ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา


ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

ตอนที่ เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา

 

เรื่องที่ 1 : ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

 

ความหมายนวัตกรรม

 

            คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation"  มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า  นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า  การกระทำ  ดังนั้นนวัตกรรมจึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ  ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ  อาจ

หมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่  ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน  คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น  นวัตกรรม  ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง

 

            Everette  M. Rogers (1983 : หน้า 11)  ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม

(Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่า

เป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม

(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the

individual or other unit of adoption)

 

การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Rogers  ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา  ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช้นวัตกรรมบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่  อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness)  อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย  สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง   ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้  ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้

 

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

  1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
  2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
  3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

 

ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

 

            นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 

            กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

            1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น

 

            2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรูบได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้

 

            3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน

 

4)      ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้

มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง  แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based Learning"   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้

 

            การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง

อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น

 

เรื่องที่ องค์ประกอบและเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรมการศึกษา

 

ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าคำว่า "นวัตกรรมมีความหมายเดียวกันกับคำว่า "เทคโนโลยี" 

ความจริงแล้ว "เทคโนโลยี"  หมายถึงวิทยาการหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง จนเป็นที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว  ดังนั้นเมื่อนักวิจัยหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง จนได้ผลงานใหม่ๆ  ออกมาแล้ว  ผลงานวิจัยนั้นยังมีข้อจำกัดคือทำการทดลองภายใต้สภาวการณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นภายในห้องทดลองหรือในพื้นที่ที่มีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ  อย่างดี  จึงยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะนำไปใช้ปฏิบัติตามสภาพที่เป็นจริงได้หรือไม่  เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการทดสอบว่าจะมีความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ  หรือไม่  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการทดลองใช้ในพื้นที่จริงๆอีกหลายครั้ง  จนแน่ใจว่าสามารถใช้ได้     ในขั้นตอนนี้จึงถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอีกขั้นตอนหนึ่ง     ดังนั้นเทคโนโลยีจึงอาจหมายถึงผล    การวิจัยที่ได้ผ่านการทดสอบและพัฒนามาแล้วจนสามารถใช้ได้ผลในสภาพตามความเป็นจริง  และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วนั่นเอง

 

          ศ.ดร. ชัยยงค์  พรหมวงศ์  ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้  4  ประการ คือ

            1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด  หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต  แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่  หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

            2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปจบกระบวนการและผลลัพธ์  โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

            3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่"  นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

            4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่"  นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

 

ขอบข่ายของนวัตกรรม

 

            สำหรับนวัตกรรมการศึกษา  อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

            สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
  2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ  ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
  3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
  4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
  5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
  6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

 

ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทางพึงประสงค์  เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้

(สมพร  ชมอุตม์, 2532)

            1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน  มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง  ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดัง ๆ แข่งขันกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช  ไอบีเอ็ม ฮิวเล็กแพคการ์ด  คอมแพค เป็นต้น

            2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์  โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกมส์  ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย

            3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

            4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน

            5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์  มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว

(re-education)

            6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี

นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering)  เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง  วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด  หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น

            7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ

            8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ  มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน  ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่ เรื่อง การยอมรับนวัตกรรมการศึกษา

 

เรื่องที่ การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา

 

การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา (Diffusion of Innovation)

 

            การแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด  การปฏิบัติ  ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นโดยกว้างขวาง  จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด

 

            Everette  M. Roger (19834 : หน้า 5)    ได้ให้ความหมายคำว่าการแพร่กระจาย หรือ "Diffusion"  ดังต่อไปนี้

 

                                  การแพร่กระจาย  คือ  กระบวนการ  ซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางใน

ช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ ที่อยู่ในระบบสังคม (Diffusion is the

process by which an innovation is communicated through certain

channels overtime among  the members of a social systems)

 

            ตามความหมายข้างต้น Roger  ได้อธิบายส่วนประกอบของการแพร่กระจาย นวัตกรรมไว้  4  ประการคือ

  1. มีนวัตกรรมเกิดขึ้น
  2. ใช้สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น
  3. ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย
  4. ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง

 

มีผู้วิจารณ์เกี่ยวกับการนำนวัตกรรมมาทดลองใช้ในเรื่องต่าง ๆ  โดยเฉพาะกับ

คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานด้านการศึกษา ชูทซ์ (Sehutz; 1982)  ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้  โดยให้แง่คิดเกี่ยวกับขั้นตอนของการเกิด  นวตกรรม  ดังนี้ (ไชยยศ  เรืองสุวรรณ,  2533)

            1) มีการเรียกหานวัตกรรมอยูเสมอ เหมือนกับว่า  นวัตกรรมเป็นยาครอบจักรวาลที่สามารถเยียวยาอาการป่วย (ปัญหา) ของการศึกษาทั้งมวลได้

            2) หลังจากเรียกหาได้ไม่นานนัก ปัญหาเพียงเล็กน้อยก็ถูกนำมากล่าวถึงและในช่วงนี้ก็มีใครสักคนหนึ่งเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาสู่การศึกษา  และให้ความมั่นใจแก่เราว่า ความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้วยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีนั้นอยู่แค่เอื้อม

            3) เมื่อเกิดความบกพร่องผิดพลาดปรากฎออกมาอย่างชัดเจน ก็พบว่า นวัตกรรมนั้นไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้อย่างแท้จริง  นวัตกรรมเป็นเพียงการเล่นตลกของสื่ออย่างไม่มีวันจบสิ้น ใครคนนั้นก็กระโดดหายไปจาก วงการ พร้อมกับตำหนิความบกพร่องของโรงเรียน  ในการใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อจัดซื้อสิ่งต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่บนชั้นหรือในตู้ของโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว

            4)  วงจรของปัญหาทำนองนี้มักจะเกิดขึ้นอีก  พร้อมกันนั้นก็มีการเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแบบแปลกใหม่ต่อไป

 

ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม

 

            1. การแพร่กระจายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

            Rogers  ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (social change)  ว่า หมายถึง

กระบวนการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ๆ  ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา  มีการแพร่กระจายออกไปและได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ  จนกระทั่งมีการนำไปสู่ผลกระทบจริงๆ ต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว  ความจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นผลกระทบจากธรรมชาติ ยกตัวอย่างการเกิดความแห้งแล้งหรือแผ่นดินไหว  ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมตามมาหลายอย่าง แต่การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของนวัตกรรม

 

            โดยปกติแล้วกระบวนการของนวัตกรรมของสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ คือ (สุรพงษ์  โสธนะเสถียร, 2533 หน้า 97-98)

            1. การประดิษฐ์คิดค้น  หมายถึง  ตัวนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นเองหรือนำเข้ามาจากตางประเทศ สำหรับประเทศกำลังพัฒนามักมีข้อจำกัดทางด้านทุนและเทคโนโลยีภายในประเทศ  ทำให้การประดิษฐ์คิดค้นมีลักษณะเป็นวิชาการประยุกต์ (applied)  มากกว่าเป็นองค์ความรู้ (body of knowledge)  และจะต้องมีการปรับนวัตกรรมนั้นให้สอดล้องกับสภาพสังคมให้มากที่สุด

            3. ผลของการรับนวัตกรรม  การแพร่นวัตกรรมนั้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้นหรือไม่ ดังนั้นผลของนวัตกรรมจะควบคู่กับการประเมินเสมอ เช่น การประเมินว่าชาวบ้านยอมรับนวัตกรรมโดยสมัครใจหรือไม่  นวัตกรรมมีคุณค่าในสายตาชาวบ้านอย่างไร และผลกระทบที่เกิดจากนวัตกรรมนั้นมีมากน้อยเพียงใด

 

            หลังจากที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสตวรรษที่  18  การเศรษฐกิจ การทำมาหากินได้เปลี่ยนไป  มีการประดิษฐ์  สร้างสรรค์  ประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ   เกิดขึ้นมากมายมาใช้ในระบบ

อุตสาหกรรมโดยนำเครื่องมือ เครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคนมากยิ่งขึ้น  ด้วยการปฏิวัติทาง

อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น  ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีการผลิต   เครื่องจักรต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นได้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว  เช่น การพัฒนาของเครื่องคิดเลข  ไปเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานและบ้าน  และการพัฒนาในขั้นต่อไปก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถถาม-ตอบได้   เพื่อเอามาใช้ในระบบอุตสาหกรรม  (ทอฟฟ์เลอร์  อัลวิน, 2532 หน้า 154)

 

            ในด้านของสังคมการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นก็เป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคม เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น   การเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตเป็นระบบอุตสหกรรมได้ทำให้คนในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น  เวลาจึงเป็นสิ่งมีค่าสำหรับทุกคน  เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นเพี่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  อาทิ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องล้างจาน เตาไมโครเวฟ ระบบเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ  โทรศัพท์ ฯลฯ  อันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับทุกคน

 

            นอกจากนั้น  ระบบการสื่อสารของมนุษย์เราจะเริ่มขยายเครือข่ายมากยิ่งขึ้น  เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร  แต่เป็นลักษณะการสื่อสารแบบไม่ต้องพบตัว นับแต่โทรศัพท์จนไปถึงโทรศัพท์แบบเห็นภาพ  ซึ่งมีผลดีในเรื่องการประหยัดเวลาการเดินทางในการพบปะกัน  แต่มีผลในทางลบ ในการแยกตัวเองเป็นเอกเทศของมนุษย์ เกิดสังคมแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น

 

            ดังจะเห็นได้จากสังคมในยุคปัจจุบันที่เป็นสังคมที่ต้องการข่าวสารข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ นับแต่การเลือกซื้อสินค้า บริการ จนถึงการบริหารกิจการงานต่างๆ เทคโนโลยีการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

 

            ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น  นอกจากเป็นปัจจัยที่มีผลในทางบวก  อันเป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญเติบโตให้สังคมแล้ว อีกด้านหนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น  ยังมีผลกระทบต่อสังคมในทางลบที่เป็นลูกโซ่ตามมาด้วย

ดังตัวอยางต่อไปนี้คือ

 

            ผลกระทบต่อชุมชน  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง  ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไป  เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้

 

            ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง  ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ   หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยี

ร่วมกัน และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้

 

            ผลกระทบด้านจิตวิทยา  ความเจริญทางเทคโนเลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือส่อสารทำให้มนุษย์จะมีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น  จึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป

 

            ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น กรณีของโฟมที่กล่าวไว้แล้ว  นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น มีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น  เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น  โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม อาทิ แม่น้ำ  พื้นดิน อากาศ เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้น

 

            ผลกระทบทางด้านการศึกษา

          นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่  ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู  และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นนักเทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่า จะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด  และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดการเรียนรู้มากน้อยอย่างไร  แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ เกิดการตื่นตัว อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์  หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่  เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย  หรือใช้เป็นหรือไม่  ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันตามความก้าวหน้า และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง  การหมั่นศึกษา  และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ  ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา   สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด

 

            สุดท้าย ก็คือ จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ว่า มีความเหมาะสม มีข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร  ทั้งโดยการสังเกต การใช้แบบทดสอบเพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนอยู่เสมอ  ก็จะทำให้เราเชื่อแน่ได้ว่าการใช้

นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

          2. การแพร่กระจายเป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแบบหนึ่ง

            การแพร่กระจายนั้นมีลักษณะพิเศษในประเด็นที่ข่าวสาร (messages) มีความเกี่ยวข้องกับความคิดใหม่ ๆ เนื่องจากการสือสารเป็นกระบวนการที่ผู้มีส่วนร่วมเป็นผู้สร้างข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันขึ้น  ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นกระบวนการในการทำให้เกิดการบรรจบกัน (convergence)  ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในการ

แลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ตรงกันการสื่อสารเป็นกระบวนการสอนทางของการบรรจบกัน (two-way process of convergence)  ด้วยเหตุนี้กระบวนการทางการสื่อสารของมนุษย์จึงนำมาใช้ในการอธิบาย เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการแพร่กระจายได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)  หาทางชักจูงใจให้เป้าหมาย (client)  ยอนรับนวัตกรรมเมื่อเรามองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการยอมรับ  และสิ่งที่เกิดตามมาเราจะเห็นได้ว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงบางส่วนของกระบวนการทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลสองคนเช่นผู้ที่เป็นผู้รับ (client)  อาจจะพบผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)  พร้อมด้วยปัญหาและความต้องการของเขา และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหานี้ได้  ดังนั้นเมื่อเรามองการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้รับในมุมกว้างก็จะเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์จะมีความต่อเนื่องไปหลายๆ วงจร ซึ่งความจริงก็คือกระบวนการของการแลกเปลี่ยนข่าวสารนั่นเอง

 

            3. ความใหม่ของนวัตกรรมคือระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty)

            Rogers  อธิบายว่า ในการติดต่อสื่อสารนวัตกรรมที่เป็นความคิดใหม่ ๆ นั้น  ความใหม่ของความคิดในเนื้อหาของข่าวสารจะมีลักษณะเฉพาะคือ ความใหม่ หมายถึงระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty)  ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้น (newness means that some degree of uncertainty is involved)  ความไม่แน่ใจจะมีระดับของตัวเลือกที่สามารถรับรู้ในเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สัมพันธ์กับตัวเลือกนั้น ข่าวสาร (information)  เป็นความแตกต่างในพลังงานสาร (matter-energy)  ซึ่งกระทบต่อความไม่แน่ใจในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ที่ซึ่งมีตัวเลือกปรากฎอยู่หลายตัวเลือก

 

            ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่ใจ เช่น นวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และวิธีการทำงานของเครื่องดังกล่าว  ตลอดจนการเพิ่มราคาของน้ำมันในอนาคต  มีส่วนช่วยลดความไม่แน่ใจของนวัตกรรมลงไประดับหนึ่ง  เนื่องจากผลของการสื่อสารจึงทำให้เกิดการยอมรับเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์  ความคิดรวบยอดนี้ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่กระจายของนวัตกรรมในรูปแบบของกระบวนการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่ การยอมรับนวัตกรรมการศึกษา

 

ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม (Adoption Process)

 

            ในการแพร่กระจายนวัตกรรมไปสู่สังคมนั้น  นวัตกรรมจะถูกนำไปใช้หรือยอมรับโดยบุคคล Rogers (1971 หน้า 100)  ได้สรุปทฤษฎีและรายงานการวิจัยเกี่ยวกับขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม5 ขั้นตอน  ดังนี้คือ

 

            1.  ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ  (awareness)  เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่  สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง  แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่

 

          2.  ขั้นสนใจ  (interest)  เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่  หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทำมาแล้ว  หรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับ

นวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง

 

            3. ขั้นประเมินผล  (evaluation)  ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่  จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด  หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว  นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจำกัดสำหรับเขาเพียงใด  และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร  แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่

 

            4. ขั้นทดลอง  (rtrail)  เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ  ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด  การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว  เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่

 

            5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ  (adoption)  ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ  อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อย ๆ  อย่างต่อเนื่อง   จนกระทั่ง

นวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการ

หมายเลขบันทึก: 368514เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท