔” เป็นต้น

โรคจิตที่ได้รับจาก “เจตนา” ที่แรงกล้า ก็ย่อมได้รับผลอันแรงกล้า เช่น บุคคลที่มีเจตนาฆ่าบิดามารดาผู้ให้กำเนิดแก่ตนเอง ผลของเจนาที่แรงกล้าที่ได้รับก็คือจะต้องตกอยู่ภายใต้กรอกกฎบัตรกฎหมายของสังคม คือจะต้องถูก “ประหารชีวิต” ให้ตายตกตามไป มองดูด้านศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาจะต้องได้รับโทษสถานเดียว คือ “ตกอเวจีมหานรก” เมื่อภายหลังจากชีวิตได้ถูกประหารจนสิ้นชีวิตไปแล้ว

โรคจิต จึงเป็นโรคที่เรื้อรัง (โบราณโรค) รักษายากมากที่สุดติด อันดับที่พูดกันว่าโรคนี้ เป็น “อติไสยโรค” นั่นเอง โรคจิตจึงเป็นโรคที่การแพทย์แผนไทยถือว่าจำเป็นจะต้องรักษาอย่างรีบด่วน เพราะโรคนี้ได้มาพร้อมกับชีวิต ถ้าชีวิตไม่มาถือกำเนิดในภพ ๓ โรคนี้แสดงว่าไม่ต้องรักษาหมดไปเอง แต่ถ้ามนุษย์ยังวนเวียนถือกำเนิดอยู่ในภพ ๓ โรคนี้จำเป็นจะต้องรีบรักษาพยาบาลโดยรีบด่วน

ในวงการสาธารณสุขระดับโลก โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่สามารถทำลายระบบนิเวศและสังคมได้อย่างรุนแรง โรคกายเกิดขึ้นยังมีส่วนอื่นๆ คงเหลืออยู่แต่โรคจิตบังเกิดขึ้นแล้วย่อมทำลายหมดทุกอย่าง เริ่มต้นจากชีวิตตัวเอง ทรัพย์ ยศ บริวาร ชื่อเสียง ย่อมหมดไปทุกประการ โรคจิตจึงเป็นโรคที่ร้ายแรงในสังคมและสัตว์โลกทั่วโลก การแพทย์แผนไทยย่อมตระหนักถึงโรคนี้ และมองเห็นภัยเกี่ยวกับโรคนี้จึงยกขึ้นมานำเสนอให้สังคมชาวโลก ได้ช่วยกันพิจารณาและหาวิธีการรักษาโรคจิตเป็นอันดับแรก ส่วนสภาพและอาการของโรคทางกายไม่น่าจะเป็นห่วงและกลัวให้มากไปกว่าโรคจิต เพราะโรคภายคือโรคขั้นพื้นฐานที่ง่ายๆ รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย รักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย มีอยู่ประเภทเดียว คือถ้าไม่รักษาตาย นี่คือ กระบวนการพิชิตโรคในระบบการแพทย์แผนไทย

หมายเลขบันทึก: 369855เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากให้เขียนอีกจังเลยค่ะ

แต่อยากให้ยกมาเป็นบันทึกใหม่เป็นข้อ ๆ ได้มั้ยค่ะ

เช่น เรื่องของ มโนสัญเจตนาหาร สักหนึ่งบันทึกค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพีธากร

  แวะมาศึกษาด้วยคนนะคะ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณไผ่ไม่มีก่อ เดียวจะเขียนเเละขยายความทีละหัวข้อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ

สวัสดีคุณยายนะครับ ยังไงก็เเลกเปลียนความรู้ดีๆๆ กันนะครับ ยินดีที่มาเยี่ยมชมครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท