การสร้างวัฒนธรรมการรายงานความเสี่ยงในโรงพยาบาล


การรายงานความเสี่ยง

     การสร้างวัฒนธรรมการรายงานความเสี่ยงในโรงพยาบาล     

               ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้บุคลากรในโรงพยาบาลเข้าใจว่า การรายงานความเสี่ยง หรือการเขียนใบอุบัติการณ์นั้นเป็นเรื่องดี ที่ควรทำ  เท่าที่มีการกระตุ้น ส่งเสริมการรายงานความเสี่ยงในโรงพยาบาลโพธารามของคณะกรรมการความเสี่ยง โดยเฉพาะเลขาที่เข็มแข็งแล้ว ใช่เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี กว่าจะมีวันนี้ ที่มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นมากมายในโรงพยาบาล ประมาณ ห้าพันถึงเจ็ดพันรายงานต่อปี เห็นได้ชัดเจนว่า การกระต้นของทีม โดยการสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแม้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม

                  อุบัตการณ์ของโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดคือ ระดับ 1-2 ซึ่งหมายถึง เราสามารถดักจับได้ก่อนถึงตัวผู้ป่วย ไม่เกิดความเสียหายหรือผลกระทบใดๆ  เนื่องจากเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนแล้ว สามารถดักจับและแก้ไขได้ทัน ทำให้ไม่เกิดอุบัติการณ์ที่รุนแรงขึ้น

                 เทคนิคที่โรงพยาบาลใช้คือ การตั้งของรางวัลให้กับหน่วยงานที่มีการอุบัติการณ์มากที่สุดในแต่ละปี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เห็นความสำคัญในการดักจับความเสี่ยง ที่ถือว่าผู้ได้ประโยชน์ในการดักจับความเสี่ยงต่างๆคือผู้รับบริการ

                  การรายงานความเสี่ยง โดยใช้ใบอุบัติการณ์ บุคลากรส่วนมากถือเป็นเรื่องซีเรียส ถ้าต้องเขียนหรือถ้าได้รับ ช่องทางหนึ่งที่เลขาความเสี่ยงคนเก่งของเราได้นำมาเป้นกลยุทธ์ในการรายงานความเสี่ยง คือ การบันทึกหน้างาน  วิธีช่วยให้เกิดการรายงานความเสี่ยงมากขึ้นอีกสิบเท่า  คนทำงานบันทึกไว้เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือที่เกิดความคลาดเคลื่อน ลดความซีเรียสได้ บันทึกไว้ในหน่วยงานตัวเอง เป็นการเตือนว่าเรื่องนี้ต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก เตือนกันในหน่วยงาน สามารถดูความถี่ของการเกิดได้อย่างชัดเจน

                  ต้องขอยกตัวอย่าง กลุ่มงานเภสัชกรรม ที่มีการรายงานความเสี่ยงเข้าระบบโดยใช้การบันทึกหน้างานได้ดีมาก  รายงานได้เป็นพันเรื่องในแต่ละไตรมาส แต่ระดับความรุนแรงที่ตำ มีการดักจับความผิดพลาดได้มากมาย ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น

                  อีกหน่วยงานที่มีทัศนคติที่ดี ต่อการเขียนอุบัติการณ์ในหน่วยงานของตนเอง คือหน่วยงานไตเทียม บุคลากรทุกคนในหน่วยงานให้ความสำคัญช่วยกันดักจับความเสี่ยงและรีบแก้ไขก่อนเกิดความรุนแรงหรือผลกระทบต่อผู้ป่วยฟอกเลือด แล้วบันทึกไว้ที่หน้างานเช่นกัน  แนวคิดที่ดีคือ มันคือการบันทึกผลงานที่ทีมช่วยแก้ไขให้ผู้ป่วยปลอดภัยก่อนเกิดเหตุรุนแรง  และข้อมูลเหล่านี้สามารถบอกประสิทธิภาพของการทำงานอีกด้วย

                 ช่องทางอื่นๆที่โรงพยาบาลเชื่อมโยงสู่ระบบริหารความเสี่ยงได้แก่ การร้องเรียนจากผู้รับบริการ   ปัญหาทางด้านโครงสร้างกายภาพ  การเยี่ยมสำรวจภายใน  การทำQuality round โดยจัดโปรแกรมความเสี่ยง เป็น 11 โปรแกรม โดยนำ safety goal มาร่วมด้วย คือ SIMPLE ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายความปลอดภัยที่สอดคล้องกับบริบทโรงพยาบาล

                  ในฐานะตัวแทนโรงพยาบาล ต้องขอบคุณเลขาความเสี่ยงคนเก่งของเรา คุณรุ่งศรี รุ่งตระกูล หน.กง.อาชีวเวชกรรม รพ.โพธาราม ที่สามารถมองภาพรวมของการบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี มีการวิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารข้อมูลสำคัญระดับทีม เชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงในทุกหน่วยงาน ซึ่งเป็นต้นแบบการทำงานให้กับบุคลากรอื่น รวมถึงผู้เขียนด้วย แม้ว่าเราจะมีนำตาบ้าง ท้อแท้บาง แต่เราก็พยายามสร้างฝันมาด้วยกัน จนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จโรงพยาบาลอย่างทุกวันนี้

  

เรียนรู้ร่วมกัน สร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงให้เข้าใจตรงกัน

จะเกิดประโยชน์ทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ

 

หมายเลขบันทึก: 368166เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท