คำควบกล้ำ


คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ

 

ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเป็นไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมภาษา  เราทุกคนควรช่วยกันรักษาและสืบทอดเจตนารมณ์เพื่อให้ลูกหลานมีความเป็นไทยและภาคภูมิใจในภาษาไทย ดังพระบรมราโชวาท…" 

เราจะเห็นความสำคัญของภาษาว่า เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ฉะนั้นภาษาไทยของเรามีความละเอียดอ่อน มีความสวยงาม มีความหลากหลาย มีกฎ ระเบียบ วิธีใช้เฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น คำควบกล้ำ   ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พระราชทานเมื่อวันที่ 19  กรกฎาคม  พ.ศ. 2502  ความตอนหนึ่งว่า  "…ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า  ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือย  และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงอยู่เนือง ๆ  ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี  ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม  ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง  เป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเรา  ทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้  ฉะนั้น  จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต  ตลอดจนครูบาอาจารย์ ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ…"  และพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เมื่อวันที่  11  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2530  เนื่องในงานสัมมนาทางวิชาการ  “ภาษาไทยกับการพัฒนาชาติ”  ณ  หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ความตอนหนึ่ง "…ภาษาไทยมีความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม  และส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ  ผู้รู้ภาษาไทยดีจะทำให้การเรียนวิชาอื่นดีไปด้วย  ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาความรู้อีกด้วย

                 คำควบกล้ำ  หมายถึง  คำที่มีพยัญชนะสองตัวเขียนเรียงติดกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน   เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า

            คำควบกล้ำ  มี  2  ชนิด คือ  คำควบแท้  และ  ควบไม่แท้

            คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร  ล  ว  ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น

           พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่   พร้อม  เพราะ   ใคร   กรอง  ครองแครง ขรุขระ  พระ ตรง ครั้ง  กราบ โปรด ปรักปรำ  ปรับปรุง   ครื้นเครง  เคร่งครัด  ครอบครัว  โปร่ง

          พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่  กลบเกลื่อน  กลมกลิ้ง  เกลี้ยกล่อม  เกลียวคลื่น    เคลื่อนคล้อย   ปลา   ปลวก  ปล่อย    เปลี่ยนแปลง    คลุกคลาน   เพลิง   เพลิดเพลิน    คล่องแคล่ว  

          พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่  แกว่งไกว   กวาด  กว่า   ขวาง  ขว้างขวาน ขวิด   แขวน ขวนขวาย   ควาย    เคว้งคว้าง   คว่ำ  ควาญ   ความ  แคว้น ขวัญ ควัน

          คำควบไม่แท้

         คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร  ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป

         คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า  ได้แก่พยัญชนะ จ  ซ  ศ  ส  ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้าสร้อย  ศรี   ศรัทธา  เสริมสร้าง  สระ  สรง  สร่าง

         คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด

 

แหล่งที่มา   http://www.konmun.com/Article/id4767.aspx

หมายเลขบันทึก: 368516เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้ไปเป็นครูด้วยจังเลย เด็กคงได้เรียนรู้อ่านออกเขียนได้แน่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท