ความหมายที่หลากหลายของคำว่า “Best Practices”


การแชร์ Best Practices ในวันนี้ หมายถึงการแชร์ความรู้ที่เป็น “Tacit” Knowledge
 ภาษาเป็นสิ่งที่ “ดิ้นได้” มีความหมายที่ “แปรเปลี่ยน” ไปตามยุคสมัยหรือบริบทที่ใช้ ตัวอย่างเช่น คำว่า “ติดใจ” ถ้าเป็นสมัยก่อนผมก็จะนึกถึงอาการพึงพอใจ ติดอกติดใจ อยากจะทำซ้ำใหม่ อะไรทำนองนั้น แต่พอมาถึงปัจจุบัน คำว่า “ติดใจ” อาจให้ความหมายไปในทำนองที่ว่า เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป ต้องเคลียร์ให้ได้ก่อน เป็นต้น . . .
         คำว่า “Best Practices” ที่หยิบยกมาในวันนี้ก็เช่นกัน แต่ก่อนตอนที่ผมทำงานด้านคุณภาพ (เมื่อ 20 ปีก่อน) เวลาใช้คำว่า “Best Practices” จะหมายถึง วิธีการปฏิบัติงาน หรือกระบวนการทำงาน “ที่ดีที่สุด”  คือ ประหยัด ปลอดภัย หรือให้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการบริหารระบบคุณภาพ เรามักจะนำเอา Best Practices เหล่านี้มาถ่ายทอดไว้ให้เห็นชัดเจนคือทำให้เป็น “Explicit” Knowledge (ความรู้ชัดแจ้ง) ผ่านคู่มือการทำงาน Procedures หรือ Work Instructions . .
         มาถึงปัจจุบัน คำว่า Best Practices ก็ยังคงใช้กันเป็นที่แพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของ KM ที่มีการพูดเรื่องการแชร์ Best Practices กันเป็นประจำ . . แต่คำๆ นี้มีความหมายที่เปลี่ยนไปแล้ว การแชร์ Best Practices ในวันนี้ หมายถึงการแชร์ความรู้ที่เป็น “Tacit” Knowledge คือเป็นความรู้ที่อยู่คู่กับบริบท ไม่สามารถแยกตัวความรู้ออกจากสถานการณ์นั้นๆ ได้ หลายครั้งที่เราพูดเรื่องเดียวกัน แต่ Best Practice ของท่าน กับ Best Practice ของผมอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะสถานการณ์ที่ท่านเจอกับที่ผมเจอนั้นแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าเป็น Best Practice ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นคนละ Case กัน . . .
         สรุปว่าหากท่านใช้ Best Practices ในความหมายที่เป็น “Tacit Knowledge” ก็แสดงว่า ไม่ได้มีวิธีการ “ที่ดีที่สุด” เพียงวิธีเดียวเท่านั้น ไม่มีวิธีการที่เป็น “The Best” หรือ “คำตอบสุดท้าย” อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่เป็นการใช้คำว่า “Best” ในเชิงที่ว่า “Best” สำหรับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันหากท่านเป็นผู้ฟังท่านจะต้องฟังให้ได้ทั้งหมด ไม่ใช่ฟังแบบจับจดหรือฟังแบบสรุปความ หากแต่ต้องเป็นการฟังแบบ "Deep Listening" จึงจะเข้าใจ "Storytelling" ที่กำลังฟังอยู่นี้ เพราะนี่คือ Tacit Knowledge ที่ได้จากการแชร์ Best Practices ครับ
หมายเลขบันทึก: 366868เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ ตามมาจาก FB ค่ะ กลับไปกลับมา

ถ้าเป็น best practices สำหรับเรื่องของรัก ต้องตามท่าน Osho ใช่มั้ยคะอาจารย์

ขอบคุณที่พาไปสู่สิ่งดีดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

โรงเรียนก็ถูกบังคับให้มี Best Practice แต่ไม่น่าจะใช่  เพราะถูกกำหนดกรอบมาให้เข้าแถวเดินตาม(จังหวะ)

รออ่านหนังสือเล่มใหม่ของอาจารย์ค่ะ

  • ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่อง Best practice ค่ะ
  • กำลังจะเตรียมเรื่องนี้พอดีค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

"Best Practice ตามบริบท" ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน

ขอบคุณครับ รอหนังสือเล่มใหม่ของอาจารย์อยู่เหมือนกันครับ

จัดไป..ถูกใจคร้าบ พี่น้อง

สวัสดีครับท่านอาจารย์

ผมมารับฟังข้อคิดดีๆ จากบทความของท่านเพื่อนำไปฝึกฝนตนเองครับ

ขอบพระคุณมากครับ

 

สวัสดีคุณ jaja ผู้มาไกล (ตาม link มาจาก fb) . . คิดได้ไงเนี่ย "Best Practice เรื่องความรักจาก osho" . . เอ๊ ฟังดูเข้าท่า น่าจะตั้งเป็นชื่อหนังสือน่ะ

สว้สดีครับ ครูคิม สงสัย Best Practice ที่โรงเรียนคงจะเน้น ความรู้ที่เป็น Explicit เหมือนที่กำหนดไว้ในระบบคุณภาพ . .

อาจารย์หมอ JJ มีรูปสวยๆ มาแบ่งปันกันอยู่เรื่อยๆ ขอบคุณครับ

กราบสวัสดีค่ะท่านอาจารย์ที่เคารพ "การปฏิบัติที่เป็นเลิศ" ของวันนี้ ในแต่ละองค์กร(สถานศึกษา) เมื่อได้นำมาเรียนรู้แต่ผ่านการอ่านแผ่นพับและคู่มือ ไม่มีพลังเลยค่ะ เพิ่งเข้าใจเมื่อมาเรียนรู้จากท่านอาจารย์ที่ว่า"ต้องมีคุณค่าและความหมายของ Tacit Knowledge และต้องผ่านการ"ฟังอย่างลึกซึ้ง" หนูขออนุญาตท่านนำคุณค่านี้ไปขยายต่อในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้"ครูFA"ที่จ.ตากในวันที่19-20มิย.บี้ค่ะ

สวัสดีครับครูแมว . . ถือว่าเป็นการ "ตีความ" คำว่า Best Practice ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งจากประสบการณ์พบว่า การแชร์ Best Practice ในลักษณะของความรู้ที่เป็น Tacit ผ่านการเล่าเรื่อง (Case) นั้นได้ผลที่ค่อนข้างดีกว่ามาก . . ขอให้วง ลปรร. ที่กำลังจะทำนี้ประสบความสำเร็จนะครับ . . แล้วอย่าลืมนำมาเล่าให้ฟังกันบ้าง

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมตั้งข้อสังเกตอย่างนี้ครับ พวกเราคนเราทั้งโลก เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง แก้ปัญหา สร้างปัญหา มีข้อโต้แย้ง เปรียบเทียบ สร้างข้อมูล เผยแพร่ รับข้อมูล ชั้นของการสื่อสารมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระบบทุก ๆ อย่างมันซับซ้อนขึ้นนะครับ มันเลยทำให้ทุกอย่าง dynamic ไปหมดเลยครับ ทำให้หลักการ Best practice ต้องถอยขึ้นมาสื่อสารในระดับที่เป็นนามธรรมมากขึ้นครับ อาจาร์ยคิดอย่างไรครับ ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

ด้วยความเคารพ

ความซับซ้อนตามที่ คุณ pjbeej กล่าวไว้ ทำให้ไม่สามารถ "generalize" ทุกสิ่งทุกอย่างได้ (ออกมาเป็น explicit ได้เสมอไป) จึงต้องทำความเข้าใจเป็น "case case" หรือเป็น "กรณีๆ" ไป เป็นความเข้าใจแบบ "dynamics" โดยที่ไม่ทิ้งบริบทอย่างที่ คุณ pjbeej ว่าไว้นั่นแหละครับ (นี่เป็นสิ่งที่ผมเข้าใจนะครับ แต่อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ !!)

เพิ่งเข้ามาเป็นครั้งแรก ตาม Link อ้างอิงหนังสือมาค่ะ ตื่นเต้นกับเนื้อหาสาระในนี้มาก

กำลังสนใจ เรื่อง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ค่ะ ดิฉันเข้าใจว่ามันเป็นคนละเรื่องกับ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพราะสองอันหลัง น่าจะเป็นวิธีการจัดการให้เกิดการเรียนรู้

ส่วนกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน น่าจะใช้ได้หลายเทคนิค เพื่อให้ทุกคนในกระบวนการนั้นเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ใช่มั๊ยคะ อาจารย์ กรุณาให้คำตอบ หรือแนะนำแหล่งศึกษาเพิ่มเติมด้วยค่ะ

กำลังสนใจจะทำวิทยานิพนธ์

เรื่องการแชร์ Best Practice ที่ผมเขียนไว้ในบันทึกนี้ เป็นมุมมองในเชิง KM ครับ สำหรับคำว่า "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน" VS. "การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม" ที่คุณนันทนาถามมา ผมเข้าใจว่าถามในเชิงของภาค "การศึกษา" ซึ่งก็ไม่น่าจะเหมือนกันอย่างที่คุณนันทนาว่าไว้ ผมเองไม่แน่ใจว่ามันต่างกันอย่างไร? . . คงต้องขอ "ตัวช่วย" จากท่านอื่นๆ ที่บังเอิญผ่านมาอ่านบันทึกนี้ . .

ขอบคุณอาจารย์ ที่ทำให้ตาแจ้ง(รู่จริง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท