แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กายวิภาค ของ หฐโยคะ ; บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว (6/7)


  <table style="margin: 2px; width: 646px; height: 76px; padding: 2px;" border="0"><tbody><tr style="margin: 0px; padding: 0px;"> <td style="margin: 2px; padding: 2px; text-align: left; vertical-align: top;">

</td> <td style="text-align: right; margin: 2px; vertical-align: top; padding: 2px;" colspan="3">
เว็บศูนย์รวม “โยคะสารัตถะ
  </td> </tr></tbody></table><h3 style="text-align: center;">
กายวิภาค ของ หฐโยคะ </h3> <p style="text-align: right;">แปลจาก Anatomy of Hatha yoga
แปลโดย ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี และ ศันสนีย์ นิรามิษ
</p>

 

 บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว .

@ กล้ามเนื้อโครงกระดูก_

@ จุดเกาะต้น (Origins) และจุดเกาะปลาย (Insertions)_

@ กล้ามเนื้อทำการ (Agonist) และกล้ามเนื้อต้าน (Antagonist)_

 

@ กล้ามเนื้อหดสั้น (Concentric Shortening) และกล้ามเนื้อเหยียดยืด (Eccentric Lengthening)

เพื่อให้เข้าใจระบบการทำงานของระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูกขณะที่เราฝึกโยคะ ให้เราสังเกตดูว่ากล้ามเนื้อแต่ละส่วนมีส่วนทำให้เกิดท่าทางต่างๆของร่างกายได้อย่างไร เหตุการณ์ที่พบง่ายที่สุดของกล้ามเนื้อหดสั้น หรือที่เรียกว่า Concentric shortening นั้นคือเมื่อเส้นใยของกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นโดยการกระตุกของเส้นประสาทกล้ามเนื้อทั้งหมดจึงหดสั้นลง เช่น กล้ามเนื้อ Biceps Brachii ที่ท่อนแขนช่วงล่างหดสั้นลงขณะที่เรายกหนังสือ

เมื่อเราต้องการจะวางหนังสือลงก็จะมีกระบวนการที่ซับซ้อนเกิดขึ้น โดยปกติเราจะไม่ปล่อยของที่เรากำลังถือไว้ให้ตกลงกับพื้นเลย เราจะวางลงอย่างระมัดระวังด้วยการเหยียดข้อศอกช้าๆและเสร็จสิ้นภารกิจด้วยการปล่อยให้กล้ามเนื้อทั้งหมดยาวขึ้นขณะที่ให้เส้นใยของกล้ามเนื้อบางส่วนหดตัวสั้นลง เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น เมื่อเราปล่อยให้กล้ามเนื้อยาวขึ้นภายใต้ความตึงขณะที่มีการต้านแรงโน้มถ่วง เราจะเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่ากล้ามเนื้อเหยียดยืด (Eccentric Lengthening)

เราจะเห็นกล้ามเนื้อหดสั้นและกล้ามเนื้อเหยียดยาวได้จากการกระทำทั่วไป ขณะที่คุณกำลังเดินขึ้นบันได กล้ามเนื้อท่ำกำลังยกตัวคุณขึ้นคือกล้ามเนื้อหดสั้น ขณะที่คุณกำลังเดินลงบันได กล้ามเนื้อตัวเดิมจะเหยียดยาวขึ้นเพื่อควบคุมการเดินลงมา เมื่อคุณมีการดึงตัวขึ้นขณะที่ปีนไต่ไปตามเชือกด้วยมือทีละข้าง กล้ามเนื้อที่ปลายแขนจะทำการหดสั้นลงทุกครั้งที่มีการดึงตัวขึ้น และเมื่อมีการไต่ตัวลง กล้ามเนื้อที่เดียวกันนี้จะเหยียดยาวขึ้น

ในการฝึกโยคะเราจะเห็นกล้ามเนื้อหดสั้นและกล้ามเนื้อเหยียดยาวได้เป็นร้อยครั้งจากท่าทางต่างๆ ที่ธรรมดาที่สุดคือเมื่อกล้ามเนื้อเดี่ยวหรือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ต้านแรงโน้มถ่วง เช่น กล้ามเนื้อหลังจะหดสั้นเพื่อยกลำตัวขึ้นจากการฝึกท่าเหยียดตัวไปข้างหน้า และเมื่อคุณกำลังลดหลังลงช้าๆเพื่อโค้งตัว กล้ามเนื้อหลังจะต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อดึงตัวคุณไว้ กล้ามเนื้อจะเหยียดยาวเพื่อให้ทำท่าได้อย่างราบรื่น

 


  

 
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 

หมายเลขบันทึก: 368171เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ คุณแตง

วันนี้ไปประชุมโครงการ สสส. วิทยาสอน โยคะการฝึกกรอกตา

ยอมรับยังมีเรื่องใกล้อีกมากที่เรายังปฎิบัติไม่ถูกกัน

วอญ่า-ผู้ เฒ่า-natachoei--

สวัสดีค่ะ ผู้เฒ่าวอญ่า

แตงต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ห่างหายไปนานมาก
เพราะมัวแต่ไปหลงระเริงกับของใหม่อยู่ค่ะ คือ Facebook
ตอนนี้หายเห่อแล้วค่ะ

ใช่ค่ะ สิ่งใกล้ตัวเรา ในตัวเรานี่แหล่ะ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยสนใจศึกษาหาความรู้เลย
แต่พอมองย้อนเข้ามาทำความ รู้จักกับตัวเอง จริงๆ แล้ว จักรวาลความรู้อยู่ในตัวเรานี่เองค่ะ

ยังมีท่าโยคะง่ายๆ จากอวัยวะเราอีกเยอะมากที่สามารถจัดปรับ เช่น โยคะมือ โยคะเท้า โยคะหน้า ฯลฯ
เพียงแต่เราจับแก่นของโยคะให้ถูกหลักคือ นิ่ง ผ่อนคลาย ใช้แรงแต่น้อย คงนิ่งในสภาวะนั้นให้ได้นาน
เราก็มีโยคะพื้นฐานง่ายๆ เยอะมากๆ ค่ะ ... น่าสนใจนะคะ

ระลึกถึงเสมอนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท